directions_run

ชุมชนฝาละมีเข้มแข้งครอบครัวอบอุ่นด้วยวิถีพอเพียง

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง
ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้จากการทำอาชีพเสริม ประมาณ ร้อยละ 20 (70 ครัวเรือน จาก 368 ครัวเรือน) 2. ร้อยละ100 ของครัวเรือน ที่เข้าร่วมโครงการมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน และเป็นสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ 3. ครัวเรือนลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ เพื่อ ลดรายจ่าย มากกว่า 20 ครัวเรือน

เกิดแกนนำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ จำนวน 1 คน โดยมีการปลูกและรับประทานผักปลอดสารพิษ

2 เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มอาชีพได้รับการพัฒนาตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถลดรายจ่ายภายในครัวเรือน
ตัวชี้วัด : 1. ชุมชนมีกลุ่มอาชีพเสริมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 5 กลุ่มได้แก่ - ผักปลอดสารพิษเพื่อปลูกผักใช้ประกอบอาหารสำหรับกินเองในครัวเรือนจำนวน 70 ครัวเรือน - กลุ่มเพาะเห็ดเพื่อใช้ประกอบอาหารสำหรับกินเองในครัวเรือนจำนวน 50 ครัวเรือน - กลุ่มเลี้ยงสัตว์(ไก่ไข่ /เลี้ยงปลา/เลี้ยงกบ)ในครัวเรือนเพื่อใช้ประกอบอาหารสำหรับกินเองในครัวเรือนจำนวน 50 ครัวเรือน - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ในครัวเรือน จำนวน 50 ครัวเรือน - กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าทดแทนใช้เองในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย เช่น สบู่,ยาสระผม,น้ำยาล้างจาน,น้ำยาซักผ้า,น้ำยาปรับผ้านุ่มจำนวน 40 ครัวเรือน 2. ประชาชนมีความรู้ในหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 80 และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดปัญหาหนี้สินในครัวเรือน 3. ร้อยละ70 ของครัวเรือน ของแต่ละกลุ่มอาชีพได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ 4. ร้อยละ100 ของครัวเรือน ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนและเป็นสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ 5. ร้อยละ 80 ของครัวเรือนปลูกพืชสวนครัว สมุนไพร บริเวณบ้านและริมรั้ว

ประชาชนได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน/เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน70 ครัวเรือน และยังได้ความรู้และนำไปปรับใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์และมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน ได้นำวัสดุที่เหลือใช้ในชุมชมมาเพิ่มคุณค่า ลดต้นทุนการทำปุ๋ยหมัก เกษตรกรกลุ่มปุ๋ยหมักสามารถทำปุ๋ยหมักใช้ในการทำใช้ในสวนยางและแปลงผักได้

3 เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสร้างเกษตรตามเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.เด็กและเยาวชน จำนวน 50 คน เกิดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรปลอดสารพิษควบคู่กับการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.ทุกคนในครัวเรือน ที่เข้าร่วมโครงการ ได้บริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ ร้อยละ 80 3.เกษตรกรสามารถผลิต/ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเกษตรกรรม ร้อยละ50 ของครัวเรือน 4.ครัวเรือนมีรายจ่ายในการซื้อสารเคมีลดลง ร้อยละ 20 5.มีครอบครัวต้นแบบในการปรับเปลี่ยนทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงอย่างน้อย 20 ครัวเรือน

มีครอบครัวต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 30 ครัวเรือน

4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำ เกิดสภาผู้นำที่เข้มแข็งในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.เกิดคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 1 ชุด มีการประชุม อย่างน้อยเดือนละ 1ครั้งจำนวน 10ครั้ง 2.มีสภาชุมชน ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชนและตัวแทนจากกลุ่ม องค์กรต่างๆในชุมชน และเข้าร่วมประชุม อย่างน้อย ร้อยละ 80 ของจำนวนสมาชิกสภาชุมชน 3 กลุ่มสภาผู้นำมีการทบทวน ติดตาม ประเมินผล และร่วมพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ 1ครั้งจำนวน 10ครั้ง 4.ชุมชนมีแผนปฏิบัติการของชุมชน และใช้แผนชุมชน นำมาแก้ปัญหาได้ ตรงกับความต้องการของชุมชนตามแนวคิด สุขภาพดี วิถีพอเพียง 1 แผนงาน

เกิดทีมสภาผู้นำ 1 กลุ่ม มีสมาชิกจำนวน 40 คน มีการประชุมทุกเดือน แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมจำนวน 40 คน มีการทบทวน ติดตาม ประเมินผล และร่วมพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่อง แผนปฏิบัติการของชุมชน และใช้แผนชุมชน นำมาแก้ปัญหาได้ตรงกับความต้องการของชุมชนตามแนวคิด สุขภาพดี วิถีพอเพียง 1 แผนงาน มีครอบครัวต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 30 ครัวเรือน

5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
  • เข้าร่วมประชุมกับพี่เลี้ยง และ สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง ร้อยละ 100
  • มีป้ายปลอดบุหรี่จำนวน 1 ป้าย และรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 เล่ม พร้อมรูปภาพ
  • สามารถส่งรายงานให้ สสส.ได้ทันในเวลา และได้ประชาสัมพันธ์งดสูบบุหรี่ในชุมชน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง (2) เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มอาชีพได้รับการพัฒนาตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถลดรายจ่ายภายในครัวเรือน (3) เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการสร้างเกษตรตามเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำ เกิดสภาผู้นำที่เข้มแข็งในชุมชน (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh