แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง ”

ชุมชนบ้านวังทอง หมู่ที่ 8 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นาย อนันต์ นาคสังข์

ชื่อโครงการ บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง

ที่อยู่ ชุมชนบ้านวังทอง หมู่ที่ 8 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 58-03814 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2079

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนบ้านวังทอง หมู่ที่ 8 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านวังทอง หมู่ที่ 8 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร รหัสโครงการ 58-03814 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 157,750.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 300 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
  2. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
  3. เพื่อพัฒนาของเยาวชนและประชาชนในการเรียนรู้ความพอเพียง
  4. เพื่อพัฒนากลไกการบริหารจัดการขับเคลื่อนชุมชนคนรักบ้านวังทอง
  5. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครงการ 3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรื่องเกี่ยวกับเอกสารเงิน อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลลงในเวปไซด์ ผู้รับผิดชอบโครงการเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำรายงานของโครงการที่รับผิดชอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อ.พงศ์เทพได้พูดถึง การลงข้อมูลใน Web site

    1. ปรับตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
    2. ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด
    3. กิจกรรมที่ต้องลง ได้แก่ กิจกรรมปฐมนิเทศ การประชุมชี้แจงชุมชน ซึ่งควรมีกรรมการหมู่บ้านเข้าร่วมด้วย และต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานกับที่ประชุมและต้องแนบรายงานของคณะกรรมการหมู่บ้านชุมชน
    4. การลงกิจกรรมของพี่เลี้ยงการปิดงวดแรกและการสังเคราะห์กิจกรรมโครงการ รวมถึงการทำรายงาน
    5. การให้ สจรส.ช่วยตรวจสอบหลักฐานการเงิน
    6. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่วิทยากร พี่เลี้ยง และผู้รับทุนจากโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ทุกท่านทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โครงการจัดทำแบบป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ที่ทาง สสส.กำหนด ไปให้กับโรงพิมพ์ เพื่อพิมพ์ และโครงการนำไปใช้เมื่อจัดกิจกรรมตามที่โครงการกำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีป้าย จำนวน 1 ป้าย ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมเวทีประชุมต่าง ๆ ของโครงการที่จัดขึ้น ส่งผลให้ผู้ร่วมกิจกรรมกับโครงการเมื่อได้เห็นป้าย อย่างน้อยก็ได้อ่าน และเกิดความคิดว่า การสูบบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดี ส่งผลต่อสุขภาพ และเก็บไปคิด หากยังเลิกไม่ได้ในวันนี้ ก็สามารถที่จะบอกต่อลูกหลานได้ว่า ไม่ควรหัดสูบบุหรี่

     

    2 2

    3. ประชุมชี้แจงโครงการให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมกิจก่รรม
    ประสานงานพีเลี้ยงเปิดโครงการ จัดประชุมตามเป้าหมายที่กำหนดตามขั้นตอน โดยทางผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ทาง สสส.ให้การสนับสนุนโครงการ "บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง" และทางพี่เลี้ยงโครงการได้ร่วมชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎ กติกา และระเบียบต่าง ๆ ที่ทาง สจรส.มอ. และ สสส.กำหนดไว้ ซึ่งผู้รับสัญญาได้แก่ นายอนันต์นาคสังข์ เป็นผู้รับทุน ซึ่งทางผู้ใหญ่บ้านก็ได้รับทราบและรับรู้กระบวนการของโครงการทุกอย่างแล้ว และมีคณะทำงานของโครงการที่จัดตั่งเรียบร้อยแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมชี้แจงโครงการให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงที่มา วัตถุประสงค์ กิจกรรมดำเนินการ และการติดตามประเมินผลให้ประชาชนทราบ มีการ รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีการ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการและคณะทำงาน พี่เลี้ยงโครงการร่วมชี้แจงโครงการให้กับชุมชน ผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบทั่วกันเกี่ยวกับที่มาที่ไปของโครงการ ที่ทางคุณอนันต์ นาคสังข์ ได้รับทุนมาจาก สสส. และ สจรส.มอ.

     

    65 36

    4. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน ตุลาคม 2558

    วันที่ 12 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมชี้แจงโครงการให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงที่มา วัตถุประสงค์ กิจกรรมดำเนินการและการติดตามประเมินผลให้ประชาชนรับทราบ
    มีผู้รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน จำนวน 30 คน มีแต่งตั้งคณะทำงาน และกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ มีรายชื่อดังนี้ คือ 1) นายชำนาญดวงใส 2) นางชวนพิศจันทสิงห์ 3) นายเพิ่ม สังข์ทอง 4) นายสภา เครือหงษ์ 5)นางสุวรรณาพรหมเมศร์6)นางสมคิด ศรีโสภณ 7)นางจันทนาโกษเพชร 8)นางแต๋ว เพิ่มผล 9)นายอารัญ สืบเพชร 10)นายอภัย คล้อยสวาท 11)นายเฉลิมพงษ์ ช่างเสียง 12)นางสาวบุปผา บุรีแก้ว 13)นางพงพันธ์ วรรณกิจวิริยะ 14)นายบุญเติม บุรีแก้ว 15)นายหรัด ทับทิม 16)นายสมบัติ หัดไทย 17)นายสุเทพ บุรีแก้ว 18) นางอุรา เจริญจิตร์ 19)นางนุ้ย แซ่เจ็ง 20)นางมาลีศรีเมือง 21)นางพรทิพย์ จิตสาย 22)นางสาวสุปราณี ทองอาย 23)นายปรีดา ไตรามาตย์ 24)นางปราณี เรืองไชย 25)นายบัญชา อักษรศรี 26)นางพรทิพย์อักษรศรี 27)นายธีรพลขุนทอง 28)นางอารีย์บุญธรรม 29)นายรุ่งโรจน์ อาสาสำเร็จ 30)นางสายพิณนาคสังข์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดกลุ่มสภาผู้นำเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด ตั้งแต่การวางแผนการออม "การเก็บก่อนค่อยจ่าย" ด้วยให้ทุกคนเก็บเงินให้ใส่กระปุกออมสิน และจะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน โดยนางพุฒิพร สังขภัณฑ์ เป็นแกนนำ และนัดประชุมครั้งต่อไป

    ปัญหาในการดำเนินงาน คือ ยังมีคนส่วนน้อยที่ยังไม่เข้าใจในกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ว่าจะทำได้ แต่ก็มีการอธิบายจากผู้นำและแกนนำชุมชนว่า ไม่จำเป็นต้องทำสำเร็จทันทีทันใด แต่ถ้าชุมชนมีแนวทางการพัฒนาในทางเดียวกัน ก็จะเกิดการสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ได้ด้วย เช่น การคิด ความสามารถ รู้จักแก้ไขปัญหาร่วมกัน

     

    30 26

    5. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน พฤศจิกายน 2558

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานเปิดประชุม โดยแจ้งเรือง จากที่ประชุมอำเภอ ประกอบด้วยเรื่องการเตรียมการเพื่อจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทำความสะอาดริมถนน ตัดแต่งต้นไม้ และจัดปลูกต้นต้นไม้ตามแต่ละพื้นที่ เตรียมการอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้งบประมาณของหมู่บ้านและผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งการร่วมบำเพ็ยประโยชน์ครั้งนี้ร่วมกับชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติการและรับหน้าที่กันไปตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนงาน จำนวน 4 กลุ่มแบ่งเป็นจุดดำเนินการกลุ่มที่1เป็นจุดที่หนึ่งบริเวณสวนของนายอ๊อด ภู่พายัพ จุดที่สอง นายสุริยันจันทสิงห์ จุดที่สามของนายลพ แก้วโกสุม จุดที่สี่ของนายตุ้ม ไชยามพานิชมีการมอบหมายให้ไปสำรวจพื้นที่ เพื่อจะเตรียมอุปกรณ์และกำลังคนให้พร้อมในการพํฒนาพื้นที่ป่าต้นน้ำและแนวโน้มในการจัดทำฝายชะลอน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน รวมทั้งประสานกับเทศบาลตำบลทะเลทรัพย์เพื่อขอสนับสนุนอุปกรณ์และกำลังคน เป็นต้น และงบSML

     

    30 26

    6. จัดกิจกรรมการทำความสะอาด ฟื้นฟูผืนป่าต้นน้ำ และเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 1 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมตัดแต่งกิ่งไม้บริเวณริมทางเดิน ถนน ที่มีต้นไม้แผ่กิ่งก้านออกมาเกะกะทัศนียภาพเวลาขับรถ และร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ป่าไม้ และทางสาธารณะ โดยการรวมพลังคนในชุมชนหมู่ที่ 8 ตำบลทะเลทรัพย์ช่วยกันพัฒนาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ จิตอาสาร่วมกันโดยมีโครงการเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดการพัฒนา การร่วมมือร่วมแรงร่วมใจไปสู่ความเป็นท้องถิ่นน่าอยู่และขับเคลื่อนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนในระดับตำบล หมู่บ้าน ประกอบด้วยรองนายกฯ ธนวัฒน์ โพธิสาร ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ สมุนไพร ให้มีความสมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งอาหาร และพื้นที่สาธารณะในชุมชนตลอดสองข้างถนนมีความสะอาดเป็นระเบียบมากขึ้นเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร และปลูกต้นโกสนริมถนนเป็นระยะทาง4 กิโลเมตรโดยให้ผู้มีต้นไม้ที่อยู่หน้าบ้านช่วยกันดูแล

     

    50 100

    7. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนเดือน ธันวาคม 2558

    วันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างสภาผู้นำมีกระบวนการคิด การจัดการตนเองเรื่องการออมและการใช้จ่ายตั้งแต่ครอบครัว สู่ชุมชน ในช่วงสภาวะที่เศรษฐกิจฝึดเคืองมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสนอแนะความคิดเห็นร่วมกับ และถกเถียงปัญหาต่าง ๆ เรื่องราคาปาล์ม และราคายาง ที่เกิดขึ้นในชุมชน และสามารถที่จะคลี่คลายกันได้เพราะเรื่องราวต่าง ๆ ในชุมชนนั้นมีมากมาย แต่การแก้ปัญหาต่าง ๆ จะพึ่งผู้นำหรือภาครัฐ ไม่ได้ ทุกคนต้องพึ่งตนเอง รู้จักรับผิดชอบในครัวเรือนตนเองกันให้มาก ลดภาระต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นในครอบครัวลง ก็จะทำให้ปัญหาครอบครัวดีขึ้น เศรษฐกิจในครัวเรือนก็ดีขึ้น ตลอดจนเรื่องการดูแลสุขภาพ เน้นเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เป็นต้น ประธานเน้นให้ทุกคนร่วมมือกันไปจุดเทียนถวายพระพรที่หน้าที่ว่าการอำเภอปะทิว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีข้อตกลงร่วมกันของแกนนำสภาชุมชนที่ต้องนำเรื่องที่ทุกฝ่ายเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานอื่น ๆแล้วนำมาถ่ายทอดให้สมาชิกกลุ่มและผู้ที่สนใจทราบ เช่นในครั้งนี้ทุกคนที่มาประชุมร่วมกันเสร็จแล้วเข้าร่วมพิธีวันพ่อของแผ่นดินร่วมกันหน้าที่ว่าการอำเภอปะทิว เป็นต้นติดตามผลการประชุมครั้งที่ผ่านมาพัฒนาชุมชน และเตรียมความพร้อมที่จะนำอุปกรณ์และกำลังคนให้เพียงพอที่จะพัฒนาครั้งต่อไปในส่วนของพื้นที่ป่าต้นน้ำ

     

    30 25

    8. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 2

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้ารับฟังรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่วิทยากรในการชี้แจงเรื่องการเขียนใบเสร็จรับเงินจากร้านค้า และใบสำคัญรับเงินที่ทางโครงการจ่ายไปในการใช้เงินตามกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องมีการหักภาษีเงินได้ 1 เปอร์เซ็นต์ หากมีการจ่ายเงิน 1000 บาทขึ้นไป นอกจากนี้ วิทยากรยังได้เสนอแนะการบันทึกรายงาน ควรที่จะบรรยายอย่างละเอียดเพื่อให้มองเห็นภาพ เมื่อทีมงานผู้ติดตามจาก สสส.,สจรส. ได้เข้าไปอ่านจะเกิดความเข้าใจได้ง่าย และมองเห็นภาพอย่างจริงจัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถลงบันทึกรายงาน และจัดทำรายงานการเงินได้ถูกต้อง รวมทั้งการหักภาษีต่าง ๆ ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำรายงาน การทำรายงานการเงิน การเขียนใบเสร็จรับเงินของร้านค้า การเขียนใบสำคัญรับเงินและเอกสารแนบประกอบใบสำคัญรับเงิน

     

    2 2

    9. สำรวจข้อมูลครัวเรือนและจัดทำแผนปฏิบัติการชุมชน

    วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกันสำรวจข้อมุลครัวเรือนชุมชน ข้อมูลการรับ - จ่าย โดยมีแบบสำรวจของ ธกส.มาปรับ้ใช้ให้สอดคล้องกับโครงการ
    วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำแผนชุมชน วิทยากรจาก ธกส.ได้ให้ความรู้ด้านการทำบัญชีครัวเรือน คือ การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงินและการวางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้ จึงแนะนำและส่งเสริมให้ทุกครอบครัวได้ทำบัญชีครัวเรือน จะทำให้เราเปรียบเทียบได้ว่า รายจ่ายใด ที่ไม่จำเป็นควรลด รายจ่ายใดที่จำเป็น และในแต่ละเดือนเราควรมีรายรับเท่าไหร่จึงจะสมดุลหรือมีเงินออม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อมูลครัวเรือนชุมชน ทีมีรายรับ รายจ่าย และรายละเอียดเกี่ยวกับครัวเรือน ชุมชนชุมชนแต่ละครัวเรือนสามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจในครัวเรือนของตนเองได้ว่า ควรมีรายจ่ายต่อเดือน และรายรับต่อเดือนเท่าไร จึงจะสมดุล มีเงินออม และหนี้สินลดลงครัวเรือนสามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินของครอบครัวตนเองได้
    ครัวเรือนต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๕ ครัวเรือน ได้แก่ ๑) นางสายพิณนาคสังข์ บ้านเลขที่ ๔๖/๓ หมู่ ๘ ต.ทะเลทรัพย์๒) นางสาวโสภิตาหัดไทย บ้านเลขที่ ๑๕/๓ หมู่ ๘ ต.ทะเลทรัพย์ ๓) นางประภาพรแย้มจงกล บ้านเลขที่ ๘๖ หมู่ ๘ ต.ทะเลทรัพย์ ๔) นางศรีเวียงดวงใส บ้านเลขที่ ๔๖/๗ หมู่ ๘ ต.ทะเลทรัพย์ ๕) นางสายบัวประเสริฐวรพงษ์บ้านเลขที่ ๑๒๖ หมู่ ๘ ต.ทะเลทรัพย์

     

    30 30

    10. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน มกราคม 2559

    วันที่ 5 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมหมู่บ้าน และคณะทำงาน โครงการ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จากผลการสำรวจข้อมูลชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล นำร่างระเบียบ/กติกา และรายงานผลการดำเนินงานและติดตามความก้าวหน้าตลอดจนฟังข้อเสนอแนะจากทีมงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงกิจกรรมครั้งต่อไปโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และมีการเสนอแนะการขับเคลื่อนกิจกรรมในระยะต่อไป ควรที่จะเชิญชวนสมาชิกในชุมชนที่ยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ ทางผู้ประสานงานควรที่จะไปแนะนำและเชิญชวนให้เขามามีส่วนร่วมด้วยเพื่อจะได้ครอบคลุม และสร้างชุมชนน่าอยู่ได้ อย่างน้อยก็ได้มารับฟังแนวคิดของการสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ว่าควรเป็นไปในทิศทางใด ทั้งนี้สรุปประเด็นการพูดคุยในเวทีได้ดังนี้ - ผู้ใหญ่บ้าน นายชำนาญ ดวงใส ได้ชี้แจงกับสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับประเด็นที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอปะทิว ให้รณรงค์เรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน - การสวมหมวกนิรภัย - ทาง รพสต.ทะเลทรัพย์ แจ้งการรณรงค์เรื่องการป้องกันยุงลายบริเวณบ้านเรือน เนื่องจากในช่วงนี้ มีไข้เลือดออกระบาดหนัก โดยที่เมืองชุมพร มีผู้เสียชีวิตแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและเข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการ และร่วมกันร่างกติกาชุมชน และเกิดความสามัคคีมีการประชุมร่วมกันทุกเดือนจากเดิมนานๆครั้งหรือเฉพาะมีกิจกรรมสำคัญเท่านั้น และที่สำคัญที่สุดคือความภาคภูมิใจที่ได้ทำให้ชุมชนที่โครงการเป็นส่วนขับเคลื่อนนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการได้มากยิ่งขึ้น คณะทำงานและสมาชิกในชุมชนมีความพร้อมในการร่วมกิจกรรมตามโครงการ

     

    30 30

    11. จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในและนอกพื้นที่เรื่องการใช้ชีวิตแบบพอเพียง

    วันที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมให้ความรู้ประชาชนเรื่องเศรษฐกิจพอพียงที่ครอบคลุมเนื้อหา การลดรายจ่าย/สิ่งฟุมเฟือย การเพิ่มรายได้ การออม การดำรงชีวิตชอบ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการรู้จักแบ่งปัน อบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ประสานงานโครงการได้พาสมาชิกในชุมชนไปเยี่ยมชมการอบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพของกลุ่มอาชีพการทำปุ๋ยหมักของเกษตรกรตำบลทะเลทรัพย์ ซึ่งมีการรณรงค์ให้ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองในภาคการเกษตร เพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดการใช้สารเคมีในชุมชน และผลผลิตที่ได้จากการเกษตรก็ปลอดสารเช่นเดียวกัน ส่งผลไปยังผู้บริโภคก็มีความปลอดภัยด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำชุมชนและสมาชิกเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกพื้นที่จำนวน 100 คน-ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถสัมผัสได้จริงในพื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สมาชิกในชุมชนเกิดความคิดในการทำปุ๋ยหมักใช้ในภาคการเกษตร ว่าไม่ใช่เรื่องยาก เราสามารถนำเศษอาหารเหลือใช้ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักได้ และบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ขั้นตอนกระบวนการอะไรมากมาย และไม่ต้องสิ้นเปลืองกับการซื้อปุ๋ยเคมีในราคาแพงมาใส่ปุ๋ยกับพืชสวน เป็นการเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากแต่ถ้าเราหันมาสนใจในการทำปุ๋ยกันเองในชุมชน ทำให้ลดต้นทุนเป็นอย่างมาก

     

    50 100

    12. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน กุมภาพันธ์ 2559

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน ชี้แจงผลการดำเนินโครงการในระยะที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับทราบ ผู้ประสานโครงการ มีการชี้แจงแผนงานต่าง ๆ ของโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ และมีการเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเวทีประชุม ทำให้เกิดแนวคิดต่าง ๆ จากเวที เช่น การออกแบบสำรวจของมูลชุมชน แนวทางการทำงานร่วมกับชุมชนและกลุ่มองค์กรต่าง ๆเช่น ธกส. และศูนย์เรียนรู้บ้านยายไทย โดยมีการประสานความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ตามแผนทั้งของโครงการและแผนงานของกลุ่มองค์กรเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของกิจกรรมขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน การทำปุ๋ยหมัก การปลูกพืชปลอดสารพิษ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการประชาคมหมู่บ้านและรูปแบบของการบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อหาจุดร่วมในการสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ชุมชนอยู่ได้แบบพอเพียง เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์ชุมชนท้องถิ่น จากการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในที่ประชุม และแกนนำชุมชน แกนนำท้องถิ่น ท้องที่ และรพ.สต. ทำให้เกิดมุมมองความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นด้านสุขภาพของชุมชนในท้องถิ่นได้

     

    30 30

    13. การประชุมจัดทำรายงานงวดที่1

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำรายงาน ปิดงวดโครงการ งวดที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการและเจ้าหน้าที่ สสส.,สจรส.มอ. ที่เทศบาลวังไผ่ อ.เมือง จ. ชุมพร โดยพี่เลี้ยงได้ทำการตรวจเอกสารการเงินของโครงการ ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมโครงการ พบว่าเอกสารบางกิจกรรมยังไม่เรียบร้อย ต้องกลับไปปรับปรุงแก้ไข ทำให้โครงการยังไม่สามารถให้พี่เลี้ยง สจรส.มอ.ตรวจเอกสารต่าง ๆ ได้ ทางโครงการจึงต้องนำไปแก้ไขและให้พี่เลี้ยงที่ดูแลโครงการตรวจอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะเรียบร้อย ทำให้กิจกรรมในครั้งนี้ยังไม่สามารถลงรายงาน ง.๑ ให้สมบูรณ์ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำเอกสารค่าใช้จ่ายตามโครงการที่มีการใช้จ่ายเงิน และตรวจความถูกต้องของใบเสร็จการใช้จ่ายเงินในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการและการบันทึกรายงานลงในเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข กิจกรรมในครั้งนี้สามารถทำให้คณะทำงานโครงการและผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจในการลงบันทึกข้อมูล การเขียนใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงินพร้อมกับเอกสารที่ต้องแนบท้ายประกอบใบสำคัญรับเงินได้อย่างถูกต้อง

     

    2 2

    14. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน มีนาคม 2559

    วันที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการได้แก่ นายอนันต์นาคสังข์ได้ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมของโครงการที่ได้รับงบประมาณจาก สสส.ซึ่งแต่ละครัวเรือนก็ได้ทำบัญชีครัวเรือนการรับจ่ายของแต่ละครอบครัว ทำให้สามารถวิเคราะห์สถานภาพการรับจ่ายภายในครัวเรือนของตนเอง และสามารถมองเห็นว่ารายจ่ายใดที่ไม่จำเป็นก็สามารถลดได้ในเตือนถัดไป รายได้ใดที่ยังคงจำเป็นทำให้เป็นการรัดเข็มขัดให้กับครอบครัวตนเองได้ นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการชุุมชนน่าอยู่ เช่น การปลูกผักสวนครัวกินเองข้างบ้าน ,การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ,การร่วมกิจกรรมกับชุมชน หน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในชุมชนท้องถิ่นหมู่ที่ 8 ตำบลทะเลทรัพย์ ซึ่งเราในฐานะที่อยู่ในชุมชน ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในทุก ๆ กิจกรรมถ้าเป็นไปได้ เพื่อจะได้รับรู้รับทราบเรื่องราวต่าง ๆ อย่างทั่วถึงในพื้นที่ของเราเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีคณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 5 คนที่เป็นแกนนำประกอบด้วยผู้ใหญ๋บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่ทั้ง2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพุทิพร  สังขภัณฑ์ และนายเสน่ห์ วัตรวิลัย เป็นต้นแบบของการออม การลดรายจ่ายและเสริมรายได้ครัวเรือนและร่วมพัฒนาชุมชนและร่วมกับหน่วยอื่น ในชุมชนและท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ

     

    30 30

    15. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน เมษายน 2559

    วันที่ 5 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดประชุมช่วงเช้าคณะผู้บริหารโครงการ
    2. ประชุมร่วมกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อประเมินการดำเนินงานที่ผ่านมา แก้ไขปัญหาข้อบกพร่องร่วมกันและภาคีเครือข่าย ทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้ชี้แจงเรื่องภัยแล้งที่ผ่านมา ทะเลทรัพย์แทบจะไม่มีน้ำใช้เพื่อการเกษตร ส่งผลให้สวนผลไม้หลายครัวเรือนได้รับความเสียหาย ทุเรียนตายไปหลายต้น ซึ่งทางราชการก็อาจจะช่วยเหลือได้บ้างแต่ก็คงจะไม่มาก ทั้งนี้ทางชุมชนเองต้องหาทางแก้ไขในเบื้องต้นก่อน และทางอำเภอได้เน้นย้ำเรื่องการตัดทุเรียนอ่อน ไม่ควรให้เกิดขึ้นในอำเภอปะทิวของเรา สมาชิกในชุมชนของเราได้มีการอบรม ชรบ.ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่เฝ้าระวังและดูแลความปลอดภัยภายในชุมชน ตำบลทะเลทรัพย์ก็ได้ส่งคนเข้ารับการฝึกอบรมหลายคนด้วยกัน ขอให้ผู้ผ่านการอบรมได้นำวิชาการฝึกที่ได้รับมาทำงานในชุมชนร่วมกันเพื่อความสงบสุขและความสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชนของเราเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีรายงานสรุปผลการดำเนินงาน 1 ชุด
    2. มีภาคีเครือข่ายการจัดการเศรษฐกิจในครัวเรือชุมชนเพิ่มขึ้น โดยการปลูกผักกินเองในครัวเรือน
    3. ผลการประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    4. เกิดภาคีความร่วมมือในการขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่อย่างน้อย 20 คน ซึ่งเป็นแกนนำในหมู่บ้าน

     

    30 30

    16. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการการลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้สาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษรูปแบบใหม่ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว

    วันที่ 15 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมให้ความรู้โดยวิทยากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอปะทิว เรื่องการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ประสบผลสำเร็จจากเกษตรทฤษฎีใหม่มาหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคอิสานเขาต่อสู้ภัยแล้งโดยการปลูกพืชผสมผสาน ทำให้จากรายได้เสริมกลายเป็นรายได้หลักปีละเป็นแสน ซึ่งในบ้านเราสามารถปลูกเสริมได้ในสวนยางสวนปาล์ม โดยแบ่งเป็นร่อง ๆ สามารถปลูกพืชผักแซมได้เช่น พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว,ผักบุ้ง ,แตงกวา ฯลฯ ซึ่งพืชผักเหล่านี้ เมื่อได้ผลผลิตขึ้นมา กินไม่ทันแน่นอนก็ต้องเก็บไปขาย ถ้าไม่ขายเองก็ส่งให้กับแม่ค้าคนกลางแต่ราคาจะต่ำสักหน่อยแต่ถ้าขายเองจะได้ราคาเต็มที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีกลุ่มเกษตรพอเพียง อย่างน้อย 10 กลุ่ม
    2. มีคณะทำงาน การบริหารจัดการ และการติดตามประเมินผลที่ดี จำนวน 15 คน
    3. สามารถเป็นต้นแบบที่ดีและประสบความสำเร็จใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นได้

     

    40 40

    17. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน พฤษภาคม 2559

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกัน จัดอบรมให้ความรู้จากภาคส่วนของรัฐคือ เกษตรอำเภอ ให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชภายในครัวเรือนชุมชนเพื่อเป็นรายได้เสริม และกินเองเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน มีการชี้แจงงานของ รพสต. เทศบาล ที่ผ่านมาที่ทำกิจกรรมร่วมในชุมชน ระดับตำบล และหมู่บ้าน มีรายละเอียดเช่น ทาง รพสต.ตำบลทะเลทรัพย์มีการรณรงค์เรื่องยุงลาย เนื่องจากกำลังจะเข้าสู่ฤดุฝน ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของยุงลาย นำไปสู่การเกิดไข้เลือดออก ซึ่งเราไม่รู้ว่าจะมีสายพันธ์ุใหม่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเราหรือไม่ ทางที่ดีชุมชนควรป้องกันโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณข้างบ้านให้หมด และนำเกลืออะเบทไปใส่ในภาชนะน้ำใช้เพื่อฆ่าไข่ยุงลายไม่ให้เกิด และควรป้องกันบุตรหลานไม่ให้ถูกยุงกัดเช่น ทายาป้องกันยุงที่่ ทางรพสต.แจกให้ หรือนอนกางมุ้ง ,เทศบาลตำบลทะเลทรัพย์ได้ชี้แจงเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้งที่ผ่านมา โดยการขุดลอกคลอง และสระในบางพื้นที่ ถึงแม้จะไม่ใช่ในพื้นที่ของหมู่ที่ 8 แต่เส้นทางน้ำสามารถเชื่อมโยงกันหมด หากด้านบนมีน้ำใช้ ด้านล่างก็ได้รับผลจากการมีน้ำใช้อุดมสมบูรณ์ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดประชุมตามแผนงานที่ตั้งไว้ ชี้แจงรายละเอียดของโครงการให้ชุมชนได้รับฟังความก้าวหน้าของโครงการ เชิญวิทยากรจากหน่วยงานมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำเกษตรข้างบ้านปลอดสารพิษ
    ชุมชนเกิดแนวความคิดใหม่ ๆ และสามารถคิด วิเคราะห์เรื่องรายจ่าย รายได้ ในครัวเรือน เพื่อให้เกิดความสมดุล และไม่สร้างหนี้เพิ่ม นอกจากนี้ได้มีครอบครัวต้นแบบแล้วจำนวน 10 ครัวเรือนมีการปลูกผักกินเองข้างบ้าน ยังไม่ถึงกับขายสร้างรายได้ มีการปลูกลงดินบ้างปลูกในกระถางบ้างตามความเหมาะสม ,เกิดการระดมสมองปรึกษาหารือร่วมกันในชุมชน หลากหลายความคิดทำให้การขับเคลื่อนชุมชนเป็นไปด้วยความคล่องและเกิดความรักสามัคคีร่วมกัน

     

    30 30

    18. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการการลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้ สาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในแปลงพืชผักสวนครัวและพืชเศรษฐกิจ

    วันที่ 4 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมพร้อมสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษรูปแบบใหม่ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวในกระถางที่ตั้งพื้นและแบบแขวน โดยนำวัสดุในการทำมาเอง
    มีรายละเอียดดังนี้

    สาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในแปลงพืชผักสวนครัวและพืชเศรษฐกิจ มีรายละเอียดดังนี้ - เชิญวิทยากรจาก สำนักงานเกษตรอำเภอมาให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในแปลงเกษตรผักสวนครัวด้วยตนเอง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นโทษและอันตรายทั้งผู้ใช้และผู้รับผลกระทบมากมาย สาธิตการทำน้ำยาอเนกประสงค์ มีรายละเอียดดังนี้ - มีสมาชิก อสม.ในชุมชน คือ นางสาวรวีวรรณโอภาภิรัตน์เป็นวิทยากรฝึกสอนให้กับชุมชน

    การทำปุ๋ยหมัดในครั้งนี้ เรียกว่าการทำฮอร์โมน ใช้วัสดุดังนี้ 1. มะละกอสุก 2 กก. 2. ฟักทองแก่จัด 2 กก. 3กล้วยน้ำว้าสุก 2 กก. 4. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว 5. กากน้ำตาล 1 แก้ว 6. น้ำสะอาด 1 ถัง หรือ 10 ลิตร

    วิธีทำ สับมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ดให้เข้ากันผสม EM และกากน้ำตาล อย่างละ 1 แก้ว ใส่น้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากันปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 7 – 8 วัน เปิดก๊อกแล้วกรองใส่ขวดเก็บได้นาน 3 เดือน

    วิธีนำไปใช้กับสวนผักผลไม้ 4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตรหรือถัง 1 ถัง ฉีด พ่น ราด จะทำให้ดอกติด ผลดก ขนาดโต น้ำหนักดี รสชาติอร่อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวในกระถาง หรือวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน ทำให้ชุมชนมีแนวความคิดที่เป็นนวัตกรรมในครัวเรือนขึ้นหลากหลาย
    มีการนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างประโยชน์ ชุมชนสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เองได้จากอาหารเหลือใช้ในครัวเรือน หรือวิธีการอื่น ๆ ที่ทางวิทยากรแนะนำ ชุมชนสามารถทำน้ำยาล้างจานใช้เองในครัวเรือนได้ ถึงแม้จะไม่ถึงกับจำหน่ายสร้างรายได้ แต่ชุมชนสามารถผลิตใช้เองเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนได้อย่างน้อย ๑๐๐ บาท /เดือน

     

    40 40

    19. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนน เดือน มิถุนายน 2559

    วันที่ 5 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมแลกเปลี่่ยนเรียนรู้ในชุมชน เพื่อวางแผนงานที่จะขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้า และการวางแผนการอนุรักษ์แหล่งน้ำในชุมชนตามลำห้วย หนอง คลอง ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ชุมชนหมู่ที่ 8 ต.ทะเลทรัพย์
    ผู้ใหญ่บ้าน นายชำนาญดวงใส ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงานของอำเภอที่ไปร่วมประชุมผู้ใหญ่บ้านกำนันว่า นายอำเภอเน้นย้ำเรื่องการไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 59 โดยคนไทยที่มีอายุครบ 18 ปี บริบูรณ์
    นายอนันต์ นาคสังค์ ได้ชี้แจงเรื่องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนในการทำฝายชะลอน้ำในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้างวังทอง มีการร่วมด้วยช่วยกันโดยชุมชนในพื้นที่ แต่ขณะนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์นัก เนื่องจากในบางกิจกรรมยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ เช่นเรื่องการทำฝายชะลอน้ำในบริเวณคลองหนองเงิน ซึ่งที่ผ่านมามีความแห้งแล้งจัด ทำให้น้ำแห้งขอด ชุมชนขาดน้ำเพื่อการเกษตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนมีการเสนอแนวความคิดที่มีการพัฒนาและคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น ชุมชนสามารถวางแผนการดำเนินชีวิตให้กับครอบครัวตนเองได้ เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน เอกชนและภาครัฐ เช่น เทศบาล รพสต.อพปร.และกรรมการหมู่บ้าน ทำให้เกิดพลังชุมชนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่

     

    30 30

    20. จัดทำฝายกั้นน้ำคลองหนองเงินและซอยสี่ ครั้งที่ 1

    วันที่ 11 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน ออกแบบการจัดทำฝาย ซึ่งผู้ประสานงานโครงการได้ชี้แจงรายละเอียดขนาดของฝายคือ ฝายกั้นน้ำลำคลองหนองเงินซึ่งมีความกว้าง 3เมตร และคลองซอยสี่กว้าง 4เมตร จำนวน ลำคลองละ2จุด รวมเป็น 4 จุด เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เมื่อยามขาดแคลนน้ำและเป็นการอนุรักษ์ลำคลองและป่าต้นน้ำ ชุมชนในหมู่บ้านต้องร่วมด้วยช่วยกันเนื่องจากไม่มีค่าแรงให้ มีแต่ค่าอาหารและค่าวัสดุเล็กน้อย แต่มีงบค่าอาหารและเครื่องดื่มให้กับผู้ที่มาช่วยกันทำงาน เพราะผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นได้กับประชาชนในพื้นที่เราร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนเข้าร่วมจัดทำฝายกั้นน้ำจำนวน50คน โดยครั้งนี้จัดทำเป็นจุดแรก จุดที่ 1ผลลัพธ์- คนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองมีการร่วมด้วยช่วยกัน สร้างความรักสามัคคีร่วมกันเพิ่มความตระหนักในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้คงไว้และร่วมกันรักษา และสามาถเกิดผลประโยชน์ในระยะยาว เยาวชนเกิดการเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำ จากที่เคยคิดว่าน้ำใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด กลายเป็นว่า หากมีน้ำไม่พอใช้พวกเราก็จะไม่มีน้ำใช้ตลอดปี แต่ถ้ามีการบริหารจัดการน้ำโดยสร้างแหล่งกักเก็บน้ำก็สามารถที่จะชะลอให้น้ำได้มีใช้อย่างพอเพียง

     

    50 50

    21. จัดกิจกรรมการทำความสะอาด ฟื้นฟูผืนป่าต้นน้ำ และเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนครั้งที่ 2

    วันที่ 15 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เพิ่มเติมบริเวณป่าต้นน้ำพื้นที่ตำบลทะเลทรัพย์ เชื่อมรอยต่อระหว่างหมู่ที่ ๑ กับหมู่ที่ ๘ ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกัน โดยเชิญหน่วยงานในพื้นที่ เช่น เทศบาลตำบลทะเลทรัพย์ เทศบาลตำบลบางสน เครือข่ายอนุรักษ์ป่า โรงเรียน และสมาชิกในชุมชน ร่วมกันปลูกป่าจำนวน ๑๙๙๙ ต้น ประกอบด้วย ต้นตะเคียนทอง มะฮ๊อกกานี ยางนา กระถินเทพา และยังเป็นการถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในเทศกาลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมราชินีนาถ ครองราชครบ 70 ปีในปี ๒๕๕๙ นี้เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับชุมชน และประเทศชาติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต-ประชาชนในชุมชนจำนวน 100 คนเศษ เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าต้นน้ำและพื้นที่สาธารณะในวันสำคัญร่วมกันผลลัพธ์-ชุมชนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ สมุนไพร ให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นแหล่งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว สร้างพื้นที่สีเขียวในชุมชน และยังเป็นการสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นทีชุมชนร่วมกัน ประโยชน์ที่ได้รับเป็นของส่วนรวมทุก ๆ คนที่ใช้แหล่งน้ำ อาศัยป่า จะได้รับประโยชน์ร่วมกันในทางอ้อม เช่น มีน้ำใช้ในภาคเกษตรกรรมอย่างยาวนานในน้ำใช้อุดมสมบูรณ์ในอนาคต และสิ่งแวดล้อมร่มรื่นด้วยพื้นที่สีเขียว

     

    50 50

    22. จัดทำฝายกั้นน้ำคลองหนองเงินและซอยสี่ ครั้งที่ 2

    วันที่ 25 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ประสานงานโครงการ ได้ติดต่อประสานสมาชิกในชุมชน ประกอบด้วย กลุ่มเยาวชนนักเรียนจากโรงเรียนสหกรณ์ประชานุกูล โรงเรียนชุมชนบ้านทะเลทรัพย์ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้แรงงานในชุมชน และเจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลทะเลทรัพย์  รวมจำนวน 50 คน ร่วมกันจัดทำฝายกั้นน้ำลำคลองหนองเงินซึ่งมีความกว้าง 3เมตร และคลองซอยสี่กว้าง 4เมตร จำนวน ลำคลองละ2จุด โดยชุมชนร่วมกันจัดทำครั้งที่ 2  เพื่อเป็นการชะลอและกักเก็บน้ำไว้ใช้เมื่อยามขาดแคลนน้ำและเป็นการอนุรักษ์ลำคลองและป่าต้นน้ำ เนื่องจากในพื้นที่ตำบลทะเลทรัพย ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 100 เปอร์เซ็นต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต-ประชาชนเข้าร่วมจัดทำฝายกั้นน้ำจำนวน50คน และเกิดฝายชะลอน้ำในชุมชนเป็นจุดที่ 2
    ผลลัพธ์- คนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เกิดความรักสามัคคีต่อกัน สร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมร่วมกัน เพิ่มความตระหนักในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้คงไว้และร่วมกันรักษา

     

    50 50

    23. จัดทำฝายกั้นน้ำคลองหนองเงินและซอยสี่ ครั้งที่ 3

    วันที่ 29 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ประสานงานโครงการ จัดประชุมชี้แจงการจัดทำฝายครั้งที่ 3 และประสานคนในชุมชนตามกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกันจัดทำฝายกั้นน้ำลำคลองหนองเงินซึ่งมีความกว้าง 3เมตร และคลองซอยสี่กว้าง 4เมตร ครั้งที่ 3เพื่อชะลอและกักเก็บน้ำไว้ใช้เมื่อยามขาดแคลนน้ำและเป็นการอนุรักษ์ลำคลองและป่าต้นน้ำ และนอกจากนี้ยังมีการปลูกหญ้าแฝกบริเวณริมลำคลอง เพื่อเป็นการสร้างแนวกันดินไม่ให้ดินถูกชะล้างไปกับน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก เมื่อหญ้าแฝกขึ้นสมบูรณ์ดีแล้ว จะทำให้ดินในบริเวณนั้น ๆ มีความแน่นทนทานต่อน้ำหลากได้ และหากมีโอกาส ทางชุมชนและพื้นที่ดำเนินการก็จะจัดกิจกรรมร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเป็นการพัฒนาพื้นที่ชุมชนให้ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างน้อย 100 ครัวเรือนขึ้นไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต-ประชาชนเข้าร่วมจัดทำฝายกั้นน้ำจำนวน50คน ในพื้นที่เป็นจุดที่ 3ผลลัพธ์-คนในชุมชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้รับผลประโยชน์ 80 เปอร์เซ็นต์ ของครัวเรือนในชุมชนหมู่ที่ 8 บ้านวังทอง และทำให้คนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง สร้างความรักสามัคคี ร่วมกัน เพิ่มความตระหนักในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้คงไว้และร่วมกันรักษา มีพื้นที่ลำคลองสาธารณะที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

     

    50 50

    24. จัดกิจกรรมการทำความสะอาด ฟื้นฟูผืนป่าต้นน้ำ และเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนครั้งที่ 3

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ประสานงานโครงการ ติดต่อประสานคนในชุมชนตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อจัดกิจกรรมการทำความสะอาด/ตัดหญ้า/ตัดแต่งกิ่ง ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมบริเวณป่าไม้ริมทางและป่าต้นน้ำฟื้นฟูผืนป่า เก็บขยะ และเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน ร่วมรณรงค์ในวันสำคัญในวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นเดือนที่ผ่านมา คือ วันที่ 5 มิถุนายน แต่ทางโครงการจัดไม่ทันในวันดังกล่าวจึงมาจัดร่วมกันในวันนี้  ซึ่งหลังจากทำกิจกรรมไปแล้วสมาชิกในชุมชนต้องดูแลพื้นที่สาธารณะร่วมกัน โดยที่ใครอยู่ใกล้พื้นที่สุดก็ต้องเป็นหูเป็นตาในการดูแลรักษาพื้นที่นั้น ๆ เพื่อทรัพยากรบ้านเราจะได้เกิดความสมบูรณ์และปราศจากมลพิษ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต-ประชาชนในชุมชนจำนวน 50 คนเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการป่าต้นน้ำและพื้นที่สาธารณะในวันสำคัญจำนวน 3 ครั้ง ผลลัพธ์-ชุมชนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ สมุนไพร ให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นแหล่งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และการรักษาโรค นักเรียนในพื้นที่ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมดังกล่าว ทำให้เกิดความเป็นแกนนำเยาวชน และสามารถสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับเยาวชนรุ่นหลัง ๆ ได้ต่อไปในอนาคต

     

    50 50

    25. จัดทำฝายกั้นน้ำคลองหนองเงินและซอยสี่ ครั้งที่ 4

    วันที่ 2 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ประสานงานโครงการ ได้ไปสำรวจแนวลำคลองหนองเงินเพื่อจัดทำฝายกั้นน้ำลำคลอง ซึ่งมีความกว้าง 3เมตร และคลองซอยสี่กว้าง 4เมตร เป็นจุดที่ 4เพื่อชะลอน้ำและกักเก็บน้ำไว้ใช้เมื่อยามขาดแคลนน้ำและเป็นการอนุรักษ์ลำคลองและป่าต้นน้ำ ในการจัดทำฝายคลองหนองเงินในครั้งนี้ ทางเทศบาลตำบลทะเลทรัพย์ได้ให้การสนับสนุนรถแม๊คโครในการปรับพื้นที่ และทำการขุดลำคลองให้กว้างขึ้นปรับพื้นที่ให้สามารถกักเก็บน้ำให้ได้มากขึ้น เนื่องจากประชาชนในหมู่ที่ 8 บ้างวังทองประกอบอาชีพเกษตรกรรม 90 เปอร์เซ็นต์และทำให้น้ำไม่พอใช้ในช่วงฤดูแล้ง และหากมีการพัฒนาคลองหนองเงินให้เป็นฝายหรืออ่างเก็บน้ำจะทำให้ชุมชนที่อยุ่บริเวณติดกับลำห้วยหรือลำคลองหนองเงินสามารถสูบน้ำไปใช้ในภาคเกษตรได้แบบสวนใครสวนมันอย่างน้อยลำคลองหนองเงินได้มีจุดพักน้ำไว้ใช้เมื่อยามขาดแคลนได้ในระดับหนึ่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต-ประชาชนเข้าร่วมจัดทำฝายกั้นน้ำจำนวน50คน ในพื้นที่ 4จุด ผลลัพธ์- คนในชุมชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เพิ่มความตระหนักในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้คงไว้และร่วมกันรักษา ชุมชนสามารถมีน้ำเพื่อกักเก็บไว้ใช้ในยามขาดแคลน และในช่วงฤดูฝนก็เป็นที่กักขังน้ำไว้ได้ระยะหนึ่งเพื่อให้ชุมชนได้มีน้ำใช้เวลาขาดแคลนได้

     

    50 50

    26. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำหริ

    วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเวที่รับฟังความคิดเห็นของชุมชนในการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำหริเพื่อให้คนรู้จักการออมโดยเชิญวิทยากรผู้รู้ให้ข้อมูล ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและขอประชามติร่วมร่างระเบียบดำเนินการโดยผู้เข้าร่วมฝากเงินเริ่มต้นที่คนละ 50 บาทต่อเดือน และรับสมัครคัดเลือกคณะกรรมการ ผู้จัดการธนาคาร ฯเป็นต้น ทางผู้ประสานงานโครงการ ได้เชื่อมประสานกับทีมงานสภาองค์กรชุมชนเพื่อจัดทำแผนงานร่วมกันเพราะในอนาคตข้างหน้า สภาองค์กรชุมชนตำบลทะเลทรัพย์ยังอยู่โดยได้รับการสนับสนุนจาก พอช. ทำให้นำแผนการจัดตั้งธนาคารชุมชนเชื่อมร้อยกับแผนงานของ สภาองค์กรชุมชนตำบลทะเลทรัพย์ ทำให้ก่อเกิดงานเป็นรูปธรรม และจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนในการบริหารจัดการได้ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต-ประชาชนเข้าร่วมเวทีการเรียนรู้เรื่องการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้านตามแนวทางพระราชดำหริจำนวน100 คน ผลลัพธ์-ประชาชนมีเงินออมที่เกิดจากการบริหารจัดการของคนในชุมชนเอง มีการวางแผนงานในอนาคตร่วมกันโดยเชื่อมกับกลุ่มเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลทะเลทรัพย์ในการบริหารจัดการและนำเข้าแผนสภาฯ ในปีถัดไปหรือในระยะต่อไปของสภาฯ

     

    100 100

    27. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน กรกฏาคม 2559

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ออกแบบการสำรวจข้อมูลชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล การร่างระเบียบ/กติกา และรายงานผลการดำเนินงานและติดตามความก้าวหน้าตลอดจนฟังข้อเสนอแนะจากทีมงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงกิจกรรมครั้งต่อไปโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในเดือนนี้ได้ทำการประชุมร่วมกับ รพสต.ตำบลทะเลทรัพย์ และสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอปะทิว โดยจัดที่วัดถ้ำทะเลทรัพย์ โดยหน่วยงานวัฒนธรรม ได้จัดประชุมให้ความรู้เรื่องคุณธรรมจริยธรรมกับเด็กและเยาวชน และประชาชนทั่วไปด้วย อีกทั้งยังมีการปรึกษาหารือกันเรื่องการจัดทำบุญวันเข้าพรรษาด้วย ซึ่งวัดถ้ำทะเลทรัพย์เป็นหนึ่งในทีมที่ทางคณะทำบุญ ๙วัด ต้องทำบุญ และเป็น ๑ ใน ๙ วัดครั้งนี้ ซึ่งทางชุมชนได้ร่วมกันออกแบบในวันที่คณะบุญมาถึงวัดต้องมีการเลี้ยงอาหาร น้ำดื่ม ขนมหวาน ตามความเหมาะสมอยู่ที่ว่าคณะจะมาถึงวัดเวลาอะไร ถ้าถึงเทียงพอดีต้องเลี้ยงอาหารกลางวัน ถ้าติดบ่ายก็เลี้ยงเฉพาะน้ำดื่มและขนมตามความเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 30  คน ร่วมประชุมกันอย่างต่อเนื่องทุก ๆ เดือน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และปรึกษาหารือในการดำเนินโครงการให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์-ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทำความเข้าใจโครงการ และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ และมีการหารือร่วมกันเพื่อหาข้อยุติและเดินงานต่อไปข้างหน้าให้ประสบผลสำเร็จ

     

    30 30

    28. การจัดเวทีประชาคม เพื่อค้นหา อาสาสมัคร ให้เข้ามาเป็นแกนนำหมู่บ้าน กลุ่มคนรักบ้านวังทอง

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ประสานงานโครงการ จัดประชุมคณะทำงานเพื่อปรึกษาหารือ และมอบหมายหน้าที่ให้คณะทำงานช่วยกันทำ เพื่อจัดกิจกรรม การจัดเวทีประชาคม โดยมีเป้าหมายคือ ค้นหา อาสาสมัคร ให้เข้ามาเป็นแกนนำหมู่บ้าน และร่วมกันกำหนดกติกาชุมชนร่วมกัน โดยทุกคนมีความเห็นร่วมกันว่า ในพื้นที่บ้านวังทองนั้น ชุมชนส่วนใหญ่ เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ฉะนั้นชุมชนในพื้นที่จึงต้องร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนให้ทุก ๆ ครัวเรือนอยู่ได้ อย่างพอมีพอกิน กับอาชีพเกษตรกรรมซึ่งประกอบทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมัน ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครจึงมีความพร้อมในการให้ความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาพื้นที่ให้มีความก้าวหน้าต่ออาชีพในชุมชน เช่น การมีส่วนร่วมในการประชุมระดมความคิดเห็นต่าง ๆ การร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมในพื้้นที่ชุมชน กิจกรรมการสร้างฝายเพื่อการบริหารจัดการน้ำในชุมชนให้มีน้ำใช้อย่างพอเพียงและไม่ขาดแคลนในฤดูแล้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต- แกนนำอาสาสมัครจำนวน 50คนเข้าร่วมเป็นแกนนำหมู่บ้าน ผลลัพธ์- เกิดกลุ่มคนรักบ้านวังทองเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน และร่วมพัฒนาชุมชนสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และได้กติกาชุมชนที่ผ่านการร่างมาจากคณะกรรมการหมู่บ้าน/คณะกรรมการโครงการ

     

    50 50

    29. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการการลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้ สาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมพร้อมสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษรูปแบบใหม่ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวในกระถางที่ตั้งพื้นและแบบแขวน โดยนำวัสดุในการทำมาเอง สาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในแปลงพืชผักสวนครัวและพืชเศรษฐกิจ
    สาธิตการทำน้ำยาอเนกประสงค์ กลุ่มประชาชนในพื้นที่บ้านวังทอง หมู่ที่ 8 ตำบลทะเลทรัพย์มีแนวคิดในการพัฒนาสร้างเสริมอาชีพให้กับชุมชนในหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการสร้างทัศนคติในการดำรงชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดประชาคมมีประชาชนกลุ่มหนึ่งที่มีปัญญาด้านการใช้จ่ายในการซื้อวัสดุของใช้ในครัวเรือนเช่นน้ำยาล้างจานดังนั้นกลุ่มประชาชนในพื้นที่สนใจอยากเรียนรู้เกี่ยวกับการทำน้ำยาล้างจานรวมทั้งในหมู่บ้านมีสมุนไพรมะกรูดซึ่งเป็นส่วนผสมที่สำคัญทางกลุ่มจึงประสานกับ กศน.ตำบลทะเลทรัพย์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์สูตรสมุนไพร วิธีทำ เตรียมภาชนะสำหรับผสม ก้นเรียบ และพายไม้สำหรับคน (สำหรับสูตรที่ใช้นี้ ได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร จึงต้องใช้ถังพลาสติกใบใหญ่ๆ หรือถังสีใบใหญ่ ในการผสมก็จะเหมาะที่สุด) 1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะผสม (ควรเทผงฟองต่ำๆ เบา ๆ เพราะจะฟุ้ง) 2. ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด (ควรคนไปทางเดียวกัน ประมาณ 5 นาที ส่วนผสมจะเป็นครีมขาว ข้น ฟู คล้ายๆกับครีมแต่งหน้าขนมเค้ก) แต่อาจยังมีเสียงดังแกรก ๆ เหมือนมีเม็ดทรายอยู่เล็กน้อย 3. ค่อยๆเติมน้ำสะอาดลงในส่วนผสมทีละน้อยๆพร้อมกับคนไปเรื่อยๆ ให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน (ถ้าใส่น้ำลงไปครั้งเดียวหมด ส่วนผสมจะจับตัวเป็นก้อน คนให้ละลายเข้ากันได้ยากมาก)
    4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน 5. ใส่น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้รสเปรี้ยว แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน (ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้ นาน 3 เดือนขึ้นไปเมื่อผสมแล้วจะเก็บน้ำยาไว้ได้นานเป็นปี ไม่เสียง่าย)
    ถ้าไม่มีน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้ที่หมักเกิน 3 เดือน หรือหมักจนได้ที่แล้ว แต่รีบใช้น้ำยา จะใช้น้ำมะกรูดต้ม หรือน้ำสับปะรดต้ม แทนก็ได้ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูกหรือสับเนื้อสับปะรดให้ละเอียด ผสมกับน้ำสะอาดให้ท่วมเนื้อ นำไปต้มจนเปื่อยดี แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้
    แต่วิธีนี้ เมื่อผสมเป็นน้ำยาแล้ว จะเก็บไว้ได้นานประมาณ1 เดือนเท่านั้น ถ้าเกินกว่านี้ น้ำยาจะมีกลิ่นคล้ายน้ำดองผักหรือผลไม้ ไม่น่าใช้
    6. ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี(จะไม่ใส่น้ำหอมเลยก็ได้ ถ้าใช้เป็นน้ำยาล้างจานไม่ควรใส่น้ำหอมเลย) 7. ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว(ประมาณ 1 คืน) จึงกรอกน้ำยาใสภาชนะเก็บไว้ใช้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต-ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในการอบรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์สามารถนำความรู้ไปทดลองใช้ในครัวเรือน ซึ่งในช่วงแรกอาจจะยังไม่คล่องหรือยังไม่ได้มาตรฐานนัก แต่เมื่อทำบ่อยขึ้น ๆ ทำให้ได้สูตรที่พอเหมาะและสามารถทำใช้เองในครัวเรือนได้ และอาจจะแบ่งปันให้เพื่อนบ้านใช้ทำให้เกิดการลดรายจ่ายในครัวเรือนได้เล็กน้อย แต่อาจมีการฝึกฝนอย่างแคล่วคล่องสามารถรวมกลุ่มกันทำเป็นวิสาหกิจชุมชนครัวเรือนทำให้สร้างรายได้ในอนาคตได้อีกทางหนึ่ง อยู่ที่ผู้ประสานงานจะดำเนินการประสานหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเสริมหนุนให้กับชุมชนต่อไป

     

    40 40

    30. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน สิงหาคม 2559

    วันที่ 5 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน ร่วมกับสมาชิกในชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงกิจกรรมครั้งต่อไปโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผู้ประสานงานโครงการ ชี้แจงรายละเอียดความก้าวหน้าของโครงการกับสมาชิกในชุมชน เพื่อให้ทราบความเคลื่อนไหวของโครงการ และกิจกรรมที่ได้จัดไปแล้วในชุมชน เช่น การจัดทำฝายชะลอน้ำในพื้นที่ชุมชนหนองเงิน โดยได้รับการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในชุมชน เยาวชน และผู้นำหลาย ๆ ท่าน และมีการชี้แจงเรื่องราวต่าง ๆ ของหน่วยงานเช่น รพสต.เรื่องรณรงค์การปัองกันไข้เลือดออก ,โรคไข้หวัดใหญ่ และเทศบาลได้ชี้แจงเกี่ยวกับการรับนโยบายจากจังหวัดให้รณรงค์ไม่ตัดทุเรียนอ่อน ในพื้นที่เนื่องจากตำบลทะเลทรัพย์ เป็นตำบลหนึ่งที่มีเกษตรกรชาวสวนทุเรียนเป็นจำนวนมาก หากเกิดปัญหาทุเรียนอ่อนขึ้นในพื้นที่จะทำให้เสียชื่อเสียง และจะไม่มีใครมารับซื้อทุเรียนจากบ้านเรา และเกิดปัญหาผลกระทบหลายอย่างตามมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 30 คน ร่วมประชุมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผลลัพธ์-ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทำความเข้าใจโครงการ และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ

     

    30 30

    31. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน กันยายน 2558

    วันที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงาน ร่วมกับสมาชิกในชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงกิจกรรมครั้งต่อไปโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผู้ประสานงานโครงการ ชี้แจงรายละเอียดความก้าวหน้าของโครงการกับสมาชิกในชุมชน เพื่อให้ทราบความเคลื่อนไหวของโครงการ และกิจกรรมที่ได้จัดไปแล้วในชุมชน เช่น การจัดทำฝายชะลอน้ำในพื้นที่ชุมชนหนองเงิน การจัดทำน้ำยาล้างจาน การพัฒนาต้นน้ำด้วยการทำความสะอาดพื้นที่สองข้างฝ่ายให้เป็นทางเดิน การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันตะลิ่งชัน เป็นต้น และเน้นย้ำถึงความซื่อสัตย์ของคนในคุณภาพของผลผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 30 คน ร่วมประชุมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผลลัพธ์-ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทำความเข้าใจโครงการ และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ

     

    30 30

    32. จัดเวทีสรุปผลการดำเนินกิจกรรมและคืนข้อมูลชุมชน

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดเวทีประชุมคณะกรรมการชุมชน และสมาชิกในชุมชน เพื่อคืนข้อมูลต่าง ๆ ที่โครงการได้ดำเนินการมาให้ชุมชนได้รับทราบ ในทุก ๆ กิจกรรมตามแผนงาน อาทิ การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทั้งในกิจกรรมตามโครงการกำหนด และกิจกรรมตามวันสำคัญ ๆ ที่ชุมชนร่วมกันจัดขึ้น และทางโครงการก็ได้ให้การสนับสนุนในกิจกรรมของชุมชนด้วย ,นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมทำฝายกั้นน้ำขนาดย่อมในชุมชน เพื่อให้ชุมชนจำนวนหลายครัวเรือนได้มีน้ำไว้ในในการเกษตร เนื่องจากพื้นที่ชุมชน 100 เปอร์เซ็นต์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และจะขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง ถึงแม้ว่าจะเก็บน้ำไว้ไม่ได้ตลอดฤดู แต่ก็สามารถยืดเวลาการใช้น้ำให้ยาวนานไปได้บ้าง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการจัดประชุมต่างๆ ในชุมชนเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้สมาชิกในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกในชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง และทำให้การขับเคลื่อนงานต่อไปข้างหน้าร่วมกันได้ ถึงแม้โครงการจะปิดตัวลง แต่มีทีมสภาผู้นำ ที่สามารถทำงานร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านอาสาสมัคร ได้อย่างต่อเนื่องต่อไปในอนเป็นเวทีคืนข้อมูลที่ได้สอบถามกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ทราบความต้องการ สามารถนำข้อมูลมาปรับใช้ในกิจกรรม ข้อมูลที่คืนชุมชน เช่น การเก็บข้อมูลหมู่บ้าน ได้ทราบถึงปัญหาขั้นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การจัดทำแผน การวิเคราะห์ความต้องการของคนในหมู่บ้าน เช่น อาชีพเสริม สร้างรายได้ การสอนการจัดทำบัญชี รายรับ รายจ่ายในครัวเรือนเพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นของคนในหมู่บ้านว่ามีในด้านไหนบ้างที่จะต้องลด หรือเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นก็ต้องลด

     

    120 100

    33. ประชุมปิดงวดโครงการครั้งที่ 2

    วันที่ 18 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานโครงการและผู้รับผิดชอบโครงการ เข้าร่วมประชุมให้พี่เลี้ยงโครงการ และเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.ตรวจเอกสารโครงการและเอกสารการรายงานในเว็บไซด์ ณ เทศบาลตำบลวังไผ่ แต่ทางโครงการยังทำเอกสารไม่เรียบร้อยเลยไม่ได้ให้ทางพี่เลี้ยงได้ตรวจความถูกต้องที่ได้ตรวจรายงานโครงการ และเอกสารการเงิน เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้องตามกระบวนการและขั้นตอนการจัดทำโครงการต่าง ๆและให้พี่เลี้ยงตรวจรายงาน ก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.ตรวจอีกครั้งทั้งในเว็บไซ้ต์และเอกสารการเงินที่ทางโครงการได้จัดทำมาประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ เจ้าหน้าที่ สจรส. เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ และรวบรวมภาพถ่ายกิจกรรม และลงรายละเอียดในรายงานโครงการได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ได้ใจความ และมีความสอดคล้องตามแผนงาน โดยเข้าร่วมกิจกรรมกับพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สจรส.และโครงการอื่น ๆ เพื่อจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ การรายงานผลในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข เอกสารการเงิน บัญชี ภาพถ่ายกิจกรรมต่าง ๆ นำมารวบรวมและลงบันทึกเพื่อความเรียบร้อยรอการตรวจจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจเอกสารการเงิน ที่ทางโครงการได้จัดทำมา และมีการชี้แนะให้ปรับปรุงแก้ไขในบางส่วนที่ยังมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย และเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจการลงรายละเอียดในเอกสารรายงานผลการดำเนินงานในเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข พร้อมกับชี้แนะการเขียนรายงานให้สอดคล้องกับหัวข้อที่ทาง สจรส.กำหนดไว้ เช่น รายละเอียดกิจกรรม,ผลลัพท์ ,ผลที่เกิดขึ้นจริง และผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการและผู้รับผิดชอบโครงการ ได้รับรู้แนวทางการทำรายงานและการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่โครงการได้ทำมาตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ได้แนะนำว่า การรวบรวมเอกสารการเงินและบัญชีโครงการ ภาพถ่ายกิจกรรม มีการตรวจความถูกต้องของการรายงานในทุก ๆ กิจกรรมเพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นจริง และพี่เลี้ยงได้แนะนำว่า สิ่งที่ต้องกลับไปทำด่วน ดังนี้ ๑. รายงานกิจกรรมในเว็บไซด์ให้เรียบร้อย และส่งเอกสารการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจใหม่ทุกกิจกรรม ๒. เมื่อรายงานเรียบร้อยทุกกิจกรรมแล้วให้แจ้งพี่เลี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงแจ้งต่อ สจรส.ให้ตรวจความเรียบร้อยถูกต้องของรายงานทางเว็บไซด์๓. ทาง สจรส.จะตรวจความถูกต้องของรายงาน แล้วแจ้งพี่เลี้ยงให้โครงการปริ้นเอกสารส่งมาที่ สจรส. ส่งที่ต้องส่งรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ดังนี้ ๑. รายงาน ส.๓ ๒. รายงาน ง๑ งวด ๒ ๓. รายงาน ง .๒ ๔. รายงาน ส.๔ ๕. สำเนาสมุดบัญชี ปรับยอดเป็นปัจจุบัน

     

    2 2

    34. จัดทำถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานได้มอบหมายให้ นางสาววิพรพรรณอามานนท์ เป็นผู้รับผิดชอบในการถ่ายภาพกิจกรรมและรวบรวมภาพถ่ายต่าง ๆ เพื่อทำบันทึกในรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการ ได้อย่างถูกต้อง โดยมีการเก็บรวบรวมไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการนำมาลงในรายงานของแต่ละครั้งได้อย่างถูกต้อง และมีการลงบันทึกรายงานในแต่ละกิจกรรมในเว็บไซด์เข้าร่วมประชุม แต่การลงบันทึกรายงานในแต่ละครั้งอาจมีการล่าช้าไม่ได้ลงบันทึกในทันทีทันใด เนื่องจากในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านวังทอง เป็นพื้นที่ปลอดสัญญานโทรศัพท์ บางทีมีก็มีน้อยมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าอินเตอร์เน็ตได้ บางครั้งจึงต้องมาอาศัยโรงเรียนสหกรณ์ประชานุกูลเป็นที่บันทึกทำรายงานในครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีภาพถ่ายประกอบการรายงานในทุก ๆ กิจกรรมที่โครงการได้ดำเนินงานมาตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา

     

    2 2

    35. ร่วมประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง สจรส.มอ.

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมกิจกรรมงาน "คนใต้สร้างสุข" ณ หอประชุมนานาชาติ มอ.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาโดยภายในงาน มีกิจกรรมมากมายเป็นระยะเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 มีกระบวนการจัดงานคือ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) ร่วมกับสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) หน่วยงานภาครัฐ และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ ตระหนักถึงความสาคัญของการจัดการระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพระดับพื้นที่ จึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ (Innovation of Health Promotion) ” ประจาปี พ.ศ. 2559 ระหว่างวันที่ 3 - 5 ตุลาคม 2559 โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ภาคประชาชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น และภาคีเครือข่าย ต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ จานวน 1,200 คน ทำให้ทางโครงการบ้านวังทองน่าอยู่ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานในครั้งนี้ และได้เก็บเกี่ยวความรู้ต่าง ๆ ที่ได้จากภายในงานจำนวนมาก เช่น จากบูชนิทรรศการ ,สินค้าชุมชน, เวทีเสวนา การบรรยายให้ความรู้ต่าง ๆ อย่างมากมาย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมงานโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่และเครือข่ายสุขภาวะอื่นๆประกอบด้วย วันจันทร์ ที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย ๑๓.๐๐ - ๑๓.๑๐ น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ๑๓.๑๐ - ๑๓.๒๐ น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ๑๕.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) ๑๕.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ ๑๒ ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.การประชุมห้องย่อย ๑. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ๒. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ๔. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ๕. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๑ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข ๑๒.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. การประชุมห้องย่อย ๑. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) ๒. ความมั่นคงทางอาหาร ๓. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) ๔. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) ๖.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว ๗.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๑ (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม ๒ (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดแนวคิดประสบการณ์ในการทำงานในชุมชน การสร้างคน สร้างงาน  และนำไปใช้ในชุมชนได้ เช่น การสร้างผลิตภัณฑ์ในชุมชน ,การปลูกผักปลอดสารพิษกินในครัวเรือน เหลือกินสามารถนำไปขายสร้างรายได้เสริมให้กับครัวเรือน จะเห็นถึงความหลากหลายของกิจกรรมจาก 14 จังหวัดภาคใต้ ถึงแม้วิถีแต่ละจังหวัดจะไม่เหมือนกัน แต่เราสามารถนำสิ่งที่คล้าย ๆ กันมาประยุกต์ใช้ในชุมชนของเราได้ และนอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายจากชุมชนเครือข่าย 14 จังหวัดภาคใต้ และรู้จักเพื่อนชุมชนใหม่ ๆ มากมาย

     

    2 2

    36. พี่เลี้ยงตรวจเยี่ยมโครงการพื้นที่วังทอง

    วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการและผลที่เกิดขุึ้นจากการทำกิจกรรมในพื้นที่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เข้าไปตรวจเยี่ยมฝายในพื้นที่ซอยสี่ พบว่ามีการทำฝายเพื่อชะลอการไหลของน้ำในพื้นที่หนองเงินซอยสี่ และมีการเก้บน้ำไว้ด้านทิศตะวันตก ซึ่งเหนือพื้นที่ดังกล่าวมีชุมชนอาศัยอยู่ประมาณ ๕๐ ครัวเรือน และประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่สามารถใช้สอยน้ำจากคลองหนองเงินนี้ได้ ในช่วงฤดูแล้ง หากพบว่ามีน้ำยังมีอยู่พอเพียงภายในคลองหนองเงิน แต่หากว่าฝนทิ้งช่วงในระยะเวลานาน

     

    5 5

    37. จัดทำรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมประชุม และให้พี่เลี้ยงตรวจรายงาน ก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.ตรวจอีกครั้งทั้งในเว็บไซ้ต์และเอกสารการเงินที่ทางโครงการได้จัดทำมาประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ เจ้าหน้าที่ สจรส. เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ และรวบรวมภาพถ่ายกิจกรรม และลงรายละเอียดในรายงานโครงการได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ได้ใจความ และมีความสอดคล้องตามแผนงาน โดยเข้าร่วมกิจกรรมกับพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สจรส.และโครงการอื่น ๆ เพื่อจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ การรายงานผลในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข เอกสารการเงิน บัญชี ภาพถ่ายกิจกรรมต่าง ๆ นำมารวบรวมและลงบันทึกเพื่อความเรียบร้อยรอการตรวจจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจเอกสารการเงิน ที่ทางโครงการได้จัดทำมา และมีการชี้แนะให้ปรับปรุงแก้ไขในบางส่วนที่ยังมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย และเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจการลงรายละเอียดในเอกสารรายงานผลการดำเนินงานในเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข พร้อมกับชี้แนะการเขียนรายงานให้สอดคล้องกับหัวข้อที่ทาง สจรส.กำหนดไว้ เช่น รายละเอียดกิจกรรม,ผลลัพท์ ,ผลที่เกิดขึ้นจริง และผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้การรายงานต่าง ๆ ตามโครงการเป็นไปอย่างถูกต้อง ทั้งในเว็บไซต์และเอกสารต่าง ๆ ที่ทางโครงการได้รวบรวมเป็นการใช้จ่ายเงินตามโครงการได้อย่างถูกต้องและเที่ยงธรรมเจ้าหน้าที่จาก สจรส.ได้ทำการตรวจเอกสารการเงินที่ทางผู้รับผิดชอบได้เตรียมมา และตรวจบันทึกรายงานกิจกรรมที่มีการบันทึกรายงานในเว็บไซด์ ซึ่งพบว่า การตรวจในครั้งนี้ ทั้งเอกสารการเงินและการรายงานในเว็บไซด์ยังไม่เรียบร้อย ทางเจ้าหน้าที่ได้แนะนำว่า การรวบรวมเอกสารการเงินและบัญชีโครงการ ภาพถ่ายกิจกรรม มีการตรวจความถูกต้องของการรายงานในทุก ๆ กิจกรรมเพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นจริง และพี่เลี้ยงได้แนะนำว่า สิ่งที่ต้องกลับไปทำด่วน ดังนี้ ๑. รายงานกิจกรรมในเว็บไซด์ให้เรียบร้อย และส่งเอกสารการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจใหม่ทุกกิจกรรม ๒. เมื่อรายงานเรียบร้อยทุกกิจกรรมแล้วให้แจ้งพี่เลี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงแจ้งต่อ สจรส.ให้ตรวจความเรียบร้อยถูกต้องของรายงานทางเว็บไซด์๓. ทาง สจรส.จะตรวจความถูกต้องของรายงาน แล้วแจ้งพี่เลี้ยงให้โครงการปริ้นเอกสารส่งมาที่ สจรส. ส่งที่ต้องส่งรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ดังนี้ ๑. รายงาน ส.๓ ๒. รายงาน ง๑ งวด ๒ ๓. รายงาน ง .๒ ๔. รายงาน ส.๔ ๕. สำเนาสมุดบัญชี ปรับยอดเป็นปัจจุบัน เอกสารทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
    ตัวชี้วัด : 1) มีการประชุมสภาทุกเดือนร่วมกัน และมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และประชุมหารือการดำเนินงานโครงการและอื่นๆอย่างต่อเนื่อง 2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีแผนปฏิบัติการ ความคิด การจัดการครอบครัวของตัวเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและรู้วิธีทำให้สภาวะของครอบครัวดีขึ้น

    เกิดทีมสภาผู้นำ ผุ้เข้าร่วมประชุมร้อยละ 100 เกิดกลุ่มอนุรักษ์บ้านวังทอง ที่ทำในเรื่องการดูแลป่าต้นน้ำและความปลอดภัย ยังไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน

    2 เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
    ตัวชี้วัด : 1.มีฝายต้นน้ำจำนวน 4 จุด ทำให้มีน้ำในการบริโภคและทำการเกษตรเพียงพอ 2.มีกติกาชุมชนร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำ

    เกิดฝายน้ำล้นที่สามารถกักเก็บน้ำจำนวน 4 จุดของคลองหนองเงินและซอยสี่ไว้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ในช่วงหน้าแล้ง 50ครัวเรือน

    3 เพื่อพัฒนาของเยาวชนและประชาชนในการเรียนรู้ความพอเพียง
    ตัวชี้วัด : 1. มีเวทีการเรียนรู้และแก้ปํญหาและสามารถมาดูบ้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ 2. ร้อยละ 80 ของประชาชนรู้และเข้าใจถึงภัยต่อสุขภาพและแก้ไขด้วยตัวเองเป็น 3. ร้อยละ 80ของประชาชนร่วมมือกันออมและทำบัญชีครัวเรือน 4. ครัวเรือนที่ทำให้หนี้สินลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ80

    มีกติกาที่ทุกคนที่อยู่ริมคลองต้องดูแลรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างสมำ่เสมอและต่อเนื่อง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ปลูกเพิ่มเติม และร่วมกันพัฒนาชุมชนในวันสำคัญๆเช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษา วันต้นไม้และสิ่งแวดล้อมโลก เป็นต้น

    4 เพื่อพัฒนากลไกการบริหารจัดการขับเคลื่อนชุมชนคนรักบ้านวังทอง
    ตัวชี้วัด : 1. มีกลุ่มเกษตรพอเพียง 2. มีคณะทำงาน การบริหารจัดการ และการติดตามประเมินผลที่ดี 3. สามารถเป็นต้นแบบที่ดีแหละประสบความสำเร็จใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นได้

    ชุมชนมีการลดการใช้สารเคมีในการเกษตรและหันมาใช้เกษตรอินทรีย์จำนวน 50 ครัวเรือน

    5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    เข้าร่วมประชุมกับ สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง มีการจัดทำป้ายงดสูบบุหรี่ 1 ป้าย ทำให้ไม่มีการสูบบุหรี่ในช่วงที่ทำกิจกรรม และส่งรายงานให้ สสส.ได้ทันในเวลา

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต (2) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ (3) เพื่อพัฒนาของเยาวชนและประชาชนในการเรียนรู้ความพอเพียง (4) เพื่อพัฒนากลไกการบริหารจัดการขับเคลื่อนชุมชนคนรักบ้านวังทอง (5) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง

    รหัสโครงการ 58-03814 รหัสสัญญา 58-00-2079 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    มีการทำฝายน้ำล้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วยภาคประชาชนที่บริจาคปูน-หิน-ทราย เทศบาลสนับสนุนช่างในการเขียนแบบ/งบประมาณบางส่วน เกษตร/ป่าไม้สนับวนุนพันธ์ไม้และวิชาการ เป็นต้น

    รายงายและภาพถ่าย

    ประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาในคลองที่เชื่อมกับหมู่บ้านอื่น ๆให้เป็นภาพรวมทั้งตำบลจะได้มีน้ำใช้ตลอดปี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    กลุ่มอนุรักษ์บ้านวังทอง ที่ทำในเรื่องการดูแลป่าต้นน้ำและความปลอดภัย ยังไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน

    รายงาน

    เป็นเพียงจุดเริ่มต้นให้คนที่สมัครใจและมีจิตอาสามารวมกันเพื่อทำกิจกรรมดีๆในชุมชน แต่ยังไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน ต้องมีการพัฒนาต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การบริโภคพืชผักปลอดสารพิษเพิ่มขึ้นเป็น50ครัวเรือน

    รายงานและข้อมุลชุมชน

    ส่งเสริมให้ครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน350ครัวเรือนบริโภคผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีต้นแบบการเลิกบุหรี่ คือนายอนันต์ นาคสังข์ ผู้รับผิดชอบโครงการจากเมื่อก่อนวันละ2ซอง

    รายงานและการสัมภาษณ์

    เป็นบุคคลต้นแบบให้กับชุมชนต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    ชุมชนมีการลดการใช้สารเคมีในการเกษตรและหันมาใช้เกษตรอินทรีย์จำนวน 50 ครัวเรือน

    รายงานและข้อมูลชุมชน

    ส่งเสริมให้ครัวเรือนใช้เกษตรอินทรียืมากขึ้นและใช้สารกำจัดแมลงและวัชพืชด้วยน้ำส้มควันไม้และสมุนไพร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    เกิดฝายน้ำล้นที่สามารถกักเก็บน้ำจำนวน 4 จุดของคลองหนองเงินและซอยสี่ไว้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ในช่วงหน้าแล้ง 50ครัวเรือน

    รายงานและภาพถ่าย

    จัดทำฝายน้ำล้นเพิ่มตามความเหมาะสมของพื้นที่และรวมกันพํมนา/อนุรักษ์ป่าต้นน้ำร่วมกับชุมชนอื่น ๆ(ต้นแหล่งน้ำเป็นภาพรวมของม.1,6,7,8)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกติกาที่ทุกคนที่อยู่ริมคลองต้องดูแลรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างสมำ่เสมอและต่อเนื่อง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ปลูกเพิ่มเติม และร่วมกันพัฒนาชุมชนในวันสำคัญๆเช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษา วันต้นไม้และสิ่งแวดล้อมโลก เป็นต้น

    รายงาน

    ทำกติกาเพิมเติมให้มากกว่านี้ในปีต่อไปเพื่อให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และจัดทำประกาศให้ทราบทั่วกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการจัดตั้งธนาคารกองทุนหมู่บ้านที่มีการออมของสมาชิกตั้งต้นคนละ50บาทต่อเดือน ในระยะเริ่มแรกยังร่างระเบียบข้อบังคับและปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิอยู่

    รายงาน

    ต่อไปจะทำระเบียบข้อบังคับให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ผู้รับผิดชอบโครงการมีความภูมใจที่ตนเองมีความสามารถดึงงบประมาณมาใช้กับชุมชนทำให้สมาชิกในชุมชนเห็นความสำคัญเข้ามาร่วมกิจกรรมและเป็นพลังผลักดันให้ตนเองมีกำลังและของบปนะมาณจากแหล่งเงินอื่นๆ ได้ เช่นสมาคมประชารัฐ เป็นต้น

    สัมภาษณ์

    จะนำความรู้ที่ได้รับไปแนะประชาชนและชุมชนอื่นๆ ให้มีความรู้ในการเขียนโครงการเพื่อของบประมาณต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนตนเองมากขึ้น รวมทั้งกระทำตนเองให้เป็นแบบอย่างของการอยู่อย่างพอเพียงตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

    รายงานและภาพถ่าย

    กระตุ้นให้นำครัวเรือนนำร่องเป็นครูก ในการแนะนำเพื่อนบ้านทั้งในชุมชนตนเองและชุมชนใหล้เคียงต่อไป โดยส่วนหนึ่งจะของบประมาณจากเทศบาลและกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ชุมชนมีการแบ่งปันพืชผักสวนครัวกันในระดับหนึ่ง และสมัครเป็นกลุ่มอนุรักษ์เพื่อการเฝ้าระวังและช่วยเหลือชุมชนทุกด้านตามความเหมาะสม

    รายงาน

    จัดตั้งเป็นกลุ่มแล้วจะทำระเบียบและกติกากลุ่มต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ 58-03814

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย อนันต์ นาคสังข์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด