แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้าง

ชุมชน บ้านท่าช้าง ม.5 ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03863 เลขที่ข้อตกลง 58-00-216

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับ สจรส.มอครั้งที่1

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับ สจรส.มอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถลงบันทึกปฏิทินโครงการได้ถูกต้องครบถ้วนทุกกิจกรรม และได้ทดลองลงบันทึกกิจกรรมของโครงการในพื้นที่ในเวบไซด์ซึ่งยังทำได้ไม่ครบถ้วนและไม่ครอบคลุมตรงประเด็น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับ สจรส.มอ ในเรื่อง
1. การลงบันทึกกิจกรรมของโครงการในพื้นที่ในเวบไซด์ 2.การลงบันทึกปฏิทินโครงการ 3. การทำใบเบิก-จ่าย ใบเสร็จรับเงิน ในกิจกรรมต่างๆ 4. การถ่ายภาพกิจกรรมที่สื่อความหมายได้ดี และการลงภาพถ่ายกิจกรรมในเวปไซด์

กิจกรรมที่ทำจริง

  เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ  อบรมให้ความรู้ แก่คณะกรรมการโครงการในเรื่อง
1. การลงบันทึกกิจกรรมของโครงการในพื้นที่ในเวบไซด์ 2.การลงบันทึกปฏิทินโครงการ 3. การทำใบเบิก-จ่าย ใบเสร็จรับเงิน ในกิจกรรมต่างๆ 4. การถ่ายภาพกิจกรรมที่สื่อความหมายได้ดี และการลงภาพถ่ายกิจกรรมในเวปไซด์

 

2 3

2. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการครั้งที่ 1

วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00-16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจ้งรายละเอียดโครงการ การดำนินการตามกิจกรรมแก่คณะกรรมการและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการสามารถบริหารจัดการโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีคณะกรรมการโครงการผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้างจำนวน 20 คนและทุกคนรับทราบที่มาของโครงการโดยงบสนับสนุนจาก สสส
  2. คณะกรรมการรับรู้และยินดีดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการอย่างต่อเนื่องตลอดโครงการ
  3. มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงาน และแบ่งโซนการรับผิดชอบพื้นที่อย่างชัดเจน เป็น10 โซนโดยใช้แนวถนนในหมู่บ้านเป็นแนวแบ่งโซน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ และการดำนินการตามกิจกรรมแก่คณะกรรมการเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. นายวิรัตน์ ดำเนินผล ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดโครงการ เกี่ยวกับ ที่มา วัตถุประสงค์กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมการดำเนินโครงการ ปฏิทินโครงการ การประเมินผล และงบประมาณโครงการ โดยมีนางอุบล อากาศโชติ เป็นเลขาบันทึกการประชุม 2.มีแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบของคณะกรรมการ และแบ่งโซนพื้นที่ในการทำกิจกรรมเป็น 10โซน 3ซักถามข้อสงสัย และสรุปการประชุมครั้งที่ 1

 

20 20

3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

วันที่ 11 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในชุมชน ม.5 ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ทั้ง 3 ป้ายติดตั้งไว้ ในสถานที่่ที่ ประชาชนทั่วไปสามารถมองเห็นได้และเป็นสถานที่ใช้ประชุมในหมู่บ้านเป็นประจำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายรณรงค์ป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

1.จัดทำป้ายโครงการและสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ เพื่อใช้เพื่อรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในชุมชน ม.5 ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 1 ป้ายขนาด3x1.5 เมตร 2. จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่โดยเฉพาะ จำนวน 2 ป้าย ขนาด 60ซม x 150ซม ติดไว้ที่ รพสต. บ้านท่าช้าง และ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

 

300 300

4. ประชุมชี้แจงโครงการ และเสวนาพิษภัยจากสารเคมี

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30-16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจ้งรายละเอียดโครงการ และจัดทำปฏิทินโครงการแก่ครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน  เพื่อรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ความรู้เรื่องพิษภัยจากสารเคมี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-มีทะเบียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ครัวเรือน และครัวเรือนกลุ่มสนใจ -กลุ่มสมาชิกมีองค์ความรู้เรื่องพิษภัยจากสารเคมีเรื่อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100 คนรับทราบวัตถุประสงค์ กิจกรรมและงบประมาณของโครงการผักสวนครัวปลอดสารเคมีวิถีบ้านท่าช้าง
  2. มีทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 50 ครัวเรือน
  3. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องพิษภัยจากสารเคมีที่ใช้ในครัวเรือน ซึ่งสารเคมีในครัวเรือน ม 5 ต.ช้างซ้ายได้แก่ 1.ประเภทป้องกันหนอนเช่นบาเจาะเกาะ โคระดาน โคลีดอน 2.ประเภทป้องกันรา เช่นโคราเท เบต้ามัยซิน แบรติค"วค์3.ประเภทใช้ฆ่าหญ้า เช่น กรัมม๊อกโซน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพ เกิดสารตกค้างในร่างกาย เข้าสู่ร่างกายได้โดยทางทางปาก ทางลมหาย ใจ และทางผิวหนังสัมผัสและวิธีป้องกันตนเองโดยเลิกใช้หากเลี่ยงไม่ได้ ต้องสวมเสื้อผ้า ถุงเท้ารองเท้า ผ้าปิดปากจมูกมิดชิด เวลา ฉีดยาคนต้องอยู่เหนือทิศทางลม และต้องอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายหลังสัมผัสหรือฉีดพ่นยาเคมีทันที และมีความรู้เรื่องการล้างผัก ผลไม้ที่ช่วยลดสารตกค้างโดญการใช้ น้ำส้มสายชู น้ำยาด่างทับทิม และน้ำเกลือ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.นัดสมาชิกชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ กิจกรรมและงบประมาณของโครงการ 2.จัดทำทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 50 ครัวเรือน 3.ชี้แจงแก่สมาชิกให้ชัดเจน 4.เปิดเวทีเสวนาพิษภัยจากสารเคมี

กิจกรรมที่ทำจริง

เปิดเวทีวันนี้โดยนายณรงค์ อุราโรจน์ผู้ใหญ่บ้าน พูดคุยให้ทราบถึงวัตถุประสงค์และชักชวนให้ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการในวันนี้
นายวิรัตน์ ดำเนินผล หัวหน้าโครงการ ชี้แจงเกี่ยวกิจกรรมในโครงการ และงบประมาณของโครงการ
นาย อโนทัย อุตมะพงค์ นักวิชาการสาธารณสุข จาก รพสต.บ้านท่าช้าง ให้ความรู้ชวนครัวเรือน พูดคุย ให้ทราบถึงพิษภัย อันตรายจากสารเคมีที่ตกค้างในพืชผัก อาหารการกิน
นางสิทธิพรรณ เรือนจันทร์ พี่เลี้ยงโครงการ พบปะพูดคุย สร้างความเชื่อมั่นให้ทุกครัวเรือนรับทราบถึงความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ ครัวเรือนสมัครร่วมโครงการ 50 ครัวเรือน นายวิรัตน์ ดำเนินผล ชี้แจงกฎ กติกา ของการเข้าร่วมโครงการให้แก่สมาชิกให้ชัดเจน

 

100 100

5. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่1

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30-14.30 น น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดสภาชุมชนบ้านท่าช้างจำนวน 1 คณะ
  2. เกิดแนวทาง /กติกาชุมชนเรื่องลด ละ เลิก การใช้สารเคมี

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะกรมการหมู่บ้าน15 คนและ ภาคีเครือข่าย 5 คน (ปราชญ์ชุมชน , จนท.สาธารณสุข ,จนท.อบต.,จนท.เกษตรอำเภอ ,ประธาน อสม.หมู่ที่ 5 )ร่วมพูดคุยสรุปผลการทำโครงการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลโครงการ และข้อมูลปัญหาอื่นๆในหมู่บ้าน และเป็นตัวกลางช่วยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับครัวเรือนในชุมชน เพื่อให้ร่วมพัฒนาหมู่บ้านในทิศทางเดียวกัน และวางแผนร่วมกันที่จะพัฒนาโครงการนี้ เผื่อ ให้ ม.5 บ้านท่าช้างเป็นต้นแบบการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี ใน ตำบลช้างซ้าย ต่อไป
  2. มีการนัดประชุมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการในโครงการ ผู้นำ ประธานกลุ่มอื่นๆในหมู่บ้าน และหัวหน้าทีมแต่ละทีมในโครงการและกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชอื่นๆอื่นร่วมพูดคุยสรุปผลการทำโครงการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลโครงการ และข้อมูลปัญหาอื่นๆในหมู่บ้าน

2.ร่วมกันทบทวน วางแผน ช่วยแก้ปัญหา หรือหาแหล่งสนับสนุนให้การทำงานในโครงการ และงานอื่นๆในหมู่บ้านคล่องตัวและสำเร็จ

3.เป็นตัวกลางช่วยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับครัวเรือนในชุมชน เพื่อให้ร่วมพัฒนาหมู่บ้านในทิศทางเดียวกัน

4.สภาผู้นำ สรุป การทำงานโดยเฉพาะด้านการเลิกใช้สารเคมีในครัวเรือน และเสนอแก่ หน่วยงานทั้ง ภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านเป็นระยะ

กิจกรรมที่ทำจริง

1.คณะกรรมการในโครงการ ผู้นำ ประธานกลุ่มอื่นๆในหมู่บ้าน และหัวหน้าทีมแต่ละทีมในโครงการและกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชอื่นๆอื่นร่วมพูดคุยสรุปผลการทำโครงการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลโครงการ และข้อมูลปัญหาอื่นๆในหมู่บ้าน

2.ร่วมกันทบทวน วางแผน ช่วยแก้ปัญหา หรือหาแหล่งสนับสนุนให้การทำงานในโครงการ และงานอื่นๆในหมู่บ้านคล่องตัวและสำเร็จ

3.เป็นตัวกลางช่วยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับครัวเรือนในชุมชน เพื่อให้ร่วมพัฒนาหมู่บ้านในทิศทางเดียวกัน

 

20 20

6. ครั้งที่ 1นำเสนอผล ผ่านประเพณีลอยกระทงปลอดสารพิษ

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา ครั้งที่ 1 วันที่ 25/11 08:30-16.00 น น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ครัวเรือนร่วมรับทราบ ความสำเร็จของการดำเนินงาน เป็นระยะ เกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดอื่นเข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 40 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ตัวแทนครัวเรือนกลุ่มปลูกผักสวนครัว และ กลุ่มนักเรียน/เยาวชน ร่วมรับทราบและ ได้จัดทำกระทงอินทรีย์ที่บ้านท่าช้าง 1 กระทง โดยใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และผักปลอดสารพิษของกลุ่มที่ปลูกและอุปกรณ์จักสานมาทำกระทงประกวด 2 .ชุมชน/ครัวเรือนได้ร่วมกิจกรรมวันลอยกระทงทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี และการให้ความร่วมมือ กับร่วมกับ อบต.ช้างซ้ายโดยการถ่ายทอดผ่านงกระทงอินทรีย์ที่บ้านท่าช้าง
  2. ได้ประชาสัมพันธ์โครงการผักสวนครัวปลอดสารเคมี วิถีบ้านท่าช้างผ่านกระทงอินทรีย์ที่บ้านท่าช้าง ซึ่งได้รับความสนใจจากชุมชนเป็นอย่างดี และได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ลำดับที่ 2

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ครั้งที่ 1 -วันที่ 22/11/2558 คณะกรรมการโครงการโดยนายณรงค์ อุราโรจน์(ผู้ใหญ่บ้าน ) ร่วมประชุมชี้้แจง ตัวแทนครัวเรือนกลุ่มปลูกผักสวนครัว 50ครัวเรือน จำนวน60 คนและ กลุ่มนักเรียน/เยาวชน จำนวน 20 คน เรื่องการการจัดทำกิจกรรม กระทงอินทรีย์ที่บ้านท่าช้าง 1 กระทง และแนวทางการจัดกิจกรม

-วันที่ 25 พฤศจิกายน 58 จัดทำกิจกรรม กระทงอินทรีย์ที่บ้านท่าช้าง 1 กระทง โดยใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และผักปลอดสารพิษของกลุ่มที่ปลูกและอุปกรณ์จักสานมาทำกระทงประกวดในช่วงวันลอยกระทงทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี และการให้ความร่วมมือ กับร่วมกับ อบต.ช้างซ้าย

กิจกรรมที่ทำจริง

ครั้งที่1 วันที่ 22/11/2558 คณะกรรมการโครงการโดยนายณรงค์ อุราโรจน์(ผู้ใหญ่บ้าน ) ร่วมประชุมชี้้แจง ตัวแทนครัวเรือนกลุ่มปลูกผักสวนครัว 50ครัวเรือน จำนวน60 คนและ กลุ่มนักเรียน/เยาวชน จำนวน 20 คน เรื่องการการจัดทำกิจกรรม กระทงอินทรีย์ที่บ้านท่าช้าง 1 กระทง โดยใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และผักปลอดสารพิษของกลุ่มที่ปลูกและอุปกรณ์จักสานมาทำกระทงประกวดในช่วงวันลอยกระทงทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี และการให้ความร่วมมือ กับร่วมกับ อบต.ช้างซ้าย จากนั้นวันที่25/11/2558 มีการจัดทำกระทงอินทรีย์โโยใช้พืชผักสวนครัวในชุมชน โดยคณะกรรมการ เยาวชน ผู้สูงอายุ และตัวแทนครัวเรือนเป็นผู้จัดทำกระทง และนำไปประกวด เพื่อร่วมกิจกรรมในวันลอยกระทง ซึ่ง อบต.ช้างซ้าย จัดขึ้น ณ ศาลาพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ หมุ่ที่13 ต. ช้างซ้ายในตอนค่ำ

 

100 100

7. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน ครั้งที่2

วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30 -16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันเรื่องการเขียนรายงานโครงการและการเขียนรายงานการเงินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คนมีความเข้าใจเรื่องการบันทึกข้อมูล การถอดบทเรียน การเขียนผลการดำเนินงานเกี่ยวกับผลผลิต และผลลัพธ์ของกิจกรรมและการบันทึกหลังการจัดกิจกรรมมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้จริงในงาน
  2. คณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คนได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ และแบบรายงานการเงินโครงการประจำงวดเพื่อนำไปใช้ในการเขียนรายงานโครงการที่ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้ารับการอบรมในเรื่องแนวทางการเขียนรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม และการจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้อง หลักเกณฑ์และวิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการจัดทำเอกสารการหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกต้อง ครบถ้วน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. วิทยากร (อ.ไพทูรย์) อธิบายเรื่องการบันทึกข้อมูล การถอดบทเรียน การเขียนผลการดำเนินงานเกี่ยวกับผลผลิต และผลลัพธ์ของกิจกรรมและการบันทึกหลังการจัดกิจกรรม 2.วิทยากรจาก สจรส อธิบายเกี่ยวกับการหักภาษี ณ.ที่จ่าย /การยื่นรายการภาษี/การเขียนหนังสือรับรองการหักภาษี 3.วิทยากรจาก สจรส อธิบายเกี่ยวกับการเขียนแบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ และแบบรายงานการเงินโครงการประจำงวด

 

2 3

8. สำรวจครัวเรือนทั้งหมด 392 ครัวเรือน

วันที่ 16 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30-16.00น. จำนวน 3 วัน น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำราจข้อมูลครัวเรือนด้านการเกษตร การใช้สารเคมี และรายได้ของครัวเรือน ม.5 ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีข้อมูลด้านการเกษตร การใช้สารเคมี รายได้รัวเรือน ในครัวเรือน ม.5 ร้อยละ 100

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แบบสำรวจของชุมชน 1 ชุดประกอบด้วย

  • ตอนที่1ข้อมูลทั่วไป
  • ตอนที่ 2ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่
  • ตอนที่ 3สำหรับครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรือ ครัวเรือนที่ทีการปลูกผัก
  • ตอนที่ 4 สำหรับทุกครัวเรือนที่ต้องการปลูกกผักสวนครัวและ ครัวเรือนของท่านต้องการมีอาชีพเสริม รายได้หรือไม่

ในการทำการสำรวจช่วงกลางวัน บางบ้านไม่เจอเจ้าบ้านเพราะออกไปทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ ต้องออกสำรวจใหม่ตอนค่ำ หรือวันอาทิตย์จึงจะพบเจ้าบ้านเพราะเป็นคนที่สามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อการสำรวจเสร็จสิ้นแล้ว พบว่า สามารถเก็บแบบสอบถามได้จำนวน 350 ชุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะกรรมการโครงการร่วมจัดทำแบบสำรวจครัวเรือน จำนวน 392 ครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการโครงการ นักเรียน อสม. และผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน ลงสำรวจครัวเรือนตามแบบสอบถามครัวเรือนโดยการแบ่งทีม สำรวจ เป็น 4 ทีม แบ่งเขตครัวเรือน เป็น 4โซนๆละ 100 ครัวเรือนทำการสำรวจรวม 3วัน

 

20 20

9. คืนข้อมูลชุมชนจากการสำรวจครัวเรือและตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่ 1

วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.คืนข้อมูลจาการสำรวจครัวเรือน ได้แก่ข้อมูลด้านการเกษตร การใช้สารเคมี รายได้ครัวเรือน ในครัวเรือน ม.5 2.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องข้อมูลของครัวเรือน ว่าปัญหาของครัวเรือนทั้งหมด ในเรือ่งการใช้สารเคมีในการเกษตร และภาวะเศรฐกิจของครัวเรือนคืออะไรควรมีการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

_ครัวเรือนในบ้านท่าช้างรับทราบข้อมูลของชุมชนตนเอง มีความรู้ และตื่นตัวเรื่องพิษภัยจากสารเคมี -สมาชิกกลุ่มปลูกผักสวนครัวและเกษตรกรอื่นๆในชุมชน รับทราบปริมาณสารตกค้างในเลือดของตนเพื่อการเฝ้าระวังและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับรู้ข้อมูลจากผลการสำรวจครัวเรือนสรุปได้ดังนี้คือ

  1. ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประมาณ 90% ที่ไม่มีการท าบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน
  2. ปัญหาด้านอาชีพ และการทำงานส่วนใหญ่เป็นเรื่องของต้นทุนในการผลิตสูง เช่นราคาปุ๋ยที่สูง
  3. สารเคมีที่ใช้ในการทางเกษตรกรรม คือ สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิต โดยจะซื้อจากร้านค้าหรือตลาดในชุมชน โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทโดยจะพิจารณาเลือกซื้อสารเคมีด้วยตนเองแล้วนำมาฉีดพ่นกับอุปกรณ์ฉีดพ่นแบบสะพายหลัง-ใช้มือฉีดโดยจะฉีดประมาณเดือนละ 1-3 ครั้ง
  4. ขาดแคลนเงินทุนในการประกอบอาชีพ
  5. ประชากรส่วนใหญ่ประมาณ 50 % ไม่ได้เป็นสมาชิกลุ่มเกษตรกรและไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  6. ผักที่ประชากรส่วนใหญ่บริโภคอยู่เป็นประจำ ได้แก่ ตำลึง แตงกวา ผักบุ้ง บัวบก ผักหวาน และถั่วพู

ผลการตรวจปริมาณสารตกค้างในเลือดมีดังนีี้ (80คน) กลุ่มปกติจำนวน 10 คน กลุ่มปลอดภัยจำนวน 22คน กลุ่มเสื่ยงจำนวน 27 คน กลุ่มไม่ปลอดภัยจำนวน 31 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คืนข้อมูลจาการสำรวจครัวเรือน ได้แก่ข้อมูลด้านการเกษตร การใช้สารเคมี รายได้ครัวเรือน ในครัวเรือน ม.5
จากการส ารวจ ปร ะชากร ในหมู่ บ้านท่ าช้าง หมู่ ที่ 5 ต.ช้างซ้ายอ าเภอพร ะพร หม จัง หวัดนคร ศรี ธร ร มร าช เกี่ ยวกับ โคร ง การ ผักสว นครัว ปลอดสาร เคมี วิถี บ้า นท่ าช้า ง มีผู้ตอบแบบสอบถามจ านวน 350 คน (ครัวเรือนละ 1 คน)สามารถสรุปผลได้ดังนี้ - ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 350 ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง271 คนเป็นผู้ชายจ านวน 79 คน และส่วน ใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไปรองลงมาคือ ช่วงอายุ 40 -59 ปีและน้อยที่สุดคือช่วงอายุ 20-29 ปี - ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธและจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ - ประชากรในชุมชน ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีที่ดินเป็นของตนเองรองลงมาคือรับจ้าง ทั่วไป / พ่อบ้าน-แม่บ้าน/ ค้าขาย / รับราชการ และ พนักงานบริษัทตามล าดับแต่ในจ านวนนี้ก็ยังมี ประชากรที่ว่างงานอยู่ แต่ก็ไม่ถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด ( 350 คน) - รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน ต่อเดือนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 5,000 – 10,000 บาทและประชากรส่วนใหญ่เกิน
50% ได้ออมเงิน โดยการเป็นสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ของหมู่บ้าน - รายจ่ายส่วนใหญ่ของประชากรต่อคน /ต่อเดือนจะอยู่ที่ 1,000 – 3,000 บาทและรายจ่ายรวมของ ครอบครัวต่อเดือนจะอยู่ที่ 5,000 – 10,000 บาท - ประชากรส่วนใหญ่ประมาณ 60 % ไม่ มีหนี้สินส่วนที่เหลือจะมีหนี้สินของตัวเองและครอบครัวโดยเฉลี่ย อยู่ที่15,000 – 30,000 บาทโดยภาระหนี้สินส่วนใหญ่เกิดจาก การศึกษาของบุตรการสร้างที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพและการสร้างสิ่งอ านวยความสะดวกต่าง ๆตามล าดับ - ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประมาณ 90% ที่ไม่มีการท าบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน
- ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ประชากรในชุมชนมีความรู้สึกพอใจและส่งผลกับชีวิตความเป็นอยู่ ได้แก่ การ ประกอบอาชีพระบบสาธารณูปโภค สวัสดิการสังคมเส้นทางคมนาคม และระบบขนส่งมวลชน ส่วน ด้านที่ประชากรมีความรู้สึกเฉย ๆได้แก่ สภาพเศรษฐกิจสภาพแวดล้อมการศึกษา และสภาพสังคม - ปัญหาด้านรายได้และหนี้สินของประชากรที่มาอันดับต้น ๆ คือ ปัญหาของการขายผลผลิตทาง การเกษตรได้ราคาต่ ารายได้ไม่พอกินเงินที่หามาได้ส่วนใหญ่ก็จะน ามาใช้หนี้ที่มีอยู่
- ปัญหาด้านอาชีพ และการท างานส่วนใหญ่เป็นเรื่องของต้นทุนในการผลิตสูง เช่นราคาปุ๋ยที่สูง ขาด แคลนเงินทุนในการประกอบอาชีพรวมไปถึงขาดเอกสารสิทธิ์ในที่ดินท ากินและปัญหาการได้ท างานที่ ต่ ากว่าวุฒิการศึกษา ส่งผลให้ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ - ส าหรับครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่จะมีที่ดินเป็นของตนเอง และพืชที่ปลูกส่วนใหญ่ จะเป็น ข้าว รองลงมาคือ ผักสวนครัวพืชสวนยางพาราและพืชชนิดอื่น ๆ ตามล าดับ
- สารเคมีที่ใช้ในการท าเกษตรกรรม คือ สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิต โดยจะซื้อจากร้านค้าหรือตลาดในชุมชน โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทโดยจะพิจารณาเลือกซื้อสารเคมีด้วยตนเองแล้วน ามาฉีด พ่นกับอุปกรณ์ฉีดพ่นแบบสะพายหลัง-ใช้มือฉีดโดยจะฉีดประมาณเดือนละ 1-3 ครั้ง - ประชากรส่วนใหญ่ประมาณ 50 % ไม่ ได้เป็นสมาชิกลุ่ มเกษตรกรและไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการ ใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช - ผักที่ประชากรส่วนใหญ่บริโภคอยู่เป็นประจ า ได้แก่ ต าลึง แตงกวา ผักบุ้งบัวบก ผักหวานและถั่วพู - ประชากรส่วนใหญ่ต้องการประกอบอาชีพเสริมได้แก่ การเลี้ยงสัตว์รองลงมาคือการ เพาะปลูกผักชนิด ต่าง ๆ - หากในหมู่บ้านมีการจัดโครงการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ประชากรส่วนใหญ่ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วม หมายเหตุ :ตารางประกอบการสรุปแสดงปริมาณจ านวนประชากร (คน) และร้อย ละ (%) ที่ตอบแบบสอบถามในหัวข้อต่างๆแนบท้ายด้านหลัง 2.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องข้อมูลของครัวเรือน ว่าปัญหาของครัวเรือนทั้งหมด ในเรือ่งการใช้สารเคมีในการเกษตร และภาวะเศรฐกิจของครัวเรือนคืออะไรควรมีการจัดการ แก้ไขปัญหา และดำเนินการอย่างไรต่อไป 3.กิจกรรมให้ความรู้เรื่องสารเคมีตกค้างในเลือดและตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของครัวเรือนปลูกผักสวนครัวและกลุ่มเกษตรกรผู้สนใจ จำนวน 100คน โดยทำการตรวจ 2 ครั้ง ห่างกัน6 เดือน โดย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านท่าช้าง และ อสม.

กิจกรรมที่ทำจริง

1.นายณณง ค์อุราโรจน์ ผู้ใหญ่บ้าน/คณะกรรมการโครงการชี้แจงคืนข้อมูลจาการสำรวจครัวเรือน ได้แก่ข้อมูลด้านการเกษตร การใช้สารเคมี รายได้ครัวเรือน ในครัวเรือน ม.5

2.นางมติกา มาลารัตน์ พยาบาลวิชาชีพให้ความรู้เรื่องสารเคมีตกค้างในเลือดพร้อมแนวทางปฏิบัติตนเพื่อป้องกัน และลดปริมาณงสารเคมีตกค้างในเลือด 3.ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่กลุ่มครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 80 คน

 

100 100

10. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่2

วันที่ 31 มกราคม 2559 เวลา 13:00-16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการสามารถบริหารจัดการโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการโครงการ และตัวแทนเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกิจกรรมของโครงการที่ผ่านมา และการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไป ร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาและหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่อง

  1. การจัดกิจกรรมทำบัญชีครัวเรือน และการทำน้ำหมักชีวภาพมติที่ประชุมจะทำที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยเชิญปราชญ์ชุมชน นายช่วง สิงโหพล และเกษตรอำเภอ มาร่วมให้ความรู้ในกิจกรรมดังกล่าว ในวันที่ 5 มกราคม 2559
  2. นายวิรัตน ดำเนินผล ประธานโครงการรับผิดชอบเกี่ยวกับการประสานงานกับ ธนาคาร ธกส เรื่อง สมุดบัญชีครัวเรือน และ วิทยากร
  3. ร่วมกันคิด และเสนอแนะเกี่ยวกับพืชผักที่จะปลูก 2 ฝั่งถนนในหมู่บ้าน ต้องเป็นผัก ที่วัวไม่กิน หรือ ต้องมีการป้องกันการกินจากวัวของชาวบ้านในชุมชน และวิธีการปรับพื้นที่สองฝั่งถนน ก่อนลงมือปลูกผัก โดยให้กรรมการหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบประสานงานกิจกรรมดังกล่าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรมมการ พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำเกี่ยวกับการดำเนินโครงการเพื่อให้มีการรับทราบ ติดตาม ทบทวนการทำงาน ประเมินการทำงานและร่วมแก้ไขปัญหาต่อเนื่องสม่ำเสมอ

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการโครงการ และตัวแทนเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกิจกรรมของโครงการที่ผ่านมา และการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไป ร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาและหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่อง 1. การจัดกิจกรรมทำบัญชีครัวเรือน และการทำน้ำหมักชีวภาพ

 

20 20

11. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน ครั้งที่2

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-12.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดสภาชุมชนบ้านท่าช้างจำนวน 1 คณะ
  2. เกิดแนวทาง /กติกาชุมชนเรื่องลด ละ เลิก การใช้สารเคมี

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เกิดสภาชุมชนบ้านท่าช้างจำนวน 1 คณะ ที่มีการทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการต่อ
  2. เกิดแนวทาง /กติกาชุมชนเรื่องลด ละ เลิก การใช้สารเคมีคือให้สมาชิกกลุ่ม จำนวน 50 ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี 100% และสมาชิกไม่ซื้อผักที่ปลูก และขายจากตลาดภายนอกชุมชน
  3. มีรูปแบบแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการต่อไปในทิศทางเดียวกัน คือ ให้กลุ่มเป้าหมายทุกครัวเรือนร่วมเป็นเจ้าของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการในโครงการ ผู้นำ ประธานกลุ่มอื่นๆในหมู่บ้าน และหัวหน้าทีมแต่ละทีมในโครงการและกลุ่มเกษตรกรปลูกพืชอื่นๆอื่นร่วมพูดคุยสรุปผลการทำโครงการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลโครงการ และข้อมูลปัญหาอื่นๆในหมู่บ้าน

2.ร่วมกันทบทวน วางแผน ช่วยแก้ปัญหา หรือหาแหล่งสนับสนุนให้การทำงานในโครงการ และงานอื่นๆในหมู่บ้านคล่องตัวและสำเร็จ

3.เป็นตัวกลางช่วยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับครัวเรือนในชุมชน เพื่อให้ร่วมพัฒนาหมู่บ้านในทิศทางเดียวกัน

4.สภาผู้นำ สรุป การทำงานโดยเฉพาะด้านการเลิกใช้สารเคมีในครัวเรือน และเสนอแก่ หน่วยงานทั้ง ภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านเป็นระยะ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว พร้อมปัญหาและอุปสรรคต่างในการจัดทำโครงการ 2.สภาร่วมรับรู้หาแนวทางร่วม และ เป็นตัวกลางช่วยประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับครัวเรือนในชุมชน เพื่อให้ร่วมพัฒนาหมู่บ้านในทิศทางเดียวกัน 3.สภาผู้นำ สรุป การทำงานโดยเฉพาะด้านการเลิกใช้สารเคมีในครัวเรือน และเสนอแก่ หน่วยงานทั้ง ภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านเป็นระยะ

 

20 20

12. เรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00น น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการในการเรียนรู้ในเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองในครัวเรือนกลุ่มปลูกผัก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-ครัวเรือนนำแนวทางทำน้ำหมัก หรือปุ๋ย หรือยาไล่แมลงจากพืช ไปใช้ในแปลงผักข้างบ้าน ร้อยละ 90

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เกิดชุดความรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ จากเศษพืช ซากสัตว์ และ การทำน้ำยากำจัดศัตรูพืชแบบใช้พืชสมุนไพรในครัวเรือนที่ทำได้ และใช้ได้จริงในชุมชน 1 ชุด โดยการถ่ายทอดและการสนับสนุนจากปราญ์ชุมชน นายช่วง สิงโหพล
  2. เกิดชุดความรู้การทำน้ำหมัก จากซากหอยเชอรี่ และการล่อหอยเชอรี่จากใบมะละกอ
  3. มีการเปฺิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่ม และคนในชุมชน เข้าใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับความรู้ได้ตลอดเวลา ที่ศูนย์เรียนรู้วิถีเศรษกิจพอเพียง ม 5.ของ นายช่วง สิงโหพล จากเดิมที่มีสมาชิกใช้บริการน้อย และไม่ค่อยเห็นความสำคัญของศูนย์นี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1เวลา 9.00-12.00 จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ จากเศาพืช และากสัตว์ โดยปราญืชุมชน นายช่วง สิงโหพล 2. 13.00-16.00น.จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำน้ำยากำจัดศัตรูพืชแบบใช้พืชสมุนไพรในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เวลา 9.00-12.00 จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพโดยการหมักแบบ 2ถังคือ ถังที่1 จากเศษพืช เช่นเปลือก สัปปะรด เศษผักผลไม้ กล้วย เป็นต้นโดยใช้ เศษผัก ผลไม้ 40 กิโลกรัม กากน้ำตาล10 กิโลกรัม แล้วใช้ ขุปเปอร์พด 2 จำนวน 2ซองละลายน้ำ 5ลิตรแล้วผสมลงในถังเติมน้ำอีก 20 ลิตร คนให้เข้ากัน ปิดฝา ไม่ต้องสนิท หมักไว้ 14 วัน โดยต้องหมั่นคนทุกวัน จากนั้นนำไปใชได้เลย โดยเวลาจะใช้ต้องเอาน้ำหมัก 1ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร และถังที่2จากซากสัตว์ เช่น หัวปลา เศษเนื้อ หอยเชอรรี่ โดยอัตาส่วนการผสม เหมือนกันกับการทำจากเศษผัก ผลไม้ โดยปราญ์ชุมชน นายช่วง สิงโหพล
  2. 13.00-16.00น.จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำน้ำยากำจัดศัตรูพืชแบบใช้พืชสมุนไพรในครัวเรือน โดยใช้ สะเดาตะไคร้ ใบมะละกอ โดยปราญ์ชุมชน นายช่วง สิงโหพล
  3. คณะกรรมการโครงการร่วมประเมินการจัดกิจกรรม และนัดหมายการจักกิจกรรมในครั้งต่อไป

 

75 75

13. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือน

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16ใ00น น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ครัวเรือนร้อยละ 50เรียนรู้และสามารถวิเคราะห์รายรับรายจ่ายของครัวเรือนตนเองได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-.ครัวเรือนร้อยละ 50 เรียนรู้และสามารถวิเคราะห์รายรับรายจ่าย ภาคครัวเรือนได้

-ครัวเรือนกลุ่มปลูกผักสวนครัว 50ครัวเรือนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละบาท 100%

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ครัวเรือนร้อยละ 50 เรียนรู้และสามารถวิเคราะห์รายรับรายจ่าย ภาคครัวเรือนได้
  • กลุ่มปลูกผักสวนครัว 50ครัวเรือนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละบาท 100%
  • เกิดทีมงานติดตามเยี่ยมและตรวจการทำบัญชีครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามโซนของการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี เป็น 4โซน
  • จัดทำแบบติดตามเยี่ยมครัวรือนอย่างง่ายและกำหนดการเยี่ยมของโซนต่างๆตามความสะดวกของแต่ละโซน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1 เรียนรู้ฟื้นฟูและฝึกปฏิบัติเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน ในครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50ครัวเรือน และสมาชิกครัวเรือนเกษตรกรที่สนใจ20ครัวเรือน 2 รับสมัครครัวเรือนกลุ่มปลูกผักสวนครัว 50ครัวเรือนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละบาท 3แต่งตั้งทีมงานติดตามเยี่ยมและตรวจการทำบัญชีครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามโซนของการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี 4จัดทำแบบติดตามเยี่ยมครัวรือนและกำหนดการเยี่ยม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เรียนรู้ฟื้นฟูและฝึกปฏิบัติเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน ในครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50ครัวเรือน และสมาชิกครัวเรือนเกษตรกรที่สนใจ20ครัวเรือน
  2. รับสมัครครัวเรือนกลุ่มปลูกผักสวนครัว 50ครัวเรือนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละบาท
  3. แต่งตั้งทีมงานติดตามเยี่ยมและตรวจการทำบัญชีครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามโซนของการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี
  4. จัดทำแบบติดตามเยี่ยมครัวรือนและกำหนดการเยี่ยม

 

70 100

14. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่3

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-19.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายงานความก้่าวหน้างวด1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การทำรายงานเอกสารหลักฐานด้านการเงิน และการลงบันทึกรายงานกิจกรรมตามโครงการ ผักสวนครัวปบอดสารเคมีวิถีบ้านท่าช้างมีบางประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1 ติดตามและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานและเอกสารการเงินของโครงการ 2 ติดตามการลงบันทึกรายงานกิจกรรมของโครงการและตรวจสอบ แก้ไข ปรับการลงบันทึกให้ถูกต้องครอยคบุมตามกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

1.คณะกรรมการโครงการ ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ  การเงินโครงการ  และคณะกรรมการอีก 1คน จัดเตรียมเอกสารด้านการเงิน  และการลงยันทึกกิจกรรมของโครงการในโปรแกรมให้สมยูรณ์ 2คณะกรรมการรับการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารด้านการเงินและการลงบันทึกรายงายงานการทำกิจกรรม

 

2 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 45 14                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 206,130.00 78,809.00                  
คุณภาพกิจกรรม 56 42                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ไม่มี

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงติดตามโครงการ ( 27 มี.ค. 2559 )
  2. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนครั้งที่3 ( 26 เม.ย. 2559 )
  3. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่3 ( 1 พ.ค. 2559 )
  4. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำอาชีพเสริมช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 1 ( 8 พ.ค. 2559 )
  5. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่4 ( 9 พ.ค. 2559 )
  6. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องการทำอาชีพเสริมช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 2 ( 11 พ.ค. 2559 )
  7. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 5 ( 29 พ.ค. 2559 )
  8. ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ครั้งที่ 1 ( 25 มิ.ย. 2559 )
  9. ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ครั้งที่ 2 ( 24 ก.ค. 2559 )
  10. สภาผู้นำขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนครั้งที่4 ( 29 ก.ค. 2559 )
  11. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 6 ( 30 ก.ค. 2559 )
  12. ถอดบทเรียนโครงการ ( 31 ก.ค. 2559 )
  13. ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ครั้งที่ 3 ( 5 ส.ค. 2559 )
  14. คืนข้อมูลชุมชนจาการสำรวจครัวเรือนและตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่ 2 ( 6 ส.ค. 2559 )
  15. ตรวจเยี่ยมครัวเรือน ตรวจเยี่ยม ปล้อง บ่อ แปลงสาธิต ครั้งที่ 4 ( 10 ส.ค. 2559 )
  16. ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวในครัวเรือน ทำแปลงสาธิต 5 แปลงและทำถนนสีเขียว 2 ซอยในหมู่บ้าน ( 12 ส.ค. 2559 )
  17. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่7 ( 13 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย วิรัตน์ ดำเนินผล
ผู้รับผิดชอบโครงการ