แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี

ชุมชน บ้านบางไทรนนท์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง

รหัสโครงการ 57-02585 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0077

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน มีนาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถผู้รับผิดชอบโครงการ ตลอดจนสามารถสรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ ถอดบทเรียนประสบการณ์ผลการดำเนินงานโครงการเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินงานและจัดทำเอกสารรายงานได้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ทีมงานเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการของ สสส.
  • ได้ปฏิทินแผนปฏิบัติการโครงการ
  • ได้ทักษะเบื้องต้นและความเข้าใจในการจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์ที่ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ร่วมการประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนร่วมประชุมปฐมนิเทศ ณ สจรส.มอ. ชั้น 14 อาคารศูนย์ทรัพยากรณ์การเรียนรู้ (LRC) มอ.อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
  • กระบวนการและระบบกาาฃรติดตามประเมินผลเพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดย ผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ  ผอ.สจรส.มอ.
  • ความคาดหวัง ประสบการณ์ และแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดย คุณปรีดารัตน์  ศรัทธานนท์กุล
  • การบริการจัดการโครงการและวิธีการจัดการปัญหา โดยคุณกำล  สมรักษ์
  • การบริหารจัดการงบประมาณ โดย คุณสมบูรณ์ ขวัญสงค์ และคุณจุรีย์  หนูผุด
  • การทำรายงานโครงการและรายงานการเงิน  โดยกัญนภัส  จันทร์ทอง
  • การจัดทำรายงานผ่านแวปไซด์คนใต้สร้างสุข www.happynetwork.org  โดย คุณภานุมาศ  นนทพันธ์
  • ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกปฏิบัติการในหัวข้อ
        1)การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในแวปไซด์     2)ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ     3)การวางแผนการดำเนินงานและการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ     4)การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรม     5)การจัดทำรายงาน

 

2 3

2. จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 1 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่โครงการได้ ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีแผ่นป้ายประกาศในที่ชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ปิดแผ่นป้ายประกาศในที่ชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่

 

5 5

3. ประชุมคณะกรรมการ คร้งที่1

วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คณะทำงานได้รับทราบปฏิทินการปฏิบัติการของโครงการ และวางแผนงานการปฏิบัติตามแผนงานปฏิทินที่ได้วางเอาไว้ให้บรรลุตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ที่ประชุมคณะทำงานได้รับทราบแผนการปฏิบัติตามแผนปฏิทินที่ได้วางเอาไว้ และพร้อมที่จะร่วมกันดำเนินการตามโครงการให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานของโครงการเพื่อวางแผนงานในการดำเนินกิจกรรม และกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการตามโครงการในแต่ละกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงาน ประธานโครงการ ชี้แจงงบประมาณที่ได้รับจัดสรร และการวางแผนปฏิทินโครงการ ที่ได้ไปทำกับทีมงานที่ สจรส มอ.  3 คน ในวันปฐมนิเทศ ที่ประชุมรับทราบและเห็นชอบแผนปฏิบัติการตามปฏิทินที่ได้วางเอาไว้ และมอบหมายภาระกิจเพื่อทำการชี้แจงโครงการในวันจัดเวทีชี้แจงโครงการกับชุมชน มอบหมายเลขา จัดเตรียมเอกสารแบบลงทะเบียน ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายทราบและเข้าร่วมประชุมในวันจัดเวทีชี้แจง มอบหมายผู้ติดต่อจัดเตรียมอาหาร ทุกคนรับทราบภาระกิจ

 

15 15

4. จัดเวทีชี้แจงกิจกรรมโครงการ

วันที่ 13 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงความเป็นมาของโครงการ, มารู้จัก สสส.ผู้สนับสนุนงบประมาณ , ปฏิทินการปฏิการตามโครงการ,  แนะนำคณะทำงานโครงการ, พี่เลี้ยงโครงการ, คณะที่ปรึกษาคณะทำงาน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้ดำเนินเวทีการประชุมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ละลายพฤติกรรมผู้เข้าร่วมประชุมเล็กๆน้อยๆ
  • แนะนำคณะทำงานโครงการและที่ปรึกษา
  • เกริ่นนำที่มาของโครงการพอสังเขป
  • แนะนำพี่เลี้ยงและให้พี่เลี้ยงอธิบายถึงที่มาของโครงการและ สสส.
  • ผู้ดำเนินการได้ให้กำนันตำบลบ้านใหม่พบพี่น้องประชาชนเล่าประสบการณ์การดำเนินการโครงการของหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นหมู่บ้านของกำนันเอง
  • ผู้ดำเนินการเวทีประชุมเริ่มอธิบายถึงการดำเนินการตามโครงการโดยลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติการตามโครงการปฏิทินการดำเนินการตามโครงการ ที่ไปที่มาของปัญหาของชุมชนหมู่บ้านที่มีความจำเป็นในการของบประมาณมาเพื่อพัฒนาสุขภาวะของหมู่บ้านให้ทุกคได้มีสุขภาพที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้น
  • พบหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอปากพนังที่รับผิดชอบในหมู่บ้านถึงแนวทางการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน
  • พบนายก อบต.บ้านใหม่ ได้พูดถึงการพัฒนาร่วมกันระหว่างหมู่บ้านและ อบต.ทำดีมีงบประมาณอุดหนุนให้บ้างในเรื่องการประกอบอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน
  • ที่ปรึกษาได้ให้ข้อคิดกับประชาชนให้ทุกคนร่วมมือกันดำเนินการโครงการนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และกิจกรรมของโครงการเพื่อให้ชุมชนหมู่บ้านได้มีสุขภาวะที่ดี ชุมชนเข้มแข็งให้เกิดความยั่งยืน
  • ผู้เข้าร่วมประชุมได้เขียนใบสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการตามเอกสารที่ได้จัดทำขึ้น - ผู้ดำเนินการเวทีประชุมได้กล่าวเน้นย้ำโครงการนี้เป็นโครงการของทุกนในหมู่บ้านไม่ได้เป็นโครงการกิจกรรมของคณะทำงาน
  • ผู้ดำเนินการประชุมได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานที่เข้ามาร่วมประชุม และขอบคุณชาวบ้านทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการประชุมครั้งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงความเป็นมาของโครงการ งบประมาณที่ใช้ในการทำกิจกรรมร่วมกันของโครงการ ปฏิทินการปฏิการตามโครงการ,  แนะนำคณะทำงานโครงการ, พี่เลี้ยงโครงการ, คณะที่ปรึกษาโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน,
  • ผู้ดำเนินเวทีการประชุมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ละลายพฤติกรรมผู้เข้าร่วมประชุมเล็กๆน้อยๆ,
  • แนะนำคณะทำงานโครงการและที่ปรึกษา,  - เกริ่นนำที่มาของโครงการพอสังเขป
  • แนะนำพี่เลี้ยงและให้พี่เลี้ยงอธิบายถึงที่มาของโครงการและ สสส.
  • ผู้ดำเนินการได้ให้กำนันตำบลบ้านใหม่พบพี่น้องประชาชนเล่าประสบการณ์การดำเนินการโครงการของหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นหมู่บ้านของกำนันเอง
  • ผู้ดำเนินการเวทีประชุมเริ่มอธิบายถึงการดำเนินการตามโครงการโดยลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติการตามโครงการปฏิทินการดำเนินการตามโครงการ ที่ไปที่มาของปัญหาของชุมชนหมู่บ้านที่มีความจำเป็นในการของบประมาณมาเพื่อพัฒนาสุขภาวะของหมู่บ้านให้ทุกคได้มีสุขภาพที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้น
  • รับประทานอาหารเที่ยง
  • พบหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอปากพนังที่รับผิดชอบในหมู่บ้านถึงแนวทางการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน
  • พบนายก อบต.บ้านใหม่ ได้พูดถึงการพัฒนาร่วมกันระหว่างหมู่บ้านและ อบต.ทำดีมีงบประมาณอุดหนุนให้บ้างในเรื่องการประกอบอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน
  • ที่ปรึกษาได้ให้ข้อคิดกับประชาชนให้ทุกคนร่วมมือกันดำเนินการโครงการนี้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และกิจกรรมของโครงการเพื่อให้ชุมชนหมู่บ้านได้มีสุขภาวะที่ดี ชุมชนเข้มแข็งให้เกิดความยั่งยืน
  • ผู้เข้าร่วมประชุมได้เขียนใบสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการตามเอกสารที่ได้จัดทำขึ้น
  • ผู้ดำเนินการเวทีประชุมได้กล่าวเน้นย้ำโครงการนี้เป็นโครงการของทุกนในหมู่บ้านไม่ได้เป็นโครงการกิจกรรมของคณะทำงาน
  • ผู้ดำเนินการประชุมได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานที่เข้ามาร่วมประชุม และขอบคุณชาวบ้านทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการประชุมครั้งนี้
  • ปิดเวทีประชุมเวลา 15.10 น.

 

125 122

5. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2

วันที่ 12 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทบทวนการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ทบทวนการจัดกิจกรรมครั้งที่ผ้่านมา มีเสียงสะท้อนจากชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในทางที่เป็นประโยชน์ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้ฝากมากับคณะทำงาน และทุกคนยังเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป
  • ได้ให้เหรัญญิกรายงานการใช้จ่ายเงินในการจัดกิจกรรมของเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก็ได้ใช้จ่ายไปตามแผนกิจกรรมการใช้จ่ายตามโครงการ ในที่ประชุมรับทราบและไม่มีใครสงสัยอะไร
  • เลขานุการโครงการ ได้สรุปการจัดเก็บและการจัดทำเอกสารรายงานงวดเงินในแต่ละกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาแล้ว ตามที่ทางกองทุนฯกำหนดไว้เป็นปัจจุบันเรียบร้อย พร้อมรับการตรวจสอบจากผู้เข้าร่วมโครงการและภาคีต่างๆ
  • ที่ประชุมได้วางแผนการทำกิจกรรมต่อไปในเดือนมกราคม มี 2 กิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งคณะทำงาน วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในวันจัดกิจกรรม มอบหมายหน้าที่ภารกิจให้กับคณะทำงานทุกคนได้รับผิดชอบในวันที่จัดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมติดตามกิจกรรมของโครงการ สรุปงาน สรุปงบประมาณ
  • วางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทบทวน ถอดบทเรียน รายงานผลการดำเนินการทั้งการเงิน  เอกสารหลักฐานที่เก็บไว้เป็นหลักฐาน  เสียงสะท้อนจากชาวบ้านและข้อเสนอแนะต่างๆ
  • วางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

 

15 12

6. จัดเวทีเรียนรู้ ผู้ป่วยเล่าประสบการณ์

วันที่ 25 มกราคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกวิธีจากประสบการณ์จริง และให้เกษตรกรสามารถใช้อุปกรณ์ในการป้องกันสารเคมีในชีวิตประจำวัน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • วิทยากรได้กล่าวเปิดเวทีการประชุมสัมมนา เกริ่นนำถึงสาเหตุของการได้รับสารเคมีทางร่างกายของเราว่าทางไหนบ้างเช่น ทางรูขุมขน การหายใจ การกิน การอุปโภคบริโภค เป็นต้น -  นางสาวอัญชลี  เรืองประพันธ์ ซึ่งเป็นเกษตรกรในหมู่บ้านที่เกิดอาการแพ้สารเคมีอย่างรุนแรงถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาล ได้มาเล่าแชร์ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองถึงสาเหตุ อาการที่เกิดการแพ้จากการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องโดยไม่ได้ทำการป้องกัน และได้ให้ข้อคิดกับผู้เข้าร่วมประชุมได้ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการไม่ป้องกันในการใช้สารเคมี
  • ได้ทำการสาธิตถึงการแพร่กระจายของสารเคมีที่ผ่านเข้าร่างกายในช่องทางต่างๆ ได้รู้ว่าสารเคมีที่ตกค้างในร่างกายที่อยู่ในยาเคมีว่ามีอะไรบ้าง ที่จะทำให้เกิดโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เช่น ความดันโลหิต เบาหวาน หัวใจ มะเร็ง ไต เป็นต้น
  • ได้ให้ผู้ที่มีประสบการณ์ตรงที่ทำอาชีพเกี่ยวกับฉีดยาหญ้ารับจ้างมาสาธิตการแต่งกายที่ถูกวิธีในการใช้อุปกรณ์ป้องกัน คือ สวมเสื้อแขนยาว กางแกงขายาว แว่นตา แว่นตา ถุงเท้า รองเท้าบูท หมวกคลุมผม  และวิธีการฉีดให้อยู่เหนือลม ถ้าวันใดที่ลมพัดแรงไม่สมควรฉีด
  • จากนั้นได้ร่วมกันจัดกลุ่มแบ่งโซนรับผิดชอบให้คณะกรรมการได้ติดตามประเมิน เป็น ๔ สาย คือ  ๑.สายหลัง รพ.สต. มีนายเอนก  มุสิแดง รับผิดชอบ  ๒.สายบ้านหนองเกาะเสือ นายจรัญ  ทองคำ รับผิชอบ  ๓.สายถนนคอนกรีตไปทางทิศตะวันตก มีนางปรีดา  บุญที่สุด รับ  ๔.สายถนนหลักหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออก มีนายพินิจ  สุวรรณเลิศ เป็นผู้รับผิดชอบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ผู้ป่วยเล่าประสบการณ์ สาธิตการใช้อุปกรณ์ป้องกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน
  • วิทยากรกล่าวเปิดประชุม
  • แชร์ประสบการณ์กรณีตัวอย่างที่ใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง (แพ้สารเคมี)
  • สาธิตจำลองเหตุการณ์การรับสารเคมี (การแพร่กระจายของสารเคมี)
  • สาธิตการแต่งกายเมื่อทำงานเกี่ยวกับสารเคมี (ฉีดยาหญ้า ฉีดยาฆ่าแมลง)
  • แบ่งกลุ่มจัดโซนการติดตามเพื่อกระตุ้นการใช้อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี

 

125 123

7. กำหนดกติกาลดการใช้เคมี

วันที่ 30 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อกำหนดกติกาการกำจัดวัสดุที่บรรจุสารเคมีให้ถูกวิธีให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม และตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ในช่วงเช้าได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
  • เกนมาตรฐานในการวัดค่าระดับสารเคมีตกค้างในร่างกายมี 4 ระดับ ดังนี้  1)สีเหลือง ระดับปกติ  2)สีเขียวแกมเหลือง ระดับปลอดภัย  3)สีเขียว ระดับเสี่ยง  4)สีเขียวเข้มแกมดำ  ระดับไม่ปลอดภัย และมีผู้เข้าร่วมตรวจหาสารเคมีในเลือดทั้งหมด 108 คน มีผลการวัดค่าระดับสารเคมีตกค้างดังนี้       1)สีเหลืองค่าระดับปกติ  จำนวน  7 คน คิดเป็นร้อยละ 6.48       2) สีเขียวแกมเหลือง ระดับปลอดภัย  จำนวน  28 คน คิดเป็นร้อยละ 25.93       3)สีเขียว ระดับเสี่ยง  จำนวน  52  คน คิดเป็นร้อยละ 48.15       4)สีเขียวเข้มแกมดำ  ระดับไม่ปลอดภัย  จำนวน  21  คน  คิดเป็นร้อยละ  19.44
  • ได้อธิบายถึงระดับเกนมาตรฐานของระดับสารเคมีที่ตกค้างในร่างกายให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เข้าใจว่าของตัวเองอยู่ในระดับใด จะได้นำผลที่ได้ไปปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตตามปรกติของตัวเองและครอบครัว
  • ได้ร่วมกันกำหนดกติกาข้อตกลงในการวางมาตรการในการกำจัดวัสดุบรรจุสารเคมีให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
  • ได้ร่วมกันกำหนดหลุมที่ฝังเศษวัสดุบรรจุสารเคมีทั้ง 3 จุด  คือ จุดที่ 1 นอกนาและถนนซอยหนองเกาะเสือ บริเวณบ้านนายธนกฤต  เพชรรัตน์  หน้าถนนใหญ่ตลอดแนว  บ้าน นายวิรัตน์  อโนทัย  ซอยหลัง รพ.สต.บ้านบางไทรนนท์ ที่บริเวณ รพ.สต.บ้านบางไทรนนท์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ร่วมกำหนดกติกาลดใช้สารเคมีและเพิ่มการใช้อุปกรณ์ป้องกัน
  • เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างให้กับเกษตรกรที่ร่วมโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน
  • เจาะเลือดเพื่อตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด
  • ร่วมกันกำหนดกติกาเพื่อกำจัดวัสดุบรรจุสารเคมีให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

 

95 114

8. ประชุมกรรมการครั้งที่ 3

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุปผลการดำเนินการกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา และวางแผนงานในการดำเนินการตามกิจกรรมในเดือนกุมภาพันธ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ในการดำเนินการครั้งที่ผ่านมาในเดือน มกราคม 2558 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ และชาวบ้านให้ความร่วมมือที่ดีมาก ทำให้การดำเนินการตามกิจกรรมเป็นไปได้ด้วยดี ไ้ดมีข้อเสนอจากชาวบ้านว่าขอให้ดำเนินการให้จริงให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีให้ได้
  • เจ้าหน้าที่การเงินได้สรุปค่าใช้จ่ายว่าได้ใช่จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมที่วางเอาไว้และได้จัดทำบัญชีที่ทุกคนอ่านแล้วสามารถเข้าใจได้
  • เลขานุการได้จัดทำเอกสารตามแบบรายงานไว้เป็นปัจจุบันเรียบร้อยสามารถตรวจสอบได้
  • กิจกรรมในเดือน กุมภาพันธ์ 2558 มีด้วยกัน 3 กิจกรรม คือ ร่วมเรียนรู้เรื่องการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ  การลงแขกทำแปลง 2 ครั้ง จำนวน 30 แปลง ยังกำหนดวันเวลาเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
  • เพื่อให้การดำเนินการตามกิจกรรมได้ต่อเนื่องกิจกรรมในเดือนมีนาคม เรื่องการเรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ให้เลื่อนมาเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 ในช่วงเดือนมีนาคมจะได้สรุปผลการดำเนินการตามกิจกรรมในงวดที่ 1 และดำเนินการทำเอกสารขอเบิกงวดที่ 2 ต่อไป เพื่อความต่อเนื่องของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสรุป ติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ได้ดำเนินการประชุมตามวาระการประชุม 1)  สรุปผลการประชุมครั้งที่ผ่านมา 2)  สรุปค่าใช้จ่ายในกิจกรรมของเดือนมกราคม 2558

    3) วางแผนการดำเนินการกิจกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2558

 

15 13

9. จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแบ่งสมาชิกเป็นกลุ่มตามภูมินิเวศน์ในการเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษ และสร้างทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เรียนรู้เรื่องเกษตรธรรมชาติตามวิถีพอเดียง เป็นการทำเกษตรตั้งแต่บรรพบุรุษของเราที่ปลูกทุกอย่างที่กินและกินทุกอย่างที่ปลูก โดยไม่มีการใช้สารเคมีแต่อย่างใด เป็นการรักษาสุขภาพของคนกินพืชที่ปลูกและเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมให้สมดุลกับธรรมชาติ เป็นการทำแบบธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ โดยใช้ปุ๋ยที่เป็นธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋พืชสด เป็นต้น เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมการเกษตรธรรมชาติ พวกเราต้องถอยหลังกลับคนละเก้าเพื่อกลับไปใช้ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราให้เกิดประโยชน์สูงสุดเหมือนกับอดีตรุ่นปู่ รุ่นยาของได้ดำเนินการมา
  • เรียนรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช่สารเคมี ให้พวกเราใส่ปุ๋ยที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด มาปรับใช้กันอย่างจริงจัง นำมาใส่พืชผักที่เราปลูกเอาไว้กิน โดยไม่ต้องใช้สารเคมี เพื่อให้สุขภาพของเราดีขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และในครั้งต่อไปเราจะได้มาเรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ (น้ำหมักชีวภาพ) ที่จะทำมี 4 ชนิดด้วยกันคือ ผลไม้สีเหลือง  ยอดผักต่างๆ สมุนไพรและหอยเชอรี่ นำมาทำน้ำหมักและจะได้นำไปใส่พืชผักที่เราปลูกกินกันต่อไป
  • การแบ่งกลุ่มการเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษตามภูมิเวศน์ในชุมชนแบ่งออกได้ 4 กลุ่มดังนี้ 1) กลุ่มทางสายกลาง (ถนนสายกลางในหมู่บ้าน)มีสมาชิกดังนี้     1.นางชุติการญจน์  ชายแก้ว (หัวหน้ากลุ่ม) 2.นางวรรณา  บ่มไล่  3.นางประภา  หนูคง  4.นางอารีย์  นิยมญาติ  5.นางประจวน  บัวคำ  6.นางพนิตา  รักษ์ศิลป์  7.นายสีทอน  คำยอด  8.นายธนกฤต  เพชรรัตน์  9.นายณัฐพล  จันทร์เสน 10.นายจรัญ  ทองคำ 2) กลุ่มหลังอนามัย (ถนนซอยหลัง รพ.สต.) มีสมชิกดังนี้     1.นายไพบูลย์  เงินนุช (หัวหน้า) 2.นายอานนท์  ปลอดวงค์  3.นางอุไรวรรณ  บัวคำ  4.นายเอนก  มุสิแดง  5.นางนงลักษณ์  ศรีคำ  6.นางร่าน  คงไสยะ 7.นางปรีชา  คงไสยะ 8.นางวารี  คำหนู 9.นายสุกล  อ่อนแก้ว  10.นางอารมย์  เงินนุช  11.นางถ้วน  กะลาสี  12.นางเลขา  เมืองแก้ว 13.นางอาภรณ์  หนูคง  14.วันเพ็ญ 3)กลุ่มหนองเกาะเสือ (ซอยหนองเกาะเสือ) มีรายชื่อดังนี้     1.นางชูชีพ  ไกรวงค์ (หัวหน้า)  2.นางหวง  เกตุไทย 3.นายดวน  หนูคง  4.นางอัญชลี  เรืองประพันธ์  5.นางหนูพิศ  กลิ่นสัมผัส  6.นายเจริญ  คำดวง 7.นางอุทัย  พวงมณี  8.นางสุดา  หมื่นเดช  9.นางสุภานี  อ่างแก้ว  10.นายวินิจ  แก้วเถื่อน  11.นางสาวชฎาภรณ์  คำยอด 4) กลุ่มถนนดำรวมใจ (ถนนสายหลักของตำบล) มีรายชื่อดังนี้     1.นางรัตนา  เรืองรัตน์ (หัวหน้า) 2.นางธันยภรณ์  เพชรรัตน์  3.นางสุชัญญา  สุขเอก  4.นางสุภานีย์  คมเกลี้ยง  5.นางแถลง  บัวคำ  6.นางปรีดา  บุญที่สุด  7.นายพินิจ  สุวรรณเลิศ  8.นางวิรัตน์  อโนทัย  9.นางช่อกลิ่น  บัวรสชง  10.นายละมุล  เพชรหนองชุม  11.นายทิวากร  รัตนมณี  12.นางประคอง  สุขสวัสดิ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ จำนวน 30 แปลง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน
  • บรรยายเรื่องเกษตรธรรมชาติตามวิถีพอเพียง
  • บรรยายเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ
  • แบ่งกลุ่มตามโซนภูมินิเวศพื้นที่

 

45 45

10. ลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 15 แปลง ครั้งที่ 1

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกษตรกรได้ร่วมมือร่วมใจกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • วิทยากรได้พูดคุยในที่ประชุมถึงผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้น้ำหมักชีวภาพ และการทำเกษตรอินทรีย์ ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นการลดภาวะเสี่ยงโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อรายใหม่
  • ได้แบ่งกลุ่มตามภูมินิเวศพื้นที่ได้ 4 กลุ่มดังนี้ -  กลุ่มบ้านเกาะเสือ มีนายจรัญ  ทองคำ เป็นหัวหน้ากลุ่ม  - กลุ่มหลังอนามัย มีนายไพบูลย์  เงินนุช  เป็นหัวหน้ากลุ่ม  - กลุ่มทางสายกลาง มีนางชุติกาญจน์  ชายแก้ว  เป็นหัวหน้ากลุ่ม  - กลุ่มถนนดำรวมใจ มีนางรัตนา  เรืองรัตน์  เป็นหัวหน้ากลุ่ม
  • จากนั้นเมื่อได้แบ่งกลุ่มกันเรียบร้อยแล้วสมาชิกทุกคนในแต่ละกลุ่มก็ได้ร่วมกันปรับพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกผักปลอดสารพิษของสมาชิกแต่ละคน
  • สมาชิกทุกคนมีความสนุกสนานกับการได้ทำงานร่วมกันโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ใครเหนื่อยก็พัก ให้คนอื่นมาทำต่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปจนเสร็จภารกิจในวันนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 15 แปลง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน
  • แบ่งกลุ่มเป้าหมายตามลักษณะภูมินิเวศพื้นได้ 4 กลุ่ม
  • ลงพื้นที่ช่วยกันปรับพื้นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

45 48

11. ลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 15 แปลง ครั้งที่ 2

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกษตรกรได้ร่วมมือร่วมใจกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สมาชิกได้ช่วยเหลือปรับปรุงแลงสมาชิกที่เหลือในแต่ละกลุ่มก็ได้ร่วมกันปรับพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกผักปลอดสารพิษของสมาชิกแต่ละคนจนแล้วเสร็จที่เหลือตกค้างอยู่จากวันที่ 14 ก.พ.58
  • สมาชิกทุกคนมีความสนุกสนานกับการได้ทำงานร่วมกันโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ใครเหนื่อยก็พัก ให้คนอื่นมาทำต่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปจนเสร็จภารกิจในวันนี้ และในระหว่างที่เตรียมพื้นที่กันอยู่นี้ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนทัศนคติและประสบการณ์เล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นแนวทางให้การดำเนินการร่วมกันต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษ จำนวน 15  แปลง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน
  • ลงพื้นที่ช่วยกันปรับพื้นที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ตามกลุ่มเป้าหมายตามลักษณะภูมินิเวศพื้นได้ 4 กลุ่ม

 

45 45

12. ทำน้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพ สมุนไพรไล่แมลง

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้สมาชิกได้รียนรู้การทำน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพ สมุนไพรไล่แมลง นำไปใช้กับการประกอบอาชีพได้ถูกวิธี และสามารถผลิตเองได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • วิทยากรได้แนะนำความเป็นมาของของน้ำหมัก อธิบายประเภทของปุ๋ยที่เหมาะสมกับดินในแต่ละชนิด  และวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ ประโยชน์ของการใช้น้ำหมักชีวภาพ
  • วิทยากรได้แนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพในแต่ละชนิด 1)น้ำหมักหอยเชอรี่ 2)น้ำหมักผลไม้ 3)น้ำหมักผัก 4)น้ำหมักสมุนไพร ให้สมาชิกช่วยกันหั่นวัตถุดิบที่เตรียมมาให้เป็นชิ้นเล็ก โดยแยกกันทำตามกลุ่มที่ได้จัดตั้งก่อนหน้านี้แล้ว
  • วิทยากรได้ให้สมาชิกเริ่มปฏิบัติจริงตามวิธีการทำน้ำหมักแต่ละชนิด
  • สรุปผลารปฏิบัติและแนะนำการนำน้ำหมักชีวภาพนำไปใช้ และการนำไปขยายเชื้อต่อที่จะนำไปทำใช้เองที่บ้านครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สาธิตการทำปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมัก น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน
  • ความเป็นมาของน้ำหมัก ประเภทของปุ๋ย  ชนิดของน้ำหมัก ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
  • แนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำหมักแต่ละชนิด
  • สาธิตการทำน้ำหมักแต่ละชนิด

 

45 45

13. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4

วันที่ 9 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสรุป ติดตามปะเมินผลการดำเนินกิจกรรมในรอบเดือนที่ผ่านมา และวางแผนการดำเนินการตามกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ในการดำเนินการครั้งที่ผ่านมาในเดือน กุมภาพันธ์ 2558 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ และชาวบ้านให้ความร่วมมือที่ดีมาก ทำให้การดำเนินการตามกิจกรรมเป็นไปได้ด้วยดี ได้มีข้อเสนอจากชาวบ้านว่าขอให้ดำเนินการให้จริงให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีให้ได้ และสมาชิกได้นำความรู้ที่ได้ในการทำน้ำหมักแต่ละชนิดไปทำที่บ้าน
  • เจ้าหน้าที่การเงินได้สรุปค่าใช้จ่ายว่าได้ใช่จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมที่วางเอาไว้และได้จัดทำบัญชีที่ทุกคนอ่านแล้วสามารถเข้าใจได้
  • เลขานุการได้จัดทำเอกสารตามแบบรายงานไว้เป็นปัจจุบันเรียบร้อยสามารถตรวจสอบได้
  • กิจกรรมในเดือน มีนาคม 2558 มีด้วยกัน 3 กิจกรรม คือ 1)สรุปงวดแรกรายงานผลให้พี่เลี้ยง พี่เลี้ยงจะได้นำส่งทาง สสส.เพื่อขอรับงบประมาณในงวดที่  2 ต่อไป ตามแบบที่ต้องรายงาน 2) การลงแขกปลูกผักตามแปลงสาธิต  2 ครั้ง จำนวน 30 แปลง ยังกำหนดวันเวลาเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
  • เพื่อให้การดำเนินการตามกิจกรรมได้ต่อเนื่องกิจกรรมในเดือนมีนาคม ให้เลขานุการและผู้ประสานงานโครงการเร่งดำเนินการสรุปงวดที่ 1 ให้แล้วเสร็ก่อนวันที่ 20 มีนาคม 2558 เพื่อนำรายงานให่พี่เลี้ยงนำส่งขอเบิกงวด 2 ต่อไป จได้ทำให้กิจกรรมได้ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสรุป ติดตามประเมินผล กิจกรรมตามโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สรุป ประเมินผลกิจกรรมที่ได้ดำเนินการที่ผ่านมา
  • วางแผนกาดำเนินกิจกรรมต่อไป

 

15 13

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 34 13                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 186,400.00 78,316.00                  
คุณภาพกิจกรรม 52 50                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.การบันทึกข้อมูลลงในระบบแบบรายงานคนบันทึกเป็นน้อย

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ร่วมกันลงแขกปลูกผักสวนครัว จำนวน 15 แปลง ครั้งที่ 1 ( 28 มี.ค. 2558 )
  2. ลงแขกปลูกผักสาธิต จำนวน 15 แปลง ครั้งที่ 2 ( 29 มี.ค. 2558 )
  3. ทำหลุมกำจัดขยะพิษ จำนวน 3 หลุม ( 4 เม.ย. 2558 )
  4. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5 ( 20 เม.ย. 2558 )
  5. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งท่ี่ 6 ( 11 พ.ค. 2558 )
  6. ติดตามผลเลือดที่มีสารพิษตกค้าในร่างกายของเกษตรกรและสรุปผล ( 12 พ.ค. 2558 )
  7. ประชุมคณะกรรมการครั้ืั้งที่ 7 ( 8 มิ.ย. 2558 )
  8. จัดเวทีเรียนรู้ให้คนที่ปฏิบัติได้ดีเป็นตัวอย่าง ชักชวนทำต่อ ( 9 มิ.ย. 2558 )
  9. ประชุมคณะกรรมการครั้งท่ี 8 ( 13 ก.ค. 2558 )
  10. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมแก้ปัญหาการปลูกผักสวนรัวครั้งที่ 1 ( 14 ก.ค. 2558 )
  11. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 9 ( 10 ส.ค. 2558 )
  12. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมแก้ไขปัญหาการปลูกผักสวนครัว ครั้งที่ 2 ( 11 ส.ค. 2558 )
  13. ร่วมกิจกรรมคนใต้สร้างสุข ( 4 ก.ย. 2558 - 6 ก.ย. 2558 )
  14. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 10 ( 14 ก.ย. 2558 )
  15. ติดตาม สรุปผล ( 15 ก.ย. 2558 )

(................................)
นางอวยศรี รัตนมณี
ผู้รับผิดชอบโครงการ