แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง

ชุมชน บ้านปากลง หมู่ที่ 6 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03869 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2068

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม (ครั้งที่ 1)

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:-17.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมร่วมกับ สสส

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ร่วมจัดทำปฏิทินโครงการ เรียนรู้การจัดทำโครงการ และการจัดทำรายงานโครงการ การบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียนรู้การจัดทำโครงการร่วมกับ สสส

 

2 3

2. ประชุมสภาผู้นำ

วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 9:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและลดการใช้สารเคมีในการปลูกพืชผัก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มสภาผู้นำลดการใช้สารเคมี จำนวน 15 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ชาวบ้านร่วมกันสอบถาม และร่วมเสนอแนะให้เข้าใจตรงกัน ได้ถามข้อดีข้อเสีย ร่วมอภิปรายกันจนเข้าใจ ร่วมกันลงมติว่าร่วมทำกันเพื่อหมู่บ้าน

ได้คณะกรรมการร่วมดำเนินโครงการ ดังนี้

คณะที่ปรึกษา

  1. นายปรีชา ราชประดิษฐ์กำนันตำบลกรุงชิง
  2. นางสาวจันทิมา ศรีนุรัตน์นายก อบต.กรุงชิง
  3. นายราย แก้ววีด สารวัติกำนัน
  4. นายวิเชียร แก้ววีด สารวัติกำนัน

    คณะทำงาน

  5. นางดวงชีพ ณ. สุวรรณ์ การเงิน/บัญชี

  6. นายสมนึก เมืองทอง การเงิน/บัญชี
  7. นายสมบูรณ์ ด้วนเฝือ วิทยากร
  8. นางสาวเบญจวรรณ บัวเพชร เลขา
  9. นายพรเทพ บุญมาศ IT.
  10. นายสนิท ชัยเริก ประชาสัมพันธ์
  11. นายจรัส แก้วเกิด ประสานงาน
  12. นายบุญสง ปานปลอด สถานที่
  13. นางสมใจ ปานปลอด สถานที่
  14. นายน้อย ละอองแก้ว อาหาร 11.นางลำใยละอองแก้ว อาหาร
  15. นายศุภกิต นวลนุช ถ่ายรูป 13.นางสาวนาฏยา สุขคุ้ม ถ่ายรูป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงโครงการให้ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดได้กำหนดกติการ่วมกัน และจัดทำกำหนดการในแต่ละวัน แบ่งงานกันตามความสามารถ และจัดทำเอกสารให้ทุกคนได้ไปบริหารจัดการเวลา มาทำกิจกรรมร่วมกันตามกำหนด แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการเปิดประชุม ร่วมชี้แจงโครงการ ที่มาของงบ ขั้นตอนการดำเนินงาน เพิ่มเติมในกิจกรรมย่อย ให้ทุกคนได้เสนอแนะ

 

15 56

3. จัดจ้างทำป้าย

วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อมีป้ายสัญลักษณ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ป้ายโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดจ้างทำป้าย

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดจ้างทำป้าย

 

2 4

4. ประชุมชี้แจงโครงการ

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน มอบหมายหน้าที่ และติดตามการดำเนินงานกันอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สังเกตเห็นความร่วมมือร่วมใจจากทุกคน ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกันลงมติเพื่อดำเนินงานร่วมกัน
  2. เกิดบรรยากาศการทำงานที่ดี โดยกลุ่มเป้าหมายในโครงการเป็นผู้แสดงความคิดเห็น และกำหนดกติกาเอง กติกาที่เสนอจากที่ประชุม ได้แก่ การนำผักมาวางไว้ที่ร้านค้าคุณธรรม แล้วให้ผู้ซื้อ จ่ายเงินโดยหยอดกระปุกไว้ ตอนเย็นคณะกรรมการมาเปิดกระปุกเงิน จ่ายเงินให้เจ้าของผัก และมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ติดตามผล
  3. บรรยากาศการประชุมเป็นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ดีมาก เห็นได้จาก ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งหมด คิดกันเป็นกลุ่มย่อย และรวมกันเป้นกลุ่มใหญ่ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรม ลงมติร่วมกัน ซึ่งเป็นบรรยากาศที่เพิ่มการเรียนรู้ได้ดี
  4. ทุกคนเกิดความมั่นใจในการจัดกิจกรรม นัดแนะกันไปปฏิบัติ และติดตามผลกันเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ชี้แจงโครงการเพื่อร่วมกันสรรหาทีมทำงานเพิ่มเติม และร่วมกันกำหนดปฏิทินการทำงาน มอบหมายผู้รับผิดชอบทำงานตลอดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. กำนัน ได้เปิดประเด็นการประชุม เรื่องการดำเนินงานในโครงการ การบริหารจัดการ และผลงานที่ควรได้รับจากหมู่บ้าน และให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ซักถาม พร้อมให้ทุกคนได้เสนอกติการ่วมกัน เพื่อให้ทุกคนเกิดความมั่นใจในการจัดกิจกรรมในโครงการ
  2. พี่เลี้ยงโครงการ เล่าความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อให้เกิดกาจัดการตนเองของหมู่บ้าน ให้เกิดชุมชนน่าอยู่ ยับว่าเป็นโอกาสที่หมู่บ้านจะได้ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน และตอบข้อซักถามจากที่ประชุม
  3. ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินงาน ให้ทุกคนได้ช่วยคิด กำหนดกติการ่วมกัน
  4. ปราชญ์ชาวบ้าน ร่วมให้ข้อมูลถึงความเป็นไปได้ของโครงการ และผลที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์กับหมู่บ้าน
  5. กลุ่มเป้าหมายที่เริ่มต้น ทำร้านค้าคุณธรรม ให้ข้อเสนอ และแสดงข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
  6. คณะกรรมการช่วยกันตอบคำถามจากที่ประชุม
  7. กำนันให้ทุกคนลงมติร่วมมือกันดำเนินการ
  8. ร่วมกันเสนอแนะกติกา และลงมติจัดกิจกรรมร้านค้าคุณธรรม

 

100 46

5. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-17.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรุ้การจัดทำโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำโครงการ ฝึกเขียนรายงาน และทำหลักฐานการเงิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะกรรมการบริหาร

กิจกรรมที่ทำจริง

เรียนรู้การบันทึกรายงาน การจัดทำใบสำคัญรับเงิน การดำเนินโครงการ โดยได้รับฟังบรรยาย และสอบถามข้อสงสัยจาก สสส. สจรส.ม.อ.

 

2 3

6. จัดทำข้อตกลงร้านค้าคุณธรรม

วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลา 08:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สร้างกติการ้านค้าร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดร้านค้าคุณธรรมนำวิถีเดิมลดสารเคมีบ้านปากลง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อตกลงร้านค้าคุณธรรมร่วมกัน คือ ทุกคนในชุมชนสามารถนำสินค้าที่ปลอดภัยจากสารเคมีมาวางขายได้ สินค้าที่นำมาขายเน้นพืชผักและอาหารแปรรูปที่สามารถหาได้ในชุมชน ทุกคนจะช่วยกันสอดส่องดูแลร้านค้าเพราะร้านค้าเป็นของพวกเราทุกคน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ทำกันทุกวันเสาร์ ได้ 7 วันเสาร์ ชาวบ้านนำผักมาร่วมขายโดยไม่มีแม่ค้านั่งอยู่ รวมเงินในกระปุก ได้ 3,600 บาท ชาวบ้านดีใจมาก และเห็นตัวอย่างการทำ พร้อมมาร่วมทุกวันเสาร์ และได้ตกลงกัน ดังนี้

  1. พอหกโมงเช้าให้ทุกคนนำมารวมของที่ร้าน แล้วลงสมุดไว้ แล้วเรียบเรียงของ เอาโทรศัพท์ถ่ายรูปไว้
  2. พอแปดโมง นัดให้คนที่จัดการลงรายการมานับ แล้วได้ถ่ายรูปไว้ว่าเหลือเท่าใด และคนที่ไม่ได้มารับเเงินในเวลาแปดโมง ก็จะมารับที่กลุ่มเวลาอื่น หรือมารับในวันเสาร์ต่อไป
  3. ของที่นำมาต้องปลอดสารพิษ มีคุณภาพ เป็นคุณธรรมของบ้าน ที่ต้องนำของที่ปลอดสารพิษมา เป็นความซื่อสัตย์ของชาวบ้านเพื่อผู้ซื้อ
  4. ตอนนี้มีเริ่มต้น 6 ราย พอเป็นตัวอย่าง และนัดทำกันต่อเนื่อง
  5. ให้ทุกคนช่วยมาทำร้านค้า ร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันบริจาคไม้ ตกลงกันว่าทำ 1 วันต่อสัปดาห์ ช่วยกัน
  6. ชาวบ้านที่เห็นแล้วนำผักมาขายเพิ่มได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีคืนข้อมูลการติดตาม และทำความเข้าใจการจัดร้านค้าคุณธรรม จัดทำข้อตกลง ให้มีข้อมูลตามกลุ่มบ้านเสนอในเวที มีเพลงบอกให้ความรู้จากบทกลอน (ตลาดคุณธรรม คือการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ ในร้านโดยไม่ต้องมีคนขาย วางของไว้ ตั้งกระปุกหยอดเงินไว้ ให้ลูกค้ามาแลกเปลี่ยนเอง เป็นการเชื่อใจกัน เป็นความดีงามของชุมชน)ชี้แจงกติกาการเข้าร่วมร้านค้าคุณธรรม กำหนดผู้รับผิดชอบ สอดส่องดูแลตลอดการจำหน่ายสินค้าปลอดสารพิษในร้านค้าคุณธรรม (มีร้านอินเตอร์เน็ตคอยสอดส่องดูแลให้) กติกา - ซื้อง่ายจ่ายตังค์เอง มีการนำสินค้ามาวางขายโดยไม่ต้องมีพนักงานขาย ด้วยการวางกล่องไว้ให้ลูกค้าหยอดเงินเอง ตามราคาสินค้า - ทุกอย่าง 20 บาท สินค้าที่นำมาจำหน่ายมีราคายี่สิบบาท เพื่อสะดวกแก่ผู้ซื้อ หากมีผู้จำหน่ายหลายราย จะมีการทำสัญลักษณ์ไว้ที่สินค้า - เหลือกิน เหลือแจก แบกไปขาย เพื่อให้เกิดการแบ่งปันกันในชุมชน ลดการกระทบกระทั่งหากมีลูกค้าลืมจ่ายเงิน -ซื้อ ขาย บายใจ ไร้สารพิษ

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้ร่วมกันจัดเวทีจัดทำข้อตกลง ตอนแรกให้ทำให้คนในหมู่บ้านเห็นก่อนว่า มีความโปร่งใส ไม่มีคนเฝ้า จึงได้ทำประชาสัมพันธ์ ได้สรุปกันว่า ทำทุกวันเสาร์ ได้ทั้งหมด 7 วันเสาร์ ได้ทำกันต่อเนื่อง

 

30 77

7. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-17.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มสภาผู้นำลดการใช้สารเคมี จำนวน 15 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดการตั้งกติกากลุ่มร่วมกัน

  1. คนที่วางของต้องรอให้คนที่จดบันททึกมาก่อน หรือไม่พบคนบันทึกก็ให้เขียนชื่อไว้ที่ป้าย มีป้ายไว้ให้
  2. คนที่นำมาวางขายที่ไม่รุ้ว่าขายได้หรือไม่ จึงตกลงให้ถ่ายรูปไว้ ก่อน และหลัง
  3. เก็บกระปุกตอนแปดโมง ถ้าแปดโมงไม่มีคนมา จะเอาไปไว้ที่บ้านคนรับผิดชอบ นายสมนึก เมืองทอง
  4. ทุกคนช่วยกันทำร้านค้าโดยใช้ไม้ในท้องถิ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันทำร้านค้าคุณธรรม และการสร้างรั้วด้วยคน คอยสอดส่องดูแล พาเด็กและเยาวชนมาดูให้เห็นเรื่องการสร้างรั้วด้วยคน นำสินค้ามาวางจำหน่าย

กิจกรรมที่ทำจริง

สรุปข้อบกพร่องในการนำของมาวางที่ร้านค้าคุณธรรม สรุปแล้วปรับปรุง เสนอแนะกันตามผลงานข้างล่าง พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ คนที่มาตั้งของโดยที่ไม่มีคนมาจดที ก็เลยว่าของใครไม่รู้ ไม่รู้ให้ใคร ทบทวนกันใหม่ และวางแผนต่อ

 

15 19

8. ปฏิบัตการเก็บข้อมูลการใช้สารเคมี

วันที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลการใช้สารเคมีในรอบปีที่ผ่านมา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ชุดข้อมูลการใช้สารเคมี แกนนำมีความรู้และศักยภาพในการขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการร่วมกับเด็กและเยาวชนออกสำรวจการใช้สารเคมีตามบ้าน ตามโซนที่ได้รับมอบหมาย ได้ข้อมูลการใช้สารเคมีในชุมชนในรอบปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภทได้แก่ 1.ปุ๋ยเคมี
2.ยาฆ่าหญ้า 3.ยาฆ่าแมลง 4.เครื่องสำอาง 5.น้ำยาทำความสะอาดภายในบ้าน 6.อาหาร/เครื่องดื่ม 7.สารเสพติด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี โดยแบ่งเป็นทีมย่อยในการออกสำรวจ

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี และวางแผนการลงสำรวจ แบ่งเป็น 3 สาย เพื่อกระจายกันไปสำรวจตามบ้านเรือนทั่วทั้งหมู่บ้าน โดยแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกสิบคนโดยให้เจ้าหน้าที่ อสม.ของหมู่บ้านเป็นหัวหน้ากลุ่ม วางแผน กำหนดขอบเขต แนะนำ สมาชิกที่เป็นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านออกสำรวจข้อมูลตามพื้นที่ในสายของตัวเอง

 

100 30

9. ปฎิบัติการเก็บข้อมูลการใช้สารเคมี

วันที่ 21 ธันวาคม 2558 เวลา 09.00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลการใช้สารเคมีในรอบปีที่ผ่านมา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ชุดข้อมูลการใช้สารเคมี แกนนำมีความรู้และศักยภาพในการขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการร่วมกับเด็กและเยาวชนออกสำรวจการใช้สารเคมีตามบ้าน ตามโซนที่ได้รับมอบหมาย ได้ข้อมูลการใช้สารเคมีในชุมชนในรอบปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภทได้แก่ 1.ปุ๋ยเคมี
2.ยาฆ่าหญ้า 3.ยาฆ่าแมลง 4.เครื่องสำอาง 5.น้ำยาทำความสะอาดภายในบ้าน 6.อาหาร/เครื่องดื่ม 7.สารเสพติด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี โดยแบ่งเป็นทีมย่อยในการออกสำรวจ

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี และวางแผนการลงสำรวจ แบ่งเป็น 3 สาย เพื่อกระจายกันไปสำรวจตามบ้านเรือนทั่วทั้งหมู่บ้าน โดยแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกสิบคนโดยให้เจ้าหน้าที่ อสม.ของหมู่บ้านเป็นหัวหน้ากลุ่ม วางแผน กำหนดขอบเขต แนะนำ สมาชิกที่เป็นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านออกสำรวจข้อมูลตามพื้นที่ในสายของตัวเอง

 

100 30

10. ปฎิบัติการเก็บข้อมูลการใช้สารเคมี

วันที่ 22 ธันวาคม 2558 เวลา 09.00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลการใช้สารเคมีในรอบปีที่ผ่านมา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ชุดข้อมูลการใช้สารเคมี แกนนำมีความรู้และศักยภาพในการขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการร่วมกับเด็กและเยาวชนออกสำรวจการใช้สารเคมีตามบ้าน ตามโซนที่ได้รับมอบหมาย ได้ข้อมูลการใช้สารเคมีในชุมชนในรอบปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภทได้แก่ 1.ปุ๋ยเคมี
2.ยาฆ่าหญ้า 3.ยาฆ่าแมลง 4.เครื่องสำอาง 5.น้ำยาทำความสะอาดภายในบ้าน 6.อาหาร/เครื่องดื่ม 7.สารเสพติด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี โดยแบ่งเป็นทีมย่อยในการออกสำรวจ

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี และวางแผนการลงสำรวจ แบ่งเป็น 3 สาย เพื่อกระจายกันไปสำรวจตามบ้านเรือนทั่วทั้งหมู่บ้าน โดยแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกสิบคนโดยให้เจ้าหน้าที่ อสม.ของหมู่บ้านเป็นหัวหน้ากลุ่ม วางแผน กำหนดขอบเขต แนะนำ สมาชิกที่เป็นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านออกสำรวจข้อมูลตามพื้นที่ในสายของตัวเอง

 

100 30

11. ปฎิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมี

วันที่ 28 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รวมรวมข้อมูลเรื่องการใช้สารเคมี วิเคราะห์ปริมาณและสาเหตุที่ต้องใช้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีข้อมูลให้ครูเพลงบอกจัดทำกลอนเพลงบอก
  2. มีกติกาการดำเนินงานของสภาผู้นำ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ชุดข้อมูลเกี๋ยวกับปริมาณการใช้สารเคมี แบ่งเป็นกลุ่มๆ ตามที่ได้สำรวจ ดังนี้

ปุ๋ยเคมี2,103,630 บาท
ยาฆ่าหญ้า 832,815 บาท
ยาฆ่าแมลง 884,150 บาท
เครื่องสำอาง 1,646,010 บาท น้ำยาทำความสะอาด1,663,133 บาท
อาหาร/เครื่องดื่ม 3,435,866 บาท
สารเสพติด 1,471,900 บาท

เฉลี่ย

ทั้งหมู่บ้าน ต่อปี 12,037,504 บาท ต่อเดือน 1,003,125.33 บาท ต่อวัน 32,979.46 บาท
ต่อครัวเรือน ต่อปี 46,838.54 บาท ต่อเดือน 3,903.21 บาทต่อวัน 128.32 บาท
ต่อคนต่อปี 12,333.51บาทต่อเดือน 1,027.79 บาทต่อวัน 33.79บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เก็บข้อมูลแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกัน 2 วัน จัดหมวดหมู่ เขียนสรุปเพื่อเตรียมนำเสนอในที่ประชุมหมู่บ้านเพื่อสร้างความตระหนักและร่วมปฏิบัติลดการใช้สารเคมี พร้อมคิดร่างกติกาเพื่อนำเสนอในที่ประชุม

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันนำข้อมูลที่ได้ มาทำการรวบรวม พูดคุย วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่คนในชุมชนต้องใช้สารเคมี หาแนวทางลดการใช้สารเคมีในชุมชน

 

40 62

12. จัดเวทีนำเสนอข้อมูลร่วมกันวางแผน เพื่อปฎิบัติการลดการใช้สารเคมี

วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 09.00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและลดการใช้สารเคมี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดแผนงานการลดการใช้สารเคมี เกิดกติกาการปฏิบัติของหมู่บ้าน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ชาวบ้านทราบข้อมูลการใช้สารเคมีในชุมชน
ได้รับความรู้เบื้องต้น เกี๋ยวกับสารเคมี ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้สารเคมี ร่วมกันทำงานเพิ่ม เห็นความสำคัญเรื่องตัวเองและครอบครัวจ ต้องย่ำแย่ หันมาปลูกผักเอง ไม่ใช้สารเคมี

ร้านค้าคุณธรรมที่เราทำขึ้น มีคนเพิ่มมาก เห็นความสำคัญของการลดการใช้สารเคมี

พบว่าในวันประชุมประจำเดือน มีคนนำผักปลอดสารพิษมามากขึ้น มีขนมมามากขึ้น ทำให้ที่ประชุมครึกครื้นมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เยาวชนและกรรมการนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการใช้สารเคมี ข้อมูลความรู้เรื่องสารเคมีและผลกระทบจากการใช้ ข้อมูลความตระหนักในการลดสารเคมี และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อการแก้ปัญหาชุมชนเพื่อชุมชนน่าอยู่ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็น และร่วมวางแผนเพื่อการลดการใช้สารเคมี สรุปเป็นแผนงานของหมู่บ้าน ทำเป็นไวนิลปิดไว้ในที่ประชุมหมู่บ้าน พร้อมกับกติกาการปฏิบัติและกติกาการทำร้านค้าคุณธรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ และวิเคราะห์ร่วมกัน มาชี้แจงในที่ประชุมทราบ แจ้งยอดเงินที่ใช้ไปในการซื้อสารเคมีในชุมชนในรอบปีที่ผ่านมา คุณพงษ์พัฒน์ พิมเสน เจ้าหน้าที่เกษตร นบพิตำ  ได้ร่วมให้ความรู้เกี๋ยวกับการใช้สารเคมี ชาวบ้านร่วมซักถามข้อสงสัย

 

40 74

13. ลงแขกวันเปิดร้านค้าคุณธรรม

วันที่ 12 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนและจำหน่ายสินค้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มผู้นำลดการใช้สารเคมี 3 วัย 40 คน มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัสดุที่มีในครัวเรือนร่วมขับเคลื่อนงานได้ 40 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คนที่มาร่วม มาจากอำเภอนบพิตำ มีนายอำเภอ ทีมพัฒนาชุมชน มีร้านห้างจากในตลาดมาด้วย และมาร่วมซื้อของเราด้วย ชอบมาก เราได้เปิดร้านให้เห็นเป็นร้านค้าคุณธรรม เป็นเอกลักษณ์หมู่บ้าน มีคนสนใจมาก มีคนมาสอบถามมาก ผู้รับผิดชอบจึงเล่าให้ฟังว่า ใช้งบจาก สสส มาร่วมแรงร่วมใจทำเป็นร้านค้าคุณธรรม มีคนไปมุงมาก สนใจกว่าที่อื่นมาก -ได้บอกเรื่องคุณธรรมในการทำร้านค้า ที่ปลอดสารพิษ ลดการใช้สารเคมี แล้วไม่ต้องมีคนขาย ของไม่สูญหาย ที่ทำมาไม่เคยหาย เงินไม่ขาด เท่าแต่เพิ่ม หยอดเพิ่มให้โดยความชอบ ไม่เอาตังทอน เพราะไม่มีใครทอน ให้ไปเลย เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าในชุมชน ชาวบ้านให้ความสนใจร้านค้า และเข้าใจกฎกติกาของร้านค้าเพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันตั้งร้านค้าคุณธรรม นำสินค้ามาวางจำหน่าย

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการร่วมกันตั้งร้านนค้า พร้อมเชิญชวนชาวบ้านร่วมกิจกรรม ชาวบ้านร่วมกันนำสินค้ามาจำหน่าย
ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน เด็กและเยาวชนร่วมกันซื้อ-ขายสินค้า มีนายอำเภอนบพิตำ เป็นประธานหยอดกระปุกคนแรก มีกำนันหยอดคนที่สอง ชาวบ้านคนต่อๆ ไป ของขายหมดเกลี้ยง กระตุ้นได้ดี

 

30 90

14. ประชุมสภาผู้นำ

วันที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มสภาผู้นำลดการใช้สารเคมี จำนวน 15 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ที่ประชุมได้เริ่มสร้างกฎ กติกาเพื่อใช้ร่วมกัน (กำหนด วัน เวลา ประชุม) ที่แน่นอน ทุกวันที่ห้า

  1. ทุกคนต้องมาก่อนเวลา ครึ่งชั่วโมง เพื่อเตรียม
  2. เริ่มเก้าโมง เลิกบ่ายสอง ได้กินอาหารเที่ยงกัน
  3. หลังจากเปิดแล้ว นายอำเภอ กำนัน มาเริ่มแล้ว พบว่าชาวบ้านปลูกผักมากขึ้น
  4. คนไม่มีเวลาขายได้เอาของมาขาย คนที่ไม่กล้าขายก็ได้เอาของมาขาย ดีใจสุดๆ
  5. ให้เริ่มจากหิ้วมา แล้วค่อยทำหาบ ตอนนี้เราทำห้างให้ ทำให้ฟรี เท่ากับของเราเอง ร่วมทำกันเอง
  6. ให้ทุกคนมาร่วมกิจกรรมและเสนอเพิ่มในวันประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานทุกเดือน ทบทวนงาน ประเมินผล สรุป และมอบหมายงาน ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติของสมาชิกให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

ที่ประชุมร่วมลงมติ กำหนดให้มีการประชุมวาระทั่วไป ในวันที่ 5 ของทุกเดือน เวลา 9.00-16.00 ส่วนวาระเร่งด่วน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งฝ่ายประสานงานตามความเหมาะสม

 

15 20

15. ลงแขกแลกแรง

วันที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการส้างร้านค้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มผู้นำลดการใช้สารเคมี 3 วัย 40 คน มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัสดุที่มีในครัวเรือนร่วมขับเคลื่อนงานได้ 40 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คนสามวัยไปรถกะบะของนายจรัญ แก้วเกิด ขึ้นไปตัดไม้ในท้องถิ่น ในสวนของชาวบ้าน ชาวบ้านให้ ไม้ขึ้นเอง นำมาใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม ไม้มีค่าสำหรับสร้างบ้าน แต่ขายไม่ได้ ชาวบ้นให้เปล่า ได้ไม้พังแหร ซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองสมัยก่อนนำมาสร้างบ้านอยู่อาศัย มีอายุยืนยาว จึงนำมาทำร้านค้า เป็นไม้ในท้องถิ่นที่ทำบ้านกันชั่วลูกหลาน ได้มานำมาทำโครงร้านค้า นำมาปอก นับจำนวนแล้วมัด นำมาไว้ที่หน้าบ้าน นายบุญเลิศ มะค่อม ตามที่ได้ออกแบบไว้ มาเตรียมทำร้านค้า ได้นำมาทำเพิ่มเติม มีชาวบ้านมาช่วยเพิ่ม ให้ความร่วมมือดีมาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปรับพื้นที่ ลงแขก (ลงซอ)

กิจกรรมที่ทำจริง

ชาวบ้านร่วมกันไปตัดไม้ในพื้นที่หมู่ 6 กรุงชิง เพื่อมาใช้ในการทำร้านค้า

 

40 18

16. ลงแขกแลกแรงช่วยกันทำโต๊ะเพื่อใช้ในร้านค้าคุณธรรม

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-17.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและลดการใช้สารเคมีในปลูกพืชผัก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มผู้นำลดการใช้สารเคมี 3 วัย 40 คน มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัสดุที่มีในครัวเรือนร่วมขับเคลื่อนงานได้ 40 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้โต๊ะ 4 ตัว ขนาดความยาว 1 เมตร กว้าง 1 เมตร จากวัสดุที่ชาวบ้านช่วยกันหาไว้ นำมารวมกัน มีช่างไม้มาสอน เป็นแกนนำในกลุ่ม คนดำเนินงาน มีฝีมือ มาช่วย ร่วมกันทำลูกในโต๊ะก่อน แล้วทำข้างนอก มาขึ้นโครงเสา ตัดเสามาก่อน มาปรับที่ แล้วไปตัดมาทำเพิ่มเติม ได้เป็นรูปเป็นร่าง ร่วมมือทำกัน มีแกนนำที่เป็นช่างไม้ ได้แก่ นายจรัญ แก้วเกิด นายวีรพล นายพรเทพ นายสมนึก และคณะกรรมการเป็นคนทำ เพื่อให้คนอื่นเห็น ต่อมาคนอื่นอื่นมาร่วมช่วยกันมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารเคมี - ปัจจุบันชาวบ้านยังมีการลงแขกช่วยงานกันอยู่ ภาษาท้องถิ่นเรียกว่าลงแขกแก้ซอ พร้อมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน /ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงแขก 

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงแขกทำโต๊ะเพื่อใช้ในตลาดคุณธรรม ได้โต๊ะทั้งหมด 4 ตัว และร่วมกันสร้างร้านค้า

 

40 27

17. ประชุมสภาผู้นำ

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มสภาผู้นำลดการใช้สารเคมี จำนวน 15 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีข้อสรุปการวางแผนไปตัดไม้เพื่อมาทำโต๊ะเก้าอี้ในร้านค้าคุณธรรมเพิ่ม โดย

  1. รวบรวมเลื่อย เลื่อยยนต์ เลื่ยยโครง สิ่ว
  2. มีคนอาสาเอาอุปกรณ์จากบ้านมาช่วย
  3. มีคนอาสาเตรียมอาหารเตรียมน้ำเพื่อให้คนมาช่วยได้กิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานทุกเดือน ทบทวนงาน ประเมินผล สรุป และมอบหมายงาน ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติของสมาชิกให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมกรรมการได้ร่วมประชุมเพื่อทำงานต่อเรื่องวางแผนการเปิดร้านค้า และหาอุปกรณ์เพิ่มเติม

 

15 18

18. ลงแขกแลกแรง

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างร้านค้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มผู้นำลดการใช้สารเคมี 3 วัย 40 คน มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัสดุที่มีในครัวเรือนร่วมขับเคลื่อนงานได้ 40 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ผลดี คือ ไม้ได้เต็มรถ เขาให้ได้นำมาได้หมด นำมาใช้ทำของเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ โครงร้าน ซึ่งเป็นการทำของชาวบ้าน ใช้แต่แรงทำกันเอง ไม่ต้องใช้คนอื่น รวมทำกันเอง มีช่างไม้ประจำหมู่บ้าน เป็นคนบอกให้คนช่วยทำส่วนประกอบ แล้วนายช่างมารวมเป็นชิ้น ช่วยทำหลายวัน เพื่อไม่ได้ลำบากเรื่องการทำมาหากิน จึงใช้เวลาว่างมาช่วยกันทำ บางครั้งไม่ต้องมาครบทั้ง 20 คน สลับกันมาช่วยทำ มากันเรื่อยๆ โดยใช้ที่ประชุมเป็นที่วางแผนว่า ใครมาทำวันไหน ไว้ไหนควรมากี่คน วันไหนที่ใช้ผู้หญิงได้ ให้ผู้หญิงมา วันไหนต้องการผู้ชายให้ผู้ชายมา วันไหนให้นายช่างใหญ่มา ก็มา ใช้การติดต่อบอกกันตลอดเวลาทางโทรศัพท์ เล่นไลน์ กัน บอกกันบ้าง สั่งความไปมั้ง ขับรถผ่านก็บอก บอกหลายรูปแบบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมกันสร้างร้านค้า

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันตัดไม้เพิ่มเติม เพื่อสร้างรั้วร้านค้า และได้นำไม้มาสร้างเป็นร้านค้าคุณธรรมร่วมกัน โดยไปตัดไม้มาทำเสา ไปขอไม้ที่เจ้าของสวนที่ให้ตัด คือ สวนของบ้านห้วยพาน ชื่อน้องเนือบ น้องครื้น ได้ไม้เทียมมา มีเนื้อสวยพอทำเสาได้ และที่เหลือนำมาปลอกเปลือกไว้ทำ ตัดเสร็จ ขนขึ้นรถ มาไว้ที่บ้านายบุญเลิศ เพื่อประกอบเป็นตัวโครงร้าน

 

40 14

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 46 18                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,800.00 65,020.00                  
คุณภาพกิจกรรม 72 54                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ไม่มี

ไม่มี

ไม่มี

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. รายงานผลการดำเนินงานในรอบเดือนที่ผ่านมา/วางแผนการทำงานในเดือนนี้ ( 5 มี.ค. 2559 )
  2. นำตัวหนอนปูนซิเมนต์มาปูพื้นร้านค้าคุณธรรม ( 6 มี.ค. 2559 )
  3. ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มพันธุ์ไม้ น้ำยาไล่แมลง และฮอร์โมนพืช ( 8 มี.ค. 2559 )
  4. ปฎิบัติการทำปุ๋ยอินทรีย์และวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมี ( 8 เม.ย. 2559 )
  5. รายงานผลการดำเนินงานในรอบเดือนที่ผ่านมา/วางแผนการทำงานในเดือนนี้ ( 5 พ.ค. 2559 )
  6. ปฎิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมี ( 7 พ.ค. 2559 )
  7. ปฎิบัติการทำน้ำสมุนไพรไล่แมลง สมุนไพรปราบศัตรูพืช สมุนไพรเร่งดอกและเร่งผล ( 8 พ.ค. 2559 )
  8. ลงแขกแลกแรง ( 20 พ.ค. 2559 )
  9. พัฒนาศักยภาพผู้นำ ( 5 มิ.ย. 2559 )
  10. วิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมีและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการปลูกและดูแลพืชผักแบบวิถีดั่งเดิม ( 8 มิ.ย. 2559 )
  11. พัฒนาศักยภาพผู้นำ ( 5 ก.ค. 2559 )
  12. เปิดร้านค้าคุณธรรมนำผลผลิตมาจำหน่าย ( 1 ส.ค. 2559 )
  13. สภาผู้นำพัฒนากลไกให้ขับเคลื่อนได้ต่อเนื่อง ( 8 ส.ค. 2559 )
  14. ถอดบทเรียน ( 12 ส.ค. 2559 )
  15. ประชุมชี้แจงโครงการ(ร้านค้า) ( 20 ส.ค. 2559 )
  16. เวทีนำเสนอผลการทำน้ำหมักเพื่อปฎิบัติการลดการใช้สารเคมี ( 1 ก.ย. 2559 )
  17. คืนข้อมูลการติดตามและจัดทำข้อตกลงร้านค้าคุณธรรม ( 8 ก.ย. 2559 )
  18. ถอดบทเรียน ( 10 ก.ย. 2559 )
  19. ร่วมกันปลูกข้าวและผักพื้นบ้านตามวิถีดั้งเดิม ( 13 ก.ย. 2559 )
  20. ประชุมกับ สจรส.มอ. ( 17 ก.ย. 2559 )
  21. สรุปโครงการ ( 25 ก.ย. 2559 )
  22. ร่วมติดตามแปลงผักที่ร่วมโครงการ ( 28 ก.ย. 2559 )
  23. พัฒนาศักยภาพผู้นำ ( 29 ก.ย. 2559 )
  24. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้ ( 3 ต.ค. 2559 - 5 ต.ค. 2559 )
  25. ประชุมกับ สจรส.มอ. ( 13 ต.ค. 2559 )
  26. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ( 14 ต.ค. 2559 )
  27. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ( 15 ต.ค. 2559 )

(................................)
นาย วีระพล คงทอง
ผู้รับผิดชอบโครงการ