แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ คนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่

ชุมชน ม. 5 บ้านทุ่งใหญ่ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ

รหัสโครงการ 57-02582 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0080

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤศจิกายน 2557 ถึงเดือน มีนาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ชี้แจงโครงการ

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อประชุมชี้แจงรูปแบบกิจกรรมโครงการคนสามวัยใสใจสุขภาวะ  2. เพื่อให้คณะกรรมการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมที่วางไว้ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการประชุม : การประชุมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์เนื่องจากว่า คณะกรรมการเข้าใจ และให้ ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมทั้งมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมและร่วมมือในการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการชี้แจงรายละเอียดของโครงการและบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการเปิดรับสมัครเยาวชนอาสา

วิธีการ

ผู้รับผิดชอบเชิญประชุม

ชี้แจงรายละเอียดของโครงการทั้งหมด

ประชุมวางแผนเตรียมรับสมัครและสร้างทีมเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

รูปแบบและผลการประชุม 1. กล่าวต้อนรับและเปิดประชุมโดย นายอนันต์ ประทุมสินธุ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 2. ชี้แจงโครงการทั้งวัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และกิจกรรมที่จะจัดขึ้นตลอดจนกระบวนการ และวิธีการในการจัดกิจกรรมนั้นๆโดย บัณฑิตอาสา มอ. 3. ชี้แจงเรื่องงบ สจรส.โดยคุณอานัติ หวังกุหลำ พี่เลี้ยงบัณฑิตอาสา 4. เปิดเวทีระดมความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยมากน้อยเพียงใดในส่วนกิจกรรมที่จัดพร้อม ทั้งระบุวันเวลาในการจัดกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมโดยคณะกรรมกรรมผู้เข้าร่วมทุกท่าน 5. แผนต่อไป : จะเป็นการรับสมัครน้องๆเยาวชนผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมทำกิจกรรมในโครงการ คน สามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่ 6. ปัญหาและอุปสรรค : ยังขาดความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือท่านผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ในท้องถิ่น เช่น กำนัน เป็นต้น

 

20 21

2. การประชุมปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557 รอบ 2

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้ารู้ความเข้าใจถึงวิธีการดำเนินโครงการฯและการรายงานผลการดำเนินการ การจัดทำเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้  - ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม  - บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม  - กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด  (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)  - กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน  บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง (โครงการคนสามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา)    - ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม    - ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร  กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ  กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน    - ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน  **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน
  2. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปฐมนิเทศเรียนรู้การจัดทำโครงการ การบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ การจัดการเอกสารทางการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 29 พ.ย.57 -ช่วงเช้า เวลา 09.00 -12.00 น.การชี้แจงทำความเข้าใจในการดำเนินโครงการของผู้รับทุนโดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  และความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน  โดย คุณปรีดารัตน์ ศรัทธานนท์กุล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) -ช่วงบ่าย เวลา 13.00 น.-14.00 น. การจัดทำรายงานผ่านเวบไซต์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org  โดยคุณภานุมาศ นนทพันธ์ -ช่วงบ่าย เวลา 14.00 – 21.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการ ในหัวข้อ • การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ • ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม • การจัดทำรายงาน

 

2 2

3. การประชุมปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557 รอบ 2

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเข้ารู้ความเข้าใจถึงวิธีการดำเนินโครงการฯและการรายงานผลการดำเนินการ การจัดทำเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์    - ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org
  2. สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ
  3. การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปฐมนิเทศแนวทางการดำเนินโครงการแก่คณะทำงาน เรียนรู้การรายงานผลทางเวปไซด์

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

 

2 2

4. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ และบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบโครงการ รั้งที่ 1

วันที่ 11 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00-10.30น.0 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่ให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในโครงการคนสามวัยใสใจสุขภาวะให้ได้รับทราบ และเปิดโอกาสให้ชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการประชุม : การประชุมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์เนื่องจากว่า คณะกรรมการหมู่บ้านเห็น ด้วยในการวางบทบาทหน้าที่และพร้อมใจกันให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมทั้งมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมและร่วมมือในการจัดกิจกรรมให้กับชุมชนในครั้งต่อไปด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ผู้รับผิดชอบเชิญประชุม
  2. ชี้แจงรายละเอียดของโครงการทั้งหมด
  3. วางบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบโครงการ 4 .ประชุมวางแผนเตรียมรับสมัครและสร้างทีมเด็กและเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. กล่าวต้อนรับและเปิดประชุมโดย นายอนันต์ ประทุมสินธุ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5
  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์ บัณฑิตอาสา มอ.
  3. ชี้แจงเรื่องวันเวลาในการจัดกิจกรรมตลอดระยะเวลาของโครงการ โดยบัณฑิตอาสา
  4. ชี้แจงเรื่องงบ สจรส.ทั้งเรื่อง งวดเงิน การเบิกจ่ายงวดเงิน และการจัดเก็บหลักฐานต่างๆและ ลฯล
    โดยบัณฑิตอาสา
  5. เปิดเวทีระดมความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยมากน้อยเพียงใดในวันและเวลาที่ได้กำหนด ขึ้นโดยคณะกรรมกรรมผู้เข้าร่วมทุกท่าน
  6. แผนต่อไป : จะเป็นการรับสมัครน้องๆเยาวชนผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมทำกิจกรรมในโครงการ คน สามวัยใส่ใจสุขภาวะชุมชนบ้านทุ่งใหญ่เพิ่มเติมและจัดเวทีสร้างความเข้าใจต่อคนในชุมชนตลอดจนการประชุมคณะกรรมการในเรื่องการวางแผนและการสรุปผลการดำเนินงาน

 

20 35

5. เวทีสร้างความเข้าใจต่อคนในชุมชน และเปิดรับสมัครเยาวชนอาสา

วันที่ 25 มกราคม 2558 เวลา 09:00-16:00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจรูปแบบการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้ได้แนวทางในการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม เพื่อเปิดรับสมัครเยาวชนอาสา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการประชุม : การประชุมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์เนื่องจากว่า 1.)ผู้เข้าร่วมเข้าใจในรูปแบบ การดำเนินงานของโครงการ 2.) คนในชุมชนให้ความสำคัญในการเข้าร่วมประชุมหรือจัดกิจกรรมทุกครั้ง 3.)การรับสมัครเด็กและเยาวชนในครั้งนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมมากกว่า 50 คน ซึ่งความเป็นจริงแล้วเราได้วางกลุ่มเป้าหมายเพียงแค่ 50 คน และที่มาสมัครในวันนี้ มีจำนวน 54 คน และยังมีจำนวนผู้สมัครที่วันนี้ไม่ได้มาเข้าร่วมเนื่องจากว่าติดเรียนเศษ ซึ่งก็คาดว่าน่าจะไม่เกินอีก 10 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจรูปแบบการดำเนินงานโครงการให้แก่ผู้เข้าร่วมได้รับทราบ และร่วมเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงาน
  • รับสมัครเยาวชน คนที่สนใจเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นางสาวณฐกานต์ เพชรสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)กล่าวต้อนรับและเปิดประชุมโดย

  • นางสาวณฐกานต์ เพชรสุวรรณ และนางสาววันวิสาข์ สะมะแอ ชี้แจงที่มาของโครงการและรูปแบบการดำเนินงาน ร่วมกันกำหนดวันเวลาในการจัดกิจกรรมตลอดระยะเวลาของโครงการ

  • ผุสดี นพชัยยา และทีมงาน จัดกิจกรรมสันทนาการให้กับเยาวชนและเปิดรับรับสมัครเยาวชนอาสา

 

115 80

6. สานสัมพันธ์สร้างความเป็นทีม

วันที่ 31 มกราคม 2558 เวลา 09:00-16:00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างทักษะในการทำงานเป็นทีมและความสามัคคีของคน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

: การประชุมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์เนื่องจากว่า 1.)ผู้เข้าร่วมเข้าใจในรูปแบบ การดำเนินงานของโครงการ 2.) คนในชุมชนให้ความสำคัญในการเข้าร่วมประชุมหรือจัดกิจกรรมทุกครั้ง  2.)เด็กและเยาวชนอาสา สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สานสัมพันธ์สร้างความเป็นทีม

วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างทักษะในการทำงานเป็นทีมและความสามัคคีของคน

วิธีการ -ทำกิจกรรมระหว่างกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กันในทีม เช่น ปรบมือแนะนำชื่อ สาลิกา ล่าเหยือ กระรอกกลับรัง กระดาษหรรษา -การจัดตั้งกลุ่มเยาวชนอาสาจัดโครงสร้างและกำหนดบทบาทหน้าที่ -วางแผนการจัดอบรมการเก็บรวบรวมข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดย นางผุสดี นพชัยยา กล่าวต้อนรับและเปิดประชุมโดย นางสาวณฐกานต์ เพชรสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ชี้แจงเรื่องวันเวลาในการจัดกิจกรรมตลอดระยะเวลาของโครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการ กิจกรรมสานสัมพันธ์สร้างความเป็นทีมระหว่างกล่มใหญ่ และกลุ่มย่อย โดยทีมพี่เลี้ยง กิจกรรมแนะนำตัว โดยใช้เกมส์ จำควาย เพื่อกระตุ้นให้น้องๆรู้จักสมาชิก และสามารถทำงานร่วมกันได้

 

75 80

7. เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ทุกๆ 3 ครั้ง ครั้งที่1

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:30-10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตลอดจนปัญหาและอุปสรรค

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การประชุมในวันนี้ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ จากการสอบถามถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งข้อดีข้อเสีย จะเห็นได้ว่าจะมีทั้งสองส่วน ในส่วนข้อดี คือการที่ทุกคนได้มีเวลามารวมตัว รวมกลุ่มกัน
    และข้อเสียคือ มีงานเพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมกลุ่ม เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตลอดจนอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดย นางผุสดี นพชัยยา
  2. กล่าวต้อนรับและเปิดประชุมโดย นางสาวณฐกานต์ เพชรสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)
  3. สรุปกิจกรรมทั้งหมด ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา โดย บัณฑิตอาสา
  4. สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมทั้งหมด ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา โดยให้คณะกรรมการทั้งหมดสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรรม

 

35 35

8. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ครั้งที่ 3

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การประชุมในวันนี้ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากว่าผู้เข้าร่วมประชุม เข้าใจ และมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมในครั้งนี้
  • แผนงานในครั้งนี้ บัณฑิตได้วางไว้ ก็จะมีดังนี้ คือ วันแรกจะให้มีการอบรม และวันที่สอง จะให้ลงสถานที่จริง โดยวันแรกบัณฑิตได้ออกแบบกิจกรรม ดังนี้ วิธีการที่หนึ่ง 1.รู้จักคน โดยการแนะนำตัว ซึ่งก็จะให้แนะนำทั้งเด็ก พี่เลี้ยง และผู้นำชุมชน เพื่อให้รู้จักกันมากขึ้น 2. คือรู้จักชุมชน โดยให้เล่าถึงความประวัติศาสตร์ชุมชน อาณาเขต ภูมิศาสตร์ เรื่องเล่า สถานที่สำคัญ และประเพณีวัฒนธรรม เป็นต้น วิธีการที่ 2 ฝึกทักษะการเก็บข้อมูล โดยการวาดแผนที่ และวิธีการที่ 3 คือ อบรมให้ความรู้ และสอนทักษะการเก็บข้อมูลในชุมชน ส่วนวันที่ 2 ก็จะนำน้องลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยเก็บภาพ พูดคุย สังเกต และรวมกันเล่าเรื่องราวที่ได้พบเจอในวันนี้ และสุดท้ายสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นผลการประชุมก็ยังได้ข้อเสนอแนะจากทีมโครงการบัณฑิตอาสาในเรื่องการใช้วิธีการโดยการเล่นเกมส์ ซึ่งมีชื่อว่าวิตามิน A

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมตามแผน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดย นางผุสดี นพชัยยา
  2. กล่าวต้อนรับและเปิดประชุมโดย นางสาวณฐกานต์ เพชรสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)
  3. ชี้แจงเรื่องแผนกิจกรรมในอบรมการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลในวันที่ 14- 15 มีนาคม 2558 โดย บัณฑิตอาสา
  4. สรุปกิจกรรม

 

20 20

9. อบรมทักษะการเก็บข้อมูล

วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 08:30-16:00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเสริมเกิดทักษะการเก็บข้อมูลให้กับเยาวชน ในการค้นหาข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงาน

  • กิจกรรมในครั้งนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์เนื่องจากว่าเยาวชนอาสา และผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ และ ได้ฝึกทักษะการเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม พร้อมทั้งนี้เยาวชนอาสามารถทำงานเป็นทีมโดยไม่เกิดปัญหา เยาวชนอาสามีความพร้อมที่จะเรียนรู้ จกการสังเกตพบว่าเยาวชนอาสามีความสนุกสนานจากที่ไม่เคยได้ทำกิจกรรมไม่ค่อยมีเพื่อน แต่กิจกรรมในวันนี้ทำให้เยาวชนเหล่านั้นมีความรู้สึกอยากร่วมและไม่มีคำบ่น แถมยังเพลินไปกับกิจกรรมที่ทำด้วย  ด้านคณะกรรมการและผู้เข้ารวมอบรมก็ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม อยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมให้ความรู้และทักษะการเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้เครื่องมือ ภาพชีวิตลิขิตเรื่องเรื่องราว(Photo Novella)ให้กับเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย

  • 08.00  - 08.30 น. ลงทะเบียน อาซีซะ โอ๊ะ ขาหรี
  • 08.30  - 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ โดย ผู้ใหญ่บ้าน
  • 09.00 - 10.00 น. บรรยายเรื่องประวัติชุมชน โดย วิทยากร
  • 10.00 - 10.15 น. รับประทานอาหารว่าง โดย สมาชิกกลุ่มขนม
  • 10.15 - 12.00 น. เยาวชนอาสาแต่ละกลุ่ม เขียนแผนที่ชุมชน พร้อมนำเสนอ วิทยากร
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน บอ.มอ.
  • 13.00 - 13.15 น. สันทนาการเตรียมความพร้อม พี่เลี้ยงโครงการ
  • 13.15 - 14.40 น. อบรมให้ความรู้และทักษะการเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้เครื่องมือ ภาพชีวิตลิขิตเรื่องเรื่องราว(Photo Novella)ให้กับเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย   โดย วิทยากร
  • 14.40 - 14.55 น. พักรับประทานอาหารว่าง   โดย  สมาชิกกลุ่มขนม
  • 14.55  - 16.30 น. อบรมให้ความรู้และทักษะการเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้เครื่องมือ ภาพชีวิตลิขิตเรื่องเรื่องราว(Photo Novella)ให้กับเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย ต่อ พร้อมสรุปกิจกรรม  โดย วิทยากร

กิจกรรมที่ทำจริง

ช่วงเช้า

  • เปิดพิธีโดย ผู้ใหญ่บ้าน
  • ให้ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน โดยวิทยากร อ.อุทัยวรรณ์ เหล่าทอง
  • ฝึกทักษะการเก็บข้อมูล เขียน เยาวชนอาสาแบ่งกลุ่ม วาดแผนที่ชุมชน พร้อมทั้งนำเสนอ โดยมีคณะกรรมการเป็นพี่เลี้ยง

ช่วงบ่าย

  • สันทนาการเตรยมความพร้อม โดย ทีมพี่เลี้ยง
  • เกมส์รู้จักคน เช่น แนะนำตัวเอง แนะะนำพี่เลี้ยง และคณะจารย์จากโครงการบัณฑิตอาสา อาจารย์จากอาเจ๊ะ และสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง
  • อาจารย์จาก อาเจ๊ะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่อง Photo Novella
  • อบรมการใช้เครื่องมือ Photo Novella
  • สรุปกิจกรรม
  • ปิดพิธี

 

77 77

10. เด็กและเยาวชนรวมกลุ่มถ่ายภาพ พูดคุย สังเกต โดยมีพี่เลี้ยงคอยดู ครั้งที่1

วันที่ 15 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16:00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเก็บข้อมูลชุมชน ด้วยภาพชีวิตลิขิตเรื่องราว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนอาสาได้รับข้อมูลจากเรื่องราวที่ได้ลงไปค้นด้วยตัวเอง และได้รับรู้เรื่องราวทั้งที่เป็นปัจจุบันและอดีตชาติ สะท้อนความรู้สึก กลุ่มผู้สูงวัยและผู้ด้อยโอกาส ได้เรียนรูเกี่ยวกับคนในชุมชน เกิดความรู้สึกสงสาร อยากช่วยเหลือ รู้สึกดีใจที่ได้ลงไปเยี่ยม อยากทำขนมให้กับท่านทา ด้านกลุ่มภูมิปัญญา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การทำกรงนก ว่ามีวิธีการทำอย่างไร และได้รับรู้ว่ากรงนกที่ทำไว้ใส่นกเขาและนกชนิดอื่นๆ แต่ที่เด่นก็คือ ที่นี้ ยังมีคำขวัญ เกี่ยวกับนกเขาชวา ที่เป็นที่เลื่องลือไกล กลุ่มประวัติศาสตร์ชุมชน ได้รับรู้เกี่ยวกับความเป็นมาในชุมชนว่าเป็นมาอย่างไร กลุ่มสุดท้ายกลุ่มประเพณีวัฒนธรรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีไทย ในชุมชน เช่น ประเพณีรับเทพญดา เป็นต้น
  • กิจกรรมครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์เนื่องจากว่าเยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติจริงและได้ข้อมูลที่เป็นจริงด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เด็กและเยาวชนรวมกลุ่มถ่ายภาพ พูดคุย สังเกต โดยมีพี่เลี้ยงคอยดู ครั้งที่ 1

  • 08.-30  - 09.00 น. ลงทะเบียน อาซีซะ โอ๊ะ ขาหรี
  • 09.00  - 09.20 น. สันทนาการเตรียมความพร้อม พี่เลี้ยงโครงการ
  • 09.20 - 12.00 น. เยาวชนอาสาแต่ละกลุ่มเริ่มลงเยี่ยมบ้าน พี่เลี้ยงโครงการ
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน สมาชิกกลุ่มขนม
  • 13.00 - 13.15 น. สันทนาการเตรียมความพร้อม พี่เลี้ยงโครงการ
  • 13.15 - 14.30 น. ตัวแทนเยาวชนอาสาแต่ละกลุ่มนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงเยี่ยมบ้าน เยาวชนอาสา
  • 14.30 - 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง สมาชิกกลุ่มขนม
  • 14.45 - 16.30 น. สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  ทั้งสองกิจกรรม วิทยากร

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน
  • สันทนาการเตรียมความพร้อม
  • ทวนความรู้
  • แยกกลุ่มประชุมเตรียมความพร้อม
  • ตั้งโจทย์ให้ลงชุมชนเพื่อค้นหาข้อมูล โดยจะให้พี่เลี้ยงแต่กลุ่มพาเยาวชนอาสาลงเยี่ยมบ้านเพื่อถ่ายภาพและค้นหาข้อมูลในชุมชน ดังนี้

    • กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มภูมิปัญญญา
    • กลุ่มที่ 2 ประเพณีวัฒนธรรม
    • กลุ่มที่ 3 ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส
    • กลุ่มที่ 4 ประวัติศาสตร์ชุมชน
  • เยาวชนอาสาแต่ละกลุ่มสรุปลงในฟริปชาร์ตและนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู และมีวิทยากรตั้งคำถามจากภาพให้เยาวชนตอบ

  • สันทนาการ
  • สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมด

 

60 61

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 27 11                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 211,500.00 67,380.00                  
คุณภาพกิจกรรม 44 42                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. คณะกรรมการ วางแผนเตรียมงานครั้งที่ 3 ( 29 มี.ค. 2558 )
  2. เยาวชนอาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและผู้พิการ ( 4 เม.ย. 2558 )
  3. เยาวชนรวมกลุ่ม เตรียมความพร้อม และสรุปเรื่องราวจากภาพ ( 18 เม.ย. 2558 )
  4. ประชุมวางแผนกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน และกิจกรรมถอดบทเรียนครั้งที่ 1 ( 19 เม.ย. 2558 )
  5. -นิทรรศการภาพถ่าย Contest /ประกวดภาพถ่ายชีวิตลิขิตเรื่องราว /ประกวดภาพถ่ายชีวิตลิขิตเรื่องราว/ประกวดร้องเพลง ครั้งที่ 1/เยาวชนลงเยี่ยมบ้าน ( 23 เม.ย. 2558 )
  6. จัดประชุมกลุ่มผู้นำชุมชนเพื่อรายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 4 และเตรียมงานในกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน ( 6 มิ.ย. 2558 )
  7. ประชุมสภาผู้นำชุมชนเดือนละครั้งเพื่อรายงานความก้าวหน้าและวางเเผนการดำเนินงานครั้งที่5 ( 6 ก.ค. 2558 )
  8. เด็กเยาวชนรวมกลุ่มถ่ายภาพพูดคุย สังเกต โดยมีพี่เลี้ยงคอยดูเเล ครั้งที่2 ( 30 ก.ค. 2558 )
  9. ประชุุุมวางเเผนคณะกรรมการครั้งที่6 ( 12 ส.ค. 2558 )
  10. เวทีคืนข้อมููลสู่ชุมชนครั้งที่2 ( 15 ส.ค. 2558 )
  11. เด็กเยาวชนรวมกลุ่มถ่ายภาพพูดคุย สังเกต โดยมีพี่เลี้ยงคอยดูเเล ครั้งที่3 ( 15 ส.ค. 2558 )

(................................)
นางสาวณฐกานต์ เพชรสุวรรณ
ผู้รับผิดชอบโครงการ