แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ กล้วยไข่บานลดสารเคมีบ้านพิตำ

ชุมชน บ้านพิตำ หมู่ 3 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จัหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03853 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2071

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม(ครั้งที่1)

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-20.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมชี้แจงโครงการ โดย สจรส.มอ.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-สามารถใช้สื่อประชาสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม -บันทึกข้อมูลกิจกรรมได้ -ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ Internet ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-สจรส.มอ.ชี้แจงรายละเอียดโครงการ -สอนวิธีการบันทึกข้อมูล รายละเอียดกิจกรรม -สอนวิธีการใช้สื่อ ประชาสัมพันธ์ -สอนวิธีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ Internet ของเว็บ คนใต้สร้างสุข

กิจกรรมที่ทำจริง

-เรียนรู้การดำเนินงานโครงการ สสส.

-ฝึกบันทึกข้อมูลกิจกรรมเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

 

2 2

2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำป้ายปลอดบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและรณรงค์การเลิกบุหรี่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

กรรมการไปจัดทำป้ายปลอดบุหรี่

 

2 2

3. ประชุมสภาผู้นำเพื่อขับเคลื่อนโครงการและหมอบหมายงาน(ครั้งที่ 1)

วันที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดสภาผู้นำเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.กลุ่มผู้นำเกษตรกล้วยไข่บานลดสารเคมี จำนวน 10 คนสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การปลูกกล้วยไข่บานลดสารเคมีได้ 2.เกิดเครือข่ายสภาผู้นำลดสารเคมีในตำบลกรุงชิง 1 กลุ่ม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง โดยทีมมีรายชื่อดังนี้
  1. นายวิรัตน์ เล่นทัศน์ ประธานที่ปรึกษา
  2. นายระพินทร์ หนูทอง วิทยากรชุมชน
  3. นายสุทธิเดช โฆษะ วิทยากรชุมชน
  4. นายพันธศักดิ์ องพิศิษ วิทยากรชุมชน
  5. นางสาวเสาวนีย์ สุขมี เลขา
  6. นายพัฒิยะ ศรีมุข ประชาสัมพันธ์
  7. นายวิชาญ เซ่งนาค ประชาสัมพันธ์
  8. นายสุธรรม รักษาแก้ว ประชาสัมพันธ์
  9. นางวิลาวัลย์ จรรยาดี ประชาสัมพันธ์
  10. นางจรัสศรี เพ็ชรประพันธ์ ประสานงานและการเงิน
  11. นางสำรวย จันทวงศ์ สถานที่
  12. นายอำนาจ คีรีทอง สถานที่
  13. นางสาวทิพวรรณ ดำสงค์ เทคโนโลยีสารสนเทศ( IT )
  14. นางวันเพ็ญ พรหมบังเกิด กิจกรรม ( ถ่ายรูป )
  15. นางนภสร เพชรชนะ กิจกรรม ( ถ่ายรูป )
  16. นางรัชนี อุ่นใจ อาหาร
  17. นายชัยณรงค์ สุประดิษฐ์ ที่ปรึกษา
  18. นายนิคม เพชรประพันธ์ ที่ปรึกษา
  19. นายบุญส่ง ราชประดิษฐ์ ที่ปรึกษา
  20. นายราชิต ราชประดิษฐ์ ที่ปรึกษา
  • เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานทุกเดือน ทบทวนงาน ประเมินผล สรุป และมอบหมายงาน ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติของสมาชิกให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมชี้แจงกรรมการ เรื่องการดำเนินงานโครงการ สสส. พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ให้คณะทำงานประกอบด้วยประธาน เหรัญญิก เลขา ฝ่ายวิทยากรณ์ ประชาสัมพันธ์ ประสานงาน เก็บภาพ ฝ่ายเตรียมอาหาร ฝ่ายสถานที่ ฝ่ายสารสนเทศ

 

20 22

4. ประชุมชาวบ้านในชุมชน เพื่อชี้แจงโครงการ

วันที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 8.00 - 16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูล วางแผน และปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตลอดโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ชาวบ้านได้รับทราบและเข้าใจ มีเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน ได้แก่ อบต. เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ กศน. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโรงเรียนบ้านพิตำ ผู้อำนวยการและคุณครู ผู้เข้าร่วมเสนอแนะการทำงานในแต่ละกิจกรรม มอบหมายการทำงานกันตลอดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงโครงการให้กลุ่มเป้าหมายกับผู้สนใจเข้าร่วม โดย 1.บอกเรื่องการลดการใช้สารเคมีในโครงการ การใช้น้ำส้มควันไม้แทนยาฆ่าแมลง การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน การใช้ปุ๋ยหมักในสวนแบบฉบับคนพิตำ การใช่สารสกัดจากสมุนไพรฆ่าแมลง เช่น น้ำหมักยาฉุน สะเดา สาบเสือ ส่งเสริมการปลูกสมุนไพร พืชเสริม เช่น ผักกูด ผักเขลียง ระหว่างสวนกล้วย เป็นต้น 2.กำหนดปฏิทินกิจกรรมการดำเนินงานตลอดโครงการ พร้อมผู้ร่วมรับผิดชอบการจัดกิจกรรมในหมู่บ้านและ ติดตามตามบ้าน เรียนรู้การทำผังฟาร์มเพื่อการจัดการลดสารเคมีเกิดผลผลิตมีคุณภาพได้ราคาดี โดยมีการเรียนรู้จากปราชญ์ตั้งแต่การเตรียมแปลง การปลูก การตกแต่ง ระยะเร่ง การใส่ถุง รดน้ำปุ๋ย ทำปุ๋ย ใส่น้ำส้มควันไม้ และเรียนรู้เรื่องการกระจายผลผลิต

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิรัตน์เล่นทัศน์ได้ชี้แจงโครงการและบอกกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนของ สสสแนะนำสภาผู้นำ จำนวน 20 คนคณะกรรมการที่มาเข้าร่วมสนับสนุน แจ้งงบประมาณที่สนับสนุน จากนั้นให้ทุกคนช่วยกันเสนอแนะ วางแผนการดำเนินงานต่อ

 

100 109

5. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 2)

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดสภาผู้นำเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.กลุ่มผู้นำเกษตรกล้วยไข่บานลดสารเคมี จำนวน 10 คนสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การปลูกกล้วยไข่บานลดสารเคมีได้ 2.เกิดเครือข่ายสภาผู้นำลดสารเคมีในตำบลกรุงชิง 1 กลุ่ม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชน
  • เกิดการทำงานร่วมกันของชุมชน และการวางแผนปฎิบัติงานร่วมกัน
  • มีแบบสำรวจการใช้สารเคมีของเกษตรกรในชุมชน
  • แบ่งการสำรวจโดย เหนือคลองโดยนายสุธิเดช โฆษะ ตีนบ้านโดยนายอมร แก้วเกิด ใต้คลองโดยนายระพินทร์ หนูทอง,นายพันธศักดิ์ องค์พิศิษ กลางบ้านโดยนางวิลาวรรณ จรรยาดี,นางจรัสศรี เพ็ชรประพันธ์,นายวิรัตน์ เล่นทัศน์ โดยแต่ละจุดพร้อมกันทุกคน แต่ผู้รับผิดชอบพื้นที่เป็นตัวหลัก
  • ชุมชนจะได้ข้อมูลจากการให้ข้อมูลจากตัวเกษรตรกรเอง
  • กำหนดตารางวันสำรวจ คือ 18-22 พฤศจิกายน 2558 นี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานทุกเดือน ทบทวนงาน ประเมินผล สรุป และมอบหมายงาน ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติของสมาชิกให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

สภาผู้นำร่วมกันหารือ เรื่องดังต่อไปนี้

  1. ออกหนังสือเชิญ
  2. ทำแบบสำรวจการใช้สารเคมี
  3. แบ่งโซนการสำรวจ
  4. มอบหมายคนสำรวจ แบ่งเป็น 4 โซน คือ เหนือคลอง ตีนบ้าน ใต้คลอง และกลางบ้าน ยึดหลักตามกลุ่มบ้าน
  5. จัดทำตารางกลุ่ม นัดแนะกันทำงาน
  6. เพิ่มข้อมูลการปลูกกล้วย การให้ความมั่นใจของประชาชนในการเข้าร่วมโครงการ และข้อมูลการใช้ปุ๋ย พัฒนาความรู้ต่อยอด
  7. นัดพบวันทำกิจกรรม ตามหน้าที่ ประธานเป็นผู้กระตุ้นให้ทำงาน

 

20 23

6. กลุ่มผู้นำลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการใช้สารเคมีและแลกเปลี่ยนความรู้ การผลิตกล้วยไข่บาน วันที่ 1

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 เวลา 9.00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูลวางแผนและปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ชุดข้อมูลการใช้สารเคมี และความรู้ของหมู่บ้านเพื่อนำมาวางแผนงานในสภาผู้นำและในกลุ่มเป้าหมายได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำชุมชนมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล โดยได้จำนวนผู้ให้ข้อมูล ในการสำรวจวันแรก 47 ครัวเรือน ได้ข้อมูลการใช้สารเคมีประเภทยาฆ่าหญ้าประเภทดูดซึมไกลโคเซต 6 ราย ประเภทเผาไหม้ 11 ราย ใช้ยากำจัดศัตรูพืช 3 ราย ยาเกี่ยวกับโรคพืช 2 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 27 ราย เข้าร่วมโครงการ 46 ราย ไม่เข้าร่วมโครงการ 1 ราย

จากการที่ได้คุยกับชาวบ้าน การลงพื้นที่สำรวจนั้นทำได้ยากเพราะคนที่สามารถให้ข้อมูลได้ เข้าไปทำสวนจึงนัดให้มารวมกลุ่มในที่ทำการกลุ่ม เฉพาะคนที่สะดวกมาที่กลุ่ม ส่วนครัวเรือนที่ไม่ได้มา กลุ่มผู้นำจะทำการลงพื้นที่สำรวจที่บ้าน แต่ต้องนัดเวลาที่ที่เกษตรกรอยู่บ้าน บางบ้านให้วางใบสำรวจไว้ แล้วจะจะมาส่งคืนในภายหลัง จึงทำให้ทางกลุ่มเก็บข้อมูลได้ไม่พร้อมกัน บางคนไม่สามารถอ่านใบสำรวจได้ เพราะมีปัญทางทางสายตา เช่น คนสูงอายุจึงต้องให้กรรมการกรอกข้อมูลให้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แกนนำ 20 คน แบ่งกลุ่มลงพื้นที่สำรวจ 4 สาย สายละ 5 คน ถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการใช้สารเคมี และแลกเปลี่ยนความรู้เดิมของการผลิตกล้วยไข่บาน แล้วนำข้อมูลมารวมกันทั้งหมู่บ้าน ใช้เวลา 5 วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.แกนนำชุมชนลงพื้นที่สำรวจ เรื่อง การใช้สารเคมีในชุมชน ซึ่งพบว่าชุมชนมีการใช้สารเคมีชนิดยาฆ่าหญ้า ประเภทดูดซึม ประเภทเผาไหม้ สารโรคพืช สารเคมีกำจัดแมลง ปุ๋ยเคมี 2.ชุมชนมีการปลูกกล้วยไข่ รวมในแปลงยาง ,พื้นที่เกษตร,ข้างบ้าน ซึ่งพบว่า ครัวเรือนที่มีการปลูกกล้วยไข่ จำนวน 47 ครัวเรือน การปลูกกล้วยไข่เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครัวเรือนในช่วงยางมีราคาตกต่ำ ตลอดจนกล้วยไข่เป็นพืชโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็วและมีราคาดี

 

60 47

7. ลงพื้นที่สำรวจการใช้สารเคมีวันที่ 2

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-17.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูล วางแผน และปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ชุดข้อมูลการใช้สารเคมี และความรู้ของหมู่บ้านเพื่อนำมาวางแผนงานในสภาผู้นำและในกลุ่มเป้าหมายได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

บางบ้านได้พบ บางบ้านไม่พบ แต่มีคนอยู่ได้มารวมตัวกัน 27 คน มาร่วมกันให้ข้อมูล ช่วยเขียนแบบสอบถาม ช่วยเสนอแนะ สรุปว่า ใช้สารเคมีแบบดูดซึม เช่น ไกลโคเซต ซื้อตามร้านค้า นำมาใช้เป็นยาฉีดหญ้า และปุ๋ยเคมีใส่ในสวนยาง มีหลายสูตร -จากการสำรวจมี่การใช้ยาฆ่าหญ้าแบบดูดซึม 9 ราย ประเภทเผาไหม้ 10 ราย ใช้ยาศัตรูพืช 2 ราย ยาเกี่ยวกับโรคพืช 2 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 24 ราย ชาวบ้านเข้าร่วมโครงการ 24 ราย ไม่เข้าร่วม 3 ราย

ปัญหาที่พบในการเก็บข้อมูล คือ การลงพื้นที่มาบางบ้านมีคนอยู๋บ้าน บางบ้านไม่มีคนอยู่บ้าน บางบ้านเจอคนแต่ให้ข้อมูลไม่ได้ เช่น คนชรา เด็กหรือคนที่ไม่ได้ปฏิบัติในสวนจริง บางคนไม่เข้าใจว่าเอาข้อมูลไปทำไม(เหมือนไม่อยากให้ข้อมูล) บางคนก็ไม่ยอมให้ถ่ายรูป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แกนนำ 40 คน แบ่งกลุ่มลงพื้นที่สำรวจ 4 สาย สายละ 10 คน ถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการใช้สารเคมี และแลกเปลี่ยนความรู้เดิมของการผลิตกล้วยไข่บาน แล้วนำข้อมูลมารวมกันทั้งหมู่บ้าน ใช้เวลา 5 วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

ออกพื้นที่สำรวจการใช้สารเคมีโซนเหนือของหมู่บ้าน ถามการปลูกกล้วย เดินตามบ้านทุกบ้าน นัดมาคุยรวมกัน เพื่อให้เพิ่มเติมข้อมูลของทุกบ้าน

 

40 27

8. ลงพื้นที่สำรวจการใช้สารเคมี วันที่ 3

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-17.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูล วางแผน และปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ชุดข้อมูลการใช้สารเคมี และความรู้ของหมู่บ้านเพื่อนำมาวางแผนงานในสภาผู้นำและในกลุ่มเป้าหมายได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ชาวบ้านให้ความร่วมมือ ร่วมให้ข้อมูล กรรมการต้องสัมภาษณ์ ต้องเขียนให้ เนื่องจากส่วนใหญ่เขียนไม่สะดวก เวลาถ่ายรูปจะอาย ไม่ค่อยให้ถ่าย เมื่อเอาข้อมูลมารวมกันแล้วพบว่า ผลการพูดคุยและสัมภาษณ์ และทำแบบสอบถาม พบว่ายังมีการใช้สารเคมี มีมากได้แก่ยาฉีดหญ้า ประเภทดูดซึมได้มาก น่ากลัวกล่าแต่ใช้ได้นานกว่า จึงนิยมใช้ แต่มีพิษมากกว่าแบบเผาไม้ จึงนัดแนะการลดการใช้ ให้มารวมกันทำกลุ่มปุ๋ยหมัก และนักแนะให้มาเริ่มทำกัน นำไปทดลองใช้ยังใช้สารเคมีมากอยู่ แต่เมื่อกรรมการบอกเรื่องการใช้สารอินทรีย์ทดแทน ก็ให้ความสนใจ และบอกว่าจะร่วมมมือเริ่มจากการรวมกลุ่มทำปุ๋ยหมัก
  2. เก็บข้อมูลได้ 29 ชุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แกนนำ 40 คน แบ่งกลุ่มลงพื้นที่สำรวจ 4 สาย สายละ 10 คน ถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการใช้สารเคมี และแลกเปลี่ยนความรู้เดิมของการผลิตกล้วยไข่บาน แล้วนำข้อมูลมารวมกันทั้งหมู่บ้าน ใช้เวลา 5 วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงเก็บข้อมูลการใช้สารเคมีในชุมชน ซึ่งวันนี้มีการประชุมกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งทีมงานได้เข้าไปสอบถาม ผู้เข้าร่วมประชุมในช่วงเวลาพักกลางวัน

 

40 28

9. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการใช้สารเคมี วันที่ 4

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูล วางแผน และปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ชุดข้อมูลการใช้สารเคมี และความรู้ของหมู่บ้านเพื่อนำมาวางแผนงานในสภาผู้นำและในกลุ่มเป้าหมายได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการสำรวจโซนนี้ มีการปลูกกล้วย ปลูกพืชมาก มีการปลูกพืชคลุมดินแทนการฉีดหญ้า พบความรู้จากกโซนใต้คลอง โซนนี้มีน้ำเพียงพอ เป็นพื้นที่ข้างคลอง สามารถปลูกกล้วยได้ดีกว่าโซนอื่น แต่มีข้อเสียคือบ้านอยู่ข้างคลอง อาจมีสารเคมีไหลลงมามาก คนให้ความสนใจดี ไม่ขาด พร้อมร่วมมือ เพราะตรงกับความต้องการและปัญหาของทุกคน ที่ต้องถีบตัวเองเรื่องการลดสารเคมี เพื่อให้ได้ทำมาหากินในอนาคต มีการใช้ยาฆ่าหญ้าประเภทดูดซึม 10 ราย ประเภทเผาไหม้ 4 ราย ใช้ยากำจัดศัตรูพืช 2 ราย ใช้ยากำจัดโรคพืช 15 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 16 ราย เข้ารว่มโครงการทั้งหมด

ปัญหาในการเก็บข้อมูลในวันนี้ คือ ลงพื้นที่ค่อนข้างไกล เพราะเป็นโซนห่างจากชุมชน บางรายผู้นำต้องเก็บข้อมูลตามกลุ่มที่กำลังสังสรรค์กัน ส่วนปัญหาอื่น ๆ มีปัญหาคล้ายๆกับวันก่อนหน้านี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แกนนำ 40 คน แบ่งกลุ่มลงพื้นที่สำรวจ 4 สาย สายละ 10 คน ถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการใช้สารเคมี และแลกเปลี่ยนความรู้เดิมของการผลิตกล้วยไข่บาน แล้วนำข้อมูลมารวมกันทั้งหมู่บ้าน ใช้เวลา 5 วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงสำรวจการใช้สารเคมีตามโซน เป็นโซนใต้คลอง ข้อมูลได้จากสัมภาษณ์และการรวมตัวสรุปที่กลางบ้าน รวมตัวกันเพื่อเพิ่มเติม นัดที่บ้านพี่เขียว มาหลายคน ทำข้อมูล เสนอ ช่วยกันสอบถาม ช่วยกันเขียน และเพิ่มเติม

 

40 26

10. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการใช้สารเคมีวันที่ 5

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูล วางแผน และปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ชุดข้อมูลการใช้สารเคมี และความรู้ของหมู่บ้านเพื่อนำมาวางแผนงานในสภาผู้นำและในกลุ่มเป้าหมายได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

โซนกลางบ้านมีผู้เข้าร่วมดี เป็นโซนที่มีบ้านคนมาก ส่วนใหญ่ใช้สารเคมีแบบดูดซึม ปลูกพืชน้อย ที่สวนน้อย บ้านคนหนาแน่น มีโรงเรียน คนปลูกกล้วยน้อยกว่าโซนอื่นๆ จากการสำรวจทมีผู้ให้ข้อมูล 51 คน มีผู้ย่าฆ่าหญ้าประเภทดูดซึม 11 คน ประเภทเผาไหม้ 6 คน ยาศัตรูพืช 3 คน ยาโรคพืช 2 คน ใช้ปุ๋ยเคมี 41 คนเข้าร่วมโครการ 50 ไม่เข้าร่วม 1คน จากบ้อมูลที่ได้จากชาวสวนบอกว่าปีนี้ราคายางไม่ดี จึงไม่ค่อยได้ซื้อยา แล้วไม่ค่อยได้ซื้อปุ๋ย ข้อมูลตอนนี้จึงไม่มาก ปัญหาที่พบยังมีลักษณะเดิม ๆ คือบางคนไม่เต็มใจให้ข้อมูลผู้นำต้องชี้แจงถึงจะตกลงยอมให้ข้อมูล ไม่เจอคนอยู่บ้าน ต้องเก็บข้อมูลตามกลุ่มที่ไปสังสรรค์เป็นกลุ่มๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แกนนำ 40 คน แบ่งกลุ่มลงพื้นที่สำรวจ 4 สาย สายละ 10 คน ถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการใช้สารเคมี และแลกเปลี่ยนความรู้เดิมของการผลิตกล้วยไข่บาน แล้วนำข้อมูลมารวมกันทั้งหมู่บ้าน ใช้เวลา 5 วัน

กิจกรรมที่ทำจริง

สำรวจโซนกลางบ้าน ช่วยกันทำข้อมูล และสรุปข้อมูลเสนอแนะที่กลุ่มออมทรัพย์ จัดเก็บข้อมูลมาให้คณะกรรมการเข้าที่ประชุม

 

40 29

11. ประชุมร่วมกับ สจรส.มอ.

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 08:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การบันทึกรายงานและการจัดการการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้เอกสารสำหรับเป็นคู่มือในการทำรายงาน การจัดการเอกสารการเงิน ได้ดูตัวอย่างเอกสารการเงินที่ถูกต้องจากเพื่อร่วมชุดโครงการ และได้ฝึกการบันทึกการทำรายงานเพิ่มเติม ทั้งรายงานผลการดำเนินงาน และรายงานการเงิน และบันทึกรายงาน พอทำได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมร่วมกับ สสส เรื่องของการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน และการจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้องเหมาะสม

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมประชุมกับ สสส เรื่องแนวทาง วิธีการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน การจัดการการเงินและเอกสารการเงิน การบันทึกรายงาน การทำโครงการให้สำเร็จ การหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

2 3

12. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 3)

วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-14.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

วางเเผนการดำเนินกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.กลุ่มผู้นำเกษตรกล้วยไข่บานลดสารเคมี จำนวน 10 คนสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การปลูกกล้วยไข่บานลดสารเคมีได้ 2.เกิดเครือข่ายสภาผู้นำลดสารเคมีในตำบลกรุงชิง 1 กลุ่ม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

หาสาเหตุการใช้สารเคมี พบว่า ได้แบ่งประเภทการใช้สารเคมี ทั้งหมด 132 ราย เป็น 4 แบบ มีการใช้ศัตรูพืช 9 ราย ใช้ยาฉีดรักษาโรคพืช 8 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 77 ราย ใช้ยาฆ่าหญ้าทั้งแบบดูดซึมและเผาไหม้ 58 ราย ทุกคนที่เข้าร่วมได้ร่วมวิเคราะห์ และพูดกันเรื่องผลกระทบการใช้สารเคมี ที่มีผลน้ำดื่มน้ำใช้ สิ่งแวดล้อม อาหาร และสุขภาพ มีผลต่อรายจ่าย ต้นทุนการผลิตสูง จึงเสนอแนะวางแผนลดการใช้สารเคมี ต่อไปชวนกันใช้สมุนไพรแทน เป็นสารสกัดไล่แมลง สมาชิกมีความพอใจ พยายามลดการใช้ 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานทุกเดือน ทบทวนงาน ประเมินผล สรุป และมอบหมายงาน ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติของสมาชิกให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกันวางแผนเพื่อดำเนินกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สารเคมี โดยแจ้งข้อมูลการใช้สารเคมี ให้ข้อเสนอแนะเพื่อวางแผนการลดสารเคมี

 

20 20

13. วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายการใช้สารเคมีกับสารอินทรีย์ที่ใช้ในการปลูกกล้วยไข่บาน

วันที่ 16 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายการใช้สารเคมีกับสารอินทรีย์ที่ใช้ในการปลูกกล้วยไข่บาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีชุดข้อมูลของหมู่บ้านเพื่อนำไปพัมนาแผนงานลดการใช้สารเคมี

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้เรียนรู้การจัดเก็บข้อมูล เนื้อหาการทำข้อมูล และได้วางแผนการทำการจัดการศัตรูพืช ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากครู กศน. และเกษตรอำเภอ เพื่อดำเนินการใช้สารเคมีทดแทน นัดแนะการทำงานในครั้งต่อไป
  • จากการสำรวจการปลูกกล้วยในพื้นที่จาก 202 ครัวเรือน แยกเป็น ประเภทของกล้วยมีดังนี้ 1. กล้วยไข่ จำนวน 2,2949 กอ กล้วยหอม 8,345 กอ กล้วยน้ำว้า 4,135 กอ กล้วยอื่นๆ เล็กน้อย
  • จากการสำรวจการใช้สารเคมี ใช้ยาฆ่าหญ้าประเถทดูดซึม 39 ราย ประเภทเผาไหม้ 37 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 77 ราย(ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายการใช้สารเคมีกับสารอินทรีย์ที่ใช้ในการปลูกกล้วยไข่บาน เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา ในการให้ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้และสร้างความตระหนัก พร้อมทั้งร่วมกันวางแผนการพัมนาอย่างมีส่วนร่วม

กิจกรรมที่ทำจริง

ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมในการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ชักชวนผู้สนใจหันมาใช้สารอินทรีย์ ทดแทน แจ้งสถิติการสำรวจ และยังที่ตกหล่นการสรวจ ให้สำรวจต่อไป และพูดคุยเรื่องการเปิดหาตลาดของกล้วยจากครู กศน. และเกษตรอำเภอ แจ้งการกำจัดศัตรูพืช ภายใต้โครงการจัดการศัตรูพืช

 

40 33

14. สภาผู้นำและกลุ่มจัดเก็บข้อมูลนำข้อมูลมาเสนอเป็นกราฟให้เห็นแนวโน้มของการเกิดผลกระทบจากการใช้สารเคมีในอนาคตและเปรียบเทียบข้อมูลให้เห็นว่าถ้าใช้สารอินทรีย์มีผลดีอย่างไร จากนั้นให้ทุกคนระดมสมอง สร้างการมีส่วนร่วมวางแผนการปฏิบัติเพื่อเรียนรู้

วันที่ 23 ธันวาคม 2558 เวลา 9.00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูล วางแผน และปฏิบัติการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกล้วยไข่บาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้แผนหมู่บ้านเพื่อลดสารเคมี

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ให้เกษตรกรมาเล่าเรื่องการลดสารเคมี แต่ทุกคนยังลดได้ไม่มาก แต่พยายามลด กรรมการได้สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างสภาผู้นำกับชุมชนเพื่อทำงานต่อเนื่อง โดยวางแผนให้เข้าแผนหมู่บ้าน ทุกคนมีความเข้าใจ และร่วมกันนำข้อมูลวันนี้เสนอโครงการลดสารเคมีต่อ และได้นำไปขัดทำเป็นแผนหมู่บ้าน พร้อมทั้งได้ขอสนับสนุนงบจากหมู่บ้าน และ อบต. เพิ่มเรื่องการลดสารเคมี ควบคุ่กับการทำโครงการ
-จากการสำรวจในชุมชน ได้ข้อมูล 154 ครัวเรือน มีรายละเอียดดังนี้ เกษรตรกรผู้ปลููกกล้วยโดยแยกประเภทกล้วยดังนี้ กล้วยไข่ 34,569 ต้น กล้วยหมอทอง 10,395 ต้น กล้วยน้ำว้า 8,048 ต้น และกล้วยอื่นๆ (กล้วยเล็กมือนาง และกล้วยอื่นๆ 962 ต้น) มีการใช้ยาฆ่าหญ้า ประเภทดุดซึม 39 ราย ประเภทเผาไหม้ 37 ราย ใช้ปุ๋ยเคมี 77 ราย ยาฆ่าแมลง 9 ราย ยาโรคพืช 8 ราย

ทั้งนี้พบว่า ชาวบ้านไม่ส่งใบสำรวจหลายคน หลายคนยังยึดติดกับความคิดเดิมๆคือการใช้สารเคมีอำนวยความสะดวกและไม่ค่อยคำนึงถึงสุขภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำและกลุ่มจัดเก็บข้อมูล นำข้อมูลมาเสนอเป็นกราฟให้เห็นแนวโน้มของการเกิดผลกระทบจากการใช้สารเคมีในอนาคต และเปรียบเทียบข้อมูลให้เห็นว่าถ้าใช้สารินทรีย์มีผลดีอย่างไร จากนั้นให้ทุกคนระดมสมอง สร้างการมีส่วนร่วมวางแผนการปกิบัติเพื่อเรียนรู้ และกำหนดสถานที่เรียนรู้ แบ่งผู้รับผิดชอบ นำที่จัดทำกันทั้งหมดเข้าแผนหมู่บ้านเพื่อขอความร่วมมือหน่วยงานมาร่วมด้วย

กิจกรรมที่ทำจริง

นายวิรัตน์ เล่นทัศน์ ได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสำรวจการใช้สารเคมีในหมู่บ้าน มีค่อนข้างสูง และได้แจ้งถึงสถิติการใช้สารเคมี เช่นยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ยาโรคพืช ปุ๋ยเคมี ซึ่งเกษตรกรเองยังบอกว่า ช่วงนี้ราคายางไม่ได ถ้าเศรษฐกิจดีสถิติจะสูงกว่านี้อีกโดยเฉพาะปุ๋ยเคมี เพราะบางคนไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีมาสองปีแล้ว นอกจากนี้เกษตรอำเภอนบพิตำ นายกรวิชย์ เชาวลิต ได้แจ้งว่า ทางอำเภอมีโครงการศูนย์กำจัดศัตรูและโรคพืชซึ่งจะสกัดจากสมุนไพรและพร้อมที่จะมาสอนเพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่เกษรตรกรในวันหลัง ซึ่งชาวบ้านก็ค่อนข้างให้ความสนใจ

 

60 60

15. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 4)

วันที่ 13 มกราคม 2559 เวลา 09:00-14.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดสภาผู้นำเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.กลุ่มผู้นำเกษตรกล้วยไข่บานลดสารเคมี จำนวน 10 คนสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การปลูกกล้วยไข่บานลดสารเคมีได้ 2.เกิดเครือข่ายสภาผู้นำลดสารเคมีในตำบลกรุงชิง 1 กลุ่ม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้กำหนดจุดการทำน้ำส้มควันไม้ 3 จุด ที่บ้านนายสายันต์ แท่นทอง บ้านนายสุทธิเดช โฆษะ และบ้านนางจรัสศรี เพชรประพันธ์ จัดทำเอกสารได้แก่ 1. ลักษณะการใช้ 2.ข้อดีข้อเสีย 3.วิธีทำ 4.และการดูแล

วิทยากรที่คิดกันจะเชิญ คือ เกษตรตำบล กศน. และปราชญ์ชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานทุกเดือน ทบทวนงาน ประเมินผล สรุป และมอบหมายงาน ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติของสมาชิกให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

วางแผนเรื่องการทำน้ำส้มควันไม้ จัดทำเอกสารทำน้ำส้มควันไว้ จัดหาจุดสถานที่ ตั้งเตาที่บ้านใคร ใครมาร่วม วางแผนเชิญวิทยากรมา 3 คน

 

20 18

16. เรียนรู้การทำน้ำส้มควันไม้

วันที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้การทำน้ำส้มควันไม้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้น้ำส้มควันไม้เพียงพอในการใช้ทดแทนสารเคมี

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

น้ำส้มควันไม้ต้องรู้ว่าใช้อย่างไร ถ้าใช้ไม่ถูกทำให้ต้นไม้อาจตายได้ สรุปว่าน้ำส้มควันไม้ใช้ไล่แมลง ฆ่าปลวก ดับกลิ่น ใช้เข้มข้นฆ่าหญ้าได้ด้วย ควรระวังในการใช้ ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้ลงมือทำร่วมกัน เริ่มเผาถ่านจนเป็นควันจากผาถ่านให้ควันขึ้นไปตามท่อ กระทบความเย็นจะก่อตัวเป็นหยดน้ำ รับน้ำเป็นน้ำส้มควันไม้ เผาหนึ่งคร้้ง 6 - 10 ชั่วโมง เมื่อได้แล้วต้องตั้งไว้ก่อน 3 เดือน จึงนำไปใช้ประโยชน์ ถ้านำมาใช้เลยจะให้โทษมากกว่าประโยชน์ เนื่องจากเข้มข้นสูง จากนั้นกระจายจุดสาธิตการทำน้ำส้มควันไม้ตามจุดสาธิต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เรียนรู้การทำน้ำส้มควันไม้

กิจกรรมที่ทำจริง

ทำน้ำส้มควันไม้ โดยแนะนำคณะวิทยากร เจ้าหน้าที่ที่มาร่วม ร้อยตรีสงคราม เป็นวิทยากร พูดและสาธิตการทำน้ำส้มควันไม่ ทุกคนมาร่วมเพิ่มเติมให้ข้อมูลจากการสรุปของปราชญ์

 

60 64

17. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 5)

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.กลุ่มผู้นำเกษตรกล้วยไข่บานลดสารเคมี จำนวน 10 คนสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การปลูกกล้วยไข่บานลดสารเคมีได้ 2.เกิดเครือข่ายสภาผู้นำลดสารเคมีในตำบลกรุงชิง 1 กลุ่ม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กรรมการร่วมคิด เสนอ และมอบหมายงาน เพื่อเตรียมอุปกรณ์การทำน้ำหมัก และการทำกาบหมากเพื่อจัดทำในอำเภอยิ้ม เอามาสานเป็นหมาตอก เอาไปใส่กล้วย ได้นำกาบหมากมาใช้ ประยุกต์ใส่กล้วย ทำให้กล้วยมีคุณค่ามากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานทุกเดือน ทบทวนงาน ประเมินผล สรุป และมอบหมายงาน ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติของสมาชิกให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการร่วมประชุมเพื่อพิจารณาการจัดกิจกรรมต่อไป เตรียมการทำกิจกรรมทำอาสาฝนหลวง มีอำเภอยิ้ม ต่อไปเตรียมทำปุ๋ยหมักของกลุ่ม วันที่ 17 ก.พ. 59 มีคนสมัครกลุ่มเพิ่มมาแล้ว 60 คน และให้ทุกคนช่วยทำตอกหมากไปเสนอวันพบอำเภอยิ้ม นัดเตรียมงานอีกครั้ง 22 ก.พ. 59

 

20 20

18. การประชุมจัดทำรายงานงวดที่1โดยทีม สจรส.มอ.

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายงานงวดที่1 ส่ง สสส

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เพิ่มเติมข้อมูลการบันทึกผลที่เกิดขึ้นจริง จัดรูปแบบเอกสารการเงินให้เรียบร้อยและเป็นหมวดหมู่มากขึ้น สามารถสรุปผลงานรายงานการเงิน ส่ง สสส.ได้ ส่วนรายงานผลการดำเนินงานทางพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ. จะตรวจสอบความสมบูรณ์ให้อีกครั้งก่อนจะจัดส่งให้ สสส.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรายงานงวดงวดที่ 1 และเตรียมเอกสารการเงินให้เจ้าหน้าที่ของ สจรส.ม.อ.ช่วยตรวจความถูกต้องและเรียบร้อย

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำรายงานงวด 1 ร่วมกับ สจรส.มอ. และพี่เลี้ยง โดยตรวจเอกสารการเงิน รายงานการใช้เงิน การทำรายงาน ง.1 งวดที่ 1 และการเขียนรายงานบนเว็บไซต์

 

2 2

19. ร่วมทำน้ำปุ๋ยน้ำ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบกานณ์และนำผลผลิตจากการเรียนรู้ไปใช้ในแปลงผลิตกล้วย

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9.00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้สมาชิกเรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำ เพื่อทดแทนการใช้ปฺุยเคมี2. เพื่อเกษตรกรรู้จักใช้วัตถุดิบ ในพื้นที่ให้เป็นประโยชน์ 3. เพื่อลดค่าใช้จ่าย/ลดต้นทุนในการผลิต 4. เพื่อให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารเคมี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สมาชิกกลุ่มปลูกกล้วยและชาวบ้านที่สนใจ ที่เข้าร่วม ได้ความรู้เรื่องการเก็บเศษวัถุดิบของผลผลิต มาทำเป็นน้ำหมักเพื่อเป็นปุ๋ย ใช้ต่อไป
  2. อีก 2 อาทิตย์ สมาชิกสามารถนำน้ำหมักไปใช้ได้
  3. สมาชิกได้รู้จักการจัดการกับเศษวัสดุที่เหลือใช้จากในครัวเรือน
  4. สมาชิกให้ความสนใจค่อนข้างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมปฏิบัติการทำน้ำปุ๋ยน้ำที่บ้านปราชญ์ โดยนำวัตถุดิบไปจาบ้านของทุกคน ร่วมเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม ทำตามขั้นตอนที่ปราชญ์สอน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบหารณ์ของตนเองออกมาด้วย ช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดี และนำผลผลิตจากการเรียนรู้ไปเป็นวัตถุในการทำกล้วยไข่บานลดสารเคมี

กิจกรรมที่ทำจริง

คุณระพิน ได้ให้ความรู้ แก่สมาชิกเรื่องปุ๋ยหมักส่วนผสมของปุ๋ยหมักน้ำ มีวัถุดิบ จากผลผลิตในการเกษตรเช่น ปลีกล้วย ต้นกล้วย มะละกอ ฟักทอง ฟักเขียว ซึ่งสารอาหารที่ได้จากผลไม้ เวลาหมักน้ำหมัดที่ได้ เอาไปรดต้นไม้จะให้ประโยชน์แก่ผลต้นไม้ ถ้ามหัก ประเภทใบ ก็จะให้ประโยชน์ในการแตกยอดของต้นไม้ เพราะฉะนั้นการทำปุ๋ยหมักน้ำต้องคำนึงว่าเราจะใช้ประโยชน์ด้านใด ของต้นที่เราจะเอาไปรถ ต้องใช้ให้ถูกหรือ หมักโดยรวมกันทั้งใบอละผลในถังเดียวกัน เราก็จะได้น้ำหมักแบบองค์รวม คือ สามารถ ใช้ได้ทั้งบำรุงและบำรุงผล ซึ่งในวันนี้ทางกลุ่มจะสาธิตการหมักแบบผลไม้ล้วน ซึงมีปลีกล้วย ฟักทอง ฟักเขียว มะละกอ คุณพัณธศักดิ์ เป็นผู้สาธิตการหมัก โดยการนำพืชผักมาสับหยาบๆ ให้ได้  30 กิโล ต่อ1 ถัง แล้วเติมกากน้ำตาลอธิบาถย 10ลิตร คนให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ก็นำน้ำไปใช้ โดยผสม 1 ลิตรผสมน้ำได้ 200 ลิตร นำไปรดต้นไม้ได้ คุณเกษมศรี ได้อธิบายถึงการน้ำสมุนไพรไล่แมลง เช่นน้ำยาฉุนใบสะเดา ไล่แมลงในผัก การปลูกผักกินเองตามวิถีเดิม เช่น ปลีกล้วยนำมาทำอาหาร ปลูกผักสวนครัว สาระพัดผักข้างบ้าน เพื่อลกรายจ่าย เืพ่อใฟ้มีผักกินเองตามชอบ เพื่อเป็นกิจกรรมของครอบครัว เพื่อแบ่งปันเพื่อนบ้าน และเพื่อเป็นรายได้เมื่อกินไม่หมด ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

 

60 55

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 45 19                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 207,600.00 81,704.00                  
คุณภาพกิจกรรม 76 56                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

-

-

-

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ร่วมทำน้ำปุ๋ยน้ำ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบกานณ์และนำผลผลิตจากการเรียนรู้ไปใช้ในแปลงผลิตกล้วย ( 17 ก.พ. 2559 )
  2. ร่วมทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยหมักโคนในสวนแบบฉบับคนพิตำ ( 24 ก.พ. 2559 )
  3. ประชุมสภาผู้นำ(ครั้งที่ 6) ( 18 ก.ค. 2559 )
  4. ลงแขกปฏิบัติการปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 ( 29 ก.ค. 2559 )
  5. พี่เลี้ยงลงถอดบทเรียน ( 12 ส.ค. 2559 )
  6. ปุ๋ยหมักโคน 1 ( 15 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย วิรัตน์ เล่นทัศน์
ผู้รับผิดชอบโครงการ