แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ กล้วยเภาร่วมใจจัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ

ชุมชน ชุมชนกล้วยเภา ม.5 ต.ดอนประดู่ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

รหัสโครงการ 58-04009 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2173

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภายใต้ปี 2558 ครั้งที่1

วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนสร้างความเข้าใจในการดำเนินการให้กับผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการได้เรียนรู้การจัดทำโครงการ เรื่อง การลงข้อมูลในเวบไซต์ ต้องมีข้อมูลตรงกับเอกสารโครงการ และได้กรอกข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง ได้ฝึกการจัดทำรายงานกิจกรรม เข้าใจการเคลียร์เอกสารการเงินให้ถูกต้อง และลงปฏิทินกิจกรรมเสร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมปฐมนิเทศโครงการ ในวันที่ 29 - 30 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง ชี้แจงการจัดทำโครงการ เรื่อง การบริหารโครงการ จัดทำบัญชีการเงิน การรายงานโครงการ และการลงปฏิทินกิจกรรมในโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดประชุมปฐมนิเทศโครงการ ในวันที่ 29 - 30 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง ชี้แจงการจัดทำโครงการ เรื่อง การบริหารโครงการ จัดทำบัญชีการเงิน การรายงานโครงการ และการลงปฏิทินกิจกรรมในโครงการ

 

3 3

2. ประชุมตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้าน

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาแกนนำร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ได้คณะทำงาน จำนวน 20 คน ซึ่งมีความเข้าใจในการดำเนินงานและแบ่งบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน
2.มีตัวแทนเด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน 15 คนในหมู่บ้าน 3.ทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจกิจกรรมโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากผลการดำเนินการ ทำให้ได้ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 122 คนรับทราบข้อมูลและความเป็นมาของโครงการ นอกจากนั้นยังได้ตัวแทนคณะทำงานในรูปแบบสภาผู้นำชุมชน จำนวน 45 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ชี้แจงและสร้างความเข้าใจโครงการ
  • ประชุมหมู่บ้านเพื่อทำความเข้าใจเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แผนงานกิจกรรม และกระบวนการของโครงการ
  • สรรหาและแต่งตั้งทีมงานเป็นแกนนำของโครงการจากเวทีประชุม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ชี้แจงและสร้างความเข้าใจโครงการ
  2. ประชุมทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ แผนงานกิจกรรม กระบวนการของโครงการ
  3. สรรหาและแต่งตั้งทีมงานเป็นแกนนำของโครงการจากเวทีประชุม

 

120 122

3. จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการและสนับสนุนการทำงานของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ประชาสัมพันธ์และรณรงค์การลด ละ เลิกสูบหรี่ โดยดำเนินการติดป้าย 2 สถานที่ ที่รพ.สต.ดอนประดู่ และศาลาประชาคมหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายปลอดบุหรีในสถานที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้าย และนำมาติดในเวทีจัดกิจกรรม

 

140 140

4. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 1

วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาแกนนำร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีรายงานการประชุมทั้งหมด 12 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ดำเนินการแบ่งหน้าที่การพัฒนาหมู่บ้าน 7 ด้านโดยแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อน ดังนี้

  1. กรรมมาธิการพัฒนาหมู่บ้าน จำนวน 4 คน
  2. กรรมมาธิการบริหารหมู่บ้าน จำนวน 6 คน
  3. กรรมมาธิการพัฒนาสุขภาพจำนวน 4 คน
  4. กรรมมาธิการพัฒนาสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 คน
  5. กรรมมาธิการพัฒนากลุ่มอาชีพ จำนวน 4 คน
  6. กรรมมาธิการพัฒนาเด็กและเยาวชน จำนวน 13 คน
  7. กรรมมาธิการพัฒนาผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส 4 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กำหนดมาตรการที่สำคัญของชุมชน

  • นำไปเสนอที่ประชุมการเรียนรู้ข้อมูลชุมชน

  • กำหนดแผนการเฝ้าระวังในชุมชนในการจัดการขยะของชุมชน

  • จัดทำแผนเพื่อขยายผลเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบล

  • นำเสนอแผนงานเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากท้องถิ่น

  • มีกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการโดยชุมชน มีการประเมินผลระหว่างโครงการ มีการประเมินผลหลังการทำโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุมแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในทีมสภาผู้นำชุมชน 2.กำหนดมาตรการที่สำคัญของหมู่บ้าน

 

45 45

5. ดำเนินการสร้างเครื่องมือในการสำรวจขยะ

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างแบบสอบถามในการสำรวจขยะของครัวเรือนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แบบสำรวจขยะในชุมชนที่ครอบคลุม 1 ชุด -ทีมงานมีความเข้าใจในแบบสำรวจ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปของกิจกรรมมีดังนี้ หลังจากใช้เวลาในการระดมความคิดจากคณะทำงาน ทำให้เกิดความเข้าใจและวัตถุประสงค์ของกิจกรรมโครงการมากขึ้น ซึ่งได้แบบสอบถามโดยมีข้อคำถามดังนี้

แบบสอบถามเรื่อง

ความตระหนักของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยการคัดแยกขยะครัวเรือน

คำชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม

แบบสอบถามมีทั้งหมด 4 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 ความรู้ความเข้าใจความตระหนักของประชาชนในการจัดการมูลฝอยชุมชน โดยการคัดแยกขยะครัวเรือน

ตอนที่ 3 ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือนที่ต้องกำจัด ต่อ 1 วัน

ตอนที่ 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันสร้างแบบสำรวจขยะในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ โดยประสานเชิญคณะทำงานจำนวน 35 คนเข้าร่วมประชุมโดยประกอบด้วย

  • กลุ่มเยาวชน

  • คณะกรรมการหมู่บ้านและ อสม.โดยกิจกรรมหลักๆเป็นการร่วมรับฟังแนวคิดจากที่ประชุมจากนั้นร่วมกันคิดแบบสอบถามและข้อเสนอแนะ หลังจากนั้นสรุปผลให้ที่ประชุมรับทราบและนัดเก็บข้อมูลในวันต่อไป

 

35 35

6. ดำเนินการสำรวจขยะครัวเรือน

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจข้อมูลขยะในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-มีข้อมูลสำรวจครัวเรือน จำนวน 3 ครั้ง -ทุกครัวเรือนได้รับการสำรวจข้อมูล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการดำเนินเก็บข้อมูลโดยแบ่งพื้นที่ 15 เขตตามพื้นที่รับผิดชอบของ อสม. เก็บข้อมูลได้ทั้งหมด 140 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ดำเนินการสำรวจข้อมูลจากข้อมูลที่สร้างขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

ขั้นตอนในการดำเนินงาน

  • โดยมีการเชิญคณะทำงานประชุมพูดคุย

  • แบ่งเขตและพื้นที่ความรับผิดชอบ เพื่อให้งานเสร็จอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ โดยแบ่งพื้นที่ตามเขตของ อสม. ให้เยาวชนติดตาม อสม.ไปเก็บข้อมูล โดยแบ่งเป็น 15 เขต

 

35 35

7. วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจจากเครื่องมือที่สร้างขึ้น

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจจากเครื่องมือที่สร้างขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีข้อมูลวิเคราะห์ครัวเรือน จำนวน 3 ครั้ง -มีรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมข้อสรุป

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการเก็บข้อมูล นำข้อมูลมาร่วมกันวิเคราะห์ พบว่า ครัวเรือนส่วนมากยังขาดการคัดแยกขยะ และ ขยะที่ใช้ประโยชน์ได้ไม่มีกระบวนการใดๆ ในการจัดการ ทางคณะทำงานจึงร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน และประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการให้มากยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมคณะทำงานร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับผู้สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เชิญตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมประชุม หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบ
  • จากตาราง พบว่า
  1. ประชากรหมู่ 5 ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน ที่ได้ทำการตอบแบบสอบถามเรื่องความตระหนักของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน แบ่งเป็นเพศชาย29 คน คิดเป็นร้อยละ 22.3 เป็นเพศหญิง 101 คน คิดเป็นร้อยละ 77.7
  2. ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือนที่ต้องกำจัดต่อ 1 วัน จากตาราง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีการกำจัดขยะอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 90.8 โดยกำจัดเศษอาหาร เศษผักผลไม้ จำนวน 0.5 - 5ก.ก/วัน คิดเป็นร้อยละ 89.2 จำนวน6 - 10ก.ก/วัน คิดเป็นร้อยละ 1.5 และไม่มีการกำจัดขยะอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 9.2
  3. ประชาชนส่วนใหญ่มีการกำจัดขยะรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 90.8 โดยมีกำจัดพลาสติก จำนวน1-10ชิ้นคิดเป็นร้อยละ 79.2 จำนวนขวดแก้วจำนวน1-10ชิ้นคิดเป็นร้อยละ 50.0 กระดาษ จำนวน1-10 ชิ้นคิดเป็นร้อยละ 36.2 อะลูมิเนียม จำนวน1-10ชิ้นคิดเป็นร้อยละ 10.8 เหล็ก ทองแดง สังกะสี จำนวน1-10ชิ้นคิดเป็นร้อยละ 8.5 ขวดน้ำ จำนวน1-10ชิ้นคิดเป็นร้อยละ 70.0
  4. ข้อเสนอแนะ
  • ควรเก็บขยะมาทำเป็นปุ่ยหมัก

  • ควรมีรถเก็บขยะและให้ทุกคนช่วยกันรณรงค์ขยะและให้มีถังขยะหน้าบ้าน

  • ควรมีรถเก็บขยะ และให้มาเก็บทุกวัน

  • รณรงค์ให้แยกขยะก่อนทั้งแล้วนำไปขาย

  • จัดหากระสอบมาใส่ขยะในครัวเรือน

 

35 35

8. จัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน ครั้งที่ 1

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชน ครั้งที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีรายงานการประชุมพร้อมแนวทางการดำเนินงาน –มีแผนการดำเนินกิจกรรม มีเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล -มีครัวเรือนเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่องไม่น้อยกว่า 70 ครัวเรือน -ตัวแทนครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจหลักในการจัดการขยะ -มีจุดปลอดขยะของชุมชน -มีจุดเรียนรู้เรื่องขยะ 1 จุด -มีจุดรับซื้อขยะในหมู่บ้าน 1 จุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการคืนข้อมูลให้กับชุมชนในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนทราบถึงกิจกรรมของโครงการ ทราบถึงข้อมูลขยะในชุมชนในภาพรวม มีความตื่นตัวในการเข้าร่วมกิจกรรม และการจัดการขยะในครัวเรือนมากขึ้น มีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 70 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน เพื่อประเมินสถานการณ์ขยะ ว่าลดลงหรือไม่ ตั้งแต่ก่อนเริ่มดำเนินการ และระหว่างดำเนินการ
  • รับสมัครครัวเรือนนำร่อง จำนวน 70 ครัว
  • กำหนดกฏเกณฑ์ของครัวนำร่อง กำหนดจุดปลอดขยะในชุมชน กำหนดจุดเรียนรู้เรื่องขยะของชุมชน กำหนดจุดรับซื้อขยะในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เชิญตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมประชุม หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบ โดยนำเสนอข้อมูลจากเวทีวิเคราะห์ข้อมูลครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 เก็บข้อมูลได้ทั้งสิ้น 140 ครัวเรือน

 

100 82

9. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำครั้งที่ 2

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาแกนนำร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีรายงานการประชุมทั้งหมด 12 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เชิญสมาชิกสภาผู้นำชุมชน จำนวน 45 คน ประกอบด้วย

คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มเยาวชน และ อสม. ประธานกลุ่มต่าง ประชุมแบ่งหน้าที่โดยสรุปแบ่งการพัฒนาหมู่บ้าน ทั้งหมด 7 ด้าน

1.ด้านพัฒนาสุขภาพ คณะทำงานประกอบด้วย

นางขจิตเปลี่ยวพยัค ประธานกรรมมาธิการพัฒนาสุขภาพ

กรรมมาธิการพัฒนาสุขภาพประกอบด้วย

  1. นางแสงอุไร ชูเย็น
  2. นางสุนีภัทรารุ่งโรจน์
  3. นางกรรยาบัวศรี

2.ด้านพัฒนาอาชีพ

นายประสิทธิ์แมวขาว ประธานกรรมมาธิการพัฒนาอาชีพ

กรรมมาธิการพัฒนาอาชีพประกอบด้วย

  1. นางสาวสุคนธ์ อำพะสุโร

  2. นางจำเนียร มากมณี

  3. นางสมพร เสนกลับ

3.ด้านพัฒนาผู้สูงอายุ

นางส้มเช้าแซ่โค้ว ประธานกรรมมาธิการพัฒนาผู้สูงอายุและผู้พิการ

กรรมมาธิการพัฒนาผู้สูงอายุและผู้พิการ ประกอบด้วย

1.นายสง ครูอ้น

2.นายถาวรเสนกลับ

3.นางประคอง อำพะสุโร

4.ด้านบริหารหมู่บ้าน

นายพนมอินทร์ศรี ประธานกรรมมาธิการบริหารหมู่บ้าน

กรรมมาธิการบริหารหมู่บ้านประกอบด้วย

1.นายบุญโชติวรรณณะ

2.นางภัคดี ไชยคีรี

3.นางสุทธิมาอินทร์ศรี

4.นายจำรูญคงทรัพย์

5.นางชะอุ้ม ยานะวิมุติ

5.ด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน

นางวรินทร์ เส้งเงิน ประธานกรรมมาธิการพัฒนาเด็กและเยาวชน

กรรมมาธิการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย

  1. ด.ญ. ชนธิชา ทองศรี

  2. ด.ญ. อชิรญา บัวแก้ว

  3. ด.ญ. สโรชาหนูชู

  4. นาย พงศภักสุขแสวง

  5. ด.ช. เหมภัทร สุขมาก

  6. ด.ญ. ธรรณพร อักษรภักดี

  7. ด.ช. นครินทร์ เกวะระ

  8. ด.ช. ศีรประเสริฐ ชูเย็น

  9. ด.ญ. พรทิพย์ขลุกเอียด

  10. ด.ช. ประดิพันธ์ อินทร์ศรี

  11. ด.ญ. ชัชดาพร ขลุกเอียด

  12. ด.ช. ธรรรดนัยรักเงิน

ุ6.ด้านพัฒนาหมู่บ้าน

นายวิโรจน์ยานะวิมุติ ประธานกรรมมาธิการพัฒนาหมู่บ้าน

กรรมมาธิการพัฒนาหมู่บ้าน ประกอบด้วย
1. นายจิตนพงษ์ มากมณี

  1. นายอภิชัย แมวขาว

3.นายภิญโญ อ่ำปลอด

7.พัฒนาสิ่งแวดล้อม

นายสมคิดทองศรี ประธานกรรมมาธิการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

กรรมมาธิการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1.นายรุ่ง เช้าจันทร์

2.นายเดชนะมากแก้ว

3.นางหฤทัย มากมณี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กำหนดมาตรการที่สำคัญของชุมชน

  • นำไปเสนอที่ประชุมการเรียนรู้ข้อมูลชุมชน

  • กำหนดแผนการเฝ้าระวังในชุมชนในการจัดการขยะของชุมชน

  • จัดทำแผนเพื่อขยายผลเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบล

  • นำเสนอแผนงานเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากท้องถิ่น

  • มีกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการโดยชุมชน มีการประเมินผลระหว่างโครงการ มีการประเมินผลหลังการทำโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

เชิญสมาชิกสภาผู้นำชุมชน จำนวน 45 คน ประกอบด้วย

คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มเยาวชน และ อสม. ประธานกลุ่มต่าง

ประชุมแบ่งหน้าที่โดยสรุปแบ่งการพัฒนาหมู่บ้าน ทั้งหมด 7 ด้าน

  1. ด้านพัฒนาสุขภาพ

  2. ด้านบริหารหมู่บ้าน

  3. ด้านพัฒนาหมู่บ้าน

  4. ด้านพัฒนาสิ่งแวดล้อม

  5. ด้านพัฒนาผู้สูงอายุและผู้พิการ

  6. ด้านพัฒนาอาชีพ

  7. ด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน

    นอกจากนั้นมีการแบ่งบทบาทกันรับผิดชอบงานเป็นฝ่ายๆ

 

45 45

10. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการและสนับสนุนการทำงานของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการเข้าร่วมประชุม

  1. คณะทำงานมีความรู้ในการรายงานกิจกรรมเพิ่มขึ้นและเข้าใจในทิศทางเดียวกัน

  2. คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดทำหลักฐานการเงินได้ถูกต้อง

3.ฝ่ายการเงินของโครงการจัดทำหลักฐานการเงินได้ถูกต้องครบถ้วน

4.การรายงานกิจกรรมได้ทันเวลาและถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

ขั้นตอนการประชุมดังนี้

07.30 น.-09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 น. - 12.00 น. อธิบายเกี่ยวกับการรายงานกิจกรรมหน้าเว็บไซต์

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหาร

13.00 น.- 16.30 น. ตรวจเอกสารการเงิน

 

3 3

11. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนเรื่องการจัดการขยะในชุมชน

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:00-16.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนเรื่องการจัดการขยะในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีเวทีแลกเปลี่ยนนอกพื้นที่และในพื้นที่1 ครั้ง -คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะ -คณะทำงานสามารถถ่ายทอดความรู้จากการศึกษาดูงานสู่ครัวเรือนในพื้นที่ได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิตจากการศึกษาดูงาน

  1. มีครัวเรือนต้นแบบในการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 70 ครัวเรือน
  2. เกิดองค์ความรู้เรื่องการจัดการขยะ
  3. เกิดการขยายผลในชุมชนโดยมีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมธนาคารขยะจำนวน 70 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนที่ตำบลควนโดน อ. ควนโดนจ.สตูล วางแผนก่อนไปศึกษาดูงาน คัดเลือกตัวแทน มอบหมายเรื่องที่จะไปดูงานให้ตัวแทน หลังการศึกษาดูงาน นำมาสรุป ปรับใช้ในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมดังนี้

07.30-08.00 น.พร้อมกันบริเวณหน้าศาลาเอนกประสงค์บ้านกล้วยเภา

08.00-09.30 น.เดินทางจากบ้านกล้วยเภา อำเภอปากพะยูนถึงสถานที่ดูงาน อ.ควนโดน จ.สตูล

09.30 -12.00 น.ศึกษาดูงานตามฐานต่างๆที่วิทยากรเตรียมไว้

12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00น.-15.00 น.ศึกษาดูงานร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับพื้นที่เพื่อนำปรับมาใช้ในพื้นที่

15.00-16.30 น. เดินทางกลับถึงภูมิลำเนาอย่างสวัสดิภาพ

 

45 40

12. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชนครั้งที่3

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนเรื่องการจัดการขยะในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีรายงานการประชุมทั้งหมด 12 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิตจากกิจกรรม

  • สมาชิกสภาผู้นำพร้อมใจกันเข้าร่วมประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน จำนวน 45 คนได้ประชุมและวางแผนการทำงานร่วมกัน

ผลลัพธ์

  1. ที่ประชุมมีมติจัดกิจกรรมอบรมครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะใน วันที่ 20 ธันวาคม 2558 กลุ่มเป้าหมาย 70 คน

  2. ที่ประชุมเสนอแนวทางการจัดตั้งธนาคารให้เต็มรูปแบบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กำหนดมาตรการที่สำคัญของชุมชน

  • นำไปเสนอที่ประชุมการเรียนรู้ข้อมูลชุมชน

  • กำหนดแผนการเฝ้าระวังในชุมชนในการจัดการขยะของชุมชน

  • จัดทำแผนเพื่อขยายผลเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบล

  • นำเสนอแผนงานเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากท้องถิ่น

  • มีกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการโดยชุมชน มีการประเมินผลระหว่างโครงการ มีการประเมินผลหลังการทำโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

13.00-13.30 น. ลงทะเบียน

13.30 น.-16.30 น. ประชุมวางแผนเรื่องการจัดกิจกรรมอบรมครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ และวาระอื่น ๆ ของหมู่บ้าน

 

45 35

13. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 4

วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 13:00-16.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการและสนับสนุนการทำงานของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีรายงานการประชุมทั้งหมด 12 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีครัวเรือนต้นแบบในการเข้าร่วมกิจกรรมธนาคารขยะ 70 ครัวเรือน

ผลลัพธ์

  1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนเข้าใจในกระบวนการทำงาน มีการเสนอแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านด้านต่างๆ
  2. คณะกรรมการมีศักยภาพในความรู้ในการจัดการขยะในครัวเรือน
  3. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกันและเกิดพลังในการขับเคลื่อนงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กำหนดมาตรการที่สำคัญของชุมชน

  • นำไปเสนอที่ประชุมการเรียนรู้ข้อมูลชุมชน

  • กำหนดแผนการเฝ้าระวังในชุมชนในการจัดการขยะของชุมชน

  • จัดทำแผนเพื่อขยายผลเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบล

  • นำเสนอแผนงานเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากท้องถิ่น

  • มีกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการโดยชุมชน มีการประเมินผลระหว่างโครงการ มีการประเมินผลหลังการทำโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 13.00 น. เริ่มประชุม

เวลา 13.05 น. ประธานในที่ประชุม นายประสิทธิ์ แมวขาวเปิดประชุมและแจ้งในที่ประชุมทราบดังวาระการประชุมดังนี้

วาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

  • การประชุมแต่ละครั้งขอความร่วมมือสมาชิกเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน

  • การประชุมแต่ละครั้งให้สมาชิกแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

วาระที่ 2เรื่องรับรองการประชุม

มติในที่ประชุมรับรองการประชุม

วาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง

  • กิจกรรมศึกษาดูงาน ขอความร่วมมือทุกท่านช่วยสรุปประเด็นสำคัญในการศึกษาดูงานเพื่อนำเสนอในที่ประชุมเพื่อเป้นแนวทางในการปรับใช้ข้อมูล

  • วาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา

  • การเปิดรับสมัครครัวเรือนต้นแบบเข้าร่วมโครงการจัดการขยะ

  • การอบรมครัวเรือนต้นแบบเข้าร่วมโครงการขยะสู่ระบบธนาคารขยะ

วาระที่ 5 เรื่องจากคณะทำงานฝ่ายต่างๆ

-ฝ่ายบริหารหมู่บ้าน (นายพนม อินทร์ศรี)

-ฝ่ายพัฒนาหมู่บ้าน (นายวิโรจน์ ยานะวิมุติ)

-ฝ่ายพัฒนาสุขภาพ (นางขจิต เปลี่ยวพยัค)

-ฝ่ายพัฒนาเด็กและเยาวชนและผู้ด้วยโอกาส (นางวริทร์ เส้งเงิน)

-ฝ่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อม (นายสมคิด ทองศรี)

-ฝ่ายพัฒนาผู้สูงอายุ (นางส้มเช้า แซ่โค้ว)

 

45 35

14. อบรมให้ความรู้และจัดตั้งธนาคารขยะ

วันที่ 13 มกราคม 2559 เวลา 08:30-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-มีการจัดตั้งและมีกิจกรรมต่อเนื่องของธนาคารขยะ -ตัวแทนครัวเรือนมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอน ของธนาคารขยะ -มีคณะกรรมการพร้อมแบ่งหน้าที่ให้กับคณะกรรมการธนาคารขยะ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  • มีครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกจำนวน 70 ครัวเรือน
  • ครัวเรือนที่เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการของธนาคาร
  • มีคณะกรรมการบริหารธนาคารขยะ 1 ชุด ซึ่งมาจากคณะกรรมฝ่ายกรรมาธิการพัฒนาสิ่งล้อมของสภาผู้นำ มีสมาชิกจำนวน 7 คน
  • สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อบรมให้ความรู้ตัวแทนครัวเรือนเกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอน ของธนาคารขยะ

  • แต่งตั้งคณะกรรมการพร้อมแบ่งหน้าที่ให้กับคณะกรรมการธนาคารขยะ

  • กำหนดวันในการรับฝากขยะ

กิจกรรมที่ทำจริง

08.30 - 09.00 น.ลงทะเบียน

09.00-10.30 บรรยายเรื่อง กระบวนการและขั้นตอนการฝากขายขยะ

10.30 -11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

11.00 - 12.00 น. บรรยายเรื่อง การคัดแยกขยะในครัวเรือน

12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 - 14.30 น. อบรมเรื่องแนวทางการรับฝากขยะสู่ธนาคารขยะ

14.30 - 15.00 น.พักรับประทานอาหารว่าง

15.00- 16.00 น. ประชุมคัดเลือกคณะทำงานบริหารธนาคารขยะ

 

70 70

15. รณรงค์ประชาสัมพันธ์การจัดการขยะในหมู่บ้าน ครั้งที่ 1

วันที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 13:00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้กลุ่มเยาวชนมีกิจกรรมโดยเก็บกวาดขยะในชุมชนที่มีให้เกิดความสะอาดไม่มีขยะตามที่สาธารณะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชนและภาพถ่าย

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจัดเก็บขยะและรณรงค์ จำนวน 100 คน

ผลลัพธ์

1.จากการแห่ขบวนกลองยาว ทำให้คนที่อยู่ตามบ้านให้ความสนใจและเข้ามาร่วมกิจกรรม รวมทั้งผูปกครองที่เห็นลูกหลานมาร่วมกิจกรรมก้ให้ความสนใจและเข้ามาร่วมเก็บขยะด้วยกัน ทำให้พื้นที่ในหมู่บ้านที่มีการจัดเก็บขยะร่วมกันตามสถานที่สาธารณะและคูถนนปลอดขยะ เกิดการกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้คนหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาดบนท้องถนนตามที่สาธารณะ เพื่อเป็นหน้าตาแก่หมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เก็บกวาดขยะในชุมชนให้เป็นชุมชนที่มีความสะอาดไม่มีขยะตามที่สาธารณะ

  • รณรงค์การใช้ตะกร้าไปจ่ายตลาด

  • รณรงค์การคัดแยกขยะ

  • ร่วมปลูกต้นไม้กินได้ในที่สาธารณะเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ฯลฯ

  • ใช้สื่อทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้านประชาสัมพันธ์

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 13.00 น.แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ เป็น 4 เขตพื้นที่และร่วมกันเก็บขยะตามเขตที่ตัวเองรับผิดชอบ มีขบวนการแห่กลองยาวเพื่อสร้างกระแสและปลุกคนในชุมชนที่อยู่ตามบ้านให้เข้ามาร่วมกิจกรรมเก็บขยะด้วยกัน ในขบวนกลองยาวมีการร้องเพลงทีเน้นเนื้อหาการรักษาความสะอาดในหมู่บ้าน และเยาวชน ทีม อสม.แกนนำชุมชนรวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่มาร่วมกันเก็บขยะตามที่สาธารณะ

 

100 70

16. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชนครั้งที่ 5

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00-15.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาผู้นำชุมชนบ้านกล้วยเภา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีรายงานการประชุมทั้งหมด 12 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. สมาชิกสภาเข้าร่วมประชุมและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน
  2. มีสถานที่รับซื้อขยะ 1 แห่ง

ผลลัพธ์

  1. มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะจำนวน 70 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. กำหนดมาตรการที่สำคัญของชุมชน
  2. นำไปเสนอที่ประชุมการเรียนรู้ข้อมูลชุมชน
  3. กำหนดแผนการเฝ้าระวังในชุมชนในการจัดการขยะของชุมชน
  4. จัดทำแผนเพื่อขยายผลเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบล
  5. นำเสนอแผนงานเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากท้องถิ่น
  6. มีกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการโดยชุมชน มีการประเมินผลระหว่างโครงการ มีการประเมินผลหลังการทำโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

13.00 น.เริ่มประชุมโดยประธานสภาผู้นำชุมชนบ้านกล้วยเภาเปิดประชุมตามวาระการประชุมดังนี้

วาระที่ 1.เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

1.1 การประชุมในแต่ละครั้งขอความร่วมมือสมาชิกเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน

1.2 การประชุมแต่ละครั้งให้สมาชิกแต่งกายสุภาพ
วาระที่ 2.เรื่องรับรองการประชุม

  • รับรองการประชุม

วาระที่3 เรื่องสืบเนื่อง

  • การเปิดรับสมัครครัวเรือนต้นแบบเข้าร่วมโครงการจัดการขยะ แจ้งความคืบหน้า

วาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา

  1. การจัดทำสถานที่รับซื้อขยะ (งบประมาณ 3,500 บาท)

  2. การศึกษาดูงานของกลุ่มเด็กเยาวชนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559

  3. การจัดเก็บข้อมูลเรื่องขยะโดยกลุ่มเยาวชน

วาระที่ 5 เรื่องจากคณะทำงานฝ่ายต่างๆ

  1. ฝ่ายบริหารหมู่บ้าน (นายพนมอินทร์ศรี)

  2. ฝ่ายพัฒนาหมู่บ้าน (นายวิโรจน์ ยานะวิมุติ)

  3. ฝ่ายพัฒนาสุขภาพ (นางขจิตเปลี่ยวพยัค)

  4. ฝ่ายเด็กเยาวชนและผู้ด้อยโอกาส (นางวรินทร์ เส้งเงิน)

  5. ฝ่ายกลุ่มอาชีพ (นายประสิทธิ์แมวขาว)

  6. ฝ่ายสิ่งแวดล้อม (นายสมคิดทองศรี)

  7. ฝ่ายผู้สูงอายุ (นางส้มเช้า แซ่โค้ว)

 

45 45

17. ประชุมติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยงและทีมสจรส.

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานด้านการเขียนรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. คณะทำงานมีความเข้าใจในการดำเนินงานและการจัดทำเอกสารการเงิน

ผลลัพธ์

  1. เอกสารหลักฐานการเงินได้รับการตรวจสอบ มีความถูกต้อง ครบถ้วน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการจัดทำรายงานความก้าวหน้า และแลกเปลี่ยนการดำเนินงานร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00 น.- 12.00 น.ร่วมประชุมกับครูพี่เลี้ยงและทีม สจรส.

12.00 น.- 13.00 น.พักรับประทานอาหาร

13.00 น. - 16.30 น.นำเสนอผลการดำเนินงานและรับการตรวจเอกสารการเงิน

 

3 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 43 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 159,446.00 65,102.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68 62                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ผู้เข้าร่วมประชุมไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดเป้าหมายไว้

มีการประชุมซ้ำซ้อน หลายที่ในเวลาเดียวกัน

แจ้งผลการประชุมให้กับกลุ่มเป้าหมายรับทรายภายหลังเป็นรายบุคล

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการจัดการขยะ ( 5 มี.ค. 2559 )
  2. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชนครั้งที่6 ( 7 มี.ค. 2559 )
  3. ดำเนินการสำรวจข้อมูลขยะในชุมชน ( 9 มี.ค. 2559 )
  4. วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจจากเครื่องมือที่สร้างขึ้น ( 16 มี.ค. 2559 )
  5. จัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน ครั้งที่ 2 ( 18 มี.ค. 2559 )
  6. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน ครั้งที่ 2 ( 5 เม.ย. 2559 )
  7. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 7 ( 7 เม.ย. 2559 )
  8. จัดประชุมเพื่อประกวดครัวเรือนต้นแบบ ( 20 เม.ย. 2559 )
  9. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่8 ( 7 พ.ค. 2559 )
  10. ลงพื้นที่ประเมินครัวเรือนต้นแบบโดยคณะกรรมการ ( 11 พ.ค. 2559 )
  11. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 9 ( 7 มิ.ย. 2559 )
  12. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชนครั้งที่ 3 ( 5 ก.ค. 2559 )
  13. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่10 ( 7 ก.ค. 2559 )
  14. จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางมาตรการในการลดการนำเข้าขยะในชุชนและร้านค้า ( 12 ก.ค. 2559 )
  15. ประชุมขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 11 ( 7 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย สมคิด ทองศรี
ผู้รับผิดชอบโครงการ