แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

ชุมชน บ้านนาพา หมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03935 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2184

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ เรียนรู้เกี่ยวกับแว็ปไซค์ ในการจัดทำโครงการ

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้แว็ปไซค์ ในการดำเนินโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้ความรู้เกี่ยวกับการใช้แว็ปไซค์
  2. มีปฎิทินโครงการเกิดขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปฐมนิเทศโครงการ เรียนรู้เกี่ยวกับแว็ปไซค์ ในการจัดทำโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

1.เรียนรู้การใช้แว็ปไซค์ 2.การทำปฏิทินโครงการ

 

2 2

2. จัดทำป้ายโครงการ จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่เพื่อรณรงค์ในชุมชน

วันที่ 11 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ทำป้ายโครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทำป้ายโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่เพื่อรณรงค์ในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายโครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ทำป้ายโครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา
  2. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

 

100 100

3. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ทำความเข้าใจและเตรียมงานเพื่อดำเนินโครงการในแต่ละกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการมีบันทึกการประชุมก่อนหลังทำกิจกรรม และสามารถบริหารจัดการโครงการได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมจำนวน15คน

ผลลัพธ์

  1. นัดคณะกรรมการประชุม

  2. มีการมอบหมายหน้าที่ให้แก่คณะกรรมการเพื่อดำเนินโครงการ

  3. มีคำแนะนำดีๆ ให้แก่คณะกรรมในการเชิญชวนคนในชุมชนมาเข้าร่วมกิจกรรม ใช้วิธีประชาสัมพันธ์โดยการเดินแจกเอกสารพร้อมพูดทำความเข้าใจให้กับคนในชุมชนได้รับรู้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตาม ทบทวน ประเมินผลการทำกิจกรรม มีการประชุมก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เชิญคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมประชุม พร้อมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน เกษตรตำบล ปราญช์ชาวบ้าน
  2. เจ้าหน้าที่จากเกษตรตำบล ให้ความคิด ให้ความรู้แก่คณะกรรมการโครงการเพื่อดำเนินการโครงการ
  3. คณะกรรมการโครงการพร้อมปราญช์ชาวบ้าน ได้ความรู้และร่วมคิดร่วมทำกิจกรรมโครงการ

 

15 15

4. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ รับสมัครครัวเรือน เข้าร่วมโครงการ

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.00 น. - 15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ชี้แจ้งโครงการรายละเอียดความเป็นมาของโครงการให้ชาวบ้านแะกลุ่มต่างๆในชุมชนรับทราบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีรายชื่อครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการครบ 50 ครัว และ ชุมชนสนใจในการจัดกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 100 คน
  2. มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ครัวเรือน
  3. มีทีมอาสาสมัครทีมงานเกิดขึ้น 40 คน

ผลลัพธ์

  1. ได้รับการตอบรับจากคนในหมู่บ้านเป็นอย่างดี
  2. มีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมโครงการตามเป้าที่กำหนดจำนวน 50 ครัวเรือน
  3. มีอาสาสมัครทีมงานที่จะพัฒนาชุมชนเพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ และจัดทำปฏิทินโครงการ
  2. ร่วมกันกำหนดเกณฑ์รับสมัครครัวเรือน และรับสมัครเข้าร่วมโครงการ
  3. รับสมัครทีมงานสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน
  4. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมกันวางแวนในการเข้าร่วมกิจกรรม และให้ข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. รับลงทะเบียนโครงการ
  2. ประชุมชี้แจ้งโครงการให้ทราบเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ
  3. เปิดรับสมัครครัวเรือนที่จะเข้าร่วมโครงการ
  4. เปิดรับอาสาสมัครทีมงานออกสำรวจ
  5. ร่วมกันวางแผนเพื่อดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกิจกรรมที่วางไว้

 

100 100

5. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 2

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมคณะกรรมการโครงการเพื่อปรึกษาหารือในการทำกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการมีบันทึกการประชุมก่อนหลังทำกิจกรรม และสามารถบริหารจัดการโครงการได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

1.มีคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมประชุม 15 คน

ผลลิต

  1. ได้รู้เกี่ยวกับการประเมินที่ผ่านมาว่ามีบุคคลที่สนใจในโครงการที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันแล้วยังมีบุคคลที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการกับเราอีกไหม

  2. นางสุดา นาคฤทธิ์ ได้มอบหมายให้ คณะกรรมการทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบกันในด้านต่างๆเพื่อดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปโดยให้นางธิดาวรรณ สืบ จัดทำแบบสำรวจพืชสมุนไพรในชุมชน ให้นางสมคิด โสดา รับผิดชอบเรื่องอาหา ส่วนคณะกรรมการที่เหลือค่อยช่วยเหลือ ในสิ่งที่ทำได้

  3. นางธิดาวรรณ สืบ จัดทำแบบสำรวจครัวเรือนมี 6 หัวข้อดังนี้

1.จำนวนที่ดินทำกินของตนเอง

2.จำนวนสมาชิกในครัวเรือน

3.กิจกรรมการเกษตรที่ทำในครัวเรือน

4.รายได้ รายจ่าย หนี้สิ้น ในครัวเรือน

5.ในครัวเรือนของท่านมีการใช้สารเคมีในการทำเกษตรหรือไม

6.ในครัวเรือนของท่านปลูกพืชผัก สมุนไพร มีชนิดใดบ้าง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตาม ทบทวน ประเมินผลการทำกิจกรรม มีการประชุมก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. น้ดคณะกรรมการโครงการมาประชุมชี้แจ้งและสรุปผลกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา
  2. ประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจกรรมต่อไปที่จะทำ
  3. จัดทำแบบสำรวจ เพื่อใช้ในกิจกรรมของโครงการ

 

15 15

6. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 - 15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมร่วมกับ สจรส.ม.อ. พี่เลี้ยง การอบรมการเขียนรายงานเอกสารการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีคณะกรรมการเข้าร่วมอบรมจำนวน 2 คน

ผลลัพธ์

1.คณะกรรมการได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนรายงานเพิ่มมากขึ้น

2.คณะกรรมการได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนเอกสารการเงินเพิ่มมากขึ้น

3.คณะกรรมการได้พบปะพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาในการดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รับฟังการให้ความรู้ในการดำเนินโครงการจาก สจรส.ม.อ. และการติดตามกิจกรรมต่างของโครงการ การอบรมการเขียนเอกสารการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
  2. รับฟังการอบรมจากสจรส.ม.อ. เรื่องการเขียนรายงานกิจกรรมในแว็ปไซค์
  3. รับฟังการอบรมจากสจรส.ม.อ. เรื่องการจัดทำเอกสารการเงิน
  4. พักเที่ยงรับประทานอาหารก่อนขึ้นช่วงบ่าย
  5. เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. พร้อมด้วยพี่เลี้ยง ตรวจรายงานกิจกรรมต่างๆ และตรวจเอกสารการเงินในแต่ละกิจกรรม
  6. เสร็จภารกิจพบปะพูดคุยกับพี่เลี้ยงและกลับบ้าน

 

2 2

7. สำรวจพืชพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร ครั้งที่ 1

วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เด็กๆในชุมชนกับผู้สูงอายุได้มีความรักความสามัคคีมีกิจกรรมทำร่วมกันในชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพืชผักสมุนไพรในชุมชนมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีข้อมูลพืชพื้นบ้านที่มรสรพคุณทางยา ตำรับอาหารของหมู่บ้าน สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร และรายรับ รายจ่ายของครัวเรือน1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อาจารย์โรงเรียน และคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 9 คน
  2. มีอสม.เข้าร่วม จำนวน 11 คน
  3. มีเด็กเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 30 คน
  4. ผู้สนใจ 9 คน

ผลลัพธ์

  1. เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุอสม. ได้รับความรู้เกี่ยวกับสรรคุณทางยาของพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
  2. คนในชุมชุมได้ตระหนักและรู้จักคุณค่าของพืชผักสมุนไพรในชุมมากขึ้นและได้รู้จักสมุนไพรแปลกๆเพิ่ม
  3. เด็กในชุมชนรู้จักนำเอาวัถุดิบพืชผักสมุนไพรที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
  4. คนในชุมชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน มีความรักความสามัคคีเพิ่มมากขึ้นในชุมชน
  5. เรียนรู้เกี่ยวกับการออกสำรวจพืชผักสมุนไพรในชุมชน โดยคณะะกรรมการโครงการ นางสุดา นาคฤทธิ์ ุ6. กลุ่มเด็กเยาวชน อสม. ผู้สูงอายุ ออกสำรวจพืชผักสมุนไพร ในชุมชน ในเขต1 วันนี้เป็นวันแรกของการออกสำรวจ เด็กๆและอสม.คนที่มีรถจักรยานยนต์ก็ชวนกันไปบ้างคนก็ขี่จักรยาน บ้างกลุ่มก็เดินออกสำรวจ เด็กๆชอบสนุกสนานกันมากได้ความรู้จากพี่ๆอสม.อีกด้วยไปสำรวจแต่วเรือนละครัวเรือนในเขตที่ 1 คนในชุมชนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เด็กๆและอสม.สนุกกับการสำรวจและได้ความรู้เกี่ยวกับพืชผักสมุนไพรที่มีในชุมชนมากเด็กๆยังบอกพี่ๆว่าผัก สมุนไพร บ้างชนิดเขาไม่เคยรู้จักมาก่อนเลยแต่เคยเห็นวันนี้ก็สำรวจเขตที่ 1 จำนวน 50 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ร่วมกับเกษตร อบต. และจนท. รพสต.จัดทำแบบสำรวจพืชพื้นบ้านทีมีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร และรายรับ รายจ่าย หนี้สินของครัวเรือน

2.จัดแบ่งทีมสำรวจเป็น 5 โซน เป็นเวลา 4 วัน และแต่ละทีมจะมีเด็กเป็นผู้ร่วมสำรวจ 3.ลงสำรวจทุกครัวเรือน โดยเฉพาะบ้านที่มีปราชญ์ด้านต่างๆ และผู้สูงอายุ จะต้องละเอียดกว่าบ้านอื่นๆ

4.คณะกรรมการโครงการ เด็ก ช่วยกันรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ เตรียมนำเสนอแกชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา
  2. เจ้าหน้าที่สาธาณะสุข เพื่อนคุยเกี่ยวกับพืชผักสมุนไพร เกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดต่าง จากเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข นางสาวศิรินธร ทองสุขพูดุยให้ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของพืชสมุนชนิดต่างๆ
  3. พักรับระทานอาหารว่าง
  4. ออกมาสรุปผลขอการออกสำรวจในชมชน มีทั้งเด็กๆและอสม.
  5. รับประทานอาหารว่าง แยกย้ายกันกลับบ้าน

 

50 59

8. สำรวจพืชพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร ครั้งที่ 2

วันที่ 13 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เด็กๆในชุมชนกับผู้สูงอายุได้มีความรักความสามัคคีมีกิจกรรมทำร่วมกันในชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพืชผักสมุนไพรในชุมชนมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีข้อมูลพืชพื้นบ้านที่มรสรพคุณทางยา ตำรับอาหารของหมู่บ้าน สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร และรายรับ รายจ่ายของครัวเรือน1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลิต

  1. มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อาจารย์โรงเรียน และคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 9 คน
  2. มีอสม.เข้าร่วม จำนวน 11 คน
  3. มีเด็กเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 40 คน

ผลลัพธ์

  1. เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุอสม. ได้รับความรู้เกี่ยวกับสรรคุณทางยาของพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
  2. คนในชุมชุมได้ตระหนักและรู้จักคุณค่าของพืชผักสมุนไพรในชุมมากขึ้นและได้รู้จักสมุนไพรแปลกๆเพิ่ม
  3. เด็กในชุมชนรู้จักนำเอาวัถุดิบพืชผักสมุนไพรที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
  4. คนในชุมชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน มีความรักความสามัคคีเพิ่มมากขึ้นในชุมชน
  5. เด็กๆและอสม. ก็ชวนกันเดินสำรวจเป็นกลุ่มคณะเด็กและอสม. ผู้สูงอายุ เดินไปพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดกัน วันนี้เด็กๆ ดีใจกันมากเพราะการไปสำรวจวันที่ 2 นี้บ้านที่เด็กๆไปสำรวจเขามีของฝากให้เอากลับบ้านด้วย มีทั้ง กล้วย มะนาว ใบย่านาง และอื่นๆอีกหลายอย่างเด็กๆได้นำกลับไปให้ปรุงอาหารรับประทานในครอบครัว วันนี้เด็กๆและอสม.สำรวจได้ 30 ครัวเรือนเพราะอากาศร้อนมาก สิ่งที่ได้ในการออกสำรวจ คือ การให้ความร่วมมือจากคนในชุมชน พร้อมกับน้ำใจที่ยิ่งใหญ่คือของฝากเล็กน้อยที่มีให้เด็กและอสม.นำกลับบ้าน นี้คือความสามัคคีของคนในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ร่วมกับเกษตร อบต. และจนท. รพสต.จัดทำแบบสำรวจพืชพื้นบ้านทีมีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร และรายรับ รายจ่าย หนี้สินของครัวเรือน

2.จัดแบ่งทีมสำรวจเป็น 5 โซน เป็นเวลา 4 วัน และแต่ละทีมจะมีเด็กเป็นผู้ร่วมสำรวจ

3.ลงสำรวจทุกครัวเรือน โดยเฉพาะบ้านที่มีปราชญ์ด้านต่างๆ และผู้สูงอายุ จะต้องละเอียดกว่าบ้านอื่นๆ

4.คณะกรรมการโครงการ เด็ก ช่วยกันรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ เตรียมนำเสนอแกชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

2.นางสุดา นาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้พูดคุยชี้แจ้งเกี่ยวกับการสำรวจพืชผักสมุนไพรครั้งที่ผ่านมาว่าทุกคนเก่งมาก และรู้จักเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดต่างๆในชุมชนเรามาก และก็พบปะพูดคุยกันระหว่างเด็ก อสม. คณะกรรมการโครงการ เกี่ยวกับสมุนไพรในชุมชน

4.พักรับประทานอาหารเที่ยง ที่ทำจากฝีมือคนในชุมชน

5.แบ่งกลุ่มเด็กเยาวชน อสม. ผู้สูงอายุ ออกสำรวจพืชผักสมุนไพรในชุมชน ในเขตที่ 2 ซึ่งเขตที่ 2 จะอยู่ติดกับศาลาหมู่บ้าน

6.รับประทานอาหารว่าง แยกย้ายกันกลับบ้าน

 

50 60

9. สำรวจพืชพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร ครั้งที่ 3

วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เด็กๆในชุมชนกับผู้สูงอายุได้มีความรักความสามัคคีมีกิจกรรมทำร่วมกันในชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพืชผักสมุนไพรในชุมชนมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีข้อมูลพืชพื้นบ้านที่มรสรพคุณทางยา ตำรับอาหารของหมู่บ้าน สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร และรายรับ รายจ่ายของครัวเรือน1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลิต

  1. มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อาจารย์โรงเรียน และคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 9 คน
  2. มีอสม.เข้าร่วม จำนวน 11 คน
  3. มีเด็กเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 40 คน

ผลลัพธ์

  1. เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุอสม. ได้รับความรู้เกี่ยวกับสรรคุณทางยาของพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
  2. คนในชุมชุมได้ตระหนักและรู้จักคุณค่าของพืชผักสมุนไพรในชุมมากขึ้นและได้รู้จักสมุนไพรแปลกๆเพิ่ม
  3. เด็กในชุมชนรู้จักนำเอาวัถุดิบพืชผักสมุนไพรที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
  4. คนในชุมชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน มีความรักความสามัคคีเพิ่มมากขึ้นในชุมชน
  5. สำรวจและสอบถามเกียวกับพืชผักสมุนไพรที่มีของแต่ละครัวเรือน แต่ละครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสมุนไพรเหมือนๆกันเป็นส่วนมาก เช่น ตะไคร้ ขมิ้น มะกรูด มะนาว เป็นต้น เพราะเป็นพืชผักคู่ครังคนไทย วันนี้สำรวจได้ 50 ครัวเรือน ส่วนที่แตกต่างกันจะมีน้อยส่วนมากจะนำมาจากที่อื่นมาปลูกไว้ในครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ร่วมกับเกษตร อบต. และจนท. รพสต.จัดทำแบบสำรวจพืชพื้นบ้านทีมีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร และรายรับ รายจ่าย หนี้สินของครัวเรือน

2.จัดแบ่งทีมสำรวจเป็น 5 โซน เป็นเวลา 4 วัน และแต่ละทีมจะมีเด็กเป็นผู้ร่วมสำรวจ

3.ลงสำรวจทุกครัวเรือน โดยเฉพาะบ้านที่มีปราชญ์ด้านต่างๆ และผู้สูงอายุ จะต้องละเอียดกว่าบ้านอื่นๆ

4.คณะกรรมการโครงการ เด็ก ช่วยกันรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ เตรียมนำเสนอแกชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา

2.วันนี้เป็นวันที่ 3 ในการออกสำรวจ วันนี้ทางผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา นาคฤทธิ์ ได้เชิญ นายศิริชัย เติมคลัง เกษตรตำบลถ้ำพรรณรา มาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรปลอดสารพิษ การใช้สารเคมีในการเกษตร แก่ อสม. ผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วมโครงการ เด็กๆ นักเรียนโรงเรียนบ้านนาพาได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับชีวิตประจำวันเพื่อหยุดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร

3.พักรับระทานอาหารว่าง

4.อธิบายและเรียนรู้เกี่ยวกับการออกสำรวจพืชผักสมุนไพรในชุมชน

5.แบ่งกลุ่มเด็กเยาวชน อสม. ผู้สูงอายุ ออกสำรวจพืชผักสมุนไพรในพื้นที่ เขตที่ 3และเขตที่ 4 บางส่วน ออกสำรวจและสอบถามเกียวกับพืชผักสมุนไพรที่มีของแต่ละครัวเรือน

6.รับประทานอาหารว่าง แยกย้ายกันกลับบ้าน

 

50 60

10. สำรวจพืชพื้นบ้านที่มีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร ครั้งที่ 4

วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.  เพื่อให้เด็กๆในชุมชนกับผู้สูงอายุได้มีความรักความสามัคคีมีกิจกรรมทำร่วมกันในชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพืชผักสมุนไพรในชุมชนมากขึ้น 2. เด็กได้เรียนรู้สรรพคุณเกี่ยวกับพืชสมุนไพรในชุมชนและนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีข้อมูลพืชพื้นบ้านที่มรสรพคุณทางยา ตำรับอาหารของหมู่บ้าน สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร และรายรับ รายจ่ายของครัวเรือน1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อาจารย์โรงเรียน และคณะกรรมการโครงการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 9 คน
  2. มีอสม.เข้าร่วม จำนวน 10 คน
  3. มีเด็กเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 40 คน

ผลลัพธ์

  1. เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุอสม. ได้รับความรู้เกี่ยวกับสรรคุณทางยาของพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
  2. คนในชุมชุมได้ตระหนักและรู้จักคุณค่าของพืชผักสมุนไพรในชุมมากขึ้นและได้รู้จักสมุนไพรแปลกๆเพิ่ม
  3. เด็กในชุมชนรู้จักนำเอาวัถุดิบพืชผักสมุนไพรที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
  4. คนในชุมชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน มีความรักความสามัคคีเพิ่มมากขึ้นในชุมชน
  5. หลังจากการสำรวจผ่านมา 3 วันเด็กได้นำผักสมุนไพรในชุมชน มาทำเป็นอาหารระหว่างทำกิจกรรมวันสุดท้ายด้วย
  6. เด็กได้เรียนรู้การทำน้ำใบย่านาง พืชสมุนที่มีอยู่มากในชุม มาทำรับประทานกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ร่วมกับเกษตร อบต. และจนท. รพสต.จัดทำแบบสำรวจพืชพื้นบ้านทีมีสรรพคุณเป็นยา ตำรับอาหารเป็นยา การใช้สารเคมีในการเกษตร และรายรับ รายจ่าย หนี้สินของครัวเรือน
  2. จัดแบ่งทีมสำรวจเป็น 5 โซน เป็นเวลา 4 วัน และแต่ละทีมจะมีเด็กเป็นผู้ร่วมสำรวจ
  3. ลงสำรวจทุกครัวเรือน โดยเฉพาะบ้านที่มีปราชญ์ด้านต่างๆ และผู้สูงอายุ จะต้องละเอียดกว่าบ้านอื่นๆ
  4. คณะกรรมการโครงการ เด็ก ช่วยกันรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ เตรียมนำเสนอแกชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โครงการตำรับอาหารเป็นยา ณ บ้านนาพา
  2. วันนี้เป็นวันที่ 4 ออกสำรวจวันนี้เป็นวันสุดท้าย วันนี้ยังอีก 30 ครัวเรือนที่ต้องออกสำวจ เด็กๆ อสม. ผู้สูงอายุ ก็ออกสำรวจเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา
  3. พักรับระทานอาหารว่าง
  4. วันนี้เด็กๆได้นำผักสมุนไพรกลับมาทำอาหารกินกันด้วย เด็กๆได้ใบย่านางกลับมาด้วย และวันนี้เราจะทำน้ำสมุนไพรกินกิน นั้นก็คือน้ำใบย่านาง โดยมีกลุ่มสตรีและอสม. เป็นวิทยากร เด็กจะสอบถามและคุยกับผู้สูงอายุและพี่ๆอสม.ว่าจะกินได้ไมเพราะใบย่านางมีกลิ่นสีเขียวแรงมาก แต่ทางกลู่มสตรีเขามีเล็ดลับในการทำ โดยน้ำน้ำใบเตยหอม มาปั้นร่วมกับใบย่านางเลยมีกลิ่นหอมของใบเตยหอม แถมยังนำสมุนไพรที่มีในชุมชน คือใบเตยหอมมาทำเป็นน้ำสมุนไพรรับประทานด้วย
  5. เสร็จภารกิจ และกิจกรรมก็แยกย้ายกันกลับบ้าน

 

50 59

11. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมคณะกรรมการโครงการเพื่อปรึกษาหารืในการทำกิจกรรม  และแบ่งหน้าที่กันทำเพือ่ดำเนิดกิจกรรม และสรุปกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการมีบันทึกการประชุมก่อนหลังทำกิจกรรม และสามารถบริหารจัดการโครงการได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน

ผลลัพธ์

  1. คณะกรรมการเข้าใจและรู้จักโครงการมากขึ้น
  2. คณะกรรมการโครงการมีการวางแผนร่วมกันมีความคิดดีๆเสนอแนะให้ซึ่งกันและกัน
  3. คณะกรรมการมีความรักความยินดีที่จะทำงาน เพราะ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจ้งรายละเอียดของกิจกรรมให้คณะกรรมการได้รับรู้อย่างชัดเจน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตาม ทบทวน ประเมินผลการทำกิจกรรม มีการประชุมก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนคณะกรรมการ เข้าร่วมประชุม
  2. นางสุดานาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจ้งเกี่ยวกับกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ว่าคณะกรรมการทุกคนให้ความร่วมมือดีมาก ต้องขอขอบคุณ ทุกท่านแทนชาวบ้านหมู่ที่ 5 ด้วยที่มีคนดีๆมีโครงการดีๆมาให้
  3. นางสุดานาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มอหมายงานให้แก่คณะกรรมการเพื่อช่วยกันคิดและนำเสนอกิจกรรมดีๆให้กับชาวบ้านหมู่ที่ 5

 

15 15

12. นำเสนอข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลครัวเรือน

วันที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำเสนอข้อมูลจาการสำรวจครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ชุมชนและหน่วยงาน รับทราบ และตระหนัก ในปัญหา และข้อค้นพบจากการสำรวจ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต 1. มีผู้เข้าร่วมโครงการ ครัวเรือนอื่นที่สนใจ 50 ครัวเรือน เด็กวัยเรียน 50 คน มีเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข 1 คน เกษตรตำบล 1 คน

ผลลัพธ์

  1. ได้รู้จักพืชสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น
  2. ได้รู้จักสรรพคุณของสมุนไพรที่อยู่ใกล้ตัวเราที่เราไม่รู้
  3. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างคนในชุมชนเกี่ยวกับพืชสมุนไพร เช่น สมุนไพรที่ปลูกเหมือนกันแต่รู้สรรพคุณที่ต่างได้รู้จักสรรพคุณของสมุนไพรในแต่ละชนิดเพิ่มมากขึ้น
  4. ได้นำข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในชุมชนมาแก้ไข เช่น เรื่องการใช้สารเคมีในการทำเกษตรในครัวเรือน หันมาใช้พืชสมุนไพรมาใช้แทนและรู้จักนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เช่น นำใบสะเดามาหมักใช้แทนสารเคมีในการปราบศัตรูพืช นำสมุนไพรที่ปลูกไว้มาใช้นอกเหนือจากที่เคยทำอยู่เช่น ตะไคร้นอกจากใส่เครื่องแกง ก็ยังนำมาหั่นแล้วตากแห้ง ชงแทนชากิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.นำเสนอข้อมูลจาการสำรวจโดย ผู้ใหญ่บ้านร่วมกับคณะกรรมการโครงการ

2.เชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อบต. เกษตร พัฒนาชุมชน รพสต. และครัวเรือนที่เข้าร่วม แลกเปลี่ยน พูดคุย ปัญหาจากข้อมูล และร่วมเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน

3.เสวานา เรื่องพืชพื้นบ้าน ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยาที่ช่วยรักษาโรค โดยวิทยากร กลุ่มสตรีทำขนม และผู้ที่เก่งด้านการทำอาหารในหมู่บ้าน ประโยชน์ โทษ ของสารเคมีในการเกษตร และแนวทางการลดการใช้สารเคมีในการการเกษตร โดยวิทยากรเกษตรอำเภอ ร่วมกันปราชญ์ ด้านการทำปุ๋ยของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เชิญจ้าหน้าที่สาธารณะสุข และเกษตรตำบลถ้ำพรรณรามาร่วมรับฟัง
  2. วันนี้เป็นวันที่ รวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอแก่ ผู้ใหญ่บ้าน อบต. เกษตรตำบล และครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ โดยที่เราทางคณะกรรมการโครงการจะให้เด็กๆและพี่เลี้ยงกลุ่มเป็นผู้รวบรวมและนำเสนอ มีทั้งหมด 4 กลุ่ม สำรวจ 160 ครัวเรือนในพื้นที่หมู่ที่ 5
  3. พักรับประทานอาหารเที่ยงรวมกัน
  4. เด็กๆและอสม. ออกมานำเสนอข้อมูลจากการออกสำรวจในแต่ละกลุ่ม แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน บ้างกลุ่มก็มีพืชสมุนไพรชนิดแปลกๆและไม่รู้จักมาก่อน แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอได้อย่างสนุกสนานมาก บ้างกลุ่มบอกว่าเจอสุนัขไล่บ้างเห่าบ้างวิ่งกันอุดตะหลุด แต่สรุปได้ว่าพืชสมุนไพรที่มีอยู่มากในชุมชนส่วนใหญ่ก็เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด เป็นต้น และสรุปได้ว่า ครัวเรือนทั้งหมดิ164 ครัวเรือน มีที่ดินเป็นของตนเองจำนวน 2650.ไร่คิดเป็นร้อยละ60.และใช้เพื่อการเกษตรจำนวน1223ไร่ สมาชิกในครัวเรือนมีจำนวน 3-5 คน ร้อยละ.80.กิจกรรมการเกษตรที่ทำในครัวเรือน ปลูกข้าวจำนวน 8 ครัว ร้อยละ.5.ทำสวนจำนวน 164 ครัวคิดเป็นร้อยละ 100 ทำไรจำนวน 11 ครัวคิดเป็นร้อยละ 10 เลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำจำนวน 16 ครัวคิดเป็นร้อยละ.10.เลี้ยงสัตว์.30 ครัว คิดเป็นร้้อยละ.10.รับจ้างจำนวน 6 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ.5 และอาชีพอื่นๆจำนวน.0 ครัว คิดเป็นร้อยละ.0 รายได้ครัวเรือน12000 บาทต่อคน จำนวน 164 ครัว คิดเป็นร้อยละ 100 ครัวเรือนที่ใช้สารเคมีในการเกษตรจำนวน.133.ครัวคิดเป็นร้อยละ 50
  5. ผู้ที่เข้าร่วมในเวทีได้พูดคุย เรื่อง มีสมุนไพรแปลกที่คนไม่รุจักได้แก่ 1. ครอบจักรวาล ปลูกอยู่ที่บ้านเลขที่ 137 บ้านของลุงจรัส พรหมรักษา ปลูกไว้กินแก่เมื่อย 2.ขมิ้นฤาษี ปลูกไว้กินเพื่อรักษาโรคไขมันในเลือดสูง 3.ว่านร้อยแปด ปลูกไว้กินแก้โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ปลูกที่บ้านเลขที่ 171 บ้านของชนิดา อัคคี4. ต้นตุม ปลูกไว้แก้เจ็บคอ เจ็บหลัง ที่บ้านเลขที่ 69/1 บ้านนางยินดี พุฒแก้ว5. กระชายดำ กินแก้.จุกเสียดปลูกที่บ้านเลขที่.150นายโชคดี ไชยฤกษ์ 6. ว่านชักมดลูก แก้โรคเลือด ประจำเดือน หญิงหลังคลอด ปลูกที่บ้านเลขที่71 นายสมพร ไชยภักดี7. เขรียง ใช้เป็นยาสระผม ปลูกที่บ้านเลขที่ 239 บ้านนางจิราวัน สวัสดี
  6. ทางคณะกรรมโครงการก็รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ เก็บไว้ และนำเสอแก่ ผู้ใหญบ้านและเกษตรตำบลถ้ำพรรณรา เพื่อเสวนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในชุมชน เพื่อเป็นหมู่บ้านที่ลดหนี้ปลอดสารพิษ
  7. เสร็จภารกจและกิจกรรมแยกย้ายกันกลับบ้าน

 

100 100

13. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 4

วันที่ 24 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจ้งเกี่ยวกับกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา และมอบหมายงานและหน้าที่ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการมีบันทึกการประชุมก่อนหลังทำกิจกรรม และสามารถบริหารจัดการโครงการได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน

ผลลัพธ์

  1. คณะกรรมการเข้าใจและณุ้จักโครงการมากขึ้น
  2. คณะกรรมการโครงการมีการวางแผนร่วมกันมีความคิดดีๆเสนอแนะให้ซึ่งกันและกัน
  3. คณะกรรมการมีความรักความยินดีที่จะทำงาน เพราะ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจ้งรายละเอียดของกิจกรรมให้คณะกรรมการได้รับรู้อย่างชัดเจน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตาม ทบทวน ประเมินผลการทำกิจกรรม มีการประชุมก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนคณะกรรมการ เข้าร่วมประชุม

  2. นางสุดานาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจ้งเกี่ยวกับกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ว่าคณะกรรมการทุกคนให้ความร่วมมือดีมาก ต้องขอขอบคุณ ทุกท่านแทนชาวบ้านหมู่ที่ 5 ด้วยที่มีคนดีๆมีด๕รงการดีๆมาให้

  3. นางสุดานาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มอหมายงานให้แก่คณะกรรมการเพื่อช่วยกันคิดและนำเสนอกิจกรรมดีๆให้กับชาวบ้านหมู่ที่ 5

 

15 15

14. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 1

วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 10.00 น. - 14.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิด ผู้นำที่ดี มีจิตอาสาพัฒนาชุมชนพัฒนาบ้านเกิด มีขึ้นในชุมชน บ้านนาพา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีทีมสภาผู้นำเข้มแข็ง 1 ทีม ที่มีการประชุมต่อเนื่องโดยมีผู้นำที่เป็นทางการ และผู้นำธรรมชาติ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการโครงการ จำนวน 18 คน
  2. เจ้าหน้าที่ อบต.ถ้ำพรรณรา จำนวน 1คน
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขต.ถ้าพรรณรา จำนวน 1 คน

ผลลัพธ์

  1. คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการโครงการ รู้บทบาทและหน้าที่ของตัวเองมากขึ้น
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความคิดที่เปลี่ยน มีความเป็นผู้นำมากขึ้น ไม่ต้องจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้นำที่เกิดจากการเลือกตั้ง แต่เราสามารถเป็นผู้นำธรรมชาติ ที่ดีได้
  3. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำเรื่องราวความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้คนอื่นฟัง และมีผู้นำที่ดีมีจิตอาสาเพิ่มขึ้นในชุมชนบ้านนาพา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. พัฒนาคณะกรรมการโครงการ คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มผู้นำต่างในหมู่บ้าน ให้เกิดสภาผู้นำบ้านนาพา

2.นำข้อมูลดำเนินงานของโครงการ และนโยบายจากภาครัฐ อบต.และจากหน่วยงานอื่นๆมาพูดคุย เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน บ้านนาพาเดือนละ 1 ครั้ง

3.จัดทำทำเนียบสภาผู้นำบ้านนาพา

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เชิญทุกท่านเข้าร่วมอบรมและลงทะเยียนเข้าร่วมอบรม
  2. นางสุดา  นาคฤทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวตอนรับ เจ้าหน้าที่ อบต.ถ้ำพรรณรา  เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขต.ถ้ำพรรณรา และคณะกรรมการโครงการคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่าน
  3. น.ส. ศิรินธร  ทองสุข เจ้าที่สาธารณสุขต.ถ้ำพรรณา ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นจิตอาสา การเป็นผู้นำที่ดีของคนในชุมชน
  4. ปลัดอบต.ถ้ำพรรณรา นายสุทธิวงศ์  สวัสดิวงค์ มาพูดคุยเก๊่ยวกับการมีจิตอาสา และการเป็นผู้นำ

 

20 20

15. ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09.00น. - 17.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อการสรุปผลงานที่ผ่านมา สรุปการเงิน และรับเงินงวดที่ 2

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

1.คณะกรรมการโครงการ จำนวน 2 คน

ผลลัพธ์

  1. ได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการกับการเงินงวดที่ 1 ให้ถูกต้อง เม่นยำ
  2. ได้เรียนรู้เรื่องการบันทึกกิจกรรมที่ถูกต้อง ถูกวิธี อ่านแล้วดูดีมีสาระ ที่หน้าสนใจ
  3. จัดการส่งรายงาน ส. 1 และ ง.1 ให้แก่ สจรส.ม.อ.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สรุปผลงานงวดที่ผ่านมา สรุปการเงินงวดที่ 1 เพื่อรับเงินงวดที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1 เพื่อแก้ไขข้อมูลในการจัดทำข้อมูลให้เป็นไปตามเงือนไขของสสส.และจัดการบริหารการเงินอย่างถูกต้อง โปรงใส่ และเม้นยำ และจัดทำส่งรายงาน รายงานการเงิน งวดที่ 1 แก่ สจรส. ม.อ.

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 42 15                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 167,795.00 60,232.00                  
คุณภาพกิจกรรม 60 51                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 5 ( 21 ก.พ. 2559 )
  2. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 2 ( 21 ก.พ. 2559 )
  3. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 6 ( 20 มี.ค. 2559 )
  4. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 3 ( 20 มี.ค. 2559 )
  5. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 7 ( 17 เม.ย. 2559 )
  6. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 4 ( 17 เม.ย. 2559 )
  7. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 8 ( 22 พ.ค. 2559 )
  8. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 5 ( 22 พ.ค. 2559 )
  9. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 9 ( 19 มิ.ย. 2559 )
  10. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 6 ( 19 มิ.ย. 2559 )
  11. เวทีชื่นชมความสำเร็จ ประกวด ครัวเรือน และแปลงสาธิตพืชปลูกหมุนเวียน ( 22 มิ.ย. 2559 )
  12. เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ สารไล่แมลง จากผู้รู้และปราชน์ชาวบ้าน ครั้งที่1 ( 17 ก.ค. 2559 )
  13. เรียนรู้มิติการดูแลสุขภาพด้วยพืชพื้นบ้าน ปลอดสารเคมี เพื่ออาหาร ตำรับอาหาร และขนม จากกลุ่มสตรีในชุมชน ครั้งที่ 2 ( 18 ก.ค. 2559 )
  14. เรียนรู้มิติการดูแลสุขภาพด้วยพืชพื้นบ้าน ปลอดสารเคมี เพื่ออาหาร และขนม จากกลุ่มสตรีในชุมชน ครั้งที่ 3 ( 19 ก.ค. 2559 )
  15. ฟื้นฟูการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือนอย่างง่าย แก่เด็กและครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ( 23 ก.ค. 2559 )
  16. ประชุมคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 10 ( 24 ก.ค. 2559 )
  17. คัดเลือกแปลงสาธิต 4 แปลง พร้อมแบ่งทีมพัฒนาปรับปรุงแปลงสาธิต ครั้งที่ 1 ( 24 ก.ค. 2559 )
  18. ประชุมพัฒนาให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 7 ( 24 ก.ค. 2559 )
  19. เด็ก ผู้สูงอายุ นำกล้าพันธุ์พืชสมุนไพรมาจากบ้าน และปลูกลงในแปลง ดูแลให้น้ำ ให้ปุ๋ย ครั้งที่ 2 ( 30 ก.ค. 2559 )

(................................)
นาง สุดา นาคฤทธิ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ