assignment
บันทึกกิจกรรม
ติดตามผลการดำเนินงานโครงการภาพรวมประจำงวดที่ 214 ตุลาคม 2559
14
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง และทีม สจรส.ม.อ.ติดตามผลการดำเนินงานโครงการและเตรียมความพร้อมในการตรวจสอบเอกสารการเงิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการได้ครบทุกกิจกรรมตามแผนงานโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน มีการจัดทำเอกสารการเงินครบทุกกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • เจ้าหน้าที่การเงิน
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ปี 25583 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมกิจกรรมงานสร้างสุขภาคใต้ 2558

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ตอบรับการประสานงานเข้าร่วมโครงการ
  2. เข้าร่วมกิจกรรม นำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายในงานสร้างสุขภาคใต้
  3. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายฯอื่นๆ
  4. นำบทเรียนมาปรับใช้ในการดำเนินโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยน บทเรียน กับเครือข่ายฯแนวร่วม
  2. ผู้เข้าร่วมได้มีประสบการณ์ในการจัดทำโครงการเพิ่มขึ้น
  3. ได้ความรู้จากการเข้าฟังเสวนาชุมชนน่าอยู่ ได้แนวทางในการนำไปปรับใช้ในการพัฒนาบ้านบาตู คือ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1,000 คน จากที่ตั้งไว้ 1,000 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมจำนวน 1,000 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
จัดทำภาพถ่ายกิจกรรมโครงการ27 กันยายน 2559
27
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กิจกรรมนี้เป็นการรวบรวมถ่ายภาพกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติตั้งแต่กิจกรรมแรกของโครงการนำมาเรียบเรียงให้เป็นระบบ และจัดทำรายงานตามผลที่่ได้รับในโครงการ ก่อให้เกิดรายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม สำหรับส่ง สสส.
  • ได้รายงานสำหรับโครงการ 1 เล่ม / สามารถนำรายงายไปประกอบในการคืนข้อมูลให้แก่ชุมชนได้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 7 คน
ประกอบด้วย
  • จัดเก็บและเรียบเรียงถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานของคณะกรรมการโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำรายงาน27 กันยายน 2559
27
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.รวบรวมเอกสารเพื่อจัดทำรายงาน 2.จัดเรียงเอกสารเพื่อจัดทำรายงาน 3.บันทึกข้อมูลกิจกรรมในระบบออนไลน์ 4.จัดส่งเอกสาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 เล่ม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 1225 กันยายน 2559
25
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

พัฒนากลไกบริหารจัดการหมู่บ้านโดยสภาชุมชนและกลไกในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานผู้เข้าร่วมประชุม
  2. ชี้แจงผู้เข้าร่วมประชุมในการดำเนินโครงการ
  3. แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นประชุมน เสนอแนะในการดำเนินโครงการ
  4. สรุปการสภาประชาคมคนรักลิบงครั้งที่ 12 ที่ผ่านมาทางกลุ่มของเราทำงานอยู่หลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องขยะ การท่องเที่ยว การจัดการทรัพยากร การช่วยเหลือเรื่องการส่งเสริมอาชีพให้กับพี่น้องทั้ง 4 หมู่บ้าน และรวมถึงเรื่องของบ้านมั่นคงหากไม่มีองค์กรเดิมที่ทำอยู่ก่อนนั้นก็ไม่สามารถต่องบประมาณมาช่วยเหลือพี่น้องเราได้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้มีผู้เข้าร่วมประชุมตามแผนงาน
  2. มีการสรุปข้อมูลรายงานผลการทำงานโครงการ
  3. สมาชิกได้รับรู้ข้อมูลอย่างเท่าทันในการจัดทำกิจกรรมในโครงการ กล่าวคือ ในการวางแผนปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานสภา ได้มีการแบ่งหมวดงานออกเป็น 3 ประเภท คือ การวางแผนด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ง่ายต่อการต่อการจัดระบบและง่ยต่อการจัดการ ซึ่งในวันนั้นสมาชิกได้ทำการแสดงความคิดเห็นตามแผนงานประเภทต่างๆ ในการที่จะดำเนินงานไปข้างหน้าเพื่อพัฒนาตำบลร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 36 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน และชาวบ้านชุมชนบ้านเกาะลิบง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้เข้าร่วมที่ไม่เข้าใจมีการซักถาม ทางคณะทำงานได้อธิบายจนมีความเข้าใจชัดเจน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1224 กันยายน 2559
24
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

พัฒนากลไกการบริหารจัดการหมู่บ้านโดยสภาชุมชนและกลไกในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานประชุมคณะทำงาน
  2. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
  3. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในที่ประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สรุปประชุมคณะทำงานตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการรักษาครัวทะเลที่บ้านบาตูในทุกๆกิจกรรมที่ผ่านมา เพื่อทบทวนและวางแผนในอนาคตหาแนวทางในการดำเนินการช่วยเหลือชุมชนต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 14 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
เวทีสรุปผลงานโครงการ12 กันยายน 2559
12
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

พัฒนากลไกการบริหารจัดการหมู่บ้านโดยสภาชุมชนและกลไกการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานคณะทำงานเพื่อจัดประชุมสรุปผลงานโครงการ
  2. ประสานงานคณะพี่เลี้ยงเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนในการสรุปโครงการ
  3. สรุปบทเรียนโครงการ แลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน
  4. จัดทำรายงานเพื่อนำส่ง สสส.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สรุปผลการทำกิจกรรมที่ผ่านมาใน 1 ปี พบว่า มีการบูรณาการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ได้แก่ ชาวบ้านบาตูปูเต๊ะ ชาวประมงพื้นที่ สภาองค์กรชุมชน ชุดลาดตระเวน และหน่วยงานในพื้นที่ ทำให้การอนุรักษ์อ่าวบาตู ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี นำไปสู่การออกข้อบัญญัติอนุรักษ์พะตูน และหญ้าทะเล โดยที่คนในชมุชนถือปฏิบัติร่วมกัน
  • คณะทำงาน ทีมสภาผู้นำ และชาวบ้าน ทราบผลการทำกิจกรรมในโครงการ สสส.
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 14 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและคณะพี่เลี้ยง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การลงข้อมูลในระบบออนไ่ลน์มีความล่าช้า

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 1125 สิงหาคม 2559
25
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

พัฒนากลไกบริหารจัดการหมู่บ้านโดยสภาชุมชนและกลไกในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานนัดประชุมสภาประชาชนคนรักษ์เกาะลิบง
  2. สรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานให้คณะทำงานได้รับทราบรับฟังความคิดเห็นร่วมกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สรุปการประชุม ขณะนี้โครงการบ้านมั่นคงเกาะลิบง 4 หมู่บ้านได้รับงบประมาณอนุมัตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 18-19 สิงหาคม 2559 โดยงบประมาณจะโอนเข้าเครือข่ายเมืองลิบงก่อน 5 ชุมชน หลังจากนั้นชุมชนที่อยู่ในโครงการจะต้องทำงบเบิกขึ้นไปตามงวด ทางชุมชนแต่ละชุมชน ต้องเสนอชื่อกรรมการชุมชนละ 3 คน ขึ้นไปเป็นคณะกรรมการเมืองลิบง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการและกลุ่มสตรี

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1124 สิงหาคม 2559
24
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

พัฒนากลไกการบริหารจัดารหมู่บ้านโดยสภาชุมชนและกลไกในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. นัดประสานงานคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม
  2. รายงานการประชุมให้คณะทำงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นและหาแนวทางพัฒนางาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สรุปรายงานการประชุม มีข้อมูลดังนี้ เกาะลิบงมีทุนเป็นของชุมชนในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การเป็นเมืองประวัติศาสตร์ เมืองหลวงพะยูน วิถีประมง แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆหลายแหล่ง และรวมถึงกลุ่มองค์ต่างๆที่จัดตั้งขึ้นในชุมชน โดยได้มีการวางแผนวางเป้าหมายของเกาะลิบงในอนาคตอันใกล้ ได้แก่ การส่งเสริมอาชีพ การจัดการทรัพยากรเต็มรูปแบบ การจัดการการเกษตร การพัฒนาที่อยู่อาศัย การต่อต้านยาเสพติด การรักษาสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ การจัดตั้งศูนย์วิถี การสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาวเล การจัดการเรื่องที่ดิน โดยทุกเรื่องที่กล่าวมาจะเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในเรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยการดึงภาคส่วนต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน วิธีการ 1. เปิดเวทีสร้างความเข้าใจร่วมทุกภาคส่วน 2. แบ่งกลุ่มตามเป้าหมายที่กำหนด 3. จัดทำข้อมูลร่วมกับภาคีตามกลุ่มเป้าหมาย 4. วิเคราะห์ข้อมูลบนพื้นที่จริง 5.ออกแผนพัฒนาร่วมกับภาคีและคณะกรรมการร่วม ติดตามการดำเนินการร่วมกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 9 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ใช้เวลาในการประชุมช่วงกลางคืน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 1025 กรกฎาคม 2559
25
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนชายฝั่ง 2.เพื่อพัฒนาคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลดอัตราการตายของพยูน โลมา และเต่าทะเล 3. เพื่อรณรงค์ เสริมสร้างความรู้ และความตระหนัก ในการอนุรักษ์พะยูน โลมา และเต่าทะเล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงรายละเอียดการประชุม
  2. ผู้ร่วมประชุม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นพูดคุย ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาชุมชน
  3. สรุปผลการประชุม เกี่ยวกับกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาศักยภาพชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจราษฏรอาศาเฝ้าระวังทะเล (ฉก. หรือสายตรวจพะยูน)
  • อบรมอาสาสมัคร เพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการปฏิบัติงาน
  • ตรวจตราเฝ้าระวังทางทะเล (สายตรวจพะยูน)
  • กิจกรรมจัดทำสื่อแผ่นพับ และนิทรรศการเกี่ยวกับพยูน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

4.นัดหมายหัวข้อการประชุมครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อมูลทรัพยากรสัตว์นำ้ ที่สามารถสรุปได้ว่า

  1. พื้นที่ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทะเลของจังหวัดตรัง ได้รับการควบคุม คุ้มครองดูแล และมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู
  2. ทรัพยากรสัตว์น้ำ สัตว์หายาก ได้แก่ พะยูน มีอัตราการตาย จากกิจกรรมของคนไม่เกิน 4 ตัว
  3. นิทรรศการจำนวน 10 ชุด พร้อมการติดตั้งในสถานที่พักนักท่องเทียว และแผ่นพับ 10,000 ชุด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน ตัวแทน อสม. ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มกู้ชีพทางทะเล กลุ่มเด็กและเยาวชน ตัวแทนครูโรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ กลุ่มบ้านมั่นคง 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1024 กรกฎาคม 2559
24
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

ขับเคลื่อนแผนการทำงาน ดำเนินโครงการตามแผนของโครงการ และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ชี้แจงรายละเอียดการประชุม 2.ร่วมกันซักถามรายละเอียดโครงการต่างๆ จากผู้ที่รับผิดชอบโครงการนั้น
3.ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา เพื่อปรับปรุงแก้ไข และเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร และโครงการ 4.สรุปผลการประชุมครั้งที่ 10

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ที่ประชุมได้ร่วมกันวางแผนการจัดทำธนาคารสัตว์น้ำ โดยจะอนุบาลปู และ ปลา ที่จับมาได้จากทะเล แล้วนำมาอนุบาลไว้ เพื่อขยายพันธุ์ ก่อนปล่อยลงสู่ทะเลให้กลับมาเป็นอาหารของคนอีกครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานในโครงการ 17 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

อยู่ในช่วงฤดูมรสุม ทำให้ยากแก่การปฏิบัติกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 925 มิถุนายน 2559
25
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมทีมสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมคณะทำงาน หารือวาระพัฒนาหมูุ่บ้าน ที่ผ่านมาเครือข่ายประมงพื้นบ้านได้ทำงานหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการช่วยเหลือพี่น้องในด้านพัฒนาอาชีพ เช่น กองทุนหมุนเวียน กองทุนเรือ กองทุนอุปกรณ์ประมง เลี้ยงสัตว์ เสริมสวย และปุ๋ยชีวภาพ แต่ทางกลุ่มก็เกิดปัญหาสมาชิกไม่คืนทุน ทำให้เครือข่ายมีเงินทุนไม่พอ อีกส่วนหนึ่งได้นำไปจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูทรัพยากร ธนาคารสัตว์น้ำ แปรรูปอาหารทะเล ปัจจุบันสามารถเดินด้วยตนเองได้ระดับหนึ่ง เช่นเรื่องการทำตลาดด้านนอก อนาคตผลิตภัณฑ์ทุกชนิดก็มีตลาดส่งออกได้ตลอด ในส่วนของการร่วมกับภาคีต่างก็เริ่มไปได้ดี
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาครัฐกับประชาชน ในด้านของการจัดการพื้นที่ป่าต้นนำ้ ควบคู่ไปกับการทำเกษตรแบบผสมผสาน
  2. ทราบรูปแบบ และวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการจัดการธนาคารสัตว์น้ำบนพื้นที่เกาะลิบง
  3. มีการจัดตั้งโครงการคณะกรรมการ เพื่อดำเนินกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการหมู่บ้าน ตัวแทน อสม. ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มกู้ชีพทางทะเล กลุ่มเด็กและเยาวชน ตัวแทนครูโรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ กลุ่มบ้านมั่นคง 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 924 มิถุนายน 2559
24
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

คณะทำงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ชี้แจงรายละเอียดการประชุม 2.ผู้ร่วมประชุม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นพูดคุย ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาชุมชน 3.สรุปผลการประชุมและนัดหมายหัวข้อการประชุมครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มติในที่ประชุม ได้พูดคุยเรื่องการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนบ้านบาตูปูเต๊ะ ซึ่งคณะทำงานจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชน เพื่อบูรณาการทำงานชุมชนให้เกิดผลในทางเดียวกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ จำนวน 22 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การประชุมอยู่ในช่วงฤดูมรสุม ทำให้ไม่สะดวกในการทำกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 825 พฤษภาคม 2559
25
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชุมชน มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ตามความหลากหลายของวิถีชีวิตวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ระเบียบการวาระที่ 1 ประธานแจ้งเพื่อทราบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน
  • ระเบียบการวาระที่ 2 ทบทวนระเบียบการชุมชนครั้งที่แล้ว (มติรองรับ)
  • ระเบียบการวาระที่ 3 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา เรื่องการจัดการที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
  • ระเบียบการวาระที่ 4 เรื่องแผนงานโครงการ ที่ดำเนินการโดยสภาองค์กรชุมชนตำบลเกาะลิบง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เรื่องการจัดการที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย มีแนวทาง ดังนี้
  • การจัดทำข้อมูล โดยมีการจัดตั้งคณะทำงาน 1 ชุด เพื่อศึกษาแผนแม่บทของเกาะลิบง จากโครงการศึกษา และวางผังการใช้ประโยชนืที่ดินปี 2557 และข้อบัญญัติของ อบต.
  • สภาองค์กรชุมชน ประชุมทีมงาน เพื่อทำข้อมูลภาพรวมของเกาะลิบง และออกคำสั่งแก่คณะทำงาน
  • สภาออกหนังสือเชิญประชุมหน่วยงาน เพื่อประกาศตัวตนชุมชนจัดการตนเอง

2.แผนงาน จัดตั้งศูนย์เรียนรู้มีชีวิต ธนาคารอาหารสัตว์และหญ้าทะเล มีดังนี้

  • แผนงาน การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • แผนงาน เฝ้าระวัง สนับสนุนชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจทางทะเล
  • แผนงาน การจัดการพื้นที่ขยะเกาะลิบง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการหมู่บ้าน ตัวแทน อสม. ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มกู้ชีพทางทะเล กลุ่มเด็กและเยาวชน ตัวแทนครูโรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ กลุ่มบ้านมั่นคง

รวมจำนวน 33 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 824 พฤษภาคม 2559
24
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

วางแผนงาน เตรียมการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมติดตามการทำกิจกรรมอนุรักษ์อ่าวบาตู
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้สรุปผลกิจกรรมอนุรักษ์อ่าวบาตู ว่า ตอนนี้เกิดชุดลาดตระเวนขึ้น 1 กลุ่ม เกิดกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านบาตุ 1 กลุ่ม และชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ จำนวน 19 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปลูกป่าสร้างฝายคืนชีวิตให้เกาะลิบง14 พฤษภาคม 2559
14
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

ตระหนักถึงคุณค่าของป่าชายเลน และสิ่งแวดล้อม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีผู้เข้าร่วมปลูกป่า จำนวน 60 คน เป็นชาวบ้านและเยาวชนบ้านบาตูปูเต๊ะ ร่วมกันปลูกป่าและทำฝายบนเกาะลิบง มีขั้นตอนในการดำเนินงานปลูกป่าสร้างฝายคืนชีวิตให้เกาะลิบง ดังนี้
  1. สำรวจพื้นที่ว่าบริเวณใดบ้างในชุมชนที่มีปัญหา
  2. ประชุมปรึกษาหารือ และหาแนวทางการแก้ปัญหาที่พบในพื้นที่ดังกล่าว
  3. วางแผนการทำงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
  4. ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง
  5. สรุปผลการทำงานและให้เยาวชนสะท้อนคิดถึงสิ่งที่ตนเองได้รับหลังจากการทำกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สิ่งที่ได้จากการร่วมกิจกรรมปลูกป่า และสร้างฝาย ทำให้ชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่า และมองเห็นความสำคัญของป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านบ้านบาตูมีการรวมกลุ่มเพื่อปกป้องรักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะแหละหญ้าทะเลจากเรือประมงอวนลาก อวนรุน ที่ลักลอบเข้ามาทำประมงแนวหญ้าทะเลมาตั้งแต่อดีตจนเครื่องมือทำลายล้างดังกล่าวหมดไปจากพื้นที่ จึงนับได้ว่าบ้านบาตูเป็นหมู่บ้านต้นแบบในด้าน การออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยชุมชนมาช้านาน แต่ในขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของประชากรมีการขยายตัวของชุมชนทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ การทำลายป่าดั้งเดิมเพื่อปลูกยางพาราทำให้สภาพพื้นที่ขาดความสมดุล และทำให้บางปีมีฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วม ดินโคลนถล่มสร้างความเสียหายแก่ชุมชนและมีแนวโน้มของความรุนแรงขยายผลวงกว้างมากขึ้น
  • ปัญหาที่เกิดขึ้นสภาพพื้นที่บางพื้นที่ไม่มีความเหมาะสมสำหรับการวางฝายทรายอย่างเดี่ยว แต่ต้องมีการใช้ไม่ไฝ่ประกอบ ใช้ไม้ไผ่กั้น ฝายทรายเก็บ หินชะลอ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 63 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนผู้ที่สนใจ จำนวน 60 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

เวลาในการทำควรทำหลังเดือนตุลาคม เพราะเลยฤดูมรุมฝั่งตะวันตก

จัดอบรมหน่วยลาดตระเวนชุดเฉพาะกิจทางทะเลบริเวณอ่าวบาตู(ฉก.) ครั้งที่ 34 พฤษภาคม 2559
4
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

1.ส่งเสริมให้เกิดพัฒนามีส่วนร่วม เฝ้าระวังป้องกัน และการจัดการภายในหมู่บ้านเพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แก่ประชาชนอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรฯในพื้นที่ 2.เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่และชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. อบรมชุดอาสาสมัคร ในชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน และทบทวนกิจกรรมที่เคยฝึกปฏิบัติ
  2. พูดปรึกษาถึงปัญหาที่ตนเองได้พบเห็นภายในชุมชน
  3. ร่วมกันวางแผนปรับปรุงและแก้ไขแผนการทำงานเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันในชุมชน
  4. คณะทำงานร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม และสรุปผลการประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แนวทางในการปฏิบัติงาน และ ปฏิทินงาน
  2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู พัฒนาแก้ปัญหาในด้านความปลอดภัยแก่ชุมชน โดยมีชุดลาดตระเวนขึ้นในชุมชน และกำหนดกติกาการอยู่ร่วมกัน
  3. ปัญหาที่พบ คือ การปฏิบัติงานความแตกต่างระหว่างเวลาของการฝึกอบรมกับปฏิบัติงานนั้นคนละเวลากัน ความพร้อมรับผิดชอบในงานการออกลาดตระเวนไม่ทั่วถึง แนวทางแก้ไข จัดเพิ่มการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในตอนกลางคืนอีกครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 27 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกในหมู่บ้านซึ่งอยู่ในช่วงวัยทำงาน จำนวนจริง 27 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 725 เมษายน 2559
25
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

ประเมินความเปราะบางและศักยภาพชุมชนบ้านบาตูในบริบทโลกร้อน และจัดทำแผนงานเพื่อปรับตัว ตั้งรับกับสภาพปัยหา โดยชุมชนเป็นฐาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมทีมสภาผู้นำวิเคราะห์ การมีส่วนร่วมของกลุ่มต่างๆ ในการบวนการวางแผนของท้องถิ่น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ทีมสภาผู้นำมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อชุมชน
  2. สามารถวิเคราะห์ การมีส่วนร่วมของกลุ่มต่างๆ ในการบวนการวางแผนของท้องถิ่น ดังนี้
  • การวิเคราะห์เพิ่มหรือลดการเผชิญหน้า : แบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม จัดลำดับของภัยทั้ง 2 ประเภทที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านมดตะนอย คือ ภัยธรรมชาติ และภัยจากมนุษย์
  • การวิเคราะห์ความอ่อนไหว : แบ่งกลุ่มย่อย 3 กลุ่มจัดลำดับความสำคัญของอาชีพ 5 อันดับ รวมทั้งความเปราะบางที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ที่ดิน/สาธารณูปโภ

3.สามารถประมวลผลการเข้าถึงบริการต่างๆ ในกระบวนการวางแผนของท้องถิ่น และโครงการหรือระบบการคุ้มกันทางสังคมที่มีอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการหมู่บ้าน ตัวแทน อสม. ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มกู้ชีพทางทะเล กลุ่มเด็กและเยาวชน ตัวแทนครูโรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ กลุ่มบ้านมั่นคง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 724 เมษายน 2559
24
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

ดำเนินโครงการตามแผนของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานพุดคุยเกี่ยวกับการดำเนินโครงการตามที่ได้รับมอบหมาย
  2. ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่พบ พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไข
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สรุปผลการดำเนินงาน ได้ปรึกษาเรื่องประเมินความเปราะบางและกายภาพชุมชนบ้านบาตูในบริบทโลกร้อน และจัดทำแผนงานเพื่อปรับตัว ตั้งรับกับสภาพปัญหา โดยชุมชนเป็นฐาน ร่วมกันปรับปรุงติดตามดูผล
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ จำนวนจริง 25 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมทำซั้งกอ บ้านปลา ภูมิปัญญาชาวบ้าน17 เมษายน 2559
17
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Chanokpon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อฟื้นฟู ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ระบบนิเวศชายฝั่งอุดมสมบูรณ์ขึ้น และลดสาเหตุการตายของพะยูน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นัดรวมกันที่อ่าวบาตู มีทีมประมงพื้นบ้าน ทีมสภาผู้นำ และเยาวชน จำนวน 30 คน บังแอน ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์การทำซังกอให้กลุ่มเยาวชนได้เข้าใจ และเห็นประโยชน์ โดยการทำซังกอมีวัตถุประสงค์หลักๆ เพื่อรณรงค์ เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกติกาการดูแล รักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อฟื้นฟู ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ระบบนิเวศชายฝั่งอุดมสมบูรณ์ขึ้น และรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยมีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลอันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อเป็นสื่อแห่งการร่วมมือและการเรียนรู้กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมระหว่างหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนกับชุมชน และเพื่อลดอัตราการตายของประชากรพะยูน ทำกิจกรรมจำนวน 2 วัน ดังนี้

  • กิจกรรมวันที่ 1

  1. ประชุมเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรมวางซั้งกอ
  2. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำซั้ง ได้แก่ ไม่ไผ่ แท่งปูน เชือก ทางมะพร้าวสำหรับการทำซั้ง 10 อัน
  3. เริ่มทำซั้งกอ โดยใช้แท่งปูนน้ำหนักกว่า 400 กิโลกรัมเป็นฐานล่าง ใช้ไม้ไผ่และทางมะพร้าว มาผูกเป็นแพ หรือมัดเป็นกอง เพื่อนำไปจมบริเวณริมคลองและชายฝั่งทะเลให้สัตว์น้ำเข้ามาหลบซ่อนหรือกินซากเน่าของกิ่งไม้ที่เน่าเปื่อย
  • กิจกรรมวันที่ 2
  1. ทีมงานออกไปดูสถานที่จัดวางบ้านปลาจำนวน 10 จุด ซึ่งพิจารณาแล้วว่าเป็นแหล่งที่ไม่กีดขวางทางเดินเรือของชาวประมง และมีระดับน้ำลึกพอสมควร เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน
  2. ทีมงานช่วยกันขนย้ายซั้งกอทั้งหมดลงเรือ แล้วนำซั้ง หรือ บ้านปลาที่ได้จัดทำไว้จมลงสู่ท้องน้ำ ส่วนด้านปลายปล่อยให้กางออกคล้ายกับร่ม เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่หลบภัยและแหล่งอาศัยสำหรับฝูงสัตว์น้ำ และลูกปลาวัยอ่อน เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำให้เพียงพอกับความต้องการของชาวประมง และลดการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำที่ยังโตไม่ได้ขนาด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการทำกิจกรรมซังกอ เกิดประโยชน์ ดังนี้

  1. ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศชายฝั่งมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และเกิดกระบวนการรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยชุมชนมีส่วนร่วม "ซังกอ" แนวทางการแก้ปัญหา จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะคนในพื้นที่เกาะลิบงในการร่วมกำหนดกติกา กติกา และกำหนดพื้นที่การใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลิบง เรื่องการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน
  2. ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลอันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3. เกิดจิตใต้สำนึกจากการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาของชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม
  4. เกิดกระบวนการประสานงาน และการทำงานมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและชุมชน ในลักษณะการบูรณาการองค์ความรู้และปฏิบัติงาน
  5. หลังจากการทำซั้งกอบ้านปลาเสร็จสิ้นในวันนี้ ทุกๆ 3 เดือน ทีมงานจะต้องดำน้ำเพื่อไปตรวจสอบซั้งที่ได้ลงไปแล้ว ว่าต้องมีการซ่อมแซมเพื่อให้ซั้งอยู่ในสภาพที่ยังใช้งานได้
  6. จากการพูดคุยสรุปงานหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม ได้มีข้อคิดเห็นและข้อสรุปว่า "ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่งทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำลดน้อยลงส่งผลต่อรายได้และวิถีชีวิตของชาวชุมชน ซั้งกอ ถือเป็นภูมิปัญญาที่ชาวบ้านนำไปใช้ในการจำลองต้นไม้กลางน้ำวางไว้กลางทะเลเพื่อเป็นแหล่งอนุบาล เป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์น้ำนานาชนิด และมีข้อกำหนดไว้ว่าประมงพื้นบ้านจะต้องทิ้งระยะในการจับสัตว์น้ำจากซั้งกออย่างน้อย 50 เมตร เพื่อช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้น"
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

เยาวชน 15 คน วัยทำงาน 35 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเปิดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการและทำกิจกรรมในวันเดียวกันทำให้การจัดการบริหารจัดการเรื่องเวลาของทั้งสองสิ่งในวันเดียวกันนั้นกระชั้นขึ้นมาคือเราต้องร่นเวลาลงมา แนวทางแก้ไข 1.ต้องขยายแนวทางย่อยๆออกมาโดยวางแผนแนวทางการปฏิบัติการขึ้นมา 2.เพิ่มการวางแผนเรื่องเวลาออกมาก่อนในวันประชุม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมเวทีสาธารณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลสู่ชุมชน เด็กเล่าผู้เฒ่าเสริมและร่วมกันพิจารณาแก้ไขและลงมติในการใช้แผนของหมู่บ้าน16 เมษายน 2559
16
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับปัญหา ที่พบ เพื่อที่จะได้หาแนวทางนำไปปรับปรุง และแก้ปัญหา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน
  2. ลงมือปฏิบัติงาน โดยให้เยาวชนเป็นผู้ถ่ายทอดจากความคิดของตนเองในเรื่องปัญหาทรัพยากรชายฝั่งที่ตนเองพบเห็นในชุมชน
  3. ร่วมกันแสดงความคิดเห็น แนวทางในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับปัญหา ที่พบ และเพื่อที่จะได้หาแนวทางนำไปปรับปรุง และแก้ปัญหา
  4. ลงข้อสรุปผลการทำกิจกรรม และแนวทางเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เยาวชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และเสนอแนวทางแนวทางอนุรักษ์ฟื้นฟูอ่าวบาตู ดังนี้
  • จัดตั้งกลุ่มเยาวชนรักษ์อ่าวบาตู เพื่อทำกิจกรรมรณรงค์ให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการดูแลอ่าวบาตู
  • ร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น เก็บขยะริมชายหาด ปลูกป่าชายเลน และกิจกรรมในโรงเรียน

2.สมาชิกในชุมชนได้ร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมนชุมชนของตนเอง โดยจัดตั้งทีมชุดลาดตระเวนเพื่อสอดส่องผู้ทำประมงผิดกฎหมาย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 120 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย

สมาชิก เยาวชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน จำนวนจริง 120 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีนำเสนอผลการดำเนินโครงการเเละให้ความรู้ประชาชน6 เมษายน 2559
6
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาและสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยการจัดการข้อมูลและจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในแต่ละกิจกรรมมานำเสนอผลการดำเนินโครงการเพื่อเป็นการคืนความรู้ให้แก่ประชาชน
  2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม
  3. วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับชุมชน
  4. สรุปความคิดเห็นร่วมกันและอภิปราย
  5. จัดทำรายงาน และชุดข้อมูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้สนใจเข้าร่วมในเวทีมีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมและแผนงานของโครงการ และให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งชมเชยกิจกรรมในโครงการ ว่าสอดคล้องกับวิถีชีวิต และนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรอ่าวบาตูร่วมกัน
  2. กลุ่มสตรี/กลุ่มเยาวชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในการอนุรักษ์ทรัพยากรผ่านศิลปะพื้นบ้าน "รองแง็ง"คนรักษาเลบ้านบาตูปูเต๊ะ
  3. ปัญหาที่พบในวันนี้ คือ การประสานงานของแต่ละหน่วยงานในองค์กรต่างๆไม่ได้เข้าร่ววมกันอย่างพร้อมเพรียง แนวทางแก้ไข คือ ทำความเข้าใจให้ทุกหน่วยงานรู้และเข้าถึงวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำลังดำเนินงานอยู่ และแนบรายงานผลการประชุมและจุดประสงค์ในกการทำโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 116 คน จากที่ตั้งไว้ 94 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมจำนวน 116 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 625 มีนาคม 2559
25
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

วางแผน เตรียมการ และติดตาม เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้อย่างต่อเนื่อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงาน เตรียมงาน ประชุมวางแผนการทำงาน สรุปและถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา
  2. ปรึกษาการเตรียมความพร้อม และทำแผนที่ผังเมือง
  3. วางแผนและเตรียมความพร้อมกิจกรรมในเดือนเมษายน 59
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เตรียมความพร้อมในกิจกรรมกิจกรรมเวทีสาธารณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลสู่ชุมชน เด็กเล่าผู้เฒ่าเสริมและร่วมกันพิจารณาแก้ไขและลงมติในการใช้แผนของหมู่บ้าน สำรวจหาผู้เฒ่าที่มีความรู้มาช่วยหนุนเสริมกิจกรรมให้สำเร็จ
  • เตรียมการวางแผนกิจกรรมเวทีนำเสนอผลการดำเนินโครงการเเละให้ความรู้ประชาชนเพื่อให้งานออกมาเรียบร้อยและสมบูรณ์
  • เตรียมความพร้อมและปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจกรรมทำซั้งกอ บ้านปลา ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อสำรวจความพร้อมของทีมงานและสำรวจอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในกิจกรรม
  • ปัญหา การไม่ตรงต่อเวลาของทีมทำให้การประชุมล่าช้า ทำให้เวลาในการประชุมเลื่อนออกไปในตอนกลางคืน แนวทางการแก้ไข จะต้องสร้างกติกาในการประชุม กำหนดแนวทางในการวางแผนที่ผ่านมาเป็นงานของทีมเลขา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกในชุมชน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยทำงานจำนวน 16 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมเด็กเเหลงหอ25 มีนาคม 2559
25
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เยาวชนจากโครงการแรลลี่ครอบครัว ทัวร์บาตู สะท้อนที่ตนเองได้เรียนรู้ ผ่านกระบวนการประชาสัมพันธ์ ให้สมาชิกในชุมชนได้รับทราบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. พูดคุยปรึกษาแนวทางข้อตกลงในการปฏิบัติ กิจกรรมเด็กแหลงหอเพื่อทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนเป็นประชาสัมพันธ์ความรู้ต่างๆที่ได้มาจากการเข้าร่วมกิจกรรมมาถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนได้รับรู้ผ่านรายการ เสียงตามสายคนรักษาเลบาตู
  2. วางแผนการทำงาน และมอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้ร่วมทำกิจกรรม
  3. จัดตารางให้แก่สมาชิกที่ร่วมกิจกรรม เพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายแแก่ ชุมชนในทุกๆเดือน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เยาวชนเล็งเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตนเองมีในชุมชน รู้สึกภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรทะเลอ่าวบาตู
  2. ทำให้เยาวชนมีความกกล้าคิดกล้าแสดงออก จากการร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกิดแนวคิดดี ๆ หลายอย่าง
  3. ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มเยาวชน และผู้ใหญ่ในชุมชน
  4. ปัญหา เครื่องเสียงของหอกระจายข่าวในชุมชนใช้การไม่ได้ต้องไปใช้เครื่องเสียงของมัสยิดและของสถานีอนามัย ทำให้การสื่อสารหอกระจ่ายข่าวมีปัญหาจึงทำให้การสื่อสารของทีมต้นกล้าตะลิบงไม่ค่อยจะราบรื่นเท่าไหร่ แนวทางการแก้ไขปัญหา ใช้เป็นการพูดคุยสภากาแฟแทน และนำเสนอผ่านใบปลิว แผ่นพับ เอกสาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนและสมาชิคภายในชุมชน จำนวน 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 625 มีนาคม 2559
25
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

ประชุมทำความเข้าในร่วมกันในการจัดทำผังชุมชน และร่วมกันลงข้อมติเพื่อวางรูปแบบในการปรับปรุงพื้นที่อาศัยให้มีความเหมาะสมในการจัดทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมสมาชิกในหมู่บ้าน วางแนวทางในการเตรียมความพร้อมโฮมสเตย์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และสอดคล้องกับแนววิถีชุมชน
  2. ประชุมวางแผน การวางผังเมืองให้มีความเหมาะสมแก่การรองรับนักท่องเที่ยวโดยเริ่มจากการทำแผนที่ทำมือ
  3. ประชุมวางแผนสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สมาชิคและนักท่องเที่ยว เช่น การไฟฟ้า การประปา การเดินรถ
  4. สมาชิกร่วมกันออกแบบอาคาร บ้านเรือน และพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการประชุมทำให้เกิดความร่วมมือกันของสมาชิก แสดงความคิดเห็นออกแบบผังเมือง ให้สอดคล้องกับแนววิถีชีวิต มีความเป็นมาตรฐาน และเป็นไปตามความต้องการของสมาชิกในชุมชน
  • ปัญหาในเรื่องของสมาชิคในชุมชนบางส่วน ยังขาดความเข้าในกระบวนการจัดทำโฮมสเตย์ สมาชิกบางส่วนขาดการให้ความสำคัญกับการจัดทำโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการหมู่บ้าน ตัวแทน อสม. ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มกู้ชีพทางทะเล กลุ่มเด็กและเยาวชน ตัวแทนครูโรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ กลุ่มบ้านมั่นคง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมประชุมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล/จัดทำยกร่างแผนจัดการทรัพยากรฯ23 มีนาคม 2559
23
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำแผนร่างการจัดการทรัพยากรในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งถึงความจำเป็นในการจัดทำยกร่างแผนจัดการทรัพยากรฯ เนื่องจากการเกยตื้นของพะยูนในพื้นที่จังหวัดตรังที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา ซึ่งไม่รวมจำนวนพะยูนที่เสียชีวิต โดยไม่ได้รับการรายงานอีกจำนวนหนึ่ง ส่งผลให้เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังร่วมมือกับมูลนิธิอันดามันมาดูแลอย่างจริงจัง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ร่วมกันร่างแผนจัดการทรัพยากร โดยนายไมตรี อินทุสุด ผู้ว่าราชการในขณะนั้น ได้ให้ความสำคัญและใส่ใจการอนุรักษ์พะยูน เต่าทะเล จะเห็นได้จากการร่วมลงนามบันทึกการร่วมมือการคุ้มครองหญ้าทะเลการอนุรักษ์พะยูน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 หน่วยงาน ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2553 โดยมีกิจกรรมเปิดป้ายแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์พะยูน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว บริเวณท่าเทียบเรือบ้านเจ้าไหม นอกจากนั้นได้มีการประชุมร่วมกับผู้แทนประมงพื้นบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายครั้ง เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาซึ่งสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วมี 6 ด้าน ดังนี้
  • 1.ด้านการให้ความรู้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ได้มีการจัดทำหลักสูตรพะยูนศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่างๆในจังหวัดตรัง โดยมีการจัดทำหลักสูตรพะยูนศึกษาโดย อาจารย์ ปราชญ์ชาวบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • 2.ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ได้จัดให้มีการจัดทำภาพพะยูนประกอบการบรรยายนำไปติดตั้งไว้ที่สนามบินตรัง
  • 3.ด้านการรณรงค์ให้มีการติดป้ายอนุรักษ์ทะเลซึ่งเป็นอาหารของพะยูน
  • 4.ด้านการป้องกันได้มีการร่วมกันให้มีเขตอนุรักษ์พะยูน
  • 5.จังหวัดตรังร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังได้มีหนังสือถึงกรมประมงขอให้มีการทำประกาศเขตห้ามเรือทุกชนิดเข้าไปในพื้นที่ชายฝั่งเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้พะยูนเป็นอันตรายจากเครื่องมือประมง อวนลาก รวมทั้งการลักลอบจับหรือทำร้าย พะยูน โลมา เต่าทะเล
  • 6.ได้มีการตั้งคณะกรรมการบริหารการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดตรัง เพื่อติดตามปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
  • ผลการดำเนินการแก้ปัญหาที่ผ่านมานับว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากทุกภาคส่วนร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาและสิ่งที่สำคัญคือการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดตรังเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด จึงขาดแนวทางในการแก้ปัญหาในระยะยาว เปลี่ยนแปลงนโยบาย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดความจริงจังในการป้องกันผู้ลักลอบการกระทำผิด ส่งผลให้มีการพบพะยูนตายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันทางโครงการจึงอยากให้มีการฟื้นฟูการจัดทำยกร่างแผนจัดการทรัพยากรฯเพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนเกาะลิบงโดยเฉพาะบ้านบาตูได้มีความรู้ความเข้าใจและทบทวนความรู้ใหม่สำหรับผู้ที่เคยรับรู้ข่าวสารมาก่อนแล้วเพื่อเป็นการช่วยกันร่วมกันอนุรกษ์พะยูน โลมา เต่าทะเลลิบงให้อยู่คู่กับเกาะลิบงสืบไป โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
  1. ประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลของชุมชน เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แผนการจัดการทรัพยากรฯ ร่วมกัน
  2. ร่วมกันวางแผนรายละเอียด ในการดำเนินโครงการ
  3. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนต่างๆ ให้แก่สมาชิก
  • แผนการจัดการทรัพยากรอ่าวบาตูจะได้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาชุมชนเกาะลิบงเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ เช่น แหล่งหญ้าทะเล ป่าชายเลน แหล่งเต่าทะเล โลมาและพะยูน จะต้องมีแผนปฏิบัติการเพื่อคุ้มครองพื้นที่อ่าวบาตู
  • มีป้ายแนวเขตอนุรักษ์ที่ชัดเจนโดยความร่วมมือของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนจำนวน 5 คน คณะทำงาน 5 คน ผู้นำชุมชนและตัวแทนจากกลุ่มต่างๆในชุมชน 20 คน จำนวน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมสำรวจข้อมูล/รวบรวมข้อมูล เเรลลี่ครอบครัว ทัวร์อ่าวบาตูเพื่อตรวจดูสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านในภาพรวม ครั้งที่ 219 มีนาคม 2559
19
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบทรัพยากรทางทะเลที่อ่าวบาตู โดยใช้แบบสำรวจชนิดและปริมาณของ พันธุ์สัตว์ หญ้าทะเล และปะการัง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมชี้แจงแผนการทำงานกิจกรรมแก่ผู้เข้าร่วม
  2. แบ่งสมาชิกออกเป็น 3 กลุ่ม ร่วมกันศึกษาในหัวข้อสิ่งมีชีวิตที่พบในทะเล ในป่าชายเลน การทำประมงและอาชีพในเกาะ
  3. เยาวชนร่วมกันแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ได้รับผิดชอบ
  4. ลงพื้นที่สำรวจ ร่วมกันปลูกป่าชายเลน และปล่อยพันธุ์หอยชักตีน
  5. ร่วมกับสรุปผลการทำกิจกรรม
  6. เปรียนเทียบการทำกิจกรรมครั้งนี้กับครั้งก่อนหน้า พร้อมสรุปผล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เกิดความสนุก และเกิดจิตสำนึกร่วมในการดูแลทรัพยากรบ้านบาตู
  2. เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในทะเลอ่าวบ้านบาตู โดยจะคอยสอดส่องเพื่อน ๆ ให้ร่วมกันดูแลสัตว์น้ำ และ ป่าไม้
  3. เปรียบเที่ยบ ผลการทำกิจกรรมในครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 ในครั้งที่ 2 ได้เรียนรู้ชนิดของพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้น โดยรู้จักวิถีชีวิตของปู และหอยชักตีน การเก็บหอยชักตีน และการนำไปทำเป็นอาหาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 43 คน จากที่ตั้งไว้ 43 คน
ประกอบด้วย

เด็กวัยเรียน 10 คน
วัยทำงาน 33 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา -การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปีนี้มีผลต่อการเก็บข้อมูลของทีมเยาวชนต้นกล้า แนวทางการแก้ไข -มีการจัดกิจกรรมซ้ำในอาทิตย์ถัดไป

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดอบรมหน่วยลาดตระเวนชุดเฉพาะกิจทางทะเลบริเวณอ่าวบาตู(ฉก.) ครั้งที่ 214 มีนาคม 2559
14
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

ส่งเสริมให้เกิดพัฒนามีส่วนร่วม เฝ้าระวังป้องกัน และการจัดการภายในหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. อบรมอาสาสมัคร โดยวิทยากรและนักวิชาการ โดยการฝึกปฏิบัติในสถานที่จริงเพื่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติงาน
  2. พูดคุยและชี้แจงแผนการทำงาน และมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
  3. ลงมือปฏิบัติ ตามแผนที่จัดวางไว้
  4. รายงาน และสรุปผลการลงพื้นที่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและดูแลชุมชนให้มีความน่าอยู่และปลอดภัย
  2. สมาชิกในชุมมีปฏิสัมพันธ์ และความกลมเกลียวในชุมชนมากขึ้น
  3. เกิดปัญหาเรื่องเวลาในการจัดทำกิจกรรมเดิมไม่ได้คำนึงในเรื่องของเวลาน้ำขึ้น-น้ำลง จึงทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติการในพื้นที่จริง แนวทางการแก้ไขปัญหาจะต้องจัดทำปฏิทินน้ำขึ้น-น้ำลง เพื่อความสะดวกในการวางแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับการเข้ามาลักลอบการทำประมงผิดกฎหมาย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 27 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกในหมู่บ้านซึ่งอยู่ในช่วงวัยทำงาน จำนวน 27 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมสำรวจข้อมูล/รวบรวมข้อมูล เเรลลี่ครอบครัว ทัวร์อ่าวบาตูเพื่อตรวจดูสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านในภาพรวม ครั้งที่ 112 มีนาคม 2559
12
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Chanokpon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบทรัพยากรทางทะเลที่อ่าวบาตู โดยใช้แบบสำรวจชนิดและปริมาณของ พันธุ์สัตว์ หญ้าทะเล และปะการัง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. รวบรวมผลผู้เข้าร่วมกิจกรรม ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมเพื่อสำรวจข้อมูล/รวบรวมข้อมูล เเรลลี่ครอบครัว ทัวร์อ่าวบาตูเพื่อตรวจดูสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านในภาพรวม
  2. แบ่งสมาชิกและเยาวชนในชุมชน ออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มร่วมกันสำรวจ ทรัพยากรทางทะเลที่อ่าวบาตู
  3. สมาชิกและเยาวชน ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยแบ่งการอภิปรายออกเป็นรายกลุ่มตามที่ได้แบ่งไว้ เพื่อให้เห็นมุมมองทางความคิดที่หลากหลาย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จากการสำรวจทรัพยากรทางทะเลของอ่าวบาตู พบว่า ทรัพยากรทางทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ และมีความสวยงาม มีป่าชายเลนเป็นแหล่งเรียนรู้ มีพันธุ์สัตว์น้ำที่หลากหลาย สิ่งสวยงามเหล่านี้ต้องช่วยกันอนุรักษ์ให้ยั่งยืน
  2. สมาชิกในชุมชนมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นและได้ทำงานร่วมกัน โดยเด็กเยาวชนได้เสนอให้ช่วยกันดูแลขยะที่เกลื่อนกลาดในชุมชน เพราะจะทำให้ทัศนียภาพของเกาะลิบงไม่สวยงาม
  3. เยาวชนมี ความตระหนักและเห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนของตนเอง 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 43 คน จากที่ตั้งไว้ 43 คน
ประกอบด้วย

เด็กวัยเรียน 10 คน
วัยทำงาน 33 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีเสวนา เรื่อง การทบทวนและปรับปรุงข้อบัญญัติของท้องถิ่น9 มีนาคม 2559
9
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Chanokpon
circle
วัตถุประสงค์

ทบทวนกฎระเบียบข้อบังคับ ในการพัฒนาการบริหารจัดการหมู่บ้านโดยสภาชุมชนและกลไกในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมปรึกษา และลงมติข้อบังคับที่ต้องการแก้ไขปรับปรุงในส่วนของข้อบัญญัติท้องถิ่น
  2. ร่วมกันเสนอแนวทางในการปรับปรุงข้อบังคับ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  3. ร่วมกันวางกฎกรอบกติการใช้ประโยชน์ภายในพื้นที่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับร่วมกัน เกิดข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องพะยูน ที่เป็นความต้องการของชุมชนและได้รวมตัวกับทางเครือข่ายในการที่จะออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ในตัวคณะกรรมการขับเคลื่อนส่วนใหญ่จะเป็นกลไกของรัฐตามกฎหวาย คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งไม่สามารถขับเคลื่อนได้จริง เพราะกำนัน ผู้ใหญ่บ้านไม่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ แต่มีประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครชุดปฏิบัติบัตการเฉพาะกิจทางทะเลเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนข้อบัญญัติพะยูนตำบลเกาะลิบง
  2. มีกฎกติการที่สมาชิกทุกคนช่วยกันคิดและยินดีปฏิบัติตาม เพื่อประโยชน์แกชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 54 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-ทางผู้บริหารท้องถิ่นไม่ค่อยจะเข้าใจข้อบัญญัติเท่าที่ควรเพราะข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นการทำงานร่วมกันกับทางผู้บริหารชุดเก่าแนวทางแก้ไขต้องใช้เวลาในการต่อข้อมูลเพื่อให้ทางผู้บริหารชุดใหม่เข้าใจถึงเจตนารมของข้อบัญญัติท้องถิ่น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมการประชุมทำความเข้าใจทีมเก็บข้อมูล และร่วมกันวางแผนการเก็บข้อมูล3 มีนาคม 2559
3
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดทำแบบสำรวจและวิธีการสำรวจข้อมูล

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมวางแผนประเด็นในการสำรวจ
  2. ลงมติเลือกประเด็นที่ต้องการและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
  3. ร่วมกันออกแบบ และจัดทำแบบแผนสำรวจ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกในชุ่มชนมีการแสดงความคิดเห็น ทำให้แผนที่ได้ตรงไปตามความต้องการของชมาชิกในชุมชน
  2. มีแบบแผนที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้ จะมีการเก็บข้อมูลในประเด็นสถานการณ์ของป่าชายเลน สัตว์น้ำ ภัยคุกคาม และข้อมูลการทำประมงของครัวเรือนในชุมชน รวมถึงปฏิทินฤดูกาลผนวกกับอาชีพทางทะเลเพื่อเก็บไว้ และนำมาสร้างเป็นแบบให้ลูกหลานในอนาคตได้เข้าใจถึงการทำอาชีพประมง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ช่วงวัยเรียน 15 คน และวัยทำงาน 7 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การปรับตารางการประชุมทำให้เวลาในการวางแผนเปลี่ยนไป และทำให้การวางแผนที่จะทำร่วมกับทางโรงเรียนต้องเลื่อนออกไปในวันเปิดเทอม โครงการมีความจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรมในช่วงนี้เลยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเด็กนักเรียนจากกลุ่มเดิมมาใช้กลุ่มใหม่บางส่วน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดอบรมหน่วยลาดตระเวนชุดเฉพาะกิจทางทะเลบริเวณอ่าวบาตู(ฉก.) ครั้งที่ 12 มีนาคม 2559
2
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนามีส่วนร่วม เฝ้าระวังป้องกัน และการจัดการภายในชุมชน เพื่อฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แก่หน่วยลาดตระเวนชุดเฉพาะกิจ เพื่อช่วยเหลือชุมชนเป็นหูเป็นตาให้กับชุมชนเพื่อจัดตั้งกลุ่มหน่วยลาดตระเวนชุดเฉพาะกิจ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อาสาสมัครเข้าร่วมอบรม โดยวิทยากรและนักวิชาการเกี่ยวกับพื้นฐานในการเป็นหน่วยลาดตระเวนชุดเฉพาะกิจ การจัดฝึกอบรมและจัดตั้งหน่วยลาดตระเวนชุดเฉพาะกิจเพื่อเป็นการช่วยเหลือชุมชนและเป็นวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของในพื้นที่ได้ดีที่สุด อาสาสมัครเหล่านี้จะทำหน้าที่คอยช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการสอดส่องแจ้งข้อมูลข่าวสาร และคอยตรวจตรา เฝ้าระวัง ดูแล เป็นหูเป็นตาแทนเจ้าหน้าที่หรือร่วมดำเนินการกับผู้กระทำผิด ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและตามที่ได้รับมอบหมาย จะได้มีโอกาสได้เข้ารับการฝึกทบทวน เพิ่มทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ และได้พบปะทำกิจกรรมร่วมกัน จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเพิ่มประสบการณ์ให้แก่อาสาหน่วยลาดตระเวนชุดเฉพาะกิจ
  • วางแผนบริเวณเป้าหมายลาดตระเวณร่วมกัน โดยคำนึงพื้นที่ บริเวณทำผิดกฎหมาย ผสานงานกับหน่วยงานรัฐ เขตห้ามล่า และเจ้าหน้าที่
  • วางปฏิทินงาน ทำงาน และมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา เฝ้าระวังป้องกัน และการจัดการภายในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดอบรม

  1. ได้แนวทางการบริการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยประชาชนมีส่วนร่วม มีบทบาทสำคัญและร่วมกันรับผิดชอบบริหารจัดการ ดูแล รักษา ทรัพยากรในพื้นที่ของตนเองร่วมกับเจ้าหน้าที่ จะช่วยแบ่งเบาภาระและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟู และจะช่วยแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ ป่าชายเลน แนวปะการัง แหล่งญ้าทะเล สัตว์ทะเลหายากประเภท พะยูน เต่าทะเล โลมา และวาฬ
  2. ความเร่งด่วนจะต้องดำเนินการให้ความรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนในพื้นที่ให้รู้สึกหวงแหนและรู้จักคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมไปถึงการส่งเสริมให้เข้ามามีส่วร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของท้องถิ่นให้มีความยั่งยืนตลอดไป
  3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู พัฒนาและให้ความปลอดภัยแก่ชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 18 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 18 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา - วิทยากรเตรียมเครื่องมือการบรรยายเป็นโปรเจ็คเตอร์ มานำเสนอให้ชุมชน เป็นสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยในการที่จะใช้โปรเจ็คเตอร์ จึงเปลี่ยนมาใช้กระดาษนำเสนอในการอธิบายแทน แนวทางการแก้ไข - ทีมจัดงานจะต้องไปเตรียมสถานที่ก่อนเสมอ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่26 กุมภาพันธ์ 2559
26
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

กระตุ้นให้บุคคลที่สูบบุหรี่ ได้ตระหนักถึงผลกระทบของการสูขบุหรี่ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพของสมาชิกภายในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้และกำหนดพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งมอบหมายงานความรับผิดชอบ 2.รวมกันจัดวางป้ายตามความเหมาะสม ในพื้นที่เป้าหมายที่กำหนดไว้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักถึงผลกระทบในการสูบบุหรี่ และให้ความร่วมมืองดสูบบุหรี่ในช่วงทำกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 150 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

ชาวบ้านในชุมชนบ้านบาตู จำนวน 150 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 526 กุมภาพันธ์ 2559
26
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Chanokpon
circle
วัตถุประสงค์

พัฒนากลไกการบริหารจัดการหมู่บ้านโดยสภาชุมชนในการจัดการเรื่องบ้านมั่นคงและที่อยู่อาศัย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ แจ้งหลักการของการทำโครงการบ้านมั่นคง เป้าหมายของการทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ดิน กลุ่มเป้าหมาย คือ คนที่ไม่มีที่ดินและบ้านเป็นของตนเอง การสนับสนุนได้เงินอุดหนุนจากกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัย และรูปแบบของการแก้ปัญหา คือ ปรับปรุงในที่ดินเดิม หรือซื้อที่ดินแปลงใหม่

วาระที่ 2 สรุปปัญหาที่ผ่านมาของชุมชนเกาะลิบง และอนาคตของเกาะลิบง 1. เรื่องที่ดินของคนในชุมชนตอนนี้ยังมีอยู่ในมือ หรือขายให้กับนายทุน 2. คนในชุมชนติดยาเสพติดหรือเป็นโจรมากขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาลง 3. การท่องเที่ยวในชุมชนมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร 4. ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนยังมีเพิ่มมากขึ้นหรือลดน้อยลง

วาระที่ 3 เสนอเพื่อพิจารณา ที่ประชุมเสนอให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เป็นกองทุนเพื่อพัฒนาความมั่นคงของคนในชุมชน จุดประสงค์เพื่อการพึ่งพาตนเองในระยะยาวของคนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นเด็ก สตรี หรือคนชราในชุมชน

วาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่ได้จากการทำกิจกรรม สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจถึงโครงการบ้านมั่นคง ว่าเป็นการบ่งบอกถึงชุมชนที่อยู่อย่างมั่นคง ใช้บ้านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน คนต้องมาร่วมมมือกันจึงจะเกิดความมั่นคงในชุมชน
  2. ได้ข้อสรุปของชุมชนว่าปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง คนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มีการแข่งขันกันทำมาหากิน ขาดการพึ่งพาอาศัยกัน ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้คนในชุมชนมีหนี้สิน อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกียจคร้าน ไม่ทำมาหากิน การกู้เงินนอกระบบซึ่งต่างจากในอดีตที่มีการอยู่อาศัยกันแบบพี่น้อง พึ่งพาอาศัยกัน ทรัพยากรมีเหลือกินเหลือใช้

สิ่งเหล่านี้ทำให้คนในชุมชนได้แนวคิดเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และช่วยให้ชุมชนเกาะลิบงกลับมามีทรัพยากรที่อุดสมบูรณ์ด้วยคนในชุมชนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 48 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการสภา หมู่ที่ 1 จำนวน 12 คน หมู่ที่ 4 จำนวน 13 คน หมู่ที่ 5 จำนวน 3 คน หมู่ที่ 7 จำนวน 20 คน
รวม 48 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.สมาชิกไม่เข้าใจในวัติถุประสงค์ของโครงการ เนื่องจากการไม่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งที่ผ่านมา 2. การได้รับฟังข่าวสารที่ไม่เป็นความจริงจากข้างนอก แนวทางแก้ไข 1.จัดประชุมกลุ่มย่อยเป็นรายโซนไป 2.มอบภาระกิจให้คณะกรรมการจัดการเป็นรายหมู่บ้าน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 525 กุมภาพันธ์ 2559
25
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Chanokpon
circle
วัตถุประสงค์

สร้างความเข้าใจ ข้อตกลงกลไกในการบริหารจัดการหมู่บ้าน ในการจัดการเรื่องบ้านมั่นคงและที่อยู่อาศัย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ร่วมกันประชุมวางแผนการจัดการ ภายในหมู่บ้าน
  2. มีการติดตามการดำเนินโครงการที่ได้จัดทำในหมู่บ้าน เพื่อนำมาปรับปรุง ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
  3. ร่วมกันเตรียมความพร้อมและสำรวจบุคคลสำคัญที่สามารถให้ความรู้เพื่อให้ทีมเยาวชนสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตรงกลุ่มเป้าหมายและรวดเร็วชัดเจนยิ่งขึ้น
  4. เลือกตัวแทนในทีมที่สามารถมาช่วยกิจกรรมทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อจะดำเนินการในวันที่ 26 ก.พ. 59
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผน
  2. สามารถแก้ไปปรับปรุง โครงการที่ทำอยู่หรือกำลังจะเริ่มทำให้ดียิ่งขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย

บุคคลในวันทำงาน จำนวน 12 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงานและตัวแทนกลุ่มเยาวชนเพื่อออกแบบ/จัดทำแบบสำรวจข้อมูล24 กุมภาพันธ์ 2559
24
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อออกแบบและจัดทำแบบสำรวจ ในประเด็นป่าชายเลน สัตว์นำ้ ภัยคุกคาม และการทำประมง ในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการทำงาน และเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ สำหรับการทำกิจกรรม
  2. ร่วมกันออกแบบและจัดทำแบบสำรวจ ในประเด็นสถานการณ์ของป่าชายเลน สัตว์น้ำ ภัยคุกคาม และข้อมูลการทำประมงของครัวเรือนในชุมชน รวมถึงปฏิทินฤดูกาลผนวกกับอาชีพทางทะเลเพื่อเก็บไว้ และนำมาสร้างเป็นแบบให้ลูกหลานในอนาคตได้เข้าใจถึงการทำอาชีพประมง
  3. ร่วมกันสรุปและอภิปรายผลการทำกิจกรรมเพื่อนำไปสู่แบบแผนในการปฏิบัติการสำรวจชุมชนในพื้นที่จริง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีแผนการจัดทำกิจกรรม และ รูปแบบกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์
  2. สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 27 คน
ประกอบด้วย

เด็กวัยเรียน 21 คน
วัยทำงาน 12 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.สภาพภูมิอากาศไม่เหมาะสม เพราะอยู่ในช่วงฤดูมรสุม ควารพิจารณาเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาในการประชุมปรึกษา 2.สถาณที่ ที่ตั้งบริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบจากช่วงฤดูมรสุม จึกทำให้ขาดความสะดวกในการจัดการ 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

หลีกเลี่ยงช่วงฤดูมรสุม ปรับเปลี่ยนกิจกรรมอื่นให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ

ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานครั้งที่ 220 กุมภาพันธ์ 2559
20
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย เสณี จ่าวิสูตร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการในงวดที่ 1 และตรวจสอบเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายงบประมาณ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 2 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการ และตรวจสอบเอกสารการเงิน ในการปิดงวดที่ 1 พี่เลี้ยงโครงการ ทำความเข้าใจในการเขียนรายงานผลกิจกรรมในระบบเว็ปไซต์ที่สมบูรณ์ ทีมงานพี่เลี้ยงและ สจรส.มอ. ได้แบ่งบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารการเงิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน จำนวน 2 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการ ตามกำหนดการที่วางไวั คณะทำงานโครงการและผู้รับผิดชอบโครงการ เข้าใจการเขียนรายงาน การรายงานผลกิจกรรมในระบบเว็ปไซต์ที่สมบูรณ์ และได้ปรับปรุงรายงานในระบบเว็บไซต์ได้ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการได้ร่วมกับ สจรส.มอ. ในการตรวจสอบเอกสารการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ/ผู้รับผิดชอบการรายงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  1. การเขียนรายงานผลกาดำเนินกิจกรรมไม่มีรายละเอียด มีเพียงหัวข้อกิจกรรมให้รายงานให้สมบูรณ์
  2. เอกสารการเงินบางส่วนยังไม่ถูกต้องและขาดใบเสร็จในบางกิจกรรม ให้กลับไปแก้ไข และจัดหาใบเสร็จมาประกอบในกิจกรรมที่ยังขาดอยู่
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  1. การรายงานผลการดำเนินงานให้มีรายละเอียด ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร กับใคร ผลที่ได้เป็นอย่างไร
  2. แก้ไขเอกสารที่ผิดให้ถูกต้อง และกิจกรรมใดที่สามารถขอใบเสร็จรับเงินจากร้านค้าให้ใช้ใบเสร็จ
ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานงวดที่ 120 กุมภาพันธ์ 2559
20
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ จัดทำรายงานปิดงวด
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พี่เลี้ยงโครงการตรวจสอบรายงานการทำโครงการ ให้คำแนะนำ และนำเอกสารการเงินทั้งหมดที่ทำในงวด 1 ส่งให้ทาง สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ก่อนจัดทำรายงานความก้าวหน้า
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เจ้าหน้าที่ของโครงการได้เรียนรู้และการแก้ไขข้อบกพร่องในการจัดทำรายงาน และเอกสารการเงินให้สมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้ในโครงการต่อไปให้ถูกต้อง
  • เสนอแนะให้เพิ่มเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนในรายงาน รวมถึงภาพถ่ายกิจกรรมที่ยังไม่เพียงพอ ตรวจสอบเอกสารการเงิน และให้กลับไปเพิ่มและแก้ไขเอกสารบางส่วนที่ยังไม่ครบ และไม่ถูกต้องให้สมบูรณ์ ฟังบรรยายจากคุณเอ๋ admin ของโครงการเกี่ยวกับการจัดทำรายงาน และการจัดทำเอกสารทางการเงินโดยละเอียด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน เจ้าหน้าที่การเงิน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เนื่องจากเจ้าหน้าที่การเงินและจัดทำเอกสารคนก่อนออกไป จึงต้องมีเจ้าหน้าที่คนใหม่ทำแทน ทำให้ไม่มีความรู้ทั้งในเรื่องของการจัดทำรายงานและการจัดเตรียมเอกสารทางการเงิน เป็นผลให้การจัดทำรายงานและเอกสารทางการเงินไม่สมบูรณ์ และถูกต้องตามแนวทางของโครงการ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมเปิดโครงการเพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการต่อชุมชน15 กุมภาพันธ์ 2559
15
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย เสณี จ่าวิสูตร
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เฝ้าระวัง ป้องกันและพัฒนาเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน หญ้าทะเล และสัตว์ทะเล ให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามชื่อโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. คณะทำงานประชุมเตรียมงาน ติดต่อประสานงานพื้นที่ บุคลากรทางราชการ โรงเรียน และชาวบ้านในชุมชนที่จะเข้าร่วมโครงการ
  2. เปิดตัวโครงการวันที่ 15/2/2559

ช่วงเช้า

  • ผู้ใหญ่บ้านบาตูปูเต๊ะ กล่าวต้อนรับและบอกวัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้
  • เลขานุการโครงการ กล่าวรายงานเป้าหมายของการดำเนินโครงการ
  • ปลัดเทศบาลนครกันตัง กล่าวเปิดงาน ให้ข้อมูลพื้นที่ดำเนินโครงการ กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และเสนอแนะทางแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นแนวทางให้คนในชุมชนมีแรงจูงใจในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้น่าอยู่และสามารถจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ในพื้นที่ของตนเองให้คงอยู่ และมีปริมาณเพิ่มขึ้น
  • โดยเจ้าหน้าที่ของ สสส.คุณเสณี จ่าวิสูตร ให้ข้อมูลในการดำเนินโครงการ เสนอแนะการสร้างรายได้ของคนในชุมชนให้ยั่งยืน จัดการความสุขของชุมชนโดยคนในชุมชนร่วมกันคิดร่วมกันทำ

ช่วงบ่าย

  • เสวนาในหัวข้อเรื่อง พรก.ประมงปี พ.ศ. 2558 มีผลกระทบต่อประมงพื้นบ้านอย่างไร
  • รับสมัครเรียนและเยาวชนในชุมชนเข้าร่วมโครงการ "รักษาครัวทะเลที่บ้านบาตู"
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมในช่วงเช้า

  • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ มีการโต้ตอบ พูดคุย สอบถาม และสนใจกิจกรรมของโครงการที่จัดขึ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ชาวบ้านในชุมชนต้องประสบ เพราะอาชีพที่คนในชุมชนทำเป็นหลัก คือทำสวนยางพารา และทำประมง คุณเสณีได้ตั้งคำถาม "หากเรามี 2 ขา ขาหนึ่งเป็นประมง ขา 2 เป็นยางพารา ขารายได้หายไป 1 ทาง คุณจะแก้ปัญหาอย่างไร" จากการพูดคุยและร่วมสนทนา ได้ข้อสรุปเป็นแนวทางให้ชาวบ้านได้แนวคิดในการหารายได้เพิ่มจาการทำอาชีพอื่นเสริม ถึงแม้ว่าอีกขาจะหายไป แต่ก้ยังมีอาชีพสำรอง เช่น การทำท่องเที่ยวชุมชน การผลิตสินค้าที่ได้จากวัตถุดิบในชุมชน เช่น กะปิ น้ำพริกปูหยอง ปลาเค็ม ฯลฯ

กิจกรรมเสวนาในช่วงบ่าย

  • ข้อคิดจากชาวบ้าน หาอาชีพเสริมมาทำให้ขาเราดีขึ้น ทำกะปิ ขนมทำให้มีอาชีพเสริม สามารถเพิ่มรายได้ ให้คนในชุมชนช่วยกัน อยู่ร่วมกัน มีความสามัคคี จะทำให้เกาะลิบงก้าวหน้า และมีความสุข
  • ข้อคิดจากครู เสนอแนะให้ชาวบ้านช่วยกันรักษาความสะอาด ดูแลสภาพแวดล้อม จะช่วยให้ชุมชนน่าอยู่
  • ข้อคิดจากตัวแทนนักพัฒนาชุมชน ให้ข้อมูลกับชาวบ้านและนักเรียนเรื่องการดูแลรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการทำประมง การได้เปรียบเสียเปรียบในข้อกฎหมาย ชาวบ้านและนักเรียนมีการโต้ตอบซักถาม และให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 132 คน จากที่ตั้งไว้ 125 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กนักเรียน จำนวน 30 คน ชาวบ้าน จำนวน 100 คน (วัยทำงาน และผู้สูงอายุ) ครู จำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เนื่องด้วยมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และมีกรณีเร่งด่วนเกี่ยวกับ พรก. ที่เพิ่งออกมาล่าสุดที่เกี่ยวกับการประมง ทำให้คณะทำงานต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าประสานงาน ที่เพิ่มขึ้น เพื่อเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่ชาวบ้าน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมเปิดตัวโครงการเพื่อทำความเข้าใจการดำเนินงานของโครงการ15 กุมภาพันธ์ 2559
15
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย เสณี จ่าวิสูตร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการดำเนินงานโครงการฯกับคณะทำงานโครงการฯและคนในชุมชน(เปิดโครงการฯ)

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ช่วงเช้า... ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม บอกถึงเรื่องราววัตถุประสงค์การเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เลขานุการโครงการ...กล่าวรายงานการประชุม บอกถึงวัตถุประสงค์การดำเนินงานของโครงการ ปลัดอาวุโส...กล่าวเปิดเวที บอกเป้าหมาย มองเห็นความสำคัญในการดำเนินงานโครงการนี้ ช่วงบ่าย... ผู้รับผิดชอบโครงการ..บองถึงที่มา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ...บอกถึงการบริหารจัดการโครงการที่ดี การสนับสนุนงบประมาณของแหล่งทุนภายใต้โครงการชุมชนน่าอยู่ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. และการบริหารจัดการงบประมาณ กรอบการใช้จ่ายเงิน การจัดทำหลักฐานการเงินเมื่อมีการเบิกจ่าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้และความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ เห็นความสำคัญในการทำกิจกรรมของโครงการไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูล โดยมีเด็กเยาวชนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด จำนวน 20 คน โดยมีนักเรียนและครูเข้าร่วมด้วย อีกทั้งเห็นความสำคัญของกิจกรรมฟื้นฟู อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของบ้านเรา ให้คนบ้านเราช่วยกันรักษาครัวทะเลบ้านเรา ช่วยกันดูแลป่าชายเลน การใช้เครื่องมือประมง และร่วมมือกันรักษาทะเลไว้ให้อุดมสมบูรณ์
  • เด็กเยาวชนเข้าร่วมสมัครเป็นนักสืบสายน้ำ จำนวน 20 คน ร่วมกันจัดทำข้อมูลทางทะเล ความอุดมสมบูรณ์ การสูญหายของทรัพยากรทางทะเล เพื่อให้เด็กเยาวชนได้ทำงาน ได้รู้จักบ้านเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 130 คน จากที่ตั้งไว้ 125 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคนในชุมชน จำนวน 75 คน
  • เด็กเยาวชน จำนวน 20 คน
  • ผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน
  • พี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 2 คน
  • ตัวแทนท้องที่ ท้องถิน จำนวน 8 คน
  • ตัวแทนครูโรงเรียน,เขตอนุรักษ์ฯสภาองค์กรชุมชน จำนวน 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การบริหารจัดการโครงการ การเงินที่ดี สิ่งที่สำคัญชุมชนต้องมีทีมงาน มีแผนงาน มีข้อมูล มีการวางแผน มีวงคุย เพื่อให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการ พัฒนาชุมชนเองได้อย่างเข้มแข็ง

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 425 มกราคม 2559
25
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือ กำหนดวาระการประชุม

  • วาระแรก ประธานแจ้งเพื่อทราบถึงรายละเอียดโครงการ
  • วาระสอง ทบทวนมติการประชุมจากครั้งที่แล้ว ที่ประชุมรับรอง
  • วาระสาม เสนอเพื่อพิจารณา เรื่องการปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์
  • วาระอื่นๆ ติดตามงานของสภาชุมชน รายงานความคืบหน้าของงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จากการประชุมร่วมกันได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการปรับแผนปฏิบัติการในการทำงาน
  2. เวลาของคณะทำงานต้องเลื่อนจากเช้าเป็นบ่าย หรือ ค่ำ เนื่องจากภารกิจทางบ้าน และการทำมาหากินในช่วงเช้า ไม่สามารถมาประชุมในช่วงเช้าได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายเสณี จ่าวิสูตร
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 425 มกราคม 2559
25
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อฟื้นฟูใหม่ เริ่มออมทรัพย์ใหม่
  2. นัดประชุมทีมประมง (เรือประมง) เพื่อฟื้นฟู/ตั้งกองทุนเรือในระยะยาว
  3. นัดประชุมทีมสวัสดิการชุมชน (สัจจะวันละ 1 บาท/กองทุนซากาด)วางระบบการจัดสวัสดิการโดยพวกเรา
  4. นัดประชุมทีมท่องเที่ยวชุมชน (โฮมสเตย์) เพื่อวางแผนการท่องเที่ยว
  5. นัดทีมทรัพยากร เพื่อวางแผนการจัดการ จัดการทรัพยากรทางทะเล (นัดเป็นคณะ ๆ หาข้อสรุปให้เรียบร้อยถึงวิธีทำ)
  6. สภาองค์ชุมชน ประชุมทีมงานเพื่อทำข้อมูลภาพรวมของเกาะลิบงและวางกำลังคณะทำงานเป็นชุด ๆ ไป และออกระเบียบข้อบังคับการบริหารกองทุนกลางตามหลักศาสนาอิสลาม
  7. สภา ฯ ออกหนังสือเชิญประชุมหน่วยงาน เพื่อประกาศตัวตนชุมชนจัดการตนเอง โดยสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ที่ใช้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาร่วมกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้คณะทำงานในการบริหารจัดการกองทุน การท่องเที่ยวชุมชน และการจัดการทรัยพากรทางทะเลเพื่อความยั่งยืนในอนาคต โดยเป็นคณะทำงานทีมเดียวกับการทำโครงการ และมีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับแผนงานกิจกรรมในโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 36 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน ตัวแทน อสม. ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มกู้ชีพทางทะเล กลุ่มเด็กยืนและเยาวชน ตัวแทนครูโรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ กลุ่มบ้านมั่นคง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 325 ธันวาคม 2558
25
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมวางแผน ปรับกิจกรรม เนื่องจากงบประมาณที่ยังไม่ได้รับจากทาง สสส. ทำให้คณะทำงานต้องประุชุมปรึกษาหารือกันอีกครั้ง เพื่อการทำกิจกรรมที่คลอบคลุมและขับเคลื่อนงานไปอย่างถูกทิศทาง
  • เตรียมงานเพื่อจัดการประชุมสภาทำงานปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาของประมงพื้นบ้าน และ พรก. ปี 2558 มาตร 34 เรื่อง การห้ามเรือเล็กออกจากฝั่งเกิน 3 ไมล์ทะเล เพื่อเป็นการรับข้อมูลข่าวสารไว้ป้องกันตนเองและเตรียมรับมือกับสถานการณ์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แผนการดำเนินของโครงการเพื่อที่จะปรับตัวโครงการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยปรับในปฏิทินเวบไซต์
  • ชาวบ้านได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นประโยชน์ และนำไปใช้ให้ถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • จากสถานการณ์การโอนเงินงบประมาณของ สสส. ล่าช้า จึงทำให้โครงการประสบปัญหาในเรื่องของการจัดกิจกรรม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำกิจกรรมที่สามารถทำได้ไปก่อน โดยสำรองจ่ายเงินของกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำไปก่อน และเจ้าหน้าที่โครงการที่ทำในระหว่างที่ สสส.เจอปัญหา ได้ออกจากโครงการไปก่อน ไม่มีการส่งมอบงาน ทำให้การรายงานข้อมูลไม่สมบูรณ์
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 325 ธันวาคม 2558
25
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปผลและปัญหาในการดำเนินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการที่ได้ปฏิบัติงานไปแล้ว และติดตามผลการทำงานที่แต่ละคนได้รับมอบหมายว่าคืบหน้าไปอย่างไร มีการประสานงานกันอย่างต่อเนื่องหรือไม่ และมีการพูดคุยถึงการนำกลุ่มเยาวชนมาเข้าร่วมในกิจกรรม ซึ่งเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะนำมาเข้าร่วมในโครงการครั้งนี้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน มีข้อแลกเปลี่ยนกันของผู้เข้าร่วมประชุมถึงโครงการที่จะเกิดขึ้นว่าโครงการที่กำลังทำอยู่จะส่งผลดีกับชุมชนในระยะยาว หากทุกคนร่วมมือกัน และต้องเสียสละในการทำงานเพื่อปากท้องของคนในชุมชนเอง
  • จากการพูดคุยทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ การคิดหาทางแก้ปัญหาปากท้องที่หลายพื้นที่กำลังประสบอยู่ในขณะนี้
  • การนำเด็กเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทำให้เด็กมีความกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 37 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน ตัวแทน อสม. ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มกู้ชีพทางทะเล กลุ่มเด็กและเยาวชน ตัวแทนครูโรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ กลุ่มบ้านมั่นคง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

อบรมหลักสูตร ธนาคารสัตว์น้ำ10 ธันวาคม 2558
10
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์หญ้าทะเล และหอยชักตีนเพื่อทำธนาคารสัตว์น้ำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จากการพัฒนาของประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การทำการประมง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การพัฒนาแหล่งชุมชนและอื่น ๆ ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมาก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบ ทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรม มีการใช้ที่ดินชายฝั่งทะเลมากขึ้น จนเกิดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการบุกรุกและเปลี่ยนแปลงสภาพเพื่อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เกิดการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรง สภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรม ระบบนิเวศชายฝั่งต่าง ๆ เช่น แนวปะการังอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ รวมถึงแหล่งหญ้าทะเลอีกด้วย โดยเหตนี้จึงมีการจัดการอบรมหลักสูตร ธนาคารสัตว์น้ำ  เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์หญ้าทะเล และหอยชักตีนเพื่อทำธนาคารสัตว์น้ำต่อไป กิจกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้ - ช่วงเช้ากลุ่มสตรีประมงพื้นบ้าน 10 คน เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการเพาะหญ้าทะเล การเพาะพันธุ์ุ์หอยชักตีนเเละปูม้าโดยวิทยากรเเละนักวิชาการเป็นผู้อบรม
- ช่วงบ่ายลงปฏิบัติงานจริงโดยการนำหญ้าทะเล ตัวอ่อนหอยชักตีนเเละปูม้าลงเพาะเลี้ยงในกระชังลอยน้ำ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ศูนย์เรียนรู้มีชีวิต ธนาคารสัตว์น้ำเเละหญ้าทะเล
  • กลุ่มสตรีมีตวามรู้ความเข้าใจในวิธีการเพาะพันธุ์ หญ้าทะเล หอยชักตีน เเละปูม้า
  • ตัวเเทนกลุ่มสตรีอย่างน้อย 5 คน มีความเชี่ยวชาญเเละสามารถเผยเเพร่ความรู้ต่อได้
  • มีการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำเเละหญ้าทะเล
  • อุปกรณ์เเละวัสดุต่างๆที่ใช้ทำกระชังลอยน้ำสำหรับเพาะพันธุ์ได้รับการสนับสนุนจากภาคีร่วม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 29 คน จากที่ตั้งไว้ 23 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ ทีมสภาผู้นำ และกลุ่มประมงพื้นบ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • งบประมาณที่ใช้ในโครงการไม่เพียงพอเนื่องจากไม่ได้ตั้งงบประมาณเรื่องค่าเดินทางของคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 225 พฤศจิกายน 2558
25
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • ดำเนินโครงการตามแผนของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมคณะทำงานพุดคุยเกี่ยวกับการดำเนินโครงการตามที่ได้รับมอบหมายและทบทวนหน้าที่ๆได้รับในการจัดกิจกรรมที่กำลังจะมาถึง ปรึกษาหารือเรื่องของการจัดการการออมเพื่อหาแนวทางและข้อสรุปร่วมกันว่าความต้องการโดยส่วนใหญ่เป็นไปในรูปแบบไหนและควรมีการจัดการการออมอย่างไร รวมถึงมีการพูดคุยเรื่องโครงการการจัดสร้างบ้านใหม่ซึ่งเป็นอีกโครงการหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อคนในชุมชนและแจกแจงรายละเอียดโครงการเพื่อให้ที่ประชุมทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการและทำความเข้าใจร่วมก
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการประชุมได้ข้อสรุปว่า

  • เรื่องการทำโครงการ จะมีการประสานให้คนในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูลของโครงการ และประโยชน์ที่ชุมชนโดยตรงจากการทำโครงการ
  • กรรมการของชุมชนจะต้องไปติดตามการออมของสมาชิกในชุมชน แต่ละบ้านและจะต้องมาสรุปในการประชุมครั้งต่อไป
  • สรุปจำนวนคนที่ต้องการจะสร้างบ้านใหม่มีจำนวนเท่าไหร่ตามความเป็นจริง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 225 พฤศจิกายน 2558
25
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

จัดตั้งสภาชุมชน และสร้างความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เตรียมงาน ประสานงานผู้เข้าร่วมประชุม -จัดตั้งสภาชุมชน -พูดคุยสร้างความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินโครงการ -แลกเปลี่ยนปัญหาและปรึกษาหารือกันเพื่อหาทางแก้ไข -การจัดการที่ดินและที่อยู่อาศัย จังหวะก้าวการทำข้อมูลเกาะลิบงมีการจัดตั้งคณะทำงาน 1 ชุด ศึกษาแผนแม่บทเกาะลิบงจากโครงการศึกษาและวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินปี 2557 และข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยสภาองค์กรชุมชนนัดประชุม ประกอบด้วยสภาองค์กรชุมชน นายยองค์การบริหารส่วนตำบลคนเก่า/คนใหม่ กำนัน ผู้ใหญ่ และหน่วยงาน เช่น ป่าเลน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด หาข้อสรุปแนวทางปฏิบัติ มีการดึงภาพถ่ายทางอากาศ แล้วเอาแผนที่ทำมือที่อยู่อาศัยวาดลงในแผนที่โดยใส่รายละเอียดชื่อบ้านไว้ด้วย พร้อมวาดขอบเขตรายแปลง การถือครองที่ดินทำการเกษตรลงในแผนที่พร้อมกับใส่รายชื่อคนถือครองในภาพถ่ายทางอากาศ จัดทำเป็นบ้านที่ซ่อมแซมว่ามีรายละเอียดอะไรบ้างแต่ละหลัง แล้วนำมาสรุปเป็นภาพทั้งหมดโดยแยกชนิดต่างๆ เช่น กระดานจำนวนกี่แผ่น กระเบื่องกี่แผ่น และสร้างใหม่จำนวนกี่หลัง หรือทางเดินเท้าที่ใช้ร่วมกันจำนวนเท่าไหร่ จากนั้นสภาองค์กรชุมชนเกาะลิบงเปลี่ยนโครงการนำเสนอต่อสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนมาร่วมพัฒนาโครงการไปด้วยกัน และการบริหารโครงการที่อนุมัติจากพัฒนาองค์กรชุมชน และมีทีมขบวนชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชนมีเป้าหมายในการทำงาน "ธนาคารชุมชนอิสลามเพื่อการพัฒนา" ได้แก่ประชุมสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อฟื้นฟูใหม่ออมทรพย์ใหม่ นัดประชุมทีมประมง(เรือประมง) เพื่อฟื้นฟูตั้งกองทุนเรือในระยะยาว นัดประชุมทีมสัจจะชุมชนวางระบบการจัดการโดยสภาองค์กรตำบลเกาะลิบง นัดประชุมทีมท่องเที่ยวชุมชนเพื่อวางแผนการท่องเที่ยว นัดทีมทรัพยากรเพื่อวางแผนการจัดการทรัพยากรทางทะเล -สภาองค์กรชุมชนประชุมทีมงานเพื่อทำข้อมูลภาพรวมของเกาะลิบงและออกคำสั่งคณะทำงานเป็นชุดๆไป และออกระเบียบข้อบังคับการบริหารกองทุนกลางตามหลักศาสนาอิสลาม -สภาองค์กรชุมชนเกาะลิบงออกหนังสือเชิญประชุมหน่วยงาน เพื่อประกาศตัวตนชุมชนจัดการตนเองโดยสร้างมติรับรองและความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่ใช้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาร่วมกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีคณะกรรมการสภาชุมชน จำนวน 34 คน เป็นกลไกในการบริหารจัดการชุมชน ผู้เข้าร่วมประชุมมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้มองเห็นความร่วมมือของคนในชุมชนที่พยายามร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 39 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน ตัวแทน อสม. ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มกู้ชีพทางทะเล กลุ่มเด็กและเยาวชน ตัวแทนครูโรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ กลุ่มบ้านมั่นคง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 125 ตุลาคม 2558
25
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • วางแผนงาน เตรียมการดำเนินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมคณะทำงาน เตรียมงาน ประชุมวางแผนการทำงาน เตรียมการ ขับเคลื่อนแผน เพื่อดำเนินโครงการตามแนวทางที่ทาง สสส. กำหนดเพื่อให้กิจกรรมดำเนินไปตามระยะเวลาที่วางไว้  และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานตามแผนงานของโครงการเมื่อได้คณะกรรมการ จึงได้ร่วมกันวางแผนร่างกำหนดการในกิจกรรมแรกคือการจัดอบรมหลักสูตรธนาคารสัตว์น้ำ เพื่อหารูปแบบกิจกรรมและรวมมือช่วยกันทำงานอย่างทั่วถึง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้คณะทำงานของโครงการ จำนวน 15 คน เพื่อที่จะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน จากการประชุมสังเกตุเห็นคณะทำงานมีความกระตือรือล้นในการทำงาน นอกจากนี้ได้รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และผลกระทบที่ได้รับจากการประกาศ พรก. 34 ห้ามประมงพื้นบ้านออกหาปลาเกิน 3 ไมล์ทะเล
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 12 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 125 ตุลาคม 2558
25
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ตัวแทนของชุมชนมีความเข้าใจการดำเนินงานของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมทีมสภาผู้นำครั้งที่ 1 มีวาระในการประชุมเรื่องปัญหาที่ชาวประมงประสบอยู่ในขณะนี้ และวาระอื่น ๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ชาวประมงพื้นบ้านมีปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมง คือ กุ้งปลาในทะเล ลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบถึงรายได้และการดำรงชีพทางด้านต่างๆ และรวมถึงการตายของพะยูนและความเสียหายของหญ้าทะเล ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมงเกิดจากสาเหตุสำคัญที่สุดคือ การใช้เครื่องมือทำลายล้างนานาชนิด เช่น อวนรุน อวนลาก เรือไฟปั่นปลากะตัก และการระเบิดปลา การปล่อยน้ำเสียจากโรงงาน ชุมชน และนากุ้งลงทะเล การทำลายป่าชายเลน ปะการัง หญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งเพาะฟักสัตว์น้ำตามธรรมชาติ เมื่อสัตว์น้ำลดลงชาวประมงจับสัตว์น้ำได้น้อยลง รายได้ลด เกิดผลสืบเนื่องคือ ต้องกู้หนี้ยืมสินจากพ่อค้าสัตว์น้ำในหมู่บ้าน(แพปลา)แล้วเอาสัตว์น้ำมาขาย ชดใช้หนี้ ทำให้ขายได้ราคาต่ำ บางคนเป็นหนี้ยาวนานหลายสิบปี ไถ่ถอน ไม่หมดเพราะจับสัตว์น้ำไม่พอใช้หนี้ เกิดการอพยพแรงงานเข้าไปทำงานในเมือง การแก้ไขปัญหาของชาวประมงในบ้านบาตู ชาวประมงจึงต้องแก้ที่สาเหตุที่ทำให้สัตว์น้ำลดลง โดยได้ข้อสรุปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามที่โครงการรักษาครัวทะเลที่บ้านบาตู คือ การทำซังกอบ้านปลาเพื่อเพิ่มประชากรปลา และการปลูกป่าชายเลยเพื่อเพิ่มแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ข้อหารือในวงประชุมยังเป็นเรื่อง มาตรา 34 พรก.การประมง 2558 จำกัดพื้นที่จับปลาเรือเล็กให้ออกไปจับสัตว์นำ้ไม่เกิน 3 ไมล์ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำอาชีพประมง เนื่องจากจับสัตว์น้ำได้น้อย ซึ่งทางชมรมประมงพื้นจะรวมตัวเรียกร้องข้อเสนอต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทำเรื่องยื่นหนังสือให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดอีกครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 37 คน จากที่ตั้งไว้ 34 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน ตัวแทน อสม. ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ ตัวแทนกองทุนหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มกู้ชีพทางทะเล กลุ่มเด็กและเยาวชน ตัวแทนครูโรงเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ กลุ่มประมงพื้นบ้านเกาะลิบง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานเเละผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ครั้งที่ 117 ตุลาคม 2558
17
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนการดำเนินงาน และระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานเเละผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ครั้งที่ 1 เริมตั้งแต่ติดต่อประสานงานตัวแทนชุมชนเพื่อเข้าร่วมประชุม เมื่อตัวแทนทั้งหมดมาประชุมเป็นที่เรียบร้อยแล้วทางทีมงานได้แจ้งถึงรายละเอียดของโครงการอีกครั้งเพื่อปรับพื้นฐานความเข้าใจให้ตรงกันอย่างทั่วถึง และปรึกษาหารือร่วมกันวางแผนการดำเนินงานโครงการ รวมถึงกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการ และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงานของผู้นำชุมชนแต่ละคนเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการทำงานโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงานเพื่อดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
    กำหนดแผนงาน และสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อให้ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานจำนวน 25 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • จากสถานการณ์การโอนเงินงบประมาณของ สสส. ล่าช้า จึงทำให้โครงการประสบปัญหาในเรื่องของการจัดกิจกรรม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำกิจกรรมที่สามารถทำได้ไปก่อน โดยสำรองจ่ายเงินของกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำไปก่อน และเจ้าหน้าที่โครงการที่ทำในระหว่างที่ สสส.เจอปัญหา ได้ออกจากโครงการไปก่อน ไม่มีการส่งมอบงาน ทำให้การรายงานข้อมูลไม่สมบูรณ์
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ 2558 ครั้งที่ 129 กันยายน 2558
29
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน ด้านการบริหารจัดการโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการชุมชนน่าอยู่ 2558 ในวันที่ 29-30 กันยายน 2558 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง มีการบรรยายให้ความรู้เรื่องหลักการบรหารจัดการโครงการชุมชนน่าอยู่ การเข้าใช้เวบไซต์ใต้สร้างสุข การรายงานกิจกรรม การบริหารจัดการการเงินโครงการ โครงการที่มีลักษณะเสี่ยง และการลงปฏิทินกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เรียนรู้ เรื่อง

  1. วิธีการลงบัญชีรายการเงินสด การจัดทำเอกสารการเงินโครงการ ต้องถูกต้องตามหลัก สสส.
  2. การรายงานกิจกรรม ทุกครั้งที่ทำกิจกรรมเสร็จต้องรายงานผลและรายงานเงินที่ใช้ไป
  3. เรียนรู้วิธีการใช้งานโปรแกรม ได้ลงข้อมูลในเวบไซต์และลงปฏิทินโครงการเสร็จ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
  1. นายอิสมาแอนเบ็ญสอาด ผู้รับผิชอบโครงการ
  2. นางสาวรมิดาสารสิทธิ์ ประสานงาน
  3. นางสาวนันทิตาสงสุวรรณผู้ช่วยการเงิน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1.เนื่องจากเป็นการเปิดโครงการใหม่ อยากจะให้พี่เลี้ยงโครงการดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดในการทำงาน

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

1.สนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการ ให้แก่ชุมชน