แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ เกษตรกรบ้านบางไทรนนท์ร่วมใจลดภัยสารเคมี

ชุมชน บ้านบางไทรนนท์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากพนัง

รหัสโครงการ 57-02585 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0077

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มีนาคม 2558 ถึงเดือน ตุลาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ร่วมกันลงแขกปลูกผักสวนครัว จำนวน 15 แปลง ครั้งที่ 1

วันที่ 28 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมสร้างจิตสำนักในการทำงานร่วมกันวางแผนการปลูกพืชให้ตรงตมความต้องการของตลาด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สรุปวางแผนขั้นตตอนการลงพื้นปลูกผักปลอดสารพิษให้กับสมาชิก ในวันที่ 28 มี.ค.58 ครั้งที่หนึ่งโดยลงพื้นที่ทางกลุ่มสมาชิกสายกลาง และ กลุ่มหลังอนามัยก่อน วันที่ 29 มี.ค.58 ครั้งที่ 2 ให้ลงพื้นที่อีกสองกลุ่มที่เหลืออีกวัน
  • สมาชิกได้ร่วมกันปลูกพืชลงแปลงผักที่เจ้าของแปลงได้เตรียมต้นกล้าพืชเอาไว้แล้ว เช่น ฟักเขียว พริก ถั่วฟักยาว แตงกวาว มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น
  • เมื่อปลูกเสร็จช่วยกันรดน้ำ เพื่อให้ผักที่ปลูกเจริญเติบโต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงแขกปลูกผักสวนครัวจำนวน  15  แปลง ในครั้งที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมวางแผนการลงพื้นที่ร่วมกันปลูกพืชผักปลอดสารพิษวางแผนขั้นตตอนการลงพื้นปลูกผักปลอดสารพิษให้กับสมาชิก ในวันที่ 28 มี.ค.58 ครั้งที่หนึ่งโดยลงพื้นที่ทางกลุ่มสมาชิกสายกลาง และ กลุ่มหลังอนามัยก่อน วันที่ 29 มี.ค.58 ครั้งที่ 2 ให้ลงพื้นที่อีกสองกลุ่มที่เหลืออีกวัน
  • สมาชิกได้ร่วมกันปลูกพืชลงแปลงผักที่เจ้าของแปลงได้เตรียมต้นกล้าพืชเอาไว้แล้ว เช่น ฟักเขียว พริก ถั่วฟักยาว แตงกวาว มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น
  • เมื่อปลูกเสร็จช่วยกันรดน้ำ เพื่อให้ผักที่ปลูกเจริญเติบโต
  • ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง

 

45 45

2. ลงแขกปลูกผักสาธิต จำนวน 15 แปลง ครั้งที่ 2

วันที่ 29 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมสร้างจิตสำนึกในการทำงานร่วมกัน วางแผนการปลูกพืชให้ตรงตามความต้องการของตลาด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สรุปวางแผนขั้นตตอนการลงพื้นปลูกผักปลอดสารพิษให้กับสมาชิก วันที่ 29 มี.ค.58 ครั้งที่ 2 ให้ลงพื้นที่อีกสองกลุ่มที่เหลือ คือ กลุ่มหนองเกาะเสือและกลุ่มถนนดำรวมใจ เป็นวันที่ 2
  • สมาชิกได้ร่วมกันปลูกพืชลงแปลงผักที่เจ้าของแปลงได้เตรียมต้นกล้าพืชเอาไว้แล้ว เช่น ฟักเขียว พริก ถั่วฟักยาว แตงกวาว มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น
  • เมื่อปลูกเสร็จช่วยกันรดน้ำ เพื่อให้ผักที่ปลูกเจริญเติบโต
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ถึงการปลูกผักปลอดสารโดยเน้น ทบทวนอดีต ค้นหาปัจจุบัน มองหาอนาคต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงแขกปลูกผักสวนครัว จำนวน 15 แปลง ในเวลา 1 วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมวางแผนการลงพื้นที่ร่วมกันปลูกพืชผักปลอดสารพิษวางแผนขั้นตตอนการลงพื้นปลูกผักปลอดสารพิษให้กับสมาชิก วันที่ 29 มี.ค.58 ครั้งที่ 2 ให้ลงพื้นที่อีกสองกลุ่มที่เหลือ คือ กลุ่มหนองเกาะเสือและกลุ่มถนนดำรวมใจ เป็นวันที่ 2
  • สมาชิกได้ร่วมกันปลูกพืชลงแปลงผักที่เจ้าของแปลงได้เตรียมต้นกล้าพืชเอาไว้แล้ว เช่น ฟักเขียว พริก ถั่วฟักยาว แตงกวาว มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น
  • เมื่อปลูกเสร็จช่วยกันรดน้ำ เพื่อให้ผักที่ปลูกเจริญเติบโต
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ถึงการปลูกผักปลอดสารโดยเน้น ทบทวนอดีต ค้นหาปัจจุบัน มองหาอนาคต
  • ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง

 

45 45

3. ทำหลุมกำจัดขยะพิษ จำนวน 3 หลุม

วันที่ 4 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อขจัดบรรจุหีบห่อสารเคมีให้ได้รับการกำจัดที่ถูกวิธีปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กำหนดพื้นที่ในการทำหลุมเพื่อรรวบรวมขยะพิษในหมู่บ้าน คือ บ้านนายวิรัตน์อโณทัยจุดที่ 2 บ้านนายธนกฤตเพชรรัตน์จุดที่ 3 รพ.สต.บ้านบางไทรนนท์ และได้กำนดสมาชิกออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อร่วมด้วยช่วยกันขุดหลุมกำจัดวัสดุที่ใช้ใส่สารเคมีตามจุดที่กำหนด สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อทำหลุมดังกล่าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ขุดหลุมเทพื้นปูนและก่อิอฐรอบด้านพร้อมฉาบโดยใช้น้ำยากันซึมเพื่อป้องกันการรั่วซึมของสารเคมี แลมีฝาปิดป้องกันน้ำฝนลงไปในบ่อจำนวน 3 หลุม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมกำหนดพื้นที่ทำหลุม 3 หลุม เพื่รวบรวมขยะพิษในหมู่บ้าน คือ บ้านนายวิรัตน์อโณทัยจุดที่ 2 บ้านนายธนกฤตเพชรรัตน์จุดที่ 3 รพ.สต.บ้านบางไทรนนท์ และได้กำนดสมาชิกออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อร่วมด้วยช่วยกันทำหลุมกำจัดวัสดุที่ใช้ใส่สารเคมีตามจุดที่กำหนด
  • ได้พื้นที่ตามกำหนดแล้วสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อช่วยกันทำหลุมดังกล่าว
  • แยกกลุ่มเพื่อช่วยกันทำหลุมพื้นที่ที่ที่กำหนด
  • ลงพื้นที่ปฏิบัติการทำหลุมขยะพิษ

 

125 121

4. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5

วันที่ 20 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุม สรุป ติดตาม ประเมินตามกิจกรรม  วางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 1 ถึงข้อดีข้อเสีย อุปสรรคและโอกาสในการดำเนินการของโครงการ
  • สรุปผลการดำเนินการกิจกรรมในเดือนเมษายน ที่ทำกิจกรรมลงแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ โดยร่วมด้วยช่วยกันทั้ง 30 แปลง สมาชิกให้ความสำคัญโดยการวางแผนการปลูกว่ากลุ่มใดจะปลูกพืชชนิดใหนเมื่อได้ผลผลิตออกมาจะได้แลกเปลี่ยนกัน เป็นการสร้างความสามัคคี และสร้างจิตสำนึกให้สมาชิกมีความเอื้ออาทรต่อกัน
  • สรุปผลการทำหลุมฝังวัสดุที่เป็นบรรจุภัณฑ์สารเคมีได้ดำเนินการทั้ง 3 จุดที่กล่าวมาแล้วในกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ สมาชิกรับทราบและพร้อมที่จะทำตามกติกาที่ได้วางเอาไว้
  • วางแผนงานในการดำเนินการในกิจกรรมต่อไปในเดือนพฤษภาคม
  • สรุปยอดเงินที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 1 ดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้ในโครงการ ได้เช็คยอดเงินงวดที่ 2 ยังไม่ได้รับการโอนมาแต่อย่างใด งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการกิจกรรมในเดือนนี้โดยการยืมสำรองจ่ายจากกลุ่มออมทรัพย์ฯ เมื่อได้รับงบประมาณสนับสนุนมาจะต้องคืนให้โดยทันที

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุม สรุป ติดตาม ประเมินตามกิจกรรม  วางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุม สรุป ติดตาม ประเมินตามกิจกรรมวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป
    • ทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 1 ถึงข้อดีข้อเสีย อุปสรรคและโอกาสในการดำเนินการของโครงการ
    • สรุปผลการดำเนินการกิจกรรมในเดือนเมษายน ที่ทำกิจกรรมลงแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ โดยร่วมด้วยช่วยกันทั้ง 30 แปลง สมาชิกให้ความสำคัญโดยการวางแผนการปลูกว่ากลุ่มใดจะปลูกพืชชนิดใหนเมื่อได้ผลผลิตออกมาจะได้แลกเปลี่ยนกัน เป็นการสร้างความสามัคคี และสร้างจิตสำนึกให้สมาชิกมีความเอื้ออาทรต่อกัน
    • สรุปผลการทำหลุมฝังวัสดุที่เป็นบรรจุภัณฑ์สารเคมีได้ดำเนินการทั้ง 3 จุดที่กล่าวมาแล้วในกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ สมาชิกรับทราบและพร้อมที่จะทำตามกติกาที่ได้วางเอาไว้
    • วางแผนงานในการดำเนินการในกิจกรรมต่อไปในเดือนพฤษภาคม
  • สรุปยอดเงินที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 1 ดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้ในโครงการ ได้เช็คยอดเงินงวดที่ 2 ยังไม่ได้รับการโอนมาแต่อย่างใด งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการกิจกรรมในเดือนนี้โดยการยืมสำรองจ่ายจากกลุ่มออมทรัพย์ฯ เมื่อได้รับงบประมาณสนับสนุนมาจะต้องคืนให้โดยทันที

 

15 15

5. ประชุมคณะกรรมการ ครั้งท่ี่ 6

วันที่ 11 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุม สรุป ติดตาม ประเมินตามกิจกรรม  วางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการประชุมได้ดังนี้ 1. ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ เรื่องการดำเนินการตามงวดงบประมาณในงวดที่ 1 ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยและได้ดำเนินการขอเบิกงวดที่ 2 เรียบร้อยแล้ว 2. ฝ่ายการเงินได้สรุปค่าใช้จ่ายตามกิจกรรม และงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายในกิจกรรมต่อไป 3. เน้นย้ำถึงแผนงานในการดำเนินกิจกรรมในเดือนพฤษภาคม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุม สรุปผลการดำเนินกิจกรรม วางแผนในการจัดกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุม สรุปผลการการดำเนินกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา และวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมต่อไป ตามวาระการประชุม

 

15 15

6. ติดตามผลเลือดที่มีสารพิษตกค้าในร่างกายของเกษตรกรและสรุปผล

วันที่ 12 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามผลการปฏิบัติ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ทำการตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในร่างกายครั้งที่ 2 เพื่อนำมาเปรียบเทียบแต่ละคนว่าได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองหรือไม่อย่างไร ซึ่งผลที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมีผู้ที่มีการปรับเปลี่ยนผลที่ออกมาปริมาณสารเคมีตกค้างในร่งกายลดลงคิดเป็นร้อยละ 22
    • จากการดำเนินการตามกิจกรรมเพื่อให้เกษตรกรได้ลดการใช้สารเคมีหันมาใช้อินทรีย์ผลที่ได้ยังอยู่ในเกณฑืที่พอใช้ จะต้องทำการรณรงค์กันต่อไปเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้
    • จากการติดตามผลการปฏิบัติโดยคณะกรรมการและตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่าสมาชิกได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามผลการปฏิบัติโดยคณะกรรมการและตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมและสรุปผลพร้อมตรวจเลือดหลังปฏิบัติกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทำการตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างในร่างกายครั้งที่ 2
    • สรุปผลที่ตรวจได้เทียบกับครั้งที่ 1
    • สรุปผลจากการติดตามผลการปฏิบัติโดยคณะกรรมการและตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม

 

95 105

7. ประชุมคณะกรรมการครั้ืั้งที่ 7

วันที่ 8 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการดำเนินการตามกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนในการดำเนินการกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประธานที่ประชุมแจ้งงบประมาณในงวดที่2 ได้รับการโอนเข้าบัญชีกลุ่มแล้วเมื่อวันที่ 14 พ.ค.58 เป็นเงินจำนวน 93,200 บาท และให้ทำการเบิกจ่ายตามกิจกรรมรายเดือน
    • สรุปผลการดำเนินกิจกรรม และนำเสียงสะท้อนและข้อเสนอแนะจากชาวบ้านมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมอื่นๆ ต่อไป
    • เหรัญญิกรายงานการใช้จ่ายเงินในกิจกรรมเดือนที่ผ่านมา และให้ดำเนินการคืนเงินยืมสำรองจ่ายกลุ่มออมทรัพย์ด้วยในเดือนนี้
    • วางแผนในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปโดยการมอบหมายหน้าที่ให้กรรมการแต่ละคนร่วมกันรับผิดชอบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุม สรุปผลการดำเนินกิจกรรม สรุปงบประมาณ
    • วางแผนดำเนินกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปผล และวางแผน ในการดำเนินกิจกรรม

 

15 13

8. จัดเวทีเรียนรู้ให้คนที่ปฏิบัติได้ดีเป็นตัวอย่าง ชักชวนทำต่อ

วันที่ 9 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การดำเนินวิถีชีวิตแบบพอเพียง พออยู่พอกินเป็นหนทางสู่ความยั่งยืนได้ และเป็นการปรับวิธีคิดให้เกิดจิตสำนึกที่ให้เกิดผลต่อสุขภาพที่ดี และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
  • คนที่ลงมือทำจริงเล่าประสบการณ์ในการปลูกผักเอาไว้กินเองและที่เหลือนำไปขายหรือแลกเปลี่ยนซึ่งและกันกับคนในชุมชน เพื่อให้เกิดความเอื้ออาทรต่อกันของคนในชุมชน ซึ่งได้ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป ได้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักในท้องตลาดมากิน
    อยากจะกินอะไรเราก็ปลูก การปลูกไม่ใช้สารเคมีใช้เฉพาะน้ำหมักชีวภาพ ถึงแม้ว่าจะมีแมลงหรือศรัตรูพืชรบกวนบ้างแต่ก็ปลอดภัยกับตัวเรา สามารถลดโรคเรื้อรังลงได้ระดับหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบน้ำตาลในเลือดลดลง ความดันที่เคยสูงก็ลดลง โรคที่เจ็บตามข้อปวดเมื่อยก็ลดลง ฉะนั้นขอให้ทุกคนทำเถอะเพื่อสุขภาพของเรา
  • ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปลูกผักกินเอง 1)ไม่มีเมล็ดพันธุ์เองต้องซ้ือจากตลาด 2)ช่วงนี้แล้งขาดน้ำรดต้นผัก3)มีแมลงศรัตรูพืชกัดกิน4)พืชที่ปลูกได้คุณภาพไม่ดีเพราะอาจจะยังขาดความรู้ในการทำ เป็นต้น
  • แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำประสานทาง อบต.ให้สูบน้ำเข้ามาในคูส่งน้ำแล้วแมลงศรัตรูพืชให้ใช้นำ้หมักสมุนไพรฉีดพ่น 5 วันครั้งเพื่อขับไล่และทำหมันแมลงควรจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการการเพาะปลูกที่ถูกต้องและถูกวิธี
  • สรุปผลการดำเนินการในเบื้องต้นของการดำเนินการของโครงการ คนที่ทำจริงสามารถเปลี่ยนชีวิตของตนเองได้และทำให้สิ่งแวดล้อมรอบข้างน่าอยู่ยิ่งขึ้น ใครสนใจก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เล่าประสบการณ์ ขยายผลต่อ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน
  • วิทยากรกล่าวนำการดำเนินชีวิตตามวิถีพอเพียง
  • คนทำจริงเล่าประสบการณ์
  • สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น
  • หาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน

 

125 121

9. ประชุมคณะกรรมการครั้งท่ี 8

วันที่ 13 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการดำเนินการตามกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนในการดำเนินการกิจกรรมต่อไป 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ที่ประชุมได้สะท้อนถึงความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการของโครงการ และมีความตั้งใจที่จะดำเนินการโครงการนี้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์
  • เจ้าหน้าที่การเงินสรุปค่าใช้จ่ายที่ดำเนินการในกิจกรรมที่ผ่านมา และได้เสนอค่าใช้จ่ายที่จะนำมาจ่ายในกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป
  • ได้ร่วมกันเสนอความคิดเห็นการดำเนินการในกิจกรรมต่อไปให้เกิดเป็นรูปธรรมและแบ่งหน้าที่กันดำเนินการตามกิจกรรมที่วางเอาไว้
  • เลขานุการโครงการ ได้เสนอการทำและการจัดเก็บเอกสารได้ครบตามกิจกรรมที่ดำเนินการผ่านมาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมสรุปงบประมาณ
    • วางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สรุปผลการดำเนินการที่ผ่านมา รวมถึงการจัดเก็บเอกสารต่าง ๆ
  • วางแผนงานที่จะดำเนินการต่อไป

 

15 15

10. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมแก้ปัญหาการปลูกผักสวนรัวครั้งที่ 1

วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมกันแก้ไขปัญหาร่วมกันในการปลูกผักสวนครัว เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไปให้เกิดเป็นรูปธรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • วิทยากรกระบวนการกลุ่มได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ15 คน โดยให้แต่ละกลุ่ม ดำเนินการตามโจทย์ที่กำหนดให้ คือ เล่าประสบการณ์ผลสำเร็จ ปัญหา แนวทางแก้ไข
  • สรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้
    1) ผลสำเร็จ ปลูกทุกอย่างที่กินและกินทุกอย่างที่ปลูก ที่เหลือจากกินนำไปแลกกันและขายบ้างเป็นผลกำไรทำให้สุขภาพแข็งแรงดีขึ้น เกิดความเอื้ออาทรต่อกันของคนในชุมชนทำน้ำหมักเป็นและรู้วิธีการใช้น้ำหมักที่ถูกต้อง เกิดจิตสำนึกในการช่วยเหลือแบ่งบันกันการทำงานเป็นทีมการยอมรับมติของสังคมลดค่าใช้จ่าย
    2) ปัญหา น้ำแล้งแมลงศัตรูพืช ผักไม่สวย ขายไม่ได้ราคาขาดความรู้ในการจัดการที่ดี คนส่วนใหญ่ในชุมชนยังไม่ให้ความสนใจเท่ที่ควรไม่มีเมล็ดพันธ์ุในชุมชนต้องซ้ือมาจากท้องตลาด

    3) แนวทางแก้ไข เรื่องน้ำประสาน อบต.เพื่อสูบน้ำมาใช้ในการเกษตร แมลงศัตรูพืชให้ทำน้ำสมุนไพรที่หลากหลายชนิดขึ้นผักที่ปลูกควรฉีดพ่นน้ำหมักให้บ่อยขึ้นเพื่อสร้างภูมิต้านทานกับโรคที่เกิดขึ้น ให้ศึกษาการจัดตั้งเป็นธนาคาร เมล็ดพันธุ์ในชุมชนขึ้นถ้าเป็นไปได้ให้ปลูกผักแบบกางมุ้งเพื่อเป็นจุดเรียนรู้ในหมู่บ้านสัก 5 จุดจะสามารถขยายผลในอนาคตได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมแก้ปัญหาการปลูกผักสวนครัว เพื่อนำไปแก้ไขต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน
  • แบ่งกลุ่มเล่าประสบการณ์ ผลสำเร็จ ปัญหา แนวทางแก้ไข
  • สรุป เพื่อนำไปดำเนินการต่อ

 

45 45

11. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 9

วันที่ 10 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุม สรุป ติดตาม ประเมินตามกิจกรรม  วางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประธานที่ประชุม ได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมให้ที่ประชุมรับทราบ และได้มีการแสดงความคิดเห็นกันเพื่อหาแนวทางและมติในการถือปฏิบัติกันต่อไป
  • การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาในการปลูกผักมีปัญหาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และน้ำที่ใช้ในการรดผัก โรคระบาดที่เกิดขึ้นกับผักที่ปลูกแนวทางที่สมาชิกได้ใช้คือใช้น้ำหมักสมุนที่ได้ทำขึ้นนำไปฉีดพ่นสามารถแก้ปัญหาได่ระดับหนึ่ง และมีข้อเสนอแนะว่าถ้าให้ดีต้องปลูกแบบกางมุ้ง เป็นแปลงสาธิตก่อนสัก 5 แปลง
  • ทางผู้รับผิดชอบทางการเงินได้สรุปค่าใช้จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมให้ที่ประชุมทราบและที่ประชุมไม่มีข้อสงสัยแต่อย่างใด
  • เหลือระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมของโครงการอีกประมาณ 2 เดือน ให้ใช้งบประมาณตามกิจกรรมที่ได้กำหนดเอาไว้ให้เกิดประโยชน์กับสมาชิกสูงสุด และเป็นแนวทางในการขอสนับสนุนงบประมาณมาต่อยอดได้ในอนาคต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สรุปผลดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาสรุปงบประมาณ
  • วางแผนดำเนินการกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
  • ปัญหา ทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ สรุปยอดค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
  • วางแผนในการดำเนินกิจกรรมต่อไป

 

15 15

12. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมแก้ไขปัญหาการปลูกผักสวนครัว ครั้งที่ 2

วันที่ 11 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการดำเนินการการปลูกผักปลอดสารพิษของครัวเรือนที่ร่วมโครงการ และเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดสารพิษ ประเมิน หาปัญหาแนวทางแก้ไข และดำเนินการต่อไปไปต่อ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ในที่ประชุมได้เล่าประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดสารพิษหรือปลอดสารเคมี ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและความรู้ใหม่ ได้นำมาประยุกต์บูรณาการเข้าด้วยกันและนำไปปรับใช้กับแปลงผักของตนให้เกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมต่อไป
  • หลังจากนั้นได้ลงแปลงผักของสมาชิกที่เป็นตัวแทนครัวเรือนที่ร่วมโครงการจำนวน 5 ราย ดูสภาพพื้นที่ในแปลงปลูกผักของแต่ละราย ได้แลกเปลี่ยนกันถึงถึงปัญหาอุปสรรคและความสำเร็จของการดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ และจะได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับแปลงของตน เป็นการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้ในระดับหนึ่งและยังสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้สนใจคนอื่นๆ ได้และชุมชนอื่นใกล้เคียงมาร่วมเรียนรู้ด้วยกันได้ในอนาคต
  • ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะมายังคณะทำงานโครงการว่า ถ้าหากว่าได้ดำเนินการปลูกแบบกางมุ้งเป็นจุดสาธิตคงจะดีมาก ให้ได้สัก 5 จุดหรือแปลง สาเหตุเนื่องจากในพื้นที่บ้านบางไทรนนท์มีศัตรูพืชมากหลายชนิด ถ้าหากว่าได้ปลูกในระบบปิดผลผลิตที่ออกมาเป็นที่ต้องการของตลาด และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคโดยทั่วไป ดังคำวลีที่ว่า "ผู้ผลิตปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัย"

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมแก้ไขปัญหาการปลูกผักสวนครัว

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แลกเปลี่ยนในเวทีที่ประชุม ถึงปัญหาและค้นหาทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ
  • ลงพื้นที่สมาชิกดูแปลง

 

45 45

13. ร่วมกิจกรรมคนใต้สร้างสุข

วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรุ็

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ได้ทราบแนวทางในการร่วมงานกับ สสส. ในโอกาสต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมเวที งานสานพลัง สร้างสุขภาวะ  คนใต้

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมเสวนาในงานสานพลัง  สร้างสุขภาวะคนใต้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวตกรรมใหม่ๆ

 

2 2

14. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 10

วันที่ 14 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรม และวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประธานที่ประชุม ได้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมให้ที่ประชุมรับทราบ และได้มีการแสดงความคิดเห็นกันเพื่อหาแนวทางและมติในการถือปฏิบัติกันต่อไป
  • ให้เลขานุการโครงการ จัดทำแบบสรุปกิจกรรม ใบเสร็จค่าใช้จ่ายตามกิจกรรมในงวดที่ 2 ให้เสร็จเรียบร้อยเพื่อนำเสนอเพื่อขอเบิกงบงวดที่ ๓ ต่อไป
  • ทางผู้รับผิดชอบทางการเงินได้สรุปค่าใช้จ่ายงบประมาณตามกิจกรรมให้ที่ประชุมทราบและที่ประชุมไม่มีข้อสงสัยแต่อย่างใด
  • เหลือระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมของโครงการอีกประมาณ 2 เดือน และในประมาณวันที่ 15 -18 ต.ค. 58 ตามปฏิทิน ของ สสส. จะทำการสัมมนาการปิดโครงการรุ่นที่ 2 ปี งบประมาณ 57
  • ให้ใช้งบประมาณตามกิจกรรมที่ได้กำหนดเอาไว้ให้เกิดประโยชน์กับสมาชิกสูงสุด และเป็นแนวทางในการขอสนับสนุนงบประมาณมาต่อยอดได้ในอนาคต
  • และเอกสารรูปเล่มที่จัดทำขึ้นสรุปโครงการนั้นทำให้แล้วเสร็จในวันที่ 31 ต.ค.58 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรม และวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
  • ปัญหา ทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ สรุปยอดค่าใช้จ่ายในกิจกรรม
  • วางแผนในการดำเนินกิจกรรมต่อไป
  • ตัวแทนที่ไปร่วมงานคนใต้สร้างสุขเล่าสิ่งที่ได้ไปเรียนรู้ในวันที่จัดงานคนใต้สร้างสุขเมื่อวันที่4-ุุ6กันยายน 2558

 

15 15

15. ติดตาม สรุปผล

วันที่ 15 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามผลการปฏิบัติกิจกรรมของตัวแทนครัวเรือนพร้อมสรุปผลปฏิบัติกิจกรรมที่ได้ดำเนินการตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้สรุปผลการดำเนินการการปฏิบัติตามกิจกรรมทั้งหมดของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณมาทั้งในงวดที่ ๑ และที่ ๒ และได้ร่วมกันจัดทำแผนการปฏิบัติที่ทำให้เกิดการต่อเนื่องเพื่อรองรับการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาเป็นภาคีร่วมพัฒนาในหมู่บ้าน
  • จัดทำเอกสารที่ยังไม่สมบูรณ์ให้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยเพื่อรอรับการตรวจสอบความถูกต้องจากพี่เลี้ยงและส่งผลการดำเนินการตามกิจกรรมให้กับทาง สสส.ต่อไป
  • ทำการคัดเลือกตัวแทนครัวเรือนที่ได้ทำจริงเป็นกิจกวัตรประจำวันที่ทำให้วิถีชีวิตประจำวันเปลี่ยนตั้งตัวเองและครอบครัวได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดสารเคมีมาพึ่งพาอินทรีย์มากขึ้น
  • ลงตรวจเยี่ยมครอบครัวที่ทำจริงได้ผลจริงเพื่อให้กำลังใจในการดำเนินการต่อไปให้เกิดเป็นนิสัยที่ดี มีสุขภาพที่แข็งแรง ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรอินทรีย์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปผล  ติดตามประเมินผลการปลูกผักปลอดสารพิษ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สรุปกิจกรรมที่ได้ดำเนินการทั้งหมด
  • ติดตามคนที่ปลูกจริงทำจริงเป็นกิจกวัตรประจำวันให้รางวัล
  • ลงตรวจแปลงที่ทำจริงงได้ผลจริง

 

45 45

16. ถอดบทเรียนโครงการ

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อถอดบทเรียน ผลการปฏิบัติกิจกรรมของตัวแทนครัวเรือน พร้อมสรุปผลปฏิบัติกิจกรรมที่ได้ดำเนินการตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ตัวแทนครัวเรือนเล่าความสำเร็จและความพึงพอใจของการดำเนินการตามกิจกรรมที่ได้เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรม
  • ตอบปัญหาผลที่ได้ทำกิจกรรมกันมาว่าได้ทำอะไรและเกิดผลอย่างไร
  • ผู้เข้าร่วมได้ให้ความรู้และชื่นชมการในการร่วมกันทำกิจกรรมตามโครงการที่ประสบความสำเร็จมีครอบครัวที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองได้และใช้ชีวิตประจำวันตามวิถีพอเพียง
  • มอบของรางวัลตัวแทนครัวเรือนที่มีกิจกวัตรประจำวันและการทำเกษตรที่ลดสารเคมีและปรับมาเป็นเกษตรอินทรีย์
  • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ถอดบทเรียนโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ถอดบทเรียนกิจกรรมทั้งหมดที่ได้รับการสนับสนับงบประมาณจาก สสส. ให้มาทั้งโครงการ
  • วิทยากรได้เกริ่นนำที่มาของโครงการเป็นการทบทวนความจำ
  • สรุปผลการดำเนินการกิจกรรมทั้งหมดที่ได้ดำเนินการตามกิจกรรม
  • ตัวแทนครัวเรือนเล่าความสำเร็จและความพึงพอใจของการดำเนินการตามกิจกรรมที่ได้เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรม
  • ตอบปัญหาผลที่ได้ทำกิจกรรมกันมาว่าได้ทำอะไรและเกิดผลอย่างไร
  • ผู้เข้าร่วมได้ให้ความรู้และชื่นชมการในการร่วมกันทำกิกจรรมตามโครงการที่ประสบความสำเร็จมีครอบครัวที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองได้และใช้ชีวิตประจำวันตามวิถีพอเพียง
  • มอบของรางวัลตัวแทนครัวเรือนที่มีกิจกวัตรประจำวันและการทำเกษตรที่ลดสารเคมีและปรับมาเป็นเกษตรอินทรีย์
  • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด ตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการได้ดังนี้

วัตถุประสงค์

ข้อที่ 1 เพื่อให้เกษตรกร ที่ใช้สารเคมีมีการป้องกันตนเองและลดการสัมผัสสารเคมีโคยตรง

มีตัวชี้วัด

1.1 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวขายมีความรู้และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีไม่น้อยกว่า 50 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินโครงการ ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวขายมีความรู้และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี จำนวน 52ครัวเรือน

1.2. ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนไม่น้อยว่า 50 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินโครงการ ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนจำนวน 40 ครัวเรือน

1.3. ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย ผลจากการดำเนินโครงการ ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมร้อยละ22 ของกลุ่มเป้าหมาย

1.4. มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน อย่างน้อย 3 หลุม ผลจากการดำเนินโครงการ มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน จำนวน3 หลุม

ข้อที่ 2เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีโดยปลูกผักปลอดสารพิษเป็นแปลงต้นแบบเกิดกลไกให้เกษตรกรที่ปลูกขายได้มาเรียนรู้

มีตัวชี้วัด

2.1 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินงานครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทาน จำนวน45 ครัวเรือน

2.2 ครัวเรือนที่ปลูกผักไว้รับประทานใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี 100%ของกลุ่มเป้าหมาย ผลจากการดำเนินงานครัวเรือนที่ปลูกผักไว้รับประทานใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี ร้อยละ100 ของกลุ่มเป้าหมาย

2.3 มีแปลงผักสวนครัวปลอดสารพิษต้นแบบขนาด 5X10 เมตร ไม่น้อยกว่า 30 แปลงในชุมชน ผลจากการดำเนินงานมีแปลงผักสวนครัวปลอดสารพิษต้นแบบขนาด 5X10 เมตร จำนวน40แปลงในชุมชน

ด้านคุณภาพ

  • คนในชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพสมาชิกที่เข้าร่วมมีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพ ทั้งด้านเสี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยตรงและการป้องกันตนเองจากสารเคมีตกค้าง
  • คนมีความตระหนักในการเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สารเคมี และมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้านรู้จักการใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี
  • คนมีความรู้ในการเลือกซื้อและการประกอบอาหาร
  • สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านมีการปลูกผักปลอดสารพิษและสมุนไพรเพื่อบรืโภคในครัวเรือนประชาชนใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี
  • คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพและสามารถถ่ายทอดสู่เยาวชนในชุมชนได้
  • เกิดกระบวนการบริหารจัดการของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชน
  • คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในเรื่องการบริโภค

 

130 130

17. ตรวจเอกสารรายงานร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ

วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของรายงานที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เอกสารต่างๆยังไม่เรียบร้อย มีหลักฐานบางกิจกรรมยังไม่ครบ ต้องเก็บรวบรวมเพิ่มเติม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันตรวจเอกสารหลักฐาน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกับพี่เลี้ยงช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยของเอกสารหลักฐานในแต่ละกิจกรรม ทุกกิจกรรมยังมีเอกสารหลักฐานบางกิจกรรมไม่ครบถ้วนพี่เลี้ยงให้ทีมงานช่วยรวบรวมเอกสารเพิ้มเติมเพื่อให้ครบถ้วนและถูกต้องพร้อมกับดำเนินกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการให้เรียบร้อบภายในวันที่30 ตุลาคม 2558และจะนัดตรวจสอบเอกสารอีกครั้งก่อนนำส่ง สสส

 

2 2

18. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลศุ่ชุมชน

วันที่ 19 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อคืนข้อมูลหลังการจัดกิจกรรมให้ชุมชนรับทราบผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมตลอดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด ตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการได้ดังนี้

วัตถุประสงค์

ข้อที่ 1 เพื่อให้เกษตรกร ที่ใช้สารเคมีมีการป้องกันตนเองและลดการสัมผัสสารเคมีโคยตรง

มีตัวชี้วัด

1.1 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวขายมีความรู้และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมีไม่น้อยกว่า 50 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินโครงการ ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวขายมีความรู้และความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี จำนวน 52ครัวเรือน

1.2. ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนไม่น้อยว่า 50 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินโครงการ ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการปลูกผักสวนครัวเก็บวัสดุหรือขยะพิษในหลุมขยะพิษของชุมชนจำนวน 40 ครัวเรือน

1.3. ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย ผลจากการดำเนินโครงการ ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดลดลงจากเดิมร้อยละ22 ของกลุ่มเป้าหมาย

1.4. มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน อย่างน้อย 3 หลุม ผลจากการดำเนินโครงการ มีหลุมเก็บขยะพิษในชุมชน จำนวน3 หลุม

ข้อที่ 2เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีโดยปลูกผักปลอดสารพิษเป็นแปลงต้นแบบเกิดกลไกให้เกษตรกรที่ปลูกขายได้มาเรียนรู้

มีตัวชี้วัด

2.1 ครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน ผลจากการดำเนินงานครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกผักสวนครัวไว้รับประทาน จำนวน45 ครัวเรือน

2.2 ครัวเรือนที่ปลูกผักไว้รับประทานใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี 100%ของกลุ่มเป้าหมาย ผลจากการดำเนินงานครัวเรือนที่ปลูกผักไว้รับประทานใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี ร้อยละ100 ของกลุ่มเป้าหมาย

2.3 มีแปลงผักสวนครัวปลอดสารพิษต้นแบบขนาด 5X10 เมตร ไม่น้อยกว่า 30 แปลงในชุมชน ผลจากการดำเนินงานมีแปลงผักสวนครัวปลอดสารพิษต้นแบบขนาด 5X10 เมตร จำนวน40แปลงในชุมชน

ด้านคุณภาพ

  • คนในชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพสมาชิกที่เข้าร่วมมีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพ ทั้งด้านเสี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยตรงและการป้องกันตนเองจากสารเคมีตกค้าง
  • คนมีความตระหนักในการเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สารเคมี และมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้านรู้จักการใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี
  • คนมีความรู้ในการเลือกซื้อและการประกอบอาหาร
  • สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านมีการปลูกผักปลอดสารพิษและสมุนไพรเพื่อบรืโภคในครัวเรือนประชาชนใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี
  • คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพและสามารถถ่ายทอดสู่เยาวชนในชุมชนได้
  • เกิดกระบวนการบริหารจัดการของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชน
  • คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในเรื่องการบริโภค

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลศุ่ชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมสรุปผลการดำเนินงานให้ชุมชนได้รับทราบโดยชี้แจงผ่านตัวแทนครัวเรือนและฝากให้ตัวแทนครัวเรือนที่ร่วมรับฟังช่วยประชาสัมพันธ์ต่อและร่วมกันคิดหาแนวทางดำเนินการทำกิจกรรมต่อยอดในปีต่อไปและหาแนวร่วมเพิ่มเติมช่วยกันขยายกิจกรรมสู่ครัวเรือนที่ไม่เป็นเป้าหมายในปีนี้ให้ได้ร่วมมาเรียนรู้ด้วย

 

31 31

19. ปิดโครงการ

วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปปิดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กิจกรรมทุกกิจกรรมสามารถดำเนินได้ตามแผนและเสร็จสิ้นทุกกิจกรรม
  • เอกสารหลักฐานต่างๆในแต่ละกิจกรรมถูกต้องครบถ้วน
  • เก็บเอกสารหลักฐานไว้เป็นระเบียบพร้อมรับการตรวจสอบจากทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปิดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ช่วยกันสรุปผลการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งช่วยกันตรวจสอบและเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานการดำเนินงานรายกิจกรรมแยกจัดเก็บเป็นระบบเพื่อรวบรวมจัดทำรูปเล่มและเตรียมคืนข้อมูลให้ชุมชนได้รับทราบผลหลังการดำเนินกิจกรรมตลอดโครงการ

 

15 15

20. ล้างอัดภาพกิจกรรม

วันที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเก็บภาพกิจกรรมตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปิดโครงการ จัดเก็บไว้ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คนในชุมชนได้เห็นภาพกิจกรรมที่นำเสนอตลอดกิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ล้างอัดภาพ

กิจกรรมที่ทำจริง

นำภาพถ่ายกิจกรรมมาคัดเลือกในแต่ละกิจกรรม และ ล้างอัดรูป  เคลือบพลาสติก เก็บภาพไว้จัดบอร์ดนิทรรศการนำเสนอผลงานสู่ชุมชน

 

15 15

21. จัดทำรายงานสรุปโครงการ

วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายงานสรุปโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ทำการรวบรวมเอกสารหลักฐานในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เริ่มโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ
  • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลัหฐาน ทั้งเอกสารรายงานตามแบบฟอร์มและเอกสารทางการเงิน และนำเสนอต่อพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
  • จัดทำเป็นรูปเล่มจำนวน3เล่ม แจกจ่ายให้ สสส. 1 เล่มพี่เลี้ยง1เล่มเก็บไว้ที่หมู่บ้าน 1 เล่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำรายงานเอกสารเป็นรูปเล่ม จำนวน  3  เล่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • รวบรวมเอกสาร
  • ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง โดยคณะกรรมการ
  • จัดทำรูปเล่ม

 

16 16

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 34 34                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 186,400.00 186,400.00                  
คุณภาพกิจกรรม 136 131                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. ผู้บันทึกข้อมูลลงในระบบมีน้อย
  1. คนมีความรู้ด้าน Computerมีน้อยและต้องทำงานประจำ
  1. ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นท่ีใช้ Computerเป็น2. ผู้รับทุนเรียนรู้และฝึกใช้ Computer เอง

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางอวยศรี รัตนมณี
ผู้รับผิดชอบโครงการ