แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อชุมชนปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1. มีครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของชุมชน 2. เกิดต้นแบบ 20 ครัวเรือนในการทำเกษตรอินทรีย์ ที่ทำปุ๋ยอินทรีย์ และสารสกัดธรรมชาติไล่แมลงทดแทนได้เอง ไม่ใช้เคมี 100 % เก็ลูลบเมล็ดพันธุ์ใช้เอง และปลูกผักกินเอง 3. แปลงเรียนรู้สร้างครัวอาหารข้างบ้าน จำนวน 30 แปลง 4. สื่อรณรงค์ร่วมสร้างชุมชนเกษตรสีเขียว 5. การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตและผู้บริโภคเพื่อเพิ่มรายได้

 

 

  1. มีครัวเรือนปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ20 ของชุมชน
  2. มีอาสาสมัคร 20 ครัวเรือนอยู่ในระว่างการเพิ่มเติมผลผลิตในแปลงสมบูรณ์ ที่จะเป็นต้นแบบได้
  3. แปลงเรียนรู้ผักข้าวบ้านมีอาสามัคร ทำ 30 คน อยู่ในระหว่างการดำเนินการ
2 เพื่อสร้างให้คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการทำเกษตรอินทรีย์ พึ่งพาตนเองได้
ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนเข้าใจและเข้าร่วมโครงการร้อยละ 50 เป็นตัวแทนคนสามวัยเรียนรู้ร่วมกัน 2. มีคณะทำงานข้อมูล 30 คน ประกอบด้วย คนสามวัย 2. มีข้อมูลรู้การทำเกษตรเคมีและพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกเปรียบเทียบการทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งตนเอง 1 ชุด 3. มีข้มูลการตรวจสารเคมีปนเปื้อนในเลือดและข้อมูลพฤติกรรมทำมีสารเคมีปนเปื้อนในเลือด 4. คนตระหนักถึงของปัญหาและแผนปฏิบัติการลดหนี้ สร้างระบบเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ 1 ชุด

 

 

  1. คนในชุมชนเข้าใจและเข้าร่วมโครงการร้อยละ 50 เป็นตัวแทนของคน 3 วัย แต่มีคนคนรุ่นใหม่/เยาวชนน้อย
  2. มีคณะทำงานข้อมูล30 คน ประกอบด้วยคนสามวัย ยังมีตัวแทนของเยาวชนน้อย
  3. มีข้อมูลการตวรจสารเคมีปนเปื้อนในเลือด
3 เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดสภาผู้นำ1 คณะและมีคณะทำงาน 30 คน 2. เกิดคณะทำงานที่สามารถบริหารจัดการโครงการและร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เกิดข้อตกลงของชุมชน 4.เกิดการประชุมอย่างต่อเนื่อง 5.เกิดการบันทึกการประชุมทุกครั้ง 6.มีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อยร้อยละ 80

 

 

1.เกิดสภาผู้นำ1 คณะมีคณะทำงาน 30 คน คณะทำงานมาประชุมร้อยละ 60
2. คณะทำงานบริหารจัดการร่วมกันได้ เนื่องจากความใหม่ของการบริหารโครงการทำให้การขับเคลื่อนงานในระยะแรกมีการปรับ และมีคณะทำงานบางส่วนไม่ได้เข้าร่วมประชุม ไม่เข้าใจ สรุปและแก้ปัญหาสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมมีการพัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
3.มีการประชุมอย่างต่อเนื่อง มีการบันทึกกิจกรรมไว้ในสมุดบันทึกของหมู่บ้าน/คณะทำงาน แต่เรื่องของรายงานอินเตอร์เน็ต คนบันทีกไม่ถนัดมีการค้นหาคนใหม่ มีคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นคณะทำงานช่วยเสริมจุดอ่อน

4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส.สจรส.มอ.ทุกครั้ง
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายทอดภาพการดำเนินงานร้อยละ 80 บางครั้งทำกิจกรรมสนุกลืมถ่ายรูป มีการถ่ายภาพแล้วแต่ภาพเสียหายใช้ใส่ในรายงานไม่ได้
  4. มีการจัดทำรายงานงวดส่งตามที่กำหนด