directions_run

ปลอดโรคปลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงบ้านมะม่วงขาว(ต่อยอด)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อเป็นการจัดการความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ต่อเนื่องจากการดำเนินงานโครงการปีที่ 1 และการขับเคลื่อนโครงการโดยสภาผู้นำชุมชน คณะกรรมการ 20 คน
ตัวชี้วัด : 1.1 เกิดหลักสูตรการดำเนินงานครอบครัวต้นแบบของบ้านมะม่วงขาว ต้นแบบการปลอดหนี้สินและการมีสุขภาพดี การวิเคราะห์หนี้สิน รายรับรายจ่ายภาคครัวเรือน 1.2 เกิดแนวทางการดำเนินงานสร้างครอบครัวเรียนรู้ 4 โซนละ 15 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 1.3 มีการขับเคลื่อนโครงการโดยสภาผู้นำชุมชน คณะกรรมการ 20 คน

 

 

1.1 เกิดหลักสูตรการดำเนินงานครอบครัวต้นแบบของบ้านมะม่วงขาว ต้นแบบการปลอดหนี้สินและการมีสุขภาพดี การวิเคราะห์หนี้สิน รายรับรายจ่ายภาคครัวเรือน จากการดำเนินกิจกรรมเกิดหลักสูตรการดำเนินงาน 4 หลักสูตร ได้แก่

  • เศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย การปลูกผักปลอดสารพิษ การเพาะเห็ดโดยใช้วัสต่าง ๆ ที่มีในชุมชน การทำปุ๋ยชีวภาพ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และการเลี้ยงโค
  • การดูแลสุขภาพ ประกอบด้วย การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การออกกำลังกาย การใช้สมุนไพรที่มีในครัวเรือน และการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  • การทำบัญชีครัวเรือน การใช้จ่ายอย่างประหยัด
  • การทำน้ำยาอเนกประสงค์

1.2 เกิดแนวทางการดำเนินงานสร้างครอบครัวเรียนรู้ 4 โซนละ 15 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ โดยแต่ละโซนมีการวางแผนและจัดการเรียนรู้ภายในโซนของตนตามความต้องการของสมาชิก

1.3 มีการขับเคลื่อนโครงการโดยสภาผู้นำชุมชน คณะกรรมการ 20 คน

2 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี ปลอดโรค
ตัวชี้วัด : 2.1 เกิดกลุ่มผักปลอดสารพิษ/ผักอินทรีย์ในชุมชน อย่างน้อย 1 กลุ่ม 2.2 เกิดจุดรวบรวม กระจายผลผลิตผักปลอดสารพิษในชุมชน 1 จุด 2.3 เกิดกลุ่ม/จุดออกกำลังกายในพื้นที่ 1 กลุ่ม/จุด 2.4 โรคไข้เลือดออกลดลงจากปีที่ผ่านมาเที่ยบเวลาเดียวกันไม่ตำกว่า ร้อยละ 10

 

 

  1. เกิดกลุ่มผักปลอดสารพิษ/ผักอินทรีย์ในชุมชน 1 กลุ่ม มีสมาชิกจำนวน 10 ครัวเรือน โดยต่างคนต่างปลูก ต่างคนต่างขาย แต่มีการนัดพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน
  2. เกิดจุดรวบรวม กระจายผลผลิตผักปลอดสารพิษที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชทุกวันศุกร์
  3. เกิดกลุ่ม/จุดออกกำลังกายในพื้นที่ 1 กลุ่ม/จุด โดยมีสมาชิกประมาณ 10-20 คน นัดหมายออกกำลังกายร่วมกันทุกวันอาทิตย์ ใช้เวลาออกกำลังกายประมาณ 30 -45 นาที โดยมีการเต้นแอโรบิค หรือโนราบิค
  4. ในช่วงปีที่ผ่านมาไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

นอกจากเกิดกลุ่มผักและกลุ่มออกกำลังกายแล้ว ยังเกิดกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง มีสมาชิก 20 ครัวเรือน กลุ่มเลี้ยงโค มีสมาชิก 50 ครัวเรือน และกลุ่มน้ำยาเอนกประสงค์ มีสมาชิก 10 ครัวเรือน

3 เพื่อสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนวิธีแก้หนี้แก้จน ในโรงเรียน ปลอดโรคปลอดหนี้
ตัวชี้วัด : 3.1 เกิดโรงเรียนปลอดโรคปลอดหนี้ เป็นที่ศึกษาหาความรู้ และเป็นศูนย์เรียนรู้แก้หนี้แก้จน อย่างน้อย 1 แห่ง

 

 

เกิดศูนย์เรียนรู้ปลอดโรคปลอดหนี้ เป็นที่ศึกษาหาความรู้ และเป็นศูนย์เรียนรู้แก้หนี้แก้จน จำนวน 5 แห่ง ได้แก่

  • ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงณ บ้าน นายธวัช จิตคำนึง
  • ฐานเรียนรู้การทอผ้ายกเมืองคอน ณ บ้าน น.ส.วันดี ปิละวัฒน์
  • ฐานเรียนรู้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองและการทำขนมไทย ณ บ้าน นางสมบัติ ควรรำพึง
  • ฐานเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์และการทำบัญชีครัวเรือน ณ บ้าน นางปราณี วางกลอน
  • ฐานเรียนรู้การเลี้ยงโคลูกผสม และโคพื้นเมือง ณ บ้าน นายบุญมา นาคเนตร
4 เพื่อเกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยเทศบาลตำบลนาสารในกิจกรรม ชุมชนสีเขียว เป็นชุมชนที่บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษในผักที่ชาวบ้านปลูกเองโดยไม่ใช้สารเคมี ของบ้านมะม่วงขาว
ตัวชี้วัด : 4.1 เพื่อเกิดการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวเป้าหมาย อย่างน้อย 90 % ของชุมชนในหมู่บ้าน ต่อเนื่องโดยท้องถิ่น

 

 

เกิดการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวเป้าหมาย ประมาณ 200 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ92 ของครัวเรือนในหมู่บ้าน โดยมีเทศบาลตำบลนาสารเข้ามาสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องผ่านทางรพ.สต. บ้านนาสาร

5 เพื่อสร้างสภาพผู้นำชุมชน บ้านมะม่วงขาว
ตัวชี้วัด : 5.1 เกิดสภาผู้นำชุมชนบ้านมะม่วงขาว จำนวน 1 คณะ มีโครงสร้างและแผนในการดำเนินงานที่ชัดเจน

 

 

เกิดสภาผู้นำชุมชนบ้านมะม่วงขาว จำนวน 1 คณะ มีโครงสร้างและแผนในการดำเนินงานที่ชัดเจน

6 เพื่อการบริหารจัดการโครงการและติดตามผลการดำเนินโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส หรือ สจรส มอ.

 

 

เข้าร่วมกิจกรรมกับสสสและ สจรส มอ จำนวน 2 ครั้งในจำนวน 3 ครั้ง