task_alt

ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

ชุมชน ชุมชนบ้านพังสาย หมู่ที่ 7 ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

รหัสโครงการ 58-03836 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2164

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ฯ ร่วมกับ สสส. สจรส.มอ.

วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รายละเอียดการดำเนินโครงการ ร่วมกับ สจรส.
  • เพื่อเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนรายงานกิจกรรมรายงานการเงิน(บิลใบเสร็จ,ใบลงทะเบียน,การลงรายละเอียดรับ-จ่าย)
  • เพื่อการฝึกใช้คอมพิวเตอร์ การรายงานผ่านเวปไซด์์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน จำนวน 2 คน ได้ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการ การดำเนินโครงการ การวางแผน กิจกรรม การเขียนรายงานการเงิน รูปภาพประกอบ เอกสารการเงิน ที่เกี่ยวข้อง เช่น บิลใบเสร็จ ใบลงทะเบียนประกอบการรายงาน กิจกรรมแต่ละครั้ง

  • พี่เลี้ยงผู้ติดตาม ได้ความรู้ข้อมูลดังกล่าว และการเขียนรายงานผ่านเวปไซด์ที่สะดวกรวดเร็ว โปรแกรมสำเร็จรูปที่ทาง สจรส.จัดทำไว้ เพื่อทำให้ในการเขียนรายงานกิจกรรมแต่ละครัง รวดเร็วขึ้น และสามารถปรับแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา ก่อนส่งรายงานจริงให้ สสส.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมทำความเข้าใจรายละเอียดการดำเนินโครงการฯ ร่วมกับสจรส. สสส.และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

  • เพื่อทำความเข้าใจในหลักการ ระเบียบการดำเนินงาน ของ สสส. แหล่งทุนสนับสนุน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คอมพิวเตอร์ โนตบุ๊คเอกสารคู่มือที่ สสส.ส่งมาให้
  • เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้การบริหารจัดการโครงการฯ ดำเนินงานโดยทีม สจรส. พี่เลี้ยง

 

13 2

2. ประชุมคณะทำงานดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชนเดือนละคร้้งร่วมสรุปทบทวน
  • การป้องกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค และการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-เกิดสภาผู้นำชุมชน -เกิดแผนการดำเนินงานชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วาระการประชุม

1.การทำความเข้าใจที่มาที่ไปโครงการ

2.คณะทำงาน บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ

3.การรายงานกิจกรรม การเงินเอกสารที่เกี่ยวข้อง( รูปกิจกรรม2รุุป/กิจกรรม ,การเบิกธนาคารเดือนละครั้ง,เงินสดคงเหลือในมือไม่เกิน 5000 บาท,ค่าใช้จ่ายเกิด 1000 บาทแนนสำเนาบัตรประชาชน) เกิดแผนการดำเนินงาน ก.ย.-ต.ค.58

1.เวทีเปิดประชาสัมพันธ์โครงการฯ วันที่ 26 ตุลาคม 2558 ณ.สมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระ เวลา 09.30-15.00

2.การสรุปเคลียร์ค่าใช้จ่ายการจัดกิจกรรม ให้เสร็จเรียบร้อยในแต่ละครั้ง

3.การรายงานกิจกรรม สสส.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานและ การหาแกนนำ คนในชุมชน เครือข่ายประมงพื้นบ้านที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม ที่สามารถหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการได้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป้าหมายโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

วงคุยนั่งกินกาแฟขนม พูดคุยทำความเข้าใจ กิจกรรมรายละเอียดโครงการเพื่อได้วางแผนการทำกิจกรรมในแต่ละเดือนและการหาคนในชุมชน และเครือข่ายที่ทำกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์กัน เข้ามาทำงานหนนเสริมเพิ่ม่ขึ้น

 

35 20

3. ประชาสัมพันธ์เปิดโครงการ

วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจโครงการฯร่วมชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-เวทีทำความเข้าใจประชาสัมพันธ์เปิดโครงการในชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของคนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับรู้รายละเอียดของโครงการที่จะดำเนินการในชุมชน -คนในชุมชนและตัวแทนหน่วยงานไม่น้อยกว่า 80 คน ได้รับรู้การดำเนินโครงการและเข้ามามีส่่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่นของตน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เวทีเปิดโครงการฯเปรียบเสมือนการเช็คความพร้อม ความร่วมมือ การให้ความสำคัญกับการเข้ามามีส่วนร่วมการดำเนินงานร่วมกันซึ่งในเวทีประเด็นสำคัญที่ต้องการเสนอให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจกระบวนการขั้นตอนการเกิดโครงการ ฯได้รู้จักสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) อย่างละเอียด เกี่ยวกับตัวโครงการการทำกิจกรรมที่สามารถตอบโจทย์ของ สสส. และตรงกับปัญหาความต้องการของโครงการ ซึ่งในเวทีได้คุณเสณี จ่าวิสูตรเป็นบุคคลที่มีความรู้ในการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกับคนในชุมชน และหน่วยงานผู้เข้าร่วม ได้เป็นอย่างดีได้ทำความเข้าใจประเด็นหลักๆ เช่น การบริหารจัดการ การทำรายงานเอกสาร การเงิน บิลใบเสร็จ ที่ถูกต้อง การใช้จ่ายแต่ละกิจกรรมต้องดูในแต่ละหมวดค่าใช้จ่ายให้ละเอียดมีการรายงานอย่างสม่ำเสมอต้องถูกต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งการตรวจสอบเป็นสิ่งที่ดี ที่จะทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพประจวบกับในพื้นที่หน่วยงานในท้องถิ่นให้ความสำคัญ กับการเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน
  • นายอนุสร ตันโชติกุล นายอำเภอสทิงพระ ได้เข้ามาเป็นประธานเปิดโครงการฯ ด้วยความเป็นกันเอวงกับชุมชนและยินดีให้ความร่วมมือ สนับสนุนให้ชุมชนเกิดการจัดการทรัพยากรฯสิ่งแวดล้อมสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น โดยโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสาย ที่ได้งบสนับสนุนจาก สสส. นั้น จากความร่วมมือของสมาคมรักษ์ทะเลไทยที่ได้ทำงานหนุนเสริมศักยภาพประมงพื้นบ้านมาอย่างต่อเนื่อง การสร้างความเข้มแข็งการจัดการทรัพยากรขององค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย ซึ่งสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระ เป็นหนึ่งองค์กรชุมชนประมงที่ได้ทำงานหนุนเสริมกันมาตลอดได้ร่วมกันพัฒนาโครงการฯ ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.) มอ.หาดใหญ่ และผลสรุปเวทีกิจกรรม ที่เห็นปัญหาของชุมชนที่ชุมชนให้ความสำคัญชุมชนมีทีมงาน ชุมชนมีความตั้งใจ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญในการเข้ามาหนุนเสริมขับเคลื่อนงานร่วมกันให้ประสบผลสำเร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจรายละเอียด  สร้างการมีส่วนร่วมการเข้ามามีส่วนรวมดำเนินโครงการให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป้าหมายโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. คณะทำงานจัดเตรียมสถานที่ริมทะเล บ้านพังสาย ม.7 ต.กระดังงา อ.สทิงพระ (เต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้,อาหาร กาแฟ ผลไม้ ป้าย)
  2. ผู้เข้าร่วมจำนวน 140 คน คนในชุมชน เครือข่ายชาวประมง,อสม., เกษตรอำเภอสทิงพระ,ธนาคาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์,
  3. นายอนุสรตันโชติกุล นายอำเภอสทิงพระ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสาย
  4. นายชูศักดิ์บริสุทธิ์ประมงอำเภอสทิงพระ ร่วมพูดคุยเรื่องกฏหมายประมง และงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร เวทีเปิดโครงการกลุ่มชาวประมงในพื้นที่ และเครือข่ายตัวแทนหน่วยงาน ให้ความสำคัญเข้ามาร่วมเป็นจำนวนมาก ในการได้รับรู้ที่มาที่ไปของโครงการฯวัตถุประสงค์เป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินงานและงบประมาณเพื่อให้ทุกส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทะเล ชายฝั่งสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับคนในชุมชน และนักท่องเที่ยวผู้คนทั่วไป ตัวแทนหน่วยงานโดยเฉพาะในส่วนของนายอำเภอ และประมงอำเภอสทิงพระยินดีกับโครงการ และยินดีให้ความร่วมมือกันชุมชนเพื่อให้กิจกรรมเกิดประโยชน์กับชุมชนและส่วนรวมมากที่สุด

 

140 120

4. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อจัดทำป้ายสัญลักษณ์ ประกอบการจัดเวทีกิจกรรมแต่ละครั้ง-เพื่อรณรงค์คนให้ลดละเลิกบุหรี่ หันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่  เพื่อประกอบการจัดกิจกรรม โครงการ  เพื่อรณรงค์การลดละเลิกบุหรี่ กับคนในชุมชน 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงาน ออกแบบขนาดป้ายราคา และร้านทำป้าย(นายหม๊าด มรรคโช และนายวิรัตน์ เอียดประดิษฐ์ ผู้รับผิดชอบจัดทำ)

 

340 340

5. หักค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเปิดบัญชีธนาคาร รองรับเงินที่ได้รับการสนับสนุน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการได้หักเงินค่าเปิดบัญชีคืนเรียบร้อยแล้ว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนเงินค่าเปิดบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานเดินทางถอนเงินเพื่อคืนเงินค่าเปิดบัญชีคืนเรียบร้อยแล้ว

 

3 2

6. ประชุมคณะทำงานฯ

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 -15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คณะทำงาน แกนนำ ผู้นำชุมชน สรุปวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการฯ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-เกิดสภาผู้นำชุมชน -เกิดแผนการดำเนินงานชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม ที่ผ่านมากันยายน - พฤศจิกายน 2558 จำนวนผู้เข้าร่วม 22 คน ผลสำเร็จปัญหาอุปสรรค และร่วมวางแผนการทำกิจกรรม โครงการในช่วงธันวาคม 2558 (ประชุมคณะทำงาน,การประเมินผล - มกราคม 2559 การพูดคุยแลกเปลี่ยนการดำเนินงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่สามารถเกิดผลสำเร็จร่วมกันกับโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสาย โดยกลุ่มเป้าหมายร่วมดำเนินงานที่หลากหลาย ทั้งคนในชุมชน เครือข่ายประมงพื้นบ้านที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่นภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำสู่เกิดความร่วมมือกันทำงานที่ต่อเนื่อง หนุนเสริมช่วยเหลือกันที่ยั่งยืน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-การประชุมคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน จำนวน 22 คน เดือนละครั้ง ณ.สมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทยอำเภอสทิงพระ เวลา 09.00- 15.00เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคและวางแผนการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ และทีมงานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน ทำหน้าฝ่ายประสานงานผู้เข้าร่วมประกอบด้วย คณะทำงานหลัก, คณะกรรมการเครือข่ายสมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทยอำเภอสทิงพระแกนนำและแกนนำ คนในชุมชน จำนวน 22 คน . ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุม กำหนดประเด็น,ประชุม,ฝ่ายบันทึกสรุปเป็นเอกสาร พร้อมรายงานลงเวปไซด์โดยพี่เลี้ยงในเบื้องต้น

 

35 22

7. การจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม,การเงิน

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายการเงินได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน และจัดทำเอกสารบิลใบเสร็จค่าใช้้จ่ายกิจกรรมต่างๆ ตามถูกต้องตามหมวดกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานจำนวน 2 คนเกิดความรู้ และสามารถทำรายงานกิจกรรม รายงานการเงินการเสียภาษีได้ถูกต้องตามระเบียบ สสส. และคณะทำงานต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ในการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จการดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์เป้าหมายโครงการกิจกรรมโครงการ และกิจกรรมต่อยอดที่สามารถเชื่อมสู่การอยู่ดีกินดี มีสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ, ฝ่ายการเงิน และคณะทำงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการทำรายงานกิจกรรม รายงานการเงินเอกสารบิลใบเสร็จที่เกี่ยวข้องและการเสียภาษีตามหมวดกิจกรรมได้ถูกต้อง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ผู้เข้าร่วม (ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่่ายการเงิน จัดเตรียมรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องการฝึกอบรม
    เช่น สมุดบันทึกรับจ่าย สมุดธนาคาร สัญญาโครงการ บิลใบเสร็จ

  2. เข้าสู่กระบวนการอบรม โดยทีมพี่เลี้ยง และทีมสจรส.

  3. แลกเปลี่ยนซักถามข้อสงสัย

  4. นำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติได้ถูกต้อง

 

2 2

8. พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน,แกนนำเรียนรู้กฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คณะทำงาน,แกนนำ สภาผู้นำชุมชน  ได้เรียนรู้กฏหมายประมงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง  เพื่อเกิดความรู้ความเข้าใจ เพื่อได้ขยายความรู้ให้กับชาวประมงในชุมชนต่อ และได้มีส่วนร่วมกับการเสนอแนะตัวกฏหมายให้สอดคล้องกับวิถีอาชีพของประมงพื้นบ้าน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผู้นำแกนนำไม่ต่ำกว่า 90 เปอเซนต์มีความรู้ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ในสภาชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กฏหมายประมง ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2490 เป็นกฏหมายที่ล้าหลัง ไม่สามารถบังคับใช้กฏหมายกับผู้กระทำความผิดด้านการทำประมงผิดกฏหมายได้จริงทำให้เกิดปัญหาการทำประมงทำลายล้างสัตว์น้ำวัยอ่อน ของกลุ่มประมงพานิชที่ขาดซึ่งจิตสำนึกความรับผิดชอบ การใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนร่วมกันเมื่อเข้ายุคของรัฐบาล คสช.จากปัญหาการทำประมงทำลายล้าง การใช้แรงงานเถื่อน ทำให้ประมงเทศไทย ได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรป (EU) ว่าทำประมงที่ทำลายล้างขาดความรับผิดชอบ ขาดการรายงาน ซึ่งหากรัฐบาลไม่แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สินค้าสัตว์น้ำประเทศไทย ไม่สามารถส่งออกไปในประเทศยุโรปได้เป็นผลให้รัฐบาล คสช.ได้มีการยกร่างพระราชกำหนดกฏหมายประมง 2558 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่รายละเอียด ในแต่ละมาตรา ของตัวกฏหมาย ยังขัดกับวิถีอาชีพประมงพื้นบ้านอยู่หลายๆ มาตราเช่นการให้ประมงพื้นบ้าน ประมงชายฝั่ง ออกทำประมงห่างจากฝั่งในระยะไม่เกิน 3 ไมล์ หรือ 5.4 กิโลเมตรซึ่งที่ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านออกทำประมงห่างจากฝั่งประมาณ ตั้งแต่ 3 ไมล์ ถึง 20 ไมล์ตามแหล่งช่วงฤดูกาลของสัตว์น้ำแต่ละชนิดซึ่งถ้าหากกฏหมายให้ประมงพื้นบ้านทำประมงไม่เกิน 3 ไมล์ ชาวประมงไม่สามารถอยู่ได้ไม่สอดคล้องกับวิถีอาชีพความเป็นจริง ซึ่งประมงพื้นบ้านก็ต้องมีข้อเสนอแนะปรับปรุงเพิ่มเติมตัวกฏหมายให้สอดคล้องกับการทำประมงของแต่ละพื้นที่นั้นๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กฏหมายประมงร่วมกับหน่วยงาน และเครือข่ายประมงพื้นบ้าน เพื่อได้ร่วมกันเสนอกฏหมายประมงให้สอดคล้องกับภูมินิเวศทรัพยากร การใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ฟื้นฟู

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน แกนนำ เข้าร่วมเรียนรู้ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ วิถีของประมงพื้นบ้าน ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช และเครือข่ายจังหวัดต่างๆที่เกี่ยวข้อง
  • นำประเด็น พรก.ประมง 2558 ที่มีเนื้อหาสาระในบางมาตราที่ส่งผลกระทบต่อประมงพื้นบ้าน จึงอยากให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจ เนื้อหากฏหมายให้เข้าใจถูกต้อง แล้วมีการเผยแพร่บอกข้อมูลให้กับชาวประมง และติดตามสถานกาณ์ต่อเนื่อง โดยมีเครือข่ายที่จะสนับสนุนด้านข้อมูลให้กับประมงพื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง เช่น สมาคมรักษ์ทะเลไทย,สมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย

 

35 32

9. พัฒนาศักยภาพแกนนำ

วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

พัฒนาศักยภาพแกนนำ.คณะทำงาน และเครือข่าย ในการได้เรียนรู้ข้อมูลสิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-พัฒนากลไกชุมชน กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มประมงอาสาเครือข่ายวิทยุเฝ้าระวังฯ ที่จะขับเคลื่อนการเฝ้าระวัง ร่วมกับหน่วยงาน การใช้ประโยชน์ทรัพยากรในท้องถิ่น ภายใต้กฏกติกาที่วางไว้ร่วมกันเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรที่ชุมชนพึ่งพิง

-เกิดการปรับปรุงพัฒนากลไกชุมชน ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนในพื้นที่ดำเนินโครงการ และ เครือข่ายแกนนำพื้นที่เกี่ยวข้อง ได้มีวงคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากแกนนำที่มีความรู้ประสบการณ์ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดการทรัพยากรกฏหมายที่เกี่ยวข้องกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมชนสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนได้เช่นเรื่องกฏหมายประมงที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้านโดยตรง การพูดคุยแลกเปลี่ยนในแต่ละประเด็นที่สำคัญๆ เช่น เรื่องของงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ในทะเลหน้าบ้าน เป็นสิ่งที่ชาวประมงทุกคนต้องเห็นเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันเพื่ออาชีพ รายได้ชาวประมงที่ดีขึ้นย่อมส่งผลเชื่อมโยงให้ชาวประมงมีความสุข มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ท่ามกลางอาชีพ รายได้ และสิ่งแวดล้อมที่ดี
  • จากการพูดคุยวงประชุมได้มีข้อสรุปมติร่วมกัน ที่จะร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ จากกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำเขตอนุรักษ์ การปล่อยพันธุสัตว์น้ำ การทำซั้งกอเป็นต้นโดยกำหนดจัดประชุมร่วมกันในวันที่ 18 มกราคม 2559 เพื่อทำความเข้าใจ วางแผนการจัดการทรัพยากร ร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การพัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อเกิดความรู้ความเข้าใจการดำเนินงาน ในรูปแบบของคณะทำงาน และสภาผู้นำชุมชน เพื่อได้สามารถพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อปฏิบัติงาน กิจกรรม การดำเนินงานโครงการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และระยะเวลาที่วางไว้

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วม
  2. สถานที่ประชุม, วัสดุอุปกรณ์,อาหาร,น้ำ
  3. กำหนดวาระการประชุม
  4. พูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นกลุ่มวงกลม เริ่มจากแกนนำหลักผู้เข้าร่วมเสนอแสดงความคิดเห็น
  5. สรุปประเด็น วางแผนการดำเนินงานในข้างหน้า

 

35 32

10. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทบทวนวางแผนการดำเนินงานโครงการ ได้อย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-เกิดสภาผู้นำชุมชน -เกิดแผนการดำเนินงานชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปทบทวน การทำกิจกรรมและการจัดทำเอกสาร รายงานงวดที่ 1ใบเสร็จรับเงิน ,ใบลงทะเบียน การลงหมวดค่าใช้จ่ายได้ถูกต้อง กับงบกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การประชุมพบปะกันของคณะทำงาน และผู้นำ แกนนำในชุมชน เพื่อได้มาร่วมกันสรุปทบทวน วางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

การประชุมพบปะกันของคณะทำงาน และผู้นำ แกนนำในชุมชน เพื่อได้มาร่วมกันสรุปทบทวน วางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน

 

35 33

11. ค่าเดินทางในการไปชำระภาษีสรรพากร

วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชำระภาษีการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในการดำเนินโครงการต้องไปเสียภาษีต่อสรรภากร ร้อยละ 1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ไปชำระภาษี ที่สรรพากร อ.สทิงพระ

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ไปชำระภาษี ที่สรรพากร อ.สทิงพระ

 

1 1

12. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 14 มกราคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับรู้การดำเนินงาน กิจกรรมโครงการที่ผ่านมา และร่วมกันป้องกันแก้ไข  วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-สภาผู้นำชุมชนเกิดการแลกเปลี่้ยนความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการ -มีข้อมูลสรุปผลการดำเนินงาน 1 ชุด -มีทิศทางแผนการดำเนินงานผ่านสภาผู้นำ เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ในการดำเนินงานที่ ผ่านมา กิจกรรมต่างบรรลุตามเป้าหมายในส่วนของคณะทำงาน ,แกนนำ,ผู้นำในชุมชน และเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานดีมากแต่เป้าหมายหลักๆ คือทำอย่างไร ให้ผลการดำเนินโครงการ เกิดรูปธรรม ชัดเจน ทั้งในส่วนของกลุ่มคน เครือข่าย หน่วยงาน และชุมชน ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนงานต่อเนื่อง ถึงตัวโครงการ ระยะเวลา งบประมาณ นี้จะหมดไปในที่ประชุม นายเจริญ ทองมา นายกสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระได้เสนอแนะว่าเราควรมีเวทีประชุมร่วมกันของเครือข่ายประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ เพื่อได้ร่วมกันทำความเข้าใจเกี่ยวการดำเนินงานและ ปัญหาสถานการณ์ทรัพยาการสัตว์น้ำในทะเลหน้าบ้าน ที่ขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤติตนจึงมีแนวคิดในวงประชุมนี้ว่า ควรจะต้องทำอะไรที่จะส่งผลให้สัตว์น้ำเพิ่มขึ้น เราต้องดูพื้นที่อื่นๆ เขาที่มีการปิดอ่าวปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำทำซั้งกอบ้านปลา หรือประการังเทียม ห้ามทำประมง เพื่อให้สัตว์น้ำวัยอ่อน ได้เติบโตขยายเพิ่มปริมาณ เพราะหลายพื้นที่ก็ทำแบบนี้กัน แล้วเกิดประโยชน์กับประมงพื้นบ้านมาแล้ว
  • ประเด็นที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประมงพื้นบ้าน คือ พรก.ประมง 2558 ที่เกิดผลกระทบโดยตรงกับประมงพื้นบ้าน เพราะพรก.นี้กำหนดขึ้นจากรัฐบาล คสช. กลุ่มประมงพานิชข้าราชการนักการเมือแต่ประมงพื้นบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมกับการให้ข้อมูลเนื้อหาสาระประกอบ พรก.นี้เลยดังนั้น พรก.ประมง 2558 นี้ มีหลายๆ มาตราที่่ส่งผลกระทบกับประมงพื้นบ้านมากๆเช่น การจดทะเบียนทำการประมง รายละ 10,000 บาท , การเสียค่าธรรมเนียมเครื่องมือประมงแต่ละชนิด หรือ การห้ามประมงพื้้นบ้านออกทำประมงเกิน 3 ไมล์ทะเล จากฝั่งเหล่านี้เป็นต้นดูๆแล้วพรก.ประมง 2558 นี้กระทบกับประมงพื้นบ้าน มากกว่า กฏหมายประมง 2490 เพระพรก.ประมง 2558 นี้ประมงพื้นบ้านไม่มีส่วนร่วมกับการร่างระดมข้อมูลพรก.นี้เลย
  • โครงการที่พืนที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเวทีประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะทำงาน ,แกนนำ ร่วมสรุปประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  • มีข้อมูลผลการประเมิน เพื่อได้ร่วมกันป้องกัน วางแผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขี้น

กิจกรรมที่ทำจริง

นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ ประสานทีมงาน และแกนนำเครือข่ายชาวประมง เข้าร่วมประชุมประจำเดือน เพื่อได้สรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมา และ การประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การวางแผนทำกิจกรรมในข้างหน้าให้มีประสิทธิภาพร่วมกัน

 

30 32

13. การเก็ขข้อมูลชุมชน ข้อมูลทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 14 มกราคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อได้ข้อมูลชุมชน ข้อมูลทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงาน และการเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-ได้ข้อมูลทรัพยากรสัตว์น้,ข้อมูลการทำประมง และฐานข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้อง -ได้แผนการดำเนินงานโครงการ จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลชุมชน
-ทีมงานและผู้มีส่วนร่วมดำเนินงานโครงการที่ชัดเจน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วงคุยประเด็นการเก็บข้อมูล การขึ้นกระดาษคลืปชาตตั้งหัวข้อประเด็น เช่น

  1. ชนิด พันธุ์สัตว์น้ำ
  2. ฤดูกาลช่วงจับสัตว์น้ำ ฤดูกาลสัตว์น้ำชุกชมแต่ละชนิด
  3. เครืองมือจับสัตว์น้ำแต่ละชนิด
  4. ปฏิทินการจับสัตว์น้ำ
  5. สถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในอดีต และปัจจุบัน
  6. ข้อมูลชุมชน ทั่วไป เช่น ประชาการอาชีพรายได้

ผู้เข้าร่วมวงคุยเก็บข้อมูล ร่วมระดมความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับประเด็นการเก็บช้อมูลเบื้องต้นการเชื่อมโยงให้เห็นถึงทรัพยาการสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม กับคุณภาพชีวิตประมงพื้นบ้านความสุขที่ทรัพยากรสัตว์น้ำสมบูรณ์ กับ ความทุกข์ที่ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ทรัพยากรทางทะเลถูกทำลาย

เพื่อสรุปข้อมูลจัดทำเป็นรูปเล่มข้อมูลชุมชน ข้อมูลทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ประกอบการรายงาน และเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการฃ -การแบ่งหน้าที่ ประเด็นข้อมูลที่จัดเก็บ -การเก็บข้อมูลโดยการสอบถาม วงคุย หรือแบบสอบถาม

กิจกรรมที่ทำจริง

การพูดคุยหัวข้อประเด็นวัตถุประสงค์ เรื่องการเก็บข้อมูลชุมชน ข้อมูลทรัพยากร เช่น อาชีพ รายได้  สถานการณ์ปัญหาทรัพยากรสัตว์น้ำ  ปริมาณ  ราคา เปรียบเทียบในอดีตกับปัจจุบัน 

 

80 96

14. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 14 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สรุปกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จ ผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และวางแผนการทำกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-เกิดสภาผู้นำชุมชน -เกิดแผนการดำเนินงานชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านงบกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการใช้จ่าย ของ สสส.
การวางแผนดำเนินงาน ได้สอดคล้องกับระยะเวลา สิ้นสุดงวด และสิ้นสุดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมประจำเดือน ได้วางแผน ป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นระหว่างดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดประชุมประจำเดือน ได้วางแผน ป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นระหว่างดำเนินงาน

 

35 25

15. เวทีแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจ ความคืบหน้าการดำเนินโครงการ การวางแผนงาน ร่วมกับเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนการจัดการทรัพยากร การใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์ฟื้นฟู และ กฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-ทีมงานหลัก 11 คนและหน่วยงานในท้องถิ่นชุมชนได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน -คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการดำเนินงานด้วยความเต็มใจ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประเด็นการวางแผนการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.สทิงพระในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ คือการทำเขตอนุรักษ์ ,การปิดอ่าว, การทำซั้งกอ แต่ทั้งนี้ต้องเข้าเวทีประชุมใหญ่ร่วมกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ คือ ระโนด ,สทิงพระ และสิงหนคร ในช่วงเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ หรือให้ผ่านหน้ามรสุมไปก่อน
  • ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้านโดยตรง คือ พรก.ประมง 2558โดยเฉพาะ ม.34 ที่ให้ประมงพื้นบ้านหากินจากฝั่งออกไป ไม่เกิน 3 ไมล์ทะเล หรือ 5.4 กิโลเมตรซึ่งมันขัดกับหลักความเป็นจริงที่ประมงพื้นบ้านทำมาหากินกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ กล่าวคือ ประมงพื้นบ้านสามารถออกจับปลาห่างจากฝั่ง ได้ถึง 20-30 ไมล์ทะเล ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพคลื่นลม และช่วงฤดูกาลของสัตว์น้ำ และที่ผ่านมาพื้นที่3 ไมล์ทะเลจากฝั่ง เป็นพื้นที่อนุรักษ์ฟื้นฟูของประมงพื้นบ้าน คือทำซั้งกอบ้าง ประการังเทียมบ้าง เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้างการห้ามจับสัตว์น้ำนวัยอ่อน การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำบ้างเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ ปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น นั่นเอง
  • ดังนั้น พรก.ประมง 2558จึงไม่สอดคล้องกับวิถีอาชีพ ประมงพื้นบ้าน การขับเคลื่อนการยกเลิกโดยเฉพาะ มาตรา 34จึงเป็นหน้าที่ของประมงพื้นบ้านโดยตรงโดยเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันยื่นหนังสือให้ยกเลิก ม.34 พรก.ประมง 2558ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานโครงการ  การวางแผน ร่วมกับเครือข่ายประมงพืนบ้าน จ.สงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมสิทธิประมงพื้นบ้าน ในการจัดการทรัพยากร  ข้อเสนอแนะต่อ  พรก.ประมง 2558  ได้สอดคล้องกับอาชีพ การใช้ประมงโยชน์ประมงพื้นบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

-ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน แกนนำเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.สิงหนคร และอ.จะนะ ร่วมเวทีทำความเข้าใจในพื้นที่เก่ียวกับพรก.ประมง 2558 มาตรา 34 ที่ส่งผลกับประมงพื้นบ้านโดยตรง เพราะห้ามไม่ให้ประมงพื้นบ้าน ออกทำมาหากินจากฝั่งไปเกิน 3ไมล์ทะเล หรือ 5.4 กิโลเมตร ดังนั้นทางเครือข่ายประมงพื้นบ้านจะร่วมกันยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้ยกเลิก มาตรา 34 ของพรก.ประมง 2558 ร่วมกันที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประมงพื้นบ้าน ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ได้มาประท้วงหรือสร้างความเสียหายต่างๆ ใดๆ ทั้งสิ้นแต่ทั้งนี้เมือพรก.ประมงฯดังกล่าว เกิดผลกระทบต่อการประกอบอาชีพทำการประมงของชุมชนประมงพื้นบ้านโดยตรง ทุกคนเห็นร่วมกันว่าเป็นปัญหาแน่ๆ ถ้าเป็นอย่างนี้จึงต้องร่วมกันยื่นหนังสือดังกล่าว

 

85 64

16. ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำซั้งกอ

วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการทรัพยากร กรณีซั้งกอ และสามารถนำความรู้มาจัดการทรัพยากรได้สอดคล้องกับพื้นที่ของตน 2เพื่อการได้พบปะพี่น้องเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา มีความสุข ที่ได้ร่วมกินขนม กาแฟ ร่วมการถามการใ่ส่ใจ กับเพื่อนพ้อง ที่ส่วนใหญ่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน อ.สทิงพระ กับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเรียนรู้ปัญหาสถานการณ์ทะเลไทย และแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดความสมบูรณ์

-ได้ข้อมูลปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรฯ และประสบการณ์ทำซั้งกอ,ธนาคารปูม้าร่วมกับเครือข่ายจำนวน 1 ชุด -ความรู้วิธีการทำธนาคารปูม้า

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • นางจินดา จิตตะนัง เจ้าหน้าที่สมาคมรักษ์ทะเลไทย พื้นที่อำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช กล่าวต้อนรับคณะดูงาน อย่างเป็นกันเอง ยินดีกับพี่น้องทุกคนที่มาเยี่ยมเยียนที่นี่ ก็จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการทรัพยากร และการจัดตั้งกลุ่มองค์กรชุมชน อย่างเป็นกันเองกับพี่น้อง ที่จะได้ซักถามแลกเปลี่ยนการบริหารจัดการของพื้นที่ประมงพื้นบ้านจ.สงขลา เช่นกันด้วย โดยวันที่ทางประมงพื้นบ้านอำเภอท่่าศาลา ในนามของสมาคมประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จะมีแกนนำ(วิทยากร) ที่จะมาชวนคุยกับพืีน้องประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา คือ นายเจริญ โต๊ะสอ นายกสมาคมฯท่าศาลา และทีมงาน
  • กลุ่มประมงพื้นบ้านทะเลนอก นำโดยนายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ และทีม จำนวน 8 คน เกิดความรู้ประสบการณ์การจัดการทรัพยากรของประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา สถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำอดีต และปัจจุบันภาคีองค์กรทำงานร่วมกับชุมชน ปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา กลุ่มองค์กรทุน ข้อมูล กระบวนการจัดการที่สามารถนำไปจัดการทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม กับกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูที่ชุมชนได้ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ซั้งกอ
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นกฏหมายประมง พรก.ประมง 2558เพิ่มเติมซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้ส่วนเสียกับประมงพื้นบ้านโดยตรง เพื่อที่จะร่วมกันขับเคลื่อนตัวกฏหมายให้สอดคล้องกับอาชีพวิถี ประมงพื้นบ้าน
  • ได้ข้อมูลองค์ความรู้การจัดการทรัพยากรฯกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เช่น การทำเขตอนุรักษ์,การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ, การเฝ้าระวังฯ, การทำธนาคารปูม้า, และการทำซั้งกอ เป็นต้น ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับการจัดการพื้นที่ได้เหมาะสม
  • เกิดการเชื่อมร้อยเครือข่ายของกลุ่มประมงพื้นบ้าน ในเครือข่ายจังหวัดภาคใต้ที่เหนียวแน่น และต่อเนื่องส่ิงหนึ่งที่ทำให้ประมงพื้นบ้านมีความสุขที่ได้พบกับเครือข่าย ที่ส่วนใหญ่ก็ได้ร่วมเวทีกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูฯ กันมาบ้างมีความสุขที่ได้เห็นเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา อยู่ท่ามกลางความสมบูรณ์ของสัตว์ีน้ำ อาชีพ รายได้ของชาวประมงดี มีความสุขที่อยากทำให้ทะเลชุมชนของประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา สัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอ่าวสทิงพระ ต.กระดังงา ต.บ่อแดง เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟู กรณีซั้งกอ และการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน(ร้านคนจับปลา) ของประมงพื้นบ้านพังสาย กับ ประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่ทำจริง

พบปะพูดคุยกันระหว่างประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา กับประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช  พร้อมดูการต่อเรือของกลุ่มประมงพื้นบ้านฯ ท่าศาลา  แกนนำ  ,วิทยากรชาวบ้าน, เจ้าหน้าที่สมาคมรักษ์ทะเลไทย  ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ประสบการณ์ การจัดการปัญหาทรัพยากรทะเล ถูกทำลาย  พร้อมให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นร่วมกัน  มีฝ่ายสรุปบันทึกประสบการณ์ องค์ความรู้ พร้อมภาพถ่ายขณะดำเนินกิจกรรม 

 

20 23

17. ค่าเดินทางไปชำระภาษีสรรพากร

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชำระภาษีสรรพากร กิจกรรมที่ดำเนินงานตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 เป็นต้นมา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชำระภาษีสรรพากรประจำเดือนมกราคม 59 ไปแล้วจำนวน 2 ครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การเสียภาษีโครงการ ครั้งที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการไปเสียภาษีที่สรรพากร อ.สทิงพระ

 

1 1

18. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปติดตาม หนุนเสริมวางแผนการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-เกิดสภาผู้นำชุมชน -เกิดแผนการดำเนินงานชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้นัดพบคณะทำงาน และแกนนำในชุมชน ได้มาพูดคุยถึงการทำงานโครงการ เดือนละครั้ง เพื่อให้ทุกคนได้เข้ามาพูดคุยปรึกษาหารือกัน ถึงการทำกิจกรรม ที่ผ่านมา ที่จะได้ร่วมกันคิดหาวิธีการ ทำกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด สามารถมีกิจกรรมต่อยอดได้หากโครงการหมดระยะเวลาไปการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าควรช่วยกัันเป็นอันดับแรก เพราะเกี่ยวกับวิถีความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเกือบทุกคน เพราะถ้าหากสัตว์น้ำกลับมาสมบูรณ์ คนในชุมชนก็มีอาชีพ รายได้ ก็มีความสุข เป็นงานของส่วนรวม ไม่ไช่งานคนใดคนหนึ่ง ส่วนประเด็น เวทีการติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานงวดที่ 1 วันที่ 16 ก.พ.59เป็นกิจกรรมที่สำคัญเช่นกัน เพราะเมื่อเราได้โครงการมาดำเนินงาน ก็ต้องมีการรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ต่อแหล่งทุน คือ สสส. เราต้องทำให้ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้เพื่อไม่ให้ชุมชนของเราเสียชื่อ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ประุชุมคณะทำงาน เดือนละครั้ง ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ  แกนนำ เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานผ่านไปประเด็นสำคัญของการทำเอกสารรายงานกิจกรรมการเงินให้ถูกต้อง เพื่อจัดส่ง สสส.เพื่อปิดงวดที่ 1มีการสรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานแล้ว เป็นที่พึงพอใจ และกิจกรรมที่ทำแล้วแต่ชุมชนไม่ตระหนักเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ

 

35 30

19. ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการงวดที่ 1

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการได้รับการสนับสนุนปี 2558 งวดที่ 1 ด้านการจัดทำเอกสาร รายงานกิจกรรมรายงานการเงิน ให้แล้วเสร็จให้ถูกต้องก่อนร่วมกับทีมสจรส.ตรวจสอบ เพื่อส่ง สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทีมงานจำนวน 3 คนได้เรียนรู้พื้นฐาน การจัดทำเอกสาร การรายงานกิจกรรมรายงานการเงินเอกสารการใช้จ่ายตามกฏระเบียบ สสส.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมติดตามผลการรายงานดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อปิดงวดที่ 1 ก่อนจัดส่งเอกสารให้กับสสส.

กิจกรรมที่ทำจริง

-นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายการเงินรวบรวมเอกสารการเงิน หมวดค่าใช้จ่ายกิจกรรม งวดที่ 1 ก.ย.58 -ก.พ. 59 จัดเรียงลำดับการทำกิจกรรมให้เป็นชุด เช็คความถูกต้องการใช้จ่าย บิลใบเสร็จ ใบลงทะเบียนการรายงานผ่านเวปไซด์ ให้ถูกต้อง ก่อนเข้าร่วมประชุมดูเอกสารร่วมกับทีม สจรส.มอ. เพื่อส่ง สสส.

 

2 2

20. รายงานกิจกรรม การเงิน ปิดงวดที่ 1

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ปิดงวดที่ 1 โครงการได้รับการสนับสนุนปี 2558

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน,ฝ่ายหนุนเสริมกิจกรรม จำนวน 3 คน ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงินที่ถูกต้องตามระเบียบของ สสส.  ได้รับทราบปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากความไม่เข้าใจในเบื้องต้น เพื่อที่จะเกิดความรู้ทักษะการทำเอกสารดังกล่าวในงวดต่อๆไป ได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ปิดงวดที่ 1 โครงการได้รับการสนับสนุนปี 2558

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้าร่วมกับทีมพี่เลี้ยง และทีมสจรส.มอ. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น บิลใบเสร็จ ค่าใช้จ่าย หมวดกิจกรรม การเสียภาษีสรรพากร การรายงานกิจกรรมส่ง สสส. ปิดงวดที่ 1 โครงการได้รับการสนับสนุนปี 2558 เพื่อทำการเบิกจ่ายงบงวดที่ 2 ต่อไป

 

3 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 38 20                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 195,125.00 77,475.00                  
คุณภาพกิจกรรม 80 60                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ในเบื้องต้น การจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ในงวดที่ 1คณะทำงานยังไม่สามารถทำได้ถูกต้องตามระเบียบของ สสส.เพราะเป็นพื้นที่ใหม่ที่ยังไม่เคยได้เคยทำโครงการ มาก่อน

ยังไม่มีความรู้เรื่องระเบียบการจัดทำเอกสาร ที่ถูกต้อง

เรียนรู้การจัดทำเอกสารรายงาานกิจกรรม รายงานการเงิน ร่วมกับพี่เลี้ยงผู้ติดตาม และทีมสจรส.มอ.

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการงวดที่ 1 ( 16 ก.พ. 2559 )
  2. รายงานกิจกรรม การเงิน ปิดงวดที่ 1 ( 20 ก.พ. 2559 - 21 ก.พ. 2559 )
  3. จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงินปิดงวด ( 22 ก.พ. 2559 )
  4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่6 ( 14 มี.ค. 2559 )
  5. ประชมคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน ( 11 เม.ย. 2559 )
  6. ประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน ( 27 พ.ค. 2559 )
  7. เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ( 31 พ.ค. 2559 )
  8. เพื่อได้วางแผนการวางซั้งกอร่วมกันของชุมชน ( 9 มิ.ย. 2559 )
  9. ประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน ( 14 มิ.ย. 2559 )
  10. ประชุมคณะทำงานครั้งที่9 ( 14 ก.ค. 2559 )
  11. เพื่อรณรงค์คนในชุมชน กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องส่วนร่วมการอนุรักษ์ฟื้นฟุสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ( 17 ก.ค. 2559 )
  12. การให้ข้อมูลการจัดการทรัพยากร สร้างความตระหนักการเข้ามาจัดการร่วมกันของชุมชน ( 22 ก.ค. 2559 )
  13. วางซั้งกอในทะเลอ่าวไทย ( 28 ก.ค. 2559 )
  14. จัดทำข้อมูลชุมชน การจัดการทรัพยากร เผยแพร่ชุมชน สาธารณะชนฯ ( 1 ส.ค. 2559 )
  15. เพื่อพัฒนาศักยภาพประมงพื้นบ้านคนในชุมชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และสิ่่งแวดล้่อม ( 13 ส.ค. 2559 )
  16. เพื่อประสภาผู้นำชุมชนประจำเดือนสิงหาคม 2559 ( 14 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย หม๊าด มรรคโช
ผู้รับผิดชอบโครงการ