แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด : 1. มีคณะทำงานจำนวน10คนได้เข้าใจรายละเอียดการดำเนินงานโครงการและคนในชุมชนมีความตั้งใจเข้ามาร่วมดำเนินงานอย่างเต็มที่ด้วยจิตอาสา ไม่น้อยกว่า 100 คน 2. มีกระบวนการนำสู่การจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรเเพื่อนำมาซึ่งการวิเคราะห์ การวางแผนดำเนินงาน 3. มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมเครือข่าย และการสร้างกลุ่มเยาวชนเข้ามาขับเคลื่อนงานพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 50 คน 4. มีมีแผนการดำเนินงานโครงการในระยะ 1 ปี ที่ชัดเจน 5.เกิดปฏิบัติการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรการจัดการเขตอนุรักษ์ฯ เช่นการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปีละ 2-3 คร้้ง, ธนาคารกุ้งไข่ ในเขตอนุรักษ์ฯ 6. มีชุดข้อมูลเอกสารเผยแพร่การจัดการทรัพยากร อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรโดยชุมชน 7. มีกฏกติกาชุมชนในการเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันในการพึ่งพิง ใช้ประโยชน์อนุรักษ์ ปกป้องและพัฒนา ทรัพยากรในท้องถิ่น

 

 

  • มีคณะทำงานกลุ่มประมงอาสา ที่มีโครงสร้างประกอบด้วยแกนนำหลักประมาณ 10-13 คนชุมชนที่นี่ประกอบอาชีพทำประมงเป็นส่วนใหญ่
  • มีกระบวนการในชุมชนในการรวมตัวกันของคนในชุมชนโดยเฉพาะแกนนำชาวประมง ทำให้เกิดกลุ่มการดำเนินงาน และโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน เช่น กลุ่มประมงอาสาฯ กลุ่ม่ชมรมชาวประมงกลุ่มออมทรัพย์กลุ่มแพปลาชุมชน และสมาคมประมงทะเลสาบอำเภอสทิงพระ
  • การพัฒนาศักยภาพ บุคคล ในการสามารถวางแผน ปฏิบัติการ และการประเมินผลได้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม -มีข้อมูล ศูนย์เรียนรู้การจัดการทรัพยากรโดยชุมชน ที่ในชุมชนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นนวัตกรรมในชุมชนที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ
2 เพื่อคนในชุมชนได้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : เพื่อให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่มกับการจัดการทรัพยากร อนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำในทะเลสาบเพิ่มขึ้น

 

 

ชุมชนให้ความสำคัญกับต้นทุนในชุมชน ที่จะนำมาเป็นองค์ประกอบในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุความสำเร็จ โดยต้องพัฒนาศักยภาพบุคคลที่จะสามารถทำงานนำต้นทุนในชุมชนมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

3 เพื่อให้มีมาตรฐาน ราคาสินค้าประมงที่เป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
ตัวชี้วัด : 1. มีกลไก/กติกาในการควบคุมคุณภาพสินค้าที่ชัดเจน 2. มีกิจกรรมที่เช่อมโยงกับการสร้าง/ยกระดับมาตฐาน/คูณภาพสินค้า ไม่ต่ำกว่า 2 คร้ัง

 

 

การกำหนดกฏกติกาในชุมชน อาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการเข้ามาร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และต้องปฏิบัติตามกติกาที่วางไว้ร่วมกัน

4 เพื่อสร้างระบบการบริหารองค์กรชุมชน ให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : เกิดการพัฒนาคน กลุ่มคน และเครือข่ายได้ร่วมเรียนรู้ ดำเนินงาน ติดตาม ประเมินร่วมกันกับเครือข่่ายในและนอกชุมชนอย่างต่อเนื่อง

 

 

พัฒนาศักยภาพชุมชนอยู่ตลอดเวลา ให้มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความคิดที่สร้างสรรค์

5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  • มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของจำนวนครั้งที่จัด
  • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  • มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  • มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด