แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โคกทรายเกษตรอินทรีย์สร้างสุข

ชุมชน ชุมชนโคกทราย หมู่ 5 ต.ดอนทราย อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

รหัสโครงการ 58-03999 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2175

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

วันที่ 16 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อถอนเงินค่าเปิดบัญชีโครงการกลับคืน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดรายงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เข้าใจระบบการจัดการโครงการ การทำบัญชีว่าต้องถอนเงินคืนออกมา ทำให้บัญชีมีความตรงมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ถอนเงินค่าเปิดบัญชีจากโครงการคืนกลับ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ถอนเงินปเิดบัญชีในช่วงแรกที่ทำสัญญาโครงการและส่งหน้าบัญชีให้ สสส. จำนวนเงินที่ถอน 500 บาท

 

2 2

2. ประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ ปี 2558

วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน ในเรื่องต่อไปนี้1. เพื่อจัดระบบข้อมูลของโครงการให้สมบูรณ์ 2. เพื่อสร้างความเข้าใจในการปฎิบัติงานจริง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดรายงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความสามารถ ในประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ ได้อย่างถูกต้อง
- การบันทึกข้อมูลตามแผนการดำเนินงาน
- การจัดทำรายงานทางการเงิน
- การรายงานผลการดำเนินงาน
- ความก้าวหน้าการจัดทำแผนโครงการ สสส.
- การจัดทำปกิทินการทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.วิทยากรสอนบรรยาย เรื่องหลักการบริหารจัดการโครงการ โดยทีมพี่เลี้ยง และทีม สจรส.ม.อ.
2. ลงมือปฏิบัติจริงกับระบบ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการในวันที่ 29 - 30 กันยายน 2558 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง โดยมีกำหนดการ คือ ทีม สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยง อธิบายให้ความรู้เรื่องหลักการบริหารจัดการโครงการ การจัดทำเอกสารการเงิน การวางแผนทำกิจกรรม การฝึกบันทึกข้อมูลในเวบไซต์

 

2 2

3. จ้างทำป้ายไวนิล

วันที่ 2 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อใช้เป็นสื่อ ประชาสัมพันธ์ เขตปลอดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ในสถานที่จัดกิจกรรม เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าทางคณะกรรมการได้้ทำป้ายโครงการจริงตามข้อตกลงในสัญญา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีป้ายประชาสัมพันธ์จำนวน 1 จุด ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม ประชาชนทั่วไปสามารถดูได้ชัดเจน ว่าเป็นสถานที่เขตปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • การจัดจ้างทำป้าย เขตปลอดบุหรี ติดตั้ง และประชาสัมพันธ์ สถานที่เขตปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์

 

150 150

4. ประชุมชาวบ้านเปิดเวทีโครงการ

วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชน และคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน  ได้รับทราบวัตถุประสงค์ ความเป็นมาของโครงการ  และแนวทางการดำเนินงานตามโครงการต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ประชาชนรับรู้และสมัครเข้าร่วมโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีคณะกรรมการ และประชาชนในชุมชนเข้าร่วมเวที ประชุมชี้แจงและสร้างความเข้าใจโครงการจำนวน 100 คน
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้และมีความเข้าใจต่อโครงการ ทราบกระบวนการทำกิจกรรมและสนใจเข้าร่วมโครงการ
  3. มีสมัครผู้เข้าร่วมโครงการทำนาอินทรีย์จำนวน 20 คน และเกิดกลุ่มเด็กและเยาวชน จำนวน 20 คน เข้าร่วมทำกิจกรรมในโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมชาวบ้านเพื่อเปิดโครงการ ทำความเข้าใจเป้าหมาย วัตถุประสงค์ แผนงานกิจกรรม กระบวนการ ของโครงการ
  • รับสมัครเข้าร่วมโครงการทำนาอินทรีย์อย่างน้อย 20 คน
  • รับสมัครเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 20 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เวทีชี้แจงและสร้างความเข้าใจโครงการแก่คณะกรรมการ และประชาชนในชุมชน
  2. ร่วมชี้แจง เรื่องที่ชี้แจงความเป็นมาของโครงการและสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มสมาชิกให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ มีการทำความเข้าใจโดยพี่เลี้ยงโครงการเป็นผู้อธิบายโดยสรุปอีกครั้ง
  3. กำหนดขั้นตอน แนวทาง การดำเนินโครงการ ต่อไป

 

102 100

5. ประชุมสภาผู้นำของโครงการ ครั้ง 1

วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายต่างๆ เพื่อจัดเตรียมวางแผนการดำเนินงานโครงการตามกิจกรรมต่างๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

กรรมการเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการเตรียมการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน รวมทั้งการเตรียมการวางแผนในการรับสมัครสมาชิกโครงการตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
1.ได้วางแผนเรื่องการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน คณะทำงานได้แบ่งแยกให้แต่ละคนรับผิดชอบกี่ครัวเรือน
2.คณะทำงานแยกโซนและจับกลุ่มกันเพื่อเตรียมลงชุมชน
3.คณะทำงานได้รับสมัครสมาชิกเกษตรอินทรีย์เพิ่มเติม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน สำหรับการออกแบบแบบสอบถามเรื่องการใช้สารเคมี และเตรียมการรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน สำหรับการออกแบบแบบสอบถามเรื่องการใช้สารเคมี และเตรียมการรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการต่อไป

 

48 48

6. ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลการทำเกษตรของชาวบ้าน

วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลพื้นฐานเกษตรกร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล และเข้าใจการใช้เครื่องมือ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กลุ่มเป้าหมาย 48 คน เข้าประชุมทั้งหมด 52 คน มีอาสา ขอเข้าร่วม 2 คน ทุกคนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเก็บข้อมูลกันโดยแบ่งออกเป็น 4 โซนในการเดินเก็บข้อมูล 280 ครัวเรือน โดยแต่ละโซนวางแผนจะไปเก็บข้อมูลคนละ 2 วัน เมื่อทุกคนเข้าใจแบบสอบถามทุกข้อ ทุกรายละเอียด จึงปิดการประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบเครื่องมือชนิดและปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช กำจัดแมลงและศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยเคมี
  • สร้างและทำความเข้าใจในการใช้เครื่องมือ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • วิทยากรดำเนินการให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจแบบสอบถามทุกข้อ โดยให้มีข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนในกลุ่ม ซักถามสร้างความเข้าใจร่วมกัน และพร้อมเก็บข้อมูล สมาชิกบางคนขอให้ลดจำนวนข้อของแบบสอบถามลงเพราะว่ามากเกินไป แต่บางคนยังคงต้องการจำนวนข้อสอบถามเท่าเดิม เพราะคิดว่าข้อมูลเพียงพอ ในขณะประชุมประธานสรุปให้เอาแบบสอบถามเหมือนเดิมถึงแม้ข้อคำถามจะมากแต่ข้อมูลเพียงพอ แบบสอบถามได้ ข้อมูลในการสอบถามเรื่อง ปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช กำจัดแมลงและศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยเคมี ของแต่ละครัวเรือน

 

48 52

7. สำรวจข้อมูลการทำเกษตรของชาวบ้าน

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพือให้สมาชิกได้รู้วิธีการเก็บข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ชุดข้อมูลการทำเกษตร จำนวน 1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สมาชิกและเด็กนักเรียนในโรงเรียนได้รู้วิํธีการเก็บข้อมูล สามารถเก็บข้อมูลได้ถูกต้องทั้ง 280 ชุด และเอาข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ได้ ซึ่งในกิจกรรมนี้สามารถสรุปข้อมูลการทำเกษตรของชุมชนได้ตามที่ต้องการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการทำเกษตรของชาวบ้านครั้งที่ 1 จำนวน 280 ครัวเรือน โดยแบ่งการสำรวจเป็นกลุ่ม จำนวน 10 กลุ่ม ๆ ละ 2 คน ประกอบด้วย อสม.และเด็กเยาวชน รวมทั้งหมด 20 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แจกแบบสอบถามจำนวน 280 ชุด เฉลียคนละ 13 ชุด โดยได้ชี้แจงแบบสอบถามทั้งหมด 28 ข้อ
  • วิทยากรได้สอนวิธีการเก็บข้อมูลให้แก่สมาชิก ให้สมาชิกได้รู้การเก็บ การบันทึกข้อมูลและสมาชิกสามารถนำข้อมูลที่เก็บมาประมวลและวิเคราะห์ได้ ส่วนเด็กนักเรียนกรรมการได้เข้าไปให้ความรู้ในโรงเรียน เนื่องจากเด็กนักเรียนจะพร้อมมากกว่าที่จะพามาเรียนรู้ที่ศูนย์และไม่กระทบกับตารางเรียนเด็กด้วย
  • ลงพื้นที่เก็บข้อมูลให้แต่ละคนไปสัมภาษณ์ชาวสวนอินทรีย์

 

20 24

8. ประชุมสภาผู้นำของโครงการ ครั้งที่ 2

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อติดตามความต่อเนื่องในการเริ่มทำโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

กรรมการเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้สวนสาธิตจำนวน 6 แปลง และได้แปลงนาอินทรีย์ ที่ใช้สำหรับสาธิต จำนวน 3 แปลง และได้นัดหมายการดำเนินทำกิจกรรมในเดือนถัดไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานทุกเดือนเพื่อ
•สร้างเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติงาน
•เพื่อวางแผนงาน
•เพื่อขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ
•เพื่อติดตามประเมินผล
•เพื่อกำหนดกติการ่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มีการประชุมวางแผนในการเลือกสวนอินทรีย์สาธิต และเริ่มการหาแปลงนาในการเตรียมทำนาอินทรีย์ตัวอย่าง

 

48 48

9. อบรมการเขียนรายงานและจัดการเอกสารการเงิน

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการจัดทำเอกสารการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดรายงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสารการเงินต่างๆและแนวทางการหักภาษีต่างๆ สามารถทำรายงานการเงินได้ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเรื่องการเขียนเอกสารรายงานและการจัดทำเอกสารการเงิน เรื่องหลักฐานการเงิน การหักภาษี และ ได้แลกเปลี่ยนปัญหา

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมอบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน โดยทีม สจรส.ม.อ.ให้ความรู้เรืองการเขียนรายงานให้ถูกต้อง และอธิบายเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย รวมทั้งให้คำแนะนำในการจัดทำเอกสารการเงิน

 

2 2

10. สนับสนุนกิจกรรมเรียนรู้การทำนาอินทรีย์แปลงรวมเพื่อการสาธิต 6 ไร่ และเก็บข้อมูลต้นทุนทุกขั้นตอนโดยการบันทึก เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม 3 ครั้งโดยการสำรวจรวบรวม (ปลูก- ข้าวเป็นสาว-ข้าวสุก) และร่วมกันเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อหนุนเสริมให้คนในชุมชนและเด็กในโรงเรียนทำและใช้เกษตรอินทรีย์
  • เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยน้ำหมักจนสามารถนำไปทำใช้เองได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ข้อมูล ได้เรียนรู้ ได้วิเคราะห์ สรุปผลและรายงานต่อชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้แปลงนาอินทรีย์ จำนวน 6 ไร่ เป็นข้าวสังห์หยด เป็นแปลงทดลองที่ไม่มีการใช้สารเคมี โดยจะใช้ปุ๋ยคอก ไม่ฉีดยาฆ่าหญ้า และใช้พันธุ์ข้าวพื้นบา้น ทำให้สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีกำลังใจในการนำไปบอกกล่าวให้คนในชุมชนหันมาทำนาอินทรีย์มากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สนับสนุนกิจกรรมเรียนรู้การทำนาอินทรีย์แปลงรวมเพื่อการสาธิต 6 ไร่ และเก็บข้อมูลต้นทุนทุกขั้นตอนโดยการบันทึก เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม 3 ครั้ง โดยการสำรวจรวบรวม (ปลูก- ข้าวเป็นสาว-ข้าวสุก) และร่วมกันเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยเกษตรที่ทำนาอินทรีย์และสวนอินทรีย์จำนวน 20 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ได้เตรียมดินจำนวน 6 ไร่ในการไถนาและหลังจากนั้นได้ผสมแกลบดำลงไปเพื่อการเตรียมดินสำหรับการหว่านข้าวและได้มีการปรับสภาพนาและมีการแต่งช่องน้ำเพื่อให้บิ้งนาแห้งพร้อมที่จะหว่าน
  • หลังจากนั้นทุกคนในกลุ่มได้ช่วยกันหว่านข่้าวโดยใช้ข้าว 4 กระสอบเป็นพันธุ์ข้าวสังหยดใช้เวลาในการหว่าน 2 ชั่วโมง
  • ประมาณ 8-9 วันข้าวก็จะงอกออกมาเป็นต้นกล้าแต่เนื่องจากเราไม่ได้ใช้สารเคมีก็จะมีวัชพืชและหญ้างอกขึ้นมาด้วยเราจึงมารวมตัวกันกำจัดวัชพืชโดยการถอน
  • ประมาณ 15 วันจะมีการใส่ขี้วัว ขี้ไก่ น้ำหมัก ลงไปในนาและหลังจากนั้น 2-3 วัน เราก็จะรวมตัวกันเพื่อมาซ่อมข้าวเพราะในนาแปลงหนึ่งข้าวจะงอกบ้างไม่งอกบ้างเราจึงต้องแบ่งข้าวในนาเพื่อมาซ่อมเมื่อเราซ่อมเสร็จแล้วจะมี หอย ปู มากินต้นกล้าที่เราซ่อมไว้เราจึงต้องซ่อมและติดตามดูแลเรื่อยๆ ตลอดถึงการดูแลช่องน้ำเพื่อไม่ให้มีรอยรั่วระหว่างบิ้งนาเพราะถ้าไม่มีน้ำการซ่อมข้าวก็จะทำไม่ได้
  • ประมาณ 5 เดือน ข้าวก็จะเริ่มออกรวง เหลืออร่ามสวยงามพร้อมที่จะตัดผลผลิต
  • ได้เอาข้าวที่เก็บได้มาตากเพื่อกำจัดความชื้น

 

20 20

11. ประชุมสภาผู้นำของโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ประชุมทีมสภาผู้นำและเพื่อวางแผนการไปศึกษาดูงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

กรรมการเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สภาผู้นำชุมชนมีความร่วมมือกันดีในการเข้าประชุม ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความคิดต่อการทำนาอินทรีย์ในแปลงทดลอง และวางแผนกิจกรรมไปศึกษาดูงาน ในเดือน กุมภาพันธ์ 2559 แต่ไม่สามารถกำหนดวันได้ เพราะติดต่อสถานที่ยังไม่ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานทุกเดือนเพื่อ
•สร้างเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติงาน
•เพื่อวางแผนงาน
•เพื่อขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ
•เพื่อติดตามประเมินผล
•เพื่อกำหนดกติการ่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทีมสภาผู้นำนัดประชุมที่ศาลาหมู่บ้าน วางแผนการดำเนินโครงการและวางแผนเรื่องไปดูงานการทำนาอินทรีย์

 

48 48

12. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้คณะกรรมการได้มีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลของหมู่บ้าน สามารถรวบรวมข้อมูลนำมาวิเดราะห์และนำ เสนอให้กับชุมชนได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ชุดข้อมูล จำนวน 1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ข้อมูลแปลงนาอินทรีย์ ข้อมูลการทำสวนอินทรย์ในหมู่บ้าน เป็นข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอรายงานต่อชุมชน และจะใช้การนำเสนอโดยการทำเป็น power point เพื่อให้คนที่มาร่วมประชุมในวันนั้นได้เห็นข้อมูลร่วมกันและสะท้อนข้อมูลร่วมกันได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล และเตรียมข้อมูลนำเสนอต่อชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะกรรมการโครงการนั่งฟังวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่จำเป็นของหมู่บ้าน ข้อมูลประชากร ข้อมูลพฤติกรรมข้อมูลเกี่ยวข้องกับการเกษตรอินทรีย์ ให้ความรู้วิธีการรวบรวม ไม่ว่าจะเป็นวิธีการสัมภาษณ์ หรือใช้แบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลมา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยการจดบันทึก หรือนับ จำนวน หรือใช้โปรแกรมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของคณะกรรมการ เพื่อดูความสามารถของกรรมการแต่ละคน กรรมการแต่ละคนต้องฝึกการอภิปราย แสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลในการทำงาน

 

48 48

13. ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ต่างพื้นที่บ้านพนางตุง ตำบลพนางตุง จังหวัดพัทลุง

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้สมาชิกโครงการได้เรียนรู้การทำนาอินทรีย์ การปลูกผักแบบปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ชาวบ้านโคกทรายมีการทำนาอินทรีย์ในชุมชน มีครู ก ในการช่วยสอนชาวบ้าน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สมาชิกโครงการและผู้เข้าร่วมจำนวน 47 คน ที่ได้ไปร่วมศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ได้ดูการปฏิบัติจริง ทั้งเรื่องขั้นตอนการทำนาอินทรีย์ การเตรียมดิน การเตรียมปุ๋ยหมักชีวภาพที่ผลิตเอง การกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ การปลูกผักปลอดสารพิษ และในระหว่างที่เดินทางกลับ ได้ให้สมาชิกแต่ละคนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ที่ได้ เพื่อนำมาปฏิบัติในพื้นที่ตนเอง และขยายองค์ความรู้สู่ชาวบ้านในพื้นที่ให้เกิดแนวคิดที่จะทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อภาวะสุขภาพที่ดีในโอกาสต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของพนางตุง เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของชุมชนคนโคกทราย
  • เรียนรู้การทำนาอินทรีย์แบบครบวงจรเพื่อนำความรู้ไปทำนาอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เริ่มเดินทางเวลา 08.00 น. สถานที่ไปศึกษาดูงาน คือ บ้านต้นแบบลุงสมบูรณ์ ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โดยมีทีมงานคอยต้อนรับ 5 คน
  • เมื่อไปถึงมีการให้ความรู้ โดย เรื่องพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆที่ปลูกในพื้นที่พัทลุง การเลือกปลูกพันธุ์ที่ตลาดมีความต้องการ ขั้นตอนวิธีการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ การเตรียมดิน การเตรียมปุ๋ยหมักชีวภาพที่ผลิตเอง การกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ
  • คณะดูงานแบ่งกลุ่มไปดูตามจุดต่างๆ ทั้งแปลงนา จุดการทำปุ๋ยอินทรีย์
  • พักรับประทานอาหารเที่ยงที่ทะเลน้อย กลับถึงบ้านโคกทราย อำเภอปากพะยูนโดยสวัสดิภาพเวลา 17.00 น.

 

45 47

14. ประชุมร่วมติดตามผลการดำเนินร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานที่ผ่านมา และเตรียมจัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดรายงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้แก้ไขปัญหาของเอกสารการเงินที่ผิด และได้เพิ่มเติมการคีย์รายงานในเว็บไซต์ให้เรียบร้อย ก่อนส่งรายงานให้ สจรส.ม.อ.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงและผู้รับทุนโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงและผู้รับทุนโครงการ จ.พัทลุง แลกเปลี่ยนการทำรายงานงวดที่ 1 ร่วมกัน และปรึกษาตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานก่อนส่งรายงานให้ สจรส.ม.อ.

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 32 14                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 175,040.00 77,606.00                  
คุณภาพกิจกรรม 56 51                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ผู้เข้าร่วมประชุม ติดประชุมของหน่ยงานอื่น ทำให้ไม่สามารถมาพร้อมเพรียงกัน

เกิดการประชุมหลายภาคี ในเวลาเดียวกัน

เลื่อนการประชุมตามความเหมาะสม

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมร่วมติดตามผลการดำเนินร่วมกับพี่เลี้ยง ( 16 ก.พ. 2559 )
  2. จัดทำรายงานงวดที่ 1 ( 20 ก.พ. 2559 - 21 ก.พ. 2559 )
  3. คืนข้อมูลให้กับชุมชน ข้อมูลพื้นฐานจากการสำรวจและข้อมูลจากการไปศึกดูงาน ( 1 มี.ค. 2559 )
  4. ประชุมสภาผู้นำของโครงการ ครั้งที่4 ( 2 มี.ค. 2559 )
  5. อบรมความรู้ เรื่องเกษตรอินทรีย์ แก่สมาชิกกลุ่ม ครู ก (ตัวแทนสมาชิกแต่ละโซน โดยแยกได้จากโซนของนาข้าว) สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว ทุก วันจันทร์ พุธ ศุกร์ ( 8 มี.ค. 2559 )
  6. ประชุมสภาผู้นำของโครงการ ครั้งที่ 5 ( 11 เม.ย. 2559 )
  7. กิจกรรมรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ - เวทีรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ - นิทรรศการของดี ม.5 - ลานกิจกรรมทำขวัญข้าว - นิทรรศการแปลงนา - นิทรรศการแปลงยาง - ป้ายบทความ ข่าว ภาพ - ละครสะท้อนบทเรียนจากโครงการ - บูธถาม-ตอบปัญหาโดยโรงเรียน ( 19 เม.ย. 2559 )
  8. ประชุมสภาผู้นำของโครงการ ครั้งที่ 6 ( 9 พ.ค. 2559 )
  9. อบรมตัวแทนนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกทราย ชั้น ป.4และ ป.5 เรื่องเกษตรอินทรีย์ และมีแปลงนาสาธิตของโรงเรียน 1 แปลง ( 16 พ.ค. 2559 )
  10. ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในเรียน ( 17 พ.ค. 2559 )
  11. สนับสนุนการปฏิบัติการเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อหนุนเสริมการทำนาอินทรีย์สาธิต 38 คนสวนอินทรีย์ 2 คน ( 8 มิ.ย. 2559 )
  12. ถอดบทเรียนจากชุมชน ( 15 มิ.ย. 2559 )
  13. ประชุมสภาผู้นำของโครงการ ครั้งที่ 7 ( 11 ก.ค. 2559 )
  14. จ้างถ่ายภาพ ( 1 ส.ค. 2559 )
  15. ทำรายงาน ( 15 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย นรา แก้วรักษ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ