ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้คนปรับเปลี่ยนความคิดจากการนำขยะไปทิ้งมาเป็นการคัดแยกขยะ นำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้และจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
ตัวชี้วัด : 1.1 คนในชุมชนสามารถนำขยะเปียกมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ร้อยละ 60 1.2 คนในชุมชนเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะถูกต้อง ร้อยละ 70 1.3 คณะกรรมการร่วมกันติดตามประเมินผลการจัดการขยะในท่ประชุมทุกครั้ง 1.4 ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจการดำเนินงานในโครงการร้อยละ 95

1.1 คนในชุมชนสามารถนำขยะเปียกมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ได้ 20 ครัวเรือนมีสมาชิกช่วยกันทำในครัวเรือน อย่างน้อยครัวเรือนละ 4 คน รวมสมาชิก 80 คน คิดเป็นร้อยละร้อยละ 53 (จากที่ตั้งไว้ 150 คน)
1.2 คนในชุมชนเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะถูกต้องมี 2 แบบ คือ คนที่เปลี่ยนมากและทำเป็นรายได้เสริม จำนวน 25 คน คนที่ปรับเปลี่ยนแต่ไม่ได้ทำเป็นรายได้เสริม 70 คน รวม 95 คน ร้อยละ 63
1.3 คณะกรรมการร่วมกันติดตามประเมินผลการจัดการขยะในท่ประชุมทุกครั้ง
1.4 ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจการดำเนินงานในโครงการร้อยละ 95

2 เพื่อเพิ่มเส้นทางข้างถนนกินได้ให้มีระยะทางมากขึ้นและนำผลผลิตจากผักสวนครัวและน้ำหมักปุ๋ยในครัวเรือนแจกจ่ายและจำหน่ายสร้างรายได้ให้คนในชุมชน
ตัวชี้วัด : 2.1 ข้างไหล่ทางถนนที่เป็นแหล่งทิ้งขยะ กลายเป็นข้างถนนกินได้ ร้อยละ 80 2.2 ชุมชนมีผักสวนครัว(ปลอดสารพิษ) บริโภค โดยไม่ต้องซื้อ ร้อยละ 60 2.3 ชุมชนมีรายได้จาก การขายน้ำหมักปุ๋ยในครัวเรือน และผักข้างถนน ร้อยละ 50

2.1 ข้างไหล่ทางถนนที่เป็นแหล่งทิ้งขยะ กลายเป็นข้างถนนกินได้ ที่กำหนดไว้ทั้งหมด 3 สาย สายที่ 1 ข้างสุสาน ได้ปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกผัก มี อบต.มาช่วยปรับพื้นที่ให้ชาวบ้านได้ปลูก สายที่ 2 มี 2 ซอย (1) ซอยโต๊ะอีหม่าม ปลูกชะอมและตะไคร้และปลูกผักสวนครัวขยายผลไปตามบ้าน (2) ซอยเครื่องแกง ปลูกบวบ ขมิ้น พริก ผักบุ้ง ชะอม หวัมัน กะเพรา กล้วย สายที่ 3 ซอยบ้านผู้ใหญ่ ปลูกกล้วยขิง ข่า มะเขือพวง รวมประเมินแล้วทำได้ ร้อยละ 80

2.2 ชุมชนมีผักสวนครัว(ปลอดสารพิษ) บริโภค โดยไม่ต้องซื้อ ประเมินผลว่าสิ่งที่ไม่ปลูกก็ต้องซื้อ แต่ที่ปลูกแบ่งปันกัน เหลือได้ขาย มีเด็กและผู้สูงอายุช่วยรดน้ำ มี อบต.ช่วยปรับพื้นที่ ร้อยละ 60

2.3 ชุมชนมีรายได้จาก การขายน้ำหมักปุ๋ยในครัวเรือน และผักข้างถนน ประเมินผลว่าน้ำหมักได้ใช้ในครัวเรือนส่วนใหญ่ ได้ขายเป็นรายได้ 2 บ้าน ส่วนผักได้ขายร้อยละ 50

3 เพื่อให้เกิดกติกาชุมชน และมีข้อบัญญัติของท้องถิ่นเรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพดีของชุมชน
ตัวชี้วัด : 3.1 มีกติกาการจัดการขยะของหมู่บ้าน 3.2 มีคณะกรรมการชุมชนชุดติดตามการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

3.1 มีกติกาการจัดการขยะของหมู่บ้าน ได้แก่ มีผู้รับผิดชอบซอยดูแลต้นไม้บริเวณของเดิมที่เคยเป็นที่ทิ้งขยะ ตอนนี้เป็นสวนผัก พืชผักที่ได้นำไปแบ่งปันให้คนในหมู่บ้านที่เหลือได้ขาย เอาเงินไปซื้อเมล็ดพันธุ์ และรวมเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน มีการติดตามผลจากกรรมการอย่างต่อเนื่อง

3.2 มีคณะกรรมการชุมชนชุดติดตามการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยมีการนำเสนอในที่ประชุมหมู่บ้านทุกเดือน มีกิจกรรมร่วมกับโซนบ้าน และตำบล เป็นตัวอย่างให้ตำบลอื่นๆ

4 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. หรือ สจรส.มอ.

ได้เข้าร่วมกับ สจรส.มอ. 3 ครั้ง และได้ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง 6 ครั้ง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คนปรับเปลี่ยนความคิดจากการนำขยะไปทิ้งมาเป็นการคัดแยกขยะ นำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้และจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว (2) เพื่อเพิ่มเส้นทางข้างถนนกินได้ให้มีระยะทางมากขึ้นและนำผลผลิตจากผักสวนครัวและน้ำหมักปุ๋ยในครัวเรือนแจกจ่ายและจำหน่ายสร้างรายได้ให้คนในชุมชน (3) เพื่อให้เกิดกติกาชุมชน และมีข้อบัญญัติของท้องถิ่นเรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพดีของชุมชน (4) เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh