แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ร่วมสร้างสุข ด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก

ชุมชน ชุมชนบ้านทะเลนอก 146 ม.1 ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ. สงขลา 90280

รหัสโครงการ 58-03817 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1265

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศน์โครงการ

วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เวทีการถ่ายทอดความรู้การจัดการดำเนินงานโครงการ จาก สจรส. เกี่ยวกับการรายงานกิจกรรรายงานการเงิน เอกสารบิลใบเสร็จรูปภาพและการเขียนรายงานผ่านเวปไซด์ ที่สจรส. จัดทำขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมเข้าใจในหลักการบริหารจัดการโครงการฯเบื้องต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

มาอบรมทำความเข้าใจโครงการ 

กิจกรรมที่ทำจริง

การทำความเข้าใจ รายละเอียด ของตัวโครงการ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน

 

2 2

2. ประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชนเดือนละครั้ง ทำความเข้าใจ ร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมคณะทำงานเดือนละครั้ง เพื่อสรุป และร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดสภาผู้นำชุมชนที่ประกอบด้วยผุ้นำทางการและผู้นำธรรมชาติ จำนวน 40 คน เกิดแผนการทำงานชุมชน ภายใต้ประเด็นที่สอดคล้องกับชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การทำความเข้าใจโครงการร่วมกันในทีมคณะทำงานหลักๆ ประเด็นวัตถุประสงค์เป้าหมาย,คณะทำงาน,บทบาทหน้าที่,
  • ว่าด้วยระเบียบการใช้จ่ายเงิน,การรายงานเอกสาร,รายงานการเงิน (บิลใบเสร็จที่ถูกต้อง,การแนบสำเนาบัตรประชาชนกรณีค่าใช้จ่ายเกิน 1000 บาท การเบิกถอนเงินธนาคารเดือนละครั้ง ตามกิจกรรมที่วางไว้ เงินสดคงเหลือในมือจากจัดกิจกรรมแต่ละครั้งมีไม่เกิน 5000 บาท (ให้คำนึงถึงความถูกต้องโปร่งใสมากที่สุด) หากกรณีเกิดความไม่โปร่งใสเรื่องค่าใช้จ่าย ไม่มีเอกสาร บิลใบเสร็จ มายืนยัน การใช้จ่ายไม่ตามกรอบหมวดกิจกรรม สสส.ระงับการดำเนินโครงการทันที และเรียกเงินกลับหมด
  • มติที่ประชุม กำหนดเปิดโครงการฯ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558เวลา 09.00-15.00 ณ.สมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนครทำหนังสือเชิญ ปลัดเทศบาลเมืองสิงหนคร เป็นประธานเปิดโครงการ
    สิ่งที่ต้องเตรียม
  1. หนังสือเชิญประชุม,กำหนดการ
  2. สถานที่ โต๊ะ เก้าอี้เครื่องเสียง 3.อาหาร กาแฟ น้ำดื่ม
  3. ป้ายไวนิล
  4. อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชนเดือนละครั้งได้สรุปทบทวน วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดวาระการประชุม  พูดคุย  สรุป

 

40 15

3. ทำป้ายลดละเลิกบุหรี่

วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รณรงค์ให้คนเลิกบุหรี่ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงมีความสุข

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายเลิกบุหรี่ เพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชนและบุคคลทั่วไป ได้ตระหนักถึงโทษพิษภัยของบุหรี่  ให้หันมาดูแลรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรงมีความสุข

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน ทำหน้าที่ไปติดต่อจัดทำป้ายปลอดบุหรี่

 

250 250

4. เปิดโครงการทำความเข้าใจร่วมกับชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ฯ การดำเนินโครงการ ให้แก่คนในชุมชนเครือข่ายประมงพื้นบ้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้กระบวนการเกิดโครงการ และทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-คณะทำงานหลัก 11 คนสามารถแบ่งบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงการให้บรรลุผลสำเร็จร่วมกัน -ชุมชนรู้เข้าใจและเข้าร่วมการดำเนินงานโครงการไม่น้อยกว่า 100 คน และสามารถขยายผลให้ชุมชนใกล้เคียงเข้าใจได้ด้วยเช่นกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปเนื้อหาประเด็นสำคัญ เวทีประชุม ดังนี้

  1. ชุมชนประมงพื้นบ้านและเครือข่าย หน่าวยงานท้องถิ่นเข้าใจที่มาที่ไปโครงการร่วมสร้างสุขด้วยซั้งกอบ้านทะเลนอก และเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินโครงการด้วยความสมัครใจ
  2. เกิดกลุ่มเยาวชน ได้เข้ามาทำงานหนุนเสริมผู้ใหญ่ ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร
  3. การทำซั้งกอ วางในทะเลหน้าบ้าน เป็นเหมือนบ้านที่อยู่อาศัย หลบภัย ขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทู สังเกตุจากซั้งกอที่ชุมชนได้วางในทะเลเมื่อปีที่ผ่านมา สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นรายได้ดีขึ้นชีวิตมีความสุขขึ้น
  4. การรวมกลุ่มกันของชาวประมง ที่จับสัตว์น้ำด้วยเครื่อมือเหมาะสม การอนุรักษ์ฟืนฟูควบคู่กับการจับสัตว์น้ำที่สด สะอาด ปลอดภัย ต่อผุ้บริโภค

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อทำความเข้าใจรายละเอิยดโครงการ และการให้ชุมชน หน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินโครงการ เข้าใจวัตถุประสงค์เป้าหมาย

กิจกรรมที่ทำจริง

-เวทีเปิดโครงการ ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจขั้นตอนการจัดทำโครงการระยะเวลางบประมาณสนับสนุนแหล่งทุน

-สร้างความเ่ข้าใจตัวโครงการร่วมกัน และสร้างการมีส่วนร่วมทุกส่วนเข้ามาร่วมดำเนินโครงการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์

 

150 142

5. ประชุมคณะทำงานฯ

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10.00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมคณะทำงานเดือนละครั้ง เพื่อสรุป และร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดสภาผู้นำชุมชนที่ประกอบด้วยผุ้นำทางการและผู้นำธรรมชาติ จำนวน 40 คน เกิดแผนการทำงานชุมชน ภายใต้ประเด็นที่สอดคล้องกับชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การประชุมคณะทำงานเพื่อได้ร่วมกันมาทบทวน วางแผนการดำเนินงานโครงการ, และการพัฒนากิจกรรมต่อยอดจากโครงการ เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการทรัพยากรในชุมชนได้ ดังนี้

  1. เรื่องของการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลอ่าวไทย ที่เปรียบเสมือนหม้อข้าวหม้อแกง ของคนในชุมชน หากสัตว์น้ำชุกชุมมีให้จับมีรายได้มีบริโภคชุมชนก็มีสุขดังนั้นงานอนุรักษ์ฟื้นฟูจึงเป็นหัวใจของชุมชนบ้านทะเลนอก เช่น การทำซั้งกอ เพื่อเป็นที่อยู่ อาศัยขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาทูที่มีให้จับตลอดปี
  2. เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มสัตว์น้ำให้กับชาวประมงการรวมกลุ่มขายสัตว์น้ำได้ราคายุติธรรมมีกำไรนำมาจัดสรรปันผลคืนทุกคนที่เข้ามาร่วมกิจกรรมโดยต้องมีการบิรหารจัดการโดยชุมชน เน้นความถูกต้อง โปร่งใส ของบัญชีการเงินโดยระยะแรกการเข้ามาหนุนเสริมจากพี่เลี้ยง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดความยั่งยืน มั่นคง(สัตว์น้ำ,ตลาด,ราคา)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปรึกษาหารือ ร่วมกันของคณะทำงานโครงการ แกนนำ  และคณะกรรมการชุมชนบ้านทะเลนอก  แจ้งการดำเนินงานโครงการ และแผนการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม คณะทำงานประจำเดือน เพื่อได้รับทราบผลการดำเนินงาน ป้องกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค และร่วมวางแผนการดำเนินงาน

 

40 40

6. การรายงานกิจกรรม ,รายงานการเงิน

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ,ฝ่ายการเงิน และคณะทำงาน ในการเขียนรายงานกิจกรรม.รายงานการเงินให้ถูกต้องตามระเบียบ สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 2 คนได้เรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ถูกต้องในการดำเนินโครงการในพื้นที่ ดังนี้

  1. การให้ความรู้ความเข้าใจการเขียนรายงานกิจกรรมการเงินเอกสารประกอบการรายงานที่ถูกต้อง

  2. การแลกเปลี่ยนพูดคุยซักถามถึงข้อสงสัยที่ผู้รับผิดชอบโครงการ หรือทีมทำงาน ไม่เข้าใจเพื่อได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง

  3. การเสียภาษีสรรพากร ในหมวดของค่าใช้จ่าย เช่นหมวดค่าตอบแทนวิทยากร, ค่าจัดจ้าง, ค่าอาหาร หัก 1% ในกรณีค่าใช้จ่ายเกิน 1,000 บาท

ซึ่งกรณีมีข้อสงสัยในการรายงานกิจกรรมรายงานการเงินการเสียภาษีก็สามารถปรึกษาทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่ และทีม สจรส.ได้เสมอ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานได้เข้าใจถึงหลักการ เขียนรายงานกิจกรรม รายงานการเงินได้ถูกต้องตามระยะเวลาการรายงานแต่ละงวด เพื่อดำเนินการส่งถึงสสส.ได้ถูกต้อง

กิจกรรมที่ทำจริง

สจรส.ถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ ฝ่ายการเงิน และฝ่ายข้อมูล โครงการ เข้าร่วมอบรมการเขียนรายงานกิจกรรม. รายงานการเงินการเสียภาษีสรรพากร 1%และเอกสารบิลใบเสร็จที่ถูกต้อง กับหมวดค่าใช้จ่ายแต่ละกิจกรรม การทำความเข้าใจร่วมกันในหลักการระเบียบการบริหารจัดการของ สสส. เพื่อเกิดความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติต่อการดำเนินงานโครงการ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

 

2 2

7. การเก็บข้อมูลชุมชน เช่นสัตว์น้ำ เครื่องมือประมง

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 -15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำ คณะทำงาน และชุมชนในการจัดการข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-มีทีมงานรับผิดชอบการเก็บข้อมูล ในแต่ละประเด็นกรอบระยะเวลา วิธีการเก็บที่ชัดเจน

-มีข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการนำมาประกอบเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการจำนวน 1 ชุด

-มีแผนการดำเนินงานจากการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การประชุมการจัดทำข้อมูลทรัพยากรสัตว์น้ำโดยการระดมความคิดจากผู้เข้าร่วม ในการแลกเปลี่ยนเรื่องของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ชาวประมงบ้านทะเลนอกจับได้ ตามช่วงฤดูกาลราคาตลาดเพื่อที่จะขยายผลกิจกรรมสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มสัตว์น้ำให้กับชาวประมงโดยการหาตลาด กลุ่มผู้บริโภค ภายนอกที่หลากหลาย ที่ให้ผู้บริโภคได้สัตว์น้ำอินทรีย์ จับโดยประมงพื้นบ้าน ใช้เครื่องมือประมงที่เหมาะสมไม่ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน มีกฏกติกาการใช้ทรัพยากรสัตว์ร่วมกับกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร อาชีพ รายได้ ให้กับชาวประมง และคนกินปลาทุกคน

  1. เกิดความร่วมมือกันของกลุ่มชาวประมงในการที่จะร่วมกันสร้างมูลค่าสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นที่จะสามารถสร้างอาชีพ รายได้ให้กับคนในชุมชนเพิ่มขึ้น
  2. เกิดภาคีความร่วมมือในการเข้ามาสนับสนุนการทำประมงสัตว์น้ำอินทรีย์จำนวน 1 แห่ง คือ ร้านคนจับปลา จ.ประจวบคีรีขันธ์ที่จะหาตลาด กลุ่มผู้บริโภค และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมงบ้านทะเลนอก ตามขีดความสามารถจับได้ที่เหมาะสม โดยการซื้อขายสัตว์น้ำที่ผู้บริโภคต้องการต้องยึกพื้นที่กลุ่มชาวประมงเป็นสำคัญว่าช่วงฤดูกาลไหนจับสัตว์น้ำชนิดใดที่สามารถทำให้ชาวประมงไม่ต้องเร่งจับสัตว์น้ำเกินกว่าปกติ แต่จับได้เท่าไหร่ ก็ขายเท่านั้น หรือ แล้วแต่ชาวประมงจะกำหนดปริมาณสัตว์น้ำแต่ละชนิดเสนอต่อผู้บริโภค
  3. เกิดปฏิทินฤดูกาลจับสัตว์น้ำของชาวประมงบ้านทะเลนอก
  4. ได้ข้อมูลต่อยอดกิจกรรมการทำธุรกิจเพื่อสังคมโดยชุมชน เพื่อชุมชน และสังคม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.การกำหนดประเด็นข้อมูลที่จัดเก็บ เช่น ข้อมูลสัตว์น้ำชนิด ราคา ช่วงฤดูกาลจับ

2.แบ่งบทบาทหน้าที่การเก็บข้อมูล

3.วิธีการเก็บข้อมูล เช่น สัมภาษณ์ จดบันทึกประชุม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. คณะทำงานประชุมสภาผู้นำชุมชนเดือนละครั้ง เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการร่วมกัน
  2. แบ่งหน้าทีความรับผิดชอบแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมฝ่ายจัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ฝ่ายบันทึกการประชุมเป็นต้น
  3. กำหนดประเด็นหัวข้อการประชุม
  4. ประชุมพูดคุยแลกเปลี่่ยน กันตามอัธยาศัยการซักถาม เติมเต็มข้อมูลให้สมบูรณ์มากที่สุด
  5. สรุปบันทึกข้อมูลภาพกิจกรรมประกอบการรายงาน

 

80 80

8. เรียนรู้งานอนุรักษ์ฟื้นฟูฯ และกฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-กลุุ่มเยาวชนเกิดการเรียนรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องถิ่น ที่ต้องร่วมกันดูแล ปกป้อง รักษา ความสมบูรณ์ของทะเลชายฝั่ง และสิ่งแวดล้อมไว้ -เกิดกลุ่มเยาวชนเข้ามาทำงานหนุนเสริมกลุ่มผู้ใหญ่ไม่น้อยกว่า 20 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประเด็นพระราชกำหนด ประมง 2558 เป็นการนำเสนอข้อมูลด้านเดียวของกลุ่มประมงพานิช กลุ่มนักการเมือง ข้าราชการ  เพื่อที่จะประกาศบังคับใช้กฏหมายประมง  ซึ่งในข้อมูลในแต่ละมาตรามีหลายๆ ประเด็นที่ขัดแย้งกับอาชีพ วิถี ประมงพื้นบ้าน  เช่น การบังคับให้ประมงพื้นบ้านออกทำการประมงจากฝั่งออกไปไม่เกิน 3 ไมล์ หรือ 5.4 กิโลเมตร  นั้นไม่เป็นจริงกับที่ชาวประมงออกทำการประมงกันมาหลายชั่วอายุคน ที่มีการออกจากฝั่งไปตั้งแต่ ชายฝั่งทะเลหน้าบ้าน ไปจนถึง20-30 ไมล์ ตามช่วงฤดูกาลของคลื่นลม และสัตว์น้ำ  เพราะหากจะบังคับให้ประมงพื้นบ้านทำการประมงอยู่ในเขต 3 ไมล์ทะเล คงไม่สามารถมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้  ดังนั้นกลุ่มเครือข่ายประมงพื้นบ้าน ใช้เวทีนี้ในการระดมความคิดเห็นต่อพระราชกำหนดประมง 2558  ในทุกๆ รายละเอียด มาตรา เพื่อที่จะได้มีข้อเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขต่อกรมประมงต่อไป ให้เหมาะสมกับวิถีอาชีพประมงพื้นบ้านที่พวกเขา อยู่กับทะเล ดูแลทะเล และใช้ประโยชน์จากทะเล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง ซึ่งงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เป็นกิจกรรมที่ชุมชนประมงพื้นบ้านให้ความสำคัญ
  • การเรียนรู้กฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ตัวกำหนดบังคับใช้ตามสอดคล้องกับวิถีอาชีพ และทรัพยากรในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  นำความรู้มาบอกเล่าให้คนในชุมชนทราบ และกำหนดประเด็นข้อเสนอ เข้าร่วมเวทีการร่างกฏหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดเป็นกฏหมายประมงที่ไม่ขัดกับวิถีชุมชน

 

35 35

9. ประชุมคณะทำงาน สรุปทบทวน วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

วันที่ 16 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สรุปกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จ ผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และวางแผนการทำกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดสภาผู้นำชุมชนที่ประกอบด้วยผุ้นำทางการและผู้นำธรรมชาติ จำนวน 40 คน เกิดแผนการทำงานชุมชน ภายใต้ประเด็นที่สอดคล้องกับชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในวงพูดคุยกันได้แลกเปลี่ยนงานที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับชุมชน ดังนี้

  1. ประเด็นพระราชกำหนดประมง 2558 ที่ยังมีข้อมูลบางมาตราส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมงของชุมชน จำเป็นต้องเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้ข้อมูลประเด็นข้อเสนอการปรับปรุงแก้ไขกฏหมายให้สอดคล้องกับประมงพื้นบ้าน

  2. ได้ข้อสรุปในวงประชุมร่วมกันถึงจำนวนกิจกรรมที่ดำเนินการผ่านมาได้ร่วมวางแผนกิจกรรมในเดือนธันวาคม 2558คือในวันที่ 18 ธันวาคม 2558จัดประชุมเวทีพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการข้อมูล เวลา 10.00-16.00ที่สมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอสิงหนคร โดยได้ตั้งประเด็นวาระการประชุมการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละด้านเช่น การประสานงานผู้เข้าร่วม, การจัดเตรียมสถานที่,ฝ่ายสรุปบันทึกข้อมูล เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-  การสรุปทบทวนการดำเนินงานโครงการ เดือนละครั้ง เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนผลที่เกิดขึ้น ปัญหาอุปสรรค แนวทางการดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จร่วมกัน และพูดคุยงานกิจกรรมที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับชุมชน เครือข่าย หน่วยงานที่ทำงานหนุนเสริมร่วมกัน 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานประสานทีมงาน พี่เลี้ยง  แกนนำชุมชน  วงพูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง มีอาหารเที่ยง  กาแฟ ขนม  อาหารว่างระหว่างคุยกัน  ได้ทราบผลการทำกิจกรรมที่ผ่านมา และได้ร่วมกันวางแผนทำกิจกรรมในเดือนต่อไป 

 

40 40

10. การเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพทำประมงของชุมชน

วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดเก็บข้อมูลทรัพยากรสัตว์น้ำ  ,ข้อมูลชาวประมง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-ชุมชนเกิดการพัฒนาศักยภาพด้านข้อมูล นำสามารถนำไปใช้และเผยแพร่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม -เกิดเอกสารชุดข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ข้อมูลเรือประมงพื้นบ้าน ชุมชนบ้านทะเลนอก ม.1 ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา ทั้งหมดจำนวน 115 ลำ โดยแยกเป็นประเภทชนิดของเรือดังนี้

  1. เรือท้ายตัด(หัวสิงห์)จำนวน64 ลำ ใช้เครื่องมืออวนลอย อวนล้อมจับสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เช่น ปลาทู กุ้ง ปลาจาระเม็ดปูปลาอินทรีย์หมึกดองออกจากฝั่งไปไกลสุดประมาณ 26-30 ไมล์ ประมาณ 40-50 กิโลเมตร (เม.ย.-พ.ค.จับปลาทู,ปลาหลังเขียวออกวางอวน 16.00น.)(ธ.ค.-ก.พ.วางอวนกุ้งแชบ๋วย เวลา05.00นเวลา 03.00 วางอวนจมจับปลาทู)

  2. เรือไฟเบอร์จำนวน19ลำ ใช้เครื่องมือเบ็ดจับปลาอินทรีย์,อวนปู (เวลา 05.00 น.) ลอบจับปลากุเลา,ปลาขี้ตัง,ปลาเก๋า(08.00 น.) อวนปลาทู อวนปลาหลังเขียวออกจากฝั่งไปไกลสุดประมาณ 10 ไมล์ หรือ 18 กิโลเมตร

  3. เรือมาด จำนวน32 ลำ ใช้เครื่องมือ ช่วงออกทำประมง ห่างจากฝั่งแบบเดียวกับเรือไฟเบอร์ แต่มีเพิ่มเครื่องมือเบ็ดจับปลากระบอก, อวนปลาหลังเขียว (ออกวางอวน เวลา 18.00น.) ปฏิทินช่วงฤดูกาลสัตว์น้ำพื้นที่บ้านทะเลนอกดังนี้ ม.ค.-ก.พ. กุ้งแช่บ๋วย,หมึกกระดอง,ปูม้า มี.ค.ปลาทู,ปลาอินทรีย์,ปลากุเลา,ปลาสาก,ปลาจาระเม็ด เม.ย. ปลาทูชุกชุมมาก, ปลาอินทรีย์,ปูม้า พ.ค.ปลาทู,ปลาจาระเม็ด,ปลาโทง มิ.ย.ปลาทู,ปลาอินทรีย์ ก.ค.-ต.ค. ปูม้า,ปลาจาระเม็ด,ปลาแดง พ.ย.-ธ.ค. ปูม้า,ปลาจาระเม็ด,กุ้งหัวแข็ง

หมายเหตุ

  1. ชาวประมงบอกปลาทู,ปลาอินทรีย์ และปูม้า มีให้จับตลอดปี
  2. ยกตัวอย่างราคาสัตว์น้ำในชุมชน เช่น ปูม้ากก.ละ 250-280 บาท ปลาเก๋า กก.ละ250-280 บาท ปลาทูกก.ละ 60-100 บาท ตามขนาดปลาเล็ก,กลาง,ใหญ่

กิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำที่ชุมชนทำกันต่อเนื่อง คือ 1. การวางซั้งกอ(บ้านปลา) ช่วงมี.ค.-พ.ค. ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา,เทศบาลเมืองสิงหนคร ,สมาคมรักษ์ทะเลไทย และบุคคล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นที่อยู่อาศัย หลบภัย และขยายพันธุ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทู 2. การวางปะการังเทียม ช่วง ก.ย.ต.ค. ร่วมกับประมงอำเภอสิงหนคร ,ประมงจังหวัดสงขลา,สมาคมรักษ์ทะเลไทย บุคคลหน่วยงานเกี่ยวข้อง 3. กติกาชุมชนเรื่องการไม่ทำประมงทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้าน เช่น  ข้อมูลการอนุรักษ์ฯ การใช้ประโยชน์จับสัตว์น้ำ การจับ ช่วงฤดูกาล,ราคา  และข้อมูลเรือ  ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์ชาวประมง , การระดมในเวทีประชุม 

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วม,จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สถานที่ กำหนดประเด็น สรุปบันทึกข้อมูลโดยมีรูปแบบการระดมจัดเก็บข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟู เช่น จุดพื้อนการทำประการังเทียม,การทำซั้งกอ เป็นต้น

 

30 30

11. ประชุมคณะทำงานฯ

วันที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 11:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมวางแผนการดำเนินงานต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดสภาผู้นำชุมชนที่ประกอบด้วยผุ้นำทางการและผู้นำธรรมชาติ จำนวน 40 คน เกิดแผนการทำงานชุมชน ภายใต้ประเด็นที่สอดคล้องกับชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และได้วางแผน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำซั้งกอ ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา และเรียนรู้การจัดการทรัพยากร กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะทำงาน ผู้นำชุมชน ประชุมติดตามการดำเนินงานทุกๆเดือน
  • เพื่อร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหา และวางแผนงานร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดประเด็นการประชุม

  • ประชุมคณะทำงานเดือนละครั้ง
  • สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
  • ดูปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
  • ร่วมกันวางแผนดำเนินงานคร้้งต่อไป

 

40 15

12. แลกเปลี่ยนวางแผน เรียนรู้การจัดการทรัพยากร กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนการดำเนินงาร การจัดการทรัยพากร ให้สอดคล้องกับกฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-ได้ข้อมูลจากการเข้ามามีส่วนร่วมทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง -คณะทำงานจัดเก็บข้อมูลดิบเพื่อนำมาวิเคราะห์ ออกมาเป็นแผนงานต่อการดำเนินโครงการ 1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงาน และแกนนำ เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากร และประเด็น พรบ.ประมง 2558 ที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้านโดยตรงเพื่อที่จะมีการผลักดันการบังคับใช้ พรก.ประมง 2558 ให้สอดคล้องกับวิถีอาชีพ ของประมงพื้นบ้าน
  • คนในชุมชนทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับพรก.ประมง 2558มาตรา 34 ที่ว่าห้ามประมงพื้นบ้านออกทำประมงจากฝั่งเกิน 3 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 5.4กิโลเมตร ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประมงพื้นบ้าน เพราะประมงพื้นบ้านทำการประมงจับสัตว์น้ำกันมาตั้งแต่บรรพบุรษออกจากฝั่งไปประมาณ 20-30 ไมล์ทะเล ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพลมฟ้าอากาศ และฤดูกาลของสัตว์น้ำแต่ละชนิด และที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีประมงพื้นบ้านคนใดที่เสียชีวิตกรณีออกไปทำประมงนอกชายฝั่ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-สร้างกระบวนการเรียนรู้ การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน ประมงพื้นบ้าน ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องในการวางแผนงานอนุรักษ์ฟื้นฟู การพึ่งพิงใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำที่เหมาะสม สอดคล้องกับอาชีพ วิถีประมงพื้นบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการจัดประชุมคณะทำงาน และแกนนำ คนในชุมชนทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับพรก.ประมง 2558มาตรา 34 ซึ่งก็จะมีเวทีร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน จังหวัดสงขลา เพื่อดำเนินการยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ถึงนายกรัฐมนตรีให้ยกเลิก มาตรา 34

 

60 60

13. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำซั้งกอ ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา

วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดการทรัพยากร กรณีทำซั้งกอ  เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมทำกิจกรรม ของชุมชน  เพื่อสัตว์น้ำมีมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-คนในชุมชนได้เกิดความรู้ปัญหาสถานการณ์ และการทำซั้งกอ สามารถนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ในพื้นที่ของตน

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนการทำซั้งกอ ร่วมกับพื้นที่เครือข่ายชาวประมง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 1 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานและเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา จำนวน 17 คน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ขบวนการการจัดการทรัยพากรในพื้นที่ของประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จากนายเจริญโต๊ะอิแตะ นายกสมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา นายหมาดโต๊ะสอ รองนายก นายดอเลาะแสหมาด แกนนำ ซึ่งสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้คือ
1. กระบวนการจัดการทรัยพากรของกลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา เริ่มจากการมานั่งพูดคุยถึงปัญหาทรัพยากร ของแกนนำ จำนวน 4 คน คือ นายเจริญ โต๊ะอิแตะ (บังมุ) นายหมาด โต๊ะสอ (บังหมาด)นายดอเลาะ แสหมาด (บังเลาะ) และนายยูโซ๊ป (เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งขณะนั้นทรัพยากรสัตว์น้ำถูกทำลายจากกลุ่มเรืออวนลาก เรือปั่นไป (เป็นประมงพานิช) อย่างหนัก ทำให้ประมงพื้นบ้านเดือดร้อนสัตว์น้ำลดน้อย เพราะสัตว์น้ำวัยอ่อนถูกทำลายเมื่อทรัพยากรทะเลหน้าบ้านถูกทำลาย ทั้ง 4 คนจึงเริ่มหาเพื่อนในหมู่บ้านมานั่งคุยให้รู้ถึงปัญหาดังกล่าวร่วมกัน เพื่อที่จะร่วมกันจัดการอย่างไรซึ่งขณะนั้นโครงการดับบ้านดับเมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้เข้ามาหนุนเสริมชาวประมงโดยได้พาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประมงพื้นบ้าน กลุ่มปากบารา กลุ่มขอนคลาน จ.สตูล กลับมาตั้งเป้าในการจัดการทำเขตอนุรักษ์เพื่อไม่ให้กลุ่มอวนลาก เข้ามาทำลายสัตว์วัยอ่อนพื้นที่ชายฝั่ง เสา ป้ายเขตอนุรักษ์ทุกคนร่วมออกแรง ออกเงินกันเอง เพราะตอนนันต้องช่วยกันเป็นปัญหาร่วมกันของทุกคนได้เงินสมทบจากนักการเมืองท้องถิ่น ที่เห็นความตั้งใจของชาวบ้าน เป็นเงินส่วนตัว นำมาซื้อกาแฟ ขนมให้ชาวบ้านขณะทำกิจกรรมเขตอนุรักษ์ เมื่อทำเขตอนุรักษ์ เพื่อไม่ให้กลุ่มอวนลากเข้ามาทำลายก็ต้องมีการตั้งคนเฝ้าระวังพื้นที่เขตอนุรักษ์ซึ่งแรกๆ ชาวบ้านก็ไม่เห็นคุณค่าของการทำเขตอนุรักษ์แต่เมื่อมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ไม่มีกลุ่มอวนลากเข้ามาสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นชาวบ้านก็เริ่มให้ความสำคัญ เพราะทำให้รายได้จากทำประมงดีขึ้นเริ่มมีการระดมทุนตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์ ตั้งร้านค้าชุมชน ตามลำดับ โดยรายได้ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม จากกลุ่มนำมาจัดสรร ช่วยเหลือสมาชิกตั้งเป็นกองทุนฟื้นฟูทรัพยากรมีทุนหมุนเวียนให้ชาวประมงได้ซื้อเครื่องมือประมงกิจกรรมการทำซั้งกอ ซึ่งประมงท่าศาลาเรียกกันว่า บ้านปลา เป็นกิจกรรมที่ทำกันมาต่อเนื่อง โดยในพืนที่ทะเลอ่าวท่าศาลา ดินด้านล่างจะเป็นเลน การทำซั้งกอ จากไม้หมาก ไม้ไผ่ทางมะพร้าวเชื่อกผูกทุ่นยึดให้ติดท้องทะเล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำซั้งกอจากหน่วยงาน ก็จะเปลี่ยนเป็นประการังเทียม หรือ ให้แท่นซิเมนซึ่งกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูต่างๆ ทั้งเขตอนุรักษ์ การเฝ้าระวังการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ทำธนาคารปูกันมาอย่างต่อเนื่องของประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา ทำให้มีสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์มากๆ ในปัจจุบัน (โดยเคยมีเรือประมงพื้นบ้านจำนวน 1 ลำ ออกไป 3 คืน จับสัตว์น้ำมีรายได้ถึง 300,000 บาทซึ่งเป็นช่วงที่สัตว์น้ำชุกชุมากๆ)
เรื่องจัดข้อมูลทำความเข้าใจกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง การสื่อสารเฝ้าระวังโดยโทรศัพท์ (จุดเด่นยุทธศาสตร์ของพื้นที่)
1 ทุกคนเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยใจเพื่อให้ทรัพยากรสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ อาชีพ รายได้ดีขึ้น (ไม่ได้เข้ามาเพื่อยึดเงินผลประโยชน์ในการทำงาน) 2 มีกลุ่มองค์กรท้องถิ่น นักการเมืองท้องถิ่นทำงานยืนเคียงข้างชาวบ้านด้วยความจริงใจ อย่างต่อเนื่อง
3 มีเครือข่ายพันธมิตร นักวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ช่วยในการหนุนเสริมเรื่องข้อมูลทรัพยากร เพื่อต่อสู่การผลักดันทั้งในระดับพื้นที่ และระดับนโยบาย (อย่างการต่อสู้กับ บ.เชฟรอน และกลุ่มเรือคราดหอย)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เป็นการแลกเปลี่่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำซั้งกอ ซึ้่งเป็นกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลของแต่ละพื้นที่กลุ่มประมงพื้นบ้าน ที่จะได้เรียนรู้ร่วมกันระหว่างชาวประมงบ้านทะเลนอก กับกลุ่มชาวประมงท่าศาลา ได้ความรู้นำมาประยุกต์ในการทำซั้งกอเหมาะสม และเกิดประโยชน์มากที่สุด

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดการนัดหมายกลุ่มไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวนคน พาหนะ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม เช่น กล้องถ่ายรูป,ไวนิล,ตัวโครงการ,ใบลงทะเบียน ,ใบรับเงิน กระดาษคลิปชาด ปากกาเคมีเป็นต้น เดินทางถึงจุดหมาย 09.00 นก่อนถึงเวลา 10.00 น.ซึ่งเวทีแลกเปลี่ยนจะเริ่มกลุ่มชาวประมงทักทายแกนนำ พี่น้องประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลาเดินชมการต่อเรือท้ายตัดที่ทำจากไม้ตะเคียน ทั้งลำ ซึ่งราคาลำละ 500,000- 600,000 บาท ค่าแรงช่างประมาณ 60}000-70,000 บาท เดินทางเข้าสถานที่ประชุม คือ สมาคคมเครืข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช พร้อมกินกาแฟขนมข้าวเหนียว พูดคุยทักทายชาวประมงในพื้นที่ และเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน

 

20 23

14. ตรวจสอบความก้าวหน้าและเอกสารการเงินกับพี่เลี้ยง

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน งวดที่ 1 ให้ถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน ได้รับรู้ข้อผิดพลาด ด้านเอกสารต่างๆ  โดยเฉพาะใบเสร็จรับเงิน  การใช้จ่ายที่ไม่ตรงหมวดกิจกรรม เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-การประชุมทำความเข้าใจถึงการทำเอกสารการเงิน การรายงานกิจกรรม ให้ถูกต้อง เช่น ใบเสร็จรับเงิน, ใบลงทะเบียน ,สำเนาแนบ หรือการจ่ายภาษีต่อสรรพากร  กรณีหลังเดือนธันวาคม 2558 เป็นต้นมา

กิจกรรมที่ทำจริง

นายดลหะหรีม บิลหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการ และนายสุรศักดิ์  โสมสุข ฝ่ายการเงิน จัดเตรียมเอกสารการเงิน  เพื่อจัดหม่วดหมู่  เอกสารถูกต้องหรือไม่ ก่อนส่่ง สสส. ในงวดที่ 1

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 35 14                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 178,595.00 69,700.00                  
คุณภาพกิจกรรม 56 42                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.คณะทำงานยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน
2.คณะทำงานไม่ได้รับการพัฒนาด้านการบริหารจัดการโครงการฯ

1.ขาดการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพตนเอง

2.พื้นที่ไม่เคยได้รับโครงการของ สสส. มาก่อน

1.พี่เลี้ยงติดตามพื้นที่ และ สสส.สจรส.สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน และผู้เข้ามามีส่วนร่วมกับการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

2.กระตุ้นให้คณะทำงาน และผู้มีส่วนร่วมให้ความสำคัญกับโครงการที่ลงสู่ชุมชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองอยู่ตลอดเวลา

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ตรวจสอบความก้าวหน้าและเอกสารการเงินกับพี่เลี้ยง ( 16 ก.พ. 2559 )
  2. ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า งวดที่ 1 ( 20 ก.พ. 2559 - 21 ก.พ. 2559 )
  3. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ( 25 ก.พ. 2559 )
  4. การประเมินผลสรุปความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการฯ ครั้งที่ 1 ( 26 ก.พ. 2559 )
  5. จัดเก็บข้อมูลปริมาณสัตว์น้ำของชุมชนชาวประมงบ้านทะเลนอก ( 29 ก.พ. 2559 )
  6. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน ( 4 มี.ค. 2559 )
  7. ประชุมคณะทำงาน(สภาผู้นำชุมชนฯ) ( 16 เม.ย. 2559 )
  8. การประเมินผลสรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 2 ( 12 พ.ค. 2559 )
  9. ประชุมคณะทำงาน(สภาผู้นำชุมชนฯ) ( 16 พ.ค. 2559 )
  10. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 ( 11 มิ.ย. 2559 )

(................................)
นาย ดลหะหรีม บิลหมาน
ผู้รับผิดชอบโครงการ