directions_run

หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง ”

หมู่ท่ี 1 บ้านทุ่งมะปรัง ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล

หัวหน้าโครงการ
นายนันทวัฒน์ เต๊ะสมัน

ชื่อโครงการ หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

ที่อยู่ หมู่ท่ี 1 บ้านทุ่งมะปรัง ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 57-02572 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0086

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2014 ถึง 15 พฤศจิกายน 2015


กิตติกรรมประกาศ

"หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ท่ี 1 บ้านทุ่งมะปรัง ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง



บทคัดย่อ

โครงการ " หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ท่ี 1 บ้านทุ่งมะปรัง ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล รหัสโครงการ 57-02572 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 พฤศจิกายน 2014 - 15 พฤศจิกายน 2015 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 207,862.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 526 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการจัดการข้อมูลของชุมชน
  2. 2 เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการนำข้อมูลชุมชนมาจัดทำแผนปฏิบัติการ
  3. 3 เพื่อให้ชุมชนได้นำแผนปฏิบัติการของชุมชนใการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ นำมาแก้ปัญหาได้ตรงกับความต้องการของชุมชนตามแนวคิด สุขภาพดี วิถีพอเพียง
  4. ติดตามสรุป สนับสนุนจาก สสส สจรส และพี่เลี้ยง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศน์ สสส สจรส

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฏิบัติจริง •ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง •กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล •การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ •การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ •การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    1.ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ ◦ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม

    ◦บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม ◦กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง) ◦กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง

    ◦ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ◦ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราชญ์ชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน ◦ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน

    2.รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้ 3.รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ ◦ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

    4.สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ 5.การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฏิบัติจริง •ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง •กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล •การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ •การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ •การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    1.ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ ◦ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม

    ◦บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม ◦กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง) ◦กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง

    ◦ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ◦ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราชญ์ชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน ◦ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน

    2.รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้ 3.รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ ◦ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

    4.สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ 5.การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

     

    2 2

    2. - ประชุมทีมงานสร้างความเข้าใจพร้อมพี่เลี้ยงฯ

    วันที่ 8 ธันวาคม 2014 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ลงทะเบียนผู้มาร่วมประชุม
    • พี่เลี้ยงโรงการแนะนหน่วยงานหลักที่สนับสนุนงบประมาณ
    • สสส.คืออะไร  ทำหน้าที่อะไร  มีบทบาทอย่างไร
    • สจรส.คือ ใคร ทำหน้าที่อะไร  มีบทบาทอย่างไร
    • แนะนำชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในพื้นที่อำเภอควนโดน ท้ัง 4 ชุมชน 4 โครงการ
    • แนะนำผู้รับผิดชอบโดครงการแต่ละโครงการ
    • งบประมาณและแผนงานการใช้จ่ายเงิน ตามงวดแต่ละงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รูรับทราบและรู้จักหน่วยงานท่ีสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการ สสส.และ สจรส.
    • บทบาทหลักของ สสส.มีหน้าที่ทำอะไร ในเรื่องการรณรงค์ เรื่องของสุราและบุหร
    • การสร้างเสริมสุขภาพชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่เป็นลักษณะอย่างไร เป้าหมายหลักเพื่อชุมชนได้รับอะไร ใครมีส่วนร่วม ใครได้รับประโยชน์

     

    6 4

    3. - ทำป้ายรณรงค์สถานท่ีนี้ปลอดบุหร่ี สสส.

    วันที่ 8 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • โหลดแบบฟอร์มจกเว็บไซค์ สสส.
    • สั่งร้านดำเนินการจัดทำป้ายตามแบบฟอร์มของ สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการของ สสส.
    • มีป้ายรณรงค์สถานที่นี้ปลอดบุหรี่

     

    2 1

    4. - ประชุมทีมงานและอาสาสมัครฯ

    วันที่ 9 ธันวาคม 2014 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • แนะนำทีมงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ
    • ความเป็นมาของโครงการ  การพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มโครงการ
    • แนะนำให้รู้จักกับหน่วยงายที่สนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรมโครงการในครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทีมงานและอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในชุมชน
    • ได้รับทราบแนวทางการดำเนินโครงการของ สสส.ตามแผนกิจกรรมโครงการ
    • อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล,พื้นฐานชุมชน  ทีมงานและทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ มีความเข้าใจไปในในแนวทางเดียวกัน
    • แกนนำชุมชน  ตัวแทนคณะกรรมการหมู่บ้าน และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของโครงกาาร พร้อมท่ีจะเดินไปด้วยกัน  และขับเคลื่อนกิจกรรมไปด้วยกันให้บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายที่ได้วางไว้

     

    30 38

    5. - เวทีเปิดโครงการฯ

    วันที่ 16 ธันวาคม 2014 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำปฏิทินแผนกิจกรรมการดำเนินกิจกรรมโครงการของ สสส.ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
    • ประชุมทีมงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ  อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์
    • ประชาสัมพันธ์โครงการในมัสยิดในวันศุกร์
    • แบ่งโซนรับผิดชอบใน อสม. 15 คน 15 เขต ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านเชิญชวนเข้าร่วมเวที
    • กำหนดวันเปิดโครงการของ สสส.ในวันท่ี 16 ธันวาคม 2557
    • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับ เปิดเวทีการประชุม
    • ผู้รับผิดชอบโครงการแนะนำชื่อโครงการ รายละเอียดกิจกรรม งบประมาณ แนะนทีมงาน คณะกรรมการ และแนะนำพี่เลั้ยงโครงการ
    • พี่เลี้ยงโครงการฯ แนะนำเพิ่มเติมรายละเอียดของโครงการ ระเบียบ แนวทางการปฏิบ้ตื ของ สสส. และเติมเต็มกับโครงการดังกล่าว
    • ผู้อำนวยการ รพ.สต.วังประจัน เติมเต็มให้ข้อเสนอแนวทางการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ตามบทบาทหลักของแตาละคน
    • ข้อเสนอจากเวทีท่ีประชุม ประเด็นข้อซักถาม และปิดเวทีโดยท่านอิหม่าม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้กระบวนการมีส่วนร่วมของุมชนทุกภาคส่วน  แกนนำชุมชน  ผู้นำชุมชน  ผู้นำท้องถิ่น สมาชิก อบต. ผู้นำศาสนา แกนนำสตรี อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตัวแทนครัวเรือนในชุมชน และหน่วยส่วนราชการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน นอกจากมีปราชญ์ชาวบ้าน ผู้อาวุโสของชุนชน ได้รับทราบ รับรู้รายละเอียดกิจกรรมโครงการ ของ สสส.ท่ีได้สนับสนุนงบประมาณให้กับพื้นที่หมู่บ้าน ภายใต็โครงการ  หมู่บ้านจัดการสุขาภวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมการดูแลสุขภาพของตัวเอง  สมาชิกในครอบครัว  ตลอดจนถึงระดับชุมชนในภาพรวม
    • ผู้เข้าร่วเวทีเปิดโครกงการ หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ทุกคน มีความภูิมิใจที่ทาง สสส.ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับชุมชน  นับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับชุมชน  ท่ีจะต้องเรียนรู้ด้วยกัน  ทำงานด้วยกัน  ประสานพลังแห่งความรักและความสามามัคคีกัน  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกิจกรรมโครงการ  ตามแผนกิจกรรมท่ีได้วางไว้ 3 'งวด ระยะเวลา 1 ปี
    • ชุมชนให้ความสนใจ รับทราบถึงปัญหาของชุมชนเอง  จึงได้เกิดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรภายนอกเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมไปด้วยกัน บนพื้นฐานความเป็นพี่น้อง  ข้อมูลชุมชน  วิถีชีวิต  วัฒนธรรมประเพณี และทุนทางสังคมท่ีมีอยู่อย่างหลากหลาย
    • ผู้รับผิดชอบโครงการ  ทีมงาน คณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบโครงการ  อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตลอดจนภาคีเครือข่ายในชุมชน ได้จุดประกาย เกิดพลังพร้อมท่ีเดินไปด้วยกัน ตามแผนกิจกรรมของโครงการดังกล่าว
    • ชุมชนทุกคนในวันนี่ได้รับทราบข้อมูลจากพี่เลี้ยงโครงการ ทำให้เกิดน้ำหนัก และพลัง อึอ ฮึด สู้ ต่อไป กับรายละเอียดกิจกรรมโครงการ  วัตถุประสงค์ของโครงการ  แนวทางการดำเนินกิจกรรมท่ีเป็นไปตามแผนกิจกรรม โดยท่ีมีปฏิทินกิจกรรมเป็นเครื่องมือยืยยันว่าโครงการนี้จะเกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเรื่องของระบบสุขภาพ ตลอดจนได้รับทราบถึงแนวทางการใช้จ่ายเงินท่ีแบ่งเป็นงวดๆ การทำรายงานการเงิน  การคีย์ข้อมูลท่ีต้องคีย์ข้อมูลผ่านเว็บไวต์ และการตืนข้อมูลให้กับชุมชนได้รับทราบเมื่อกิจกรรมโครงการได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย  และแนวทางการต่อยอดเพื่อขอรับการสนับสนุน จาก  สสส.ในปีต่อไป  หากชุมชนได้ดำเนิกิจกรรมโครงการเกิดประโยชน์ และมีความบริสุทธิ์ โปร่งใสและยุติธรรม
    • พี่เลี้ยงได้ชี้แจงเพิ่มเติม การทำรายงานประจำงวด  บทบาทหน้าท่ีของคณะกรรมการ และการนำปฏิทินแผนกิจกรรมทั้ง 50 กว่ากิจกรรมปิดประกาศที่สาธารระเพื่อให้ชุมชนได้รับทราบ แผนกิจกรรมใดท่ีชุมชนสนใจอย่างเข้าร่วมเป็นพิเศษ และอย่างมีส่วนร่วมกับโครงการดังกล่าว
    • นอกจากสิ่งท่ีชุมชนดังกล่าวข้างต้นแล้ส ชุมชนได้เกิดพลัง มีปัยหา มีข้อเสนอ ในเวทีดังกล่าว กิจกรรมคือะไร  เราจะเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างไร นับเว่าเป็นความสนใจอย่างแท้จริงท่ีมีประเด็นดังกล่าวในเวทีนี้
    • โดยสรุปในวันนี้ ชุมชนได้รู้จักโครงการในความรับผิดชอบ สสส.
    • ได้รับทรายรายละเอียดของแผนกิจกรรม และการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดโครงการ
    • ชุมชนได้เป็นเจ้าของโครงการดังกล่าวท้ังชุมชน

     

    120 66

    6. ให้ความรู้เทคนิคการออกแบบสอบถามเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

    วันที่ 28 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ศึกษาข้อมูลย้อนหลังของชุมชน วิถึชีวิต  วัฒนธรรมประเพณี  อาชีพ การศึกษา
    • วิเคราะห์สถานการณ์ชุมชน และบริบทชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เทคนิคและกระบวนการ องค์ความรู้ การจัดการข้อมูล  การสอบถามข้อมูลจากเครื่องมือที่สามารถไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาของชุมชนได้  ตรงกับความต้องการของชุมชน  สอดคล้องกับปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง   จากการดำนินกิจกรรมโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วีถึพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้  ภายกิจกรรม เทคนิคการให้ความรู้การออกแบบสอบถาม แบบเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ในครั้งนี้ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกกลุ่ม ทุกองค์กรหลัก ได้แก่
        - กลุ่มอาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นแกนนำหลักในการดำเนนิกิจกรรม   - กลุ่มอาสาสสมัครจัดเก็บข้อมูล มาจากกลุ่มสตรี  กลุ่มเยาวชน  กลุ่มที่มีบทบาอีกกลุ่มหนึงในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนให้บรรลุเป้าหมาย   - ผู้รับผิดชอบโครงการ  คณะกรรมการ และคณะทำงานโครงการ  ในฐานะผู้รับผิดชอบหลักของโครงการ   - ผู้เชี่ยวชาญที่มาจากผู้ที่มีความรู้เฉพาะด้าน  ได้แก่ด้านการพัฒนาชุมชน วิทยากรจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอควนโดน และด้านสุขภาพ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน
    • โดยสรุปในภาพรวมของการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่ได้วางไว้ในในวันนี้ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกกลุ่มองค์กร ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เทคนิคการอกกแบบสอบถามในสิ่งที่อยากรู้อยากทราบเก่ียวกับชุมชนของตนเอง  ความต้องการ  เป้าหมายการแก้ปัญหา แนวทางในการแก้ปัญหา ตลอดจนการกำหนดแผนกิจกรรมการฉบับปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
        1. ความรู้และเทคนิคการออกแบบสอบถามข้อมูลหรือเครื่องมือแบบสอบถามประเภทเชิงปริมาณ ผลลัพธ์ที่ได้ ผู้เข้าร่วมสามารถทราบผลข้อมูลเชิงประมาณที่เป็นตัวเลข จำนวนสถิติ  จำนวนร้อยละ  จำนวนเปอร์เซ็น ได้แก่ จำนวนประชากรทั้งหมด จำนวนเพศชาย/เพศหญิง จำนวนกลุ่มอายุ จำนวนระดับการศึกษา  จำนวนการประกอบอาชีพ  จำนวนประเภทการดำรงตำแหน่งทางสังคม  จำนวนรายได้ และข้อมูลอื่นๆ ที่อยากทราบเป็นตัวเลข โดยวิธีการแจงนับ หรือวิธีการประมวลผลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อประมวลผลออกมาเป็นจำนวนๆ ในแต่ละด้าน ในส่วนที่ 1  ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
        2. ลักษณะของข้อมูลเพื่อไปสอบถามระดับความคิดเห็น  ระดับความพึงพอใจ  ต่อปัญหา  ต่อการให้บริการของหน่วยงานทุกหน่วยงาน หรือระดับความรู้ในเรื่องของสุขภาพที่ต้องการสอบถามชุมชน  แบ่งออกเป็น 5 ระดับ หรือ 3 ระดับ อยู่ท่ีผู้ออกแบบสอบถามจะวัดกี่ระดับ โดยใช้วิธีการให้คะแนน จากมากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามาก เช่น 5,4,3,2,1 หรือ 1,2,3,4,5 อยู่ที่ทางผู้ออกแบบสอบถามจะกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดอะไร   3. การออกแบบสอบลักษณะแบบเครื่องมือแบบสอบถามเชิงคุณภาพ  แบบสอบถามประเภามประเภทนี้ไม่ต้องใช้ตัวเลข ไม่ต้องการจำนวนด้านปริมาณ  แต่ต้องการด้านข้อมูลที่เป็นเชิงลึกเชิงคุณถาม ลักษณะเครื่องมือแบบนี้ต้องมีทีมงานที่มีความรู้และมีทักษะในการออกแบบสอบถาม ให้ตรงกับประเด็นที่ต้องการจะทราบ  ต้องการจะแก้ปัญหา 

     

    33 33

    7. - กิจกรรมทดสอบเครื่องมือ

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เตรียมคนทีงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล
    • เตรียมเเครื่องมือแบบสอบถาม
    • แบ่งเขตรับผิดชอบรายครัวเรือนในการจัดเก็บ ร้อยละ 60 ของครัวเรือนท้ังหมด
    • ดำเนินการจัดเก็บ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลจากการนำเครื่องมือแบบสอบถามไปทดลองใช้ในการจัดเก็บข้อมูลรายครัวเรือนและรายบุคคลในครั้งนี้  ทำให้ทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลได้รับถึงปัญหา  ข้อจำกัดของข้อมูลบางประเภทไม่สามารถสอบถามข้อมูลเชิงลึกได้ โดยเฉพาะข้อมูลเชิงคุณภาพต้องใช้ทักษะความสามารถในการจับประเด็น และประเด็นคำถาม  เสียเวลาต่อแบบสอบ 1 ชุด ต่อครัวเรือน ต่างกับข้อมูลเชิงปริมาณที่เอาแค่เพียงตัวเลขแล้วนำไปประมวลผลเท่านั้นเอง
    • ทีมงาน คณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)  พร้อมด้วยอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล และวิทยากรหรือผู้เชี่ยว เกิดกระบวนเรียนรู้การทดสอบเครื่องมือแบบสอบถาม ระหว่างเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามเชิงปริมาณ ทำให้ได้ข้อมูลเร็วเพราะเป็นตัวเลข ใช้วิธีการกรอกตัวเลขเท่านั้น ต่างกับข้อมูลที่เป็นเชิงคุณภาพที่ต้องใช้ทักษษะความรู้และความสามารถพร้อมกับเทคนิค ทีมงาน ที่เข้าใจกระบวนการ แต่ผลของการได้ของข้อมูลมีความชัดเจนและมีข้อมูลที่เป็นเชิงลึก ทำให้ง่ายต่อการนำไปจัดทำระบบฐานข้อมูลขอมูลของชุมชนในแต่ละด้านได้อย่างดี และเป็นประโยชน์ต่อการวเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหา อุปสรรค ต่อไป

     

    33 33

    8. - ประชุมการทำข้อมูลและนำเสนอข้อมูลฯ

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -นำเสนอข้อมูลที่ได้ลงเก็บในพื้นที่ -สรุปปัญหาการจัดเก็บข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินงานการจัดเก็บข้อมูลทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคของเครื่องมือในการจัดเก็บ เครื่องมือแบบเชิงปริมาณต้องใช้เวลาในการลงตัวเลข การนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่ายังไม่สามารถได้ประเด็นที่ชัดเจนเนื่องจากอาสาสมัครยังขาดความรู้และความเข้าใจในการบันทึกข้อมูล ในการสัมภาษณ์และกระบวนการอื่นๆ ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลทั่วไปด้านอายุ เพศ   1.ได้รู้จักการจัดทำระบบข้อมูล ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการไปใช้ในการจัดแผนกิจกรรมที่สอดคล้องกับปัญหา   2.ได้เสริมสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างทีมงานและคณะทำงาน ตลอดจนอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ระหว่างสมาชิกในชุมชน   3. ได้รับทราบปัญหาขั้นพื้นฐานของชุมชนที่สารถไปแก้ปัญหาได้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเอง ขอความร่วมจากหน่วยงานให้เข้ามาแก้ไข

     

    33 33

    9. - ประชาสัมพัันธ์โครงการ สสส.

    วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คัดเลือแกนนำที่จะเข้าร่วมกิจกรรมโครงการตามสัดส่วน
    • ดำเนินการซื้อเสื้อและปักโล้โก้สัญลักษณ์ของ สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีเสื้อสัญญลักษณ์ประชาสัมพันธ์กิกรรมโครงการของ สสส.ตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง  ทำให้ทีมงาน คณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบโครงการได้เกิดความรักความเข้าใจอันที่ถูกต้องและเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคณะกรรมการ ทีมงาน ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทุกถาคส่วนในการที่จะดำเนินงานร่วมกันต่อไปให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ได้วางไว้ต่อไป

     

    60 60

    10. - กิจกรรมทดลองเก็บข้อมูล

    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมงานในการจัดเก็บข้อมูล วิธิเก็บ วิธีสัมภาษณ์
    • แจกจ่ายเครื่องมือแบบสอบถามตามจำนวนครัวเรือนเป้าหมายในการทดสอบเครื่องมือในครั้งนี้
    • แบ่งโซนเขตรับผิดชอบครัวเรือนการจัดเก็บข้อมูล
    • ลงพื้นที่ปฎิบัติการจัดเก็บข้อมูลตามภารกิจที่ได้มอบหมายให้
    • รวบรวมข้อมข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการทำความเข้าใจทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ทำให้ทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ชุมชน ครัวเรือน ผู้รับผิดชอบโครงการ  คณะทำงาน  เลขานุการ  และเหรัญญิก ผลจากการจัดเก็บข้อมูลโยงเครื่องมือแบบสอบถามครั้งนี้ทำให้มีข้อมูลที่สามารถนำไปจัดทำแผนปฎิบัติการได้ โดยผ่านกระบวนการรวบรวบบรวมข้อมูล สรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ให้ออกเป็นด้านๆ และเป็นประเด็น  จากข้อมูลเชิงปริมาณ  และข้อมูลเชิงคุณภาพ   - การดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้ได้ดำเนินการมาถึงกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูลในชุมชน  โดยนำเครื่องมือแบบสอบที่ได้เรียนรู้และผ่านเวทีการอบรมให้ความรู้เทคนิคการออกแบบสอบถามเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพในครั้งนี้  โดยที่ทีงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และทีมงานอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลที่มาจากตัวแทนกลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน  ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมมูลในครั้งนี้เป็นการทดลองใช้เครื่องมือแบบสอบถามเพื่อต้องการทราบปัญาในการจัดเก็บระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณกับข้อมูลเชิงคุณคุณภาพ  มีความแตกต่างและความยากง่ายอย่างไร  การได้มาซึ่งข้อมูลจะตอบโจทย์กับปัญหาและความต้องการของชุมชนหรือไหม   -ทำให้ทีมงานได้รู้จักชุมชนมากขึ้น

     

    33 33

    11. - รายงานโครงการงวดท่ี 1

    วันที่ 6 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รวมรวมรายละเอียดกิจกรรมทุกกิจกรรม
    • รวบรวมใบสำคัญการจ่าย ใบสำคัญรับเงิน และใบเสร็จรับเงิน
    • ตรวจสอบคาวมถูกต้องรายการจ่ายให้ตรงกับกับกิจกรรมแต่ละกิจกรรม
    • จัดทำบัญชีคุมยอดเงินให้ตรงกับบัญชีธนาคาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

        การดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุุ่งมะปรัง หมู่ที่ 1 ตำบลวังประจัน ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศิกายน  2557 ถึง วันนี้ เดือนมีนาคม 2558 ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ทำให้คณะทำงานและประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กรต่างๆ ทุกกลุ่มองค์กร ภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เก่ียวข้องทุกหน่วยงาน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้   1.ด้านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนส่วนของทุกภาคส่วนในการทำกิจกรรมร่วมกัน   2.ด้านข้อมูล การนำข้อมูลทีทมีอยู่แล้วมาศึกษาวิเคราะห์

     

    2 2

    12. - ค่าภาพถ่ายส่ง สสส.

    วันที่ 7 มีนาคม 2015 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รวบรวมภาพกิจกรรมแต่ลละกิจกรรม
    • คัดเลือกภาพกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ทีงานคณะทำงานโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถึพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง พร้อมกับมีภาพกิจกรรมการดำเนินตามโครงการ ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการทำกิจกรรมร่วมกัน การศึกษาข้อมูลพื้นฐานชุมชน  สภาพปัญหา ความต้องการ แนวทางการแก้ปัญหา เพื่อนำไปดำเนินการจัดทำแผนฉบับบปฏิบัติในชุมชน  ในการแก้ปัญหาให้มีความสอดคล้องกับบริบทชุมชน วิถีชีวิต อาชีพ ต่อไป
    • ได้รวบรวมภาพกิจกรรมของการดำเนินงานประจำงวด ของงวดที่ 1

     

    5 5

    13. - ประชุมชี้แจง สรุปงานงวดท่ี 1 โดย สจรส.และ สสส.

    วันที่ 25 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.สรุปรายรับ-รายจ่ายประจำงวดที่ 1 2.จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำงวดที่ 1 3.ตรวจสอบความถูกต้องการจัดทำบัญชีรายรั-รายจ่าย 4.ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานการเงิน 5.สรุปปัญหาและอุปสรรคพร้อมกับแนวทางการแก้ไข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลจากการประชุมชัีแจงนครั้งนี้  โดย สจรส.และ สสส.ในครั้งนี้ ทำโครงการหมู่บ้านจัดการสุขาวะดีวิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง ในครังนี้ ที่ศูนย์คุ้มครองครองผู้บริโภค อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  ได้ทราบถึงปัญหาและข้อจำกัดของคณะกรรมการและทีมงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ  รวมถึงพี่เลี้ยงโครงการ  และโครงการอื่น ๆ ที่มาร่วมประชุมรายงานผลการดำเนินงานประจำงวดที่ 1 นั้น   1.รับทราบปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการดังกล่าว

     

    5 5

    14. -ประชุมงวด สสส.ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานพร้อมพี่เลี้ยงโครงการ

    วันที่ 28 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เตรียมเอกสารข้อมูล เอกสารบัญชี
    2. ตรวสอบความถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

        การดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง  นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของชุมชนที่ได้ดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อต้องการให้ชุมชนมีระบบฐานข้อมูลท่ีเชิงประจักษ์ ในการนำข้อมูลไปสรุปรวบรวม และวิเคราะห์ปัยหาของชุมชน จัดทำเวทีประชาคม เพื่อจัดทำแผนชุมชน หาแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและจำลำดับความสำคัญของปัยหาต่อไป
        วันนี้พี่เลี้ยงโครงการ  โดยคุณธิดา  เหมือนพะวงศ์  พี่เลัียงโครงการ ได้มาเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินตามแผนกิจกรรมของโครงการที่ได้วางไว้  จากการติดตามในครั้งนี พบว่า โครการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง มีการดำเนินกิจกรรมตามแผนกิจกรรมโครงการที่ได้วางไว้มีความล่าช้า  เนื่องจากว่าโครงการอาน้เป็นโครงการใหม่ โดยสรุปประเด็นได้ดังนี้     1.การดำเนินงานมีความล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนกิจกรรมที่ได้วางไว้     2.ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการ มีภารกิจในชุมชนค่อนข้างมาก     3. ลขานุการและเหรัญญิกยังขาดความรู้ในการจัดบัญชีรายรับ-รายจ่าย และการลงช่องรายจ่ายตามประเภท     4.ปรับแผนกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชน     5.บูรณาการกิจกรรมกับกิจกรรมของชุมชที่มีความสอดคล้องกันในบางกิจกรรม     6.ให้ความรู้เทคนิคการจัดทำบัญชีอย่างง่ายให้กับเลขานุการและเหรัญญิก

     

    5 6

    15. -ประชุูมเชิงปฏิบัติการทีมงาน จัดทำฐานข้อมูลระบบชุมชน

    วันที่ 28 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขั้นตอนและรายละเอียดในการดำเนินกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการจัดทำแผนเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ประกอบด้วย ดังนี้ 1. ประชุมทีมงานเพื่อกำหนดวัน เวลา และสถานที่ การดำเนนิกจกรรมดังกล่าว กำหนดกิจกรรม และกลุ่มเป้าหมาย 2. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบภารกิจงานแต่ละฝ่าย 3. ประสานงานผู้นำชุมชน  ผู้นำศานา ผู้นำท้องถิ่น  และทีมงานวิทยากรภายนอกและภายใน 4. ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมให้ครอบคลุมตามกลุ่มเป้าหมาที่ได้กำหนดไว้ 5. วันดำเนินการ รับลงทะเบียน/รายงานตัว 6. ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของกิจกรรม พร้อมกับแนะนำทีมงาน คณะทำงาน และพี่เลี้ยงโครงการ 7. แนะนำวิทยากรกระบวนการ วิทยากรภายนอกและภายใน 8. ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ 9. แบ่งกลุ่มระดมความคิดและฝึกปฏบิติการจัดแผนเชิงปฏิบัติการ 10.นำเสนอแผนฉบับปฏิบัติการ และคัดเลือกแผนสุขภาพฉบับบปฏิบัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการดำเนินกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ  การทำข้อมู,และฐานระบบข้อมูลของชุมชน ในครั้งนี้ สิ่งที่ได้       1. ผลการที่ได้รับจากกิจกรรมทำให้ผู้เข้าร่วมกิกรรมหลักการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตามกิจกรรมการจัดทำระบบฐานข้อมูลของชุมชน ของกลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้นำชุมชน  ผู้นำท้องภิ่น  ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น  และภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบได้รับมีองค์ความรู้ในเรื่องของข้อมูล ข้อมูลคืออะไร  ข้อมูลนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และประเภทของข้อมูล  แหล่งของข้อมูล และการได้ซึ่งของข้อมูล มีแนวทางและวิธีการหรือเทคนิคอย่างไร       2. เกืดกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมในการของทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้  ในการให้ความสำคัญของข้อมูลชุมชน ข้อมูลหมู่บ้านที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญชาของชุมชนได้ตรงจุดและตรงกับความต้องการ     3. ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนเกิดกระบวนเรียนรู้ต่อการรับปัญหาของชุมชนโดยผ่านข้อมูลเดิมที่มีอยู่ในชุมชน ข้อมูลแผนชุมชน ข้อมูล กชช.2 ค ข้อมูล จปฐ.ข้อมูลสุขภาพ และข้อมูลอื่น     4. ได้ระบบฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน  จำนวนประชากร แยกเพศ ชาย/หญิง กลุ่มอายุ ด้านการประกอบอาชีพ รายได้ สถานะทางสังคม ดำรงตำแหน่ง สังกัดกลุ่มองค์กร และการศึกษา นี้เป็นระบบฐานข้อมูลที่กลุ่มเป้าหมายต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่ในการนำระบบฐานข้อมูลดังกล่าวไปวางแผนกิจกรรมเพื่อการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง     5. ได้รับถึงระบบฐานข้อมูลด้านทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน ทุนทางธรรมชาติ  วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต แกนนำธรรมชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน หมอสมุนไพร และแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนในการดำเนินกิจกรรม  หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง     6. ได้รับรู้ถึงขัอมูลแหล่งทุน  กองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน  การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานใด้บ้าง เกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายในชุมครอบคลุมมากน้อยเพียงใด     7. มีระบบฐานข้อมูลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม  กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ป่วยเรื้องรัง ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ด้อยโอกาสทางสังด้านอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ     8. มีระบบฐานข้อมูลปัญหาต่างๆ ในชุมชน ปัญหาด้านสุขภาพและสาธารณสุข  ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในชุมชน     9.มีแผนกิจกรรม/โครงการระยะสั้น  ระยะยาว งบประมาณและแหล่งงบประมาณที่รับการสนับสนุย  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ ที่เกิดจากการระดมความคิดของกลุมเป้าหมายในวันนี้ เพื่อนำไปแก้ปัญหาของชุมชน   10. เกิดกลุ่มอาสาสมัครจิตอาสาที่อาสาเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรังเพิ่มเติม นอกเหนือจากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีเยาวชน สตตรี และกรรมการหมู่บ้าน พร้อมที่จะเดินหน้าไปด้วยกันเพื่อให้ประสบณ์ความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้       โดยสรุปในวันนี้  จากการดำเนินกิจกรรมประชุมการจัดแผนเชิงปฏิบัติการ ในการจัดฐานระบบข้อมูล  สิ่งที่ได้คือ   1. มีระบบฐานข้อมูลพื้นฐานของชุมชน บริบทของชุมชน
      2. มีแผนกิจกรรม/โครงการ ของชุมชน   3. มีอาสาสมัครจิตอาสาเพิ่มเติมในการทำงาน   4. รู้แหล่งงงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ  รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง   5. ได้ความรักความสามัคคี ที่เกิดจากการมีกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน

     

    60 60

    16. ฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล

    วันที่ 3 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      1.แบ่งกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลออกเป็นชุดๆ จำนวน 6 ชุด พร้อมด้วยคณะทำงาน 2.แบ่งจำนวนเขตรับผิดชอบครัวเรือนโดยการสุ่มครัวเรือนร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3.ดำเนินการฝีกปฏิบัติจัดเก็บข้อมูลตามครัวเรือนเป้าหมายตามเขตรับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการดำเนินตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี  วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนกิจกรรมการฝึกปฏบัติจัดเก็บข้อมูลรายครัวเรือนโดยมีกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล วิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญ และทีมงานคณะทำงานโครงการดังกล่าว พร้อมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปผลการดำเนินกิจกรรม     1. จำนวนครัวเรือนที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  162 ครัวเรือน สามารถฝีกปฏิบัติการจัดเก็บข้อมูลได้ร้อยละ 60  ของจำนวนครัวเรือนท้ังหมด ได้จำนวน  92 ครัวเรือน   2. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล คณะทำงาน ทีมงาน พร้อมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน มีการวางแผนการทำงาน มีการแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน   3. ชุมชนได้มีโอกาสในการสะท้อนปัญหาความต้องการ  แก่ทีมงาน คณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำปัญหาความต้องการในเรื่องของการจัดการสุขภาพดี วิถีพอเพียง ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   4. เกิดกระบวนการการทำงานร่วมกันเป็นทีมของคณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล   5. เกิดความสัมพันธ์ที่ดีรระหว่างคณะทำงาน ทีมงาน อาสาสมัครสาธะารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ระหว่างชาวบ้านในชุมชนเป็นการลดช่องว่างระหว่างกัน   6. ผลที่เกิดอีกประการทำให้คณะทำงาน  อาสสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลได้ฝีกปฏิบัติการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การตั้งประเด็นคำถาม การสังเกตุ การมีปฏิภาณไหวพริบในการฝึกปฏิบัติการจัดเก็บเพื่อให้เกิดความชำนาญ     สรุปผลจากการดำเนินกิจกรรมนี้ การฝึกปฏิบัติการจัดก็บข้อมูลและทำข้อมูล   1. ได้อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ทีมงานและคณะทำงานที่มีจิตอาสาในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ตามแผนกิจกรรมที่ได้วางไว้   2. ทีมงานและคณะทำงาน พร้อมด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บเข้าใความหมายของระบบฐาน๘้อมูล   3. ทีมงานและคณะทำงาน พร้อมด้วยอาสาสมัครสาธารรสุข อาสาสมัครจัเก็บข้อมูล ได้เกิดความรู้และความชำนาญในการจัดเก็บข้อมูลแต่ละประเภท   4. ทีมงานและคณะทำงาน  พร้อมด้วยอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล มีกิจกรรมสานพันธ์กันระหว่่างชุมชน

     

    33 33

    17. กิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน

    วันที่ 17 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมเตรียมความพร้อม 2. คัดเลือกเยาวชนนักจัดเก็บข้อมูล 3. แบ่งโซนในการจัดเก็บข้อมูล 4. ทำแผนในการออกเก็บข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จำนวนผู้จัดเก็บข้อมูล 30 คน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขและ อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล กลุ่มเยาวชน 15 คน รวม 30 คน
    2. จำนวนครัวเรือน 175 ครัวเรือน ในเขตรับผิดชอบ 15 เขต

     

    30 30

    18. รวบรวมข้อมูล สรุปข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

    วันที่ 21 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รวบรวมข้อมูลแบบสอบทั้งหมดที่จัดเก็บได้ จาก 15 เขต รับผิดชอบ จำนวน 175 ชุด
    2. จำแนกแบบสอบถามเป็น 15 ชุด ของเขตรับผิดชอบ
    3. แจงนับรายละเอียดแต่ละประเด็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      ผลการดำเนินกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมการรวบรมข้อมูลพื้นฐานของชุมชนที่ผ่านการจัดเก็บโดย ทีมงาน คณะทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และ อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล ที่มาจากกลุ่มเยาวชน และแกนนำสตรี ในครั้ง โดยมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมกิจจกรมด้วย เพื่อความถูกต้อง เทคนิคการรวบรวมข้อมูล การจำแนกข้อมูล การแยกข้อมูลเป็นประเภทๆ ตามประเด็นของแบบสอบถาม 

     

    33 33

    19. : ร่วมจัดนิทรรศผลงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ผลการดำเนินงานและรับฟังการบรรยายสรุป

    วันที่ 4 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      - ประชุมรับฟังคำบรรยายจากสสส. พร้อมชมบู๊ทนิทรรศการเด่นๆของแต่ละจังหวัดเพื่อนำจุดเด่นของแต่ละจังหวัดมาปรับใช้กับการดำเนินงานกิจกรรมโครงการของพื้นที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      - ประชุมรับฟังคำบรรยายจากสสส. พร้อมชมบู๊ทนิทรรศการเด่นๆของแต่ละจังหวัดเพื่อนำจุดเด่นของแต่ละจังหวัดมาปรับใช้กับการดำเนินงานกิจกรรมโครงการของพื้นที่

     

    2 2

    20. ปฏิบัติตามแผนชุมชรและแผนสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม

    วันที่ 25 กันยายน 2015 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แบ่งฝ่ายการดำเนินงานแต่ละฝ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรังทำให้เกิดความร่วมมือ

     

    30 30

    21. คืนข้อมูลชุมชน

    วันที่ 29 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมทีมงานคณทำงาน กำยดวัน เวลา และสถานที่
    2. กำหนดกิจกรรมในวันที่จะดำเนินงาน มีกิจกรรมอะไรบ้าง ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ใครประสานงาน
    3. แบ่งงาน และฝ่ายหน้าที่รับผิดชอบในวันดำเนินกิจกรร ได้แก่ รับลงทะเบียน แจกของที่ระลึก พิธีกรงาน ฝ่ายนิทรรศการ ฝ่ายเวที และจัดหาวิทยากร 4.ประสานงานครัวเรือนเป้าหมาย ,ประชาสัมพันธ์ครัวเรือนเป้าหมาย
    4. ประสานงานภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
    5. ประสานทีีมงานวิทยากร กำหนดหัวข้อเรื่องราวที่จะจะกิจกรรมในวันดังกล่าว หัวข้อให้ความรู้ กิจกรรมการคืนข้อมูล 6.ดำเนินตามกิจกรรมตามแผนงาน
    6. สรุปประเมินผล ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

        ผลการดำเนินงานกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชนในครั้งนี้  ตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้ โโยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แกนนำสุขภาพประจำครัวเรือน  ตัวแทนครัวเรือนในชุมชนท้ังชุมชนได้มีส่วยนร่วมในการรับฟังชี้แจง  การคืนข้อมูลสู่ชุมชน ข้อมูลพื้นฐานชุมชน ข้อมูลระบบสุขภาพของชุมชน ปัญหาสุขภาพ  ตลอดจนเพื่อเน้นให้หน่วยงานทุกภาคส่วนในชุมชน/ตำบล ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชน เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวของชุมชนที่ผ่านการเก็บข้อมูล  ผ่านการรวบรวม และผ่านเวทีวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาสาสมัครสาธารศุข (อสม.) ทีมงานคณะทำงาน ตลอดจนอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลที่เป็นเยาวชนในชุมชน  ได้เข้ามามีส่วนร่วม เข้ามามีบทบาทในการรับรู้ รับทราบข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดทำแผนชุมชน แก้ปัญหาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และบริบทวิถีชีวติตของชุมชน  ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนกิจกรรรมต่อไป   โดยเนื้อหาและกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนในวันนี้ทำให้ชุมได้ ดังนี้

     

    160 170

    22. - รวบรวมภาพถ่ายกิจกรรมท้ังหมดงวดงานท่ี 2

    วันที่ 30 กันยายน 2015 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แบ่งงานรับผิดชอบแต่ละละฝ่าย
    2. จัดรายงานการเงินให้ครบถูกต้องและชัดเจน
    3. ตรวจสอบหลักฐานควาถูกต้องของกิจกรรมทุกกิจกรรม
    4. คีย์ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ และส่งภาพกิจกรรมผ่านเว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

        ผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรังในครั้งนี้ จนมาถึงงวด 2 ของการทำรายงาน รวบรวมข้อมูล การทำรายงานการเงิน ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการและกิจกรรมดังกล่าว ประโยชน์สูงสุดที่เกิดกับชุมชน  ทำให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดและจัดการระบบสุขภาพของชุมชนด้วยชุมชนเอง และท้ังนี้สิ่งได้รับอีกอย่าง ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการ ตลอดจนคณะทำงาน ทีงานผู้รับผิดชอบโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง เกิดความรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม รู้จักการบริหารองค์กร และได้รับความรู้จากการแนะนำจากพี่เลี้ยงที่คอยดูแล และให้กำลังใจกับคณะทำงานทุกๆ คนด้วยดีมาตลอด

     

    5 5

    23. ประชุุมสรุุปผลการดำเนินงาน

    วันที่ 30 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นำเสนอแผนงานกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาทุกกิจกรรม
    2. หาปัญหา ข้อบกพร่อง ข้อจำกัดของการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม
    3. หามาตรการ แนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน พร้อมกับการกำหนดแผนกิจกรรม ปรับกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับเวลา และบริบลของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      จากการประชุมสรุปปัญหาของการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมของโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้  โดยคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ ตลอดจน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล กลุ่มเยาวชน ตลอดจนผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้้นำท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายกลุ่มองค์กรกลุ่ม  และหน่วยงานที่เก่ียวข้อง  ได้รับทราบถึงปัญหาข้อจำกัด และกรอบของโครงการ  เงื่อนไขการทำงานตามกรอบของ สสส.ท่ีจะต้องมีความถูกต้องและชัดเจน  การปฏิบัติงานกิจกรรรการดำเนินงานต้องเป็นไปตามแผนกิจกรรม  การใช้จ่ายเงินต้องมีควมรอบคอบ และชัดเจน มีความโปร่งใส ท้ังนี้รวมถึงคณะทำงานของโครงการ ที่เป็นผู้มีจิตอาสาที่เข้ามาทำงานเพื่อชุมชน 

     

    36 36

    24. มอบของที่ระลึกและเกียตริบัตรให้กับบุคคลต้นแบบฯและครอบครอบครัวต้นแบบฯ

    วันที่ 5 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมและแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้อนแบบ จำนวน 6 คน
    2. กำหนดเกณฑ์  ตัวชี้วัด และรายละเอียดครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบ ในชุมชน
    3. กำหนดวันเวลา การสมัคร ปิดป้ายประชาสัมพันธ์
    4. ลงพื้นที่ประมิน ในเขตรับรับผิดชอบ ท้ัง 15 เขต
    5. ประชุมสรุปผลการประเมินครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบ ตาเกณฑ์ที่ลงประเมิน
    6. ประกาศครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้น มอบเกียตริบัตร และของที่ระลึกให้กับครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบด้านพอเพียง
    7. ปิดป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน ให้ชุมชนได้รับทราบโดยทั่วกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปการดำเนินงานกิจกรรมประกวดครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบด้านความพอเพียงอันเป็นกิจกรรมหลักที่เป็นไปตามแผนกิจกรรมที่ได้มาจากการประชุมจัดทำแผนฉบับปฏิบัติการ จนทำให้คณะทำงาน ทีมงาน กรรมการผู้ลงประมิน ที่มาจากทุกภาคส่วน จนทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ผู้นำศาสนาให้ความสำคัญต่อดำเนินงานของโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้ง ผลลัพทธ์ที่เกิดขึ้น 1.ความร่วมมือของชุมชนที่ส่งเข้าประกวดครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบ จำนวน 152 ครัวเรือน ในเขตรับผิดชอบ จำนวน 15 เขตรับผิดชอบ โดยมีทีมงาน อสม.เป็นกลไกหลัก ทีมงานหมอประจำครัวเรือน เจ้าหน้าที่ รพ.สต.วังประจัน พัฒนาชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ใหญ่บ้าน ได้ลงพื้นที่เพื่อทำการประเมินครัวเรือนต้นแบบ และบุคคล ต้นแบบ โดยเกณฑ์ท่ีกำหนดแบบชาวบ้าน
    2.เกิดกระบวนเรียนรู้ระหว่างกัน ทีมงานคณะทำงาน ผู้นำชุมชน จนท.รพ.สต. อสม.ในการไปเยี่ยม ชี้แจง การรณรงค์ให้ครัวเรือนได้เข้ามามีกิจกรรมในการ ปรับสภาพล้อมรอบบริเวณบ้าน การปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ บ้านเรือนสะอาดน่าอยู่ ท้ังภายนอกและภายใน การจัดทำบัญชีครัวเรือน การลดรายจ่าย มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมกับชุมชน การบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ ครัวเรือนปลอดลูกน้ำยุงลาย ดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักศานา มีคุณธรรมและจริญธรรมเป็นแบบอย่างที่แก่เพื่อนบ้าน และยึดหลักปัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน
    3.สิ่งที่ได้รับ และผลลัพธ์ จากการดำเนินกิจกรรมนี้ มีครัวเรือนต้นที่ได้ดำเนินการตามเกณฑ์ที่ทีมงาน ลงประเมิน จำนวน 15 ครัวเรือน 15 เขต ๆ ละ 1 ครัวเรือน 4.สิ่งที่ได้รับ และผลลัพธ์ จากการดำเนินกิจกรรมนี้ มีบุคคลต้นที่ได้ดำเนินการตามเกณฑ์ที่ทีมงาน ลงประเมิน จำนวน 15 คน 15 เขต ๆ ละ 1 คน 5.เกิดกระบวนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างกัน เพื่อประกาศให้บุคคลอื่นได้รับทราบ ได้เรียนรู้และเป็นแบบอย่างต่อไป

     

    36 175

    25. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผน

    วันที่ 7 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนฉบับปฏิบัติการ
    • เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างคณะทำงาน แกนนำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • จัดกิจกรรมกลุ่มย่อยระดมความคิด จำนวน 4 กลุ่ม
    • นำเสนอแผนกิจกรรม แผนสุขภาพฉบับปฏิบัติในการนำไปใช้ 1 แผนกิจกรรม
    • บรรจุแผนกิจกรรมเป็นวาระหรือนโยบายสาธารณณะของชุมชน
    • นำแผนไปปฏิบัติในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      ผลการประชุมการทำแผนปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนสุขภาพของชุมชน  ในการแก้ป้ญหาระบบสุขภาพของชุมชน  ที่ได้ผ่านจากเวทีหลายเวที และกิจกรรม การจัดทำระบบฐานข้อมู,  การนำข้อมู,ไปทดลองใช้ และกลับมาสร้างข้อมูลแบบสอบถามให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน  โดยผ่านการตรวจสอบ  การแนะนำจากวิทยากร ที่เก่ียวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พัฒนาชุมชน เกษตร ครู และปราชญ์ชาวบ้าน  จนได้การจัดเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์  และนำข้อมูลมาจัดทำเป็นแผนฉบับปฏิบัติการในการในครั้งนี้ ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกภาคส่วน ทุกกลุ่ม ทุกกองค์กร  จึงแผนสุขภาพของชุมชน จำนวน 1 ฉบับ เพื่อนำไปเป็นนโยบายสาธารณะในการแก้ปัญหาของชุมชนต่อไป  โดยกระบวนการกิจกรรมเวทีในวันนี้สารมารถสรุปได้ดังนี้

     

    60 60

    26. - ประกาศผล และทำป้ายประชาสัมพันธ์ บุคคลต้นแบบฯ และครอบครัวต้นแบบ

    วันที่ 12 ตุลาคม 2015 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. กำหนดเกณฑ์การประกวด
    2. ลงพื้นที่ประเมิน
    3. รวบรวมข้อมูล
    4. สรุปข้อมูล
    5. ประกาศผลครัวเรือนต้นแบบ และบุคคลต้นแบบ
    6. มอบเกียตริบัตร และของที่ระลึก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      ผลการดำเนินงานตามแผนฉบับปฏิบัติการเพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ ภายใต้คำว่า สุขภาวะดีวิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง  โดยเน้นให้ประชาชนได้ดำเนินกิจกรรมครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง การปรับสภาพแวดล้อมรอบบริเวณบ้าน การปลูกผักกินเอง  ตลอดจนการดูแลระบบสุขภาพของตนเอง  สมาชิกในครัวเรือน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ด้านอาหาร  การออกกำลังกาย  ด้านอารมณ์ ตลอดจน การงดสูบบุหรี่ และไม่ดิ่มสุรา ผลการดำเนินตามกิจกรรมนี้ กิจกรรมการประกวดบุคคลต้นแบบ และครัวเรือนต้นแบบ ทำให้กิจกรรม กระบวนการร่วมกัน ของทุกภาคส่วน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น  กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี ตลอจนภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โรงเรียน/สถานศึกษา รพ.สต.และ อบต.

     

    6 6

    27. กิจกรรมถอดบทเรียน

    วันที่ 19 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นำเสนอกิจกรรมท้ังตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ การพัฒนาโครงการ 2.แยกรายละเอียดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ กิจกรรมหลักกิจกรรมย่อย 3.นำเสนอปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด จุดดี จุดเด่น ของการดำเนินโครงการ 4.ปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินโครงการ ทีมงาน พี่เลี้ยง งบประมาณ ทุนทางสังคม 5.ระดมความคิด สรุปสภาพปัญหาเกิดจากกอะไร อะไรคือปัจจัยของปัญหา
    6.นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา วิธีการ และหาข้อสรุปเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากกิจการดำเนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดีวิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมการถอดบทเรียน เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลถีงปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการดังกล่าวราย กิจกรรมท้ังหมด ทำให้ได้รับทราบว่าปัญหาในการดำนินโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง สามารถที่จะสรุปประเด็นได้ดังนี้

    1. ด้านผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้นำท้องถิ่น (สมาชิก อบต.) ผู้นำศาสนา (บิลาล) คณะทีมงาน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข และกลุ่มเยาวชน เป็นแรงขับเคลื่อนกิจกรรมทุกกิจกรรมด้วย รวมไปยังชุมชน ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
    2. ด้านการดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์หลักให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด รวมไปถึงกิจกรรมย่อยท้ังหมด ทางโครงการอาจจะมีความบกพร่องในการบริหารการจัดโครงการให้เป็นไปตามเงือนไขของระยะเวลาได้ ด้วยปัจจัยของผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ทีมงาน ด้วยภารกิจงานของชุมชน ของหน่วยงานภาคีเครือข่ายอื่น ๆอีกมากมาย จึงทำให้กิจกรรมบางกิจกรรมมีความล่าช้าและสะดุดไปบ้าง
    3. ด้านงบประมาณ และการจัดทำบัญชี มีความบกพร่องบ้างเล็กน้อย เนื่องทีมงานฝ่ายเลขานุการ และเหรัญญิกอาจเป็นเรื่องใหม่

    บทสรุปการสนทนากลุ่มและบุคคลต้นแบบ กิจกรรมถอดบทเรียน ผู้เข้าร่วมประชุม30คน เริ่มแรกประธานโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมในครั้งนี้หลังจากนั้นประธานโครงการเชิญพี่เลี้ยงร่วมพูดคุยและให้กำลังใจการทำงาน พี่เลี้ยงได้พูดคุยและให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุมและทีมงาน ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนสนใจและตั้งใจฟังหลังจากนั้นประธานโครงการเชิญผู้ใหญ่บ้านร่วมพูดคุยและมอบรางวัลแก่บุคคลต้นแบบและครอบครัวต้นแบบ ที่เป็นต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียงและด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งครัวเรือนและบุคคลต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้มีทั้งหมด 15ครัวเรือนและบุคคลต้นแบบ…15….คนทุกคนร่วมแสดงยินดีกับบุคคลที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้หลังจากนั้นร่วมถอดบทเรียนโดนสอบถามวิถีชีวิตในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของแต่ละคนเพื่อหาแนวทางและสาเหตุในการป้องการการเกิดโรคต่างๆและได้รู้การดำเนินชีวิตของแต่ละคนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ว่าแต่ละวันทำอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นและพูดคุยกันอย่างเต็มที่หลังจากนั้นก็สามารถสรุปวิถีชีวิต(นาฬิกาชีวิต)ของคนในชุมชนหมู่ที่1 บ้านทุ่งมะปรังได้ดังนี้

    นาฬิกาชีวิตนี้สามารถสะท้อนการดำเนินชีวิตได้ดีว่าสิ่งต่างๆที่เราดำเนินไปในแต่ละวันเป็นอย่างไรซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ เช่นการตัดยาง จะเป็นการออกแรงปานกลางซึ่งหลายคนสงสัยว่าทำไมน้ำหนักไม่ลด การตัดยางเป็นการออกแรงไม่ใช่เป็นการออกกำลังกาย ถ้าเดินต้องเดินอย่างต่อเนื่องประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงทำให้ทุกคนเข้าใจมากยิ่งขึ้นหลังจากนั้นจะให้ทุกคนช่วยกันสรุปความภาคภูมิใจตลอดการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งสมามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ความไม่เป็นโรค 2. เลือกรับประทานอาหาร 3. ไม่กินแกงกะทิ 4. มีความสุขในการดำเนินชีวิต 5. เข้ากับคนอื่นได้ดี 6. ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ 7. ครอบครัวอบอุ่น

    และให้ทุกคนร่วมกันวาดความฝันในอนาคตทุกคนร่วมเสนอดังนี้ 1. ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. สุขภาพร่างกายแข็งแรง 3. เป็นที่รักของผู้คน 4. คนในชุมชนมีสุขภาพสมส่วน

    ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม • การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ดีแล้วทำให้ชุมชนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง • อยากให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

     

    30 30

    28. - จัดรายงานผลการดำเนินโครงการ ส่ง สสส.

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สรุปจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทั้งหมด
    2. ตรวจสอบความถูกต้องหลักฐาน การใช้จ่ายเงิน ได้แก่ ใบสำคัญรับเงินค่าตอบแทนวิทยากร ,ค่าใช้สอย,ค่าตอบแทน,และใบเสร็จรับรับเงิน
    3. จัดทำบัญชีลงในสมุดเล่มสีส้มให้เป็นปัจจุบัน
    4. ตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครการ
    5. สรุปผลการดำเนินงานทุกกิจกรรม ได้อะไร ปัญหาอุปสรรคเป็นอย่าง ตลอดจนแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลจากการดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียงบ้านทุ่งมะปรัง ในครั้งนี้ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมในการในชุมชนทุกภาคส่วน ที่เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพภาคประชาชน ที่พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ชมชนยังขาดองค์ความรู้ในการจัดการดูแลระบบสุขของตนเอง ครอบครัว และเชื่อมโดยงไปยังชุมชนอย่างแท้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ฯ ทีมงานคณะทำงาน ผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายผู้นำท้องถิ่น ได้แก่ สมาชิก อบต. สำหรับฝ่ายผู้นำศานา ได้แก่ อิหม่าม,คอติบ และบิลาล.ฝ่ายองค์กรกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาสาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี ปราชญ์ชาวบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายงานที่เก่ียวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารสุข (รพ.สต.วังประจัน) เจ้าหน้าท่ี อบต.วังประจัน ,ครูอนามัยโรงเรียน,พัฒนากรประจำตำบล จากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอควนดดน

     

    6 6

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการจัดการข้อมูลของชุมชน
    ตัวชี้วัด : - มีอาสาสมัครในการจัดเก็บระบบฐานข้อมูลชุมชน จำนวน 30 คน - ข้อมูลครัวเรือนในชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง จำนวน 175 ชุด - มีฐานข้อมูลของชุมชน จำนวน 1 ชุด

    1.มีอาสาสมัครในการจัดเก็บระบบฐานข้อมูลชุมชน จำนวน 30 คน 2.ข้อมูลครัวเรือนในชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง จำนวน 175 ชุด 3.มีฐานข้อมูลของชุมชน จำนวน 1 ชุด

    2 2 เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการนำข้อมูลชุมชนมาจัดทำแผนปฏิบัติการ
    ตัวชี้วัด : - ชุมชนมีการจัดทำแผนโดยการมีสวนร่วมและสามารถนำไปแผนชุมชนสู่การปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
    1. มีแผนชุมชน
    3 3 เพื่อให้ชุมชนได้นำแผนปฏิบัติการของชุมชนใการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ นำมาแก้ปัญหาได้ตรงกับความต้องการของชุมชนตามแนวคิด สุขภาพดี วิถีพอเพียง
    ตัวชี้วัด : - ประชาชน ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพ โดยการมี่สวนร่วมของชุมชน ได้ดำเนินกิจกรรมตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกผักกินเอง ผักปลอดสารพิษ ผักสวนครัวรั้วกินได้ ธนาคารผักพื้นบ้าน เกิดกิจกรรมการออมและชุมชนมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เกิดเยาวชนนักจัดการสุขภาพ ที่มีการดำเนินงานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดูแลซึ่งกันและกัน เกิดสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน

    ประชาชน ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพ โดยการมี่สวนร่วมของชุมชน ได้ดำเนินกิจกรรมตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกผักกินเอง ผักปลอดสารพิษ ผักสวนครัวรั้วกินได้ ธนาคารผักพื้นบ้าน เกิดกิจกรรมการออมและชุมชนมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เกิดเยาวชนนักจัดการสุขภาพ ที่มีการดำเนินงานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดูแลซึ่งกันและกัน เกิดสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน

    4 ติดตามสรุป สนับสนุนจาก สสส สจรส และพี่เลี้ยง
    ตัวชี้วัด : - มีข้อมูลที่ชัดเจน การบริหารจัดการโครงการ การจัดรายงานการเงิน และการทำรายงานที่ถูกต้อง - มีป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ของ สสส.รณรงค์ในชุมชน - เกิดการบริหารการจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพ

    การจัดรายงานการเงิน และการทำรายงานที่ถูกต้อง มีป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ของ สสส.รณรงค์ในชุมชน เกิดการบริหารการจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการจัดการข้อมูลของชุมชน (2) 2 เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการนำข้อมูลชุมชนมาจัดทำแผนปฏิบัติการ (3) 3 เพื่อให้ชุมชนได้นำแผนปฏิบัติการของชุมชนใการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ นำมาแก้ปัญหาได้ตรงกับความต้องการของชุมชนตามแนวคิด สุขภาพดี วิถีพอเพียง (4) ติดตามสรุป สนับสนุนจาก  สสส สจรส  และพี่เลี้ยง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง

    รหัสโครงการ 57-02572 รหัสสัญญา 58-00-0086 ระยะเวลาโครงการ 15 พฤศจิกายน 2014 - 15 พฤศจิกายน 2015

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น

    จากการสังเกต สำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ชุมชนมีการนำภูมิปัญญามาส่งเสริมการบริโภค เป็น เมนูอาหาร และมีการปลูกผักในระดับครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น

    จากการสอบถามสำรวจ

    ขยายผลการปลูกให้ครอบครัวทุกหลังคาเรือนและสร้างครัวเรือนต้นแบบโดยนำแนวทางเกษตรอินทรีย์ร่วมด้วย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ชุมชนมีการรวมกลุ่มออกำลังกาย แต่ละกลุ่ม และรูปแบบสอดคล้องวิถีชุมชนเช่น ไม้พลองป้าบุญมีฟุตบอล ตระกร้อ วิ่ง เดินและการปั่นจักรยาน

    จากการสังเกต สำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการลดละเลิก บุหรี่ อย่างห็นได้ชัดโดยเฉพาะการเคารพกติกาไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

    จากการสังเกต สำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรม และมีการนำแนวทางศาสนาอิสลามกับสร้างเสริมสุขภาพร่วมด้วย

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการจัดพื้นที่ด้านการปลูกผักและการออกกำลังกายโดยชุมชน

    จากการสังเกต สำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภายนอก เช่น รพ.สต.อบต.พัฒนาชุมชนเกษตรตำบล

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำมาทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    นำแผนสู่การปฏิบัติและนำเสนอสู่ช่องทางอื่นๆทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ทางคณะกรรมการการดำเนินงาน มีความภูมิใจในการทำงานที่ทางชุมชนให้ความร่วมมือและงานที่ได้รับมอบหมายเกิดประโยชน์กับชุมชน และได้รับความไว้วางใจในการดำเนินงานต่อ

    จากการพูดคุย ซักถาม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ชุมชนโดยส่วนใหญ่มีการน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกผักเพิ่มขึ้น และใช้พืืชสมุนไพรในท้องถิ่น อยู่แบบเรียบง่าย

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    เกิดการช่วยเหลือในการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนทั้งกิจกรรมในโครงการและกิจกรรมอื่นๆของชุมชน เช่น งานแต่งงาน งาบุญ งานกีฬาของชุมชน

    จากการสังเกตการทำกิจกรรม และการติดตามลงพื้นที่

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    หมู่บ้านจัดการสุขภาวะดี วิถีพอเพียง บ้านทุ่งมะปรัง จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 57-02572

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายนันทวัฒน์ เต๊ะสมัน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด