assignment
บันทึกกิจกรรม
ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงาน เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงทะเบียนรับเอกสาร

เข้าร่วมเวทีใหญ่(เปิดงาน)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้บูทนิทรรศการเครือข่ายต่างๆ

แลกเปลี่ยนห้องย่อยชุมชนน่าอยู่

อาหารเย็น,ขนมน้ำผลไม้

เวทีเสนอข้อคิดเห็นจากโครงการฯ ต่อ สสส. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เวทีปิดงานสร้างสุข ถ่ายรูปประทับใจ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ความร่วมมือกันที่ดีมากของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สสส.สจรส. สช.สปสช.การเข้ามามีส่วนร่วมของเครือข่ายต่างๆ เช่น เครือข่ายชุมชนน่าอยู่,เครือข่ายเกษตรฯ ,เครือข่ายฯความเสี่ยงฯ ,เครือข่ายสื่อมากกว่า 1,000 คน หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น เช่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา,เทศบาลนครหาดใหญ่, เห็นความเข้มแข็งของพี่เลี้ยงชุมชน ที่มีการวางแผนการทำงานกันที่ชัดเจนโดยเฉพาะในด้านการจัดการอาหารสำหรับกลุ่มผู้เข้าร่วม ที่สามารถจัดการได้ดีมาก เมือเปรียบเทียบกันการจัดการในปีที่ผ่านมาทำให้เห็นถึงความสามัคคีความร่วมมือกันของทุกส่วน เป็นหนทางสู่ความความสำเร็จของงานสร้างสุขและกิจกรรมอื่นๆ ชุมชนน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง คน ทรัพยากรทุน สุขภาวะ สวัสดิการที่ยั่งยืน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ 1 คน ฝ่ายการเงิน  1 คน แกนนำหนุนเสริมกาดำเนินงาน 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมเตรียมความพร้อมตรวจสอบเอกสารรายงานกิจกรรม งวด 211 กันยายน 2559
11
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบแก้ไขเอกสารรายงานกืจกรรม รายงานการเงินให้ถูกต้อง ก่อนส่ง สสส.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ลงทะเบียน

  2. ตรวจสอบเอกสารร่วมกับพี่เลี้ยง

  3. ตรวจสอบเอกสารร่วมกับสจรส.มอ.

  4. ปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่ไม่ถูกต้อง

  5. จัดส่งรายงานให้สสส.ต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ในงวดที่ 2  ให้ทางสจรส.มอ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนกิจกรรมที่จัด  การใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม และตามหมวดค่าใช้จ่าย  บิลใบเสร็จ ใบรับเงิน  ใบลงทะเบียน เนื้อหา รูปภาพประกอบกิจกรรม    เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ก่อนส่ง สสส.ปืดงวดที่ 2 ต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 11 คน จากที่ตั้งไว้ 11 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ1 คน ฝ่ายการเงิน 1 คน คณะทำงาน และแกนนำหนุนเสริมการดำเนินงาน 9 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน16 สิงหาคม 2559
16
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์วางแผนการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ประเด็นชี้แจง,แจ้งให้ทราบ

3นำพูดคุยแลกเปลี่ยน โดยผู้รับผิดชอบโครงการฯ

4อาหารเที่ยง

5สรุป,วางแผนงาน

6จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง

การบันทึก ถ่ายรูป
ทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดลหะหรีม  บิลหมานผู้รับผิดชอบโครงการ  มีประเด็นสำคัญในการประชุมร่วมกันของคณะทำงานในวันนี้ คือ 1 การต้องจัดการทำรายงานกิจกรรม รายงานการเงินให้แล้วเสร็จถูกต้อง  เพื่อนำไปตรวจสอบ แก้ไขความถูกต้องของเอกสาร รายงานร่วมกับ สจรส.มอ.ในวันที่ 11 กันยายน 2559 2 กิจกรรมการงางซั้งกอ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559 ทีผ่านมา เป็นกิจกรรมที่ชุมชนให้ความสำคัญ เข้ามาร่วมมือกันดี  ซึ่งหลังจากวางซื้งกอ วันนัั้นทางแกนนำได้นำวัสดุอุปกรณ์ไปทำซั้งเพิ่มอีก เพราะเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นคือ สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
3 การต่อยอดขับเคลื่อนกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ หลังจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. สิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม 2559  โดยมีแผนการทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ขอสนับสนุนงบประมาณทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อม 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

แกนนำในชุมชนหนุนเสริมการดำเนินงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เพื่อพัฒนากลไกการบริหารจัดการองค์กรชุมชน16 สิงหาคม 2559
16
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อมีกองทุนในการจัดการบริหารของชุมชน องค์กรชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ประเด็นการพูดคุย

3ผู้เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน

4อาหารเที่ยง

5สรุป,วางแผนการดำเนินงาน

6จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดลหะหรีม บิลหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการ  พูดถึงกองทุนเพื่อพัฒนากลไกการบริหารจัดการองค์กรชุมชน (สมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร) ที่ยังไม่มีกองทุนที่ชัดเจนใช้ในการบริหารจัดการ  การระดมทุนจากคนในชุมชนเอง และการรับสนับสนุนทุนจากภายนอก เพื่อเป็นกองทุนส่วนรวม  เหมือนที่ผ่านมาในชุมชนภายใต้กลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก  ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2552  การรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน  การจัดต้งกองทุนต่างๆ ขึ้น เช่น
    กองทุนข้าวสาร บริการให้คนในชุมชนซื้อข้าวสารในราคาตามท้องตลาด ลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ กรณีคนในชุมชนต้องออกไปซื้อข้าวสารภายนอกชุมชน  สมาชิกบางคนมาซื้อข้าวสารจ่ายเงินสด  และสมาชิกบางคนมาซื้อข้าวสารไปขอจ่ายย้อนหลัง เมื่อมาซื้อข้าวสารครั้งต่อไป  ก็ทำให้เห็นถึงว่ากองทุนตั้งขึ้นเพื่อได้ช่วยเหลือกันจริงๆ
    กองทุนฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ทำซั้งกอง  ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นต้น    ซึ่งทำให้เห็นว่ากองทุนมีความสำคัญกับการบริหารจัดการองค์กรในชุมชน  มาก และสามารถบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืนได้โดยชุมชนเอง ซึ่งการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง  ชุมชนก็ต้องมีการบริหารจัดการด้านการติดต่อสื่อสารช่วยเหลือเฝ้าระวังการทำประมงทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน การทำประมงในเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ  การเฝ้าระวังช่วยเหลือกันในทะเลและบนบก ทั้งในยามปกติและยามเกิดภัยพิบัติ  ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องมีกลุ่มอาสาสมัคร ที่เข้ามาทำงานด้วยจิตสาธารณะ งานส่วนรวม เป็นหลัก  การใช้เครื่องมือสื่อสารติดต่อกันโดยวิทยุเครื่องแดง เป็นต้น  การคำนึงถึงกิจกรรมต่อยอดการผลักดันสู่หน่วยงานในท้องถิ่น ถึงระดับนโยบาย ที่จะได้ตระหนักให้ความสำคัญกับกิจกรรมขององค์กรชุมชนที่ทำแล้วเกิดประโยชน์  ได้เข้ามาสนับสนุนในส่วนที่ชุมชนมีข้อจำกัดไม่สามารถดำเนินาการได้ เช่น ข้อมลทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง แผนงบประมาณที่ชัดเจน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 71 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

แกนนำหนุนเสริมการดำเนินงาน

กลุ่มวิทยุเฝ้าระวัง

เครือข่ายชาวประมง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การประเมินผลสรุปความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 311 สิงหาคม 2559
11
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ลงทะเบียน กินกาแฟขนมตามอัธยาศัย

  2. กำหนดประเด็นการพูดคุย

  3. การแลกเปลี่ยนในเวที

  4. อาหารเที่ยง

  5. สรุป,วางแผนงาน

  6. จัดทำเอกสารการเงินที่เกี่ยข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประเมินผลการดำเนินงานก่อน ระหว่าง และช่วงก่อนปิดโครงการ  ที่จะเป็นเครื่องมือในการช่วยให้คณะทำงาน ชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการดำเนินงานโครงการ  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การระดมความคิดในการป้องกันแก้ไข และวางแผนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป้าหมายที่วางไว้  เพื่อที่จะสามารถป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานได้ทันท่วงที    การประเมินผลกซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมความให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการดำเนินงานโครงการ  เวทีวันนี้จึงทำให้รู้ผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ว่ามีปัญหาอุปสรรคใดๆ บ้าง เช่น การทำงานเป็นระบบทีม (คณะทำงาาน) ต้องเข้มแข็ง ตั้งใจ อดทน มีความสามัคคีกันไว้    บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่ได้ตั้งขึ้น ไม่ว่า ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบันทึกข้อมูล ฝ่ายประสานงาน  ทุกคนถ้าสามารถทำได้ก็ควรช่วยเหลือกัน  ปัญหาของการ จัดทำเอกสารบิลใบเสร็จค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น การบันทึกรับจ่าย การจัดกิจกรรมแล้วเสร็จในแต่ละครั้ง ถ้าไม่ลงรับจ่ายทันที รอลงทีหลังทำให้บางครั้งลืมลงรับจ่าย พอหลายๆ ครั้งเข้าก็จะสะสม  ซึ่งจะทำให้คณะทำงานโดยเฉพาะฝ่ายการเงินทำงานยากขึ้น ต้องแข่งกับเวลาที่กระชั้นชิดเมื่อถึงเวลาส่งเอกสาร  ให้กับทาง สจรส. หรือสสส.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 29 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน แกนนำหนุนเสริมการดำเนินงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

วางซั้งกอ(บ้านปลา)6 สิงหาคม 2559
6
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปฏิบัติการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ การสร้างกลไกปกป้องทรัพยากร สร้างความมั่นคงอาชีพ รายได้ ความมั่นคงด้านอาหาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงขั้นตอนการทำซั้อกอ

3ช่วยกันขนวัสดุอุปกรณทำซั้งกอขึ้นเรือ

4ออกเรือไปจุดพิกัดวางซั้งกอ

5 ปฏิบัติการวางซั้งกอ

6สรุป.จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดลหะหรีม บิลหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการ  ประกอบอาชีพทำประมงมาร่วม20 ปี  เห็นปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร การลดลงของสัตว์น้ำ ลงอย่างต่อเนื่อง  สาเหตุสำคัญๆ คือ
1 การขุดเจาะน้ำมันในทะเลอ่าวไทยที่อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 18 กิโลเมต ตั้งแต่ปี 2551  เห็นถึงการลดลงของสัตว์น้ำมาอย่างต่อเนืองจนถึงปัจจุบัน เพราะการขุดเจาะน้ำมันจะมีการวางสายเคเบิลใยแก้ว ขั้นตอนการขุดเจาะมีเสียงดัง บางครั้งมีขี้น้ำมันหลุดมาจากการขุดเจาะ ระบบนิเวศใต้ท้องทะเลเสื่อมโทรม สัตว์น้ำหนีหาย
2 การทำประมงทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน ของกลุ่มเรื่อพานิชที่ใข้เครื่องมือทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำ เช่น อวนลาก  ,ปั่นไฟปลากระตัก เป็ต้น กิจกรรมการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำที่ได้ผลดีคือการวางประการังเทียม เช่น ปล้องท่อ  แท่นปูน  โบกี้รถไฟ  เป็นกรมประมงทำหน้าที่  ส่วนการวางซั้งกอ (บ้านปลา) ชุมชนสามารถดำเนินการได้เพราะค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก  วัสดุอุปกรณ์ก็ซื้อบ้าง ขอบ้าง  ซึ่งชาวประเห็นด้วยกับการทำซั้งกอ เพราะสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นจริงๆ โดยเฉพาะปลาทู
แผนกิจกรรมต่อยอด หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้นไปแล้ว คือ การร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างต่อเนื่อง  การระดมทุน และ เสนอโครงการขอสนับสนุนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาในการวางซั้งกอในปีถัดไป (เพราะซั้งกอจะสามารถอยู่ในน้ำได้ประมาณ 1 ปี ก็ผุพัง)

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 96 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

คณะกรรมการ สมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร

เครือข่ายชาวประมงในละแวกใกล้เคียง แกนนำหนุนเสริมการดำเนินงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณสัตว์น้ำชาวประมงบ้านทะเลนอก1 สิงหาคม 2559
1
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นแผนการดำเนินงานร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ประเด็นพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลชุมชน

3ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลฯ

4อาหารเที่ยง,กาแฟขนมตามอัธยาศัย

5,สรุป,

ุ6การจัดทำเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น การรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน บิลใบเสร็จค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดลหะหรีม  บิลหมาน  ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน แกนนำหนุนเสริมกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ  จากการจัดเวทีครั้งที่ 1 เน้นการเก็บข้อมูลชุมชน ข้อมูลการจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เป็นฐานข้อมูล  และ การจัดเวทีครั้งที่ 2 ครั้งนี้เพื่อได้เติมเต็มข้อมูลเดิมที่มีอยู่ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ออกเป็นแผนการดำเนินงานโครงการ  ที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินงานตามแผนงานทิศทางที่ร่วมวางไว้  ในส่วนของข้อมูลชุมชนซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่แล้วนั้น  แต่การเพิ่มแติมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิถีอาชีพ ของชาวประมงที่ต้องให้คนในชุมชนได้เข้ามาระดมเติมเต็ม เช่นข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟุทรัพยากรสัตว์น้ำ ที่เกี่ยวข้องกับคนในชุมชนโดยตรง  คือสัตว์น้ำเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องอาชีพ รายได้ ค่าใช้จ่ายในครอบครัว  ข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟู กองทุนสวัสดิการ  กองทุนภัยพิบัติ  ซึ่งจำเป็นที่ชุมชนต้องร่วมกันดำเนินการให้เกิดขึ้น เพื่อการช่วยเหลือพึ่งตนเองได้เป็นอันดับแรก  การใช้ข้อมูลในการวางแผนกาอนุรักษ์ฟื้นฟุ  งบประมาณจากภายนอก กับทุนของชุมชนที่มีอยู่ เพื่อที่จะได้ทำงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนควบคู่กันไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 48 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

แกนนำหนุนเสริมการดำเนินงาน

เครือข่ายคณะกรรมการสมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร.กลุ่มออมทรัยพ์บ้านทะเลนอก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เพื่อต้้งกองทุนฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง20 กรกฎาคม 2559
20
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อต้้งกองทุนฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง  สร้างความร่วมมือของประมงพื้นบ้านอาสาสมัครฯ ร่วมกันฟื้นฟูปกป้องทะเลไทย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ทำความเข้าใจงานกองทุน กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเช่น งานกองทุนกลุ่มออมทรัพย์การระดมกองทุนสมาคมประมงพื้นบ้าน อ.สิงหนครสรุปจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบรายงานฯ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  การะดมทุนจากคนในชุมชนที่เข้าร่วมเข้าใจกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ  สิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อที่ชุมชนสามารถระดมกองทุน เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกับ กองทุนฟื้นฟูทรัพยากร  กองทุนสวัสดิการ  ของกลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก ที่ได้ระดมทุนมาแล้ว6-7 ปี (หลังจากกลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอกตั้งขึ้น)  ซึ่งกองทุนใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนนั้นๆ  โดยเฉพาะการนำกองทุนมาใช้ให้ชุมชนได้รับประโยชน์ร่วมกัน เช่นการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ  การเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพแกนนำ หรือคนในชุมชนด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 79 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ลงทะเบียน

รับกาแฟขนมตามอัธยาศัย

แลกเปลี่ยนกองทุนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรฯ

อาหารเที่ยง

การระดมทุนโดยชุมชนและเครือข่ายหน่วยงาน

สรุป

จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เพื่อวางซั้งกออนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำในทะเลอ่าวไทย20 กรกฎาคม 2559
20
กรกฎาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความร่วมมือ ความตระหนักของชุมชนงานอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ  ในการปฏิบัติการวางซั้งกอในทะเลอ่าวไทย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วางแผน เตรียมคน เตรียมวัสดุอุปกรณ์  (ไม้ไผ่ ,เชือก, แท่งปูน,ทางมะพร้าว ,ธง ,เรือ น้ำมัน ,อาหาร น้ำ  พิกัดจุดวางซั้งกอ  ร่วมวางซั้งกอ    ถ่ายรูป  บันทึกข้อมูล  จัดการเรื่องเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ค่าใช้จ่าย แต่ละหมวด) รายงาน แหล่งทุน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดลหะหรีม บิลหมาน  ผู้รับผิดชอบโครงการ  ชี้แจงคณะทำงาน และแกนนำ ชาวประมง  ที่ทำงานหนุนเสริมโครงการฯ  แบ่งหน้าที่แต่ละคนเพื่อปฏิบัติการวางซั่งกอ  การขนวัสดุอุปกร์ทำซั้งลงเรือ    จำนวนเรือ 7 ลำ    เช่น เชื่อก  แท่นปูนใช้ทำทุ่น ไม้ไผ่  ธง  ตกลงร่วมกันถึงพิกัดวางซั้งกอ ในทะเลอ่าวไทย ห่างจากฝั่ง 9 กิโเลเมตร  ระดับน้ำลึก 10-15  กิโลเมตร    รูปแบบการวางซั้งกอ เป็นแนววงกลม มีธงสัญลักษณ์  ให้เรือประมงไม่วิ่งมาชนซั้งกอที่วางไว้  ซึ่งจากข้อมูลของหลายๆ พื้นที่ๆได้วางซั้งกอในทะเล แล้วปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นจริงๆ เช่น พื้นที่ทะเลอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช  ที่มีสัตว์น้ำประเภทปลาทู ปลาแดง ปลาจวด ปลาอินทรีย์  ชุกชุม    หลังจากปฏิบัติการวางซั้งกอวันนี้เสร็จ กลุ่มแกนนำและผู้เข้าร่วมปฏิบัติการวางซั้งกอ ได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า  ควรจะทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ อย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะการวางซั้งกอ  ต่อยอดโครงการร่วมสร้างสุขด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก  ไม่ว่าการขอสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกียวข้อง เช่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กรมประมง เป็นต้น  โดยใช้การระดมทุนของ่ชุมชน อีกส่วนหนึ่ง เพื่อที่จะให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม  ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างต่อเนื่อง 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 122 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

กรรมการ สมาชิก สมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร, สมาคมรักษ์ทะเลไทย ,เครือข่ายสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-การวางซั้งกอที่ทำโดยชุมชน ไม่สามารถอยู่ได้คงทนได้เกิน 2 ปี
-แนวทางแก้ไข  ต้องทำประการังเทียม เช่น แท่น ปล้อง ปูนซิเมนต์  โบกี้รถไฟ  หรือการทำซั้งกอโดยวิธีของชุมชนอย่างต่อเนื่องปีละครั้ง หรือ สองปีครั้ง -ซั้งกอที่ชุมชนทำ  มักจะถูกเรือประมงพานิชย์  ที่ใช้เครื่องมือทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน เข้ามาทำลายซั้งจนพัง เพื่อจับสัตว์น้ำ
- แนวทางแก้ไขปัญหา ต้องบังคับใช้กฏหมาย จัดการเรือประมงพวกนี้มีบทลงโทษที่รุนแรง และปฏิบัติได้จริง  หรือ  วางประการังชนิด แท่น ปล้อง ปูนซิเมนต์  โบกี้รถไฟ เรือพวกนี้ไม่สามารถทำลายได้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-งานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ อยากให้ชุมชนทำต่อเนื่อง ร่วมกันของชุมชนเครือข่าย งบประมาณการระดมทุนเองของชุมชน และ งบประมาณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกิจกรรมที่สามารถต่อยอดโครงการร่วมสร้างสุขด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก  เพราะทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่ออาชีพ รายได้ของชาวประมง

ประชุมคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน16 กรกฎาคม 2559
16
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรึกษาหารือร่วมกันของคณะทำงาน เพื่อรับรู้ และร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงทะเบียน,กาแฟตามอัธยาศัย

คณะทำงานพูดคุยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับชุมชน

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้วและกิจกรรมที่ต้องวางแผนทำในช่วงถัดไป

อาหารเที่ยง

สรุป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการร่วมสร้างสุขด้วยซัั้งกอที่บ้านทะเลนอก  กับ 1 เดือนกับการถือศิลอด และสิ้นสุดการถือศิลอด ฮารีรายอ เมื่อวันที่ 6 กรกฏาคม ที่ผ่านมา  วันนี้ได้มานั่งปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ ที่มีระยะเวลาสิ่นสุดภายในเดือน ตุลาคม 2559  มาดูกิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ กับระยะเวลาที่มี ว่าจะได้ร่วมกันวางแผนจัดกิจกรรมในบรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และระยะเวลาอย่างไร  มีหลายๆ ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ เช่น การทำเอกสารรายงาน การเงิน บิลใบเสร็จค่าใช้จ่ายตามหมวดแต่ละกิจกรรม  ต้องให้มีความถูกต้องเรียบร้อย  การเสียภาษีในแต่ละหมวด  ซึ่งต้องมีการวางแผนการทำกิจกรรม  ที่ค่อนข้างถี่ และมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ  การออกทำประมงของชุมชน  ช่วงเวลามีมรสุมเหมาะต่อเวทีคุยในห้องประชุม  ส่วนช่วงที่มรสุมไม่มี เหมาะต่อการปฏิบัติการวางซั้งกอ  เป็นต้น
โดยวันนี้มีมติร่วมกันเรื่องการวางแผนการทำกิจกรรม ดังนี้ 1 วันที่ 14 กรกฏาคม 2559  กิจกรรมวางแผนการวางซั้งกอ (บ้านปลา) 2 วันที่ 20 กรกฏาคม 2559  กิจกรรมปฏิบัติการวางซั้งกอ (บ้านปลา)

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน,แกนนำในชุมชน,กลุ่มสตรีประมงพื้นบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เพื่อให้คนในชุมชน ได้ร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนวางแผนการทำซั้งกอ(บ้านปลา)14 กรกฎาคม 2559
14
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงานวางซั่งกอบ้านทะเลนอก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ลงทะเบียน

  2. แลกเปลี่ยนวางแผนการวางซั้งกอ

  3. ได้แผนรายละเอียดการทำซั้งกอ (วันเวลา,วัสถุ,ทีมงาน,จุดพิกัดวางซั้งกอ)

  4. อาหารเที่ยง กาแฟขนมตามอัธยาศัย

  5. สรุปบันทึก ฝ่ายถ่ายรูป ฝ่ายจัดทำเอกสาร ฝ่ายการเงินฝ่ายรายงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายดลหะหรีม บิลหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวชี้แจงการทำงานให้ผู้เข้าร่วมได้รับรู้และแลกเปลี่ยน เกี่ยวกับประเด็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ  การทำประการังเทียมของกรมประมง เป็นหนึ่งกิจกรรมของภาครัฐที่หนุนเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ    และกิจกรรมของชุมชน การทำซั้งกอ(บ้านปลา) อยากให้พี่น้องทุกคนให้ความสำคัญ เข้ามามีส่วนร่วมกับการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างสุข ด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก  เพราะซั้งกอจะเป็นทั้งที่อยู่อาศัย ขยายพันธุ์ หลบภัย ของสัตว์น้ำ  โดยเฉพาะปลาทูจะมีมากบริเวณซั้งกอ  ชาวประมงในชุมชน และละแวกใกล้เคียงได้รับประโยชน์ร่วมกัน    ตนจึงชวนพี่น้องมาวันนี้เพื่อได้มาร่วมกันวางแผนการทำซั้งกอในทะเลหน้าบ้านร่วมกัน  ถึงงบประมาณในการทำซั้งกอมีไม่มาก เพระกิจกรรมของสสส. ไม่มีการตั้งงบทำซั้งกอไว้จำนวนมากๆ  แต่เป็นงบจัดกิจกรรมชวนพี่น้องคุย เข้ามามีส่วนร่วม ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น แต่เราก็สามารถระดมทุนได้บางส่วน ที่จะได้ร่วมกันทำซั้งกอ ร่วมกัน
มติที่ประชุม
1. ร่วมปฏิบัติการวางซั้งกอร่วมกันในวันที่ 27 กรกฏาคม 2559 เวลา 10.00 เป็นต้นไป  ห่างจากฝั่งไปประมาณ 10 กิโลเมตร ระดับน้ำลึกประมาณ 15 กิโลเมตร
2. ในช่วงสัตว์น้ำชุกชุม ราคาถูกกดจากพ่อค้าแม่ค้า  ทางสมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร จึงมีแนวคิดในการจัดตั้งแพปลาชุมชน(ร้านคนจับปลาบ้านทะเลนอก)  ระบบสมาชิก มีการปันผลกำไรคืน มีกองทุนด้านต่างๆ เช่น อนุรักษ์ฟื้นฟูฯ,สวัสดิการ เป็นต้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน,

แกนนำชุมชน

ชาวประมง เครือข่ายสมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร,กลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-วันเวลาปฏบัติการวางซั้งกออาจมีการเปลี่ยนแปลง ต้องดูสภาพลมฟ้าอากาศ -เอาตามความสะดวก ความเหมาะสมของพี่น้องชาวประมง เพราะเขารู้เรื่องลมฟ้าอากาศในทะเลเป็นอย่างดี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นายจำรัส หวังมณีย์ ,น.ส.เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 916 มิถุนายน 2559
16
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทราบผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และการป้องกันแก้ไขปัญหา วางแผนดำเนินงานร่วมกน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ,ดำเนินการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงาน ไม่ว่าการประสานผู้เข้าร่วม การบันทึก การถ่ายรูป การเคลียร์จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

  ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมสร้างสุข ด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก  แสดงความยินดีกับพื้นที่ของเราที่ได้รับการอนุมัติจ่ายเงินงวดที่ 2  มาค่อนข้างเร็ว หากเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการอื่นๆ ที่เป็นเครือข่ายทำงานร่วมอยู่กับเรา ไม่ว่าที่คูขุด หรือที่บ้านพังสาย  แต่ทั้งนี้ในช่วงเดือนมิถุนายน ไปจนถึงต้นเดือนกรกฏาคม เป็นช่วงถือศิลอดของพี่น้องมุสลิม  การทำกิจกรรมจึงไม่มีความสะดวกเท่าที่ควร แต่ทั้งนี้ก็อยากให้เราได้ร่วมกัน่ทำกิจกรรม ได้ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะกิจกรรมการประชุมคณะทำงาน,สภาผู้นำชุมชน ควรต้องประชุมกันทุกๆเดือน  เพื่อที่จะให้ทุกๆคนได้มาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ถึงเรื่องต่างๆ ไม่ใช้เฉพาะแค่กิจกรรมโครงการ แต่กิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย   

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน, คณะกรรมการสมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร,กลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ช่วงถือศิลอดของมุสลิม ไม่สะดวกในการจัดกิจกรรมถี่ๆหรือใช้เวลานานมากนักได้ -ดูโอกาสความเหมาะสมของพี่น้องที่จะสามารถร่วมกันจัดกิจกรรมในพื้นที่ได้ อาจจะพบปะนั่งกินน้ำชากาแฟ พูดคุยกันตอนพี่น้องแก้บวชตอนค่ำก็ได้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน(สภาผู้นำชุมชนฯ)16 พฤษภาคม 2559
16
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมคณะทำงาน สภาผู้นำ แลกเปลี่ยนติดตาม วางแผนการดำเนินงาน ร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงทะเบียน

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ และคณะทำงาน ได้มีการประชุมในชุมชนกันเดือนละครั้งเพื่อได้มาร่วมกันพูดคุยร่วมกับในชุมชน ที่ได้เกิดข้อมูล ข้อสรุป การประชุมในแต่ละครั้งเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนดำเนินงานโครงการ

อาหารเที่ยง,กาแฟตามอัธอาศัย

ทิศทางแผนการดำเนินงาน

สรุป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปการดำเนินงานโครงการ -ในงวดที่ 1 ได้ส่งรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ไปให้สสส.และได้รับการโอนงวดที่ 2 มาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมโดยโครงการฯ ทำซั้งกอบ้านทะเลนอก ได้รับการโอนเงินงวดที่ 2 มาก่อนพื้นที่โครงการฯ บ้านพังสาย, บ้านคูขุด อำเภอสทิงพระ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเอกสารรายงาน และการอนุมัติจาก สสส. -การวางแผนการดำเนินงานในงวดที่ 2 รวมถึงการเติมเต็มกิจกรรมอื่นๆ ที่ชุมชนได้ร่วมกันทำมาต่อเนื่อง ให้มีความสอดคล้องกับกิจกรรมโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เช่น การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก ,การดำเนินงานกองทุนข้าวสาร -กิจกรรมในโครงการฯทำซั้งกอบ้านทะเลนอกเป็นกิจกรรมสำคัญที่สอดคล้องกับอาชีพ วิถีของประมงพื้นบ้าน เพราะออกทำประมงต้องได้กุ้งปลา กิจกรรมการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำจึงเป็นหัวในหลักของพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน,แกนนำในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การประเมินผลสรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 212 พฤษภาคม 2559
12
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทราบผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และการป้องกันแก้ไขปัญหา วางแผนดำเนินงานร่วมกน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ,คณะทำงาน ,แกนนำ ร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา เพื่อได้รับรู้ผลการดำเนินงาน การงานแผนงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย มีการสรุปข้อมูลการประเมิน การถ่ายรูป  การจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องรายงานต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในการประเมินผลการดำเนินงานร่วมกัน หลังจากโครงการได้ดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง  ผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ให้ชุมชนได้ร่วมกันทำในพื้นที่คือการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำถือเป็นหัวใจหลักของชุมชน เพราะคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการประมงพื้นบ้าน  กิจกรรมหลักๆ ที่ชุมชนได้ร่วมกันทำแล้วเกิดการเพิ่มปริมาณของสัตว์น้ำได้ชัดเจน คือ การทำซั้งกอ หรือบ้านปลา ในทะเลหน้าบ้าน  ที่จะเป็นที่อาศัย หลบภัย  และขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด โดยเฉพาะปลาทู  ถือเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญในปัจจุบัน ราคาดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน, แกนนำในชุมชน ,คณะกรรมการสมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร,กลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-การทำกิจกรรมซั้งกออาจกำหนดวันเวลาดำเนินงานที่ชัดเจนไม่ได้  เพราะทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับลมฟ้าอากาศในทะเลเป็นหลัก
-การแก้ไขคือการดูจังหวะช่วงเวลาคลื่นลมสงบ อาจจะหลังช่วงถือศิลอดของมุสลิม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณียื,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การคืนข้อมูลความรู้การจัดการทรัพยากรให้ชุมชน10 พฤษภาคม 2559
10
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้การเข้ามามีส่วนร่่วม การขยายเครือข่ายร่วมงานพัฒนาเพิ่มขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม

กาแฟขนมตามอัธยาศัย

พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลาการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำในเวที,

อาหารเที่ยง

สรุป, ถ่ายรูปกิจกรรม, รายงานสสส.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อมูลด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ

  1. การถ่ายทอดข้อมูลองค์ความรู้การจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะข้อมูลกิจกรรมทำซั้งกอบ้านปลาในทะเลอ่าวไทย ที่สามารถแก้ปัญหาการลดลงของสัตว์น้ำการจัดทำข้อมูลความรู้เพื่อให้ผู้คนสนใจทั่วไปได้เรียนรู้ ตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูเพิ่มขื้นโดยที่ผ่านมาประมงพื้นบ้านได้ร่วมกันทำซั้งกอในทะเลหน้าบ้าน ห่างจากฝั่งไปประมาณ 12 กิโลเมตร ระดับน้ำลึกประมาณ 10-15 กิโลเมตร วัสดุอุปกรณ์ประกอบด้วย ไม้ไผ่,ทางมะพร้าว,ท่อซิเมนต์,เชือก,ธงสัญลักษณ์จุดวางซั้งกอ บริเวณซั้งกอและพื้นที่ทะเลหน้าบ้าน ชุมชนได้มีกติการ่วมกันคือไม่ทำประมงทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อนเป็นผลให้สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นจากการทำซั้งกอจริงๆโดยเฉพาะปลาทูมีเพิ่มมากขึ้น สังเกตุจากการออกไปวางอวนปลาทูของชาวประมง ที่ทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า บริเวณซั้งกอมีปลาทูมากจริงๆและเป็นจุดที่ทำให้เกิดการขยายพันธุ์ของปลาทูออกไปสู่พื้นที่นอกซั้งกอโดยปลาทูปัจจุบันเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ปลาทูที่ประมงพื้นบ้านจับได้จะไม่ใส่แช่สารเคมีใดๆ เป็นปลาที่จับได้ขายวันต่อวัน สด สะอาด ไร้ฟอร์มาลีน ราคาปลาทูขนาดกลาง( 10/กิโลกรัม) กิโลกรัมละ 50-60บาท(ราคาในชุมชน) ราคาในท้องตลาดกิโลกรัมละ 80-90 บาท

  2. การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยเฉพาะเรื่องขยะมูลฝอย ประกอบกับชุมชนบ้านทะเลนอก เป็นชุมชนแออัดมีประชากรหนาแน่น ขยะจึงมีปริมาณที่มากในแต่ละวันการเก็บขยะถึงจะมีรถจากเทศบาลเมืองสิงหนครมาเก็บแต่รถก็ไม่สามารถเข้าไปถึงหมู่บ้านในตรอกในซอย ดังนั้นเรื่องขยะจึงเห็นว่าเป็นหน้าที่ของคนทุกคนที่ต้องตระหนักสร้างนิสัยการรักความสะอาด เริ่มจากคนในครอบครัว การปฏิบัติทำให้คนอื่นๆ เห็นแล้วค่อยให้เขาเหล่านั้นปรับเปลี่ยนวินัย รักความสะอาดก็จะทำให้ขยะในชุมชนลดน้อยลง ลดโรคต่างๆ ในชุมชน สุขภาพของคนในชุมชนก็จะดี มีสุขขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

แกนนำในชุมชนหนุนเสริมการดำเนินงาน

คณะทำงาน

คณะกรรมการสมาชิกเครือข่ายสมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร,กลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก ชาวประมง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน(สภาผู้นำชุมชนฯ)16 เมษายน 2559
16
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อใช้สภาผู้นำชุมชนในการร่วมกันวางแผนป้องกันแก้ไขการดำเนินงานร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงทะเบียน

ผู้รับผิดชอบโครงการพูดคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ

ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนตามอัธยาศํย

อาหารเที่ยง

ทบทวนวางแผนกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ

สรุป

กาแฟตามอัธยาศํย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดการประชุมคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชนเดือนละ1 ครั้ง ที่ได้มาพบพูดคุยกันของกลุ่มคน เช่น คณะกรรมการสมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร  กรรมการกลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก  ประธานชุมชน เป็นต้น ที่จะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดในการทำอย่างใรให้กิจกรรมโครงการ เชื่อมโยงถึงการพัฒนาชุมชุนท้องถิ่น และทรัพยากรสัตว์น้ำที่เป็นตัวชี้วัดของอาชีพ รายได้ ของประมงพื้นบ้าน  ว่าถ้าสัตว์น้ำสมบูรณ์ประมงพื้นบ้านมีอาชีพ รายได้ที่ดี คุณภาพชีวิตดีขึ้น ตรงกันข้ามหากสัตว์น้ำลดลง  อาชีพรายได้ไม่ดี  ชาวประมงทุกคนย่อมไม่ต้องการ  ดังนั้นการให้ทุกคนได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการเข้ามาร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ มาเป็นอันดับแรก ซึ่งมีประสบการณ์ของการได้ร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูมาร่วมกัน ไม่ว่าซั้งกอบ้านปลา  การไม่จับสัตว์น้ำวัยอ่อน  ก็ทำให้ชาวประมงมีสัตว์น้ำให้จับมากขึ้น รายได้ดีขึ้น  การเป็นอยู่ก็มีความสุข

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

แกนนำในชุมชน,คณะทำงาน,คนในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์ ,เบญจวรรณเพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน4 มีนาคม 2559
4
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ผู้รับผิดชอบโครงการนำประเด็นพูดคุย

3ผู้เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนฯ

4อาหารเที่ยง กาแฟขนมตามอัธยาศัย

5สรุป,วางแผนการดำเนินงาน

ุุ6จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดการประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อได้มารับรู้ผลการดำเนินงาน  ให้สภาผู้นำชุมชนที่มีกลุ่มคนหลากหลาย ได้ร่่วมกันเรียนรู้กิจกรรมโครงการที่ได้รับสนับสนุนจาก สสส. และกิจกรรมอื่นๆ ที่ชุมชนทำอยู่หรือมีความสัมพันธ์ด้านกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน,แกนนำ, ชาวประมงในพื้นที่

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์ ,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดเก็บข้อมูลปริมาณสัตว์น้ำของชุมชนชาวประมงบ้านทะเลนอก29 กุมภาพันธ์ 2559
29
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาแกนนำ คณะทำงาน และชุมชนในการสามารถจัดการข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ผู้รับผิดชอบโครงการทำความเข้าใจเรื่องการจัดการข้อมูลทรัพยากร ที่เกี่ยวข้องกับวิถีอาชีพของประมงพื้นบ้าน

3ผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลสัตว์น้ำ ข้อมูลการทำประมง

4อาหารเที่ยง

5สรุป,กำหนดเป็นแผนการดำเนินงาน

6จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ข้อมูลการจับสัตว์น้ำของประมงพื้นบ้านในช่วงระยะ 1ปีว่ามีการทำประมงจับปลาชนิดใดเวลาไหนใช้เคร่ื่องมือประมงอะไร ราคาตลาดการพัฒนาสร้างมูลค่าสัตว์น้ำเพิ่มในรูปแบบใดบ้างได้ข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำที่ชุมชนสามารถปฏิบัติการได้เอง เช่น การทำซั้งกอการไม่จับสัตว์น้ำวัยอ่อนการให้ความร่วมมือเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มใจ มีความเสียสละ- -ได้วิธีการเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่นการแลกเปลี่ยนในเวทีประชุม ,การเติมเต็มข้อมูลจากปราชญ์ในชุมชนที่มีความรู้เฉพาะเรื่องนั้นๆv

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 71 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

แกนนำหนุนเสริมการดำเนินงาน

เครือข่ายชาวประมง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัสหวังมณีย์ ,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การประเมินผลสรุปความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการฯ ครั้งที่ 126 กุมภาพันธ์ 2559
26
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อได้สรุปประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา  สร้างแนวทางการวางแผนทำกิจกรรม ให้ต่อเนื่องและถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ผู้รับผิดชอบโครงการ ตั้งประเด็นการประเมินโครงการอย่างไรเพื่ออะไรได้อะไร ปัญหาอุปสรรค แนวทางป้องกันและผลสำเร็จจากการดำเนินงาน

3ผู้เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนฯ

4อาหารเที่ยง

5สรุป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดลหะหรีม บิลหมาน  พูดว่าโครงการร่วมสร้างสุขด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก ของพวกเราทุกคนนั้น  เริ่มจากที่เราได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. เมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2558  มาถึงปัจจุบันก็ย่างเข้าไป5-6  เดือนตามระยะดำเนินโครงการที่เรีิ่ม กันยายน 2558  ซึ่งคณะทำงาน และทีมงานทุกคนที่เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ระยะเวลาที่โครงการวางไว้นั้น  จะเห็นได้ว่าการทำกิจกรรมเป็นไปด้วยความสม่ำเสมอ ในทุกๆเดือน  การใช้จ่ายงบประมาณในงวดแรกนั้น 100 เปอร์เซนต์  การบันทึกการจัดทำรายงานกิจกรรม แต่ละครั้ง ในเบื้องต้นนั้นมีพี่เลี้ยงที่ติดตามในพื้นที่ คือ นายจำรัส หวังมณีย์ ที่ได้ให้การช่วยเหลือเป็นหลัก เพราะทีมคณะทำงานของเรานั้น ยังไม่มีความรู้การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่ควร  แต่ก็มีนางสาววารี เบ็ญสลามัน คณะทำงานคนนี้ที่มีความรู้พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ที่สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับการปฏิบัติให้เกิดความชำนาญในอนาคต  ซึ่งในการประเมินผลการดำเนินงานในครั้งนี้ จะพบว่าการจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ค่อนข้างล่าช้า เพราะคณะทำงานยังไม่เคยทำโครงการงบของ สสส.มาก่อน    ส่วนนางสาววารี เบ็ญสลามัน ก็ได้สะท้อนให้ผู้เข้าร่วมฟังว่า การทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน  ตนไม่อยากให้คณะทำงานตั้งความหวังความรับผิดชอบไว้กับตนคนเดียว  เพราะตนก็มีงานหลักที่ต้องหารายได้มาหล่อเลี้ยงครอบครัว  ตนจึงอยากให้คณะทำงานทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้หัดทำหัดใช้คอมพิวเตอร์ หรือบันทึก จัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกียวกับโครงการร่วมกัน เพื่อที่จะสามารถทดแทนทำงานกันได้ กรณีคณะทำงานคนใดคนหนึ่งติดภารกิจ หรือเดินทางไปต่างจังหวัด  และนางสาววารี  เบ็ญสลามัน ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า เรามีบทเรียนในการจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม  รายงานการเงิน ในงวดที่ 1 ที่ล่าช้า  ในการประเมินครั้งนี้ร่วมกันแล้ว ในการจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ในงวดที่ 2 และ 3 ต้องมีความรวดเร็ว และถูกต้อง คือต้องพยายามทำให้เสร็จกรณีเมื่อมีการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง เพื่อไม่ให้เอกสารตกขาดหายไป และช่วยลดความยุ่งยาก เสียเวลา ของคณะทำงาน  พี่เลี้ยงติดตามในพื้นที่ และทีม สจรส.ด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

1.คณะทำงานโครงการ

2.แกนนำชุมชนหนุนเสริมการดำเนินงาน

3.เครือข่ายกลุ่มประมงพื้นบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์ ,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมสภาผู้นำชุมชน25 กุมภาพันธ์ 2559
25
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาคณะทำงาน สรุปทบทวน การวางแผนการทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงทะเบียน,กาแฟน้ำขนมตามสะดวก

ประเด็นการพูดคุยกิจกรรมโครงการฯ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

อาหารเที่ยง

สรุป

จัดทำเอกสารฯ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานและแกนนำหนุนเสริมการดำเนินงาน  ชาวประมง  เกิดการแลกเปลี่ยนรเรียนรู้ร่วมกันถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา  ได้พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะการบริหารจัดการโครงการ การทำกิจกรรม รายละเอียดต่างๆ ได้ถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน แกนนำหนุนเสริมการดำเนินงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายจำรัสหวังมณีย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า งวดที่ 120 กุมภาพันธ์ 2559
20
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเอกสารรายงานการเงิน กิจกรรม งวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการฯและคณะทำงานหนุนเสริมกิจกรรม  เตรียมเอกสารการเงิน รายงานกิจกรรม  ทีมสจรส.ตรวจสอบความถูกต้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานหนุนเสริมกิจกรรม จำนวน 4 คน  ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง ในการรายงานปิดงวดที่ 1 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 4 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน  เข้าร่วมเวทีตรวจเอกสารการเงิน รายงานกิจกรรม ร่วมกับทีมพี่เลี้ยงผู้ติดตา และทีมสจรส.

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เป็นพี้นที่ใหม่ ที่ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน ยังไม่มีความรู้ประสบการณ์ด้านการจัดทำเอกสารได้ถูกต้องของ  สสส. แนวทางแก้ไข  คณะทำงานต้องกระตือรือร้นในการเรียนรู้การดำเนินงาน การจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ร่วมกันพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ทีม สจรส.มอ.

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ตรวจสอบความก้าวหน้าและเอกสารการเงินกับพี่เลี้ยง16 กุมภาพันธ์ 2559
16
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน งวดที่ 1 ให้ถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นายดลหะหรีม บิลหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการ และนายสุรศักดิ์  โสมสุข ฝ่ายการเงิน จัดเตรียมเอกสารการเงิน  เพื่อจัดหม่วดหมู่  เอกสารถูกต้องหรือไม่ ก่อนส่่ง สสส. ในงวดที่ 1

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน ได้รับรู้ข้อผิดพลาด ด้านเอกสารต่างๆ  โดยเฉพาะใบเสร็จรับเงิน  การใช้จ่ายที่ไม่ตรงหมวดกิจกรรม เป็นต้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน จัดเตรียมเอกสารการเงิน  เพื่อจัดหม่วดหมู่  เอกสารถูกต้องหรือไม่ ก่อนส่่ง สสส. ในงวดที่ 1

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรุ้การจัดการทรัพยากร กรณีการทำซั้งกอ ร่วมกันของประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลากับประมงพื้นบ้าน อ.สิงหนคร23 มกราคม 2559
23
มกราคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการทรัพยากรฯ กิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟู เช่น เขตอนุรักษ์,ซั้งกอ ได้ข้อมูลการเรียนรู้มาปรับใช้การจัดการทรัพยากรให้สอดคล้องกับพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงาน,กำหนดประเด็น, แลกเปลี่ยน,ภาพกิจกรรม. สรุป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์การจัดการทรัพยากร  การอนุรักษ์ฟื้นฟู เขตอนุรักษ์. ธนาคารปู,ซั้งกอ
-ประเด็นแลกเปลี่ยนกฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง  ที่ประมงพื้นบ้านมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง  กรณี พรก.ประมง 2558
-กลุ่มประมงพื้นบ้าน อ.สิงหนคร,อ.สทิงพระ  จ.สงขลา  จำนวน 17 คน ได้ความรู้กระบวนการจัดาการทรัพยากร  กระบวนการต่อสู้ปกป้องทรัพยากรของเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา  ได้ความรู้นำไปประยุกต์การจัดการทรัพยากรได้สอดคล้องกับพื้นที่ของตน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน อ.สิงหนคร .อ.สทิงพระ  จำนวน 17 คน เครือข่ายประงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จำนวน 4 คน สมาคมรักษ์ทะเลไทย  จำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำซั้งกอ ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา23 มกราคม 2559
23
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดการทรัพยากร กรณีทำซั้งกอ  เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมทำกิจกรรม ของชุมชน  เพื่อสัตว์น้ำมีมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการนัดหมายกลุ่มไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวนคน พาหนะ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม เช่น กล้องถ่ายรูป,ไวนิล,ตัวโครงการ,ใบลงทะเบียน ,ใบรับเงิน กระดาษคลิปชาด ปากกาเคมีเป็นต้น เดินทางถึงจุดหมาย 09.00 นก่อนถึงเวลา 10.00 น.ซึ่งเวทีแลกเปลี่ยนจะเริ่มกลุ่มชาวประมงทักทายแกนนำ พี่น้องประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลาเดินชมการต่อเรือท้ายตัดที่ทำจากไม้ตะเคียน ทั้งลำ ซึ่งราคาลำละ 500,000- 600,000 บาท ค่าแรงช่างประมาณ 60}000-70,000 บาท เดินทางเข้าสถานที่ประชุม คือ สมาคคมเครืข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช พร้อมกินกาแฟขนมข้าวเหนียว พูดคุยทักทายชาวประมงในพื้นที่ และเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานและเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา จำนวน 17 คน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ขบวนการการจัดการทรัยพากรในพื้นที่ของประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จากนายเจริญโต๊ะอิแตะ นายกสมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา นายหมาดโต๊ะสอ รองนายก นายดอเลาะแสหมาด แกนนำ ซึ่งสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้คือ
1. กระบวนการจัดการทรัยพากรของกลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา เริ่มจากการมานั่งพูดคุยถึงปัญหาทรัพยากร ของแกนนำ จำนวน 4 คน คือ นายเจริญ โต๊ะอิแตะ (บังมุ) นายหมาด โต๊ะสอ (บังหมาด)นายดอเลาะ แสหมาด (บังเลาะ) และนายยูโซ๊ป (เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งขณะนั้นทรัพยากรสัตว์น้ำถูกทำลายจากกลุ่มเรืออวนลาก เรือปั่นไป (เป็นประมงพานิช) อย่างหนัก ทำให้ประมงพื้นบ้านเดือดร้อนสัตว์น้ำลดน้อย เพราะสัตว์น้ำวัยอ่อนถูกทำลายเมื่อทรัพยากรทะเลหน้าบ้านถูกทำลาย ทั้ง 4 คนจึงเริ่มหาเพื่อนในหมู่บ้านมานั่งคุยให้รู้ถึงปัญหาดังกล่าวร่วมกัน เพื่อที่จะร่วมกันจัดการอย่างไรซึ่งขณะนั้นโครงการดับบ้านดับเมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้เข้ามาหนุนเสริมชาวประมงโดยได้พาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประมงพื้นบ้าน กลุ่มปากบารา กลุ่มขอนคลาน จ.สตูล กลับมาตั้งเป้าในการจัดการทำเขตอนุรักษ์เพื่อไม่ให้กลุ่มอวนลาก เข้ามาทำลายสัตว์วัยอ่อนพื้นที่ชายฝั่ง เสา ป้ายเขตอนุรักษ์ทุกคนร่วมออกแรง ออกเงินกันเอง เพราะตอนนันต้องช่วยกันเป็นปัญหาร่วมกันของทุกคนได้เงินสมทบจากนักการเมืองท้องถิ่น ที่เห็นความตั้งใจของชาวบ้าน เป็นเงินส่วนตัว นำมาซื้อกาแฟ ขนมให้ชาวบ้านขณะทำกิจกรรมเขตอนุรักษ์ เมื่อทำเขตอนุรักษ์ เพื่อไม่ให้กลุ่มอวนลากเข้ามาทำลายก็ต้องมีการตั้งคนเฝ้าระวังพื้นที่เขตอนุรักษ์ซึ่งแรกๆ ชาวบ้านก็ไม่เห็นคุณค่าของการทำเขตอนุรักษ์แต่เมื่อมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ไม่มีกลุ่มอวนลากเข้ามาสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นชาวบ้านก็เริ่มให้ความสำคัญ เพราะทำให้รายได้จากทำประมงดีขึ้นเริ่มมีการระดมทุนตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์ ตั้งร้านค้าชุมชน ตามลำดับ โดยรายได้ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม จากกลุ่มนำมาจัดสรร ช่วยเหลือสมาชิกตั้งเป็นกองทุนฟื้นฟูทรัพยากรมีทุนหมุนเวียนให้ชาวประมงได้ซื้อเครื่องมือประมงกิจกรรมการทำซั้งกอ ซึ่งประมงท่าศาลาเรียกกันว่า บ้านปลา เป็นกิจกรรมที่ทำกันมาต่อเนื่อง โดยในพืนที่ทะเลอ่าวท่าศาลา ดินด้านล่างจะเป็นเลน การทำซั้งกอ จากไม้หมาก ไม้ไผ่ทางมะพร้าวเชื่อกผูกทุ่นยึดให้ติดท้องทะเล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำซั้งกอจากหน่วยงาน ก็จะเปลี่ยนเป็นประการังเทียม หรือ ให้แท่นซิเมนซึ่งกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูต่างๆ ทั้งเขตอนุรักษ์ การเฝ้าระวังการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ทำธนาคารปูกันมาอย่างต่อเนื่องของประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา ทำให้มีสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์มากๆ ในปัจจุบัน (โดยเคยมีเรือประมงพื้นบ้านจำนวน 1 ลำ ออกไป 3 คืน จับสัตว์น้ำมีรายได้ถึง 300,000 บาทซึ่งเป็นช่วงที่สัตว์น้ำชุกชุมากๆ)
เรื่องจัดข้อมูลทำความเข้าใจกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง การสื่อสารเฝ้าระวังโดยโทรศัพท์ (จุดเด่นยุทธศาสตร์ของพื้นที่)
1 ทุกคนเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยใจเพื่อให้ทรัพยากรสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ อาชีพ รายได้ดีขึ้น (ไม่ได้เข้ามาเพื่อยึดเงินผลประโยชน์ในการทำงาน) 2 มีกลุ่มองค์กรท้องถิ่น นักการเมืองท้องถิ่นทำงานยืนเคียงข้างชาวบ้านด้วยความจริงใจ อย่างต่อเนื่อง
3 มีเครือข่ายพันธมิตร นักวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ช่วยในการหนุนเสริมเรื่องข้อมูลทรัพยากร เพื่อต่อสู่การผลักดันทั้งในระดับพื้นที่ และระดับนโยบาย (อย่างการต่อสู้กับ บ.เชฟรอน และกลุ่มเรือคราดหอย)

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายประมงพื้นบ้านอ.สิงหนคร จำนวน 8 คน

2.เครือข่ายประมงพื้นบ้านอ.สทิงพระ จำนวน 9 คน

3.เครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา จำนวน 4 คน

4.สมาคมรักษ์ทะเลไทยจำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

แลกเปลี่ยนวางแผน เรียนรู้การจัดการทรัพยากร กฏหมายที่เกี่ยวข้อง18 มกราคม 2559
18
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนการดำเนินงาร การจัดการทรัยพากร ให้สอดคล้องกับกฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้รับผิดชอบโครงการจัดประชุมคณะทำงาน และแกนนำ คนในชุมชนทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับพรก.ประมง 2558มาตรา 34 ซึ่งก็จะมีเวทีร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน จังหวัดสงขลา เพื่อดำเนินการยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ถึงนายกรัฐมนตรีให้ยกเลิก มาตรา 34
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงาน และแกนนำ เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากร และประเด็น พรบ.ประมง 2558 ที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้านโดยตรงเพื่อที่จะมีการผลักดันการบังคับใช้ พรก.ประมง 2558 ให้สอดคล้องกับวิถีอาชีพ ของประมงพื้นบ้าน
  • คนในชุมชนทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับพรก.ประมง 2558มาตรา 34 ที่ว่าห้ามประมงพื้นบ้านออกทำประมงจากฝั่งเกิน 3 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 5.4กิโลเมตร ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประมงพื้นบ้าน เพราะประมงพื้นบ้านทำการประมงจับสัตว์น้ำกันมาตั้งแต่บรรพบุรษออกจากฝั่งไปประมาณ 20-30 ไมล์ทะเล ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพลมฟ้าอากาศ และฤดูกาลของสัตว์น้ำแต่ละชนิด และที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีประมงพื้นบ้านคนใดที่เสียชีวิตกรณีออกไปทำประมงนอกชายฝั่ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน,แกนนำ เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดสงขลา,หน่วยงานภาครัฐ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงานฯ16 มกราคม 2559
16
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมวางแผนการดำเนินงานต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดประเด็นการประชุม

  • ประชุมคณะทำงานเดือนละครั้ง
  • สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
  • ดูปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
  • ร่วมกันวางแผนดำเนินงานคร้้งต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และได้วางแผน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำซั้งกอ ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา และเรียนรู้การจัดการทรัพยากร กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน,แกนนำชุมชน,ผู้นำชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพทำประมงของชุมชน18 ธันวาคม 2558
18
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

จัดเก็บข้อมูลทรัพยากรสัตว์น้ำ  ,ข้อมูลชาวประมง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วม,จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สถานที่ กำหนดประเด็น สรุปบันทึกข้อมูลโดยมีรูปแบบการระดมจัดเก็บข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟู เช่น จุดพื้อนการทำประการังเทียม,การทำซั้งกอ เป็นต้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อมูลเรือประมงพื้นบ้าน ชุมชนบ้านทะเลนอก ม.1 ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา ทั้งหมดจำนวน 115 ลำ โดยแยกเป็นประเภทชนิดของเรือดังนี้

  1. เรือท้ายตัด(หัวสิงห์)จำนวน64 ลำ ใช้เครื่องมืออวนลอย อวนล้อมจับสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เช่น ปลาทู กุ้ง ปลาจาระเม็ดปูปลาอินทรีย์หมึกดองออกจากฝั่งไปไกลสุดประมาณ 26-30 ไมล์ ประมาณ 40-50 กิโลเมตร (เม.ย.-พ.ค.จับปลาทู,ปลาหลังเขียวออกวางอวน 16.00น.)(ธ.ค.-ก.พ.วางอวนกุ้งแชบ๋วย เวลา05.00นเวลา 03.00 วางอวนจมจับปลาทู)

  2. เรือไฟเบอร์จำนวน19ลำ ใช้เครื่องมือเบ็ดจับปลาอินทรีย์,อวนปู (เวลา 05.00 น.) ลอบจับปลากุเลา,ปลาขี้ตัง,ปลาเก๋า(08.00 น.) อวนปลาทู อวนปลาหลังเขียวออกจากฝั่งไปไกลสุดประมาณ 10 ไมล์ หรือ 18 กิโลเมตร

  3. เรือมาด จำนวน32 ลำ ใช้เครื่องมือ ช่วงออกทำประมง ห่างจากฝั่งแบบเดียวกับเรือไฟเบอร์ แต่มีเพิ่มเครื่องมือเบ็ดจับปลากระบอก, อวนปลาหลังเขียว (ออกวางอวน เวลา 18.00น.) ปฏิทินช่วงฤดูกาลสัตว์น้ำพื้นที่บ้านทะเลนอกดังนี้ ม.ค.-ก.พ. กุ้งแช่บ๋วย,หมึกกระดอง,ปูม้า มี.ค.ปลาทู,ปลาอินทรีย์,ปลากุเลา,ปลาสาก,ปลาจาระเม็ด เม.ย. ปลาทูชุกชุมมาก, ปลาอินทรีย์,ปูม้า พ.ค.ปลาทู,ปลาจาระเม็ด,ปลาโทง มิ.ย.ปลาทู,ปลาอินทรีย์ ก.ค.-ต.ค. ปูม้า,ปลาจาระเม็ด,ปลาแดง พ.ย.-ธ.ค. ปูม้า,ปลาจาระเม็ด,กุ้งหัวแข็ง

หมายเหตุ

  1. ชาวประมงบอกปลาทู,ปลาอินทรีย์ และปูม้า มีให้จับตลอดปี
  2. ยกตัวอย่างราคาสัตว์น้ำในชุมชน เช่น ปูม้ากก.ละ 250-280 บาท ปลาเก๋า กก.ละ250-280 บาท ปลาทูกก.ละ 60-100 บาท ตามขนาดปลาเล็ก,กลาง,ใหญ่

กิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำที่ชุมชนทำกันต่อเนื่อง คือ 1. การวางซั้งกอ(บ้านปลา) ช่วงมี.ค.-พ.ค. ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา,เทศบาลเมืองสิงหนคร ,สมาคมรักษ์ทะเลไทย และบุคคล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นที่อยู่อาศัย หลบภัย และขยายพันธุ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทู 2. การวางปะการังเทียม ช่วง ก.ย.ต.ค. ร่วมกับประมงอำเภอสิงหนคร ,ประมงจังหวัดสงขลา,สมาคมรักษ์ทะเลไทย บุคคลหน่วยงานเกี่ยวข้อง 3. กติกาชุมชนเรื่องการไม่ทำประมงทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน,แกนนำชุมชน,เจ้าหน้าที่ประมงอำเภอสิงหนคร,เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงตอนล่าง,พี่เลี้ยง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน สรุปทบทวน วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน16 ธันวาคม 2558
16
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

สรุปกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จ ผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และวางแผนการทำกิจกรรมต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานประสานทีมงาน พี่เลี้ยง  แกนนำชุมชน  วงพูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง มีอาหารเที่ยง  กาแฟ ขนม  อาหารว่างระหว่างคุยกัน  ได้ทราบผลการทำกิจกรรมที่ผ่านมา และได้ร่วมกันวางแผนทำกิจกรรมในเดือนต่อไป 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในวงพูดคุยกันได้แลกเปลี่ยนงานที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับชุมชน ดังนี้

  1. ประเด็นพระราชกำหนดประมง 2558 ที่ยังมีข้อมูลบางมาตราส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมงของชุมชน จำเป็นต้องเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้ข้อมูลประเด็นข้อเสนอการปรับปรุงแก้ไขกฏหมายให้สอดคล้องกับประมงพื้นบ้าน

  2. ได้ข้อสรุปในวงประชุมร่วมกันถึงจำนวนกิจกรรมที่ดำเนินการผ่านมาได้ร่วมวางแผนกิจกรรมในเดือนธันวาคม 2558คือในวันที่ 18 ธันวาคม 2558จัดประชุมเวทีพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการข้อมูล เวลา 10.00-16.00ที่สมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร โดยได้ตั้งประเด็นวาระการประชุมการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละด้านเช่น การประสานงานผู้เข้าร่วม, การจัดเตรียมสถานที่,ฝ่ายสรุปบันทึกข้อมูล เป็นต้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน,แกนนำ,ผู้นำในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เรียนรู้งานอนุรักษ์ฟื้นฟูฯ และกฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง10 ธันวาคม 2558
10
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

ชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  นำความรู้มาบอกเล่าให้คนในชุมชนทราบ และกำหนดประเด็นข้อเสนอ เข้าร่วมเวทีการร่างกฏหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดเป็นกฏหมายประมงที่ไม่ขัดกับวิถีชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประเด็นพระราชกำหนด ประมง 2558 เป็นการนำเสนอข้อมูลด้านเดียวของกลุ่มประมงพานิช กลุ่มนักการเมือง ข้าราชการ  เพื่อที่จะประกาศบังคับใช้กฏหมายประมง  ซึ่งในข้อมูลในแต่ละมาตรามีหลายๆ ประเด็นที่ขัดแย้งกับอาชีพ วิถี ประมงพื้นบ้าน  เช่น การบังคับให้ประมงพื้นบ้านออกทำการประมงจากฝั่งออกไปไม่เกิน 3 ไมล์ หรือ 5.4 กิโลเมตร  นั้นไม่เป็นจริงกับที่ชาวประมงออกทำการประมงกันมาหลายชั่วอายุคน ที่มีการออกจากฝั่งไปตั้งแต่ ชายฝั่งทะเลหน้าบ้าน ไปจนถึง20-30 ไมล์ ตามช่วงฤดูกาลของคลื่นลม และสัตว์น้ำ  เพราะหากจะบังคับให้ประมงพื้นบ้านทำการประมงอยู่ในเขต 3 ไมล์ทะเล คงไม่สามารถมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้  ดังนั้นกลุ่มเครือข่ายประมงพื้นบ้าน ใช้เวทีนี้ในการระดมความคิดเห็นต่อพระราชกำหนดประมง 2558  ในทุกๆ รายละเอียด มาตรา เพื่อที่จะได้มีข้อเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขต่อกรมประมงต่อไป ให้เหมาะสมกับวิถีอาชีพประมงพื้นบ้านที่พวกเขา อยู่กับทะเล ดูแลทะเล และใช้ประโยชน์จากทะเล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนคณะทำงาน,กลุ่มเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การเก็บข้อมูลชุมชน เช่นสัตว์น้ำ เครื่องมือประมง23 พฤศจิกายน 2558
23
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำ คณะทำงาน และชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. คณะทำงานประชุมสภาผู้นำชุมชนเดือนละครั้ง เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการร่วมกัน
  2. แบ่งหน้าทีความรับผิดชอบแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมฝ่ายจัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ฝ่ายบันทึกการประชุมเป็นต้น
  3. กำหนดประเด็นหัวข้อการประชุม
  4. ประชุมพูดคุยแลกเปลี่่ยน กันตามอัธยาศัยการซักถาม เติมเต็มข้อมูลให้สมบูรณ์มากที่สุด
  5. สรุปบันทึกข้อมูลภาพกิจกรรมประกอบการรายงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมการจัดทำข้อมูลทรัพยากรสัตว์น้ำโดยการระดมความคิดจากผู้เข้าร่วม ในการแลกเปลี่ยนเรื่องของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ชาวประมงบ้านทะเลนอกจับได้ ตามช่วงฤดูกาลราคาตลาดเพื่อที่จะขยายผลกิจกรรมสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มสัตว์น้ำให้กับชาวประมงโดยการหาตลาด กลุ่มผู้บริโภค ภายนอกที่หลากหลาย ที่ให้ผู้บริโภคได้สัตว์น้ำอินทรีย์ จับโดยประมงพื้นบ้าน ใช้เครื่องมือประมงที่เหมาะสมไม่ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน มีกฏกติกาการใช้ทรัพยากรสัตว์ร่วมกับกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร อาชีพ รายได้ ให้กับชาวประมง และคนกินปลาทุกคน

  1. เกิดความร่วมมือกันของกลุ่มชาวประมงในการที่จะร่วมกันสร้างมูลค่าสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นที่จะสามารถสร้างอาชีพ รายได้ให้กับคนในชุมชนเพิ่มขึ้น
  2. เกิดภาคีความร่วมมือในการเข้ามาสนับสนุนการทำประมงสัตว์น้ำอินทรีย์จำนวน 1 แห่ง คือ ร้านคนจับปลา จ.ประจวบคีรีขันธ์ที่จะหาตลาด กลุ่มผู้บริโภค และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมงบ้านทะเลนอก ตามขีดความสามารถจับได้ที่เหมาะสม โดยการซื้อขายสัตว์น้ำที่ผู้บริโภคต้องการต้องยึกพื้นที่กลุ่มชาวประมงเป็นสำคัญว่าช่วงฤดูกาลไหนจับสัตว์น้ำชนิดใดที่สามารถทำให้ชาวประมงไม่ต้องเร่งจับสัตว์น้ำเกินกว่าปกติ แต่จับได้เท่าไหร่ ก็ขายเท่านั้น หรือ แล้วแต่ชาวประมงจะกำหนดปริมาณสัตว์น้ำแต่ละชนิดเสนอต่อผู้บริโภค
  3. เกิดปฏิทินฤดูกาลจับสัตว์น้ำของชาวประมงบ้านทะเลนอก
  4. ได้ข้อมูลต่อยอดกิจกรรมการทำธุรกิจเพื่อสังคมโดยชุมชน เพื่อชุมชน และสังคม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน แกนนำ, คณะกรรมการสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก

  • ชาวประมงในชุมชน,

  • พี่เลี้ยง

  • เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การรายงานกิจกรรม ,รายงานการเงิน22 พฤศจิกายน 2558
22
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ,ฝ่ายการเงิน และคณะทำงาน ในการเขียนรายงานกิจกรรม.รายงานการเงินให้ถูกต้องตามระเบียบ สสส.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สจรส.ถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ ฝ่ายการเงิน และฝ่ายข้อมูล โครงการ เข้าร่วมอบรมการเขียนรายงานกิจกรรม. รายงานการเงินการเสียภาษีสรรพากร 1%และเอกสารบิลใบเสร็จที่ถูกต้อง กับหมวดค่าใช้จ่ายแต่ละกิจกรรม การทำความเข้าใจร่วมกันในหลักการระเบียบการบริหารจัดการของ สสส. เพื่อเกิดความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติต่อการดำเนินงานโครงการ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 2 คนได้เรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ถูกต้องในการดำเนินโครงการในพื้นที่ ดังนี้

  1. การให้ความรู้ความเข้าใจการเขียนรายงานกิจกรรมการเงินเอกสารประกอบการรายงานที่ถูกต้อง

  2. การแลกเปลี่ยนพูดคุยซักถามถึงข้อสงสัยที่ผู้รับผิดชอบโครงการ หรือทีมทำงาน ไม่เข้าใจเพื่อได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง

  3. การเสียภาษีสรรพากร ในหมวดของค่าใช้จ่าย เช่นหมวดค่าตอบแทนวิทยากร, ค่าจัดจ้าง, ค่าอาหาร หัก 1% ในกรณีค่าใช้จ่ายเกิน 1,000 บาท

ซึ่งกรณีมีข้อสงสัยในการรายงานกิจกรรมรายงานการเงินการเสียภาษีก็สามารถปรึกษาทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่ และทีม สจรส.ได้เสมอ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  1. ฝ่ายการเงิน จำนวน 1 คน

  2. ฝ่ายข้อมูล จำนวน 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัสหวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงานฯ16 พฤศจิกายน 2558
16
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมคณะทำงานเดือนละครั้ง เพื่อสรุป และร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม คณะทำงานประจำเดือน เพื่อได้รับทราบผลการดำเนินงาน ป้องกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค และร่วมวางแผนการดำเนินงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมคณะทำงานเพื่อได้ร่วมกันมาทบทวน วางแผนการดำเนินงานโครงการ, และการพัฒนากิจกรรมต่อยอดจากโครงการ เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการทรัพยากรในชุมชนได้ ดังนี้

  1. เรื่องของการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลอ่าวไทย ที่เปรียบเสมือนหม้อข้าวหม้อแกง ของคนในชุมชน หากสัตว์น้ำชุกชุมมีให้จับมีรายได้มีบริโภคชุมชนก็มีสุขดังนั้นงานอนุรักษ์ฟื้นฟูจึงเป็นหัวใจของชุมชนบ้านทะเลนอก เช่น การทำซั้งกอ เพื่อเป็นที่อยู่ อาศัยขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาทูที่มีให้จับตลอดปี
  2. เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มสัตว์น้ำให้กับชาวประมงการรวมกลุ่มขายสัตว์น้ำได้ราคายุติธรรมมีกำไรนำมาจัดสรรปันผลคืนทุกคนที่เข้ามาร่วมกิจกรรมโดยต้องมีการบิรหารจัดการโดยชุมชน เน้นความถูกต้อง โปร่งใส ของบัญชีการเงินโดยระยะแรกการเข้ามาหนุนเสริมจากพี่เลี้ยง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดความยั่งยืน มั่นคง(สัตว์น้ำ,ตลาด,ราคา)
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน แกนนำชุมชนชาวประมงในเครือข่ายสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่ลงสู่ชุมชน10 พฤศจิกายน 2558
10
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

ทำความเข้าใจรายละเอียดการดำเนินโครงการ ให้ชุมชน หน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าใจ และเข้ามาร่วมดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานวางแผนแบ่งหน้าที่การดำเนินงานจัดกิจกรรม  กำหนดเนื้อหาทำความเข้าใจโครงการกับผู้เข้าร่วม  แลกเปลี่ยนซักถาม  ถ่ายภาพ  สรุป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เข้าร่วมจำนวน 2 คน  ให้เกียรติเปิดโครงการ  เป็นคนในพื้นที่พี่น้องประมงสนิทสนมดี  ได้แสดงความยินดีกับโครงการดีๆ ที่ลงสู่ชุมชน มีกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานหนุนเสริม่ชุมชน ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้วยเช่น การทำซั้งกอ  และทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ยินดีที่จะสนับสนุนประมงพื้นบ้านให้มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขี้น  โดยให้ทางชุมชนได้เสนอแผนงานร่วมกันเพื่อที่จะสนับสนุนด้วย ตัวแทนจากประมงอำเภอสิงหนคร  ก็มีความยินดีกับพื้นที่ในการดำเนินงานอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำร่วมกับกรมประมง  ที่มีแผนในการหนุนเสริมเรื่องการวางปะการังเทียมด้วย จำนวน 5-10 จุด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 140 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน คนในชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อม เครือข่ายชาวประมง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ชุมชนบางส่วนยังขาดความเข้าใจเข้ามาร่วมกับกิจกรรมส่วนรวม แนวทางแก้ไข ให้แกนนำที่ได้ร่วมกิจกรรมในชุมชนต่อเนื่องได้ให้ความรู้ งานส่วนรวม ประโยชน์ส่วนรวมให้กับคนเหล่านั้น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
เปิดโครงการทำความเข้าใจร่วมกับชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง10 พฤศจิกายน 2558
10
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการดำเนินงาน ที่มาที่ไปโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานแบ่งหน้ามี่ความรับผิดชอบ ในการจัดเวทีกิจกรรม  กำหนดวาระเนื้อหาในเวทีประชุมเปิดโครงการ  แลกเปลี่ยนซักถาม  บันทึก ถ่ายรูป ประกอบการรายงานฯ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมจำนวน 140 คน ได้เข้ามามีส่วนร่วมให้ความสำคัญกับโครงการที่ลงสู่ชุมชน  โดยเฉพาะหน่วยงานในท้องถิ่นอย่างน้อย 3 หน่วยงาน คือ เทศบาลเมืองสิงหนคร  ,องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา,ประมงอำเภอสทิงพระ  เป็นต้น โดยในเวทีได้พูดคุยทำความเข้าใจที่มาที่ไปของโครการโดย นายดลหะหรีม บิลหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการ การเสริมด้วยกลุ่มพี่เลี้ยง  การทำความเข้าใจหลักๆ เรื่องของตัวกิจกรรม ที่สอดคล้องกับพื้นที่การทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ  ไม่ว่าเรื่องการทำซั้งกอ ที่ผ่านมาชุมชนก็เคยได้ทำกันมาบ้างแล้ว และเห็นประโยชน์ผลที่ได้รับจากการทำซั้งกอคือสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปลาทู  ซึ่งโครงการนี้ก็สามารถต่อยอดกิจกรรมที่ชุมชนทำอยู่ได้เป็นอย่างดี  และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทำกับกรมประมง เช่น ปะการังเทียม เป็นต้น 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 140 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน,แกนนำ ชุมชนประมงบ้านทะเลนอก เทศบาลเมืองสิงหนคร เครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.สทิงพระ สมาคมรักษ์ทะเลไทย

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เปิดโครงการทำความเข้าใจร่วมกับชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง10 พฤศจิกายน 2558
10
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ฯ การดำเนินโครงการ ให้แก่คนในชุมชนเครือข่ายประมงพื้นบ้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้กระบวนการเกิดโครงการ และทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เวทีเปิดโครงการ ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจขั้นตอนการจัดทำโครงการระยะเวลางบประมาณสนับสนุนแหล่งทุน

-สร้างความเ่ข้าใจตัวโครงการร่วมกัน และสร้างการมีส่วนร่วมทุกส่วนเข้ามาร่วมดำเนินโครงการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปเนื้อหาประเด็นสำคัญ เวทีประชุม ดังนี้

  1. ชุมชนประมงพื้นบ้านและเครือข่าย หน่าวยงานท้องถิ่นเข้าใจที่มาที่ไปโครงการร่วมสร้างสุขด้วยซั้งกอบ้านทะเลนอก และเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินโครงการด้วยความสมัครใจ
  2. เกิดกลุ่มเยาวชน ได้เข้ามาทำงานหนุนเสริมผู้ใหญ่ ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร
  3. การทำซั้งกอ วางในทะเลหน้าบ้าน เป็นเหมือนบ้านที่อยู่อาศัย หลบภัย ขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทู สังเกตุจากซั้งกอที่ชุมชนได้วางในทะเลเมื่อปีที่ผ่านมา สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นรายได้ดีขึ้นชีวิตมีความสุขขึ้น
  4. การรวมกลุ่มกันของชาวประมง ที่จับสัตว์น้ำด้วยเครื่อมือเหมาะสม การอนุรักษ์ฟืนฟูควบคู่กับการจับสัตว์น้ำที่สด สะอาด ปลอดภัย ต่อผุ้บริโภค
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 142 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน

-เครือข่่ายคณะกรรมการ,สมาชิก สมาคมประมงพื้นบ้าน อ.สิงหนคร ,กลุ่มออมทรัพย์บ้านทะเลนอก

-เทศบาลเมืองสิงหนคร

-ประมงอำเภอสทิงพระ

-องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา -เครือข่ายประมงพื้นบ้านอำเภอสทิงพระ -สมาคมรักษ์ทะเลไทย

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายจำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ทำป้ายลดละเลิกบุหรี่16 ตุลาคม 2558
16
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

รณรงค์ให้คนเลิกบุหรี่ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงมีความสุข

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน ทำหน้าที่ไปติดต่อจัดทำป้ายปลอดบุหรี่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 250 คน จากที่ตั้งไว้ 250 คน
ประกอบด้วย

นำแบบป้าย ขนาดรูปแบบตามระเบียบของ สสส. ไปให้ทางร้านรับทำไวนิลจัดทำ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชนเดือนละครั้ง ทำความเข้าใจ ร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการ15 ตุลาคม 2558
15
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมคณะทำงานเดือนละครั้ง เพื่อสรุป และร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดวาระการประชุม  พูดคุย  สรุป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การทำความเข้าใจโครงการร่วมกันในทีมคณะทำงานหลักๆ ประเด็นวัตถุประสงค์เป้าหมาย,คณะทำงาน,บทบาทหน้าที่,
  • ว่าด้วยระเบียบการใช้จ่ายเงิน,การรายงานเอกสาร,รายงานการเงิน (บิลใบเสร็จที่ถูกต้อง,การแนบสำเนาบัตรประชาชนกรณีค่าใช้จ่ายเกิน 1000 บาท การเบิกถอนเงินธนาคารเดือนละครั้ง ตามกิจกรรมที่วางไว้ เงินสดคงเหลือในมือจากจัดกิจกรรมแต่ละครั้งมีไม่เกิน 5000 บาท (ให้คำนึงถึงความถูกต้องโปร่งใสมากที่สุด) หากกรณีเกิดความไม่โปร่งใสเรื่องค่าใช้จ่าย ไม่มีเอกสาร บิลใบเสร็จ มายืนยัน การใช้จ่ายไม่ตามกรอบหมวดกิจกรรม สสส.ระงับการดำเนินโครงการทันที และเรียกเงินกลับหมด
  • มติที่ประชุม กำหนดเปิดโครงการฯ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558เวลา 09.00-15.00 ณ.สมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนครทำหนังสือเชิญ ปลัดเทศบาลเมืองสิงหนคร เป็นประธานเปิดโครงการ
    สิ่งที่ต้องเตรียม
  1. หนังสือเชิญประชุม,กำหนดการ
  2. สถานที่ โต๊ะ เก้าอี้เครื่องเสียง 3.อาหาร กาแฟ น้ำดื่ม
  3. ป้ายไวนิล
  4. อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ  คณะทำงาน และแกนนำในชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์ ,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ปฐมนิเทศน์โครงการ29 กันยายน 2558
29
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์
  • เวทีการถ่ายทอดความรู้การจัดการดำเนินงานโครงการ จาก สจรส. เกี่ยวกับการรายงานกิจกรรรายงานการเงิน เอกสารบิลใบเสร็จรูปภาพและการเขียนรายงานผ่านเวปไซด์ ที่สจรส. จัดทำขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การทำความเข้าใจ รายละเอียด ของตัวโครงการ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมเข้าใจในหลักการบริหารจัดการโครงการฯเบื้องต้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

-ฝ่ายการเงินจำนวน 1 คน

-ประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-