directions_run

เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ15 ธันวาคม 2558
15
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ งวดที่ 3
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงบันทึกรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ภาพประกอบกิจกรรมในเว็บไซ์
  • ให้พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามารถลงบันทึกกิจกรรมได้ครบถ้วน มีรายงานผลการดำเนินงานโครงการฉบับสมบูรณ์ รายงานการเงิน ที่มีเนื้อหาครบถ้วน
  • เอกสารการเงินผ่านการตรวจสอบจากพี่เลี้ยง
  • สามารถส่งรายงานขออนมัติงบประมาณโครงการในงวดที่ 3 ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
  • เจ้าหน้าที่การเงิน
  • ฝ่ายบันทึกข้อมูล
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

เพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ครั้งที่ 2)15 ธันวาคม 2558
15
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเพิ่มทรัพยากรสัตว์นำ้ในชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 9.30ประธานแจ้งที่ประชุมทราบถึงวัตถุประสงค์
  • 10.00ประธานเชิิญนายสุจิน คงจันทรกล่าวรายงานและพิธีเปิดปล่อยพันธุ์ปลานำ้จืด
  • 12.30เสร็จสิ้นกิจกรรมปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมปล่อยพันธ์ุสัตว์นำ้ ครั้งที่ 2 เป็นกิจกรรมการปล่อยพันธ์ุสัตว์นำ้จืดโดยให้เยาวชนเเละคนในชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมในการเพิ่มทรัพยากรสัตว์นำ้ให้เพิ่มขึ้นเเละเกิดความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น มีการปล่อยพันธ์ุนำ้จืดทั้งหมดกว่า 1 ล้านชีวิต สู่คลองของชุมชนบ้านบางกล้วยนอก โดยสามารถดึงผู้เข้าร่วมหลาย ๆ ฝ่ายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เเละเกิดจิตสำนึกที่ดีในการเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติของบ้านเกิดตัวเองจากที่เคยใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เเละสามารถสร้างความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน ในการทำกิจกรรมร่วมกันได้ดีเกิดความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างเยาวชนกับเยาวชนด้วยกัน เเละเยาวชนกับผู้ใหญ่ มีความสนุกสนานบรรยากาศความเป็นกันเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำเยาวชน
  • กลุ่มผู้สูงอายุ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การไม่ตรงต่อเวลา
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีรายงานผลการดำเนินงานโครงการ15 พฤศจิกายน 2558
15
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และออกแบบวางแผนการทำงานต่อยอดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เยาวชนรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
  • ที่ประชุมให้ข้อเสนอแนะ แนวทางการทำงาน
  • เยาวชนประชุมออกแบบแนวทางการการต่อยอดโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • อาจารย์ศิริพร เพ็งจันทร์ ที่ปรึกษาโครงการ และนางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง พี่เลี้ยงโครงการ ลงพื้นที่บ้านบางกล้วยนอก ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง เข้าร่วมเวทีรายงานผลการดำเนินงานโครงการ "เยาวชนบางกล้วยนอก นักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ" และหาแนวทางในการสานต่อโครงการร่วมกลุ่มกลุ่มผู้สูงอายุชมรมเพชรนาคา และกลุ่มแกนนำเยาวชนบางกล้วยนอก
  • ในการหาแนวทางการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างคนสองวัย โดยใช้ทุนและทรัพยากรที่มีในชุมชน โดยผู้สูงอายุเสนอให้เยาวชนเข้ามาส่วนร่วนร่วมในการจัดการสวนสมุนไพรของกลุ่ม และการเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพจากครูภูมิปัญญาที่อยู่ในชุมชน
  • จากกิจกรรม พบว่า เยาวชนมีพัฒนาการดีขึ้น สามารถบอกเล่าเรื่องราวการทำงาน กล้าแสดงออกมากขึ้น คนในชุมชนยอมรับ และให้การสนับสนุนการทำงานของกลุ่มเยาวชน เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่เยาวชนจะลุกขึ้นมาพัฒนาชุมชนของตนเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • กลุ่มเยาวชน
  • กลุ่มผู้สูงอายุ
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
  • ทีมงานจาก สกว. 
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การประชุมระยะยาว เนื่องจากมีการประชุมก่อนหน้า ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมลดน้อยลง 
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

เวทีรายงานผลการดำเนินงานโครงการ15 พฤศจิกายน 2558
15
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาให้คนในชุมชนทราบ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.00 น. ลงทะเบียน
  • 09.30 น. เข้าร่วมศึกษากระบวนการการของกลุ่มของผู้สุงอายุชมรมเพชรนาคา
  • 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกับผู้สูงอายุ
  • 13.00 น. หัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดย นายดลก้อเส็ม ผดุงชาติ
  • 13.10 น. แนะนำตัวทีมงาน -13.30 น. นำเสนอผลการดำเนินโครงการ โดย นางสาวจรีญา สาลี และนางสาวธัญญารัตน์ อินตัน
  • 14.30 น. มุมมองข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมเวที
  • 15.00 น. แผนงานในระยะต่อไป โดย บัณฑิตอาสา
  • 15.30 น. ปิดเวที
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ช่วงเช้า คณะทำงานโครงการ "เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ" ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มผู้สูงอายุชมรมเพชรนาคา ณ ศูนย์ผู้สูงอายุเพชรนาคา เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานของผู้สูงอายุ เยาวชนบางกล้วยนอกได้มีส่วนร่วมโดยการช่วยทำหน้าที่รับลงทะเบียน ชั่งน้ำหนักและวัดความดันผู้สูงอายุ รวมทั้งร่วมฟังการประชุมของผู้สูงอายุ ได้เห็นการทำงานที่เป็นระบบ ทำให้เยาวชนเล็งเห็นความสำคัญและเอาเป็นแบบอย่างในการทำงานต่อไป
  • ช่วงบ่าย เป็นเวทีปิดโครงการ"เยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อ" โดยมีบัณฑิตอาสารับหน้าที่ดำเนินการ
  • เวลา 13.00 น.นายดลก้อเส็ม ผดุงชาติ หัวหน้าโครงการได้มากล่าวเปิดเวทีและชี้แจงโครงการที่ได้ดำเนินการที่ผ่านมา โดยวัตถุประสงค์โครงการเพื่อสร้างสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งจากการมีส่วนร่วมของชุมชนและเยาวชนในการทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน และเพื่อศึกษาการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากร 3 วงล้อของชุมชนบางกล้วยนอก
  • เวลา 13.10 น. คณะทำงาน เยาวชน ได้มาแนะนะตัวพร้อมบอกตำแหน่งหน้าทีที่รับผิดชอบในโครงการ
  • เวลา 13.30 น. นางสาวจรีญา สาลี (น้องได๋) และนางสาวธัญญารัตน์ (น้องอามาน๊ะ) ตัวแทนเยาวชนได้นำเสนอผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา บอกเล่าที่มาของโครงการ และกิจกรรมที่ได้ทำโดยใช้โปรเจคเตอร์ ในการนำเสนอ เพื่อให้เห็นภาพกิจกรรมได้อย่างชัดเจน โดยมีการจัดดกิจจกรรม ดังนี้

    • กิจกรรมแรก กิจกรรมเยาวชนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (การจัดการป่าชายเลน)
    • กิจกรรม 2 : เยาวชนเพาะพันธุ์กล้าไม้ / กิจกรรมปลูกป่าชายเลน และเรียนรู้การใช้ประโยชน์ (ใบโกงกางทอดกรอบ)
    • กิจกรรม 3 : เพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (กิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำในป่าชายเลน ครั้งที่ 1)
    • กิจกรรม 4 : เยาวชนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (การอนุรักษ์สวนเกษตร)
    • กิจกรรม 5 : การอนุรักษ์สวนเกษตร
    • กิจกรรม 6 : เก็บขยะฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน
    • กิจกรรม 7 : ศึกษาองค์ความรู้/ภูมิปัญญา/อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ครั้งที่1
    • กิจกรรม 8 : ศึกษาองค์ความรู้/ภูมิปัญญา/อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ครั้งที่2
    • กิจกรรม 9 : ส่งเสริมการทำแปลงเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    • กิจกรรม 10 : ศึกษาภูมิปัญญาการทำประมงพื้นบ้าน
    • กิจกรรม 11 : เพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (ปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 2)
  • ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดล้วนเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติบนฐาทรัพยากร 3 วงล้อ ป่าต้นน้ำ สวนเกษตร และป่าชายเลน ทั้งนี้ตัวแทนเยาวชนได้บอกเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม คือ การได้รู้จักชุมชนของตนเองมากขึ้น รู้ว่าชุมชนองตนเองมีของดีอะไรบ้าง รู้วิธีจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน อีกทั้งยังได้ฝึกทักษะการเป็นผู้นำ ทำให้มีความกล้าแสดงออก จากที่เป็นคนขี้อาย ไม่กล้าจับไมค์

  • เวลา 14.30 น. หลังจากที่ได้ฟังตัวแทนเยาวชนนำเสนอจบ ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเวที ได้เสนอมุมมองหรือข้อเสนอแนะ ซึ่งส่วนใหญ่ “อยากให้มีโครงการที่เยาวชนสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุ” ผู้สูงอายุบางคนอยากให้เยาวชนมาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • เวลา 15.00 น. ได้มีการพูดคุยประเด็นที่จะต่อยอดจากโครงการ เพื่อเป็นแผนงานในระยะต่อไป ของบัณฑิตอาสาคนใหม่ แกนนำเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นและให้เสนอแนะที่หลากหลาย จนได้ข้อสรุปว่า อยากให้มีโครงการที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะจากการทำโครงการที่ผ่านมา พบว่า ในชุมชนมีภูมิปัญญาที่หลากหลายและควรสืบสานไว้
  • เวลา 15.30 ปิดเวที
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

• แกนนำชุมชน
• สภาผู้นำ
• คณะทำงาน เยาวชน
• ผู้สูงอายุ ชมรมเพชรนาคา • และคนในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เวลาในการดำเนินกิจกรรมไม่เป็นไปตามกำหนดการ ทำให้ผู้เข้าร่วมบางส่วนทยอยกลับ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำชุดความรู้ / คู่มือภูมิปัญญา/อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน10 พฤศจิกายน 2558
10
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเป็นชุดความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรในชุมชนเพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.00 น.ประชุมชี้แจงแบ่งบทบาทหน้าที่และกำหนดเนื้อหาที่จะทำลงในหนังสือและแผ่นพับ
  • 10.00 น. เริ่มลงมือทำตามบทบาทหน้าที่ของตัวเองที่รับผิดชอบ โดยจะแบ่งเป็นสองกลุ่ม ทำหนังสือ กับทำแผ่นพับ
  • 15.30 น. รวบรวมเป็นเล่มทำออกเป็นหนังสือ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ทำชุดความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรในชุมชน จำนวน 200 ชุด แบ่งเป็นหนังสือ 100 ชุด และแผ่นพับ 100 ชุด โดยในเนื้อหามีข้อมูล เรื่อง ป่าต้นน้ำ สวนเกษตร และป่าชายเลน อื่นๆ เช่น ภูมิปัญญาในการทำเครื่องมือจับสัตว์น้ำทางการประมง ( การทำไซดักปลาหมึก) ภูมิปัญญาในการทำเสื่อจากใบเตย การเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก เพื่อเป็นลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมีซึ่งข้อมูลทั้งหมดในหนังสือล้วนได้มาจากการทำกิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อนำมาเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน
  • จากการได้ทำชุดความรู้ / คู่มือภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ทำให้เห็นการทำงานของเยาวชนที่เป็นทีม มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจน ร่วมมือกันทำอย่างจริงจัง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เยาวชนบ้านบางกล้วยนอก
  • กลุ่มสตรี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • มีปัญหาในการออกแบบหนังสือ เพราะไม่เป็นไปตามที่วางไว้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน เเละสภาผู้นำ ประจำเดือนกันยายน255812 กันยายน 2558
12
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเตรียมความพร้อมการจัดทำชุดความรู้/คู่มือปัญญา/อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมวางแผนการจัดทำชุดความรู้/คู่มือปัญญา/อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุมประจำเดือนกันยายน 2558 เวลา14.00-16.00 น. ณ ห้องสมุด 24 ชั่วโมง บ้านบางกล้วยนอก ผู้เข้าร่วม 9 คน สรุปรายละเอียดดังนี้

สิ่งที่ต้องเตรียม

  1. กระดาษแผนพับ
  2. ออกแบบแผนพับ
  3. ใส่ข้อมูลพร้อมภาพ

ข้อมูลและภาพกิจกรรมทั้งหมด

1.เวทีชี้แจงโครงการ

2.ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน

3.เยาวชนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (อบรม)

  • การอนุรักษ์ป่าต้นนำ้
  • การอนุรักษ์ป่าชายเลน
  • การจัดการสวนเกษตร

4.กิจกรรมเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน

  • กิจกรรมปล่อยพันธ์ุสัตว์นำ้ในป่าชายเลน จำนวน 2 ครั้ง
  • กิจกรรมปลูกป่าชายเลน จำนวน 2 ครั้ง
  • กิจกรรมส่งเสริมการทำแปลงเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5.กิจกรรมเก็บขยะฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน

6.ศึกษาภูมิปัญญาการทำลอบหมึก, การทำเสื่อจากใบเตยป่า

  • ประชุมกำหนดรูปแบบและวิธีการศึกษาองค์ความรู้
  • กิจกรรมศึกษาองค์ความรู้/ภูมิปัญญา/อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนจากแกนนำชุมชนและผู้รู้ในชุมชน จำนวน2ครั้ง
  • จัดทำชุดความรู้/คู่มือภูมิปัญญา/อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
  • เวทีรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
  • ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำเดือนละ1 ครั้ง

แผนการทำงาน

  1. นัดทำข้อมูลทำแผนพับระหว่างวันที่14 -30กันยายน2558
  2. ส่งต้นฉบับร่างให้พี่เลี้ยงดู
  3. ทบทวนข้อมูล
  4. สั่งพิมพ์แผนพับ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 9 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • สภาผู้นำ
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (ปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 2)19 สิงหาคม 2558
19
สิงหาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเพิ่มทรัพยากรสัตว์นำ้ในชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการปลูกป่าชายเลนเพื่อแม่ มีรายละเอียดดังนี้

  • 08.00 -8.30 ลงทะเบียน
  • 08.30 -9.00 รองนายองค์การบริหารส่วนตำบลนาคากล่าวเปิดกิจกรรม
  • 09.00 -10.00 ทุกคนลงเรือโดยพร้อมเพรียงกันเพื่อไปปลูกป่าตรงบริเวณที่กำหนดไว้
  • 11.00 - 12.00 ทุกคนรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกันและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลจากการทำกิจกรรมปลูกเพื่อแม่ วันที่ 19 สิงหาคม 2558 เวลา 08.00-12.00 น. ณ ท่าเทียบเรือบ้านบางกล้วยนอก สรุปได้ดังนี้

  • ผู้เข้าร่วมเกินเป้าหมาย มีทั้งแกนนำเยาวชน โรงเรียนบ้านบางกล้วยนอก องค์การบริหารส่วนตำบลนาคาเจ้าหน้าที่อุทยานหาดประพาส ทหาร ผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ทุกฝ่ายให้ความร่วมเป็นอย่างดี
  • บรรยากาศดีน่าเข้าร่วมเพราะป่าชายเลนบริเวณนี้มีต้นกางโกงเป็นจำนวนมากและมีความสมบูรณ์
  • ได้เรียนรู้วิธีการปลูกต้นจากอย่างถูกวิธีโดยการขุดหลุมไม่ต้องลึกไม่ต้องใช้ดินกลบและห้ามใช้เท้าเพื่อกลบดินเพราะจะทำให้ต้นจากตายได้ ขณะปลูกให้เดินอย่างระมัดระวังอย่าไปเหยียบหน่อของต้นที่ปลูกไว้แล้ว
  • ได้มีการนั่งเรือใหญ่เพื่อไปปลูกบริเวณที่ทีมงานได้ไปเซอร์เวย์ไว้ซึ่งเป็นริมฝั่งของป่าชายเลนด้านใน ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมปลูกเพื่อแม่
  1. ได้ทำความดีเป็นการระลึกคุณถึงมารดา
  2. เป็นการเพิ่มพูนทรัพยากรในป่าชายเลน
  3. เกิดความสามัคคีในชุมชนผ่านกิจกรรมการปลูกป่าร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 73 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำชุมชน
  • สภาผู้นำ
  • นักเรียนและคุณครูโรงเรียนบางกล้วยนอก
  • แกนนำเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ต้องปรับปรุงเวลาเข้าร่วมกิจกรรมให้ตรงต่อเวลา
  • ที่ผ่านมาเยาวชนยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • เยาวชนต้องมีความกระตือรือร้นมากกว่านี้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน เเละสภาผู้นำ ประจำเดือนสิงหาคม255815 สิงหาคม 2558
15
สิงหาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเตรียมความพร้อมทำกิจกรรมปลูกเพื่อแม่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมและวางแผนการทำงานของแกนนำเยาวชนและคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อทำกิจกรรมปลูกเพื่อแม่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุมประจำเดือนสิงหาคม2558เวลา9.00- 10.00น.ณห้องสมุด 24 ชั่วโมงบ้านบางกล้วยนอก ผู้เข้าร่วม10คนสรุปรายละเอียดได้ดังนี้

  • กำหนดวันที่ 19สิงหาคม2558 เป็นวันทำกิจกรรม
  • ทีมงานประสานงานผูัเข้าร่วมหน่วยงาน เช่น โรงเรียนบ้านบางกล้วยนอกองค์การบริหารส่วนตำบลนาคา จนท.ชพร 4109 (ทหาร)เจ้าหน้าที่อุทยานหาดประพาส ผู้นำชุมชนและชุมชน
  • จัดเตรียมต้นกล้า จำนวน 500ต้น(ต้นจาก)
  • จัดเตรียมพาหนะ(เรือ5ลำ)
  • จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
  • จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
  • จัดเตรียมสถานที่
  • จัดเตรียมเครื่องเสียง
  • แบ่งบทบาทหน้าที่ของทีมงาน

    • นายดลก้อเส็ม ผดุงชาติ ผู้ประสานเตรียมต้นกล้า และพาหนะ
    • นายซิกดิก ผดุงชาติ ด.ช.วายุ เกี่ยวสด แและนางหาตียะชายเขาทอง เตรียมสถานที่
    • น.ส. ลีนาทิพย์ ถนอมจิตน.ส. มารีหยำ ชิดเอื้อ และ น.ส.กัญญารัตน์ อินตันฝ่ายทะเบียน
    • น.ส. จรีญา สาลีและ น.ส. อุสนา ทอดทิ้ง ช่างภาพ
    • น.ส.อุมาพรชายเขาทอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • สภาผู้นำ
  • แกนนำเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ต้องปรับปรุงเวลาเข้าร่วมกิจกรรมให้ตรงต่อเวลา
  • เยาวชนต้องมีความกระตือรือร้นมากกว่านี้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน เเละสภาผู้นำประจำเดือนกรกฏาคม255827 กรกฎาคม 2558
27
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการและกิจกรรมที่ต้องสานต่อให้กับบัณฑิตคนใหม่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมแกนนำเยาวชนและคณะทำงานมอบหมายงานให้บัณฑิตอาสา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุมประจำเดือนกรกฎาคม 2558 เวลา14.00 -17.00น.ณห้องสมุด24ชั่วโมง บ้านบางกล้วยนอก ผู้เข้าร่วม8คนสามารถสรุปรายละเอียดดังนี้

  • มอบเอกสารที่เกี่ยวกับโครงการให้กับบัณฑิตอาสาคนใหม่มีดังนี้

    • ตัวเอกสารโครงการของ สสส. ทั้งตัวสัญญาและรายละเอียดของโครงการ
    • รายงานวิจัยที่ทำให้ไว้ก่อนหน้านี้ของหน่วยงานอื่นอย่าง เช่น รายงานวิจัยของสกว. เรื่อง "โครงการกระบวนการเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร๓วงล้อ เพื่อความมั่นคงและนำไปสู่กระบวนการพึ่งตนเองโดยชุมชนบ้านบางกล้วยนอก"
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำชุมชน
  • สภาผู้นำ
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ความไม่ตรงต่อเวลาทำให้คนที่มาก่อนต้องรอเสียเวลาทำให้ดำเนินการภารกิจส่วนตัวบ้างติดแก้ ร,0 ยังขาดความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมเยาวชนบางคนช่วงการประชุมมีการเล่นเฟสบุคเล่นไลน์เล่นเกมด้วยทำให้ไม่ประชุม ก็เลยมีการตั้งมาตราการว่าถ้าใครยังเล่นให้ออกมาสรุปให้เพื่อนฟังว่าผลเป็นอย่างไรถือว่าเข้าใจแล้วที่ไม่ฟังทำให้เยาวชนเกิดการตื่นตัวและตั้งใจฟังมากขึ้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมประจำเดือน มิถุนายน 255816 มิถุนายน 2558
16
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานเเละวางเเผนการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • บัณฑิตอาสากล่าวเปิดเวทีชี้เเจงวัตถุประสงค์ในที่ประชุม
  • เเนะนำตัวเพื่อให้เป็นที่รู้จักกันในที่ประชุมเนื่องจากมีบัณฑิตอาสาคนใหม่ลงมาทำงานเเทนคนเก่า
  • บัณฑิตอาสานำเสนอผลงานจากการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนที่ผ่านมา
  • ผศ.สอรัฐ มากบุญ ผู้จัดการโครงการเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ได้ชวนคิดชวนคุยกับคณะทำงานเกี่ยวกับโครงการ
  • บัณฑิตอาสากล่าวความรู้สึกเเละกล่าวอำลาพื้นที่
  • กล่าวต้อนรับบัณฑิตอาสาคนใหม่เเละมอบหน้าที่การทำงานของพื้นที่ต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผศ.สอรัฐ มากบุญ ผู้จัดการโครงการเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และนางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง นักบริหารงานพัฒนา เข้าร่วมกิจกรรมเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการและอำลาพื้นที่ปฏิบัติงานของนางสาวนาดียะห์ แมลอก บัณฑิตอาสา รุ่นที่ 10 พื้นที่บ้านบางกล้วยนอก ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง โดยในเวทีบัณฑิตอาสาได้สรุปผลการดำเนินงานโครงการเยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐาน 3 ภูมินิเวศ และผศ.สอรัฐ มากบุญ ได้ชวนชาวบ้านพูดคุยถึงแนวทางการสานต่อโครงการพัฒนาในพื้นที่เพื่อให้บัณฑิตอาสา รุ่นที่ 11 ได้ทำงานสานต่อโครงการต่อไป พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้บัณฑิตอาสา และคนในพื้นที่ร่วมแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นต่อการทำงานของบัณฑิตอาสา
  • บรรยากาศการร่ำลาเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และคราบน้ำตาของแกนนำเยาวชนที่แสดงถึงความรักและอาลัยต่อบัณฑิตอาสา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้จัดกการโครงการบัณฑิตอาสาภาคใต้ตอนบน
  • พี่เลี้ยงโครงการบัณฑิตอาสา/สสส.
  • คณะทำงาน
  • เเกนนำเยาวชน
  • บัณฑิตอาสา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ขาดความพร้อมในการจัดการสถานที่ประชุมทำให้เกิดความล่าช้าในที่ประชุม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ศึกษาภูมิปัญญาการทำประมงพื้นบ้าน14 มิถุนายน 2558
14
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อศึกษาการทำลอบดักปลาหมึก
  2. เพื่อศึกษาเทคนิคและวิธีการในการวางลอบดักปลาหมึก
  3. เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวประมง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • หัวหน้าโครงการชี้เเจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
  • ปราญ์ชชาวบ้านเล่าพร้อมสาธิตการทำอุปกรณ์ประมงพื้นบ้าน
  • สอดเเทรกกิจกรรมสันทนาการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่ได้จากการสาธิตการทำอุปกรณ์

  • ลอบ หมายถึงเครื่องมือประมงที่ใช้ดักจับปลาหมึกหอมหรือหมึกกระดอง จะมีลักษณะเป็นรูปโค้งคล้ายๆ ครึ่งวงกลม มีความกว้าง 75 ซม. ความยาว 105 ซม. และความสูง 55-60 ซม.ไม้ที่ใช้จะเป็นไม้มะพลาหรือไม้ทุเป็นไม้เนื้อเหนียว

ลักษณะและวิธีการใช้งาน

  • ปลาหมึกเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่พบมากในทะเลโดยธรรมชาติ ปลาหมึกกล้วยหรือปลาหมึกหอม มักหาอาหารในที่ที่มีกิ่งไม้ใบหญ้าบริเวณริมฝั่งทะเลการจับปลาหมึกนอกจากจะใช้เรือประมงในการไดปลาหมึกแล้ว ยังสามารถใช้ลอบเป็นเครื่องมือจับปลาหมึกที่ทำขึ้นเอง เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ที่มาเนื่องจากซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ยึดการประกอบอาชีพการทำประมงเป็นหลักและจะเห็นได้ว่าจะพบเห็นลอบดักปลาหมึกนั้นมีอยู่ทั่วไปหมดเกือบตลอดทางเดินบริเวณชายฝั่งซึ่งสิ่งที่ได้พบเห็นนั้นทำให้เกิดความสนใจที่จะศึกษาว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้มีการทำให้ปลาหมึกนั้นมาเข้าอยู่ข้างในได้อย่างไงและมีวิธีการที่จะวางตรงไหน เวลาไหนที่จะออกไปวางลอบและมีการทำอย่างไร

สรุป

  • การทำลอบนั้นต้องอาศัยความใจเย็นและความพิถีพิถันเป็ยอย่างมากและต้องมีความละเอียดรอบคอบเนื่องจากลอบดักปลาหมึกนั้นจะต้องมีความสมดุลกันขณะที่เรานั้นต้องเอาไปว่างในทะเล ลอบดักปลาหมึกยังสร้างประโยชน์อีกมากมาย อาทิ เช่น ประหยัดเวลา แค่เราเอาลอบไปวางไว้แล้วค่อยกลับไปดูได้ ทำให้มีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นๆได้อีกมากมายและการใช้ลอบดักปลาหมึกยังทำให้จับปลาหมึกได้จำนวนมากมากกว่าการไดปลาหมึกแถมยังรักษาสมดุลของท้องทะเลเนื่องจากลอบดักปลาหมึกจะจับแต่ปลาหมึกตัวใหญ่ๆทำให้ลูกหมึกมีโอกาสขยายพันธุ์ได้ต่อไปอีก

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ได้ศึกษาการใช้ชีวิตของชาวประมงบนเกาะพิทักษ์
  2. ได้ศึกษาถึงอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพของชาวบ้านบนเกาะพิทักษ์
  3. ได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำลอบดักปลาหมึก
  4. ได้เรียนรู้ถึงหลักการหาปลาและปลาหมึกว่ามีวิธีการหาอย่างไร

ข้อเสนอแนะ

  • การดักปลาหมึกหมึกนั้นควรมีระยะเวลาห่างในการดัก เพื่อให้ปลาหมึกนั้นมีการขยายพันธุ์และมีการเจริญเติบโตให้ทันกันเพราะจะเป็นการรักษาสมดุลของทะเลและไม่ให้ปลาหมึกมีจำนวนลดลงอีกด้วย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • เเกนนำเยาวชน
  • คณะทำงาน
  • วิทยากร
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • กิจกรรมมีการเปลี่ยนเเปลงจากศึกษาภูมิปัญญาการทำกะปิเนื่องจากไม่ใช่ช่วงเวลาการทำกะปิหาวัสดุอุปกรณ์ยากเเต่กลับมาทำกิจกรรมการทำอุปกรณ์การประมงพื้นบ้าน(ลอบดักหมึก)
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมส่งเสริมการทำแปลงเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม12 มิถุนายน 2558
12
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกเเละส่งเสริมการการทำเเปลงเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • เชิญชวนคนในชุมชนงดการใช้สารเคมีในการทำเกษตรเพื่อการอนุรักษ์ป่าและน้ำในชุมชน โดยการสาธิตการทำปุ๊ยหมักชีวภาพไว้ใช้เอง
  • ส่งเสริมให้มีการปลุกผักสวนครัวไว้กินในครัวเรือน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง

วัสดุและอุปกรณ์

  1. เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า
  2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง
  3. ถังสำหรับหมัก
  4. มีด

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

  1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  2. บรรจุลงในภาชนะ
  3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน
  4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน
  5. ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม
  6. สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน
  7. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป
  8. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี

  1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติกหรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพจากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทรอการใช้งานต่อไป
  2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่างๆขึ้นเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก๊าซมีเทนเป็นต้น
    3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น

การใช้ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพมีค่า ความเข้มข้นของสารละลายสูง ( ค่า EC เกิน 4 Ds/m ) และเป็น กรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3.6-4.5 ก่อนนำไปใช้กับพืชต้องปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เป็นกลาง โดยเติมหินฟอสเฟต ปูนไดโลไมล์ ปูนขาว กระดูกป่น อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 100 ลิตร แล้วผสมปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ อัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร
  2. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ จะเป็นประโยชน์สูงสุด ต้องใช้เวลาในการหมัก จนแน่ใจว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สมบูรณ์แล้ว จึงนำไปใช้กับพืชได้
  3. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ธาตุอาหารเกือบทุกชนิด แต่มีในปริมาณต่ำ จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยเคมีเสริม
  4. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ฮอร์โมนพืช ในระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำ ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ มีฮอร์โมนในกลุ่ม อ๊อกซิน ได้แก่ อินโดลอะซิติกแอซิล (LAA) มีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของยอด กระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักชำ ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน (GA3) ช่วยทำลายการฟักตัวของเมล็ด กระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น ส่งเสริมการออกดอก และทำให้ช่อดอกยืดยาวขึ้น และฮอร์โมน กลุ่มไซโตโคนิน ได้แก่ เซติน (Zeatin) และไคเนติน (Kinetin) มีผลกระตุ้นการเกิดตา ช่วยเคลื่อนย้ายอาหารในต้นพืช และช่วยให้พืชผักมีความสดนานขึ้น
  • ได้ผักสวนครัวกลับไปปลูกใช้กินเองเพื่อการส่งเสริมการทำเเปลงเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • สภาผู้นำ และเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมศึกษาองค์ความรู้/ภูมิปัญญา/อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ครั้งที่28 มิถุนายน 2558
8
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรระหว่างเยาวชนและแกนนำในการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • ให้เยาวชนช่วยกันสรุปบทเรียนจากการทำงานจากนางหาตีย๋า ชายเขาทอง ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนด้วยการสัมภาษณ์ การพูดคุย กลุ่มย่อย
  • ถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยที่ผ่านมาของนักวิจัยท้องถิ่นโดยเป็นความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำปลาของชุมชน โดยนางหาตีย๋า ชายเขาทองเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าว
  • กระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของเยาวชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยช่วยกันเสนอความคิดเห็น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เยาวชนช่วยกันสรุปบทเรียนองค์ความรู้จากการทำงานจากนางหาตีย๋า ชายเขาทอง ผู้มีประสบการณ์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ดังรายละเอียดดังนี้

  • ฐานทรัพยากรธรรมชาติ 3 วงล้อ ตั้งแต่ปลายน้ำลงสู่กลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกัน ดังนั้นการจัดการอนุรักษ์และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาตินั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงทุกระบบนิเวศเพราะแต่ละระบบนิเวศมีความสัมพันธ์และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
  • ภูมิปัญญาในการจัดการน้ำไปใช้ในการสวนเกษตร /การใช้ประโยชน์ในที่ดินให้เหมาะสม แนวทางการฟื้นฟู
  • การเปลี่ยนแปลงระบบคิดของในการลดการพึ่งพาสารเคมีควรต้องใช้เวลา

การสร้างกระบวนการเรียนรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีในการทำเกษตร

  • การหนุนเสริมการใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทย
  • ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากผักป่าและสัตว์น้ำจืด

แนวทางการฟื้นฟู

  • การฟื้นฟูชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างกฎระเบียบในการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  • การจัดการพื้นที่แนวคลองให้มีการปลูกไม้เสริมเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน

การปลูกฝังจิตสำนึกของคนในชุมชน

  • การประสานงานพื้นที่ใกล้เคียงป่าต้นน้ำให้เข้ามามีส่วนร่วม
  • ภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน เช่น การทำกะปิ การใช้ประโยชน์จากหอยและการใช้สมุนไพรในป่าชายเลน

แนวทางการฟื้นฟู

  • ควรมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการปล่อยพันธ์หอยที่ลดน้อยลงโดยชุมชนมีส่วนร่วม
  • ร่วมกันกำหนดเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ

  • ผลการเสนอแสดงความคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของกลุ่มเยาวชนคือเยาวชนได้เรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติบ้านเกิดตัวเองงมากขึ้น ได้สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนมีการเพาะพันธุ์โกงกางปลูกป่าชายเลน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ได้เรียนรู้ประโยชน์จากใบโกงกางได้ผักปลอดสารพิษไว้กินเองเพื่อพึ่งพาตนเองได้ในระดับครัวเรือนเพื่อสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนรอบข้าง เช่นได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถไปเล่าสู่กันฟังได้ ได้อนุรักษ์ทรัพยากรมนุษย์แบบรุ่นสู่รุ่น ได้ฝึกความกล้าแสดงออกมากขึ้น รู้จักเพื่อนๆมากขึ้นเกิดความสนิทสนม และเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม

  • ผลการถ่ายทอดทำให้ได้องค์ความรู้การทำน้ำปลา น้ำปลาแท้ตราฅนบางกล้วย จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่คุ้มประโยชน์โดยมีการแปรรูปทรัพยากรที่เหลือจากการบริโภคและไม่สามารถจำหน่ายได้ประกอบกับการได้เดินทางไปศึกษาดูงานของกลุ่มชุมชนชาวประมงพื้นบ้านที่รวมตัวกันผลิตน้ำปลาจังหวัดตรัง หลังจากนั้นจึงได้กลับมาทดลองทำของบางกล้วย

วัสดุอุปกรณ์

  • กะละมัง/มีด/เขียง/โอ่ง/ผ้าขาว/เชือกฟาง
  • ปลา/เกลือ/อ้อย/สับปะรด

ขั้นตอนการหมัก

  • ขั้นตอนที่ 1 จัดเตรียมส่วนผสม

    • ปลา/เกลือ/สับปะรด/
    • นำอ้อยมาสับเป็นท่อนๆ(สับปะรดกับอ้อยจะใส่ให้มากก็ได้เพราะจะได้ช่วยย่อยสลายของเนื้อปลา)
  • ขั้นตอนที่ 2 นำสับปะรดมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ จากนั้นก็นำโอ่งนำมาวางไว้ให้เข้าที่แล้วหลังจากนั้นก็นำสับปะรดที่หันเตรียมแล้วมาวางไว้ในโอ่งปริมาณ 1.5 กิโลกรัม

  • ขั้นตอนที่ 3 นำปลามาคลุกเคล้ากับเกลือจำนวน15กิโลกรัม การนำมาคลุกเคล้ากับเกลือนั้นต้องทำเป็นครั้งๆ ละ 50 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็นำไปใส่โอ่งครึ่งหนึ่ง 25 กิโลกรัมและนำสับปะรดมาวาวบนตัวปลาประมาณ 1 กิโลกรัม หลังจากนั้นก็นำปลาส่วนที่เหลือใส่ลงไปในโอ่งทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีก 25 กิโลกรัม จากนั้นก็นำสับปะรดที่เหลือทั้งหมดใส่ลงในโอ่ง และก็ตามด้วยอ้อยที่เตรียมไว้ทั้งหมดจำนวน 4 กิโลกรัม เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาบรรจุในโอ่งเรียบร้อยตามขั้นตอนทุกกระบวนการแล้วเราก็ทำการปิดฝาโอ่งด้วยผ้าขาวบาง และมัดด้วยเชือกฟางให้แน่นก็เป็นอันว่าเสร็จ

***หมายเหตุ

  • หนึ่งโอ่งสามารถบรรจุปลาได้จำนวน 50 กิโลกรัม

    • ใช้เกลือจำนวน 15 กิโลกรัม
    • ใช้สับปะรดจำนวน 4 กิโลกรัม
    • อ้อยจำนวน 4 กิโลกรัม
    • ใช้อัตราส่วนปลา 10 กิโลกรัม เกลือ 3 กิโลกรัม สับปะรด 2 กิโลกรัม อ้อย 2 กิโลกรัม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • สภาผู้นำ
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมศึกษาองค์ความรู้/ภูมิปัญญา/อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ครั้งที่16 มิถุนายน 2558
6
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรระหว่างเยาวชนและแกนนำในการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • ให้เยาวชนลงพื้นที่สัมผัสการทำภูมิปัญญาการทำเสื่อของบ้าน นางห้ำเลี้ย หลงติ้ง หวามี่ เป็นผู้เชี่ยวชาญการทำสาดมาตั้งแต่สมัยก่อน มีความยินดีที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญาการสาดกับเยาวชนรุ่นใหม่ที่ส่วนใหญ่ไม่มีใครทำเป็นแล้วในหมู่เยาวชน
  • ไปเรียนรู้การพายเรือแจวโดยมีนายดลก้อเส็มผดุงชาติ เป็นผู้เชี่ยวชาญการสาธิตเรือแจว
  • ให้เยาวชนสรุปขั้นตอนและวิธีการทั้งสองภูมิปัญญาลงกระดาษชาร์ตเพื่อเก็บข้อมูลและถ่ายภาพลงในกระดาษเล่มเล็ก
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ภูมิปัญญาการทำสาดเป็นภูมิปํญญาที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยก่อนมาจนถึงสมัยปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าสมัยนี้จะไม่ค่อยให้ได้เห็นมากนัก จะมีแค่บางส่วนเพียงไม่กี่รายที่ยังอนุรักษ์การทำสาด ส่วนใหญ่จะเป็นคนแก่ๆ คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะสานกันไม่เป็นแล้ว อาศัยความสะดวกสบายหาซื้อตามท้องตลาด

อุปกรณ์เครื่องมือ

  1. เตยหนู/เตยเล/เตยบ้าน
  2. มีดพร้า/มีดบาง
  3. ถุงมือ เพื่อป้องกันหนามเตย
  4. ไม้ใผ่ ไว้สำหรับขูดเตย

ขั้นตอน/วิธีการ

  1. ตัดเตยจากต้นเลือกใบที่ไม่อ่อนเกินมีความพอดี
  2. ใช้มีดบางเลื่อยเตยเพื่อเอาหนามออก
  3. นำเตยไปตากแห้งประมาณพอเหี่ยว
  4. พอตากแห้งเสร็จนำมาขูดกับไม้ไผ่เพื่อไม่ให้เตยลีบเพื่อง่ายต่อการสาน
  5. พับให้เท่ากันและนำมาสานเป็นสาด
  6. พอสานเสร็จต้องมีการพับมุมและพับริมตัดส่วนที่เหลือทิ้ง
  • จากการการสัมภาษณ์ นางหำเลี้ย หลงติ้ง หรือหวามี่ ผู้เชี่ยวชาญการทำสาดมาตั้งแต่ช้านาน “หวามี่ทำสาดมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ย่าของหวา เป็นการใช้ทรัพยากรในบ้านเราโดยที่เราไม่ต้องลงทุน แค่พียงเราลงแรง และอดทน ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ สาดหนึ่งผืนใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์พร้อมตัดเตยและสานสาด หวายินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ที่มีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อจะได้อยู่คู่กับรุ่นลูกหลานต่อไป และจะได้ไม่หายไปจากชุมชนเรา”
  • เยาวชนเกิดความอยากรู้อย่างสานสาดเพื่อแสดงฝีมือการสานสาดถือว่าฝีมือใช้ได้เลยทีเดียว เกิดจิตสำนึกรักษ์ภูมิปัญญาบ้านเกิดตัวเองและอนุรักษ์ไว้เพื่ออยู่คู่รุ่นลูกหลานต่อไป

ผลการศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาการแจวเรือสรุปได้ดังนี้ คือ

  • ก่อนจะแจวเรือ ควรฝึกพายเรือก่อน มันต่างกันตรงยืนกับนั่ง วิธีการบังคับเรือเหมือนกัน ส่วนมากคนอยู่ท้ายเรือจะเป็นคนบังคับเรือ : และจะกล่าวถึงการพายเรือเป็นหลัก วิธีการพาย (คนบังคับเรือ)การจับพายให้ถนัดมือแล้วยื่นพายไปด้านหน้า (จะข้างซ้ายหรือขวาก็ได้) แล้วจ้วงใบพายลงไปในน้ำดึงกลับเข้าหาตัวเมื่อพายมาถึงตัวไม่ต้องยกขึ้น " บิดพาย (ตรงนี้สำคัญ) ให้สันพายบิดไปข้างหน้าแล้วค่อยๆงัดพายให้ใบพายออกไปด้านข้าง (ตรงนี้จะบังคับเรือให้ตรง) จนถึงหลังแล้วดึงพายขึ้นมาพายในลักษณะเดียวกันจนถึงฝั่ง พายข้างใดข้างหนึ่งไม่ต้องกลับไปกลับมา ถ้ามีคนช่วยพายนั่งข้างหน้าพายอย่างเดียวไม่ต้องงัดจะพายสลับข้างก็ได้ เรือแจวจะมีเสาสำหรับยึดด้ามพาย และมีเรือสำหรับนั่งคนเดียวก็ใช้หลักการลักษณะเดียวกัน แต่ต้องนั่งกลางลำ ต้องฝึกให้ได้จังหวะและอยู่บนเรือไม่ต้องเก้ง จะทำให้เรือล่มได้ง่ายๆ . พายยังไงก็หมุน ไม่ไปข้างหน้าซะที มีเทคนิคนิดเดียว ทำแล้วไม่ต้องจ้วงซ้ายทีขวาที เมื่อเราจ้วงไม้พายแล้วดึงไม้พายมาข้างหลัง เรือจะเลี้ยวตามแรงของไม้พาย เมื่อเราพายสุดแล้ว ก่อนที่เราจะยกไม้พายขึ้นจากน้ำ ให้เราบิดไม้พาย แล้วงัดออก การงัด ต้องให้โคนของใบพายแนบกับขอบเรือ แล้วงัดออก การงัดออกจะทำให้เรือเลี้ยวคืนที่เดิม
  • ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานกับการแจวเรือเป็นครั้งแรก ถือว่าสร้างประสบการณ์ให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ให้รู้จักการแจวเรือ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • สภาผู้นำ
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • อากาศร้อนมากในการทำกิจกรรมแจวเรือทำให้ไม่สามารถแจวเรือเล่นได้นานนัก เรือแจวมีลำเดียวทำให้เสียโอกาสกับคนที่อยากลองแจว
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมกำหนดรูปแบบและวิธีการศึกษาองค์ความรู้5 มิถุนายน 2558
5
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เกิดชุดความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3วงล้อ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะบียน
  • หัวหน้าโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์รายละเอียดการประชุมเพื่อทำความเข้าใจและแบ่งบทบาทหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรม
  • ออกแบบวางแผนการทำงานวิธีการจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญาและองค์ความรู้ในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการประชุมกิจกรรมกำหนดรูปแบบและวิธีการศึกษาองค์ความรู้มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 24 คนทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันว่าจะมีกิจกรรมศึกษาองค์ความรู้ทั้งหมด 2 ครั้ง โดยมีการเสนอความคิดเห็นการออกแบบว่าจะศึกษาข้อมูลพร้อมสาธิตการปฎิบัติจริงโดยให้วิทยากรที่มีความรู้ภูมิปัญญามาอธิบายและทำตัวอย่างให้เห็นภาพพร้อมลงพื้นที่สัมผัสการทำภูมิปัญญาจริงโดยวางแผนว่าภูมิปัญญาที่ต้องการถ่ายทอดให้เยาวชนรับรู้และให้อยู่คู่กับชุมชนและสามารถนำข้อมูลมาเผยแพร่ให้กับคนในชุมชนได้รับรู้ว่าบ้านเรามีภูมิปัญญาอะไรบ้าง และสามารถสรุปได้ว่ากิจกรรมศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาครั้งที่ 1คือศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาการทำสาดโดยให้นางห้ำเลี้ยหลงติ้ง เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการทำสาด และภูมิปัญญาการใช้เรือแจว โดยมีนายดลก้อเส็ม ผดุงชาติ เป็นผู้สาธิตและอธิบายการใช้เรือแจวซึ่งเป็นเรือที่ใช้ประมงสมัยก่อนซึ่งเดียวนี้หาดูกันยาก กิจกรรมศึกษาองค์ความรู้ครั้งที่ 2คือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การการทำงานระหว่างทีมผู้ใหญ่และทีมเยาวชน และช่วยกันสรุปบทเรียนการทำงานจากแกนนำชุมชน ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ โดยนางหาตีย๋าชายเขาทองเป็นผู้สรุปบทเรียนการทำงาน
  • รูปแบบองค์ความรู้มีการเสนอว่าอยากทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กและเยาวชนและคณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมเก็บขยะฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน3 มิถุนายน 2558
3
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเกิดความร่วมมือร่วมใจและสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสอดแทรกกิจกรรมสร้างสรรค์กู้ภัยทางน้ำเพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นในการช่วยเหลือ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.00-09.30 น. ลงทะเบียน
  • 09.30-10.00 น. หัวหน้าโครงการโดยนายดลก้อเส็มผดุงชาติ กล่าววัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้กัน
  • 10.00-10.30 น. กิจกรรมแบ่งกลุ่มแบ่งโซนการเก็บขยะพร้อมแจกวัสดุอุปกรณ์ในการจัดเก็บขยะ
  • 10.30-12.00 น. ร่วมมือร่วมใจกันของพลังเยาวชนเพื่อเก็บขยะฟื้นฟูหาดบางกล้วยนอก ณ ชายหาดบางกล้วยนอก(หาดบางคลัก)
  • 12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00-13.30 น. กิจกรรมเตรียมพร้อมคลายอิ่มคลายคลายร้อน ณ น้ำตกโตนกลอย
  • 13.30-14.30 น. กล่าวต้อนรับคณะวิทยากรทีมกู้ภัยเทศบาลตำบลกำพวน และอบรมให้ความรู้เบื้องต้นกับกิจกรรมกู้ภัยทางน้ำ
  • 14.30-16.30 น. คณะวิทยากรกู้ภัยสาธิตการกู้ภัยทางน้ำ
  • 16.30 เป็นต้นไปเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการจัดกิจกรรมเก็บขยะฟื้นฟูหาดบางกล้วยนอก ณ หาดบางกล้วยนอก(หาดบางคลัก)ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจพร้อมกันเพื่อสร้างให้หาดของชุมชนน่าอยู่และสะอาดน่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และทำให้เยาวชนและคนในชุมชนเกิดสำนึกรักบ้านเกิดตัวเองมากขึ้น พร้อมกับรอยยิ้มของของทุกคนสร้างความสนุกสนานกับบรรยากาศวิวของหาดทำให้ถ่ายภาพได้กันอย่างสวยงาม
  • ผลการจัดการอบรมกู้ภัยทางน้ำจากวิทยากรทีมกู้ภัยเทศบาลตำบลกำพวน ณ น้ำตกโตนกลอย ดังรายละเอียดดังนี้ วิธีการผายปอดโดยการทำ mouth to mouth นั้น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า เราต้องหายใจเข้าเอาออกซิเจนไปฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิตแดง จากนั้นโลหิตแดงจะเอาออกซิเจน ไปเลี้ยงเซลต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลสมอง ซึ่งถ้าหากขาดออกซิเจนเพียง 4 นาที เซลสมองก็จะเกิดความเสียหาย ดังนั้นเมื่อคนจมน้ำ, ถูกรัดคอ, แขวนคอ หรือมีสิ่งแปลกปลอม มาอุดตันหลอดลม (เช่น ลูกอม, เมล็ดผลไม,้ ข้าวเหนียว, ซาลาเปา หรือขนมชั้นฯ) อยู่ในห้องที่มีแก๊สหรืออยู่ในรถที่มีคาร์บอนมอนนอกไซด์ (ไอเสียรถยนต์) ถูกไฟดูด, ฟ้าผ่า ฯลฯ มีหลายสาเหตุที่ทำให้หายใจไม่ได้ ซึ่งหากเราขาดอากาศหายใจเพียง 4 นาที เซลสมองก็จะเสียหาย เมื่อเซลสมองเสียหาย แล้วช่วยไม่ทันก็ตาย หรือถ้าหากไม่ตายก็อาจกลายเป็นเจ้าชาย หรือเจ้าหญิงนิทรา โดยปกติอากาศรอบๆ ตัวเรามีออกซิเจนปนอยู่ประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเราหายใจเข้าเอาออกซิเจนเข้าไปในปอดเพื่อฟอกโลหิตดำเป็นโลหิตแดง (การแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์) ขั้นตอนนี้ใช้ออกซิเจนไป 4 เปอร์เซ็นต์ เหลือออกซิเจนกลับออกมากับลมหายใจออก 17 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพียงพอ สำหรับความต้องการของคนจมน้ำ (ขาดอากาศหายใจ) ดังนั้นเมื่อเราเป่าลมหายใจออกของเรา ผ่านเข้าไปทางปากของเขา ปอดของเขาก็จะได้รับออกซิเจนเพียงพอ ที่จะฟอกโลหิตดำให้เป็นโลหิตแดง แล้วส่งไปให้หัวใจซึ่งจะทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตแดง นำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนการทำ Mouth to mouth นั้น เราจะต้องนั่งคุกเข่าคร่อมหัวไหล่ทางด้านข้างของผู้ประสบภัย สมมุติว่าเรานั่งคุกเข่า คร่อมหัวไหล่ซ้ายของผู้ประสบภัย มือขวาของเราจะอยู่ด้านบน หรือด้านศีรษะของผู้ประสบภัย จากนั้นใช้ด้านข้างของฝ่ามือขวาที่ต่อลงมาจากนิ้วก้อย กดที่หน้าผากตรงรอยต่อกับผม ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือซ้าย ดึงกระดูกกรามด้านข้าง ๆ คางของผู้ประสบภัย ให้ใบหน้าของผู้ประสบภัยเงยขึ้นให้มากที่สุด เพื่อให้ทางเดินอากาศ (หลอดลม) เปิดกว้างที่สุด จากนั้นเราจะใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้มือขวา ซึ่งกดหน้าผากของผู้ประสบภัยอยู่บีบจมูกของผู้ประสบภัย พร้อมกับอ้าปากของเรา ครอบริมฝีปากของผู้ประสบภัยให้มิด เป่าลมหายใจออกของเราเข้าไปประมาณ 500 ซีซี พอ ๆ กับการหายใจออกตามปกติหรือมากกว่าเล็กน้อย เมื่อเป่าลมเข้าไปเสร็จแล้ว จึงยกปากของเราขึ้นจากการครอบ และขณะเดียวกันก็ปล่อยนิ้วที่บีบจมูกของผู้ประสบภัย เพื่อให้อากาศไหลกลับออกมา ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 4–5 วินาที จากนั้นก็บีบจมูกประกบปากเป่าใหม่ จังหวะในการทำก็ประมาณ 20 ครั้งต่อ 1 นาที ทำเช่นนี้ต่อเนื่องไปจนกว่าเขาจะกลับมาหายใจได้เอง หรือมีแพทย์ พยาบาลมารับช่วงต่อจากเรา การช่วยหายใจด้วยวิธี Mouth to mouth และการเปิดทางเดินอากาศนี้สามารถทำได้ ทั้งในท่านั่งในรถยนต์, ท่านอน ยืนอยู่ในน้ำตื้น หรือลอยตัวพร้อมอุปกรณ์ในน้ำลึก จะเห็นได้ว่าการทำ Mouth to mouth สามารถทำได้แทบทุกสถานที่ทันทีที่เราสัมผัสตัวผู้ประสบภัย ซึ่งจะทำให้ผู้ประสบภัยมีโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น เนื่องจากสมองของผู้ประสบภัยจะขาดออกซิเจนได้ไม่เกิน 4 นาที ถ้าหากเกิน เซลสมองก็จะเริ่มเสียหายจนไปถึงขั้นเสียชีวิตแต่การทำ Mouth to mouth นี้มักจะต้องทำควบคู่ไปกับการนวดหัวใจ เพราะเป็นอาการที่ต่อเนื่องกันของผู้ประสบภัย คือหลังจากขาดอากาศหายใจได้สักพักหนึ่ง หัวใจก็จะหยุดเต้นซึ่งเสียชีวิตแน่นอน ดังนั้นเมื่อเราทำ Mouth to mouth ให้ 2 ครั้งแรก จากนั้นเราจะต้องตรวจชีพจรดูว่าระบบไหลเวียนโลหิตทำงานหรือไม่ (หัวใจเต้น) ซึ่งจะนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นในการฝึกเราจึงต้องฝึกการผายปอด และนวดหัวใจควบคู่กันไป หากคนไทยได้รับการฝึกให้สามารถกู้ชีพด้วยการผายปอด และนวดหัวใจได้ละก็ จะเป็นการเพิ่มโอกาสของการรอดชีวิตให้แก่ผู้ประสบภัยได้มากขึ้นแน่นอน การอบรมเรื่องการปฐมพยาบาลการกู้ชีพด้วยการผายปอดและนวดหัวใจนั้น มีอบรมที่สภากาชาดไทย โดยใช้เวลา 5 วัน นอกจากนี้ก็มีที่โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และที่สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ถ้าหากสนใจจะเข้ารับการอบรมที่สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำก็ได้ เราอบรมทั้งการช่วยคนตกน้ำ การเอาชีวิตรอดจากอุบัติภัยทางน้ำ รวมทั้งการผายปอด และนวดหัวใจด้วย

การช่วยคนตกน้ำ มี 2 วิธี

1.ผู้ช่วยอยู่บนฝั่งบนตลิ่งบนเรือผู้ช่วยไม่เปียก ปลอดภัยแน่นอน จากนั้นก็ช่วยด้วย

  • การยื่นอุปกรณ์ให้คนตกน้ำจับ เช่น เสื้อ กางเกง ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดตัว เข็มขัด กิ่งไม้ ท่อนไม้ ไม้ง่ามลูกเสือ ตามสระว่ายน้ำก็จะมี HOOK (ไม้ตะขอ) เตรียมไว้สำหรับช่วยผู้ประสบภัย
  • การโยนอุปกรณ์ที่ลอยน้ำให้คนตกน้ำจับหรือเกาะ เช่น ขวดน้ำ ถังพลาสติก ห่วงชูชีพ ยางในรถยนต์ และเราอาจจะเอาเชือกมาผูกอุปกรณ์เหล่านั้น เพื่อที่จะลากคนตกน้ำเข้าฝั่ง หรือหากโยนพลาดก็สาวเข้ามาแล้วโยนให้อีกครั้งหนึ่ง
  • การลุยน้ำออกไปช่วย ในพื้นที่ที่ระดับน้ำตื้นยืนถึง เช่น ในลำธาร น้ำตก หรือชายทะเล ที่เราสามารถจะลุยน้ำออกไปได้ ก็ควรจะลุยน้ำออกไปแล้วใช้อุปกรณ์ตามข้อ 1.1 หรือ 1.2 ยื่น หรือโยนให้คนตกน้ำจับแล้วพาเข้าฝั่ง ข้อ 1.1-1.3 เป็นวิธีการช่วยคนตกน้ำที่มีความปลอดภัยเกือบจะ 100 % เพราะเราผู้ช่วยอยู่บนฝั่งหรือยืนได้ในน้ำตื้น
  • การใช้เรือออกไปช่วยเรือในที่นี้หมายถึงเรือหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีขนาดใหญ่พอควร ลอยน้ำได้ แล้วตัวเราอยู่ข้างบนหรือข้างใน เช่น กระดานโต้คลื่น กระดานเล่นใบ เจ็ทสกี เรือพาย เรือแคนู เรือกรรเชียง เรือใบ ฯลฯ ประเภทเรือนี่มีหลายขนาดนัด ปกติเมื่อเคลื่อนเข้าไปใกล้ตัวคนตกน้ำ ก็จะใช้อุปกรณ์ตามข้อ 1.1, 1.2 ยื่นหรือโยนให้คนตกน้ำจับแล้วพาเข้าหาเรือ หากเป็นเรือขนาดเล็ก ต้องระมัดระวังหากจะให้คนตกน้ำปีนขึ้นทางกราบเรือ เรืออาจจะพลิกคว่ำได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ ให้ขึ้นทางท้ายเรือ อย่าลืมดับเครื่องด้วยหากเป็นเรือเครื่องที่มีใบพัด แต่ถ้าเป็นเรือใหญ่ ๆ จะขึ้นด้านใดก็ได้

2.การกระโดดลงน้ำแล้วว่ายเข้าไปช่วยคนจมน้ำ หรือตกน้ำ
วิธีแบบนี้อันตรายมาก เพราะจะทำให้คนช่วยเสียชีวิตมาเยอะแล้ว เนื่องจากไม่รู้วิธีการช่วยที่ถูกต้อง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งนักว่ายน้ำ คนว่ายน้ำเก่ง ๆ ตายเพราะว่ายน้ำเข้าไปช่วยนี่แหละ

  • การลงน้ำไปช่วยคนตกน้ำ จมน้ำ จำไว้ว่าต้องเอาอุปกรณ์ช่วยไปด้วย เช่น แท่งโฟมยาว ๆ (Kick board ซึ่งถ้าหากเล็กและสั้นเกินไป ก็จะไม่ปลอดภัย) ห่วงหรือยางในรถยนต์ หรือเราใส่เสื้อชูชีพไป เมื่อว่ายน้ำเข้าไปจวนถึงตัวคนตกน้ำ ให้หยุดอยู่ห่าง ๆ แล้วใช้อุปกรณ์ที่เอาไปด้วยยื่น หรือโยนให้คนตกน้ำเกาะ อย่าพยายามเข้าไปจนถึงตัวคนตกน้ำ เพราะเขาอาจจะเข้ามากอดเราแน่นเสียจนแกะไม่ออก และจะพาเราจมน้ำไปด้วย หากไม่มีอุปกรณ์ก็ให้ใช้ผ้าเช็ดตัวตัว ผ้าขาวม้า เข็มขัด หรืออะไรก็ได้ที่ยาว ๆ หน่อย จะได้ป้องกันไม่ให้เราต้องเข้าไปใกล้เขามากเกินไป ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ก็จะดีมาก เพราะเมื่อยื่นให้เขาจับหรือเกาะแล้วเขาก็จะลอยน้ำอยู่ได้ ความตื่นตกใจก็จะลดลง ทำให้เราช่วยได้ปลอดภัยมากขึ้น หากยื่นให้แล้วเขายังตกใจ และโผเข้ามาจะกอดเรา ก็ให้รีบดำน้ำหนี รับรองเขาไม่ดำตามเราลงไปแน่ ๆ
  • การลาก/พา

    • การลาก / พา คนจมน้ำที่สงบพวกว่ายน้ำเป็น หมดแรง หรือเป็นตะคริว ไม่ตื่นตกใจ ลากพาง่าย เบาแรง ไม่ค่อยมีอันตราย
    • การลาก / พา คนจมน้ำที่ตื่นตกใจ กลัวจมน้ำตาย พวกนี้ต้องใช้ท่า Cross chest (เอารักแร้เราหนีบบนบ่าคนจมน้ำ แขนพาดผ่านหน้าอกแบบสะพายแล่ง ไปจับซอกรักแร้อีกด้านของคนจมน้ำ) ว่ายน้ำด้วยท่า Side stroke ท่านี้เหนื่อยหนักแรง และมีอันตรายมากๆ
    • คนจมน้ำที่สลบ ต้องใช้ท่าลาก / พา ที่ประคองหน้าคนจมน้ำให้พ้นน้ำตลอด เพื่อที่ปากและจมูกของเขาจะพ้นน้ำ ทำให้หายใจได้ตลอด

ท่าว่ายน้ำที่ใช้ในการช่วยคนตกน้ำมี 4 ท่า ใช้สำหรับการว่ายออกไป 2 ท่า ว่ายกลับ (ท่าลาก พา) อีก 2 ท่า [โดยประมาณอาจะมีท่าอื่นอีก แต่ไม่นับเป็นท่าช่วยคนตกน้ำ]

1.ว่ายออกไป 2 ท่า ได้แก่

  • ฟรีสไตล์หรือชื่อจริง Front crawl ยกศีรษะ
  • กบ (Breast stroke) ยกศีรษะ ทั้ง 2 ท่านี้ เราจะว่ายพร้อมกับยกศีรษะเพื่อจะได้เห็นคนตกน้ำ ว่ายได้ตรงทิศทาง ประเมินสถานการณ์ของคนตกน้ำได้ หากเขาจมลงไปก็สามารถจำจุดจมได้ นอกจากนี้เรายังใช้เสียงพูด หรือตะโกนให้กำลังใจ ให้คำแนะนำแก่คนตกน้ำได้ เมื่อว่ายไปจวนจะถึงคนตกน้ำ ห่างประมาณ 2-3 เมตร เราจะหยุดแล้วทำท่าคุม เพื่อป้องกันการโผเข้ากอดรัดเรา แล้วยื่นอุปกรณ์ลอยน้ำได้เช่น แท่งโฟมยาว 1 เมตรขึ้นไป (ไม่ใช่ Kick board สั้นไปอันตราย) ให้คนตกน้ำจับแล้วลากเข้าฝั่ง

2.ท่าว่ายกลับ 2 ท่า (ท่าลาก)

  • ท่ากึ่งกบหงาย (Elementary back stroke)
  • ท่าว่ายตะแคง (Side stroke)

2 ท่านี้ จะใช้ตามลักษณะการลากพาคนตกน้ำ ท่าในการลากก็มี ลากด้วยอุปกรณ์ลอยน้ำต่างๆ เช่น Rescue tube ยางในรถยนต์สูบลม ห่วงชูชีพ เข็มขัด เสื้อ กางเกง หากไม่มีอุปกรณ์ก็ใช้ท่าลากอื่น ๆ เช่น ดึงผม ดึงคอเสื้อ ดึงแขน ดึงรักแร้ข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ฯลฯ จำไว้ว่า ท่าพวกนี้อันตรายมาก ปกติห้ามใช้เด็ดขาด เพราะอาจถูกกอดรัดได้ เราจะใช้สำหรับคนตกน้ำที่ไม่ตื่นตระหนกตกใจ พูดรู้เรื่อง ท่าว่ายน้ำก็มีท่ากบ หรือท่า Side stroke แล้วแต่ว่าจับมือเดียว หรือ 2 มือ หากคนตกน้ำตื่นตระหนกมาก จะกอดรัดเรา ต้องใช้ท่า Cross chest คือท่าที่เอารักแร้ของเราหนีบหัวไหล่คนตกน้ำ แล้วสอดแขนข้างที่หนีบนั้นสะพายแล่ง ผ่านหน้าอกไปล๊อคใต้รักแร้คนตกน้ำ หากยิ่งดิ้นมากก็เอามืออีกข้างหนึ่ง ไปจับมือของเรา ที่สอดไปใต้รักแร้เขาแล้วดึงรัดให้แน่น ท่านี้ต้องระมัดระวังมาก ๆ เพราะหากเขาดิ้นหลุดก็จะกอดรัดเราได้ หากจะต้องลงน้ำแล้วว่ายน้ำไปช่วยคนตกน้ำ จงเอาอุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ดี ๆ ไปด้วย เช่น ถังแกลลอนเปล่า แล้วยื่นให้เขาจับ อย่าเข้าไปใกล้จนเขาอาจจะจับ หรือกอดรัดเราได้ ไม่เช่นนั้นอาจจะจมน้ำตายทั้งคนช่วย และคนตกน้ำ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • สภาผู้นำ
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ทีมเยาวชนมาไม่พร้อมเนื่องจากบางส่วนติดภารกิจและติดเรียนด้วยทำให้เสียดายโอกาสในการเรียนรู้เพื่อสามารถให้เยาวชนมีความรู้เบื้องต้นติดตัวบ้าง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน เเละสภาผู้นำ ประจำเดือนพฤษภาคม255812 พฤษภาคม 2558
12
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานเเละวางเเผนการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • คณะทำงานร่วมกันวางแผนกิจกรรมเก็บขยะฟื้นฟูหาดบางกล้วยพร้อมแทรกกิจกรรมสร้างสรรค์กู้ภัยทางน้ำโดยมีการประสานทีมงานกู้ภัยเทศบาลตำบลกำพวนเพื่อมาเป็นวิทยากรให้ความรู้การอบรมกู้ภัยทางน้ำแบบเบื้องต้น พร้อมร่างกำหนดการคร่าวๆ
  • จัดเตรียมอุปกรณ์การทำกิจกรรมเพื่อเตรียมพร้อมในการทำกิจกรรม
  • เสนอความคิดเห็นและความต้องการของแกนนำเยาวชนกับการปลูกผักไว้ใช้เองในระดับครัวเรือนและเทคนิคการปลูกผักของแต่ละคนว่าจะเอาพันธุ์ผักอะไรกันบ้างเพื่อที่คณะทำงานจะได้จัดหาซื้อตามความต้องการกับกิจกรรมการส่งเสริมการทำแปลงเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการจัดกิจกกรมการประชุมประจำเดือนพฤษภาคม คือได้เข้าใจรายละเอียดกิจกรรมที่จัดขึ้นคือกิจกรรมเก็บขยะฟื้นฟูหาดบางกล้วยพร้อมแทรกกิจกรรมกู้ภัยทางน้ำดังรายละเอียดดังนี้

  • 09.00-09.30 น. ลงทะเบียน
  • 09.30-10.00 น. หัวหน้าโครงการโดยนายดลก้อเส็มผดุงชาติ กล่าววัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้กัน
  • 10.00-10.30 น. กิจกรรมแบ่งกลุ่มแบ่งโซนการเก็บขยะพร้อมแจกวัสดุอุปกรณ์ในการจัดเก็บขยะ
  • 10.30-12.00 น. ร่วมมือร่วมใจกันของพลังเยาวชนเพื่อเก็บขยะฟื้นฟูหาดบางกล้วยนอก ณ ชายหาดบางกล้วยนอก(หาดบางคลัก)
  • 12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00-13.30 น. กิจกรรมเตรียมพร้อมคลายอิ่มคลายคลายร้อน ณ น้ำตกโตนกลอย
  • 13.30-14.30 น. กล่าวต้อนรับคณะวิทยากรทีมกู้ภัยเทศบาลตำบลกำพวน และอบรมให้ความรู้เบื้องต้นกับกิจกรรมกู้ภัยทางน้ำ
  • 14.30-16.30 น. คณะวิทยากรกู้ภัยสาธิตการกู้ภัยทางน้ำ
  • 16.30 เป็นต้นไป เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

ผลจากการนำเสนอความคิดเห็นและความต้องการในการปลูกพันธุ์ผักไว้ใช้ในครัวเรือนกับกิจกรรมการส่งเสริมการทำแปลงเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพร้อมเทคนิคการปลูกของแต่ละคนในที่ประชุมประจำเดือนพฤษภาคม ดังรายละเอียดดังนี้

  1. จรีญา สาลี เทคนิคการปลูกในกระสอบ พันธุ์ผักที่ต้องการปลูก คือ มะละกอ /พริก/มะเขือ
  2. มารีหยำ ชิดเอื้อ ”ปลูกแปลงบนดิน” คือ แซ่/ถั่วฝักยาว/พริก
  3. ลีนา ทิพย์สาลี ปลูกในกระสอบคือ พริก/ต้นหอม/มะเขือแว้ง
  4. สุดารัตน์ หาญจิตร ปลูกในลูกล้อ+กระสอบคือ พริก/มะนาว/ผักกาดขาว
  5. ธนายุทธอินตัน ปลูกในกระป๋องพลาสติก คือผักกาดขาว/แซ่/บัวบก
  6. กวิสรา ถลาง ปลูกในกระสอบ คือ สายสิม/ผักกาดขาว/พริก
  7. ฟาฮาน่า ศรีรัตน์ ปลูกในขวดใส่น้ำพลาสติก คือพริก/มะละกอ/ผักกาดขาว
  8. มัสรีนา ศรีรัตน์ ปลูกในหยวกกล้วยคือผักบุ้ง/กวางตุ้ง/ผักกาดขาว
  9. สุพัตรา ช่วยชาติ ปลูกในกระสอบคือผักกาดขาว/พริก/ตะไคร้ 10.ธัญญารัตน์ อินตัน ปลูกในขวดน้ำพลาสติก คือใบมะกรูด/พริก/ผักกาดขาว
  • ผลจากการแสดงความคิดเห็นของเยาวชนกับวัตถุประสงค์ในการทำแปลงเกษตรได้ให้ความคิดเห็นดังนี้
  1. เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน
  2. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  3. เพื่อสร้างรายได้
  4. เพื่อมีผักไว้บริโภค (ปลอดสารพิษ)
  5. เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
  6. เพื่อการพึ่งพาตนเองในระดับครัวเรือน(ไม่ต้องไปซื้อที่ตลาด)
  7. เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ในการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  8. เพื่อการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในชุมชนและขยายสู่ครัวเรือนไกล้เคียง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • สภาผู้นำ
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • คณะทำงานมาไม่พร้อมเนื่องจากติดภารส่วนตัว
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน เดือนเมษายน 255815 เมษายน 2558
15
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานเเละวางเเผนการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • หัวหน้าโครงการ นายดลก้อเส็มผดุงชาติ กล่าวทักทายที่ประชุมเพื่อสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองในที่ประชุมเเละเพื่อความพร้อม เเละได้สรุปกิจกรรมงวดที่1พร้อมค่าใช้จ่ายทั้งหมดของงวดที่1
  • คณะทำงานฝ่ายการเงินทำหน้าที่เคลียเอกสารการเงินงวดที่ 1 เเละชี้เเจงผลการเงินให้ทราบทุกคน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการจัดการประชุมประจำเดือนเมษายน คือ ทำให้คณะทำงานเเละผู้เข้าร่วมทุกคนเข้าใจเเละรับรู้ถึงการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาว่าทำอะไรไปเเล้วบ้างในงวดที่1เเละรับทราบถึงงบประประมาณการใช้จ่ายทั้งหมดของงวดที่ 1 โดยงบประมาณงบงวดที่ 1 คือ เงินรับจาก สสส. งวดที่ 1 = 78,920.00 บาท+เงินเปิดบัญชี 100 บาท =79,020.00 บาท
  1. กิจกรรม 1 = 9,400.00 บาท
  2. กิจกรรม 2 = 850.00 บาท
  3. กิจกรรม 3 = 13,250.00 บาท
  4. กิจกรรม 4 = 1,000.00 บาท
  5. กิจกรรม 5 = 6,475.00 บาท
  6. กิจกรรม 6 = 1,000.00 บาท
  7. กิจกรรม 7 = 14,500.00 บาท
  8. กิจกรรม 8 = 1,000.00 บาท
  9. กิจกรรม 9 = 12,690.00 บาท
  10. กิจกรรม 10 = 1,000.00 บาท
  11. กิจกรรม 11 = 4,612.00 บาท
  12. กิจกรรม 12 = 6,958.00 บาท
  13. กิจกรรม 13 = 10,050.00 บาท
  • รวมรายจ่าย = 82,785.00 บาท รายรับ-รายจ่าย= -3,765.00บาท
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • สภาผู้นำ
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • บางทีเกิดความสับสนเอกสารการเงินในการเขียนใบสำคัญรับเงินทำให้เกิดการล่าช้าที่ประชุม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เยาวชนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (การอนุรักษ์สวนเกษตร)15 มีนาคม 2558
15
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนรู้เเละเข้าใจเเนวทางการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 15 มีนาคม 2558

  • เวลา 09.00-12.00น.ณ สวนเกษตรต้นเเบบ บ้านเลขที่ 2/1 ม.3 บ้านบางกล้วยนอก
  • 09.00-09.30น.  ลงทะเบียน
  • 09.30-10.30น. ดำเนินกิจกรรมฐานเรียนรู้ที่ 5 สวนเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม เป็นพันพรือ(เรียนรู้สวนเกษตร)  โดยมีวิทยากร นายห้าเหล็ก  ชายเขาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้
  • 10.30-12.00น. วิทยากร พาเยาวชนลงดูสวนเกษตรต้นเเบบจากพื้นที่จริง
  • 12.00น.  พักรับประทานอาหารเที่ยง /สรุปกิจกรรม
  • เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการเข้าร่วมกิจกรรมฐานที่5 สวนเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม เป็นพันพรือ(เรียนรู้สวนเกษตร)  โดยมีวิทยากร นายห้าเหล็ก  ชายเขาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ดังนี้ การเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งระบบ จากต้นน้ำ  คือ  ป่าต้นน้ำ  กลางน้ำ  คือ  สวนเกษตร ปลายน้ำ  คือ  ป่าชายเลน  ซึ่งกระบวนการทำงาน ส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ฐานทรัพยากรที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันทั้งระบบสำหรับฐานทรัพยากรกลางน้ำ  สวนเกษตร  อาชีพเกษตรของชุมชนบ้านบางกล้วยนอก  เป็นอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน  ส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีในพื้นที่การทำเกษตร  พฤติกรรมการบริโภคพืชผักพื้นบ้านที่เน้นความสะดวกสบายมากขึ้น  จากเดิมที่เคยปลูกไว้บริโภคในครัวเรือนเปลี่ยนมาเป็นหาซื้อจากตลาด  และที่สำคัญที่สุด  คือ  ระบบความคิดของคนในชุมชนเปลี่ยนไปโดยเน้นการใช้เงินมากกว่าการใช้ภูมิปัญญาในการพึ่งพาตนเอง  เพื่อจัดการพืชอาหารในครัวเรือนของตนเอง  ส่งผลให้ลดระดับความสัมพันธ์ของคนในครัวเรือน  ส่งผลให้รายจ่ายในครัวเรือนสูงขึ้น  จนกลายเป็นรายจ่ายหลักของครอบครัว
-ได้บรรยายความเป็นมาการทำเกษตรว่าเขาชอบการเกษตรมาตั้งเเต่เด็กๆเเล้ว  เขามีความขยันชอบอยู่กับธรรมชาติ เเล้วได้บอกอีกว่าการปลูกผักกินเองเป็นสิ่งที่ดีไม่ต้องพึ่งตลาด ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ที่เหลือจากการกินสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ต่อเดือนประมาณ 5พันกว่าบาท  การที่ได้ปลูกกินเองเเล้วยังสามารถปลอดสารพิษอีกด้วยเนื่องจากเป็นการทำเกษตรที่เป็นกับสิ่งเเวดล้อม ไม่ทำลายเรา ไม่ทำลายอากาศ ไม่ทำลายดิน ส่งผลให้เกิดการมีสุขภาพที่เเข็งเเรงไม่เป็นโรค  เเละวิธีการปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมสมารถทำได้ คือปลูกในกระถาง  ปลูกในกระสอบ ปลูกในล้อยางรถ ปลูกในเข่ง  ปุ๋ยที่ใช้คือปุ๋ยคอกจาก มูลสัตว์เช่น มูลเเพะ มูลเเกะ มูลไก่ มูลวัว มูลควาย มูลเป็ด ไม่ใช้สารเคมี
-เยาวชนได้ลงพื้นที่เเปลงเกษรตจริงจากเนื่้อที่ทั้งหมด 2 ไร่  ได้พบเจอกับผักนานาชนิดจากสวนเกษตร คือ ผักบุ้ง เเจกันทอง กระเจี๊ยบ ถั่วพู หัวเเซ่ ขมิ้น พริก บวบ ใบพลู พริกไทยดำ ใบกระท่อม มะละกอ ตะไคร้ ข้าวโพด ผักคะน้า ถัวยาว ชะพลู ส้มจี๊ด ผักหวาน ใบบัวบก ใบบัวนำ้  โหระพา กะเพรา    เป็นต้นด้วยที่มีการปลูกหลากหลายวิธี คือ การใช้ล้อยางรถ  การใช้กระสอบ  ทำราว การปลูกในนำ้  กระถาง เป็นต้น
-เกิดข้อตกลงร่วมกันว่าหลังจากที่ลงพื้นที่สวนเกษตรเเล้ว กิจกกรมต่อไปให้เยาวชนเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกผักที่บ้านตัวเองเพื่อส่งเสริมการทำเเปลงเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม ปลูกผักกินเอง ใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์เเละสามารถพึ่งตัวเองได้ในครัวเรือน  ต้องการพันธ์ุพืชชนิดใหนติดต่อได้เลย เเละใครมีวิธีการปลูกหรืออุปกรณ์ในการปลูกที่สามารถหาเองได้มาหรือใครต้องการล้อรถ สามารถเเจ้งได้ทางทีมจะจัดมาให้ -เกิดความสนใจอย่างมากที่จะทำการปลูกหลังจากที่ได้ศึกษาพื้นที่สวนเกษตรต้นเเบบ รู้สึกเป็นเเรงบรรดาลใจ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • เเกนนำเยาวชน
  • คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์สวนเกษตร15 มีนาคม 2558
15
มีนาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อให้เด็กและเยาวชน 
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ปราชญ์ชุมขน แกนนำชุมชน พาเยาวชนและคนในชุมชนลงพื้นที่เรียนรู้การทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เยาวชนและคนในชุมชนมีความรู้ และเข้าใจแนวทางการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยมีพื้นที่จริง พื้นที่ตัวอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้ได้
  • เมื่อเยาวชนได้เห็นของจริง เห็นการลงมือทำจริงที่เห็นผลตอบแทน เห็นผลจากการปฏิบัต ทำให้เกิดความรู้สึกตื่นตัว คิดว่าตนเอง และครอบครัวก็สามารถทำได้
  • หลังจากการจัดกิจกรรม มีข้อตกลงให้เยาวชนเตรียมพื้นที่ เตรียมอุปกรณ์สำหรับการปลูกผักไว้กินเองในครัวเรือน โดยจะปลูกแบบใช้ดิน ยกร่อง ปลูกในกระถาง ในล้อยาง หรือในภาชนะอื่นๆ ก็ได้ โดยทางวิทยากรจะสนับสนุนพันธุ์ผักให้เยาวชนเอาไปปลูกที่บ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • สภาเด็กและเยาวชนบ้านบางกล้วยนอก
  • เยาวชนในพื้นที่
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • หนุนเสริมกิจกรรมของเยาวชนอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมเยาวชนเพาะพันธุ์กล้าไม้ / กิจกรรมปลูกป่าชายเลน และเรียนรู้การใช้ประโยชน์ (ใบโกงกางทอดกรอบ)14 มีนาคม 2558
14
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเพิ่มทรัพยากรป่าชายเลนให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เเละเป็นเเหล่งอนุบาลสัตว์อ่อน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 11.00-12.30 น.  ดำเนินกิจกรรมฐานที่ 2 วัยรุ่น..พันธ์ูกล้า(กิจกรรมเพาะพันธ์ุกล้าโกงกาง)

    • บรรยายให้ความรู้ในการเพาะพันธ์ุกล้าโกงกาง การเก็บฝัก การใส่ดิน
    • โดยเเบ่งกลุ่มเป็นสองกลุ่มกลุ่มที่ 1 ขึ้นเรือไปเก็บฝักโกงกางในป่าชายเลน  ส่วนกลุ่มที่ 2 ใส่ดินในถุงดำ
    • มาร่วมกันเพาะพันธ์ุกล้าโกงกาง ลงในถุงดำ
  • 12.30-13.30 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง

  • 13.30-15.00 น. ดำเนินกิจกรรมฐานที่ 3 รักษ์น่ะ...ป่าเลน (กิจกรรมปลูกป่าชายเลน)

    • บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกป่าชายเลน
    • ปลูกต้นโกงกางคนละต้นเพื่อเพิ่มทรัพยากรป่าชายเลนให้มีความอุดมสมบูรณ์
  • 15.00-16.30น.  ดำเนินกิจกรรมฐานที่ 4 โกงกางทอดกรอบ (เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากใบโกงกาง)

    • เเลกเปลี่ยนเรียนรู้ประโยชน์ของใบโกงกาง /เเละส่วนที่สามารถนำไปทอดได้
    • เเบ่งกลุ่มหาใบโกงกางที่สามารถนำไปทอดได้
    • ทำการทอดใบโกงกางทอดกรอบ
  • 16.30 -17.00น.  สรุปกิจกรรม/เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากกิจกรรมฐานที่ 2 ฐานที่ 3 เเละฐานที่ 4 สามารถสรุปรายละเอียดได้ดังนี้

  • ฐานที่ 2  วัยรุ่น..พันธุ์กล้า(การเพาะพันธ์กล้า) บรรยายให้ความรู้ดังรายละเอียดดังนี้ การขยายพันธ์ไม้ในสกุลโกงกางทั้งโกงกางใบเล็กโกงกางใบใหญ่ มีวิธีเดียวคือ การขยายพันธ์ด้วยฝัก ซึ้งด้วยทั่วไปแล้วในการปลูกไม้โกงกางใบใหญ่จะปลูกด้วยฝักโดยตรง แต่ในกรณีต้องการปลูกด้วยกล้า ก็สามารถเตรียมกล้าไม้โกงกางใบใหญ่ได้ โดยเพาะชำโกงกางใบใหญ่ลงในถุงพลาสติก ขนาด 5-8 ดินที่ใช้เพาะชำการใช้ดินบกผสมปู๋ยคอก แต่ไม่ควรเป็นดินร่วนเกินไปเพราะหากดินร่วนเกินไปแล้วเวลานำต้นกล้าลงแปลง ดินร่วนซุยทำให้รากขาดยังผลให้ต้นกล้าตายได้ง่าย ปัจจุบันได้มีการศึกษาถึงวิธีการขยายพันธุ์ไม้โกงกางใบใหญ่ด้วยวิธีอื่น เช่นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองเท่านั้น ยังมิได้มีการนำมาใช้กันในการปฏิบัติแต่อย่างใด การเลือกเก็บฝักโกงกาง ควรเก็บฝักที่แก่และสมบูรณ์ไม่มีโรคหรือแมลงเข้าทำลาย ซึ่งฝักแก่สังเกตได้จากบริเวณรอยต่อของฝักกับผลจะมีปลอกสีขาวอมเหลืองหุ้มอยู่ หากมีขนาดยาวประมาณ 1ซม. และเป็นสีเหลืองแสดงว่าฝักแก่สมบูรณ์แล้วหรือการเก็บฝักที่ร่วงหล่นในน้ำ หากฝักแก่สมบูรณ์จะลอยน้ำ โดยปกติเมื่อเก็บฝักมาแล้วควรนำไปปลูกทันที แต่หากยังไม่พร้อมที่จะนำไปปลูกก็จะต้องเก็บรักษาฝัก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ฝักที่เก็บไว้นานจะมีความสามารถในการงอกลดลงตามระยะเวลาที่เก็บและหากเก็บไว้นานจะมียอดและหนอนผีเสื้อเข้าทำลายฝัก การเก็บรักษาฝักโกงกาง ควรเก็บไว้ในที่ร่มอย่าให้ถูกแสงแดด โดยตรง เพราะบริเวณที่โดนแสงแดดผิวของฝักจะแห้งเกรียม แมลงจะเข้าเจาะทำลาย ทำการรดน้ำทุกเช้า-เย็น หรือทำสถานที่เก็บฝักบริเวณที่น้ำท่วมถึงมีการขึ้นลงของน้ำตามธรรมชาติซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการรดน้ำ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเก็บรักษา คือ การเรียงฝักให้อยู่ในลักษณธตั้งตรงเสทอจะช่วยลดจำนวนฝักที่เสียหายลงได้ หากเรียงฝักในลักษณะซ้อนทับกัน ฝักที่อยู่ด้านล่างจะถูกน้ำหนักของฝักด้านบนทับกัน ฝักที่อยู่ด้านล่างจะถูกน้ำหนักของฝักด้านบนทับทำให้การระบายอากาศและน้ำไม่ดี เป็นผลให้โรคหรือแมลงเข้าทำลายได้ หรือยอดอ่อนของฝักที่เจริญเติบโตเป็นลำดับสำคัญ

  • ฐานที่ 3    รักษ์น่ะ...ป่าชายเลน(กิจกรรมการปลูกป่าชายเลน) การปลูก การเจริญเติบโต และการปรับปรุงพันธุ์
    การเลือกและเตรียมพื้นที่ปลูก  พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกไม้โกงกางใบเล็กคือ พื้นที่ดินเลนอ่อนมีน้ำทะเลท่วมถึงทุกวันหรือเกือบทุกวัน ในกรณีไม่มีพื้นที่เลนอ่อน ก็อาจเลือกพื้นที่ดินเลนแข็งปานกลางมีน้ำทะเลท่วมถึงไม่น้อยกว่าปักษ์ละ 10 วัน ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้โกงกางใบเล็ก ได้แก่คุณสมบัติของดิน และการท่วมถึงของน้ำทะเล หากปลูกในที่ดอนหรือมีสิ่งกีดขวางการท่วมถึงของน้ำเค็มก็จะทำให้การเจริญเติบโตและการพัฒนาเป็นไปอย่างไม่ปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพื้นที่ที่จะปลูกมีความเป็นกรดสูง (pH ต่ำกว่า 5) ควรมีการปรับปรุงดินโดยวิธีการขุดแพรกเข้าไปในพื้นที่ หรือทำลายเนินดินที่ขวางทางเข้าออกของน้ำทะเล ซึ่งโดยมากเนินดินนี้มักเกิดจากสัตว์จำพวก แม่หอบ (Thalassina anomala) การใส่ปูนขาวเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาความเป็นกรดของดิน แม้จะต้องลงทุนสูงแต่ให้ผลรวดเร็ว นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเรื่องแสงด้วย เนื่องจากไม้โกงกางใบเล็กเป็นไม้ที่ชอบแสง ฉะนั้นควรเปิดช่องว่างเพื่อให้แสงส่องลงสู่พื้นที่ปลูกอย่างทั่วถึง การปลูก  การปลูกไม้โกงกางใบเล็กนิยมปลูกโดยใช้ฝักปักลงในพื้นที่โดยตรงเนื่องจากสะดวกรวดเร็วกว่าการปลูกด้วยกล้า ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยนำเอาฝักที่แก่เต็มที่ปักลงไปในเลนให้ลึกพอสมควร (ประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวของฝัก) ในบริเวณพื้นที่ที่ผ่านการทำเหลืองแร่ ดินมีความแข็งมากอาจจะต้องใช้ไม้หรือชะแลงปักนำก่อน แล้วจึงปักฝักไม้โกงกางใบใหญ่ตามลงไป แล้วอัดดินบริเวณรอบฝักให้แน่น เพราะหากปักลงไปโดยตรง จะทำให้เนื้อเยื่อที่จะเจริญมาเป็นรากได้รับความกระทบกระเทือน การปลูกจะต้องปลูกให้เป็นแถวเป็นแนว สำหรับฤดูกาลที่จะปลูกการปลูกในช่วงฤดูฝนจะเหมาะมากที่สุด เพราะในบางสภาพพื้นที่ เช่น พื้นที่ดินเลนงอกใหม่ หรือพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่ ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินตอนกลางวันจะสูงมาก ฝัก หรือกล้าไม้อาจจะเหี่ยวเฉาตาย หรือในกรณีที่ดินแตกระแหง ฝักที่ปักไว้อาจจะโอนเอนหรือล้มลง เมื่อน้ำขึ้นก็อาจจะพัดพาฝักให้หลุดลอยไปได้ อีกวิธีหนึ่งเป็นการปลูกด้วยต้นกล้า เมื่อกล้าไม้โกงกางใบเล็กมีใบ 2 คู่ แล้วจึงย้ายปลูก ซึ่งในการย้ายปลูกต้องระวังไม่ให้รากขาดและไม่นิยมเจาะรูถุงที่ใช้เพาะโกงกางใบเล็ก เพราะจะทำให้รากทะลุลงพื้น ทำให้รากขาดได้ง่ายเวลาย้ายปลูก การปลูกด้วยวิธีนี้จะช่วยลดปัญหาศัตรูทำลายกล้าไม้ และยืดระยะเวลาในการเก็บรักษาฝัก แต่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และยังเสียเวลาในการปลูกอีกด้วย การกำหนดระยะปลูก  การกำหนดระยะปลูกเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง เพราะระยะปลูกจะมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้  จุดประสงค์ของการใช้ไม้และกำหนดเวลาที่จะต้องตัดฟัน ผลจากการวิเคราะห์การเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกความสูงทั้งหมดและมวลชีวภาพ พบว่า โกงกางใบใหญ่ควรปลูกในระยะห่าง 1x1 หรือ 1.5x1.5 เมตร จะได้ผลรวมทั้งหมดดีที่สุด การเจริญเติบโต  กล้าไม้โกงกางใบใหญ่จะมีอัตราการเจริญเติบโตใระยะแรกดีกว่ากล้าไม้โกงกางใบเล็ก เนื่องจากมีขนาดฝักที่โตกว่า ทำให้กล้าไม้แข็งแรง สามารถแข่งขันกับวัชพืชและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้ดีกว่ากล้าไม้โกงกางใบเล็ก -พืชที่พบในป่าชายเลน คือถั่วขาว ถั่วดำ ต้นจาก ตะบูนขาว ตะบูนดำ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ลำพูน เเสม เหงือกปลาหมอ พังกาหัวสุม ต้นดีปลี สัตว์ที่พบ คือ ปลาตีน ลิง เเลน ปูลม ปลิงทะเล หอยจุบเเจง หอยติบ หอยกัน หอยเเครง ปูเปรี้ยว

-ฐานที่ 4 โกงกางชุบแป้งทอด

รู้หรือไม่ว่าใบโกงกาง สามารถนำมาทำอาหารได้
      โกงกางใบใหญ่ชุบแป้งทอดถือได้ว่าเป็นอาหารพื้นบ้าน และยังมีสรรพคุณทางยา คือใบโกงกางสามารถเป็นยาสมานแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่ในยุคสมัยนี้กลับมีให้เราพบเห็นกันน้อยมาก วันนี้เรามาลองทำกัน ใบโกงกางชุบแป้งทอด นอกจากจะช่วยเพิ่มคุณค่าใบโกงกางแล้ว ยังเป็นเมนู LoW Carbon อีกด้วย ส่วนผสม     ใบโกงกางใบใหญ่     น้ำเปล่า     น้ำมันพืช     น้ำจิ้มไก่     ผงปรุงรส

วิธีการทำ

  1. เลือกเอาใบโกงกางที่ไม่อ่อน และไม่แก่จนเกินไป หรือใบที่ 3นับจากยอด
  2. นำมาล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง  แล้วนำไปชุปแป้ง
  3. นำมาทอดในน้ำมันด้วยไฟอ่อนๆ พอเหลืองได้ตักขึ้นไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
  4. จัดใส่จานพร้อมน้ำจิ้ม

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • เพิ่มคุณค่าของใบโกงกางใบใหญ่ให้มีประโยชน์มากขึ้น
  • สามารถนำใบโกงกางใบใหญ่ทอดมาประกอบอาชีพเสริมในครอบครัวและได้ลดปัญหาการว่างงานเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับคนในชุมชน
  • สามารถแปรรูปสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
  • ได้รับรู้รสชาติของใบโกงกางเเละคุณประโยชน์ที่ได้รับ
  • ทำให้เกิดทักษะการเก็บโกงกาง/การปลูก/การใช้ประโยชน์ได้เอง
  • สร้างการมีส่วนร่วม สามัคคี ช่วยเหลือซึงกันเเละกัน
  • เพิ่มทรัพยากรป่าชายเลนของบ้านบางกล้วยนอกให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น- สร้างประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ๆสำหรับบางคนที่ไมเคยเข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์
  • สร้างความสนุกสนาน ในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ สร้างเวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับชุมชนตนเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทีมงาน
  • เเกนนำเยาวชน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • อากาศร้อนมากทำให้การทำกิจกรรมไม่ค่อยสนุกสนานเท่าไหร่
  • คณะทำงานมาไม่ครบทำให้กิจกรรมฐานเกิดความล่าช้า
  • กลุ่มผู้ชายหนีเที่ยวหลังพักเที่ยง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (กิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์น้ำในป่าชายเลน ครั้งที่ 1)14 มีนาคม 2558
14
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเพิ่มทรัพยากรสัตว์นำ้ในชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 13 มีนาคม 2558  ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์พันธ์ุสัตว์นำ้จากหน่วยงานการประมงที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาให้เยาวชนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
  • วันที่ 14 มีนาคม 2558

    • เวลา 09.00 -09.15 น. ลงทะเบียน
    • เวลา 09.15-09.30 น.  หัวหน้าโครงการชี้เเจงวัตถุประสงค์ โดยนายดลก้อเส็ม  ผดุงชาติ
    • เวลา 09.30-11.00 น. ดำเนินกิจกรรมฐานที่ 1  Good Bye กุ้งจ๋า (กิจกรรมปล่อยพันธ์ุสัตว์นำ้)  โดยให้เยาวชนเข้าเเถว เเละให้ผู้ใหญ่เป็นผู้รับเเละปล่อยลงกุ้งลงนำ้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมฐานเรียนรู้ที่ 1 Good Bye กุ้งจ๋า (กิจกรรมปล่อยพันธ์ุสัตว์นำ้) เป็นกิจกรรมการปล่อยกุ้งโดยให้เยาวชนเเละคนในชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมในการเพิ่มทรัพยากรสัตว์นำ้ให้เพิ่มขึ้นเเละเกิดความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น มีการปล่อยกุ้งทั้งหมดกว่า 1 ล้านชีวิต สู่คลองของชุมชนบ้านบางกล้วยนอก โดยสามารถดึงผู้เข้าร่วมหลายๆ ฝ่ายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เเละเกิดจิตสำนึกที่ดีในการเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติของบ้านเกิดตัวเองจากที่เคยใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เเละสามารถสร้างความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน ในการทำกิจกรรมร่วมกันได้ดีเกิดความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างเยาวชนกับเยาวชนด้วยกัน เเละเยาวชนกับผู้ใหญ่ มีความสนุกสนานบรรยากาศความเป็นกันเอง

สรุปการเรียนรู้จากกิจกรรม

  • ได้รู้ว่าหลังจากที่ได้รับพันธ์กุ้งเเล้วจะต้องรีบปล่อยลงนำ้ให้เร็วที่สุดเพื่อไม่ให้กุ้งตาย เพราะอ๊อกซิเจนในถุงจะทำให้กุ้งอยู่ได้ไม่นาน ประมาณ 45 นาที จึงต้องรีบปล่อย
  • ได้รู้ว่าบางคนมีความเชื่อว่าทำบาปมาก (การใช้ประโยชน์จากทะเลมากต้องปล่อยพันธ์ุสัตว์ให้มากเพื่อเป็นการชดใช้บาป)
  • ได้เรียนรู้การเเก้ปัญหาเฉาพาะหน้า โดยจากการวางเเผนสถานที่ปล่อยพันธ์ุเป็นคลองป่าชายเลนของชุมชนที่มีการปล่อยเป็นประจำ เเต่เมื่อถึงเวลาปล่อยจริงเกิดนำ้ไม่ทันขึ้นทำให้เเล้งไม่สามารถทำการปล่อยพันธ์ุได้ จึงมีการเปลี่ยนเเปลงกะทันหันต้องเปลี่ยนสถานที่ปล่อยทำให้เกิดการปล่อยล่าช้า มีกุ้งบางส่วนตายบ้าง
  • เยาวชนบางคนเกิดประสบการณ์ใหม่จากที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมปล่อยพันธ์สัตว์นำ้ รู้สึกภูมิใจ จากที่ได้สัมภาษณ์ตัวแทนเยาวชนน้อง ไดอาน่า “ หนูรู้สึกดีใจมากที่ได้เข้ามาร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในป่าชายเลนบ้านเรา ที่ผ่านมาก็เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งเมื่อรู้ว่าเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้านและภรรยาผู้ใหญ่บ้าน
  • ครู กศน.
  • คนในชุมชน
  • ทีมงาน
  • ทีมกู้ภัย
  • เเกนนำเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ความไม่ตรงต่อเวลาในการทำกิจกรรม
  • การเปลี่ยนเเปลงสถานที่กะทันหันทำให้เกิดการปล่อยพันธ์กุ้งล่าช้าส่งผลให้กุ้งบางส่วนตาย
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน เดือนมีนาคม 255812 มีนาคม 2558
12
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานเเละวางเเผนการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • ทบทวนบทบาทหน้าที่ในการทำงานอีกครั้งเพื่อเกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน
  • ชี้เเจงกิจกรรมที่ทำไปเเล้ว เเละกิจกรรมที่กำลังจะดำเนินการในวันถัดไป
  • ร่วมกันวางเเผนเสนอความคิดเห็นว่าจะจัดกิจกรรมในรูบแแบบกิจกรรมฐาน เเละให้เยาวชนคิดชื่อฐานเชิงสร้างสรรค์เเละสอดคล้องกับฐาน
  • เเบ่งหน้าที่ทั้งคณะทำงานเเละเเกนนำเยาวชน รับผิดชอบเเต่ละฐานกิจกรรม
  • จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม /เตรียมความพร้อมของสถานที่เเละประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ร่างกำหนดการของกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุมประจำเดือนมีนาคม 2558 เวลา 14.00-17.00 น. ณ ห้องสมุด  24ชั่วโมง บ้านบางกล้วยนอก ผู้เข้าร่วม 15 คน สามารถสรุปรายละเอียดดังนี้

  • เยาวชนและคณะทำงานได้รับรู้หน้าที่ในความรับผิดชอบมากขึ้น เเละเกืดความกระตือรือร้นในการทำงานเพิ่มขึ้น
  • ได้ร่วมกันวางเเผนกิจกรรมทำเป็นกิจกรรมฐานการเรียนรู้ มีดังนี้ คือ

    • ฐานที่ 1 Good Bye กุ้งจ๋า (กิจกรรมปล่อยพันธ์ุสัตว์นำ้) ผู้รับผิดชอบฐาน นายดลก้อเส็ม ผดุงชาติ/นางสาวจริญา  สาลี
    • ฐานที่ 2 วัยรุ่น..พันธ์ูกล้า (กิจกรรมเพาะพันธ์ุกล้าโกงกาง) ผู้รับผิดชอบ  นางฝ้าลี่หะ  ผดุงชาติ / นางสาว มาีหยำ ชิดเอื้อ
    • ฐานที่ 3 รักษ์น่ะ...ป่าเลน (กิจกรรมปลูกป่าชายเลน) ผู้รับผิดชอบ หำ้เลีย หลงติ้ง  /เด็กชาย ซิกดิก  ผดุงชาติ
    • ฐานที่ 4 โกงกางทอดกรอบ (เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากใบโกงกาง)  ผู้รับผิดชอบ นางหาตีย๋า  ชายเขาทอง/เด็กหญิง ธัญญารัตน์ อินตัน
    • ฐานที่ 5 สวนเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม เป็นพันพรือ (เรียนรู้สวนเกษตร) ผู้รับผิดชอบ  นางหาตีย๋า ชายเขาทอง เเละนายห้าเหล็ก ชายเขาทอง
  • เยาวชนได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ในการตั้งชื่อฐานให้เกิดความดึงดูดให้เข้าร่วมฐาน

  • ได้กำหนดการการทำกิจกรรมประจำวันที่ 14-15 มีนาคม 2558 ดังรายละเอียดดังนี้ คือ

วันที่ 14 มีนาคม 2558

  • เวลา 09.00 -09.15 น. ลงทะเบียน
  • 09.15-09.30 น. หัวหน้าโครงการชี้เเจงวัตถุประสงค์ โดยนายดลก้อเส็ม  ผดุงชาติ
  • 09.30-11.00 น. ดำเนินกิจกรรมฐานที่ 1  Good Bye กุ้งจ๋า (กิจกรรมปล่อยพันธ์ุสัตว์นำ้)
  • 11.00-12.30 น. ดำเนินกิจกรรมฐานที่ 2 วัยรุ่น..พันธ์ูกล้า (กิจกรรมเพาะพันธ์ุกล้าโกงกาง)
  • 12.30-13.30 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.30-15.00 น. ดำเนินกิจกรรมฐานที่ 3 รักษ์น่ะ...ป่าเลน (กิจกรรมปลูกป่าชายเลน)
  • 15.00-16.30 น. ดำเนินกิจกรรมฐานที่4 โกงกางทอดกรอบ (เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากใบโกงกาง)
  • 16.30 -17.00 น. สรุปกิจกรรม/เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

วันที่ 15 มีนาคม 2558 เวลา 09.00-12.00 น.ณ สวนเกษตรต้นเเบบ บ้านเลขที่ 2/1 ม.3 บ้านบางกล้วยนอก

  • 09.00-09.30 น.  ลงทะเบียน
  • 09.30-10.30 น. ดำเนินกิจกรรมฐานที่ 5 สวนเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม เป็นพันพรือ (เรียนรู้สวนเกษตร)  โดยมีวิทยากร นายห้าเหล็ก  ชายเขาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้
  • 10.30-12.00 น. วิทยากร พาเยาวชนลงดูสวนเกษตรต้นเเบบจากพื้นที่จริง
  • 12.00 น.  พักรับประทานอาหารเที่ยง    /สรุปกิจกรรม
  • เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • เเกนนำชุมชน
  • สภาผู้นำ
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ความไม่ตรงต่อเวลาทำให้คนที่มาก่อนต้องมารอเสียเวลา ทำให้ดำเนินการประชุมล่าช้า บางคนติดภารกิจส่วนตัวบ้าง  ติดเเก้ ร ,0
  • ยังขาดความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
  • เยาวชนบางคนช่วงการประชุมมีการเล่นเฟสบุค เล่นไลน์ เล่นเกมด้วยทำให้ไม่ค่อยใส่ใจกับกิจกรรมการประชุม ก็เลยมีการตั้งมารตการว่าถ้าใครยังเล่นให้ออกมาสรุปให้เพื่อนฟังว่าผลการประชุมเป็นอย่างไรบ้างถือว่าเข้าใจดีเเล้วที่ไม่ฟัง ทำให้เยาวชนเกิดการตื่นตัวเเละตั้งใจฟังมากขึ้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เยาวชนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (การจัดการป่าชายเลน)14 กุมภาพันธ์ 2558
14
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนมีความรู้เเละเข้าใจเเนวทางการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชน
  • เพื่ออบรมให้ความรู้ปลูกฝังจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อให้เด็กและเยาวชน โดยศึกษาจากพื้นที่จริง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เชิญวิทยากร นายประดิษฐ์ บุญปลอด มาให้ความรู้ เรื่อง "การอนุรักษ์ป่าชายเลน" และพาเยาวชนลงพื้นที่ป่าชายเลน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการจัดกิจกรรมการอบรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนโดยมีวิทยากร คุณประดิษฐ์  บุญปลอด ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน ดังนี้

    • ป่าชายเลน คือ ระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยพันธ์พืชและพันธ์สัตว์นานาชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ
    • ระบบนิเวศป่าชายเลน บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของป่าชายเลน สามารถสรุปรายละเอียดได้ว่า ป่าชายเลนเป็นกลุ่มของสังคมพืชที่พบทั่วไปตามชายฝั่งทะเล บริเวณปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึง พันธ์ไม้ส่วนใหญ่มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการ เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีกระแสน้ำขึ้นน้ำลงอยู่เสมอน้ำมีความเค็มสูง และมีสภาพดินเลน เช่นการปรับตัวให้มีระบบรากค้ำจุน ซึ่งพบในไม้ลำพู ไม้ถั่ว และไม้ตะบูน
    • ประโยชน์ของป่าชายเลน บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของป่าชายเลน สามารถสรุปรายละเอียดได้ว่า ป่าชายเลนมีประโยชน์ทั้งในด้านของการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตแหล่งเพาะพันธ์และอนุบาลสัตว์น้ำ แหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำ แหล่งอาหารของมนุษย์ แหล่งเชื้อเพลิงในการหุงต้ม และช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นแหล่งวิจัยและแหล่งศึกษาหาความรู้
    • พันธ์พืชในป่าชายเลน ได้จัดกิจกรรมให้เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับพันธ์ไม้ป่าชายเลน โดยช่วงการรับฟังคำบรรยายให้เยาวชนแสดงความกล้าแสดงออก โดยแบ่งกลุ่มออกมาเขียนพันธ์ไม้ที่รู้จักให้ได้มากที่สุด จากที่ได้ออกมาเขียน สรุปว่า เยาวชนรู้จักและสามารถบอกชื่อพืชพันธ์ในป่าชายเลนได้ คือ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่  แสมขาว ลำพู ตะบูน จาก ฝาดแดง ถั่วขาว เป็นต้น
    • กิจกรรมระดมความคิดเห็นจากเยาวชนโดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 วิธีการอนุรักษ์ป่าชายเลน สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ ไม่ทิ้งขยะในป่าชายเลน ร่วมกันเก็บในป่าชายเลน ไม่ตัดไม้ในเขตหวงห้าม ช่วยกันปล่อยพันสัตว์น้ำในป่าชายเลน ช่วยกันเก็บฝักโกงกางเพื่อเพาะพันธ์ต้นกล้า กำหนดข้อตกลงในการใช้ประโยชน์ เช่น ตัดหนึ่งต้นปลูกสิบต้น จัดกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลน ปลูกฝังจิตสำนึกในการจัดการป่าชายเลน ช่วยกันปลูกป่าชายเลน การใช้ประโยชน์ให้ยั่งยืน  กลุ่มที่ 2 วิธีการทำลายป่าชายเลน สามารถสรุปจากความคิดเห็นได้ดังนี้  ตัดไม้ทำลายป่า เผ่าป่า ทิ้งขยะลงแม่น้ำ  ไม้ต้องดูแลรักษา ปล่อยน้ำเสียลงป่าชายเลน ใช้ประโยชน์ของป่าชายเลนให้ฟุ่มเฟือย จับสัตว์หายาก  ไม่ร่วมปลูกป่าชายเลน พร้อมออกมานำเสนอเพื่อฝึกทักษะความกล้าแสดงออกของเยาวชนแต่ละกลุ่ม จากการสังเกตเยาวชนบางส่วนก็สามารถออกมานำเสนอได้ดีและยังมีบางสวนที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก
  • จากการระดมความคิดเห็นเพื่อให้เยาวชนสามารถแสดงความคิดเห็นและรู้ว่าเมื่อมีการทำลายก็ต้องมีการอนุรักษ์ป่าชายเลนและสามารถเกิดความคิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างวิธีการอนุรักษ์และวิธีการทำลายซึ่งมีข้อแตกต่างที่ว่าเติมไม่ นำหน้าก็จะเกิดการอนุรักษ์แล้ว เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น

  • จัดกิจกรรมทัศนศึกษาป่าชายเลน เพื่อให้เยาวชนที่เข้ารับการอบรมได้สัมผัสบรรยากาศความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนและสังเกตระบบนิเวศป่าชายเลน และสามารถพบกับพันพืชที่ได้กล่าวในช่วงการอบรม คือโกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ถั่วดำ ถั่วขาว ต้นจาก ลิงแสม เป็นต้น
  • สอดแทรกด้วยกิจกรรมนันทนาการโดยให้เยาวชนที่เป็นฝ่ายสันทนาการคิดกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายและเกิดความสนุกสนาน โดยเป็นกิจกรรมสร้างความสามัคคี โดยแบ่งกลุ่มเป็น3ทีม ให้แต่ละกลุ่มตักน้ำทะเลโดยใช้ขวดที่รั่ว แล้วตักน้ำส่งต่อๆกันจนขวดที่ใส่น้ำให้เต็ม จากการสังเกตทำให้รับรู้ถึงความสามัคคีในกลุ่มได้เป็นอย่างดี และเยาวชนสามารถอธิบายกิจกรรมและนำกิจกรรมได้ดี มีความกล้าแสดงออกที่จะอธิบายให้เพื่อนจากที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 47 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • สภาผู้นำ
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน เดือนกุมภาพันธ์ 255812 กุมภาพันธ์ 2558
12
กุมภาพันธ์ 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ
  • เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน
  • เพื่อให้สภาผู้นำได้กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • ร่วมกันวางเเผนกิจกรรมของป่าชายเลนเพื่อความพร้อมในการทำกิจกรรม
  • จัดหา/ซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการจัดกิจกรรมประชุมคือได้ร่วมกันวางแผนของกิจกรรมเยาวชนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (การจัดการป่าชายเลน) และกิจกรรมบูรณาการเชื่อมโยงทำเป็นกิจกรรมฐานการเรียนรู้
  • การให้ความร่วมมือจากชาวบ้านในการอำนวยความสะดวกในเรื่องของพาหนะเดินทาง (เรือ) สำรวจเรียนรู้ป่าชายเลน
  • ได้ให้เยาวชนร่างกำหนดการร่วมกับคณะทำงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
  • เยาวชนกล้าเเสดงความคิดเห็นมากขึ้นจากการได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมบ่อยครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • สภาผู้นำ
  • เยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เยาวชนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (การอนุรักษ์ป่าต้นนำ้)24 มกราคม 2558
24
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนและคนในชุมชนมีความรู้และเข้าใจแนวทางการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของชุมชน- เพื่ออบรมให้ความรู้ปลูกฝังจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนฐานทรัพยากร 3 วงล้อให้เด็กและเยาวชน โดยศึกษาจากพื้นที่จริง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน
  • 09.30 -10.00 น.  ชี้แจงวัตถุประสงค์โดยหัวหน้าโครงการ โดย นายดลก้อเส็ม  ผดุงชาติ / เยาวชนแนะนำตัว / แนะนำทีมงาน / แนะนำวิทยากร
  • 10.00 -12.00 น.  วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์จัดการป่าต้นน้ำ โดย คุณเมธา หนุ่นลอย  เจ้าหน้าที่ ป่าไม้เขตห้ามล่าอำเภอสุขสำราญ
  • 12.00 -13.00 น.  พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 -15.30 น.  ปราชญ์ชาวบ้าน พาเยาวชนลงพื้นที่สำรวจเรียนรู้ป่าต้นน้ำของชุมชน โดย คุณนิกร สาระการ
  • 15.30 -16.00 น.  สรุปผลการดำเนินกิจกรรม และนัดหมายทำกิจกรรมในครั้งต่อไป
  • 16.00 น. เป็นต้นไป / เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการทำกิจกรรมอบรมให้เยาวชนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ) ซึ่งมีนายเมธา หนุ่นลอย เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าอำเภอสุขสำราญ เป็นวิทยากรสามารถสรุปรายละเอียดดังนี้

  • การอนุรักษ์ บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายการอนุรักษ์ ซึ่งสมารถสรุปรายละเอียดได้ว่า การอนุรักษ์ คือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนานและก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง  อย่างไรก็ตามในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย
  • ระบบนิเวศของป่าไม้ บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของป่าไม้ชนิดที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดไม่ผลัดใบ และพันธุ์ไม้ผลัดใบ สามารถสรุปรายละเอียดได้ว่า  ป่าไม้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบเป็นระบบนิเวศของป่าไม้ชนิดที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดไม่ผลัดใบคือมีใบเขียวตลอดเวลา แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
  1. ป่าดิบเมืองร้อน เป็นป่าที่อยู่ในเขตลมมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดปี มีปริมาณน้ำฝนมาก แบ่งออกเป็น ป่าดงดิบชื้น/ป่าดงดิบแล้ง//ป่าดงดิบเขา
  2. ป่าสน
  3. ป่าพรุหรือป่าบึง
  • ป่าพรุ
  • ป่าชายเลน เป็นป่าชนิดนี้จะขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินโคลนและน้ำทะเลท่วมถึง เช่น ตามชายฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ระนองถึงสตูล

4.ป่าชายหาด  แพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวด ทราย แลโขดหิน ดินมีฤทธิ์เป็นด่าง

  • ป่าผลัดใบ เป็นระบบนิเวศป่าชนิดที่ประกอบด้วยพันธ์ไม้ชนิดผลัดใบหรือทิ้งใบเก่าในฤดูแล้งเพื่อจะแตกใบใหม่ไม่ผลัดใบ จะพบป่าชนิดนี้ตั้งแต่ระดับความสูง 50-800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล สมารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
  1. ป่าเบญจพรรณ ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พื้นที่ไม่รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก
  2. ป่าแดง ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง พบขึ้นสลับกับป่าเบญจพรรณ ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง
  3. ป่าหญ้า เกิดจากการทำลายสภาพสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ดินมีความเสื่อมโทรมมีฤทธิ์เป็นกรด ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงมีหญ้าต่างๆ เข้าไปแทนที่
  • ความสำคัญและประโยชน์ของป่า บรรยายให้ความรู้สามารถสรุปรายละเอียดได้ว่า
  1. เป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งของวัฏรจักรชีวิต
  2. ป่าช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำ
  3. ป่าช่วยปรับสภาพบรรยากาศ
  4. ป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
  5. ป่าไม้เป็นแหล่งปัจจัยสี่
  6. ป่าเป็นปัจจัยผลิต/ผู้ผลิต
  7. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
  8. ป่าเป็นแนวป้องกันลมพายุ
  9. ป่าช่วยลดมลพิษทางอากาศ
  • นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธ์พืชและสัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้แก่ ประโยชน์ทางตรง ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ
  1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เฟอนิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น
  2. ใช้เป็นอาหารส่วนต่างๆ ของพืชและผล
  3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ เป็นเครื่องนุ่งห่ม และเชือกอื่นๆ
  4. ใช้ทำยารักษาโรคต่างๆ
  • ส่วนประโยชน์ทางอ้อม ได้แก่
  1. ป่าไม้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อยๆ ซึมซับลงในดินกลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมซับมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
  2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ  ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออูณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณพื้นที่ป่าไม้มีความชุมชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
  3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาหาความรู้
  4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย
  5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดินจากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่างๆ ไม่ตื้นเขินอีกด้วย
  • การเดินป่านำโดยปราญ์ชาวบ้านที่พาเยาวชนลงพื้นที่สำรวจเรียนรู้ป่าชุมชน ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ประโยชน์ของป่า 3 อย่าง คือ อ=อาหาร /ย=ยารักษาโรค/ส=ใช้สอย  เเละได้สัมผัสกับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติของป่าต้นน้ำของชุมชน ได้เรียนรู้เเละรู้จักพืชที่สามารถเป็นสมุนไพรได้ พร้อมได้รู้วิธีการ เเละประโยชน์จากพืชหลายชนิดด้วยกัน เช่น  ต้นเตาร้าง สามารถนำไปตากเเห้ง เป็นยาบำรุงตับ เเก้เบาหวาน เป็นต้น  ได้พบเเละเรียนรู้ประโยชน์กว่า 10 ชนิด เช่น ต้นเตาร้าง ใบเหยื่อจง ต้นอ้อ ไม้ใผ่ ไม้ซอม มะเดือชุมพร  ไม้ตะเคียนทอง ต้นมังเคร/เร  ต้นซ่อมสันดาน ต้นตีนเป็ด เป็นต้น

  • เยาวชนได้สัมผัสกับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติของป่าต้นน้ำ ทำให้เกิดความตระหนักในการดูแลรักษา รู้สึกเกิดความรัก และหวงแหนสิ่งดีๆ ที่มีในชุมชน ทำให้เยาวชนมีความรู้เเละเข้าใจเเนวทางการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของชุมชน ได้สัมผัสถึงบรรยากาศความเป็นธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ รู้จักแหล่งอาหาร ยารักษาโรค การใช้สอย จากการสังเกตุเยาวชนมีความสนใจที่จะนำยารักษาโรคบางชนิดกลับมาใช้จากที่ไม่เคยรู้สรรพคุณมาก่อน หลังจากที่ปราญ์ชชุมชนได้พาสำรวจแหล่งอาหาร แหล่งยารักษาโรค เป็นต้น ด้วยบรรยากาศสถานที่อำนวยเยาวชนได้สอดแทรกกิจกรรมเพื่อให้เยาวชนสามารถนำแสดงกิจกรรมนันทนาการเพื่อการผ่อนคลายจากการได้ฟังคำบรรยายและฝึกความกล้าแสดงออก ทำให้รู้สึกว่าเยาวชนมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นและก็มีบางส่วนที่ยังไม่กล้าแสดงออก  และเยาวชนก็มีความรับผิดชอบมากขึ้นจากบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่นฝ่ายบันทึกกิจกกรมสมารถสรุปกิจกรรมเป็นMind Mapping ได้จากที่ไม่เคยทำมาก่อน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • เเกนนำเยาวชน
  • คณะทำงาน
  • วิทยากร
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ขาดความตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องจากบางคนติดภารกิจส่วนตัวบ้าง เเละมีตื่นสายบ้าง
  • ขาดความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม
  • ทีมงานมาไม่ครบ/เยาวชนหลายคนติดติวเเละเเก้ ร. ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้
  • เยาวชนขาดความกล้าเเสดงออก
  • อาหารเที่ยงเผ็ดบางคนไม่กินเผ็ด ต้องเผื่อสำหรับคนไม่กินเผ็ดด้วย
  • อาหารว่างถ้าเป็นไปได้อยากได้ขนมพื้นบ้าน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน/สภาผู้นำ ประจำเดือนมกราคม 255817 มกราคม 2558
17
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ- เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน- เพื่อให้สภาผู้นำได้กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • ประชุมวางเเผนกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าต้นนำ้ โดยร่างกำหนดการการทำกิจกรรม
  • ออกแบบแบบบันทึกการศึกษาป่าต้นนำ้ของชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมได้ร่วมการวางแผนในกิจกรรมต่อไปโดยร่างกำหนดการของกิจกรรมศึกษาเรียนรู้การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำและร่วมกันออกแบบแบบสำรวจในการศึกษาป่าต้นน้ำ จนสามารถจัดทำร่างกำหนดการ กิจกรรมการอนุรักษ์ป่าต้นนำ้ ที่จะจัดเป็นกิจกรรมต่อไป ได้ดังนี้

  • 09.00-09.30 น.  ลงทะเบียน
  • 09.30-09.40 น.  ชี้เเจงวัตถุประสงค์โดยหัวหน้าโครงการ
  • 09.40-10.30 น.  วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์จัดการป่าต้นนำ้
  • 10.30-12.00 น.  ปราญ์ชชุมชน/เเกนนำชุมชนพาเยาวชนลงพื้นที่สำรวจเรียนรู้ป่าต้นนำ้ของชุมชน
  • 12.00-12.00 น.  รับประทานอาหารเที่ยง
  • 12.30-13.00 น.  สรุปผลการดำเนินกิจกรรมเเละนัดหมายทำกิจกรรมต่อไป
  • 13.00 น. เป็นต้นไป เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • สภาผู้นำชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน31 ธันวาคม 2557
31
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพือจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน ทำหน้าที่ติดตาม ประเมินผลการทำงานโครงการ โดยโครงสร้างสภาผู้นำ ต้องมีแกนนำเยาวชนเป็นคณะกรรมการด้วย - เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • ชี้เเจงวัตถุประสงค์กิจกรรมประชุมจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน
  • กิจกรรมเเนะนำตัวเพื่อสร้างความคุ้นเคยเเละฝึกความกล้าเเสดงออก
  • จัดการประชุมเเกนนำชุมชนคณะทำงาน และแกนนำเยาวชน เพื่อจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน ทำหน้าที่ติดตามประเมินผลการทำงานโครงการ โดยโครงสร้างสภาผู้นำ ต้องมีนำเยาวชนเป็นคณะกรรมการด้วย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการดูเเลทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
  • กำหนดบทบาท ภาระหน้าที่ของสภาผู้นำที่ชัดเจน และให้สภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมประชุมคณะทำงานทุกเดือน เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ เเละวางเเผนการดำเนินงานร่วมกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมแกนนำชุมชน และแกนนำเยาวชน ทำให้ได้โครงสร้างสภาผู้นำชุมชน/เเกนนำเยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน และมีบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำที่ชัดเจน และเกิดการประชุมประจำเดือนทุกเดือน โดยมีทีมพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาและให้สภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมประชุมคณะทำงานทุกเดือน เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ เเละวางเเผนการดำเนินงานร่วมกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ประธาน  นายสนิท สาลี
  • รองประธาน
    • นายมุสตาฟา  คงยศ
    • นางสาวมารีหยำ  ชิดเอื้อ
  • เลขานุการ  นางสาวจรีญา  สาลี
  • ผู้ช่วยเลขานุการ  เด็กหญิงมณีรัตน์  ถนอมจิตร
  • เหรัญญิก น.ส.กวิสรา ถลาง
  • ผู้ช่วยเหรัญญิก ด.ญ.ธัญญารัตน์  อินตัน
  • ฝ่ายประสานงาน
    • เด็กชายซิกดิก ผดุงชาติ
    • นายอัมรินทร์ ผดุงชาติ
    • ด.ช.ณภัทร  ปราบปราม
  • ฝ่ายสถานที่
    • นายสนิท สาลี
    • ด.ช. ดนัย พึ่งหล้า
    • ด.ช.มุสตาฟา คงยศ
    • ด.ช.ฮาดีรีน มาโนชย์
    • ด.ช.วายุ เขียวสด
  • ฝ่ายกิจกรรม/สันทนาการ
    • น.ส.สุพัตรา  ช่วยชาติ
    • น.ส. จรีญา สาลี
    • ด.ญ.ธัญญารัตน์ อินตัน
    • ด.ช.ธนายุทร  อินตัน
    • ด.ช.นิรันดร์ วันทอง
    • น.ส.มารียำ ชิดเอื้อ
  • ฝ่ายอาหาร
    • น.ส.ลีน่าทิพย์ สาลี
    • ด.ญ.สุรัตนา ทอดทิ้ง
    • ด.ญ.ฟาฮานา ศรีรัตน์
  • ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์/ถ่ายภาพ
    • น.ส.มารียำ ชิดเอื้อ
    • ด.ญ.สุดารัตน์ หาญจิตร
  • ฝ่ายเอกสาร/ลงทะเบียน/ต้อนรับ
    • น.ส.ลีน่าทิพย์ สาลี
    • ด.ญ. อุมาพร ชายเขาทอง
    • ด.ญ. อริสนะ ห๊ะหรับ
    • ด.ญ.มัสรีนา  ศรีรัตน์

ได้ทีมที่ปรึกษา/พี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเยาวชน รายนาม ดังนี้

  • นายดลก้อเส็ม ผดุงชาติ  ประธาน
  • นางสาว นาดียะห์  แมลอก  เลขานุการ
  • นางหาตีย๋า  ชายเขาทอง  เหรัญญิก
  • นางม่าเรียม มาโนชย์ / นางสาว อรอุมา  ยูศรี    ฝ่ายประสานงาน
  • นางสาว ฝ้าลีห๊ะ  ผดุงชาติ  ฝ่ายสถานที่
  • นางสาว สุนันทา  กาหลง  ฝ่ายโสต/ถ่ายภาพ
  • นางสาว สาอู้ด๊ะ    คงยศ  ฝ่ายกิจกรรม
  • นางร่อมาเฟี้ยะ ผดุงชาติ  ฝ่ายอาหาร
  • นางห้ำเลี๊ย  หลงติ้ง / นางอูไหมสาลาม๊ะ  หาญจิตร์  ฝ่ายเอกสาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • เเกนนำเยาวชน
  • คณะทำงาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่ค่อยมีความตรงต่อเวลาในการเข้าประชุมทำให้การประชุมเกิดการล่าช้าเเละต้องรอให้ครบก่อน ทำให้เลิกประชุมไม่เป็นตามเวลาที่กำหนดไว้
  • เเกนนำเยาวชนยังขาดความกล้าเเสดงออก
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน เดือนธันวาคม 255727 ธันวาคม 2557
27
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ- เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน- เพื่อให้สภาผู้นำได้กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • กล่าวชี้เเจงวัตถุประสงค์โครงการ
  • อธิบายกิจกรรมโครงการพร้อมเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
  • กำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงานของเเกนนำเยาวชนให้ชัดเจนเพื่อง่ายสำหรับสำหรับการจัดตั้งสภาผู้นำ
  • ร่างข้อตกลงร่วมกัน
  • ร่วมกันกำหนดวันจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนที่ชัดเจน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการจัดประชุมคณะทีมงานเเละเเกนนำเยาวชนประจำเดือนธันวาคม สามารถได้กำหนดบทบาทหน้าที่การทำงานของเเกนนำเยาวชนอย่างชัดเจน คือ

1.ฝ่ายบันทึกกิจกรรม/รายงานผลการดำเนินงาน

  • นางสาว จรีญา  สาลี
  • ด็กหญิง มณีรัตน์ ถนอมจิตร

2.ฝ่ายประสานงาน

  • เด็กชาย ซิกดิก ผดุงชาติ
  • นาย อัมรินทร์  ผดุงชาติ
  • นาย ณภัทร  ปราบปราม

3.ฝ่ายสถานที่

  • เด็กชาย วายุ  เขียวสด
  • นาย สนิท สาลี
  • เด็กชาย ดนัย พึ่งหล้า
  • นาย มุสตาฟา คงยศ
  • นาย ฮาดีรีน  มาโนชน์

4.ฝ่ายการเงิน

  • นางสาว กวิสรา ถลาง
  • นางสาว ธัญญารัตน์ อินตัน

5.ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์/ถ่ายภาพ

  • นางสาว มารีหยำ  ชิดเอื้อ
  • เด็กหญิง อัสมา ทอดทิ้ง
  • นางสาว สุดารัตน์ หาญจิตร

6.ฝ่ายกิจกรรม/สันทนาการ

  • นางสาวสุพัตรา ช่วยชาติ
  • นางสาวจรีญา  สาลี
  • นางสาวธัญญารัตน์ อินตัน
  • เด็กชาย ธนายุทธ  อินตัน

7.ฝ่ายอาหาร

  • นางสาวลีนาทิพย์ สาลี
  • เด็กหญิง สุรัตนา  ทอดทิ้ง

8.ฝ่ายเอกสาร/ลงทะเบียน/ต้อนรับ

  • นางสาวลีนาทิพย์ สาลี
  • เด็กหญิง อุมาพร ชายเขาทอง


ในการประชุมมีการจัดทำร่างข้อตกลงร่วมกัน สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ต้องตรงต่อเวลา
  • ต้องสามัคคี
  • ต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่รับมอบหมาย
  • ต้องช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน
  • ต้องรักษาความสะอาดเรียบร้อย/มารยาท
  • ยินดีรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  • ร่วมกันเเสดงความคิดเห็นเเละเเลกเปลี่ยนความความคิดเห็น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • เเกนนำเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ทีมงานมาไม่ครบ
  • แกนนำเยาวชนส่วนใหญ่ติดสอบโอเนตไม่สามารถเข้าร่วมได้ทั้งหมด
  • ที่นั่งไม่เพียงพอสำหรับการประชุม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เวทีชี้แจงโครงการ10 ธันวาคม 2557
10
ธันวาคม 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการ การบริหารจัดการโครงการ ให้คนในชุมชนทราบ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดเวทีประชุมเพื่อชี้แจงการทำงานของโครงการกับเยาวชนและคนในชุมชน
  • รับสมัครเยาวชนอาสาอนุรักษ์ธรรมชาติ จำนวน 50 คน
  • ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินกิจกรรมในการอนุรักษ์
  • หน่วยงานทหารร่วมชี้แจงการทำงานพัฒนาร่วมกับชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการที่ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดลก้อเส็ม ผดุงชาติ ชี้แจงที่มา รายละเอียดของโครงการ และพี่เลี้ยงโครงการได้ช่วยเต็มเต็มในส่วนของการได้มาซึ่งโครงการ โดยได้ฉายวีดีทัศน์ "ปฏิรูปประเทศไทย เพิ่มอำนาจให้ประชาชน" ให้คนในชุมชนดู ทำให้คนในชุมชนเข้าใจโครงการมากขึ้น รู้จัก สสส. หน่วยงานที่สนับสนุนทุน และเห็นความสำคัญของการจัดการชุมชนตนเองให้น่าอยู่
  • ในเวทีมีเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมน้อย ประมาณ 5 คน เน่ืองจากเยาวชนกลุ่มเป้าหมายที่จะรับสมัครเป้นเยาวชนนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ติดแข่งขันวิชาการของโรงเรียน จึงแนะนำให้คณะทำงาน และเยาวชนที่มา นำแบบฟอร์มการสมัครเข้าร่วมโครงการ ไปให้กับทางโรงเรียน และติดตามกลุ่มเยาวชนถึงบ้านพัก เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ที่ต้องการเยาวชนเข้าร่วมโครงการ 50 คน
  • ชุมชนมีภาคีเครือข่ายการทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพิ่มขึ้น โดยหน่วยงานทหารในพื้นที่เต็มใจสนับสนุนกิจกรรม โดยสามารถหนุนเสริมเรื่องพาหนะในการเดินทางได้ ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • แกนนำชุมชน
  • คนในชุมชน
  • เยาวชน
  • อาจารย์จาก มอ.สุราษฎร์ธานี 2 คน
  • หน่วยงานทหารในพื้นที่ 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เป็นการแจ้งการจัดการประชุมแบบกระทันหัน ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ชุมชนต้องมีการวางแผนการทำงานล่วงหน้า
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ให้มีการจัดทำปฏิทินการทำงานให้เรียบร้อย เพื่อให้คนในชุมชนทราบแผนการทำงานล่วงหน้า
  • ควรมีการแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน โดยสารมารถมอบความรับผิดชอบในงานด้านต่างๆ ให้เยาวชนทำได้ เช่น การลงทะเบียน การถ่ายภาพ การบันทึกการประชุม การดูแลเรื่องอาหารว่างในการประชุม เป็นต้น
เวทีชี้เเจงโครงการ10 ธันวาคม 2557
10
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้เเจงการทำงานของโครงการกับเยาวชนเเละคนในชุมชนทราบ- เพื่อรายงานผลการศึกษาความเป็นมาปัญหาโครงการให้คนในชุมชนทราบ- เพื่อรับสมัครเยาวชนอาสาอนุรักษ์ธรรมชาติ จำนวน 50 คน- เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินกิจกรรมในการอนุรักษ์
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดเวทีประชุมเพื่อชี้แจงการทำงานของโครงการกับเยาวชนและคนในชุมชน
  • รายงานผลการศึกษาความเป็นมาปัญหาโครงการให้คนในชุมชนทราบ
  • รับสมัครเยาวชนอาสาอนุรักษ์ธรรมชาติ จำนวน 50 คน
  • ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินกิจกรรมในการอนุรักษ์
  • ทหารร่วมชี้แจงแนวทางการทำงานร่วมกัน และการช่วยเหลือคนไทยพลัดถิ่น ผู้ด้อยโอกาส
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นการสร้างความเข้าใจเรื่องการทำงานในชุมชน
  • นายดลก็อเส็ม ผดุงชาติ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงการดำเนินงานโครงการเยาวชนบางกล้วยนอกนักจัดการทรัพยากรธรรมชาติบนญาน 3 วงล้อ ซึ่งได้รับงบประมาณโครงการ จำนวน 189,800 บาท จาก สสส. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งจากการมีส่วนร่วมของชุมชนและเยาวชนในการทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน และเพื่อศึกษาการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากร 3 วงล้อของชุมชนบางกล้วยนอก โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การอนุรักษ์ป่าชายเลน การปล่อยพันธ์ุสัตว์น้ำ การปลูกป่าเพิ่มเติม เป็นต้น ทำให้คนชุมชนเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการและที่มาของโครงการพร้อมงบประมาณทั้งหมดในการดำเนินโครงการ
  • พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง ชี้แจงแนวทางการติดตาม สนับสนุน และประเมินผลโครงการ โดยการติดตามจากรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซด์ "คนใต้สร้างสุข" พร้อมโชว์เว็บไซด์ให้ชาวบ้านดู ในการนี้ยังได้แนะนำอาจารย์จาก มอ.สุราษฎร์ธานี 2 ท่าน ที่จะสามารถเชื่อมความรู้ และหนุนเสริมการทำงานของชุมชนได้
  • ก่อนการประชุม ได้มีการรับสมัครเยาวชนอาสาในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ในการประชุมครั้งนี้ ได้เยาวชนอาสาในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่กรอกใบสมัครแล้ว จำนวน 13 คน ส่วนที่เหลือจะจัดหาให้ครบตามจำนวน เนื่องจากเยาวชนบางส่วนเดินทางไปแข่งขันวิชาการของโรงเรียน ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ โดยเยาวชนอาสา มีรายนาม ดังนี้
  1. นางสาว จริญา สาลี อายุ 16 ปี
  2. ด.ญ.มณีรัตน์ ถนอมจิตร อายุ 14 ปี
  3. ด.ญ.อุมาพร ชายเขาทอง อายุ 12 ปี
  4. ด.ญ.อัสมา ทอดทิ้ง อายุ 13 ปี
  5. นางสาว สุดารัตน์ หาญจิตร อายุ 15 ปี
  6. นางสาว มารีหยำ ชิดเอื่อ อายุ 17 ปี
  7. นางสาว ลีนาทิพย์ สาลี อายุ 15 ปี
  8. นาย ณภัทร ปราบปราม อายุ  15 ปี
  9. ด.ช.ฮาดีรีน มาโนชน์ อายุ 15 ปี
  10. ด.ช. ซิกดิก ผดุงชาติ อายุ 15 ปี
  11. ด.ช. วายุ เกียวสด อายุ 13 ปี
  12. ด.ช. มุสตอฟา คงยศ อายุ 14 ปี
  13. ด.ช. ธนายุทธ  อินตัน อายุ 12 ปี
  • มีเครือข่ายการทำงานด้านการอนุรักษ์เพิ่มขึ้น โดยหน่วยงานทหารที่อยู่ในพื้นที่ ยินดีให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการอนุรักษ์ป่า เนื่องจากเป็นภาระกิจหลักของทหารอยู่แล้ว โดยจะสนับสนุนพาหนะสำหรับการขนส่งเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ตามที่ชุมชนขอ เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน
  • คนในชุมชนเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการและที่มาของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 95 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใญ่บ้าน
  • เเกนนำเยาวชน
  • กลุ่ม อสม.
  • หัวหน้าชมรมผู้สูงอายุ
  • พี่เลี้ยง สสส.
  • อาจารย์ มอ.สุราฎร์ธานี
  • บัณฑิตอาสา
  • ทีมงานโครงการ
  • หน่วยทหาร
  • สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลนาคา
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เป็นการจัดประชุมแบบกระทันหัน เนื่องจากมีหน่วยงานทหารเข้ามาร่วมประชุมด้วย ทำให้ไม่สามารถประสานงานผู้เข้าร่วมได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ -ไม่มีการเตรียมความพร้อมเรื่องสถานที่ไว้ล่วงหน้า
  • บทบาทหน้าที่ในการทำงานไม่ชัดเจน/ขาดการวางแผน
  • ขาดการบันทึกข้อมูลในเวที
  • อาหารว่างไม่มีความพร้อมล่วงหน้า
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ติดตาม ให้คำแนะนำการทำงานอย่างใกล้ชิด
จัดทำไวนิลโครงการและไวนิลพื้นที่ปลอดบุหรี่9 ธันวาคม 2557
9
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อใช้ในการกำหนดพื้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ออกแบบไวนิล
  • ประสานงานร้านค้า
  • สั่งทำไวนิล
  • นำไวนิลมาใช้ติดในสถานที่ที่มีการประชุม อบรมทุกครั้ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานจัดทำไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร เพื่อใช้ในการแนะนำโครงการ
  • จัดทำไวนิล "พื้นที่นี้ปลอดบุหรี่" ขนาด 0.49 x 1.30 เมตร เพื่อนำมาใช้ในการติดตั้งในสถานที่ที่มีการจัดกิจกรรมในโครงการทุกครั้ง ต
  • คนในชุมชนให้ความร่วมมือ เมื่อเห็นป้ายรณณรงค์เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ ก็จะไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ดังกล่าว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศโครงการ29 พฤศจิกายน 2557
29
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ปฐมนิเทศโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจการทำงาน แนวทางการบริหารจัดการโครงการ การใช้งบประมาณโครงการ โดยทีมงานพี่เลี้ยง
  • การฝึกปฏิบัติการจัดทำรายงานกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานโครงการทางเว็บไซด์ โดยนายภานุมาศ นนทพันธ์ และทีมพี่เลี้ยงโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการโครกการมากขึ้น เช่น การเขียนใบสำคัญรับเงิน การจัดกิจกรรม การออกใบเสร็จค่าห้องพักที่ถูกต้อง
  • ชุมชนสามารถลงรายงานการปฐมนิเทศโครงการในเว็บไซด์ได้ ทำให้แน่ในว่า ชุมชนสามารถจัดทำรายงานกิจกรรมอื่นๆ ตามแผนการดำเนินงานโครงการได้
  • ชุมชนไม่สามารถจัดทำปฏิทินโครงการได้เสร็จ เนื่องต้องการให้คนในชุมชน และทีมงานได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ จึงขอกลับไปทำในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นายดลก้อเส็ม ผดุงชาติ
  • นางสาวนาดียะห์ แมลอก
  • ทีมงานโครงการ 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ระบบอินเตอร์เน็ต สัญญาณขาดหาย ทำให้การทำงานล่าช้า
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • กลับไปทำงานในส่วนที่ขาดให้เรียบร้อย โดยพี่เลี้ยงจะติดตามผลอย่างใกล้ชิด
ปฐมนิเทศโครงการ29 พฤศจิกายน 2557
29
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย Nadeeyah
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างความเข้ารู้ความเข้าใจถึงวิธีการดำเนินโครงการฯและการรายงานผลการดำเนินการ การจัดทำเอกสารหักล้างโครงการด้านการเงิน ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าวิทยากร
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล
  • การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
  • การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
  • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้

  • ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม
    ผู้รับผิดชอบโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการ และการบริหารงบประมาณโครงการ
  • บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม
  • กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด  (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)
  • กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน  บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง
  • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
  • ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร  กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ  กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน
  • ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน  **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน
  • รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้

รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์

  • ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ

  • การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
  • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  1. นายดลก้อเส็ม ผดุงชาติ หัวหน้าโครงการ
  2. นางหาตีย๋า    ชายเขาทอง  ฝ่ายธุรการ
  3. นางสาวจรีญา  สาลี  แกนนำเยาวชน
  4. นางสาวนาดียะห์  แมลอก บัณฑิตอาสา
  5. นายเหื่อง  ศรีทองพันธ์
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • Internet ช้าเนื่องจากมีการใช้ Internet พร้อมกันทำให้การลงข้อมูลลงเวปไซด์ของแต่ละโครงการใช้เวลานาน วิธีแก้ ทีมงานได้ใช้สัญญาณ Internet ของโทรศัพย์ในการช่วยการลงข้อมูลได้เร็วขึ้น
  • กลุ่มเป้าหมายเยอะเกินไป ทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง
  • ใช้คูปองอาหารยุ่งยากเเละควรสำรองอาหารสำหรับคนในพื้นที่มาเกิน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-