task_alt

ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ชุมชนเสาธงทองผักสวนครัวปลอดสารพิษขยะมีชีวิตร่วมคิดร่วมทำ

ชุมชน ชุมชนเสาธงทอง ทม.ปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03949 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2152

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศร่วมกับสจรส.มอ.และพี่เลี้ยง

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับทราบรายละเอียดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการมาฝึกลงข้อมูลจริงบนเวบคนใต้สร้างสุข ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจ ในระเบียบ ข้อตกลงของการทำโครงการสสส. พอสมควร ส่วนการบันทึกข้อมูล ผู้รับผิดชอบงานบันทึกข้อมูลบนเวบ เข้าใจ และสามารถทำได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและผู้รับผิดชอบด้านข้อมูลคอมพิวเตอร์ร่วมรับฟังการแนะนำการทำปฏิทินของโครงการพร้อมทั้งรับฟังเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดการจัดการการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

กรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและผู้รับผิดชอบด้านข้อมูลคอมพิวเตอร์ร่วมรับฟังการชี้แจงระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ ระเบียบการเงินโครงการ การจัดเก็บเอกสารหลักฐาน และดำแนะนำการทำปฏิทินของโครงการพร้อมทั้งรับฟังเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดการจัดการการเงิน  การฝึกการลงปฎิทินโครงการ 

 

2 2

2. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่1

วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเกิดกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ร่วมแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-มีการทบทวนการการทำงานทุกเดือน -วางแผน มอบหมายงาน -การรายงานผลการดำเนินงานให้สมาชิกทราบ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทุกคนได้รับขัอมูลที่จะทำจริงและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็ก  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา13.00 น. เริ่มลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการคือนส.สายไหม ทองสุก ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการนัดประชุมในวันนี้เพื่อจะจัดตั้งสภาผู้นำและให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันคัดเลือกคณะทำงาน

 

20 20

3. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการร่วมกิจกรรมโครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 18 ตุลาคม 2558 เวลา 08:30ถึง16.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชาวเสาธงทองนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้ ลดรายจ่ายได้เก็บออม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ร้อยละ 75 ของผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ -ร้อยละ 75ของผู้เข้าร่วมโครงการทำปฎิทินการดำเนินงานได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 108 คนได้พูดจาซักถามในที่ประชุมยังเสนอให้มีการจัดตั้งแกนนำจำนวน 20 คน ได้แก่ 1.นางอรพักตร์ ศรีนวลแก้ว 2.นางหนูนินทร์ แดงเอียด 3.นางสมใจ แก้วมณี 4.นางภัคชุดา วัชรานุวิทย์ 5.นางสาวปิยะรัตน์ หวังจันทร์ 6.นางสาวนิชาฏา พงศ์ไพโรจน์ 7.นางสาวจันนา จันทวงศ์ 8.นางวันรัตน์ แก้วนก9.นางสัญชุรี ฉิมวงศ์ 10.นางสาวบังอร ศิริสมบัติ 11.นางพรรัตน์ ไชยยา 12.นางรัตนา สุทธินวกุล 13.นางจันทิมา คงนก 14.นางสุเพ็ญ ขำเกิด 15.นางวารี มุสิกะธรรม 16.นางวันดี ปลอดวงศ์ 17.นายวิชัย ชัยนุมาศ18.นางวาสนา แท่นหยู 19.นส.สิรินทร กู้เมือง 20.นางสมพร เรืองโรจน์ มีผลสรุปที่สำคัญดังนี้คือ

  1. ร้อยละ 75 ของผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการโดยมีผู้เข้าร่วมจริงครบ 100 คนตามเป้าหมาย
  2. ร้อยละ 75ของผู้เข้าร่วมโครงการทำปฎิทินการดำเนินงานได้กรรมการดำเนินโครงการและผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจและร่วมกันทำปฏิทินโครงการได้
  3. ร้อยละ75ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถพูดคุยซักถามในเรื่องของตัวกิจกรรม การกำหนดวันเวลาสถานที่ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำความเข้าใจการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชน  รวมถึงรายละเอียกกิจกรรมโครงการ เพื่อให้คนรับรู้เช้าใจและให้ความร่วมมือโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เข้าร่วมโครงการ -จัดทำปฏิทินการดำเนินงาน เพื่อทำแผนติดตามโครงการควบคู่

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มลงทะเบียนเวลา8.30น.โดยมีชาวบ้าน เยาวชน แกนนำอสม. คณะกรรมการชุมชนโดยประธานชุมชนได้เชิญนส.นัฐนันท์จันทราทิพย์รองนายกเทศบาลเมืองปากพนังกล่าวเปิดงานหลังจากนั้นนส.สายไหมทองสุกคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยงโครงการ ได้พูดบอกชาวบ้านที่ร่วมประชุมถึงที่มาที่ไปของโครงการงบประมาณที่ได้รับจากสสส.โดยหลักๆจะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน การทำกิจกรรมร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความเข้าใจการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชนและการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนทุกคนที่เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจซักถามจดบันทึก

 

100 108

4. ประชุมสภาผู้นำชุมชนกรรมการชุมและชนทุกเดือนครั้งที่2

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนในกลุ่มสภาผู้นำชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-มีการทบทวนการการทำงานทุกเดือน -วางแผน มอบหมายงาน -การรายงานผลการดำเนินงานให้สมาชิกทราบ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปการประชุมสภาผู้นำเสาธงทอง ครั้งที่ 2 มีดังนี้

  1. รายชื่อกรรมการและคณะทำงานโครงบการ จำนวน 20 คน พร้อมบทบาทหน้าที่ที่แบ่งกันรับผิดชอบ
  2. แบ่งพื้นที่เป็นซอย 6 ซอยในชุมชนเสาธงทองและให้มีผู้รับผิดชอบเป็นกรรมการประจำซอย คอยชี้แจง ติดตาม แจ้งข่าวสารโครงการ
  3. มีการนัดวันประชุมกรรมการชุมชน กรรมการสาธารณสุข และ กรรมการโครงการ แบบบูรณาการประชุมพร้อมกัน ทุกวันที่ 10 ของเดือน
  4. กำหนดประเด็นคุยและลงมติ ให้ชัดเจนในการประชุมแต่ละครั้ง เพื่อให้กรรมการได้มีการเตรียมตัวและเสนอความคิดเห็นมาล่วงหน้า
  5. ในการประชุมที่เป็นการตกลงมติ ของชุมชน หรือกติกา ชุมชน ให้ถือตามองค์ประชุม คือเกินครึ่ง และ รับรองมติทุกครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็ก  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็ก  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน โดยครั้งแรกประชุมในประเด้นการคัดเลือกกรรมการดำเนินงานในโครงการ โดยให้กรรมการชุมชนเสนอชื่อผุ้ที่สามารถเป็นแกนนำมีความเสียสละและมีความร่วมมือ เสียสละเวลา ร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมโครงการได้

 

20 20

5. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการใหชุมชนทราบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันประชุมและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินการจำนวน 2 จุด ได้แก่ บริเวณประชุมที่ศาลาวัดใน และ ในชุมชนหน้าถนนซอยอินไท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตั้งแผ่นป้ายรณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเสาธงทอง ทำป้ายติด 2 จุด

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันประชุมและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินการจำนวน 2 จุด

 

2 5

6. สภาผู้นำประชุมสัญจรแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพชุมชน ภายในจังหวัด

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสนับสนุนชุมชนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผู้นำเกิดพลังในการพัฒนาและสามารถนำรูปแบบการจัดการที่ดีมาขยายผล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปสำคัญ ในการเดินทางประชุมสภาผู้นำเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกผัก และการจัดการชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้

  1. ทีมกรรมการได้ร่วมฟังบรรยายจากประสบการณ์จริง ของ ลุงสุธรรม สังข์ผอม เกิดการยอมรับและความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์มากขึ้น
  2. ได้เดินชมวิธีการปลูกผักหลากหลายรูปแบบ กระตุ้นให้เกิดแนวคิดการนำไปใช้ที่ชุมชน
  3. มีการพบปะแลกเปลี่ยนอย่างเป็นกันเองทั้งในกลุ่มที่ไปศึกษาดูงานด้วยกัน และกับกลุ่มสภาผู้นำของ บ้านเทพรักษา เพื่อการปรึกษาและขอข้อมูลเรียนรู้เพิ่มเติม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

โดยการร่วมประชุมกับสภาผู้นำ อ.เชียรใหญ่ ชมแปลงผักปลอดสารพิษพิชิตโรค และ ตลาดน้ำคลองแดน อ.ระโนด และเดินทางชมและศึกษาการจัดการชุมชนตลาดน้ำคลองแดน จำนวน 1 วัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการชุมชน และการจัดการตลาดน้ำโดยสภาชุมชน และเกิดภาคีเครือข่ายในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

กรรมการชุมชน 5 คน ผุ้สูงอายุ 5 วัยทำงาน 10 คน ร่วมกันเดินทางโดยรถตู้จ้างเหมา เดินทางสัญจรร่วมประชุมกับสภาผู้นำ ตำบลหัวลำพู อ.บ้านหัวไทร บ้านนายสุธรรม สังข์ผอม  โดยกรรมการโครงการ ได้ จัดประเด้นศึกษาดูงานเกี่ยวกับ การสร้างแปลงผักปลอดสารพิษพิชิตโรค แบบยกร่องสูงกันน้ำท่วม  การเลี้ยงไก่ไข่  และ การเลี้ยงปลา  แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปัจจัยที่ทำให้เกิดควยามสำเร็จในการปลูกผักอย่างต่อเนื่องครบวงจร  จากนั้น ช่วงบ่าย ตลาดน้ำคลองแดน อ.ระโนด และเดินทางชมและศึกษาการจัดการชุมชนตลาดน้ำคลองแดน จำนวน 1 วัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการชุมชน และการจัดการตลาดน้ำโดยสภาชุมชน และเกิดภาคีเครือข่ายในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

20 20

7. ชุมชนร่วมกันร่างข้อตกลงชุมชนเสาธงทองน่าอยู่

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30-16.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เกิดกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ร่วมแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดข้อตกลงขุมชนเสาธงทองน่าอยู่ และแผนการรักษาสิ่งแวดล้อม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปในวันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 95 คนทุกคนต่างยอมรับมติที่ประชุมโดยมีการยกมือเพื่อเป็นการแสดงการมีส่วนร่วมและมีการเสนอข้อตกลงของชุมชนดังนี้

  1. มีการประชุมร่วมกันทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน
  2. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีการทำบัญชีครัวเรือนและมีการออมเงินในกลุ่มโดยสมาชิกได้มีการคัดเลือกผู้จะมาทำหน้าที่กันเอง
  3. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะต้องปลูกผักสวนครัวที่บ้านเพื่อกินเอง
  4. ที่บ้านสมาชิกทุกคนจะต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท
  5. ทุกซอยจะต้องมีการทำน้ำหมักชีวภาพซอยละ 1 ถังโดยจะมีบ้านตัวแทนในการวางถังหมัก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ชุมชนร่วมกันร่างข้อตกลงชุมชนเสาธงทองน่าอยู่เพื่อนำไปแจ้งให้ครัวเรือนรับทราบและปฏิบัติ โดยวิธีการสำรวจความคิดเห็นจากตัวแทนครัวเรือนโดยกรรมการโครงการแบ่งกันสำรวจและนำผลการสำรวจมาประชาคมในวันประชุมสภาผู้นำเพื่อสรุปกติกาเสาธงทองน่าอยู่ และนำไปจัดทำป้ายกติกาติดประกาศชุมชนให้ทุกคนรับทราบและปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน 2. สภาชุมชน ร่วมกับกลุ่มจิตอาสารับสมัครคนเข้าร่วมกลุ่มรักเสาธงทอง และร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมดูแลคลองและสิ่งแวดล้อมในชุมชต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มลงทะเบียนเวลา08.30น.หลังจากนั้นคณะทำงานได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุมถึงเรื่องการจัดกิจกรรมในวันนี้โดยการให้ผู้เข้าร่วมเป็นผู้เสนอและบอกถึงความต้องการต่างๆในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในโครงการและเอาผลจากการแบ่งคณะทำงานลงสำรวจพื้นที่ก่อนจากนี้แล้วเพื่อมาทำประชาคมในวันประชุมด้วยจึงได้ข้อตกลงชุมชนเสาธงทองน่าอยู่

 

100 95

8. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00ถึง15.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมประชุมโครงการพัฒนาศักยภาพติดตามประเมิลผลและสังเคราะห์โครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปสำคัญดังนี้

  1. ได้รับรู้เข้าใจและได้ทบทวนเรื่องการบันทึกกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว
  2. ได้เข้าใจเรื่องใบสำคัญรับเงินและบิลเงินสดว่าแบบไหนต้องใช้กับใคร
  3. ได้รับความรู้และเข้าใจเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย
  4. ได้รับความรู้เรื่องการลงข้อมูลทางเว็บอย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

มาประชุมร่วมกับสจรสและทีมพี่เลี้ยง.เรื่องการเขียนรายงานการเงินและการหักภาษีณ.ที่จ่ายและการบันทึกกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วที่อาคารนวัตกรรมม.วลัยลักษณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงทะเบียนเวลา9.00น.เข้าห้องประชุมรับฟังการบรรยายเรื่องการเขียนรายงานโครงการแต่ละกิจกรรมใบลงทะเบียนรายชื่อผู้เช้าร่วมกิจกรรมเอกสารการเงินแต่ละประเภทใบสรุปรายงานการประชุมรูปถ่ายแต่ละกิจกรรมและการลงข้อมูลทางเว็บหลังจากนั้นพักเที่ยง เข้าห้องประชุมอีกครั้งเวลา13.00น.ฟังบรรยายต่อเรื่องการหักภาษีณ.ที่จ่ายร้อยละ1.และให้ผู้เช้าร่วมประชุมช่วยกันตรวจสอบหลักฐานของตัวเองในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งว่าถูกหรือไม่หลังจากนั้นผุ้เข้าร่วมประชุมได้ฝึกลงข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานทางเว็บ

 

2 2

9. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่3

วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 13.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดกลไกสภาผู้นำที่ร่วมแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-มีการทบทวนการการทำงานทุกเดือน -วางแผน มอบหมายงาน -การรายงานผลการดำเนินงานให้สมาชิกทราบ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมรับรู้รับทราบการทำงาน
  2. มีการมอบหมายงานให้แต่ละคนร่วมรับผิดชอบกิจกรรมออมแล้วไม่อดจดแล้วไม่จน โดยให้กรรมการช่วยกันสำรวจข้อมูลของแต่ละครัวเรือนเพื่อนำมาเป็นบทเรียนในการทำกิจกรรม
  3. ทุกคนเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับการทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็ก  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงทะเบียนเวลา13.00น.หลังจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดคุยกับสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมถึงกิจกรรมที่จะทำในเดือนนี้ได้แก่กิจกรรมออมแล้วไม่อดจดแล้วไม่จน

 

20 20

10. จัดกิจกรรม ออมแล้วไม่อดจดแล้วไม่จนร่วมกิจกรรมเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน

วันที่ 27 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30-16.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชาวเสาธงทองนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้ลดรายจ่ายได้เก็บออม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. ร้อยละ 75 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปสำคัญดังนี้

  1. สมาชิกมีความรู้และเข้าใจเรื่องเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน
  2. สมาชิกให้ความสนใจเรื่องการออมเงินมากขึ้น
  3. สมาชิกให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดีสังเกตจากการพูดคุยซักถามระหว่างผู้เข้าประชุมกับวิทยากร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เยาวชนและกรรมการโครงการร่วมกันสำรวจข้อมูลบัญชีครัวเรือนเพื่อนำมาเป็นบทเรียนในการจัดกิจกรรมและเปรียบเทียบผลหลังการจัดทำโครงการเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • จัดกิจกรรม ออมแล้วไม่อดจดแล้วไม่จนโดยเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน1วันลักษณะกิจกรรมเน้นการวิเคราะห์รายจ่ายฟุ่มเฟือย อบายมุขและเรียนรู้ประโยชน์การทำบัญชีครัวเรือน โดยนำกลุ่มเด็ก 25 คน มาร่วมกิจกรรมด้วยเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการออมคั้งแต่เด็ก

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มลงทะเบียนเวลา 08.30 น.สมาชิกมาครบเวลาประมาณ 09.00 น.ต่อจากนั้นประธานโครงการเริ่มพูดคุยกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมถึงวัตถุประสงค์หลักๆของกิจกรรมซึ่งวันนี้สมาชิกจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือนโดยมีวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์รายจ่ายฟุ่มเฟือย อบายมุขและสอนเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนตอนที่วิทยากรพูดคุยเรื่องรายจ่ายฟุ่มเฟือยก็มีการถามตอบกันแสดงความคิดเห็นกันระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมทำให้บรรยากาศในการทำกิจกรรมเป็นไปด้วยดีมีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะหลังจากนั้นวิทยากรพูดคุยซักถามได้ข้อมูลหลายๆอย่างแล้วก็เขียนข้อมูลลงบนกระดาษชาร์ดเพื่อให้สมาชิกได้เห็นภาพรวมของชุมชนไม่ว่ารายรับรายจ่ายและหนี้สินในภาพรวมของชุมชนมีมากขนาดไหนหลังจากนั้นก็พักรับประทานอาหารพอรับประทานอาหารเสร็จวิทยากรสอนเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนให้กับสมาชิกและยังมีการตกลงกันในกลุ่มสมาชิกว่าให้สมาชิกทุกคนเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์โดยให้เลือกคณะกรรมการกันเองภายในกลุ่มมีการฝากเงินออมเดือนละครั้งสมาชิกสามารถตรวจสอบหลักฐานต่างๆได้มีสมาชิกสนใจหลายๆคนให้การตอบรับและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเลิกประชุมเวลา16.30น.

 

100 100

11. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่4

วันที่ 10 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้แกนนำและคณะกรรมการเกิดกลไกสภาผู้นำร่วมแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-มีการทบทวนการการทำงานทุกเดือน -วางแผน มอบหมายงาน -การรายงานผลการดำเนินงานให้สมาชิกทราบ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปสำคัญดังนี้

  1. มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงปัญหาและอุปสรรคของแกนนำแต่ละคน
  2. สมาชิกแกนนำสามารถพูดคุยประชาสัมพันธ์โครงการได้
  3. สมาชิกแกนนำสามารถรับรู้รับทราบกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่อง
  4. สมาชิกมีเงินออมแต่ละเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็ก  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงทะเบียนเวลา13.00น.เมื่อผู้เข้าร่วมประชุมมาพร้อมกันผู้รับผิดชอบโครงการพูดคุยเกี่ยวกับการการเข้าร่วมประชุมวันนี้มีการถามถึงปัญหาอุปสรรคในการทำกิจกรรมที่ผ่านมาหลังจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการแบ่งหน้าที่ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรู้จักโครงการให้มากที่สุดช่วยกันณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ในชุมชนโดยเริ่มจากบ้านของแกนนำก่อนหลังจากพูดคุยกันเสร็จก็มีการรับฝากเงินสัจจะออมทรัพย์ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการทำกิจกรรมเดือนที่แล้ว ออมแล้วไม่อด จดแล้วไม่จนจึงตกลงกันว่าจะรับฝากเงินออมของสมาชิกทุกวันที่10ของเดือนหลังจากประชุมเสร็จ

 

20 20

12. จัดกิจกรรมเสาธงทองปลอดขยะ

วันที่ 31 มกราคม 2559 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เกิดกลไกลสภาผู้นำชุมชนที่ร่วมแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ครัวเรือนต้นแบบจำนวน75ครัวเรือนซึ่งมีความเข้าใจในการคัดแยกขยะ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสรุปสำคัญดังนี้

  1. ทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำการคัดแยกขยะได้
  2. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้เองในครัวเรือนได้
  3. สามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของสมาชิก
  4. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นต้นแบบให้กับสมาชิกในชุมชนได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดกิจกรรมเสาธงทองปลอดขยะเพื่อให้ตัวแทนครัวเรือนมีความรู้เรื่องการจัดการขยะโดยหลัก 3 r จำนวน 2 วัน โดยวันแรก เรียนรู้หลักการคัดแยกขยะมีประโยชน์อย่างไรในการลดปริมาณขยะ และลดมลพิษ โรคติดต่อ รักษาสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผุ้เข้าร่วมโครงการ
  • วันที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยะสร้างค่าโดยเชิญ ตัวแทน 40คน และรับสมัครเด็กและเยาวชนในพื้นที่ร่วมโครงการจำนวน25คน ร่วมฝึกและเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจำนวน1วันโดยเชิญวิทยา กรโดยปราชญ์ในชุมชน นำภูมิปัญญาและประสบการณ์ด้านการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักมาแนะนำ เพื่อให้เห็นต้นแบบและวิธีการง่ายๆ จูงใจให้คนร่วมทำในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มลงทะเบียนวันที่31มค.เวลา08.30น.ต่อจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดคุยถึงการร่วมทำกิจกรรมในวันนี้โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่าเสาธงทองปลอดขยะโดยใช้หลัก3rมีตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้หลักการคัดแยกขยะ การลดปริมาณขยะ การลดมลพิษและโรคติดต่อรักษาสภาพแวดล้อมหลังจากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังการบรรยายโดยวิทยากรได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซักถามกับผู้เข้าร่วมประชุมถึงกิจกรรมในวันนี้แล้วให้ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอกันว่าเราจะทำอย่างไรกับขยะในแต่ละวันก็ได้ข้อสรุปสำคัญๆดังนี้1.ขยะที่ย่อยสลายได้เช่นเศษอาหาร เศษผัก เศษปลาในครัวเรือนให้เอามาทำน้ำหมัก 2.เศษดินใบไม้แห้งและมูลสัตว์ตากแห้งที่มีอยู่ในชุมชนเอามาทำปุ๋ยหมัก 3.ขยะที่ขายได้ให้ทำการคัดแยกให้ชัดเจนก่อนขายหากเป็นขยะที่ใช้ไม่ได้ทิ้งถังขยะเทศบาล 4.ขยะมีพิษเช่นหลอดไฟ กระป๋องสีสเปรย์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ขวดยาฆ่าแมลง ขวดยาหมดอายุต่างๆเป็นต้นให้นำไปใส่ถังขยะอันตรายซึ่งถังจะมีอยู่ในชุมชนหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะเก็บไปทำลายเอง กิจกรรมย่อยวันที่1ก.พ.เริ่มเวลา09.00น.ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดพูดคุยอธิบายชาวบ้านในการทำกิจกรรมทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพหลังจากนั้นลงพื้นที่ทำน้ำหมักตามซอยต่างๆในชุมชนเพราะทำที่บ้านของสมาชิกจะสะดวกเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆมีพร้อมไม่ต้องขนย้ายไปมาให้ยุ่งยากได้ทำทั้งหมด4ซอยได้แก่ ซ.เขมาวิถี ซ.6ประชาวัฒนา ซ.ธกส.และซ.4ประชาวัฒนา สมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมือกันดีต่างสนใจในการทำซักถามเรื่องต่างๆทำไปถามไปพูดคุยกันทำให้ทุกคนสนุกกับการทำกิจกรรมในครั้งนี้

 

100 93

13. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่5

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนากล่มให้มีความเข้มแข็งและเรียนรู้การเพาะเห็ด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-มีการทบทวนการการทำงานทุกเดือน -วางแผน มอบหมายงาน -การรายงานผลการดำเนินงานให้สมาชิกทราบ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อสรุปเรื่องการเตรียมกิจกรรมในเดือนกพ.เรื่องการปลูกทุกอย่างที่กินและกินทุกอย่างที่ปลูก และเรื่องการเตรียมเอกสารการเงิน การทำรายงานให้เรียบร้อยสมบูรณ์เพื่อให้ทางพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่สจรส.ม.อ. ช่วยตรวจสอบเพื่อจัดทำรายงานการเงินและรายงานผลการดำเนินงานงวดที่ 1 ในวันที่ 13 - 14 ก.พ. 59

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็ก  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมสภาผู้นำชุมชนทุกเดือน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม.เยาวชน,เด็ก  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง จำนวน 15 คน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวของมาร่วมประชุม อีก 5 คน รวม 20 คน เพื่อวางแผน มอบหมายงาน ทบทวนการทำกิจกรรม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สม่ำเสมอทุกเดือน

 

20 20

14. การประชุมจัดทำรายงานงวดที่1

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายงานและสรุปยอดค่าใช้จ่ายของงวดที่1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
  2. เจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำและได้แก้ไขเรียบร้อยแล้ว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วันที่13ก.พ.59ที่ม.วลัยลักษณ์เริ่มลงทะเบียนเวลา9.00น.รับฟังคำชี้แจงและนำเสนอผลการดำเนินงานจนถึงเวลาเที่ยงหลังจากนั้นส่งหลักฐานให้พี่เลี้ยงตรวจสอบและมาติดตามแก้ไขเพิ่มเติมในวันที่14

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่13ก.พ.59ที่ม.วลัยลักษณ์เริ่มลงทะเบียนเวลา9.00น.รับฟังคำชี้แจงและนำเสนอผลการดำเนินงานจนถึงเวลาเที่ยงหลังจากนั้นส่งหลักฐานให้พี่เลี้ยงตรวจสอบและมาติดตามแก้ไขเพิ่มเติมในวันที่14

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 36 14                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 200,100.00 85,360.00                  
คุณภาพกิจกรรม 56 42                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ไม่มี

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่6 ( 10 มี.ค. 2559 )
  2. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่7 ( 10 เม.ย. 2559 )
  3. สภาผู้นำ ลงติดตามพื้นที่เพื่อให้กำลังใจและช่วยเหลือชุมชน ไตรมาสละ ครั้ง ( 15 เม.ย. 2559 )
  4. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่8 ( 10 พ.ค. 2559 )
  5. ร่วมคิดร่วมทำร่วมใจ สกัดโรค ด้วยการปลูกทุกสิ่งที่กิน ( 21 พ.ค. 2559 )
  6. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่9 ( 10 มิ.ย. 2559 )
  7. กรรมการติดตามสนับสนุนพื้นที่ครั้งที่ 2 ( 10 มิ.ย. 2559 )
  8. การปลูกฝังจิตสำนึก โดยจัดเสวนา ลดขยะลดรายจ่าย ลดมลพิษต่อสภาพแวดล้อมชุมชน ( 17 มิ.ย. 2559 )
  9. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ บัญชีครัวเรือนให้อะไรแก่เสาธงทอง และจัดตั้งกลุ่มออม เสาธงทอง ( 2 ก.ค. 2559 )
  10. ประชุมสภาผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชนทุกเดือนครั้งที่10 ( 10 ก.ค. 2559 )
  11. ชุมชนจัดกิจกรรมเสาธงทองสามัคคี ชมวารี พายเรือปลูกผัก ( 15 ก.ค. 2559 )

(................................)
นางสาว สายไหม ทองสุก
ผู้รับผิดชอบโครงการ