แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง ”

ม.4 บ้านไม้ขาว ต.ถลาง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

หัวหน้าโครงการ
นาย มาโนช สายทอง

ชื่อโครงการ สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง

ที่อยู่ ม.4 บ้านไม้ขาว ต.ถลาง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต

รหัสโครงการ 58-03992 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1982

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016


กิตติกรรมประกาศ

"สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง จังหวัดภูเก็ต" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ม.4 บ้านไม้ขาว ต.ถลาง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง



บทคัดย่อ

โครงการ " สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง " ดำเนินการในพื้นที่ ม.4 บ้านไม้ขาว ต.ถลาง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รหัสโครงการ 58-03992 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 139,250.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 230 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างความ เข้มแข็งของสภาผู้นำ
  2. มีการเฝ้าระวังควบคุมและจัดการโรคเรือรังใน ชุมชน
  3. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและชุมชน
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ปี 2558 ครั้งที่ 1

    วันที่ 29 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รับฟังเจ้าหน้าที่โครงการให้ความรู้ความเข้าใจ ในกระบวนการ บริหารจัดการโครงการและการบริหารจัดการเอกสารการเงิน
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการได้ฝึกทักษะในการใช้งานเว๊ปไซต์เพื่อ
      วางแผนการจัดกิจกรรม ทำปฏิทินกิจกรรมตลอดระยะเวลา
      โครงการ จัดเขียนรายงานและการทำรายงานการเงิน
    3. เรียนรู้การใช้งานเว็บไซต์
    4. ฝึกปฏิบัติการใช้เว็บไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้เข้าร่วมปฐมนิเทศได้เรียนรู้กระบวนการบริหารจัดการโครงการ การจัดการเอกสารการเงิน
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการได้ฝึกทักษะปฎิู้บัติจริงในการคีย์ข้อมูล รายละเอียด แผนภาพ ปฎิทินโครงการ เสร็จเรียบร้อย
    3. ได้รับประสบการณ์มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
    4. สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการทำงานและพัฒนาสติปัญญาของตัวเอง

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่จำนวน 2 ป้าย

    วันที่ 1 ตุลาคม 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะทำงาน
    • มอบหมายผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่การเงินดำเนินการจัดจ้างทำป้ายสัญลักษณ์ เขตปลอดบุหรี่
      ขนาด 130/49 ซม. จำนวน 2 ป้าย และ ป้ายชื่อโครงการขนาด 120/60 ซม.และ120/240 ซม.จำนวน 2 ป้าย ติดตั้ง ณอาคารอเนกประสงค์ หมู่4 บ้านไม้ขาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โครงการมีป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ จำนวน 2 ป้าย ที่ใช้ประกอบการทำกิจกรรมตลอดโครงการ
    2. เพื่อให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญและช่วยกันรณรงค์การจัดเขตปลอดบุหรี่
    3. เพื่อส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ให้กับคนในชุมชน
    4. เพื่อสร้างค่านิยมการไม่สูบบุหรี่

     

    2 2

    3. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 2 ตุลาคม 2015 เวลา 13:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดเตรียมสถานที่ เวทีประชุม อาหาร
    2. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 200 คน
    3. ผู้ใหญ่มาโนช สายทอง กล่าวเปิดการประชุมแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุเด็ก เยาวชน จนท.รพสต. คณะครู นักเรียนร.ร.บ้านไม้ขาว ผู้นำศาสนาบ้านบ่อสอม กลุ่มอาชีพต่างๆเพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน
    4. นางจิตรสายทิพย์ กิจประสาน คณะทำงาน ชี้แจงความเป็นมา และวัตถุประสงค์ของโครงการ งานตามข้อตกลง การสนับสนุนงบประมาณ ของสสส.
    5. ผู้ใหญ่มาโนช สายทอง ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เพื่อให้ชุมชนทำความเข้าใจในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ร่วมกัน และขอความร่วมมือในการทำกิจกรรม
    6. รับสมัครทีมเยาวชนแกนนำและอาสาสมัครชุมชน ร่วมทีมสภาผู้นำ ในการจัดทำและสำรวจข้อมุลจำนวน 30 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. คนในชุมชนได้รับทราบการทำโครงการและให้ความร่วมมือเกิดกติการ่วมกันในชุมชน
    2. เกิดสภาผู้นำในโครงการจำนวน 30 คน ที่มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์

     

    200 204

    4. อบรมวิธีการทำข้อมูล

    วันที่ 7 ตุลาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มการประชุม ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดประชุมผอ.รพสต.บ้านไม้ขาว วิทยากรแนะนำการปฏิบัติตนในการลงสำรวจพื้นที่ อบรมชี้แจงกิจกรรมหลักที่จะดำเนินการ คือ การวางแผนงานในกิจกรรม ได้แก่ ข้อมูลที่จะเก็บ เครื่องมือที่ใช้ วิธีการเก็บ โดยให้ดูข้อมูลที่ใช้ประกอบคำอธิบายและสอบถามข้อสงสัย และชี้แนะแนวทางในการทำงานให้สำเร็จ พร้อมแบ่งกลุ่มการทำงานเป็น 4 กลุ่มและกำหนดวันฝึกซ้อมการเก็บข้อมูลก่อนปฏิบัติจริงและนัดหมายวันลงพื้นที่ปฏิบัติจริง ทุกคนมีความตั้งใจ กระตือรือร้นให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม และร่วมกันถ่ายภาพกลุ่มสมาชิกทั้งหมด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มสภาผู้นำมีความรู้และเข้าใจข้อมูลที่ใช้เก็บ เครื่องมือที่ใช้ และวิธีการเก็บข้อมูลและให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรม
    2. ได้เครื่องมือสำหรับใช้ในการสำรวจโดยมีแผนบันทึกข้อมูลกลุ่มที่เป็นโรคและกลุ่มเสี่ยง
    3. สภาผู้นำทราบวันนัดหมายและการปฏิบัติตน ในการลงพื้นที่ และได้ข้อมูลที่จะจัดเก็บ คือความทุกข์ของคนเป็นโรค และความสุขของคนที่ไม่เป็นโรค
    4. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและกลไกการขับเคลื่อนของกลุ่มสภาผู้นำและกลุุ่มเครือข่าย อสม. รพสต. กลุ่มผู้สูงอายุ

     

    30 68

    5. ประชุมสภาผู้นำ ครั้ง 1

    วันที่ 23 ตุลาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาโนช สายทอง กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมชี้แจงกิจกรรมหลักในวันนี้ คือ การร่วมวางแผนการดำเนินงานในกิจกรรมต่อไปและร่วมปรึกษาหารือ พูดคุย ทบทวน ปัญหาในชุมชนปัญหาความร่วมมือและ สรุปผลการทำงานโครงการในภาพรวม และการติดตามประเมินผลงาน เดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้ทุกคนให้ ความสำคัญงานที่ได้รับมอบหมาย และการทำกิจกรรมต่างๆในโครงการที่ดำเนินการอยู่ และ แจ้งกำหนดการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 1พ.ย. 58

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผลการร่วมวางแผนการทำงานในกิจกรรมต่อไปคือการสำรวจข้อมูลนั้นได้ข้อสรุป คือ จำนวนผู้ลงพื้นที่สำรวจมี 30 คน พื้นที่และผู้สำรวจเป็น 4 กลุ่ม ใช้แบบสำรวจในการสอบถามข้อมูล ให้เน้นพูดคุยในเรื่องผลกระทบของการเป็นโรค
    2. ผลการทบทวน สรุปการดำเนินงานมีดังนี้ ความคิดเห็นส่วนมาก เห็นด้วยกับการทำกิจกรรมในโครงการ ยินดีให้ความร่วมมือ แต่มีความเห็นว่าการนัดประชุมค่อนข้างถี่ไปและต่อเนื่องกับงานของชุมชน และมีความกังวลในเรื่องการจัดสรรเวลา และภาระงานที่ต้องทำ ผลการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ราบรื่นสามารถแก้ไขปัญหาของงานได้

     

    50 45

    6. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ( ครั้งที่ 1 )

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2015 เวลา 08:30-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนสมาชิก
    2. นายมาโนชสายทองผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงกิจกรรมหลักในวันนี้คือการลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยง
    3. พี่เลี้ยงที่เป็นคณะทำงานและอสม.แต่ละกลุ่มชี้แจง ทำความเข้าใจในรายละเอียดของพื้นที่ที่จะลงสำรวจในความรับผิดชอบ กลุ่มละ 50 หลังคาเรือน เส้นทางในการเดิน สิ่งที่ต้องตระเตรียมสำหรับการเดินทาง การระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจจเกิดขึ้นได้ เช่นสุนัขกัด การลื่นล้ม และรายละเอียดของการสัมภาษณ์ ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วนคือข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมด้านการบริโภค การออกกำลังกาย และเน้นให้ทุกคนได้ให้ความสำคัญกับการพูดคุยถึงผลกระทบของการเป็นโรค คือ ความทุกข์ของการเป็นโรคและความสุขของการไม่เป็นโรค
    4. สรุปการทำงาน ปัญหา อุปสรรคและวางแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ในการลงพื้นที่ผู้ร่วมกิจกรรมได้ข้อมูลที่ชัดเจนของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 150 คน กลุ่มเป้าหมาย 100 คน
    2. ได้แผนที่ชุมชนผู้เป็นโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยง
    3. เกิดกระบวนการกลุ่ม ความเอื้ออาทร ช่วยเหลือกันในการทำงาน
    4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ

     

    30 30

    7. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ( ครั้งที่ 2 )

    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ใหญ่มาโนช สายทอง ทบทวนการดำเนินงาน สอบถามปัญหา การปฏิบัติงานครั้งที่แล้ว ชี้แจงกิจกรรมหลักของวันนี้และ ร่วมวางแผนการสำรวจข้อมูลผู้ป่วย
    2. แบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่มตามที่จัดไว้ครั้งที่แล้ว พี่เลี้ยงประจำกลุ่มแต่ละกลุ่มพบปะ พูดคุยสมาชิกและร่วมวางแผนเส้นทางการสำรวจ ต่อจากคราวที่แล้ว
    3. แยกย้ายปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
    4. รวมกลุ่ม สรุปผลการทำงาน ปัญหา อุปสรรค และนัดหมายการทำงานครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปของการทำกิจกรรมสำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2 คือ

    1. ได้ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงที่ชัดเจนขึ้นอีก 70 คน
    2. เกิดแผนที่ชุมชนผู้ป่วยโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้น
    3. กลุ่มสภาผู้นำรู้จักปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    4. เกิดกระบวนการกลุ่ม ช่วยเหลือ เอื้ออาทรกันในการทำงาน
    5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ

     

    30 30

    8. สำรวจข้อมูลผุ้ป่วยดรคเรื้อรัง ( ครั้งที่ 3 )

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2015 เวลา 08:30-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ใหญ่มาโนช สายทอง เปิดการประชุมและกล่าวถึงการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับปริมาณงานในความรับผิดชอบ ซักถามปัญหาในการทำงาน และให้แต่ละกลุ่มรายงานความก้าวหน้าของงาน
    2. ทบทวนรายละเอียดกิจกรรมที่ต้องทำ
    3. รวมกลุ่ม แยกย้ายออกปฏิบัติงาน
    4. สรุปผลการทำงานและนัดหมายการทำงานครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ข้อมูลผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น 45 คน
    2. ได้แผนที่ชุมชนผู้เป็นโรคเรื้อรัง
    3. เกิดกระบวนการกลุ่ม มีการวางแผนการทำงาน และ การมีส่วนร่วม
    4. เสริมสร้างสัมพันธภาพ และลดช่องว่างระหว่างผู้ป่วยและกลุ่มสภาผู้นำ

     

    30 30

    9. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ( ครั้งที่ 4 )

    วันที่ 4 พฤศจิกายน 2015 เวลา 08:30-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์หลักของการสำรวจ ข้อมูลผู้ป่วยที่จะให้ชุมชนได้มีการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพที่
      ชัดเจนและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ พร้อมทั้งสรุปการดำเนินงานสำรวจข้อมูลทั้ง 3 ครั้ง
    2. กลุ่มสภาผู้นำรายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมตามแผนและทบทวนกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อ
    3. รวมกลุ่ม แยกย้ายออกปฏิบัติงาน
    4. สรุปผลการทำงานและนัดหมายการทำงานครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการสำรวจข้อมูลใน 3 วัน ได้จำนวนคนที่สำรวจ 195 คน ซึ่งมีทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มปกติ สำหรับโรคเรื้อรังที่เป็น คือโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และโรคอื่นๆ
    • ผลการสำรวจในครั้งที่ 4
    1. ได้ข้อมูลผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น 45 คน
    2. ได้แผนที่ชุมชนผู้เป็นโรคเรื้อรังชัดเจน
    3. เกิดกระบวนการกลุ่ม มีการวางแผนการทำงาน และ การมีส่วนร่วม
    4. เสริมสร้างสัมพันธภาพ และลดช่องว่างระหว่างผู้ป่วยและกลุ่มสภาผู้นำ

     

    30 30

    10. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 2

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2015 เวลา 13:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ใหญ่มาโนชสายทองกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์หลักของการประชุมสภา ครั้งที่ 2 คือจะมีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 12 ครั้ง
    3. ร่วมวางแผนการทำกิจกรรม
    4. รายงานผลการทำงานที่ผ่านมากิจกรรมสำรวจข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้ร่วมกิจกรรมรับทราบการดำเนินกิจกรรมประชุมสภา เดือนละ 1 ครั้ง และต้องมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 80%
    2. ในการประชุมครั้งนี้มีการปรึกษาหารือ เรื่องของการสำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง 4 ครั้งซึ่งมีจำนวน 240 คน และเรื่องอื่นๆของชุมชน
    3. มีเอกสารรายงานการทำกิจกรรมทุกครั้ง
    4. มีเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
    5. ส่งรายงานความก้าวหน้าในเวลาที่กำหนด

     

    50 57

    11. การอบรมเขียนรายงานและจัดการเอกสารการเงิน

    วันที่ 17 พฤศจิกายน 2015 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 09.00-10.00 น. ระบบติดตามโครงการของสจรส.มอ.และการจัดทำรายงานโครงการ หลักการ/สาระสำคัญของการจัดทำรายงานโครงการ
    • 10.00-11.00 น. การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
    • 11.00-12.00 น. การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
    • 12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    • 13.00-16.00 น. แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 45 คน จากจังหวัดกระบี่ 11 โครงการ และภูเก็ต 5 โครงการ
    2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 4 คน ของโครงการสานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้อง

     

    2 4

    12. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 3

    วันที่ 5 ธันวาคม 2015 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. 13.00 น.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    2. ผู้ใหญ่มาโนช สายทอง ประธานเปิดการประชุม แจ้งภารกิจงานสำคัญของชุมชนดำเนินการ คือ กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดถนนหนทางเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวา
    3. รายงานผลการดำเนินโครงการสานสายใยรักบ้านไม้ขาวฯ
    4. ผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งประธานเขตทุกเขตส่งข้อมูลการสำรวจผู้ป่วยโรคเรื้อรังทีประธานโครงการก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 3 ประจำเดือนธันวาคม 2558
    2. ในการประชุมกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ 50 คน มีผูัเข้าร่วมกิจกรรมจริง จำนวน 62 คน
    3. การประชุมครั้งนี้ได้รายงานผลการเข้ารับการอบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงินของโครงการแก่ผู้เข้าประชุมมีการพูดคุย ปรึกษาหารือเรื่องงานของโครงการ ซึ่งมีกิจกรรมย่อย45 กิจกรรม ได้ดำเนินการไปแล้ว12 ครั้ง และแจ้ง เรื่องการทำความสะอาดถนนหนทางในชุมชนเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวันที่ 5 ธันวาคม
    4. รายงานผลการดำเนินโครงการสานสายใยรักบ้านไม้ขาวฯ ในการอบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน ของคณะทำงานที่จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 17พ.ย.58ผลการประเมินติดตามโครงการเป็นที่น่าพอใจ
    5. ได้มีการจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้อง

     

    50 62

    13. วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ

    วันที่ 11 ธันวาคม 2015 เวลา 08:30-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงกระบวนการทำงาน ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และให้แก้ไขรายละเอียดของข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์
    2. แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มเพื่อร่วมพูดคุย ศึกษาในรายละเอียดของข้อมูลผู้ป่วยที่จัดเก็บ
    3. ร่วมกันสรุปเป็นแผนที่ชุมชนคนที่เป็นโรคเรื้อรัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ความทุกข์ ของคนที่เป็นโรค และความสุขของคนที่ไม่เป็นโรค จำนวน 240 คน
    2. ผลจากการสำรวจและคัดกรองเป้าหมายประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไปในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านไม้ขาว จำนวน 240 หลังคาเรือนสรุปได้ดังนี้
    • พบกลุ่มปกติจำนวน 140 คน คิดเป็นร้อยละ 58.33
    • พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยรายใหม่จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 41.67

    3.ผลลัพธ์การดำเนินงานเกิดความชัดเจนในข้อมูลสำหรับการออกปฏิบัติงานในครั้งต่อๆไป

    • เขต 1 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 27 คน (จากจำนวน 60 หลังคาเรือนของแต่ละเขต)
    • เขต 2 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 26 คน
    • เขต 3 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 29 คน
    • เขต 4 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 18 คน

    4.ได้แผนที่ชุมชนคนที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านไม้ขาว จำนวน100 คน

    5.มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจากการลงพื้นที่ในการสำรวจข้อมูลผู้ป่วย

     

    50 51

    14. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 4

    วันที่ 8 มกราคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดประชุมสภาผู้นำและกลุ่มเป้าหมาย
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดประชุม

    วาระการที่1

    • เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 5 ล้านของชุมชนยังไม่ผ่านการอนุมัติ
    • ประชุมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน วันที่16 ม.ค. ที่กรุงเทพฯ

    วาระที่2

    • การบริหารจัดการขยะในครัวเรือนของกลุ่มสิ่งแวดล้อมชุมชนกลุ่มเป้หมาย 48 หลังคาเรือน

    วาระที่ 3

    • ติดตามการดำเนินงานบริหารจัดการขยะของเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม อบต.ไม้ขาว
    • ทบทวนและแก้ไขปฏิทินงานโครงการสานสายใยรัก
    • วางแผนดำเนินการจัดเวทีประชาคมเพื่อทำแผนปฏิบัติการควบคุมและจัดการโรคเรื้อรัง
    • สรุปการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการและนัดหมายงานครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการประชุมสภาประจำเดือนมกราคม
    2. มีผู้เข้าร่วมประชุม จากคณะกรรมการหมู่บ้าน คนผู้แทนชุมชนจากกลุ่มต่างๆ เช่น นักเรียนครู อสม. กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้นำศาสนาจำนวน
    3. ในการประชุมมีการปรึกษาหารือ ทบทวนปฏิทินงานโครงการ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็นและการวางแผนดำเนินการจัดเวทีประชาคมเพื่อทำแผนปฏิบัติการควบคุมและจัดการโรคเรื้อรัง ในด้านการประสานงาน อาหาร การจัดนิทรรศการและรายงานการขับเคลื่อนงานโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
    4. มีรายงานเอกสารผลการทำกิจกรรมทุกครั้ง
    5. มีเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
    6. ส่งรายงานความก้าวหน้าในเวลาที่กำหนด
    7. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชนและมีการเชื่อมโยงประสานกันระหว่างกลุ่มและเครือข่าย

     

    50 43

    15. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 5

    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดประชุมสภาผู้นำและกลุ่มเป้าหมายจำนวน 51 คน
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดประชุมและเสนอข้อคิดเห็น

    วาระการประชุมที่1

    • แจ้งการมอบป้ายแก่ครัวเรือนดีเด่นในการเป็นต้นแบบด้านการจัดการขยะในครัวเรือน โดยรองนายกอบต.ไม้ขาว
    • การดำเนินงานโครงการสิ่งแวดล้อมให้บูรณาการอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์
    • การดำเนินนโยบายเมืองสวย นำ้ใส ให้ทุกเขตในหมู่บ้านดำเนินกิจกรรมเน้นด้านความสะอาดของหมู่บ้านด้านสิ่งแวดล้อม

    วาระที่2

    • รับรองรายงานการประชุม

    วาระที่3

    • การเพิ่มเติมรายชื่อสมาชิกของกลุ่มสิ่งแวดล้อมที่เข้าร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการขยะ
    • การสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆในการบริหารจัดการขยะ

    วาระที่ 4

    • ทบทวนและแก้ไขปฏิทินงานโครงการสานสายใยรัก
    • วางแผนดำเนินการจัดเวทีประชาคมเพื่อทำแผนปฏิบัติการควบคุมและจัดการโรคเรื้อรัง
    • สรุปการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการด้วยผลงานนิทรรศการ
    • นัดหมายงานครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการประชุมสภาประจำเดือนกุมภาพันธ์
    2. มีผู้เข้าร่วมประชุม จากกลุ่มผู้สูงอายุ 16 คน นักเรียน 5คน อสม.6 คน คณะทำงาน 9 คน เยาวชน 15 คน รวมทั้งสิ้น 51 คน
    3. ในการประชุมมีการปรึกษาหารือ ทบทวนปฏิทินงานโครงการ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็นและการวางแผนดำเนินการจัดเวทีประชาคมเพื่อทำแผนปฏิบัติการควบคุมและจัดการโรคเรื้อรัง ในด้านการประสานงาน อาหาร การจัดนิทรรศการและรายงานการขับเคลื่อนงานโครงการด้วยผลงานนิทรรศการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
    4. มีรายงานเอกสารผลการทำกิจกรรมทุกครั้ง

     

    50 51

    16. คืนข้อมูลสู่ชุมชนเพื่อจัดทำแผนจัดการและควบคุมโรคเรื้อรังร่วมกัน

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. 08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    2. 09.00-10.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ใหญ่มาโนช สายทอง นำเสนอผลสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคของโครงการแก่ชุมชน
    3. 10.30-11.30 น. ชุมชนร่วมจัดทำเวทีข้อมูล ร่างการทำแผนปฏิบัติการควบคุมและจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน
    4. 11.30-12.30 น. ชุมชนร่วมกันกำหนดกติกาในการจัดการโรคเรื้อรังของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดกระบวนการชุมชนในการควบคุมดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    2. ชุมชนมีข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง จำนวน 240 คน
    3. มีข้อมูลความทุกข์ สุขของคนที่เป็นโรคและไม่เป็นโรค มีแผนที่โรคเรื้อรัง จำนวน 100 คน
    4. เกิดกติกาชุมชน จำนวน 4 ข้อ ดังนี้
    • ให้ลดการบริโภคหวาน มัน เค็ม ในครัวเรือน โรเรียน วัดและอื่นๆ
    • ในครัวเรือน และในโรงเรียนต้องมีการออกกำลังกายร่วมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
    • ห้าม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะและในที่มีป้ายกำหนด
    • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องได้รับการตรวจสุขภาพทุกเดือน

    5.เกิดเวทีในการเรียนรู้ข้อมูล

    6.เกิดร่างการทำแผนปฏิบัติการควบคุมและจัดการโรคเรื้อรัง

     

    230 230

    17. จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมการจัดการโรคเรื้อรัง

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. มีการประชุมโดยมีตัวแทนกลุ่มต่างๆและผูันำกลุ่มเข้าร่วม จำนวน 41 คน
    2. ผู้รับผิดชอบโครงการได้สอบถามปัญหาในการทำงานและ ปรึกษาเรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการ
    3. นำข้อมูลที่ได้จากเวทีคืนข้อมูลมาร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการ
    4. วางแผนกำหนดวัน เพื่อทำกิจกรรมตามแผน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้แผนปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน
    2. มีกำหนดการวันลงทำกิจกรรมตามแผน
    3. ชุมชนเกิดทักษะในการนำข้อมูลมาใช้ในการจัดการโรคเรื้อรัง
    4. มีการขับเคลื่อนงานโครงการอย่างต่อเนื่อง
    5. มีกระบวนการชุมชนในการจัดการความรู้
    6. ชุมชนเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของชุมชน

     

    40 41

    18. จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ตัวแทนและผู้นำกลุ่มเข้าร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน โดยเชิญผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ อสม. ปราชญ์ชุมชน แกนนำชุมชน ผู้สูงอายุ สาธารณสุข ผู้นำศาสนา และคนในชุมชน จำนวน 39 คน
    2. นำข้อมูลที่ได้จากเวทีคืนข้อมูลมาจัดทำแผนปฏิบัติการ และวางแผนกำหนดวัน เพื่อทำกิจกรรมตามแผน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ชุมชนมีทักษะในการจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ควบคุมและจัดการโรคเรื้อรัง
    2. ได้แผนปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน
    3. มีกำหนดการวันลงทำกิจกรรมตามแผน
    4. ชุมชนเกิดทักษะในการนำข้อมูลมาใช้ในการจัดการโรคเรื้อรัง
    5. มีการขับเคลื่อนงานโครงการอย่างต่อเนื่อง
    6. มีกระบวนการชุมชนในการจัดการความรู้
    7. ชุมชนเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของชุมชน

     

    40 39

    19. พบพี่เลี้ยงเพื่อปิดโครงการ งวดที่1

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบโครงการนำเอกสารข้อมูลการดำเนินโครงการ พบพีเลี้ยง และรับการตรวจสอบเพื่อปิดโครงการ งวดที่ 1
    2. พี่เลี้ยงให้คำแนะนำและชี้ข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆที่ต้องดำเนินการให้เรียบร้อย
    3. คืนเงินค่าเปิดบัญชีโครงการให้กับผู้รับผิดชอบโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้รับผิดชอบจำนวน 2 คนได้รับคำแนะนำและเข้าใจข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข
    2. ผู้รับผิดชอบงาน จำนวน 2 คน สามารถแก้ไข ปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    3. ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพีี่เลี้ยง

     

    2 2

    20. จัดทำรายงานปิดงวดที่ 1

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบงานกาารเงิน การรายงานข้อมูล
    2. แนะนำ ให้คำปรึกษางานที่ยังบกพร่องหรือต้องแก้ไข
    3. ให้แก้ไขงานที่ไม่ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผู้เข้าร่วมการปิดงวดที่1ในจังหวัดภูเก็ต 5 โครงการ จำนวนผู้เข้าร่วมจริงของหมู่ 4 บ้านไม้ขาว มีจำนวน 4 คน
    2. ผู้เข้าร่วมการปิดงวดได้รับการชี้แนะ ตรวจสอบเอกสาร และมีความรู้ ความเข้าใจในการทำรายงานและการเงิน
    3. ผู้เข้าร่วมปิดงวดสามารถแก้ไขงานตามที่ได้รับคำชี้แนะ คือ แก้ไขการตั้งเบิกค่าวิทยากร 1 รายการ ลงลายมือชื่อของนักเรียนให้ครบทั้งเช้าหรือบ่าย เพิ่มเติมลายมือชื่อของคณะสภาผู้นำ ในการประชุมชี้แจงโครงการอีก 1 ใบ เพราะมีการประชุมย่อยก่อนเปิดประชุมชี้แจงโครงการ

     

    3 4

    21. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 6

    วันที่ 4 มีนาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม เวลา 13.00 น.ณ อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 2 หมู่ที่ 4 บ้านไม้ขาว นายมาโนช สายทองผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานในที่ประชุมได้กล่าวถึงงานต่างๆของชุมชน และรายงานผลการดำเนินโครงการในงวดที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นายมาโนช สายทองผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานในที่ประชุมได้กล่าวถึงงานต่างๆของชุมชนที่ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการเช่น การปรับปรุงถนน ไฟฟ้าในหมู่บ้านงานด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษาดูงานของกลุ่มต่างๆ
    • ได้รายงานผลการ ปิดงวดที่ 1 ด้าน การใช้จ่ายเงินในโครงการ การรายงานผลการดำเนินงานในเว๊ปไซด์ ข้อเสนอแนะจากเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.ในเรื่องของค่าตอบแทนวิทยากร และหลักฐานประกอบ ค่าใช้จ่าย และสรุปผลการทำงานที่ผ่านมาให้ชุมชนรับทราบ หลังจากนั้นได้วางแผนร่วมกันในการทำกิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ เรื่องการเฝ้าระวังดูแลและการป้องกันโรคเรื้อรัง ในด้านการเชิญวิทยากร การจัดเลี้ยงอาหารและกำหนดวันนัดหมาย

     

    50 55

    22. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังดูแลและการป้องกันโรคเรื้อรัง

    วันที่ 5 มีนาคม 2016 เวลา 08:30 -12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน จำนวน 136 คน เข้าประชุมพร้อมกัน ณ ห้องประชุม ศาลาอเนกประสงค์ ชั้น 2 หมู่ที่4 บ้านไม้ขาว ประธานในที่ประชุม นายมาโนช สายทอง กล่าวเปิดการประชุมและแนะนำ วิทยากร จำนวน 2 ท่านจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและสมาชิกจากองค์กรและหน่วยงานต่างๆที่เข้าร่วมกิจกรรม ผอ.รพสต นางนิตยาสิงขรกล่าวถึงแนวโน้มของโรคที่เพิ่มขึ้น การดูแลรักษาป้องกัน โรคเรื้อรังและการสร้างเสริมสุขภาพ นางพัชราภรณ์ โกมุทผล เจ้าหน้าที่ประจำรพสต.บ้านไม้ขาว ให้การอบรมเรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การควบคุมโรคด้วยอาหาร การออกกำลังกาย และโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน ความดันโลหิต ประธานเปิดโอกาสให้ซักถามและกล่าวปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเอง
    2. ได้ผู้ที่มีความรู้ที่สามารถจัดการกับโรคตามแผนปฏิบัติการ
    3. มีกลุ่มสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น
    4. มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง

     

    130 138

    23. กิจกรรมสายใยรักสานสัมพันธ์ครอบครัว ครั้งที่ 1 (ลูกชักชวนพ่อแม่ออกกำลังกาย)

    วันที่ 8 มีนาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.ณ ห้องประชุมศาลาอเนกประสงค์ ชั้น2 หมู่ที่ 4 บ้านไม้ขาว นายมาโนช สายทอง ผู้รับผิดชอบโครงการประธานได้กล่าวทบทวนกิจกรรมสายใยรักสานสัมพันธ์ครอบครัว ครั้งที่1 ของกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 100 คน ในการใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการดูแล ช่วยเหลือ ให้ลูกชักชวนพ่อแม่ออกกำลังกาย
    2. ให้ประธานทั้ง4 เขตและทีมสภาผู้นำ สอบถามข้อมูล และ เก็บรวบรวมสมุดบันทึกการออกกำลังกาย เพื่อตรวจสอบ ผลการปฏิบัติของกลุ่มเป้าหมายหลัก ก่อนวันประชุม
    3. แต่ละเขตรายงานผลจากการสอบถามและข้อมูลการปฏิบัติใน สมุดบันทึก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การออกกำลังกายของทุกครอบครัว จะใช้เวลาในตอนเย็นเนื่องจากว่างจากภาระกิจ
    2. ขั้นตอนการออกกำลังกายส่วนมากยังไม่ถูกต้อง คือไม่มีการอบอุ่นร่างกาย หรืออบอุ่นร่างกายน้อยไป
    3. การออกกำลังกายร่วมกัน ทำได้ไม่สมำ่เสมอ เนื่องจากเวลาของพ่อแม่และลูกไม่ตรงกัน

     

    100 100

    24. กิจกรรมสายใยรักสานสัมพันธ์ครอบครัว ครั้งที่ 2 จัดทำบันทึก (ดูแลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในครัวเรือน

    วันที่ 9 มีนาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.ณ ห้องประชุมศาลาอเนกประสงค์ ชั้น 2 หมู่ที่ 4 บ้านไม้ขาว นายมาโนช สายทอง ผู้รับผิดชอบโครงการประธานได้กล่าวทบทวนกิจกรรมสายใยรักสานสัมพันธ์ครอบครัว ครั้งที่ 2 ของกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 100 คน ในการใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการดูแล การบริโภคอาหารในครัวเรือน
    2. คณะกรรมการ สภาผู้นำ และประธานทั้ง4 เขต ลงพื้นที่ สอบถามข้อมูล และ เก็บรวบรวมสมุดบันทึกการออกกำลังกาย เพื่อตรวจสอบ ผลการปฏิบัติของกลุ่มเป้าหมายหลัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน100 คน
    2. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 65 %มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเอง และได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหาร
    3. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 65 %มีความพึงพอใจในการเปลี่ยนแปลงของตนเอง
    4. สรุปรายงานผลจากการติดตาม สอบถามข้อมูลและการปฏิบัติในสมุดบันทึกดังนี้
    • กลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวนร้อยละ 65 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค โดยลดการกิน หวาน มัน เค็มลง
    • แต่ละครอบครัวรู้จักเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกต้องตามหลักโภชนาการ
    • ครอบครัว ร้อยละ 50 มีเวลาออกกำลังกายได้ไม่สมำ่เสมอ เนื่องจากภารกิจการงาน
    • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรู้สึกพึงพอใจในการควบคุมโรคของตนเองจากการเข้าร่วมโครงการ

     

    100 100

    25. กิจกรรมสายใยรักสานสัมพันธ์ครอบครัว ครั้งที่3 (ควบคุมอาการโรคเรื้อรังโดยใช้นวัตกรรม ชา 5 ถ้วยฯ)

    วันที่ 10 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 100 คน
    2. ใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ในการควบคุมอาการของโรคเรื้อรัง ด้วยการใช้นวัตกรรม ชา 5 ถ้วย และ นำ้ปลา 5 ถ้วย
    3. นัดหมายวันปฏิบัติงานตามปฏิทินของแต่ละเขตให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
    4. ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ให้ผู้ป่วยทดสอบความหวานด้วยการชิมนำ้ชา ซึ่งมีอยู่ 5 สกุลแล้วบอกว่าชอบชาถ้วยใหน ค่าความหวานก็จะอยู่ในระดับนั้น เช่น 4.1 สกุลอ่อนหวานคือ นำ้ชา 1 ถ้วย รสจืด ค่าความหวานอยูในระดับ 1 4.2.สกุลหวานนิดนำ้ชา 1 ถ้วยที่มีนำ้ตาลผสมอยู่ 1 ช้อนชา ค่าความหวานอยูในระดับ 2 4.3.สกุลหวานแหววนำ้ชา 1 ถ้วยที่มีนำ้ตาลผสมอยู่ 2 ช้อนชา ค่าความหวานอยูในระดับ 3 4.4. สกุลหวานเย็นเป็นนำ้ชา 1 ถ้วยที่มีนำ้ตาลผสมอยู่ 3 ช้อนชา ค่าความหวานอยูในระดับ4 4.5. สกุลหวานฉำ่เป็นนำ้ชา 1 ถ้วยที่มีนำ้ตาลผสมอยู่ 1 ช้อนชา ค่าความหวานอยูในระดับ 5 ผู้ถูกทดสอบ ชอบชาถ้วยใหนก็จะแสดงค่า ระดับการบริโภคความหวาน และชื่อเรียกตามสกุลนั้นๆ
    5. เช่นเดียวกับการทดสอบค่าการบริโภคความเค็ม 5 ระดับด้วยการใช้ ไข่5ฟอง ตามชื่อสกุล ดังนี้ 5.1 สกุลจืดเค็ม เป็นไข่เจียวรสจืดที่ไม่มีโซเดียมเป็นส่วนผสม ค่าความเค็มอยู่ในระดับ 1 5.2 สกุลเค็มกร่อย ไข่เจียวที่เติมเกลือแค่ 1/4ช้อนชา ไขมัน 1/2 ช้อนชา ค่าความเค็มอยู่ในระดับ 2 5.3 สกุลเค็มหน่อย ไข่เจียวที่เติมเกลือแค่ 2/4ช้อนชา ไขมัน 1 ช้อนชา ค่าความเค็มอยู่ในระดับ 3 5.4 สกุลเค็มปี๊ด ไข่เจียวที่เติมเกลือแค่ 3/4 ช้อนชา ไขมัน2ช้อนชาค่าความเค็มอยู่ในระดับ 4 5.5 สกุลเค็มปี๋ไข่เจียวที่เติมเกลือแค่ 1 ช้อนชา ไขมัน 3ช้อนชาค่าความเค็มอยู่ในระดับ 5
    6. เมื่อได้ค่าระดับ แล้วก็ให้บันทึกลงในสมุดบันทึกการบริโภค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มเป้าหมาย(ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ) จำนวน 100 คน
    2. กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองและรู้จักการควบคุมโรคได้ดีขึ้น
    3. กลุ่มผู้ป่วยได้รู้ค่าระดับการบริโภคหวาน มัน เค็มของตนเอง
    4. กลุ่มผู้ป่วย สามารถนำการทดสอบพื้นฐานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ จากการให้ผู้ป่วยทดสอบความหวานด้วยการชิมนำ้ชา ซึ่งมีอยู่ 5 สกุลแล้วบอกว่าชอบชาถ้วยใหน ค่าความหวานก็จะอยู่ในระดับนั้น เช่น

    4.1 สกุลอ่อนหวานคือ นำ้ชา 1 ถ้วย รสจืด ค่าความหวานอยูในระดับ 1

    4.2.สกุลหวานนิดนำ้ชา 1 ถ้วยที่มีนำ้ตาลผสมอยู่ 1 ช้อนชา ค่าความหวานอยูในระดับ 2

    4.3.สกุลหวานแหววนำ้ชา 1 ถ้วยที่มีนำ้ตาลผสมอยู่ 2 ช้อนชา ค่าความหวานอยูในระดับ 3

    4.4. สกุลหวานเย็นเป็นนำ้ชา 1 ถ้วยที่มีนำ้ตาลผสมอยู่ 3 ช้อนชา ค่าความหวานอยูในระดับ4

    4.5. สกุลหวานฉำ่เป็นนำ้ชา 1 ถ้วยที่มีนำ้ตาลผสมอยู่ 1 ช้อนชา ค่าความหวานอยูในระดับ 5

    ผู้ถูกทดสอบ ชอบชาถ้วยใหนก็จะแสดงค่า ระดับการบริโภคความหวาน และชื่อเรียกตามสกุลนั้นๆ

    5.เช่นเดียวกับการทดสอบค่าการบริโภคความเค็ม 5 ระดับด้วยการใช้ ไข่5ฟอง ตามชื่อสกุล ดังนี้

    5.1 สกุลจืดเค็ม เป็นไข่เจียวรสจืดที่ไม่มีโซเดียมเป็นส่วนผสม ค่าความเค็มอยู่ในระดับ 1

    5.2 สกุลเค็มกร่อย ไข่เจียวที่เติมเกลือแค่ 1/4ช้อนชา ไขมัน 1/2 ช้อนชา ค่าความเค็มอยู่ในระดับ 2

    5.3 สกุลเค็มหน่อย ไข่เจียวที่เติมเกลือแค่ 2/4ช้อนชา ไขมัน 1 ช้อนชา ค่าความเค็มอยู่ในระดับ 3

    5.4 สกุลเค็มปี๊ด ไข่เจียวที่เติมเกลือแค่ 3/4 ช้อนชา ไขมัน2ช้อนชาค่าความเค็มอยู่ในระดับ 4

    5.5 สกุลเค็มปี๋ไข่เจียวที่เติมเกลือแค่ 1 ช้อนชา ไขมัน 3ช้อนชาค่าความเค็มอยู่ในระดับ 5

    6.เมื่อได้ค่าระดับ แล้วก็ให้บันทึกลงในสมุดบันทึกการบริโภค

     

    100 100

    26. กิจกรรมสายใยรักสานสัมพันธ์ครอบครัว ครั้งที่ 4 ตรวจสุขภาพกลุ้่มเป้าหมาย

    วันที่ 11 มีนาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.ณ ห้องประชุมศาลาอเนกประสงค์ ชั้น 2 หมู่ที่ 4 บ้านไม้ขาว นายมาโนช สายทอง ผู้รับผิดชอบโครงการประธานได้กล่าวทบทวนกิจกรรมสายใยรักสานสัมพันธ์ครอบครัว ครั้งที่ 4 ของกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 100 คน ในการใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการดูแล การตรวจสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย
    2. คณะกรรมการ สภาผู้นำ และประธานทั้ง4 เขต ลงพื้นที่ สอบถามข้อมูล และ เก็บรวบรวมสมุดบันทึกการออกกำลังกายและการบริโภค เพื่อตรวจสอบ ผลการปฏิบัติของกลุ่มเป้าหมายหลัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มเป้าหมาย(ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ) จำนวน 100 คน
    2. กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองและรู้จักการควบคุมโรคได้ดีขึ้น
    3. กลุ่มผู้ป่วย สามารถนำการทดสอบพื้นฐานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    4. สรุปรายงานผลจากการติดตาม สอบถามข้อมูลและการปฏิบัติในสมุดบันทึกดังนี้
    • กลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวนร้อยละ 75 ได้รับการตรวจสุขภาพ ชั่งนำ้หนัก วัดความดันโลหิต และตรวจนำ้ตาลในเลือด สมำ่เสมอเดือนละ 1 ครั้ง
    • ในช่วงที่เริ่มเข้าโครงการกลุ่มผู้ป่วยได้มีการเปลี่ยนแปลงตนเองในทางที่ดีขึ้น เชนนำ้หนักตัว ความดันโลหิตลดลง
    • ครอบครัวรู้สึกพึงพอใจในการควบคุมโรคของตนเองจากการเข้าร่วมโครงการ

     

    100 100

    27. อบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร

    วันที่ 14 มีนาคม 2016 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 8.20 น.นักเรียนเข้าแถวทำกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธง หลังการเคารพธงชาติ 20 นาที ผู้เข้าประชุมมาลงทะเบียนเพื่อรายงานตัวและเริ่มประชุมเวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุม โรงเรียนบ้านไม้ขาว นายมาโนช สายทอง ผู้ใหญ่บ้าน ประธานกล่าวเปิดการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง การบริโภคอาหาร แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ครู นักเรียนผู้ประกอบการอาหารในโรงเรียนจำนวน 130 คน และสภาผู้นำ 20 คนและแนะนำวิทยากรให้การอบรมจำนวน 2 ท่าน คือนางสาวประภาพรรณ เพ็ชรประสมกูล ผอ.โรงเรียนบ้านไม้ขาว และนางสาวนัฏฐพร แซ่หลี ครูด้านโภชนาการบรรยายในหัวข้ออาหารปลอดภัยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมของนักเรียน และอันตรายจากอาหารรส หวาน มัน เค็ม เวลา11.00 น. นายมาโนช แนะนำการลงบันทึกข้อมูล ในสมุดบันทึกสุขภาพของนักเรียนและขอความร่วมมือไม่จำหน่าย อาหารหวาน มัน เค็มในโรงเรียนและรอบบริเวณโรงเรียนพร้อมแจกเอกสารความรู้แก่ผู้รับการอบรม 12.00 น พักทานอาหาร เริ่มตรวจสุขภาพนักเรียน ชั้นป.1 -6 ด้วย ชา 5 ถ้วยในในภาคบ่าย พร้อมร่วมในการจัดทำแผนการออกกำลังกาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เด็ก ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน ผู้ปกครองคนวัยทำงาน 50 คน รวม 200 คน มีความเข้าใจในการป้องกันดูแล เรื่องอาหารหวาน มัน เค็ม
    2. นักเรียน มีการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน วันละ 20 นาที
    3. ผู้ประกอบการเลือกจำหน่ายอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
    4. ผู้ปกครองสามารถเลือกซื้อและประกอบอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้
    5. ผลการตรวจสุขภาพนักเรียน จำนวน 87 คนมีดังนี้
    • ด้านนำ้หนัก นำ้หนักเกินเกณฑ์ จำนวน9คน ตำ่ากว่าเกณฑ์ 14 คน ค่อนข้างมาก(ท้วม) 5คนนำ้หนักตามเกณฑ์ 59คน
    • ด้านการบริโภค ค่าความหวาน ปกติ จำนวน19คน ค่อนข้างเสี่ยง16คนเสี่ยง27คนเสี่ยงสูง25คน
    • ด้านการบริโภค มัน เค็มปกติ จำนวน61คน ค่อนข้างเสี่ยง11คนเสี่ยง6คนเสี่ยงสูง9คน
    • ความดันโลหิตปกติ จำนวน83คนความดันโลหิตสูง4คน

    ปัญหา

    1. อัตราข้อมูลนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายรองที่วางไว้ จำนวน 130 คนไม่ได้จำนวนตามเป้า เนื่องจากนักเรียนย้ายสถานศึกษา ณ วันที่ทำกิจกรรมมีจำนวนจริง 87 คน /ทำตามสภาพจริง
    2. การการบันทึกข้อมูลการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพกลุ่มเป้าหมายรอง วางเป้าไว้12ครั้งใน1ปีแต่เนื่องจากลำดับการทำกิจกรรมเริ่มทำในเดือนมีนาคม เมษายน พฤษภาคมหลังจากนั้นนักเรียนปิดเทอม จึงสรุปผลการตรวจสุขภาพได้เพียง 3 เดือน (ปกติวางเป้าไว้ 6 เดือนแรกจะสรุปครั้งหนึ่ง)

     

    150 200

    28. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 7

    วันที่ 5 เมษายน 2016 เวลา 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    13.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    13.30-16.00 น.ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดการประชุม และดำเนินการประชุมตามวาระดังนี้

    • วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ ประธานแจ้งกำหนดการจัดประเพณีสวดกลางบ้านของชุมชน
    • วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุม
    • วาระที่ 3 ประธานติดตามงานโครงการสานสายใยรักฯกิจกรรมสายใยรักสานสัมพันธ์ครอบครัว
    • วาระที่ 4 เสนอพิจารณาวางแผนการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการ
    • วาระที่ 5 ประธาน แจ้งการเยี่ยมชมหมู่บ้านของหน่วยงานต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการประชุมสรุปดังนี้

    • กำหนดการจัดประเพณีสวดกลางบ้านของชุมชน ในวันที่ 8 เมษายน 2559 เวลา 18.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ ม.4 มีการนิมนต์พระมาสวดเพื่อขับไล่เสนียดจัญไร ภูติผี โรคภัยไข้เจ็บ ความชั่วร้าย และเพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นการสร้างความสามัคคีคี และการพบปะสังสรรค์ รุ่งขึ้น นิมนต์พระมาสวดมนต์และฉันภัตตาหาร และรับประทานอาหารร่วมกัน
    • ติดตามงานโครงการสานสายใยรักฯกิจกรรมสายใยรักสานสัมพันธ์ครอบครัวที่ยังค้างส่งงาน ให้รายงานการดำเนินงานให้ทราบและกำหนดการส่งงาน 17 เมษายน นี้

     

    50 52

    29. แลกเปลี่ยนเรียนรู้

    วันที่ 17 เมษายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • 07.00 น.-7.30 น.รับลงทะเบียน
    • 07.30 น.-9.30 น.ตวรจสุขภาพตรวจเลือด ชั่งนำ้าหนัก วัดความดัน วัดระดับความหวาน มัน เค็ม
    • 09.30 น.-09.45 น.พิธีเปิดโดยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 นายมาโนชสายทอง
    • 09.45 น.-10.00 น.พักรับประทานอาหารว่าง
    • 10.00 น.-10.30น.กลุ่มเด็ก เยาวชน นำเสนอข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวที่
    • 10.30 น.- 11.00 น. การนำเสนอละครบนเวทีของกลุ่มเด็ก เยาวชน
    • 11.00 น.- 11.30 น. การประกวดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
    • 11.30 น.-12.00น. ประเมินผลการจัดกิจกรรม สรุปและปิดงาน
    • 12.00 น.เป็นต้นไปพักรับประทานอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้ที่ได้รับรางวัล เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลทั่วไปในเรื่องการกินอาหาร
    2. เกิดกลุ่มเยาวชนอาสาสมัครบ้านไม้ขาว เพื่อการจัดการโรคเรื้อรัง
    3. เกิดกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพ
    4. เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ได้แง่คิดหลายมุมมองและการพัฒนาสติปัญญา
    5. ได้ประสบการณ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชิวิตประจำวัน
    6. ได้ข้อสรุป ความคิดเห็นและความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้

      6.1 ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์กิจกรรม ความพึงพอใจ เฉลี่ย ร้อยละ 74

      6.2 ความเหมาะสมของวัน เวลาในการจัดกิจกรรม ความพึงพอใจเฉลี่ย ร้อยละ 75

      6.3 ความเหมาะสมของสถานที่ ความพึงพอใจเฉลี่ย ร้อยละ 88

      6.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม ความพึงพอใจเฉลี่ย ร้อยละ 83

      6.5 คุณภาพการจัดกิจกรรมโดยภาพรวม ความพึงพอใจเฉลี่ย ร้อยละ 75

      6.6 ความต้องการให้จัดกิจกรรมในลักษณะเดียวกันนี้อีก ความพึงพอใจเฉลี่ย ร้อยละ 69

    • ความคิดเห็นเพิ่มเติมของชุมชน ต้องการให้มีกิจกรรมต่อเนื่อง

     

    200 200

    30. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 8

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    12.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    13.00-14.00 น. ประธานเปิดการประชุม มีการแจ้งเรื่องต่างๆของชุมชน

    14.00-15.00 น. รับประทานอาหารว่าง

    15.00-16.00 น. ประธานสรุปการดำเนินกิจกรรมโครงการสานสายใยรัก ฯ ที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการประชุม ดังนี้

    • แจ้งเรื่องต่างๆของชุมชน เช่น งานโครงการสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ โครงการฝึกงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ การสำรวจอาชีพและรายได้ของพัฒนากร
    • สรุปการดำเนินกิจกรรมโครงการสานสายใยรัก ฯที่ผ่านมา และงบประมาณสนับสนุนในงวดที่ 2
    • วางแผนการทำกิจกรรมการติดตามประเมินผลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน

     

    50 48

    31. ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลผู้ป่วย ครั้งที่1

    วันที่ 26 พฤษภาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    13.00-13.30 น. กลุ่มสภาผู้นำ จนท.รพสต. กลุ่มอสม. คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน30 คน ร่วมประชุม ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจในรายละเอียดกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติจำนวน 4 ครั้งและนัดหมายการทำกิจกรรมในวันต่อไป 13.30-16.00 น. กลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมเอกสาร ข้อมูลแผนที่ชุมชนคนเป็นโรคเรื้อรัง แยกย้ายกันลงพื้นที่เป็น 4 กลุ่มเพื่อติดตามผู้ป่วย สอบถามปัญหาและการดูแลสุขภาพว่าดีขึ้นหรือไม่ตามบันทึกสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ จากการประชุมร่วมกัน
    2. ได้อัตราข้อมูลผู้ป่วยที่ชัดเจนตามสมุดบันทึก จำนวน18 คน
    3. ได้ข้อมูลที่จะจัดเก็บเกี่ยวกับปัญหาและสุขภาพผู้เป็นโรคเรื้อรังที่ชัดเจน พบว่า 15 คน เป็นโรคความดัน ปวดเมื่อย และเบาวหวาน ส่วนอีก 3 คนสุขภาพดี
    4. ผู้ป่วยที่ดูแลสุขภาพได้ดี เป็นแบบอย่างแก่บุคคลทั่วไป ใน 3 คนที่มีสุขภาพดีนั้น ได้ออกกำลังกายโดยการทำสวนเป็นประจำ ชอบทำงานสังคม ไม่เครียด และปลูกผักไว้ทานเองที่บ้าน
    5. มีการรวมกลุ่มติดตามประเมินผลผู้ป่วย อย่างต่อเนื่อง

     

    30 30

    32. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 9

    วันที่ 5 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    13.00-13.30น.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    13.30 -14.30 น.รายงาน สรุปผลการทำกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา

    14.30-14.40 น.พักทานอาหารว่าง

    14.40-16.00 น.แจ้งงานของชุมชนและติดตามผลการดำเนินกิจกรรมติดตามประเมินผลผู้ป่วยโรคเริ้อรัง และนัดหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการประชุมประจำเดือน มิถุนายน 2559 2. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 % 3.ในการประชุมมีการปรึกษาหารือเรื่องของโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน 4. มีรายงานเอกสารการทำกิจกรรม 5.มีเอกสารการเงินที่ถูกต้อง 6.ส่งรายงานความก้าวหน้าในเวลาที่กำหนด

     

    50 51

    33. ติดตามประเมินผลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ครั้งที่ 2

    วันที่ 26 มิถุนายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    13.00-13.30 น. กลุ่มสภาผู้นำ จนท.รพสต. กลุ่มอสม. คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน30 คน ร่วมประชุม ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจในรายละเอียดกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในจำนวน 4 ครั้งและนัดหมายการทำกิจกรรมในวันต่อไป 13.30-16.00 น. กลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมเอกสาร ข้อมูลแผนที่ชุมชนคนเป็นโรคเรื้อรัง แยกย้ายกันลงพื้นที่เป็น 4 กลุ่มเพื่อติดตามผู้ป่วย สอบถามปัญหาและการดูแลสุขภาพว่าดีขึ้นหรือไม่ตามบันทึกสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ จากการประชุมร่วมกัน
    2. ได้อัตราข้อมูลผู้ป่วยที่ชัดเจนตามสมุดบันทึก พบผู้ป่วยเป็นโรคความดัน และเบาหวานจำนวน 10 ครัวเรือน
    3. ได้ข้อมูลที่จะจัดเก็บเกี่ยวกับปัญหาและสุขภาพผู้เป็นโรคเรื้อรังที่ชัดเจน โดยจะประสานความร่วมมือกับทีม อสม.ให้เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด

     

    30 30

    34. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 10

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    13.00-13.30น.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    13.30 -14.30 น.แจ้งงานของชุมชนโครงการประชารัฐร่วมใจสร้างหมู่บ้าน ชุมชนมั่นคงปลอดยาเสพติด

    14.30-14.40น.พักทานอาหารว่าง

    14.40-16.00น. ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมติดตามประเมินผลผู้ป่วยโรคเริ้อรัง และนัดหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการประชุมประจำเดือน กรกฎาคม2559
    2. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 %
    3. ในการประชุมมีการปรึกษาหารือเรื่องของโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน ดังนี้
    • แจ้งงานของชุมชนโครงการประชารัฐร่วมใจสร้างหมู่บ้าน ชุมชนมั่นคงปลอดยาเสพติด
      สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ
    • รายงานผลการดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้าน ปรับปรุงซ่อมแซมโรงสีข้าวทำไปได้ ประมาณ 60% งบการทำโครงการของชุมชนผ่านการอนุมัติจากอบต.แล้ว
    • การแห่เทียนพรรษา 30 ก.ค. หล่อเทียน 14 ส.ค. นัดตกแต่งเทียน 15 ส.ค.แห่เทียนพรรษา ในเวลา 08.30 น. ใส่เสื้อทีมสิ่งแวดล้อม

     

    50 48

    35. ติดตามประเมินผลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ครั้งที่ 3

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 13.00 น.กลุ่มสภาผู้นำ จนท.รพสต. อสม. คณะกรรมการ จำนวน 26คน นัดหมายพบปะทำความเข้าใจรายละเอียดการทำงาน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ในการลงพื้นที่ ครั้งที่ 3
    2. 13.30 น. แบ่งกลุ่มลงพื้นที่เป็น 4 กลุ่ม เพื่อติดตามอาการผู้ป่วยและสอบถามปัญหาการดูแลสุขภาพว่าดีขึ้นหรือไม่หลังการติดตามในครั้งที่ 2 ตามบันทึกสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมายจำนวน26 คนมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ จากการประชุมและทำงานร่วมกัน
    2. ได้อัตราข้อมูลผู้ป่วยที่ชัดเจนตามสมุดบันทึก จำนวน 230 คน เท่าเดิม
    3. ได้ข้อมูลที่จะจัดเก็บเกี่ยวกับปัญหาและสุขภาพผู้เป็นโรคเรื้อรัง พบผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งจำนวน 3 คน ขณะนี้กำลังรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล พร้อมกับพูดคุยให้กำลังใจ
    4. ผู้ป่วยส่วนหนึ่งดูแลสุขภาพได้ดี เป็นแบบอย่างแก่บุคคลทั่วไป โดยจะกินผักทุกมื้อ และจะมีเมนูอาหารเป็นผักทำทานกันในครอบครัว รวมทั้งปลูกผัก เลี้ยงไก่ไว้ทานเอง จึงเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรง

     

    30 26

    36. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 11

    วันที่ 5 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    13.00 น.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    13.30-14.00 น.ประธาน เปิดการประชุม แนะนำเจ้าหน้าที่จากสาธารณสุขที่เข้าร่วม

    14.30-15.00 น. ติดตามและรายงานผลการดำเนินกิจกรรมติดตามประเมินผลผู้ป่วยครั้งที่ 3อื่นๆ และนัดหมาย

    วาระอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการประชุมประจำเดือน สิงหาคม2559
    2. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 43 คน
    3. ผลการประชุม มีดังนี้
    • ประธาน อสม.แจ้งกำหนดการอบรมการบำบัดแพทย์แผนไทยวันที่27-28 ส.ค. 59 ในเวลา 09.00-16.00 น.มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์

    ประธานแจ้ง

    • สถานที่หน่วยเลือกตั้งที่ 7, 8 และการลงประชามติ 7 ส.ค.
    • การส่งเอกสารหลักฐานสำหรับการสำรวจผลกระทบจากสนามบิน ประเภทตกสำรวจ หรือยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ หรือประเภทไม่มีเลขที่บ้าน ให้ส่งเอกสารได้ที่ผู้ใหญ่บ้าน
    • การจัดกิจกรรมวันแม่จัดที่ร.ร.หงษ์หยกบำรุงวันที่ 12 ส.ค. เวลา08.00 น.พร้อมกันถวายพานพุ่มสักการะ

    ติดตามและรายงานผลการดำเนินกิจกรรมติดตามประเมินผลผู้ป่วยครั้งที่ 3 อื่นๆ และนัดหมาย

    • การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย หมดเขต 15 ส.ค. แจ้งได้ที่ธ.กรุงไทย ออมสิน ธกส. หลักฐาน บัตรประชาชน
    • แจ้งมติที่ประชุมบ้านสีขาวปลอดยาเสพติด

    วาระอื่นๆ

    • นัดหมายสมาชิก อสปร.ในวันที่ 9 ส.ค. 59
    • การใช้สิทธิหลักประสุขภาพ ยังคงเดิม
    • งดใช้อาคารอเนกประสงค์ 15-16 ส.ค.
    • แจ้งการทำโครงการ 3 โครงการของสงเคราะห์การทำสวนยาง

     

    50 46

    37. ติดตามประเมินผลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ครั้งที่ 4

    วันที่ 26 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เวลา 13.00 น.กลุ่มสภาผู้นำ จนท.รพสต. อสม. คณะกรรมการ จำนวน 28 คน นัดหมายพบปะสรุปและทำความเข้าใจรายละเอียดการทำงาน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ในการลงพื้นที่ ครั้งที่ 4
    2. 13.30 น. แบ่งกลุ่มลงพื้นที่เป็น 4 กลุ่ม เพื่อติดตามอาการผู้ป่วยและสอบถามปัญหาการดูแลสุขภาพว่าดีขึ้นหรือไม่หลังการติดตามในครั้งที่ 3 ตามบันทึกสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมายจำนวน28 คนมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ จากการประชุมและทำงานร่วมกัน
    2. ได้อัตราข้อมูลผู้ป่วยไม่ชัดเจนตามสมุดบันทึก มีผู้ป่วยลดลงจำนวน 10 คน จากเดิม 230 คน
    3. ได้ข้อมูลที่จะจัดเก็บเกี่ยวกับปัญหาและสุขภาพผู้เป็นโรคเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดัน
    4. ผู้ป่วยที่ดูแลสุขภาพได้ดี เป็นแบบอย่างแก่บุคคลทั่วไป จำนวน 3 คน
    5. มีการรวมกลุ่มติดตามประเมินผลผู้ป่วย อย่างต่อเนื่อง
    6. มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมโครงการในทางที่ดีขึ้น โดยลดทานอาหารที่มีรสชาติหวาน และ มันจำนวน 50 ครัวเรือน
    7. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนของกลุ่มสภาผู้นำ

     

    30 28

    38. ประชุมสภาผุ้นำครั้งที่ 12

    วันที่ 5 กันยายน 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 13.00 น.
    2. ประธานเปิดการประชุม 13.30 น. แจ้งหมายกำหนดงานการประชุม การอบรมต่างๆของชุมชน
    3. รายงานสรุปผลการทำโครงการเกษตรของกลุ่มปลูกเมลอน กลุ่มขายข้าวแกง และกลุ่มทำปุ๋ยหมัก
    4. ติดตามรายงานการทำกิจกรรมสานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรังและสรุปปิดการทำกิจกรรมทั้งหมด พร้อมนัดหมายการร่วมกิจกรรมกับสจรส.มอ. 3-5 ตุลาคม 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีการประชุมประจำเดือนกันยายน2559
    2. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 48 คน
    3. ในการประชุมมีการปรึกษาหารือเรื่องของโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
    4. มีรายงานเอกสารการทำกิจกรรม
    5. มีเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
    6. ส่งรายงานความก้าวหน้าในเวลาที่กำหนด

     

    50 48

    39. ถ่ายภาพกิจกรรม

    วันที่ 22 กันยายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะทำงาน
    2. มอบหมายผู้รับผิดชอบโครงการ และเจ้าหน้าที่การเงินดำเนินการ บันทึกภาพ
    3. จัดทำหลักฐานเบิกจ่าย
    4. รายงานกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีภาพถ่ายกิจกรรม จำนวน 10 ภาพ
    2. มีเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
    3. สามารถนำส่งผลผลิตและรายงานความก้าวหน้าได้ในเวลาที่กำหนด

     

    2 4

    40. งานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 5 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รับแจ้งกำหนดการเข้าร่วมเปิดบูธ นวัตกรรม ชา 5 ถ้วย น้ำปลา 5 ถ้วย กำหนด3-5 ตุลาคม 2559 งบประมาณ 3000,
      บาท
    2. แจ้งรายชื่อผู้เข้าร่วมเปิดบูธ จำนวน3 คน คือ นายฤทธิ์ ศรีสมุทร นางสายฝน แปลกฤทธิ์ นางจิตรสายทิพย์ กิจประสาน
    3. ประสานพี่เลี้ยงเรื่องที่พัก และติดต่อรถสำหรับการเดินทาง
    4. ร่วมประชุมวางแผนการทำงานและนัดหมายวันเวลาเดินทาง
    5. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ตามแผนที่วางไว้
    6. ออกเดินทางและเข้าร่วมกิจกรรม3-5 ตุลาคม 2559
    7. เดินทางกลับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โครงการมีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดเวลา
    2. จำนวนผู้เข้าร่วมลงชื่อเข้ารับการตรวจสอบด้วยนวัตกรรม วันแรกจำนวน75 คน วันที่สอง 35 คน วันที่สาม เข้าร่วมรับ ฟังการประชุม
    3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีความรู้อย่างหลากหลายเพิ่มขึ้นและนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้
    4. ผู้เข้าชมบูธนวัตกรรม มีความพึงพอใจ เห็นคุณค่า ให้ความสำคัญและตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพ สังเกตจาก
      การเข้าร่วม ทดสอบ สอบถาม ข้อมูล และลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรมตามเอกสารที่แนบ
    5. เห็นความชัดเจนอย่างต่อเนื่องของชุมชนในการมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ
    6. เห็นการแสดงออกในทางบวกต่อการระดมพลังของชุมชนในการขับเคลื่อนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพ

     

    3 11

    41. ปิดงวด/จัดทำรายงาน

    วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
    2. ปรับปรุงแก้ไขเรียบเรียงข้อมูล
    3. จัดทำเล่มรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ 1 เล่ม
    2. มีรายงานที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
    3. สามารถนำส่งรายงานได้ทันตามกำหนดเวลา
    4. มีงานโครงการที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการ

     

    3 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างความ เข้มแข็งของสภาผู้นำ
    ตัวชี้วัด : 1.มีสภาผู้นำหมู่บ้าน รวมจำนวน 30 คน 2.มีการประชุมทุก 1 เดือน จำนวน 12 ครั้ง 3.มีผู้เข้าร่วมในการประชุม อย่างน้อย 24 คน 4.มีการพูดคุยโรคเรื้อรังและปัญหาอื่นๆในชุมชน

    1.มีรายชื่อสภาผู้นำ30 คน มีบันทึกการประชุมประจำเดือน และรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    2 มีการเฝ้าระวังควบคุมและจัดการโรคเรือรังใน ชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.ลดจำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังจาก 230 คนให้เหลือ 100 คน 2.เกิดแกนนำเด็กและเยาวชนในการเป็นกลุ่มอาสาสมัครในการ จัดการโรคเรือรัง จำนวน 30 คน
    1. สามารถลดกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังจาก 230 คนให้เหลือ 100 คน
    2. มีการเปลี่ยนแปลงกลไกที่มีแกนนำเด็กและเยาวชนเข้ามาร่วมในการเป็นกลุ่มอาสาสมัครในการ จัดการโรคเรื้อรัง จำนวน 30 คน
    3 สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.เด็ก เยาวชนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน 100 คน

    ชุมชนสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้โดยมีเด็กและเยาวชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนจำนวน 100 คน

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.บันทึกรายงานกิจกรรม 2.ภาพถ่ายสถานที่และป้ายไวนิลเขตปลอดบุหรี่ 3.ปฏิทินการดำเนินงานและรายงานกิจกรร

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างความ เข้มแข็งของสภาผู้นำ (2) มีการเฝ้าระวังควบคุมและจัดการโรคเรือรังใน ชุมชน (3) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและชุมชน (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง

    รหัสโครงการ 58-03992 รหัสสัญญา 58-00-1982 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพ

    การสำรวจข้อมูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดกระบวนการกลุ่ม และการมีส่วนร่วม

    สำรวจข้อมูล , ประชุมผู้นำ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    มีการประชุมคณะสภาผู้นำร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน

    ประชุมสภาผู้นำ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดการรวมกันกันในชุมชนเพื่อทำกิจกรรม

    กิจกรรมออกกำลังกาย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    มีการดูแลสุขภาพ การปรับพฤติกรรมการทานอาหารของผู้ป่วยเรื้อรัง

    กิจกรรมโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

    กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภค

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

    กิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ลดละเลิกอบายมุขเพื่อสุขภาพที่ดี

    กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภค

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

    กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภค

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

    กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภค

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    กิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว

    กิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกฏกติการในการดูแลสุขภาพ

    การประชุมสภาผู้นำ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    สภาองค์กรชุมชน, สวัสดิการการชุมชนในพื้นที่

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    เรียนรู้การวางแผนการแก้ปัญหาชุมชน

    การประชุมสภาผู้นำ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการใช้ทรัพยากรบุคคล

    กิจกรรมสภาผู้นำ อาสาสมัครดูแลสุขภาพ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ประชุมสภาผู้นำ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีกฏ กติกาในการดูแลสุขภาพ

    กติกาการดูแลสุขภาพ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    มีการสำรวจข้อมูล เพื่อประกอบการตัดสินใจ

    การสำรวจข้อมูล

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

    กิจกรรมการบริโภคอาหาร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    รู้จักการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง

    กิจกรรมเฝ้าติดตามประเมินผู้ป่วยเรื้อรัง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    รู้จักการใช้ประโยชน์จากสิ่งรอบตัว

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    มีความรักความสามัคคีกันในกลุ่ม ครอบครัว

    กิจกรรมสานสัมพันธ์ครอบครัว

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    มีการประชุมร่วมกัน

    ประชุมสภาผู้นำ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สานสายใยรักบ้านไม้ขาวร่วมจัดการโรคเรื้อรัง จังหวัด ภูเก็ต

    รหัสโครงการ 58-03992

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย มาโนช สายทอง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด