แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ตลาดร่วมใจปากท่าซอง

ชุมชน บ้านปากท่าซอง ม.8 ต.ถ้ำพรรณรา อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03876 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2159

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการกับสจรส ม.อ

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจและจัดทำปฏิทินของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ปฏิทินกิจกรรมของโครงการทั้งหมดในรอบระยะเวลา 1 ปี และนำเสนอกับพี่เลี้ยงและสจรสม.อ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมปฐมนิเทศโครงการกับสจรสม.อ ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำปฏิทินโครงการในรอบระยะในการดำเนินงานของโครงการในเสร็จสมบูรณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการกับสจรสม.อ โดยมีผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน จัดทำปฏิทินโครงการในรอบระยะการดำเนิน 1 ปี

 

2 2

2. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่1

วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจและจัดทำปฏิทินของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการโครงการสามารถ ติดตาม ประเมิน โครงการ และมีแผนการแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ชี้แจงให้คณะกรรมการเข้าใจรายละเอียดของโครงการ การจัดกิจกรรมและการดำเนินงานในด้านต่างๆของคณะกรรมการรวมถึงงบประมาณในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของคณะกรรมการ รวมถึงแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานในกิจกรรมครั้งต่อไป สามารถอธิบายให้กับชาวบ้านในชุมชนใด้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และรายละเอียดต่างได้อย่างถูกต้อง อีกส่วนหนึ่งเพื่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงานของคณะกรรมการในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการทุกท่านทำความเข้าใจ รายละเอียดโครงการ กิจกรรม งบประมาณ และแบ่งหน้าที่กันชัดเจน
2.ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตาม ประเมินผล โครงการ มีการประชุมก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ
  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการโครงการ

 

15 15

3. ประชุมชี้แจงครัวเรือนในหมู่บ้านเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ

วันที่ 9 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจและจัดทำปฏิทินของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีครัวเรือนเข้าสมัครในโครงการไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน และมีคนเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 100 คน

2.มีทีมสำรวจข้อมูลครัวเรือน 1 ทีม

3.มีทีมจัดตั้งและดูแลกำกับติดตามตลาด 1 ทีม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 96 คนเนื่องจากในวันจัดการประชุมมีฝนตกหนักมากเลยทำให้ชาวบ้านมาไม่ครบตามจำนวนขณะประชุมชาวบ้านให้ความสนใจในโครงการและมีการสอบถามเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับจากโครงการ คณะจัดการประชุมทำความเข้าใจกับชาวบ้านและแนะนำช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน โดยมีทีมงานของคณะกรรมการของโครงการและพี่เลี้ยงของโครงการมาแนะนำให้คำปรึกษากับชาวบ้านในเรื่องของ งบประมาณของโครงการ และการทำงานของคณะกรรมการ รวมถึงการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่
หลังจากการประชุมเสร็จ ได้มีการเปิดรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ และทีมสำรวจข้อมูลของหมู่บ้าน จากการเปิดรับสมัครทำให้ได้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 ครัวเรือน แบ่งเป็นเกษตรกรสวนยางพาราจำนวน 30 ครัวเรือน เกษตรกรชาวสวนผลไม้ และพืชเกษตรจำนวน 30 ครัวเรือนและทีมสำรวจข้อมูลของหมู่บ้านแบ่งเป็นทีมได้ 5 ทีม ประกอบด้วย คณะกรรมการโครงการ เยาวชน เด็กในวัยเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ประชุมชี้แจง วัตถุประสงค์โครงการแก่ครัวเรือนในหมู่บ้านทั้งหมด

2.รับสมัครครัวเรือนเข้าโครงการ และ ร่วมกันทำปฏิทินโครงการ

3.รับสมัครทีมสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน

4.รับสมัคร และจัดทีมจัดตั้งและดูแล กำกับติดตามเรื่องตลาดหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมชี้แจง วัตถุประสงค์โครงการแก่ครัวเรือนในหมู่บ้านทั้งหมด
  • รับสมัครครัวเรือนเข้าโครงการ และ ร่วมกันทำปฏิทินโครงการ
  • รับสมัครทีมสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน
  • รับสมัคร และจัดทีมจัดตั้งและดูแล กำกับติดตามเรื่องตลาดหมู่บ้าน

 

100 96

4. การจัดป้ายเขตปลอดบุหรี่

วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดทำป้ายสัญลักณ์เขตปลอดบุหรี่ และป้ายชื่อโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดทำป้ายไวนิลเขตปลอดบุหรี่ตามโครงการของสสส. ตามรูปแบบที่สสส.ได้กำหนดไว้ ติดตั้งในสถานที่จัดประชุมโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายสัญลักณ์เขตปลอดบุหรี่ และป้ายชื่อโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายไวนิลเขตปลอดบุหรี่

 

2 2

5. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่2

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับคณะกรรมการไนการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการโครงการสามารถ ติดตาม ประเมิน โครงการ และมีแผนการแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการพูดคุยวางแผน เพื่อเตรียมเรื่องแผนลงสำรวจข้อมูลครัวเรือนเป็นพื้นฐานของการทำงาน โดยกำหนดโซนเก็บข้อมูลเป็น 5 โซน ให้ผู้นำชุมชนรับผิดชอบคนละโซน เพื่อง่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลและกำหนดหน้าที่เพิ่มเติมแก่คณะกรรมการคือ การประชาสัมพันธ์ให้ครัวเรือนในหมู่บ้านมาเข้าร่วมในการจัดกิจกรรมของโครงการ นอกจากประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ช่วยรับส่งผู้ที่จะมาร่วมกิจกรรม นอกจากนั้นวางแผนเพื่ให้เกิดสภาผู้นำของหมู่บ้านเหมือนแผนที่เขียนไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการทุกท่านทำความเข้าใจ รายละเอียดโครงการ กิจกรรม งบประมาณ และแบ่งหน้าที่กันชัดเจน
2.ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตาม ประเมินผล โครงการ มีการประชุมก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมชี้แจงเตรียมสำรวจข้อมูลครัวเรือน
  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการโครงการ

 

15 15

6. ครั้งที่ 1 การจัดทำแบบสำรวจครัวเรือนประชุมทีมงาน และเริ่มลงสำรวจครัวเรือน

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดทำแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน และแบ่งทีมสำรวจ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีข้อมูลครัวเรือนเรื่องต้นทุนการเกษตร รายรับ รายจ่าย ตลาดหมู่บ้านที่ควรเป็นจำนวน 163 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะกรรมการโครงการ และทีมสำรวจช่วยกันจัดทำแบบสำรวจตามแบบสอบถามข้อมูลของสำนักเกษตรอำเภอเน้นข้อมูลการทำเกษตรของหมู้่บ้าน และรายรับรายจ่าย หนี้สินของแต่ละครัวเรือนได้แบบสำรวจข้อมูล 1 ชุด
  2. ทีมสำรวจทำความเข้าใจแบบสำรวจ ซักถามข้อสงสัย
  3. ทีมสำรวจประกอบด้วย เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ มีทั้งหมด 5 ทีม
  4. ได้ลองลงสำรวจข้อมูลไปจำนวน 10 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.จัดทำแบบสำรวจครัวเรือน เรื่องต้นทุนการทำเกษตร รายได้ รายจ่าย ของแต่ละครัวเรือน และแบบสอบถามข้อมูล ตลาดหมู่บ้านที่ท่านต้องการ ต้องเป็นอย่างไร

2.รวบรวมทีมงาน โดย

จัดทีมสำรวจ ( 1 ทีม ประกอบด้วยเด็ก 1 คน ผู้ใหญ่ 1 คน)

จัดทีมรวบรวมข้อมูล (คณะกรรมการ 15 คน)

จัดทีมวิเคราะห์ข้อมูล (เชิญนักวิชาการการศึกษา อบต.มาร่วมเป็นทีมเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง)เตรียมข้อมูลนำเสนอแก่เวทีครัวเรือนในหมู่บ้าน

3.ลงสำรวจครัวเรือน จำนวน 4 วัน จำนวน 163 ครัว

4.รวบรวม สรุปวิเคราะห์ เตรียมนำเสนอข้อมูล 1 วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดทำแบบสำรวจ ข้อมูลของครัวเรือน โดยยึดแบบสอบถามของ สำนักเกษตร อำเภอ คณะกรรมช่วยกันคัดเลือกข้อมูล และหัวข้อที่จะสำรวจครัวเรือน โดยมีที่ปรึกษาคือ เกษตรอำเภอโดย ใช้ข้อมูลเกษตกรสวนยางพารา เกษตรกรปลูกพืชและผลไม้ รวมถึงความเป็นอยู่ของแต่ละครัวเรือนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ รายรับ รายจ่าย และหนี้สินของแต่ละครัวเรือน
  2. ทีมสำรวจ แบ่ง เขต บ้านที่จะลงสำรวจ เป็น 5 เขต และแบ่ง ทีมเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ เป็น 5 ทีม และจำนวนบ้านที่จะลงสำรวจ
  3. จัดพิมพ์ และ ซักซ้อม หัวข้อที่จะลงสำรวจเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
  4. นัดจุดนัดพบ ก่อนลงสำรวจ

 

60 41

7. ครั้งที่ 2 สำรวจครัวเรือน

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจข้อมูลของครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีข้อมูลครัวเรือนเรื่องต้นทุนการเกษตร รายรับ รายจ่าย ตลาดหมู่บ้านที่ควรเป็นจำนวน 163 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีทีมสำรวจที่เป็นคณะกรรมการ 15 คน และทีมสำรวจที่เป็นเด็ก จำนวน 5 คนเข้าร่วมทีมสำรวจวันนี้
  2. ทีมสำรวจที่เป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นคณะกรรมการในโครงการเป็นหลัก
  3. ลงสำรวจครัวเรือนได้ทั้งหมด 41 ครัวเรือน
  4. ครัวเรือนในหมู่บ้านสนใจ และสอบถาม ถึงสาเหตุ และกิจกรรมที่ลงสำรวจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นัดแนะพบกันที่บ้านผู้ใหญ่ แล้วแยกย้ายลงสำรวจข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ทีมสำรวจข้อมูลประกอบด้วยผู้ใหญ่ เด็ก เยาวชน พบกันที่ประชุมหมู่บ้าน ทบทวนคำถามในการสำรวจข้อมูลครัวเรือน เพื่อความเข้าใจตรงกัน
  2. ทีมสำรวจลงปฏิบัติการในครัวเรือนเป้าหมายส่วนใหญ่ จะขับรถมอเตอร์ไซด์ และจักรยานไปเป็นคู่
  3. พักเที่ยง
  4. เริ่มสำรวจครัวเรือนอีกครั้ง เวลา 13.30 น.- 16.00 น. ทีมสำรวจจึงแยกย้ายกันกลับ

 

60 58

8. ครั้งที่ 3 สำรวจครัวเรือน

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจข้อมูลของครัวเรือนเพิ่มเติม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีข้อมูลครัวเรือนเรื่องต้นทุนการเกษตร รายรับ รายจ่าย ตลาดหมู่บ้านที่ควรเป็นจำนวน 163 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทีมสำรวจประกอบด้วยเด็กและเยาวชน ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นคณะกรรมการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ตั้งแต่เวลา 10.00- 16.00 น.
  2. สำรวจครัวเรือน ได้จำนวน 50 ครัว
  3. ครัวเรือนที่ลงสำรวจ พบว่า มักจะซักถามถึงปัญหาที่ต้องมาสำรวจ และถามความเกี่องกับราคายางพาราที่ตกต่ำ และซักถามเกี่ยวกับค่าชดเชย ของเกษตรกร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ลงสำรวจครัวเรือน จำนวน 50 ครัว

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดประชุมทีมสำรวจ
  • ออกสำรวจข้อมูลครัวเรือน (เป้าหมายจำนวน 41 ครัวเรือน)

 

60 48

9. ครั้งที่ 4 สำรวจครัวเรือน

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจครัวเรือนข้อมูลเพิ่มเติม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีข้อมูลครัวเรือนเรื่องต้นทุนการเกษตร รายรับ รายจ่าย ตลาดหมู่บ้านที่ควรเป็นจำนวน 163 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทีมสำรวจประกอบด้วยคณะกรรมการโครงการ เด็ก เยาวชนใช้เวลาลงสำรวจข้อมูลตั้งแต่เวลา 10.00 - 15.30 น.
  2. สำรวจข้อมูลได้ทั้งหมด 62 ครัว และรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ส่งที่คณะกรรมการโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทีมสำรวจลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครัวเรือนส่วนที่เหลือที่ยังไม่ได้สำรวจ อีกจำนวน 63 ครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ทีมสำรวจประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน และเด็กยาวชน เริ่มลงสำรวจหมู่บ้านเวลา 10.00 น.
  2. พักเที่ยง และเริ่มสำรวจข้อมูลเวลา 13.30 น.
  3. ทีมสำรวจข้อมูล สำรวจเสร็จสิ้นเวลา15.30 น. สำรวจข้อมูลได้ทั้งหมด 62 ครัว และรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ส่งที่คณะกรรมการโครงการ

 

60 40

10. ครั้งที่ 5 สรุป วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจครัวเรือน และเตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอแก่ชุมชน

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรวบรวมข้อมูลของครัวเรือนไนพื้นที่ มาสรุป วิเคราะห์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีข้อมูลครัวเรือนเรื่องต้นทุนการเกษตร รายรับ รายจ่าย ตลาดหมู่บ้านที่ควรเป็นจำนวน 163 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีข้อมูลของเกษตรกร จำนวน 145 ครัวเรือน ขาดข้อมูลอีก 19 ครัวเรือนเป็นบ้านว่าง
  2. ผลสรุปข้อมูล คือครัวเรือนส่วนใหญ่ปลูกยางพารา ร้อยละ 61 ที่เหลือเป็นสวนผลไม้ และนาข้าว ครัวเรือนเป็นหนี้สินร้อยละ 53.79 ครัวเรือนที่เป็นหนี้สินมากที่สุดคือจำนวน 4,000,000 บาท ครัวเรือนเป็นหนี้น้อยที่สุดคือจำนวน 100,000 บาท ฯลฯ
  3. คณะกรรมการได้ปรึกษานักวิชาการจาก อบต. เพื่อเตรียมหัวข้อ นำเสนอ และชักชวนชาวบ้านให้เห็นความสำคัญของ การทำเกษตรพอเพียง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. รวบรวมข้อมูลตามเขตบ้าน 5 เขต
  2. นำข้อมูล 5 เขตบ้านมารวมเป็น 1 ชุด
  3. วิเคราะห์ข้อมูล และกำหนด ข้อที่ควรนำเสนอให้ชาวบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการโครงการ รวบรวมข้อมูลทีละเขต บ้าน 5 เขต แล้วนำมารวมเป็นข้อมูล 1 ชุด และจัดพิมพ์เพื่อเตรียมนำเสนอ

 

60 60

11. พัฒนาสภาผู้นำ ครั้งที่ 1

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของคณะทำงานโครงการตลาดรวมใจปากท่าซอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดสภาผู้นำมาขับเคลื่อนปัญหาหมู่บ้านปากท่าซอง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

หัวหนัาโครงการ นายทวีจิตรสุดจิตรเล่าถึงที่มาที่ไปโครงการเพื่อนำงบประมาณมาพัฒนาหมู่บ้านและจะจัดประชุมสภาผู้นำทุกเดีอนเพื่อให้มีการพูดคุยถึงกิจกรรมทั้งในโครงการและกิจกรรมหรืองานอื่นๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านและอยากให้คนที่มาประชุมในสภาผู้นำช่วยกันเสนอแนะและเพื่อหาแนวทางพัฒนาหมู่บ้านทั้งในโครงการและไม่ใช่โครงการโดย นาย ทวีจิตรสุดจิตร ใด้อถิบายถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อไห้เกิดประโยชน์กับคณะกรรมการผู้ร่วมสำรวจในโครงการและเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รู้ถึงที่มาของโครงการนี้และสิ่งที่ได้รับจากโครงการตลาดรวมใจบ้านปากท่าซองและเปิดโอกาสให้สอบถามเรื่องต่างๆที่ไม่เข้าใจและชี้แจงเรื่องงบประมาณในการจัดทำโครงการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจการจัดการเรื่องงบประมาณ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.พัฒนาคณะกรรมการโครงการ ทีมจัดการตลาด และทีมนักสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน ให้เกิดเป็นสภาผู้นำหมู่บ้านปากท่าซอง

2.ทีมต่างๆนำข้อมูลผลการดำเนินงาน ของโครงการ และนโยบายจากภาครัฐ หรือ อบต. และจากหน่วยงานอื่นๆ มาพูดคุยเพื่อ พัฒนาหมู่บ้านปากท่าซอง เดือนละ 1 ครั้ง

3.จัดทำทำเนียบสภาผู้นำบ้านปากท่าซอง

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดการประชุมพัฒนาสภาผู้นำ - ประชุมชี้แจงรายงานผลจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา - อธิบายขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการ - วางแผนไนการจัดกิจกรรมในรอบต่อไป

 

10 10

12. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 9:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อไห้เกิดความรู้ในการเขียนรายงานและการจัดทำบัญชีเกี่ยวกับการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายนั้นได้มีความรู้ในเรื่องของขั้นตอนการเขียนรายงานของการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการทำบัญชีในแต่ละครั้งของกิจกรรมที่ทำ และที่สำคัญคือเรื่องของ การหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น กิจกรรมที่มีการจ่ายเงินเกินจาก 999 บาท นั้นจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
  • การจัดกิจกรรมไนครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมรับฟังนั้นสามารถนำความรู้ที่ได้ มาอธิบายให้กับคณะกรรมการโครงการตลาดรวมใจปากท่าซองเพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ให้กับทีมงานและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ผู้เข้าร่วมประชุมกับ สสส.สจรส.มอ.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้ารับการอบรมชี้แจงเรื่อง
- การเขียนรายงาน - การบันทึกกิจกรรม - การจัดทำบัญชี - การหักภาษี ณ.ที่จ่าย

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้าร่วมรับฟังการอบรมเรื่อง - การเขียนรายงาน - การบันทึกกิจกรรม - การจัดทำบัญชี - การหักภาษี ณ.ที่จ่าย

 

2 2

13. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่3

วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับคณะกรรมการไนการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการโครงการสามารถ ติดตาม ประเมิน โครงการ และมีแผนการแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการประชุมพูดคุยประจำเดือนของรอบโครงการ โดยหัวหน้าโครงการได้เล่า และอธิบายเรื่องการทำรายงานการเงิน รายงานการจัดเอกสาร หลักฐานต่างๆได้แก่ ใบเสร็จ ใบสำคัญรับเงินต่างๆ รวบรวมไว้ในแต่ละกิจกรรม และมอบหมายให้เหรัญญิกเป็นผู้รวบรวม กรรมการท่านอื่นเสนอให้เหรัญญิก สรุปรายงานการใช้เงินทุกครั้งที่มีการประชุมและพูดคุยเตรียมงานในการเปิดเวทีนำเสนอข้อมูลที่ได้สำรวจมาแก่ที่ประชุมของหมู่บ้าน และหัวหน้าโครงการกับชับให้คณะกรรมการชักชวนครัวเรือนเข้ามาฟังข้อมูลของหมู่บ้านให้มากที่สุด และเพื่อให้ชาวบ้านร่วม รับรู้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้เข้มแข็งขึ้นกว่าเดิม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการทุกท่านทำความเข้าใจ รายละเอียดโครงการ กิจกรรม งบประมาณ และแบ่งหน้าที่กันชัดเจน
2.ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตาม ประเมินผล โครงการ มีการประชุมก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ
  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการโครงการ

 

15 15

14. นำเสนอข้อมูลจากการสำรวจข้อมูล

วันที่ 25 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อไห้ชาวบ้านรวมถึงผู้เข้าร่วมประชุมได้รับรู้ถึงข้อมูลจากการลงสำรวจพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. ครัวเข้าประชุมรับทราบข้อมูล และร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างน้อยร้อยละ 60 ของครัวเรือนทั้งหมด (อย่างน้อย 98 ครัวเรือน)

2 .มีรายชื่อครัวเรือนเข้าร่วมในตลาดอย่างน้อย 30 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100 คน
  2. มีวิทยากรปราญช์ชาวบ้านจำนวน 1 คน
  3. มีเกษตรอำเภอร่วมกิจกรรม จำนวน 1 คน

ผลลัพธ์

  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าที่กำหนด มีการให้ความรู้ความคิดดีๆเพิ่ม
  2. มีการจัดกิจกรรมดีๆนอกเหนือจากปฎิทินที่วางไว้
  3. มีการจัดกิจกรรมทำขนม ให้เด็กๆได้นำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยนช์ ในการใช้ชีวิตประจำวัน
  4. มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการทำตลาด และเปิดรับสมาชิกเข้าสู่ตลาดร่วมใจบ้านปากท่าซอง
  5. จากการสำรวจข้อมูลครัวเรือนทั้ง 4 วันได้ข้อมูลดังนี้ มีข้อมูลของเกษตรกร จำนวน 145 ครัวเรือน ขาดข้อมูลอีก 19 ครัวเรือนเป็นบ้านว่าง ผลสรุปข้อมูล คือครัวเรือนส่วนใหญ่ปลูกยางพารา ร้อยละ 61 ที่เหลือเป็นสวนผลไม้ และนาข้าว ครัวเรือนเป็นหนี้สินร้อยละ 53.79 ครัวเรือนที่เป็นหนี้สินมากที่สุดคือจำนวน 4,000,000 บาท ครัวเรือนเป็นหนี้น้อยที่สุดคือจำนวน 100,000 บาท ฯลฯและชักชวนชาวบ้านให้เห็นความสำคัญของ การทำเกษตรพอเพียง โดยหัวหน้าโครงการและคณะกรรมการโครงการเล่าไห้ที่ประชุมฟังว่ากิจกรรมไนโครงการเป็นกิจกรรมส่งเสร็มไห้ชาวบ้านทำการเกษตรพอเพียงมีกิจกรรมทำเกษตรปลอดสารเคมีสอนทำบัญชีครัวเรือนทำปุ๋ยคอกและเราจะร่วมกันเปิดตลาดเพื่อมาขายพืชผักผลิตผลทางการเกษตรแต่ชาวบ้านต้องการไห้ผู้นำๆทำกิจกรรมแล้วชาวบ้านจะมาร่วมเอง
  6. ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้นำข้อมูลจากการสำรวจ เรื่องต้นทุนการเกษตร รายรับ รายจ่าย ตลาดหมู่บ้านที่ควรจะเกิดขึ้นในชุมชน แก่ชาวบ้าน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กัน ทั้งคณะกรรมการโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการเปิดรับสมาชิกเข้าสู่ตลาดหมู่บ้านเพื่อซื้อขายสินค้า และนำข้อมูลพืช ผักผลไม้ที่สำรวจมาได้มาสรุป เพื่อจัดการให้ถูกจุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ช่วงเช้ามีการแสดงของเด็กในโรงเรียน 1 ชุด

2.ผู้ใหญ่บ้าน นายทวีจิต นำเสนอข้อมูลให้แก่ครัวเรือนทราบ

3.รับฟังข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาหมู่บ้านจากเวที และนำเข้ามาร่วมในแผนของโครงการ

4.คณะกรรมการโครงการจดบันทึกรายละเอียดต่างๆจากข้อเสนอแนะของที่ประชุม

5.รับสมัครสมาชิกเข้าสู่ตลาดหมู่บ้านเพื่อซื้อขายสินค้าเกษตรโดยเชื่อมกับโรงรับซื้อน้ำยาง และแม่ค้ารับซื้อผัก ผลไม้เลย

6.รับฟังความคิดเห็นเรื่องแนวทางการจัดการตลาดจากครัวเรือนที่เข้าร่วม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
  2. นายทวีจิตรสุดจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวทักทายพ่อแม่พี่น้องที่มาร่วมโครงการ ได้เล่าถึงข้อมูลจากการสรวจข้อมูลครัวเรือนทั้ง4วัน
  3. หลังเที่ยง นายทวีจิตรสุดจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้นำข้อมูลจากการสำรวจ เรื่องต้นทุนการเกษตร รายรับ รายจ่าย ตลาดหมู่บ้านที่ควรจะเกิดขึ้นในชุมชน แก่ชาวบ้าน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กัน ทั้งคณะกรรมการโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการเปิดรับสมาชิกเข้าสู่ตลาดหมู่บ้านเพื่อซื้อขายสินค้า และนำข้อมูลพืช ผักผลไม้ที่สำรวจมาได้มาสรุป เพื่อจัดการให้ถูกจุด

 

100 100

15. พัฒนาสภาผู้นำ ครั้งที่ 2

วันที่ 27 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของคณะทำงานโครงการตลาดรวมใจปากท่าซอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดสภาผู้นำมาขับเคลื่อนปัญหาหมู่บ้านปากท่าซอง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการโดย นายทวีจิตร สุดจิตร ใด้เปิดการประชุมและชื้แจ้งถึงวาระการประชุมที่ทางอำเภอใด้มอบหมายมาเพื่อใด้รับรู้ถึง1การฉีดวังซีนป้องกันโรคคอตีบ2เรื่องการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง3การจัดเก็บข้อมูล จปฐ.4การดูแลรักษาความสงบในหมู่บ้าน ต่อจากนั้นใด้คุยถึงเรื่องการทำโครงการตลาดรวมใจบ้านปากท่าซองต่อเนื่องจากการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาไห้ผู้เข้าร่วมรับฟังการจัดกิจกรรมสภาผู้นำไนครั้งนี ได้มีความรู้ไนเรื่องของการจักกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา เช่น การออกผสำรวจข้อมูลของครัวเรือนไนแต่ละครั้งรวมถึงผลของการสำรวจ รายรับ รายจ่าย หนี้สิน ไนแต่ละครัวเรือน และร่วมกันวางแผนไนการดำเนินงานไนกิจกรรมครั้งต่อไปใด้อย่างมีประสิทธิภาพโดยวางแผนเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรู้ถึงการออกเดินสำรวจข้อมูลเรื่องต่างๆเช่นหนี้สิน พื้นที่การทำเกษตรผสมผสานของแต่ละครัวเรือนเพื่อให้แต่ละครัวเรื่อนใด้มีความรู้ความเข้าใจในการทำการเกษตรเพื่อขายหารายใด้สร้างอาชีพเสร็มให้กับครัวเรือนจากนันมีนายศิริชัยเติมคลังเกษตรอำเภอใด้กล่าวชี้แจงถึงเรื่องการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางต่อจากนันมีนายมนชัย สุขอนันค์ พัฒนากรอำเภอ ใด้ชี้แจงเรื่องการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.พัฒนาคณะกรรมการโครงการ ทีมจัดการตลาด และทีมนักสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน ให้เกิดเป็นสภาผู้นำหมู่บ้านปากท่าซอง

2.ทีมต่างๆนำข้อมูลผลการดำเนินงาน ของโครงการ และนโยบายจากภาครัฐ หรือ อบต. และจากหน่วยงานอื่นๆ มาพูดคุยเพื่อ พัฒนาหมู่บ้านปากท่าซอง เดือนละ 1 ครั้ง

3.จัดทำทำเนียบสภาผู้นำบ้านปากท่าซอง

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดการประชุมพัฒนาสภาผู้นำ - ประชุมชี้แจงรายงานผลจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา - อธิบายขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการ - วางแผนไนการจัดกิจกรรมไนรอบต่อไป

 

10 15

16. เรียนรู้ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือน

วันที่ 9 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ฟื้นฟูการทำบัญชีครัวเรือน ให้กับคนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนทำบัญชีครัวเรือนร้อยละ 80 จากครัวเรือนที่สมัครเข้าโครงการทั้งหมด

2.ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการทำการเกษตรผสมผสานปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 30


3.ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีค่าใช้จ่ายด้นต้นทุนการผลิตเกษตรลดลงร้อยละ 30

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน 60 คน
  2. มีปราชญ์ชาวบ้าน และครูบัญชี เข้าร่วมจำนวน 2คน

ผลลัพธ์

  1. มีผู้สนใจในกิจกรรมการทำบัญชีครัวเรือน
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการให้ความสำคัญกับการทำบัญชีครัวเรือน
  3. ต่อไปผู้เข้าร่วมโครงการจะจัดทำกิจกรรมการทำบัญชีครัวเรือนและจะได้แก้ปัญหาค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เรียนรู้เรื่อง ฟื้นฟูการทำบัญชีครัวเรือน และกำหนดกติกาการทำบัญชีครัวเรือน โดยครูบัญชีของหมู่บ้าน
  2. เรียนรู้เรื่องปุ๋ย (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยที่เกิดจากธรรมชาติปลอดสารเคมี) ผู้ปลูกผักประสบความสำเร็จในหมู่บ้านร่วมกับเกษตรอำเภอ โดยไปเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้ของหมู่บ้าน และบ้านของดำเนินการเรื่องปุ๋ยสำเร็จ
  3. เรียนรู้เรื่องน้ำยางพาราคุณภาพ และเทคนิคการได้ยางพาราที่มีคุณภาพ(การเตรียมดิน การเพาะกล้ายางการเลือกพันธ์ การติดตา ต่อตา การดูแลรักษา การใช้ปุ๋ย การกรีด การเก็บรักษา)เกษตรอำเภอร่วมกับ ปราชญ์ในหมู่บ้านด้านทำการทำสวนยาง
  4. เรียนรู้เรื่อง การปลูกผักแซมในร่องสวนยางพารา สวนปาล์ม นาข้าว อย่างมีคุณภาพ (การเตรียมดิน การเพาะผักการเลือกพันธ์ การดูแลรักษา การใช้ปุ๋ย) และเลี้ยงปลาโดยเกษตรอำเภอ ร่วมกับปราชญ์ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
  5. เรียนรู้เรื่องการจัดการตลาดหมู่บ้าน และแนวทางเพิ่มคุณภาพของการมีตลาดหมู่บ้านอย่างยั่งยืน โดยทีมจัดตั้งตลาด พ่อค้ารับซื้อน้ำยางพารา และแม่ค้ารับซื้อผลผลิต ทีมด้านเศรษฐกิจของ อบต.ถ้าพรรณา

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
  2. นายทวีจิตร สุดจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจ้งกิจกรรมให้กับผู้เข้าร่วมโครงการทราบในการจัดทำบัญชีครัวเรือน เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์กับครอบครัวเพื่อลดรายจ่าย เพื่อเพิ่มรายรับให้เพิ่มขึ้นมีรายได้ที่ดีขึ้น
  3. นายทวีจิตร  สุดจิตร เชิญวิทยากรครูบัญชี ชี้แจ้งให้ความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  4. พักรับประทานอาหารกลางวัน
  5. เชิญวิทยากรปราชญ์ชาวบ้านให้ความรู้และฝึกปฎิบัติให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และฝึกหัดการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน

 

60 60

17. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่4

วันที่ 9 มกราคม 2559 เวลา 09.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับคณะกรรมการไนการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการโครงการสามารถ ติดตาม ประเมิน โครงการ และมีแผนการแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการเตรียมจัดกิจกรรม 6 กิจกรรมในเดือนมกราคมโดยวันที่ 9 มกราคม 59 สอนทำบัญชีครัวเรือนโดยนาย เกรียงศักด์ชะลา เป์นครู กศน.ตำบลคลองเส และ นายมลชัยสุขอนันต์ พัตนากรอำเภอมาร่วมให้ความรู้กับชาวบ้าน วันที่ 16 มกราคม 59 จัดกิจกรรมเรียนรู้การทำปุ๋ยคอกโดยให้อาสาเกษตรของหมู่บ้าน นายอธิพงศ์ ภารา17 มกราคม 59จัดกิจกรรมการทำน้ำยางข้นถ้วยโดยมีนายวาสนา เพชรอาวุธ22 มกราคม 59 วางแผนพาเด็กๆไปลงสำรวจแปลงผัก 23 มกราคม 59 เรียนรู้เรื่องการปลูกผักแซมไนร่องสวนยางพาราและผลไม้โดยมีนายอธิพงศ์ภารา24 มกราคม 59 เรียนรู้เรื่องการจัดการตลาดและแนวทางเพิ่มคุณภาพโดยนายมลชัย สุขอนันต์ ส่วนการติดตามครัวเรือนมาร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมมอบหมายให้ผู้ช่วยผ่ายปกครองรับผิดชอบและเรื่องอาหารว่างโดยนางนาตยา เทวฤทธิ์ และเรื่องเอกาสารการลทะเบียน เอกสารการเงิน มอบหมาายให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองรับผิดชอบ และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรม ดผัก จอบ เสียบ ถัง ฯลฯให้นายสนัน ศรีแก้วรับผิดชอบ และทุกกิจกรรมจัดที่ศาลาประจำหมู่บ้าน ยกเว้นกิจกรรมลงแปงผักไปงที่แปลงของนายอนุชาติ สืบ ,นายอธิพงศ์ ภารา,นายทวีจิต สุดจิตรนายสุรสิทธ์อาวุธเพชรนายสุทธิรักษ์ ยอดระบำนายสายันต์ภารา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการทุกท่านทำความเข้าใจ รายละเอียดโครงการ กิจกรรม งบประมาณ และแบ่งหน้าที่กันชัดเจน
2.ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตาม ประเมินผล โครงการ มีการประชุมก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ
  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการโครงการ

 

15 15

18. เรียนรู้ด้านการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

วันที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ให้ชาวบ้านรู้จักนำวัตถุดิบในชุมชนมาทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนทำบัญชีครัวเรือนร้อยละ 80 จากครัวเรือนที่สมัครเข้าโครงการทั้งหมด

2.ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการทำการเกษตรผสมผสานปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 30


3.ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีค่าใช้จ่ายด้นต้นทุนการผลิตเกษตรลดลงร้อยละ 30

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

8.30น ชาวบ้านเริ่มลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 9.00น นายทวีจิตร สุดจิตรใด้กล่าวถึงวัตถุประสงค์กิจกรรมวันนี้ 9.30น นายอธิพงธ์ ภารา ได้บรรยายเรื่องการทำปุ่ยหมักวัสดุที่ใช้ ใบไม้แห้ง มูลสัตว์ ใด้แก่ขี้วัว ขี้ไก่ จะไม่ใช้ขี้หมูเพราะขี้หมูมักจะใช้ทำแก๊สชีวภาพในครัวเรือน กากน้ำตาลนำมาผสมกันแล้วหมักทิ้งไว้ 45 วัน โดยใชผ้าเต้นคลุมไว้ จึงนำมาใช้งานหลังจากนั้นจึงให้ชาวบ้านร่วมกันผสมคลุกเคล้า ฝึกทำกันอย่างสนุกสนานร่วมรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกันหลังจากนั้นร่วมกันผสมคลุกเคล้าจนเสร็จเวลา 15.00น (โรงปุ๋ยกว่าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร) ปุ๋ยที่ผสมเสร็จนี้สามารถนำมาใช้ได้ในวันที่ 3 มีนาคม 2559

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.เรียนรู้เรื่อง ฟื้นฟูการทำบัญชีครัวเรือน และกำหนดกติกาการทำบัญชีครัวเรือน โดยครูบัญชีของหมู่บ้าน

2.เรียนรู้เรื่องปุ๋ย (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยที่เกิดจากธรรมชาติปลอดสารเคมี) ผู้ปลูกผักประสบความสำเร็จในหมู่บ้านร่วมกับเกษตรอำเภอ โดยไปเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้ของหมู่บ้าน และบ้านของดำเนินการเรื่องปุ๋ยสำเร็จ

3.เรียนรู้เรื่องน้ำยางพาราคุณภาพ และเทคนิคการได้ยางพาราที่มีคุณภาพ(การเตรียมดิน การเพาะกล้ายางการเลือกพันธ์ การติดตา ต่อตา การดูแลรักษา การใช้ปุ๋ย การกรีด การเก็บรักษา)เกษตรอำเภอร่วมกับ ปราชญ์ในหมู่บ้านด้านทำการทำสวนยาง

4.เรียนรู้เรื่อง การปลูกผักแซมในร่องสวนยางพารา สวนปาล์ม นาข้าว อย่างมีคุณภาพ (การเตรียมดิน การเพาะผักการเลือกพันธ์ การดูแลรักษา การใช้ปุ๋ย) และเลี้ยงปลาโดยเกษตรอำเภอ ร่วมกับปราชญ์ด้านเศรษฐกิจพอเพียง

5.เรียนรู้เรื่องการจัดการตลาดหมู่บ้าน และแนวทางเพิ่มคุณภาพของการมีตลาดหมู่บ้านอย่างยั่งยืน โดยทีมจัดตั้งตลาด พ่อค้ารับซื้อน้ำยางพารา และแม่ค้ารับซื้อผลผลิต ทีมด้านเศรษฐกิจของ อบต.ถ้าพรรณา

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. รับลงทะเบียนผู้ร่วมอบรมกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก
  2. นายทวีจิตร สุดจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวพูดคุยเกี่ยวกับการนำวัตถุดิบในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์
  3. เชิญวิทยากร ปราชญ์ชาวบ้าน แนะนำให้ความรู้ในการทำปุ๋ย เรียนรู้และรู้จักวัดค่าของดินแบบง่ายๆ และบรรยายเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกชนิดต่างๆ
  4. พักเที่ยงรับประทานอาหารร่วมกัน
  5. ภาคบ่ายเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปฎิบัติทำจิงโดยการนำมูลสัตว์พืชผักเศษอาหารในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักไว้ใช้ในภาคเกษตรและครัวเรือน

 

60 60

19. เรียนรู้ด้านคุณภาพน้ำยางพารา

วันที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนได้รู้จักยางพารามากยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนทำบัญชีครัวเรือนร้อยละ 80 จากครัวเรือนที่สมัครเข้าโครงการทั้งหมด

2.ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการทำการเกษตรผสมผสานปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 30


3.ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีค่าใช้จ่ายด้นต้นทุนการผลิตเกษตรลดลงร้อยละ 30

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน
  2. มีปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชนเข้าร่วม 4 คน

ผลลัพธ์

  1. คนในชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับยางพารามากกว่าที่เคยทำอยู่
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมได้ความรู้เกี่ยวกับยางพาราเพื่อนำไปปรับใช้ในภาคการเกษตรและในครัวเรือน
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการปรับคุณภาพยางพารา และการเร่งอัตราการผลิตของนำ้ยางพารา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.เรียนรู้เรื่อง ฟื้นฟูการทำบัญชีครัวเรือน และกำหนดกติกาการทำบัญชีครัวเรือน โดยครูบัญชีของหมู่บ้าน

2.เรียนรู้เรื่องปุ๋ย (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยที่เกิดจากธรรมชาติปลอดสารเคมี) ผู้ปลูกผักประสบความสำเร็จในหมู่บ้านร่วมกับเกษตรอำเภอ โดยไปเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้ของหมู่บ้าน และบ้านของดำเนินการเรื่องปุ๋ยสำเร็จ

3.เรียนรู้เรื่องน้ำยางพาราคุณภาพ และเทคนิคการได้ยางพาราที่มีคุณภาพ(การเตรียมดิน การเพาะกล้ายางการเลือกพันธ์ การติดตา ต่อตา การดูแลรักษา การใช้ปุ๋ย การกรีด การเก็บรักษา)เกษตรอำเภอร่วมกับ ปราชญ์ในหมู่บ้านด้านทำการทำสวนยาง

4.เรียนรู้เรื่อง การปลูกผักแซมในร่องสวนยางพารา สวนปาล์ม นาข้าว อย่างมีคุณภาพ (การเตรียมดิน การเพาะผักการเลือกพันธ์ การดูแลรักษา การใช้ปุ๋ย) และเลี้ยงปลาโดยเกษตรอำเภอ ร่วมกับปราชญ์ด้านเศรษฐกิจพอเพียง

5.เรียนรู้เรื่องการจัดการตลาดหมู่บ้าน และแนวทางเพิ่มคุณภาพของการมีตลาดหมู่บ้านอย่างยั่งยืน โดยทีมจัดตั้งตลาด พ่อค้ารับซื้อน้ำยางพารา และแม่ค้ารับซื้อผลผลิต ทีมด้านเศรษฐกิจของ อบต.ถ้าพรรณา

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม
  2. นายทวีจิตร  สุดจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้พูดคุยเกี่ยวกับยางพารา การผลิตยางพาราที่มีคุณภาพ และราคายางพาราที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เศษฐกิจนี้
  3. เชิญวิทยากร ปราชญ์ชาวบ้านให้ความรู้เกี่ยวกับพันธ์ยางพารา และการผลิตยางแผ่นรมควันชั้น 3 ภายในครัวเรือน
  4. พักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
  5. วิทยากร ปราชญ์ชาวบ้าน แนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับพันธ์ยาง ตายาง และการติดตา
  6. นายทวีจิตร สุดจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ให้ข้อเสนอและแนะนำให้ชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์การยางเล็กๆในชุมชน

 

60 60

20. คณะเด็ก ผู้ใหญ่เป็นทีมติดตามดูความสำเร็จ ครั้งที่ 1

วันที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่ิอออกหลักเกณฑ์และติดตามประเมินผลด้านการเกษตร การทำบัญชี และลดรายรับ รายจ่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีแปลงสาธิตปลูกผัก 5 แปลง ที่สามารถส่งขายในตลาดได้ตลอดปี

2.มีครัวเรือนดีเด่นลดรายจ่ายด้านการเกษตรและประสบผลสำเร็จด้านการทำบัญชีครัวเรือนอย่างน้อย 5 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลิตผลิต
1. คณะกรรมการโครงการจำนวน 5 คน วัยทำงานในชุมชนจำนวน 10 คน

ผลลัพธ์

  1. ให้คณะกรรมการโครงการได้เรียนรู้ทบทวนในกิจกรรมที่ผ่านมาและเกิดการทำงานในกระบวนการที่โปร่งใส

  2. มีการติดตามประเมินผล ครัวเรือนที่มีรายรับ รายจ่าย และผลสำเร็จในการทำบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.จัดทำเกณฑ์การเยี่ยมครัวเรือนและตรวจเยี่ยมตลาดหมู่บ้าน และการให้คะแนน

2.คณะเด็ก ผู้ใหญ่ จัดทำแผนเยี่ยมติดตามทั้ง 30 ครัวเรือน

3.เยี่ยมครัวเรือน 30 ครัวเดือนละ 1 ครั้ง

4.เยี่ยมแปลงสาธิต 5แปลง เพื่อให้รางวัลแก่ผู้ดูแล

5.เยี่ยมตลาดเพื่อติดตามความก้าวหน้า และปัญหา อุปสรรค และเยี่ยมสหกรณ์ของตลาดหมู่บ้าน 6.กิจกรรมมอบรางวัลแก่ผู้ดูแลแปลงสาธิต 5 แปลงและครัวเรือนดีเด่น ด้านการทำบัญชีครัวเรือนและประสบผลสำเร็จด้านบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. นายทวีจิตร สุดจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวพูดคุยกับผู้เข้าร่วมโครงการและได้ชี้แจ้งเกี่ยวกิจกรรมที่ผ่านมาให้คณะกรรมการติดตามดูแลความสำเร็จได้รู้เกี่ยวกับกิจกรรมและรายละเอียดต่างที่ที่ทำในโครงการ
  3. พักรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน
  4. คณะกรรมการโครงการ ติดตามดูแลความสำเร็จ ได้ออกสำรวจและเยี่ยมบ้านที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 ครัวเรือน

 

25 15

21. เรียนรู้ด้านการปลูกผักแซมในร่องยางพารา

วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อต้องการให้ลดรายจ่ายเพิ่มได้ในการปลูกพืชผักแซ่มในร่องยางพาราไว้กินในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนทำบัญชีครัวเรือนร้อยละ 80 จากครัวเรือนที่สมัครเข้าโครงการทั้งหมด

2.ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการทำการเกษตรผสมผสานปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 30


3.ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีค่าใช้จ่ายด้นต้นทุนการผลิตเกษตรลดลงร้อยละ 30

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

8.30น พบกันที่ศาลาหมู่บ้านลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 9.00น นายทวีจิตร สุดจิตร กล่าวทักทายชี้แจงวัตถุประสงศ์โครงการ 9.30น นายสุรสิทธ์ อาวุธเพชรนายอธิพงศ์ ภารา ชวนชาวบ้านพูดคุยถึงการเตรียมดิน การเตรียมเม็ลดพันธุ การเอาพืชผักลงดินถ้าเป็นดีปลี ผักกาด มะเขือ ต้องทำการเลียงต้นกล้าก่อนที่จะลงดินส่วนพืชผักอื่นๆได้แก่ บวบ ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว สามารถปลูกลงในแปลงได้เลยส่วนการเลือกเมล็ดพันธูแนะนำให้ใช้ของ ศรแดง เพราะจากประสบการทดลองปลูกผลที่ออกมา80% การดูแลรักษาถ้าต้นกล้าอ่อนให้น้ำทุกวันรวมถึงปุ๋ยอาทิตย์ละ1ครั้ง หลังจากนั้นให้น้ำทุกๆวันเหมือนเดิมส่วนปุ๋ยต้องเพิ่มประริมาณปุ๋ยมากขึ้นตามระยะการเติมโตของพืชผักรวมถึงการดู

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.เรียนรู้เรื่อง ฟื้นฟูการทำบัญชีครัวเรือน และกำหนดกติกาการทำบัญชีครัวเรือน โดยครูบัญชีของหมู่บ้าน

2.เรียนรู้เรื่องปุ๋ย (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยที่เกิดจากธรรมชาติปลอดสารเคมี) ผู้ปลูกผักประสบความสำเร็จในหมู่บ้านร่วมกับเกษตรอำเภอ โดยไปเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้ของหมู่บ้าน และบ้านของดำเนินการเรื่องปุ๋ยสำเร็จ

3.เรียนรู้เรื่องน้ำยางพาราคุณภาพ และเทคนิคการได้ยางพาราที่มีคุณภาพ(การเตรียมดิน การเพาะกล้ายางการเลือกพันธ์ การติดตา ต่อตา การดูแลรักษา การใช้ปุ๋ย การกรีด การเก็บรักษา)เกษตรอำเภอร่วมกับ ปราชญ์ในหมู่บ้านด้านทำการทำสวนยาง

4.เรียนรู้เรื่อง การปลูกผักแซมในร่องสวนยางพารา สวนปาล์ม นาข้าว อย่างมีคุณภาพ (การเตรียมดิน การเพาะผักการเลือกพันธ์ การดูแลรักษา การใช้ปุ๋ย) และเลี้ยงปลาโดยเกษตรอำเภอ ร่วมกับปราชญ์ด้านเศรษฐกิจพอเพียง

5.เรียนรู้เรื่องการจัดการตลาดหมู่บ้าน และแนวทางเพิ่มคุณภาพของการมีตลาดหมู่บ้านอย่างยั่งยืน โดยทีมจัดตั้งตลาด พ่อค้ารับซื้อน้ำยางพารา และแม่ค้ารับซื้อผลผลิต ทีมด้านเศรษฐกิจของ อบต.ถ้าพรรณา

กิจกรรมที่ทำจริง

แล1. ลงทะเบียนในการเข้าร่วมกิจกรรม ในโครงการ 2. นายทวีจิตร สุดจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวเชิญเกษตรอำเภอมาเป็นวิทยากรในการทำเกษตรผสมผสานในร่องยางพาราและแนะนำให้ปลูกพืชแซ่มและเหมาะสมในการการปลูก 3. พักอาหารกลางวันรับประทานอาหารร่วมกัน 4. วิทยากร ให้ความรู้และแนะนำการใช้ปุ๋ยและงดใช้สารเคมีในการปลูกพืชผักในร่องยาง เชิญปราชญ์ชาวบ้านให้คำแนะนำในการทำเศษฐกิจพอเพียง หรือว่าปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก

 

60 60

22. เรียนรู้ด้านการจัดการการตลาด

วันที่ 24 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนมีตลาดเป็นของชุมชนเองเพื่อค้าขายสินค้าของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนทำบัญชีครัวเรือนร้อยละ 80 จากครัวเรือนที่สมัครเข้าโครงการทั้งหมด

2.ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการทำการเกษตรผสมผสานปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 30


3.ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีค่าใช้จ่ายด้นต้นทุนการผลิตเกษตรลดลงร้อยละ 30

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. มีผู้เข้าร่วมอบรมตามเป้าที่กำหนด จำนวน 60 คน

  2. มีพ่อค้านัำยางพาราเข้าร่วอบรม จำนวน 3 คน

ผลลัพธ์

  1. คนในชุมชนมีตลาดที่สามารถขายพืชผักทีตนปลูกไว้ในสวนยางและบริเวณบ้าน ที่เหลือจากการกินในครัวเรือนมาขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้

  2. ต่อไปจะลดพ่อค้าคนกลางที่เกินขึ้นในชุมชนให้ลดน้อยลง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เรียนรู้เรื่องการจัดการตลาดหมู่บ้าน และแนวทางเพิ่มคุณภาพของการมีตลาดหมู่บ้านอย่างยั่งยืน โดยทีมจัดตั้งตลาด พ่อค้ารับซื้อน้ำยางพารา และแม่ค้ารับซื้อผลผลิต ทีมด้านเศรษฐกิจของ อบต.ถ้าพรรณา

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในโครงการ
  2. นายทวีจิตร สุดจิตร ผู้รับผิดชอบโครงการ การกล่าวพูดคุยถึงกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดตั้งตลาดชุมชนและการทำโครงการ ตลาดร่วมใจปากท่าซองและพูดคุยชักชวนให้คนในชุมชนนำพืชผักที่ปลูกไว้กินในครัวเรือนที่เหลือจากที่กินมาขายที่ตลาดชุมชนของเราเพื่อมีรายได้ให้กับครอบครัว
  3. วิทยากรที่เป็นปราชญ์ในชุมชน ได้พูดคุยและปรึกษาหารือกับคณะกรรมการตลาดเกี่ยวกับการไปชักชวน พ่อค้ารับซื้อนำ้ยางพาราในชุมชนมาเป็นสมาชิกตลาดชุมชนเพื่อลดการซื้อน้ำยางพาราของพ่อค้าคนกลางที่มีอยู่มากในชุมชน เพื่อสร้างตลาดชุมชนอย่างยังยืน

 

60 60

23. พัฒนาสภาผู้นำ ครั้งที่ 3

วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของคณะทำงานโครงการตลาดรวมใจปากท่าซอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดสภาผู้นำมาขับเคลื่อนปัญหาหมู่บ้านปากท่าซอง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ โดยนายทวีจิตร สุดจิตร ได้แจ้งถึงวาระการประชุมจากอำเภอให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบถึงเรื่อง1การตรวจสุขภาพ2การสร้างเสริมความเข้มแข็งของเกษตรกรชาวสวนยาง3เรื่องรณะรงค์การสวมหมวกนิรภัย จากนั้นได้กล่าวถึงเรื่องกิจกรรมของโครงการตลาดรวมใจปากท่าซองถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีความเข้าใจถึงรายละเอียดของโครงการ การจัดกิจกรรมและการดำเนินงานในด้านต่างๆของคณะกรรมการรวมถึงงบประมาณในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของคณะกรรมการ รวมถึงแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการเพื่อไห้สอดคล้องกับการทำงานในกิจกรรมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.พัฒนาคณะกรรมการโครงการ ทีมจัดการตลาด และทีมนักสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน ให้เกิดเป็นสภาผู้นำหมู่บ้านปากท่าซอง

2.ทีมต่างๆนำข้อมูลผลการดำเนินงาน ของโครงการ และนโยบายจากภาครัฐ หรือ อบต. และจากหน่วยงานอื่นๆ มาพูดคุยเพื่อ พัฒนาหมู่บ้านปากท่าซอง เดือนละ 1 ครั้ง

3.จัดทำทำเนียบสภาผู้นำบ้านปากท่าซอง

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดการประชุมพัฒนาสภาผู้นำ - ประชุมชี้แจงรายงานผลจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา - อธิบายขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการ - วางแผนไนการจัดกิจกรรมไนรอบต่อไป

 

10 15

24. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่5

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับคณะกรรมการไนการทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะกรรมการโครงการสามารถ ติดตาม ประเมิน โครงการ และมีแผนการแก้ปัญหา ช่วยเหลือ ผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของคณะกรรมการ รวมถึงแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานในกิจกรรมครั้งต่อไป สามารถอธิบายไห้กับชาวบ้านไนชุมชนใด้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง อีกส่วนหนึ่งเพื่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงานของคณะกรรมการในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.คณะกรรมการทุกท่านทำความเข้าใจ รายละเอียดโครงการ กิจกรรม งบประมาณ และแบ่งหน้าที่กันชัดเจน
2.ประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตาม ประเมินผล โครงการ มีการประชุมก่อนและหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ
  • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการโครงการ

 

15 15

25. การประชุมการจัดทำรายงานงวดที่ 1

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

-เพื่อส่งเอกสารการจัดทำรายงานงวดที่ 1 รวมถึงการตรวจเอกสารเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณแต่ละกิจกรรมจาก สจรส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการเข้าประชุมในครั้งนี้ทำให้ผู้เข้ารับการประชุมโดยมี นายสุทธิรักษ์ ยอดระบำ และ นายพัฒนชาติ ทองทิพย์ ได้ทราบถึงความถูกต้องในการจัดทำบัญชีการเบิกจ่ายของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมตามโครงการตลาดรวมใจปากท่าซอง รวมถึงสิ่งที่ต้องปรับปรุงและแก้ไขของแต่ละกิจกรรม เพื่อไห้เกิดความถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-จัดเตรียมเอกสารข้อมูลจากการทำกิจกรรมในงวดที่ 1 -นำเอกสารส่งให้กับ สจรส เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการประชุม
  • จัดเตรียมเอกสารข้อมูลในเรื่องของการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการ
  • ส่งเอกสารให้กับ สจรส เพื่อทำการตรวจ

 

2 3

26. ร่วมกันพัฒนาแปลงสาธิตในร่องสวน จำนวน 5 จุดในหมู่บ้าน

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปรับปรุงสภาพดินรวมถึงพันธ์พืชที่ปลูกไนแปลงสาธิต ไห้มีคุณภาพดีขึั้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีแปลงปลูกผักสาธิตในร่องสวนยางหรือสวนปาล์มหรือสวนผลไม้ 5 แปลง

2.มีทีมดูแล และบำรุงรักษาแปลงสาธิต เพื่อเตรียมนำผลผลิตสู่ตลาดหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ช่วมเช้าเวลา 9:00 น.มีการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมพัฒนาแปลงสาธิตในร่องสวนจำนวน 5 จุดในหมู่บ้าน ต่อจากนั้น นายทวีจิตร สุดจิตร ได้กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพแนวทางการทำงานรวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน เวลา 10:00 น.ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้เกษตรแนวสมัยใหม่เพื่อเอามาปรับปรุงใช้ในแปลงเกษตรของวันนี้ เวลา 11.00 น.รับประทานอาหารว่างเวลา 11.30 น. รับฟังข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.00 น. จัดเตรียมเครื่องมือเพื่อลงพัฒนาแปลงสาธิตในพื้นที่จริง 13.30 น. ลงพัฒนาแปลงสาธิตในพื้นที่ 15.00 น. สรุปกิจกรรมการพัฒนาแปลงสาธิตในร่องสวนโดยมีนายทวีจิตร สุดจิตรเป็นประธานโครงการได้กล่าวชื่นชมในความสามัคคีของผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้และเปิดให้มีการซักถามข้อสงสัยของการทำกิจกรรมในครั้งนี้(ปิดกิจกรรม)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.เพาะกล้าพันธ์ุผักที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

2.ลงพื้นที่ 5 จุด ปรับพื้นที่ เตรียมดิน นำกล้าผักลงดิน

3.จัดตารางการดูแลแปลงผักสาธิต โดย แต่งตั้งให้มีเด็กเป็นทีมดูแลแข่งกันทั้ง 5 จุดสาธิต

กิจกรรมที่ทำจริง

-ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมทำกิจกรรม -ประมวลผลแนวทางการแก้ปัญหา -แบ่งหน้าที่ความรับพิดชอบไห้แต่ละกลุมก่อนลงพัฒนาแปลงสาธิต -เตรียมวัสดุอุปกรณ์ก่อนลงแปลงสาธิต -ลงปฎิบัติร่วมกันพัฒนาแปลงสาธิตในร่งสวน

 

60 60

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 54 26                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 192,125.00 129,329.00                  
คุณภาพกิจกรรม 104 79                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. คณะเด็ก ผู้ใหญ่เป็นทีมติดตามดูความสำเร็จ ครั้งที่ 2 ( 20 ก.พ. 2559 )
  2. พัฒนาสภาผู้นำ ครั้งที่ 4 ( 28 ก.พ. 2559 )
  3. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่6 ( 9 มี.ค. 2559 )
  4. พัฒนาสภาผู้นำ ครั้งที่ 5 ( 26 มี.ค. 2559 )
  5. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่7 ( 9 เม.ย. 2559 )
  6. พัฒนาสภาผู้นำ ครั้งที่ 6 ( 30 เม.ย. 2559 )
  7. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่8 ( 9 พ.ค. 2559 )
  8. คณะเด็ก ผู้ใหญ่เป็นทีมติดตามดูความสำเร็จ ครั้งที่ 3 ( 28 พ.ค. 2559 )
  9. พัฒนาสภาผู้นำ ครั้งที่ 7 ( 28 พ.ค. 2559 )
  10. คณะเด็ก ผู้ใหญ่เป็นทีมติดตามดูความสำเร็จ ครั้งที่ 4 ( 5 มิ.ย. 2559 )
  11. คณะเด็ก ผู้ใหญ่เป็นทีมติดตามดูความสำเร็จ ครั้งที่ 5 ( 5 มิ.ย. 2559 )
  12. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่9 ( 9 มิ.ย. 2559 )
  13. พัฒนาสภาผู้นำ ครั้งที่ 8 ( 25 มิ.ย. 2559 )
  14. คณะเด็ก ผู้ใหญ่เป็นทีมติดตามดูความสำเร็จครั้งที่ 6 ( 2 ก.ค. 2559 )
  15. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่10 ( 9 ก.ค. 2559 )
  16. คณะเด็ก ผู้ใหญ่เป็นทีมติดตามดูความสำเร็จ ครั้งที่ 7 ( 22 ก.ค. 2559 )
  17. พัฒนาสภาผู้นำ ครั้งที่ 9 ( 30 ก.ค. 2559 )
  18. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการโครงการครั้งที่11 ( 9 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย ทวีจิตร สุดจิตร
ผู้รับผิดชอบโครงการ