task_alt

ชุมชนฝาละมีเข้มแข้งครอบครัวอบอุ่นด้วยวิถีพอเพียง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ชุมชนฝาละมีเข้มแข้งครอบครัวอบอุ่นด้วยวิถีพอเพียง

ชุมชน บ้านฝาละมี หมู่ที่ 1 ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

รหัสโครงการ 58-03979 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2240

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภายใต้ ปี 2558

วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการ มีควาามรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดวามรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการโครงการ สามารถวางแผนกำหนดปฏิทินโครงการได้ มีความรู้ในเรื่องการใช้เวบไซต์คนใต้สร้างสุข กรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการได้เสร็จ และเข้าใจเรื่องการจัดการเอกสารการเงิน รวมทั้งการรายงานกิจกรรมทุกครั้งที่มีการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภายใต้ ปี 2558

  • การบันทึกข้อมูลตามแผนการดำเนินงาน
  • การจัดทำรายงานทางการเงิน
  • การรายงานผลการดำเนินงาน
  • ความก้าวหน้าการจัดทำแผนโครงการ สสส.
  • การจัดทำปฏิทินการทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภายใต้ ปี 2558

  • การบันทึกข้อมูลตามแผนการดำเนินงาน
  • การจัดทำรายงานทางการเงิน
  • การรายงานผลการดำเนินงาน
  • ความก้าวหน้าการจัดทำแผนโครงการ สสส.
  • การจัดทำปฏิทินการทำงาน

 

2 3

2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อใช้เป็นสื่อ ประชาสัมพันธ์ เขตปลอดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ในสถานที่จัดกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีป้ายสถานทีปลอดบุหรี่ จำนวน2ป้าย ติดไว้ที่ศาลาประชาคมของหมู่บ้าน ประชาชนทั่วไปได้รู้และรับทราบสถานที่เขตปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • การจัดทำป้าย เขตปลอดบุหรี นำไปติดตั้ง และประชาสัมพันธ์ สถานที่เขตปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์ในชุมชน

 

5 2

3. จัดประชุมเปิดตัวโครงการ

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชน และคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนได้รับทราบวัตถุประสงค์ ความเป็นมาของโครงการและแนวทางการดำเนินงานตามโครงการต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.กรรมการเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง

2.ประชาชนรับรู้และสมัครเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 80 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีคณะกรรมการ และประชาชนในชุมชนเข้าร่วมเวที ประชุมชี้แจงและสร้างความเข้าใจโครงการจำนวน92คน
  2. ชาวบ้านในพื้นที่รับทราบว่ามีการทำโครงการส่งเสริมสุขภาพที่ได้รับทุนจาก สสส.ต่างให้ความสนใจและยินดีให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
  3. มีการจัดตั้งคณะกรรมการสภาผู้นำจำนวน 25 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.จัดประชุมเปิดตัวโครงการเพื่อชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรมที่จะดำเนินการ

2.เปิดคลิปวีดีโอชุมชนไม้เรียงและชุมชนหนองกลางดงให้ดูเพื่อสร้างแรงจูงใจให้อยากพัฒนาไปสู่ความสำเร็จที่มีพื้นที่อื่นทำได้แล้ว

3.รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เวทีชี้แจงและสร้างความเข้าใจโครงการแก่คณะกรรมการ และประชาชนในชุมชน นำเสนอที่มาของการทำโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์และกิจกรรมในโครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการ
  2. ร่วมชี้แจงและสร้างความใจ โครงการจากพี่เลี้ยงโครงการ คุณประเทือง อมรวิริยะชัย
  3. กำหนดขั้นตอน แนวทาง การดำเนินโครงการ ต่อไป

 

80 80

4. ประชุมสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 1

วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความรู้  ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม ของ คณะทำงาน  กรรมการสภาชุมชน  และผู้นำในชุมชน  ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.เกิดคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 1 ชุด มีการประชุม อย่างน้อยเดือนละ 1ครั้งจำนวน 10ครั้ง

2.มีสภาชุมชน ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชนและตัวแทนจากกลุ่ม องค์กรต่างๆในชุมชน และเข้าร่วมประชุม อย่างน้อย ร้อยละ 80 ของจำนวนสมาชิกสภาชุมชน
3 กลุ่มสภาผู้นำมีการทบทวน ติดตาม ประเมินผล และร่วมพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ 1ครั้งจำนวน 10ครั้ง

4.ชุมชนมีแผนปฏิบัติการของชุมชน และใช้แผนชุมชน นำมาแก้ปัญหาได้ตรงกับความต้องการของชุมชนตามแนวคิด สุขภาพดี วิถีพอเพียง 1 แผนงาน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ มีผู้สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการแต่ยังไม่สามารถระบุจำนวนได้
  • จากการจัดตั้งทีมสภาผู้นำทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมตามโครงการ แต่ยังไม่มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ ในวันนี้ทีมสภาผู้นำได้รับรู้กระบวนการทำโครงการ และจะนัดประชุมทุกเดือนเพื่อรายงานผลการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงาน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อ

  • ทำความเข้าใจร่วมกัน
  • เพื่อวางแผนกิจกรรม
  • เพื่อขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ชี้แจงรายละเอียดโครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการในเรื่อง
  • กิจกรรมโครงการ
  • งบประมาณ
  • กลุ่มเป้าหมาย
  • วัตถุประสงค์
  • การประเมินผลโครงการ

2.กิจกรรม ที่จะดำเนินการ ต่อไปตามแผนปฏิบัติการ

3.การสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ

 

30 26

5. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

วันที่ 27 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อถอนเงินค่าเปิดบัญชี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เข้าใจระบบการทำบัญชี และการเขียนเอกสารการเงินในเรื่องการขอคืนเงินเปิดบัญชี ว่า ต้องทำเป็นกิจกรรมในรายงานโครงการ และจะทำให้ยอดเงินรายรับถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

ถอนเงินค่าเปิดบัญชีจำนวน 500 บาท

 

2 2

6. ประชุมสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 2

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความรู้  ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม ของ คณะทำงาน  กรรมการสภาชุมชน  และผู้นำในชุมชน  ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.เกิดคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 1 ชุด มีการประชุม อย่างน้อยเดือนละ 1ครั้งจำนวน 10ครั้ง

2.มีสภาชุมชน ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชนและตัวแทนจากกลุ่ม องค์กรต่างๆในชุมชน และเข้าร่วมประชุม อย่างน้อย ร้อยละ 80 ของจำนวนสมาชิกสภาชุมชน
3 กลุ่มสภาผู้นำมีการทบทวน ติดตาม ประเมินผล และร่วมพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ 1ครั้งจำนวน 10ครั้ง

4.ชุมชนมีแผนปฏิบัติการของชุมชน และใช้แผนชุมชน นำมาแก้ปัญหาได้ตรงกับความต้องการของชุมชนตามแนวคิด สุขภาพดี วิถีพอเพียง 1 แผนงาน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน  63  คน
ผู้เข้าร่วมประชุม มีความรู้ เข้าใจ การเข้าร่วมโครงการ
มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ  จำนวน  84  คน มีการหารือ  วันเวลา สถานที่ จะจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับชุมชนต้นแบบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงาน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีการประชุมทุกเดือน เพื่อ - ทำความเข้าใจร่วมกัน - เพื่อวางแผนกิจกรรม - เพื่อขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ - เพื่อติดตามประเมินผล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมชี้แจงกิจกรรมต่างๆ  ในโครงการ
  • ชี้แจงปฏิทิน โครงการ
  • กิจกรรม ที่จะดำเนินการต่อไป
  • การรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และเงื่อนไข ข้อตกลงผู้เข้าร่วมโครงการ

 

30 63

7. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารทางการเงิน

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความรู้  ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม ของ คณะทำงาน  กรรมการสภาชุมชน  และผู้นำในชุมชน  ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน  3  คน  ผู้เข้าร่วมประชุม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำรายงานต่างๆ  เช่น การบันทึกกิจกรรม การจัดทำรายงานทางการเงิน การนำส่งหักภาษี ณ ที่จ่าย  การปรับปรุงแผนปฏิบัติการ และสอบถามปัญหาต่างๆ  การดำเนินงานตามโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารทางการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แจ้งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม ตรวจสอบการบันทึกกิจกรรม การจัดทำรายงานต่างๆ นัดหมาย การไปร่วมปประชุม เข้าร่วมประชุมในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ณ วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • อ.ไพฑูรย์ ทองสม ให้ความรู้เรื่องการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการเงินโครงการ
  • ทีม สจรส.ม.อ.ให้ความรู้และชี้แจงเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • ทีม สจรส.ม.อ.ตรวจสอบเอกสารการเงินที่ทำมาในช่วงเดือนตุลาคม 2558

 

2 3

8. การออกการสำรวจข้อมูลชุมชน /หนี้สินครัวเรือน

วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความรู้  ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม ของ คณะทำงาน  กรรมการสภาชุมชน  และผู้นำในชุมชน  ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีเครื่องมือเก็บข้อมูล

2.ผู้เก็บข้อมูลสามารถใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลได้และสามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. อสม. คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน45คนได้เข้าร่วมประชุม ระดมความคิดเห็นในการออกแบบการสำรวจข้อมูลครัวเรือน และหนี้สินครัวเรือน
  2. ได้แบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน และหนี้สินครัวเรือน จำนวน 1 ชุด

ผลลัพท์

  1. ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน และหนี้สินครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. รับสมัครแกนนำ สำรวจข้อมูลชุมชน /หนี้สินครัวเรือน
  2. ประชุม ระดมความร่วมมือ ในการออกแบบการสำรวจข้อมูลครอบครัวภาวะหนี้สินของครัวเรือน
  3. ประชุมชี้แจงขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูล ครัวเรือนโดยใช้แบบการจัดเก็บข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. รับสมัครแกนนำ สำรวจข้อมูลชุมชน /หนี้สินครัวเรือน
  2. ประชุม ระดมความร่วมมือ ในการออกแบบการสำรวจข้อมูลครอบครัวภาวะหนี้สินของครัวเรือน
  3. ประชุมชี้แจงขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูล ครัวเรือนโดยใช้แบบการจัดเก็บข้อมูล
  4. มอบหมาย หน้าที่ เป้าหมาย ให้ผู้จัดเก็บข้อมูลครัวเรือน
  5. ซักถาม เสนอแนะ แนวทางดำเดินงาน

 

30 45

9. ศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบ

วันที่ 17 ธันวาคม 2558 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความรู้  ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม ของ คณะทำงาน  กรรมการสภาชุมชน  และผู้นำในชุมชน  ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.สมาชิกได้เรียนรู้จากความสำเร็จจากพื้นที่จริง 40 คน

2.คณะทำงานและผู้ปฏิบัติการเข้าใจกระบวนการเพื่อจัดการไปสู่การดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีตัวแทนครอบครัว คณะกรรมการสภาชุมชนผู้รับผิดชอบโครงการ และตัวแทนครู นักเรียน เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 คน
  2. ได้มีการศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับครอบครัว และชุมชน ต้นแบบ จำนวน 2 ชุมชน 3 ครอบครัว

ผลลัพท์

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทางการดำเนินเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับครอบครัว และชุมชน ต้นแบบ
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แนวคิด แนวทาง ในการดำเนินงานพัฒนาครอบครัว และชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
  4. ได้ร่วมกันกำหนดกิจกรรม ที่จะดำเนินการต่อไปในชุมชน โรงเรียน
  5. ชุมชน ได้เครือข่าย ในการขอรับการช่วยเหลือ ปรึกษาหารือ ในการดำเนินงานตามโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฏิบัติการในการจัดการและสร้างชุมชนน่าอยู่ของชุมชนต้นแบบ ชุมชนไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช โดยมีตัวแทนของพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องของการใช้ข้อมูลทำให้คนตระหนัก แนวทางในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียง

2.สมาชิกโครงการเรียนรู้ดูงานจากหมู่บ้านต้นแบบด้านเศรษกิจพอเพียง การลดรายจ่ายการเพิ่มรายได้ การจัดการกลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ติดต่อประสานงานแหล่ง สถานที่ศึกษาดูงาน และ วัตถุประสงค์การศึกษาดูงาน
  2. แจ้งผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้สนใจ สมัครไปศึกษาดูงาน
  3. ติดต่อประงานกับผู้เกี่ยวข้องในเรื่ีอง พาหนะเดินทางอาหารค่าใช้จ่ายต่างๆ
  4. จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ปราชญ์หมู่บ้านโงกน้ำ ต.นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และบ้านครอบครัวตัวอย่าง จำนวน 3 ที่
  5. จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ บ้านนางผ่องศรี สุขรุ่ง เกษตรกรดีเด่น ณ บ้านใสหลวงอ.ควนขนุน จ.พัทลุง
  6. สรุปบทเรียน และสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงาน

 

40 50

10. เก็บข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน

วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30 - 17.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชน ได้มี และรับทราบข้อมูล ด้านเศรษฐกิจของครัวเรือน ที่เป็นจริง ครบถ้วน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เก็บข้อมุลครบตามแผน และได้ข้อมูลครบถ้วน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. ได้แบบสำรวจ ข้อมูลเศรษฐกิจ ครัวเรือน จำนวน 1 ชุด
  2. ประชุมชี้แจง การสำรวจ ข้อมูลเศรษฐกิจ ครัวเรือน จำนวน 1 ครั้ง 30 คน
  3. จัดเก็บข้อมูลเศรษฐกิจ ครัวเรือน จำนวน368ครัวเรือน
  4. รวบรวมแบบสำรวจ ข้อมูลเศรษฐกิจ ครัวเรือน จำนวน 368 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เก็บข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน ตามแบบสำรวจ จากครัวเรือนที่คัดเลือก

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ออกแบบสำรวจ ข้อมูลเศรษฐกิจ ครัวเรือน
  2. จัดทำแบบสำรวจ ข้อมูลเศรษฐกิจ ครัวเรือน
  3. ประชุมชี้แจง การสำรวจ ข้อมูลเศรษฐกิจ ครัวเรือน
  4. ดำเนินจัดเก็บข้อมูลเศรษฐกิจ ครัวเรือน
  5. รวบรวมแบบสำรวจ ข้อมูลเศรษฐกิจ ครัวเรือน

 

30 30

11. เรียนรู้การเพาะเห็ดฟางและเห็ดนางฟ้า

วันที่ 28 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มอาชีพได้รับการพัฒนาตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีความรู้สามารถเพาะเห็ดได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้ความรู้สาธิต การเพาะเห็ด จำนวน44คน
  2. แจกจ่ายก้อนพันธุ์เห้ดนางฟ้า เห็ดฟาง ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไป ดูแลที่บ้าน จำนวน45ครัวเรือน
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเพาะเห็ด

ผลลัพท์

  1. ครัวเรือนลดรายจ่าย ในการบริโภค
  2. มีกิจกรรม ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. บางครัวเรือน ขยายการเพาะเห็ดเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ให้ครอบครัว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมสมาชิกในการเพาะเห็ดฟางและเห็ดนางฟ้ารวมถึงการแปรรูปเป็นน้ำพริกเห็ด เห็ดสามรส

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้สนใจ ได้รับทราบ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นโรงเรียนเกษตรอำเภอพัฒนาชุมชนวิทยากร
  3. จัดหา วัสดุ อุปกรณ์ ในการเรียน สาธิต การเพาะเห็ด
  4. ให้ความรู้ สาธิต การเพาะเห็ดฟางเห็ดนางฟ้า พร้อมการดูแลรักษา
  5. แจกจ่ายก้อนพันธุ์เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไป ดูแลที่บ้าน
  6. ติดตาม ดูแลผลผลิต

 

50 44

12. วิเคราะห์ข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน

วันที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 09.00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ได้รับทราบข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ของชุมชน ที่ถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.คณะทำงานรับรู้สภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน/ชุมชน

2.ประชาชนให้ข้อมูลที่เป็นจริง

3.นำข้อมูลที่ได้ร่วมกันจัดทำแผนชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงาน ได้ร่วมประชุม และรับรู้สภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน/ชุมชน จำนวน 25 คน

  2. มีการสำรวจข้อมูลจำนวน386ครัวเรือน

  3. ได้ชุดข้อมูล ชุมชนจำนวน 1ชุด ทำให้ทราบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ เกิดหนี้สิน และแก้ไขปัญหาด้วยการหาอาชีพเสริม และประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

  4. มีข้อมูลที่ได้เพื่อประกอบการจัดทำแผนชุมชน เรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชุมชน คือ การเลี้ยงปลา การทำปุ๋ยหมัก การปลูกผักสวนครัวผักปลอดสารพิษ และการจัดทำบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะทำงานโครงการและนักวิชาการ ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน

2.นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุและจัดทำแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายด้วยการจัดทำบัญชีครัวเรือนและการออม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชาสัมพันธ์ การประชุม
  2. แจ้งหนังสือ แก่ กลุ่มเป้าหมายการประชุม
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. นำเสนอข้อมูล จากการสำรวจ
  5. วิเคราะห์ข้อมูล ในประเด็นต่างๆ
  6. สรุปปัญหา ประเด็นด้านเศรษฐกิจของชุมชน และแนวทางแก้ปัญหา

 

30 25

13. ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค

วันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 13.00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ให้ประชาชน มีรายได้เสริมจากการเลี้ยงสัตว์ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.คนชุมชนปรับเปลี่ยนมาเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อการบริโภคในนลครัวเรือน จำนวน 50 ครอบครัว

2.ได้ความรู้และภูมิปัญญาในการเลี้ยงสัตว์ลดต้นทุน พึ่งวัตถุดิบในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีประชาชน ผู้สนใจ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคในครัวเรือน 50 ครัวเรือน โดยได้แจกพันธุ์ปลาดุก ปลานิล และปลาทับทิม ได้เดินชมบ่อปลาและสถานที่เลี้ยงปลาในครัวเรือนที่สนใจ และร่วมกันวางแผนจัดหาวัตถุดิบในท้องถิ่นที่สามารถนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วงแลกเปลี่ยน เพิ่มเติมแนวคิดและแผนในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคกลุ่มเลี้ยงปลา 20 ครัวเรือน เลี้ยงไก่ 20 ครัวเรือน เลี้ยงหมู 10 ครัวเรือน และให้มีการขยายพันธุ์ใช้ในครอบครัว

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชาสัมพันธ์กิจกรรม
  2. รับสมัครกลุ่มเป้าหมาย เลี้ยงสัตว์ ที่สนใจ  และกลุ่มเลี้ยงสัตว์เดิม
  3. จัดอบรม ให้ ความรู้ พูดคุย ปัญหา ความต้องการ การเลี้ยงสัตว์ ประเภทต่างๆ  เช่น  ไก่ไข่  ปลาในกระจัง  หมู
  4. จัดหาวัสดุ การผลิตอาหารสัตว์
  5. จัดหารพันธุ์สัตว์  อาหารสัตว์ แจกจ่ายสมาชิก

 

50 46

14. เรียนรู้วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

วันที่ 28 มกราคม 2559 เวลา 13:00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะในการทำน้ำหมักชีวภาพได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ 40 คน มีความรู้ความเข้าใจในการทำน้ำหมักชีวภาพ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ และทักษะในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ได้ถูกต้อง ลดรายจ่าย จากการซื้อปุ๋ย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.นัดประชุมและสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

2.ประชุมเชิงวิชาการและปฎิบัติการ สูตรการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อให้ทราบส่วนผสมของน้ำหมัก

3.แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดหาจัดซื่อวัตถุดิบส่วนผสมของน้ำหมัก

4.จัดเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตการทำน้ำหมัก วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

5.นัดสมาชิกมากวนน้ำหมักทุกๆ 7 วัน (มีการจัดเวรสลับกันรับผิดชอบ และจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของน้ำหมัก)

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. ประสานงานวิทยากรและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การอบรม สาธิต
  4. จัดอบรม สาธิต การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

40 50

15. ส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรียน

วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 13:00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน มีความรู้ ทักษะ ในการปลูกผักปลอดสารพิษ ในโรงเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  • จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน เรื่องการปลูกผัก ปลอดสารพิษการผลิตปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพ จำนวน 55คน

ผลลัพท์

  • นักเรียน มีความรู้ และสามารถผลิตปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพได้
  • ลดรายจ่าย การซื้อปุ๋ย และการปลูกพืช ไว้บริโภคในโรงเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ทำแปลงผักอินทรีย์ในโรงเรียน

  • สอน สาธิตการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพในโรงเรียน

  • สนับสนุนการประกอบเป็นอาหารกลางวันของนักเรียน โดยมีการนำผักจากชุมชนมาใช้ประกอบเป็นอาหารกลางวันด้วย

กิจกรรมที่ทำจริง

ประสานกับโรงเรียน  นัดกลุ่มเป้าหมาย จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ การเรียน การสอน สาธิต จับอบรมให้ความรู้ สาธิต การผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์

 

50 55

16. เรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์ และการทำน้ำหมักชีวภาพ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 - 16.00 น น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มอาชีพได้รับการพัฒนาตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือน 70 ครัวเรือน ได้ความรู้และนำไปปรับใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์

และมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน

2.เกษตรกรกลุ่มปุ๋ยหมักสามารถทำปุ๋ยหมักใช้ในการทำใช้ในสวนยางและแปลงผักได้

3.ได้นำวัสดุที่เหลือใช้ในชุมชมมาเพิ่มคุณค่า ลดต้นทุนการทำปุ๋ยหมัก

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 70 คน มีความรู้และสามารถผลิตปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพได้

ผลลัพท์

  1. ลดค่าใช้จ่าย ในการปลูกผักปลอดสารพิษ
  2. ลดการเจ็บป่วยจากโรค ที่เกิดจากการใช้สารเคมี
  3. ประชาชน ลดการใช้สารเคมี มีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เรียนรู้/สาธิตการทำปุ๋ยหมัก

2.เรียนรู้ จัดหาวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชาสัมพันธ์ กิจกรรม
  2. แจ้งกลุ่มเป้าหมาย ทราบเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
  3. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง
  4. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ การจัดกิจกรรม
  5. จัดอบรมให้ความรู้  สาธิตการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกพืชปลอดสารพิษ
  6. แจกจ่าย น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

70 70

17. เรียนรู้ เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ได้รับทราบข้อมูล รายรับ รายจ่าย ของครัวเรือน 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ส่งเสริมการออมทรัพย์
1.มีผู้เข้าร่วม 100 คน

2.เกิดการรวมกลุ่ม 3 กลุ่ม

3.ประชาชนได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน/เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน70 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  • จัดประชุม จำนวน 1 ครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุม 77 คน

ผลลัพท์

  • ผู้เข้าร่วมประชุม มีความรู้ ทักษะ การจัดทำบัญชีครัวเรือน ได้ถูกต้อง และให้ความร่วมมือในการจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อที่จะได้รับรู้ว่ามีรายจ่่าย รายรับเท่าไรในแต่ละเดือน อันจะนำไปสู่การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกระบวนการเรียนรู้ เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน คืนข้อมูลให้กับชุมชน ให้ความรู้การทำบัญชีครัวเรือน การเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายและให้ประชาชนสมัครเข้ารวมกลุ่ม

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชาสัมพันธ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประสานงานวิทยากร จัดหาคู่มือ เอกสาร การจัดทำบัญชีครัวเรือน ประชุมชี้แจง ซักถาม ปัญหา

 

70 77

18. จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนฉบับปฏิบัติการ

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09.00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชน ได้วิเคราะห์ ปัญหา และจัดทำแผนงานโครงการ ที่ตรงกับปัญหาที่แท้จริงของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีแผนชุมชนที่เกิดจากชุมชนเอง

2.คนในชุมชนปฏิบัติงานตามแผนร่วมกันเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

3.มีเครื่องมือที่ชุมชนสามารถนำไปใช้ในการทบทวน และปรับปรุงการใช้ชีวิตประจำวันตามวิถี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการซื้อ การประกอบอาหารในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. จัดประชุม การจัดทำแผนชุมชน1ครั้งมีัผู้เข้าร่วมประชุม 77 คน
  2. ชุมชน มีแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชน จำนวน1ชุด

ผลลัพท์

  1. ชุมชน มีแผนปฏิบัติการแก้ไขซึ่งเป็นแผนที่ทำร่วมกับ อบต.ฝาละมี ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน
  2. ชุมชน มีความรักสามัคคี มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมการจัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนฉบับปฏิบัติการ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะทำงานและแกนนำชุมชน ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่ นำเสนอแผนปฏิบัติการของชุมชนเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้จริงของแต่ละกลุ่ม คัดเลือกกิจกรรมนำไปสู่ปฏิบัติจริงในชุมชน ศูนย์เรียนรู้การจัดการสุขภาพชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชาสัมพันธ์ นัดหมาย ผู้เข้าร่วมประชุม
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดเตรียมข้อมูล ชุมชน นำเสนอที่ประชุม
  4. จัดประชุม นำเสนอข้อมูล สภาวะเศรษฐกิจชุมชน ปัญหาของชุม วิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข จัดทำแผนงาน แก้ปัญหา

 

50 77

19. ประชุมสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 3

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อ ทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อวางแผนกิจกรรม และ เพื่อติดตามประเมินผล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.เกิดคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 1 ชุด มีการประชุม อย่างน้อยเดือนละ 1ครั้งจำนวน 10ครั้ง

2.มีสภาชุมชน ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชนและตัวแทนจากกลุ่ม องค์กรต่างๆในชุมชน และเข้าร่วมประชุม อย่างน้อย ร้อยละ 80 ของจำนวนสมาชิกสภาชุมชน
3 กลุ่มสภาผู้นำมีการทบทวน ติดตาม ประเมินผล และร่วมพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ 1ครั้งจำนวน 10ครั้ง

4.ชุมชนมีแผนปฏิบัติการของชุมชน และใช้แผนชุมชน นำมาแก้ปัญหาได้ตรงกับความต้องการของชุมชนตามแนวคิด สุขภาพดี วิถีพอเพียง 1 แผนงาน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้นำเสนอให้กรรมการสภาชุมชนรับทราบว่าจะทำการส่งรายงานงวดที่ 1 ให้ สสส.เพื่อเบิกเงินงวดที่ 2 มาดำเนินกิจกรรมต่อ แต่ตอนนี้ยังไม่เข้าใจเรื่องการจัดทำเอกสารการเงิน และได้นำเสนอค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่ผ่านมาให้ทีมคณะกรรมการทราบ ซึ่งจะรีบจัดทำรายงานโดยส่งให้พี่เลี้ยงช่วยเพิ่มเติมและให้คำแนะนำในการทำรายงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะทำงาน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีการประชุมทุกเดือน เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อวางแผนกิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ และเพื่อติดตามประเมินผล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสาย ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมา วางแผนกิจกรรมที่จะดำเนินการ ต่อไป พูดคุยถึงปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานช่วงที่ 1

 

30 42

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 35 19                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 178,700.00 129,850.00                  
คุณภาพกิจกรรม 76 62                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.บางกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมน้อยกว่าเป้าหมาย

2.ได้รับเงินสนับสนุนการจัดกิจกรรม น้อยกว่า แผนงาน ที่กำหนดไว้ ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการต้องจัดหาเงินสำรองจ่าย

3.คระทำงานขาดความรู้ความเข้าใจ ในการจัดทำรายงานทางการเงิน

  1. เนื่องจากบางช่วงระยะเวลา ประชาชนในพื้นที่มีภาระกิจเช่น งานตามประเพณีในชุมชน

  2. ควรจัดทำแผนการดำเนินงานให้เหมาะกับระยะเวลาการโอนเงิน

  3. จัดอบรม เจ้าหน้าทีการเงินเพิ่มเติมสนับสนุนคู่มือ อย่างเพียงพอเพื่อได้ศึกษา หรือ มีการติดตามอย่างต่อเนื่องจากทีมพี่เลี้ยง

1.กำหนดกิจกรรม ตามความเหมาะสมในชุมชน

2.ยืมเงินสำรองจ่าย จากเงินกลุ่มกองทุนสวัสดิการของชุมชน

  1. ปรับปรุงแก้ไข เอกสารทางการเงิน และสอบถามพี่เลี้ยง หรือ จนท.สจ.รส.

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. การจัดทำรายงานงวดที่ 1 ( 20 ก.พ. 2559 )
  2. การประกวดบุคคลต้นแบบฯและครอบครัวต้นแบบฯ ( 10 มี.ค. 2559 )
  3. ประชุมสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 4 ( 12 มี.ค. 2559 )
  4. ประชุมสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 5 ( 12 เม.ย. 2559 )
  5. ประชุมสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 6 ( 12 พ.ค. 2559 )
  6. ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง ( 21 พ.ค. 2559 )
  7. ประชุมสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 7 ( 12 มิ.ย. 2559 )
  8. ร่วมประชุมวิชาการยกระดับความรู้สู่การพัฒนาและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมภาคใต้ ( 27 มิ.ย. 2559 - 28 มิ.ย. 2559 )
  9. ประชุมสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 8 ( 12 ก.ค. 2559 )
  10. ถ่ายภาพิจกรรม ( 15 ก.ค. 2559 )
  11. จัดกิจกรรมมหกรรม ครัวเป็นสุข ตามวิถีพอเพียงในชุมชน ( 8 ส.ค. 2559 )
  12. ประชุมสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 9 (ประชุมสรุปผลโครงการ) ( 12 ส.ค. 2559 )

(................................)
นส. นิยม ณ พัทลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ