แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำในการทำงานชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. สภาผู้นำชุมชนประชุมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง 2. มีเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3. การประชุมทุกครั้ง มีการหารือเรื่องโครงการ และเรื่องอื่นๆ ของชุมชน

 

 

  • สภาผู้นำชุมชนประชุมทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันที่ 8 ของทุกเดือน รวม 12 ครั้ง
  • ในแต่ละครั้งที่มีการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุม ร้อยละ 90 คือ ประมาณ 15 - 20 คน จาก คณะทำงานทั้งหมด 20 คน
  • การประชุมทุกครั้ง มีการหารือเรื่องโครงการ เกี่ยวกับการวางแผนการทำงาน การออกแบบการทำงาน การประสานงาน การใช้จ่ายงบประมาณและเรื่องอื่นๆ ของชุมชนที่มาจากการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอบ้านนาเดิม
2 เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าชุมชนสู่การเรียนรู้ด้านการทำเกษตรผสมผสาน เกษตรปลอดภัย และส่งเสริมการบริโภคผักพื้นบ้าน
ตัวชี้วัด : 1. มีคณะกรรมการสวนป่า 1 ชุด ทำหน้าที่ดูแลศูนย์เรียนรู้ด้านการทำเกษตรผสมผสานของชุมชน 2. มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ พันธุ์พืชสมุนไพรในป่าชุมชน และจัดทำเป็นคู่มือ ชุดความรู้ 3. มีกติกาการใช้ประโยชน์ในสวนป่าชุมชน 4. มีพันธุ์ไม้ และผักพื้นบ้านในสวนป่า และในชุมชนเพิ่มขึ้น 5. คนในชุมชนปรับวีถีการบริโภคมาบริโภคผักพื้นบ้านปลูกเอง ปลอดสารเคมีมากขึ้น

 

 

  • มีคณะกรรมการสวนป่า 1 ชุด ทำหน้าที่ดูแลศูนย์เรียนรู้ด้านการทำเกษตรผสมผสานของชุมชน จำนวน 23 คน
  • มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ พันธุ์พืชสมุนไพรในป่าชุมชน จำนวน 83 ชนิด และจัดทำเป็นคู่มือ ชุดความรู้ จำนวน 1 ฉบับ เพื่อใช้ในการถ่ายทอดความรู้สำหรับผู้ที่มาเยี่ยมชม และเผยแพร่ความรู้ของชุมชน
  • มีกติกาการใช้ประโยชน์ในสวนป่าชุมชน จำนวน 6 ข้อ คือ
  1. ห้ามตัดต้นไม้และโค่นต้นไม้ทุกชนิด
  2. ผลผลิตทุกชนิดเก็บกินได้แต่ห้ามนำไปจำหน่าย
  3. คนในชุมชนต้องช่วยปลูกต้นไม้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  4. ต้องช่วยกันผลิตผักพื้นบ้านและต้นไม้เพื่อช่วยเหลือชุมชนอื่น
  5. ห้ามทำกิจกรรมอันหนึ่งอันใด ที่ฝืนมติของกรรมการสวนป่าฯ
  6. ต้องจัดงานถวายราชสักการะในวาระเฉลิมพระชนม์พรรษาทุกปี
  • มีพันธุ์ไม้ และผักพื้นบ้านในสวนป่า และในชุมชนเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลูกต้นกอและหญ้าดอกเลา อย่างละ 109 ต้นต้นตะเคียนทอง ต้นมะขามป้อม ต้นยางนา ต้นเหรียง ต้นเนียง อย่างละ 20 ต้น
  • คนในชุมชนปรับวีถีการบริโภคมาบริโภคผักพื้นบ้านปลูกเอง ปลอดสารเคมีมากขึ้น โดยมีครัวเรือนปลูกผักพื้นบ้านปลอดสารปลูกพืชเสริมอย่างน้อย 30 ครัวเรือนนำร่อง และแต่ละครัวเรือนปลูกพืชผักผสมผสานไว้อย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  • มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ครบทุกครั้งที่จัด
  • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม โดยเฉพาะการติดตั้งในป่าชุมชน
  • มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม โดยใส่ไว้ในรายงานกิจกรรมครบทุกครั้ง
  • มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด ทุกชิ้น ได้แก่ ส.1 ส.3 ส.4 ง.1 งวด 1 ง.1 งวด 2 และ ง.2 พร้อมสำเนาสมุดบัญชีธนาคาร