แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ สมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด

ชุมชน หมู่ที่ 11 บ้านถ้ำผุด ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฏร์ธานี 84250

รหัสโครงการ 58-03905 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1927

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศร่วมกับสจรส มอ.

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน และหนุนเสริมติดตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง) และผู้รับผิดชอบโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการเงิน และวิธีการทำใบเสร็จ การเก็บหลักฐานทางการเงิน
  • วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการถ่ายภาพอย่างไรให้ดูแล้วเป็นธรรมชาติมากที่สุด
  • วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับระบบการจัดการโครงการ
  • วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการลงข้อมูลในเว็บไซด์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ป้อนลายละเอียดโครงการสัญญา
  • จัดทำปฏิทินชุดกิจกรรม
  • บันทึกกิจกรรมในการปฐมนิเทศ

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 3 ตุลาคม 2558

  • 12.30 – 13.00 น. โครงการชุมชนน่าอยู่ลงทะเบียน
  • 13.00 – 13.45 น. กระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง) และผู้รับผิดชอบโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 13.45 - 14.15 น.การสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ โดย คุณถนอม ขุนเพ็ชร์
  • 14.15 – 14.30 รับประทานอาหารว่าง
  • 14.30 - 16.30 น. การเข้าใช้งานระบบเวบไซต์คนใต้สร้าง www.happynetwork.org โดย คุณภานุมาศ นนทพันธ์ และคุณสุทธิพงษ์ อุสาหพงษ์สิน
  • 16.30 - 18.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการลงในเว็บไซต์ รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ)แผนภาพเชิงระบบโครงการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี รายงานผู้รับผิดชอบ
  • 18.00 - 19.00 น. รับประทานอาหารเย็น
  • 19.00 – 20.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ ลงในเว็บไซต์ รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ)แผนภาพเชิงระบบโครงการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี รายงานผู้รับผิดชอบ

วันที่ 4 ตุลาคม 2558

  • 08.30 – 10.00 น. การบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดย อ.กำไล สมรักษ์ และนางสุดา ไพศาล
  • 10.00 – 12.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ ลงในเว็บไซต์ (ต่อ) รายงานผู้รับผิดชอบ ทำรายงานบันทึกกิจกรรมประชุมปฐมนิเทศโครงการ
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 – 14.00 น. สรุปกิจกรรมและแผนการทำงานร่วมกับ สจรส.ม.อ. และทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง)

 

2 4

2. ประชุมพัฒนากลไกการทำงานพัฒนาชุมชน (สภาผู้นำ)

วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 13.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนากลไกขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่
  • เพื่อจัดตั้งสภาผู้นำ จำนวน 40 คน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • กลุ่มเป้าหมายรู้และเข้าใจโครงการร่วมกัน
  • กลุ่มเป้าหมายทราบปัญหาด้านสุขภาพในชุนชน
  • เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้สภาผู้นำชุมชน จำนวน 40 คน มีรายชื่อดังต่อไปนี้
  1. นายสิทธิคงเรือง
  2. นางละวรรณสงดำ
  3. นางสาครดำใส
  4. นางอารีย์จบฤทธิ์
  5. นางสาวิตรีตุ๊กสุวรรณ
  6. นางปฤษณาร่มนวน
  7. นายประทุมดำใส
  8. นายสุนันเทพเรือง
  9. นายนาคินทร์สงดำ
  10. นางสาวสุนันทาด้วงเรือง
  11. นางวาสนาขวัญชุม
  12. นางสาวราตรีนวลสอาด
  13. นายร่านรอดแก้ว
  14. นายจเรสงแก้ว
  15. นายจรูญ ชุมสวัสดิ์
  16. นายภิญญา อุดมรัตนื
  17. นายโสภร ด้วงเรือง
  18. นางศรีสุดา จบฤทธิ์
  19. นายพันธิ์ เสนดำ
  20. นางหนูริน คงเรือง
  21. นางสาวรัตนา นราพงศ์
  22. นางอักษร แก่นแก้ว
  23. โสภา บุญวงศ์
  24. นางวรรณวิมล ทองคำแก้ว
  25. นายจัด นวลเต็ม
  26. นายวัตรชิระ จันทร์ขอนแก่น
  27. นายธรรมรงค์ ปานสุวรรณ
  28. นายจรูญ มุกดา
  29. นางถาวร เพลิงธาตุ
  30. นายพิพัฒน์ เพชรคงแก้ว
  31. นายเสียร แป้นดวง
  32. นายวิโรจน์ ด้วงเรือง
  33. นายจำนงค์ ดาวกระจาย
  34. นายวิโรจน์ พรหมดำ
  35. นายประทุม ดำใส
  36. นายไพรินทรื ขวัยชุม
  37. นายสมชาย เผือกหนู
  38. นางหนูภา กรงไกรจักร
  39. นายสวัสดิื ดำสีใหม่
  • มีการนัดประชุมสภาผู้นำทุกเดือน ในวันที่ 7 ของเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะกรรมการหมูบ้าน คณะทำงานโครงการ กลุ่ม อสม. กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่มีในชุมชน เพื่อมาคัดเลือกเป็นตัวแทนในสภาผู้นำชุมชน
  • จัดทำรายชื่อสภาผู้นำชุมชน แต่งตั้ง และแจ้งให้คนในชุมชนทราบถึงบทบาทหน้าที่ จำนวน 30 คน
  • จัดประชุมสภาผู้นำชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 12 ครั้ง เพื่อรายงานความก้าวหน้า ติดตามการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งและแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในชุมชนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะทำงาน อสม ผู้สูงอายุและกลุ่มทางการเงินต่างๆ ของหมู่บ้านเพื่อมาคัดเลือกเป็นสภาผู้นำ จำนวน 40 คน
  • ทำการเสนอชื่อ เพื่อค้นหาแกนนำให้กับชุมชน
  • ได้แกนนำของชุมน จัดทำข้อตกลงกับสภาผู้นำ เพื่อได้เป็นแนวทางเดียวกับโครงการที่ได้รับมา

 

40 40

3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
  • เพื่อเพื่มพื้นที่ให้ปลอดบุรี่มากขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม จำนวน 1 แผ่น พร้อมชื่อโครงการ และนำไปติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อรณรงค์ให้สถานที่จัดกิจกรรมเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
  • มีพื้นที่สุขภาพมากขึ้น โดยคนในชุมชนปฎิบัตตามเมื่อป้ายดังกล่าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดทำแผนป้ายปลอดบุรี่ เพื่อเพิ่มการใช้พื้นที่สุขภาพ

 

2 2

4. ประชุมสภาผู้นำ เดือนพฤศจิกายน 2558

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.00 - 15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรายงานความก้าวหน้า ติดตามการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งและแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในชุมชนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • กลุ่มเป้าหมายรู้และเข้าใจโครงการร่วมกัน
  • กลุ่มเป้าหมายทราบปัญหาด้านสุขภาพในชุนชน
  • เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดการร่วมมือร่วมใจของสภาผู้นำในการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชน
  • ได้การออกความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา คือ
  1. แบ่งตามหน้าที่
  2. ทำความเข้าใจกับคนในชุมชนให้มากขึ้น

มีการวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • มีการจัดการในระบบการทำงานให้เป็นขั้นตอน แบ่งออกตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  • นำข้อมูลที่ได้มาเข้าสู่ระบบการจัดการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมสภาผู้นำชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 12 ครั้ง เพื่อรายงานความก้าวหน้า ติดตามการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งและแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในชุมชนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อรายงานความก้าวหน้า ติดตามการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งและแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในชุมชนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

 

40 40

5. เวทีชี้แจงโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในบริโภค และการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • คนในชุมชนเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการ เห็นประโยชน์ของการทำงาน และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ในเวที คณะทำงานได้ทำแผ่นพับรายละเอียดโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด แจกในเวที เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการ โดยในแผ่นพับ มีรายละเอียด ดังนี้

  • รายชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 7 คน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน นายสิทธิ คงเรือง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
  • งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 192,800 บาท
  • กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ เด็ก เยาวชน คนวัยทำงาน และผู้สูงอายุ
  • กิจกรรมสำคัญของโครงการ

    • พัฒนากลไกการทำงานพัฒนา (สภาผู้นำ) เดือนละ 1 ครั้ง 12 ครั้ง
    • เวทีชี้แจงโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุด
    • พัฒนาศักยภาพชุมชนในการเรียนรู้เรื่องสมุนไพร
    • สำรวจข้อมูลสมุนไพรและผักพื้นบ้านในชุมชน 2 วัน และทำแผนที่ทรัพยากรพืชและสมุนไพรในชุมชน
    • ส่งเสริมการปลูกและการดูแลสมุนไพรในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง
    • พัฒนาแปลงสาธิตการปลูกสมุนไพรเพื่อเรียนรู้กับสมาชิกผู้ปลูกสมุนไพรในชุมชน
    • คณะสภาผู้นำชุมชน และสมาชิกร่วมติดตามเยี่ยมแปลงปลูกสมุนไพรของครัวเรือน จำนวน 2 ครั้ง
    • พัฒนาการแปรรูปสมุนไพร
    • ถอดบทเรียนการทำงาน
    • วันกินอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

2.พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง ชี้แจงโครงการให้รู้จัก สสส. และ สจรส.ม.อ. พร้อมชี้ให้เห็นถึงที่มาของงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการ และความสำคัญของการบริหารจัดการงบประมาณIโครงการแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพราะเงินที่ได้มาเป็นของคนทั้งชุมชน โดยมีคณะทำงานทำหน้าที่เป็นผู้แทนในการดูแลและใช้จ่าย ทุกคนจะได้รับประโpชน์ร่วมกันจากงบประมาณที่ได้

3.คนในชุมชนเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการ เห็นประโยชน์ของการทำงาน และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการ เห็นได้จากการเข้าร่วมโครงการในวันนี้ที่เกินเป้าหมายที่วางไว้ และมีคนเข้าร่วมหลากหลายวัยตรงตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเวทีประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุดให้คนในชุมชนทราบถึงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ แผนการดำเนินงานโครงการ และงบประมาณการสนับสนุนโครงการจาาก สสส. รวมทั้งชี้ให้ประโยชน์ของโครงการ
  • เชิญพี่เลี้ยงโครงการจาก สจรส. มาร่วมชี้แจงโครงการ แนะนำ สสส. และแนะนำตัวให้คนในชุมชนรู้จัก

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดเวทีประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถ้ำผุดให้คนในชุมชนทราบถึงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ แผนการดำเนินงานโครงการ และงบประมาณการสนับสนุนโครงการจาาก สสส. รวมทั้งชี้ให้ประโยชน์ของโครงการ
  • พี่เลี้ยงโครงการจาก สจรส. มาร่วมชี้แจงโครงการ แนะนำ สสส. และแนะนำตัวให้คนในชุมชนรู้จัก

 

115 110

6. พัฒนาศักยภาพชุมชนในการเรียนรู้พืชสมุนไพร

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้คนในชุมชนรู้เรื่องสมุนไพรและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักสมุนไพร ทั้งชนิด และประโยชน์ และสามารถแนะนำผู้อื่นถึงการใช้ประยชน์จากสมุนไพรได้ และสามารถแยก สมุนไพรในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กลุ่มเป้าหมายในชุมชนรู้จักพืชและชนิดของสมุนไพรและการใช้สมุนไพรให้เกิดประโยชน์หลังจากทำแบบสอบถาม ก่อน - หลัง
  • กลุ่มเป้าหมายในชุมชนนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันมากขึ้น
  • กลุ่มเป้าหมายสามารถแยกชนิดของสมุนไพรตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
  • กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้เรื่องสมุนไพรมาเผยแพร่ให้กับครัวเรือนและชุมชนได้
  • กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักสมุนไพรทั้งชนิดและประโยชน์และสามารถแนะนำผู้อื่นถึงการใช้ประโยน์จากสมุนไพรได้และสามารถแยกสมุนไพรในชุมชนได้ – มีการสาธิตการทำน้ำยาล้างจาน สูตรมะเฟือง โดยมีอุปกรณ์ ได้แก่
  1. มะเฟือง20 ลูก
  2. น้ำเปล่า
  3. กะละมัง หม้อ มีด เขียง ไม้พาย ตะกร้าที่มีรูเล็กๆ
  4. เตาถ่าน ถ่าน
  5. ขวดพลาสติก
  6. ผ้าขาวบาง (หากไม่มีใช้ผ้าอะไรก็ได้แต่ต้องบาง)
  7. N70 1/2 กิโลกรัม
  8. เกลือแกง 1 มัด
  9. ขี้เถ้า

ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน

  1. นำขี้เถ้ามาร่อนให้เหลือแต่ผงที่ไม่มีเศถ่าน
  2. เมื่อร่อนเสร็จแล้วให้นำน้ำมาเทใส่ทิ้งไว้ 7 วันแล้วขี้เถ้าจะตกตะกอนจนเป็นน้ำใส ๆ เรียกว่า “น้ำด่าง”
  3. เมื่อครบกำหนด 7 วัน ให้นำมะกรูดมาล้างให้สะอาดแล้วผ่าครึ่งเป็น 2 ซีก เสร็จแล้วนำไปต้มด้วยน้ำเดือด
  4. เมื่อต้มเสร็จแล้วให้เทมะกรูดใส่กะละมังที่เตรียมไว้รอจนกว่ามะกรูดจะเย็น
  5. เมื่อมะกรูดเย็น ให้บีบน้ำออกจากลูกมะกรูด จากนั้นนำตะกร้ามากรองเอาเม็ดออกเมื่อกรองเสร็จ ให้นำผ้าบาง ๆ มากรองอีก 1 รอบ
  6. เท N70 ใส่กะละมัง แล้วกวนให้ไปทางเดียวกันเป็นเวลา 5 นาที
  7. เมื่อครบ 5 นาทีให้ค่อยๆใส่เกลือ น้ำด่าง และน้ำมะกรูดลงไปแล้วคนให้เข้ากันจนกว่าจะหมด
  8. ใส่สีผสมอาหารแล้วกวนให้เข้ากัน รวมเป็นเวลา 30 นาที แล้วหยุดกวน
  9. จากนั้นทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง เพื่อให้ฟองหมด
  10. หลังจากฟองหมดให้ตักใส่ขวดพลาสติกให้เรียบร้อยและสามารถนำไปใช้ได้เลย
  • มีการแจกจ่ายน้ำยาล้างจานแก่ผู้เข้าร่วมอบรมเพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เชิญวิทยากร ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้านมาถ่ายทอดความรู้เรื่องชนิด และประโยชน์ของสมุนไพรที่ใช้ในการบริโภคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้
  • มีการประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมเรียนรู้ ด้วยการทำแบบสอบถาม ก่อน -หลัง การได้รับความรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเพื่อฟังการอบรม
  • ทำแบบสอบถามก่อนการเข้าอบรม
  • วิทยากร นางหนูเียง จีนจูดถ่ายทอดความรู้เรื่องสมุนไพร ชนิดของสมุนไพรสรรพคุณของสมุนไพร การใช้สมุนไพรให้เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งสมุนไพรที่ช่วยในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น
  • วิทยากร นางสาวอัจฉราพรรณ เผือกสวัสดิ์ ถ่ายถอดความรู้เรื่องการใช้สมุนไพร มาทำนำ้ยาล้างจาน (น้ำยาล้างจานมะเฟือง)
  • สาธิตการทำน้ำยาล้างจาน

 

50 51

7. คณะสภาผู้นำชุมชน และสมาชิกร่วมติดตามเยี่ยมชมแปลงปลูกของครัวเรือน ครั้งที่ 1

วันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาพื้นที่รอบชุมชนและแปลงสมุนไพร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • สถานที่สาธารณะและรอบบ้านกลุ่มเป้าหมายเกิดแปลงสมุนไพร
  • เกิดความร่วมมือในการดูแลความสะอาดของรอบบ้านและชุมชนให้น่าอยู่
  • มีสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาชุมชน โดยการร่วมกันพัฒนารอบบ้านและพื้นที่ในชุมชน
  • ชุมชนเกิดการร่วมมือในการร่วมพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่และเทิดพระเกียติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวันคล้ายวันเกิด
  • เกิดการร่วมมือในการดูแลรักษาความสะอาดของบ้านเรือนและชุมชนให้น่าอยู่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะสภาชุมชนและสมาชิกลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงสมุนไพรสมาชิกครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมในการดูแลแปลงปลูกสมุนไพร
  • กลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้องร่วมในการทำความสะอาดรอบบ้านและชุมชนให้น่าอยู่ และวางแผนลงพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและติดตามผลที่เกิดขึ้นรวมถึงการหาแนวทางในการปรับปรุบแปลงสมุนไพรให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
  • สรุปกิจกรรมการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเข้าร่วมการพัฒนาชุมชน
  • กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่สาธารณะรอบชุมชน
  • ร่วมรับประทานอาหารเที่ยง

 

30 44

8. ประชุมสภาผู้นำ เดือนธันวาคม 2558

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 13.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนากลไกขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • กลุ่มเป้าหมายรู้และเข้าใจโครงการร่วมกัน
  • กลุ่มเป้าหมายทราบปัญหาด้านสุขภาพในชุนชน
  • เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สภาผู้นำชุมชน รายงานความก้าวหน้า ติดตามการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งและแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในชุมชนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  • เสนอ กิจกรรมที่จะดำเนินงานต่อ คือ พัฒนาศักยภาพชุมชนในการเรียนรู้เรื่องสมุนไพร
  • จัดการวางแผนการดำเนินงาน ในการเตรียมตัวทำกิจกรรม แบ่งหน้าที่ผู้รับผิดชอบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมคณะสภาผู้นำ 40 คน เพื่อสรุปผลการทำงานในการวางแผนการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำ
  • ประชุมปรึกษากิจกรรมที่ทำไปแล้วและแก้ไขปัญหาที่เกิดในการทำจัดกิจกรรมต่างๆ

 

40 40

9. อบรมการเขียนรายงาน ทางการเงิน

วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 8.30 น. - 16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วิทยากร นางสาวกัญณภัส จันทร์ทองได้ให้ความรู้ดังนี้

1.เรื่องการเสียภาษี และการจัดทำบิลภาษี

  • ในการเสียภาษี หัก 10 บาท ต่อ 1% แต่หากในการจัดซื้ออุปกรณ์ไม่ถึง 1000 บาท ไม่ต้องจัดเก็บภาษี หากจัดเก็บภาษี จะต้องนำภาษีที่เก็บได้ไปส่งสรรพากรไม่เกิน วันที่ 7 ของทุกเดือนหากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับ
  • การเขียนรายงานให้ลงตามงบประมาณที่ใช้จริง การจัดซื้อวัสดุสำนักงาน ต้อง ใช้ บิลที่จดทะเบียน ลงนามผู้ซื้อ ของโครงการ ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาทต่อ 1 ชั่วโมงการเช่าหรือเหมารถ การจ้างทำป้ายไวนิวการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้อยู่ในความเหมาะสม

2.สิ่งที่ใช้ในการทำกิจกรรมของชุมชน

  • กล้อง สำหรับบันทึกภาพเพื่อบันทึกเรื่องราวหรือภาพถ่ายในการจัดทำกิจกรรม
  • เรื่องบันทีกเสียงหากบันทึกเสียงไว้สามารถนำมาเปิดเวลาในการจัดทำรายงานย้อนหลัง
  • กระดาษในการจดบันทึกเลขานุการจะต้องจดบันทึกสิ่งที่ทำในการจัดการอบรมในครั้งนั้นๆ เพื่อจะนำข้อมูลมาสรุปผล และจัดทำข้อมูลไปลงในอินเตอร์เน็ต

3.การถอดบทเรียน การถอดบทเรียนเพื่อค้นหาคุณค่าที่เกิดจากการทำกิจกรรมค้นหาความรู้และประสบการณ์สามารถรู้ผลในการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การติดตามจาก สจรส มอ. ครั้งที่ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 8.30 น.ลงทะเบียนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการเขียนรายงาน เอกสารการเงิน และภาษี
  • 9.00 น.วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนะนำตัวและ นางสาวกัญณภัสจันทร์ทอง อบรมการลงข้อมูลในอินเตอร์เน็ต การทำเอกสารการเงิน การหักภาษีและการเสียภาษีให้สรรพกร 100 บาท ต่อ 1 %
  • 12.00 น. พักทานอาหารกลางวัน
  • 13.00น. การเขียนรายงานถอดบทเรียน การลงหลักฐานการทำกิจกรรม ผลผลิต ผลลัพย์ผลผลิตผลกระทบที่จะเกิดขึ้น การลงวัตถุประสงค์ให้เหมือนสัญญาต้นฉบับ
  • 15.00 น.กลับบ้าน

 

2 3

10. สำรวจข้อมูลพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านในชุมชน 2 วัน

วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา 10.00 - 15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสำรวจข้อมูลพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • มีข้อมูลสมุนไพรในชุมชนและมีแผนทรัพยากรผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร
  • กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้จำนวน ชนิด และสามารถแยก สมุนไพรในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สามารถรู้ถึงข้อมูลพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านในชุมชนว่ามีอะไบ้าง จำนวนเท่าไร โดยสามารถสรุปข้อมูลพืชสมุนไพร และผักพื้นบ้านได้ดังนี้

  • มีสมุนไพร จำนวน 4 ประเภท ได้แก่

    • สมุนไพรใช้เหง้าหรือหัว เช่น ขมิ้น ไพร ขิง ข่า ว่านชักมดลูก เป็นต้น
    • สมุนไพรใช้ดอกเช่นเทียนบ้าน อัญชัญ ขี้เหล็ก เป็นต้น
    • สมุนไพรกินใบเช่น บัวบก แมงลัก พลู กะเพรา เป็นต้น
    • สมุนไพรใช้ต้นหรือเถาเช่นตะไคร้บระเพ็ด ดีปลีเชือกเป็นต้น
  • รู้ถึงความต้องการสมุนไพรและผักพื้นบ้านของคนในชุมชน ว่าต้องการสมุนไพร อาทิเช่น ขมิ้นชันหัวไพรพริกไทยเป็นต้น

  • คนในชุมชนกะตือรือร้นในการให้ข้อมูลเมื่อลงพื้นที่สำรวจ เมื่ออธิบายจุดประสงค์ของโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถำ้ผุด ให้ฟังอีกครั้งและบอกการดำเนิดกิจกรรมในครั้งต่อไป และผลปรากฎว่า คนในชุมชนพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชนโดยให้ อสม. จับคู่เยาวชนลงสำรวจบ้านกลุุ่มเป้าหมาย จำนวน 250 ครัวเรือน โดยแบ่งการรับผิดชอบคู่ละ 20 ครัวเรือน โดยการใช้แบบสำรวจข้อมูลที่จัดทำขึ้น และให้เยาวชนสำรวจสมุนไพรในบ้านของตนเองด้วย และสอบถามความต้องการปลูกสมุนไพรแต่ละชนิดของคนในชุมชน
  • หลังการสำรวจข้อมูล นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมารวบรวม จัดทำชุดความรู้ ฐานข้อมูล และทำแผนที่ทรัพยากรพืชสมุนไพร ผักพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ ให้ความรู้ต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนการเข้าร่วมกิจกรรมโดยมีสภาผู้นำอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียน
  • เมื่อลงทะเบียนแล้าร่วมฟังผู้รับผิดชอบโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถำ้ผุด (นายสิทธิคงเรือง) อธิบายถึงจุดประสงค์ในการที่จะลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชน ว่าต้องการข้อมูลอะไรบ้างในแต่ละบ้านที่จะไปสำรวจ
  • แจกแบบฟอร์มการลงข้อมูล
  • ร่วมรับประทานอาหารว่าง
  • ออกไปสำรวจพื้ที่ในชุมชน พร้อมทั้งนัดสถานที่รับประทานอาหารเที่ยงในวัดสุวรรณคูหา

 

30 30

11. ประชุมสภาผู้นำ เดือนมกราคม 2559

วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรายงานความก้าวหน้า ติดตามการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งและแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในชุมชนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • กลุ่มเป้าหมายรู้และเข้าใจโครงการร่วมกัน
  • กลุ่มเป้าหมายทราบปัญหาด้านสุขภาพในชุนชน
  • เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะกรรมการพัฒนาศักยภาพเป็นสภาผู้นำ จากกิจกรรม โดยมีการประชุม ทบทวน วางแผน ติดตาม การดำเนินงานตลอดปี มีการจัดทำข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ
  • กลุ่มเป้าหมายรู้และเข้าใจโครงการร่วมกัน ว่าชุมชนต้องการทำอะไร และจะได้ประโยชน์อย่างไรในการดำเนินโครงการตามแผนงานที่วางไว้
  • กลุ่มเป้าหมายทราบปัญหาด้านสุขภาพในชุนชน ว่า มีโรคอะไรที่คนในชุมชนเป็นมากที่สุด และแก้ไขโดยการใช้สมุนไพรบำบัดได้ในบางส่วน
  • เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน คือคนในชุมชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการเพื่อนำความรุ้ไปใช้ในครัวเรือนและเผยแผ่ให้บุคคลภายนอก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมสภาผู้นำชุมชน  เพื่อรายงานความก้าวหน้า ติดตามการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งและแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในชุมชนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำ
  • นายสิทธิ คงเรือง อธิบายผลการดำเนินโครงการ และบอกถึงปัญหาที่เกิดกับการดำเนินงาน และเสนอกิจกรรมที่จะดำเนินต่อไป พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากสภาผู้นำ และเสนอแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป พร้อมทั้งจัดแบ่งหน้าที่ตามความถนัดของแต่ละบุคล

 

40 40

12. จัดเวทีทำแผนที่ทรัพยากรพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านในชุมชน

วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 10.00 น. - 15.00 น, น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อทราบถึงชนิดและจำนวนของสมุนไพรในเขตพื้นที่ของชุมชนและจัดทำแผนที่ทรัพยากรสมุนไพรของชุมชน
  • เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาเรียนรู้และจัดทำหนังสือสมุนไพรของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • มีข้อมูลสมุนไพรในชุมชนและมีแผนทรัพยากรผักพื้นบ้าน พืชสมุนไพร
  • กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้จำนวน ชนิด และสามารถแยก สมุนไพรในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • วิทยากร พูดว่าวิธีการจัดทำแผนที่ทำอย่างไรทำแล้วจะเกิดประโยชน์กับชุมชนคือ สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ในแผนที่ว่า บ้านของใครมีสมุไพรชนิดใดบ้างโดยง่ายในการจะไปหาสมุนไพรชนิดนั้น
  • วิทยากรพูดว่าวิธีการเขียนแผนที่ชุมชนในการจัดทำแผนที่ทรัพยากรพืชผักสมุนไพรในชุมชนเขียนอย่าไร ลงข้อมูลโดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อง่ายในการทำงาน
  • ทราบถึงชนิดและจำนวนของสมุนไพรในเขตพื้นที่ของชุมชนและจัดทำแผนที่ทรัพยากรสมุนไพรของชุมชนเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาเรียนรู้และจัดทำหนังสือสมุนไพรของชุมชน โดยชุมชนบ้านถ้ำผุด มีสมุนไพร จำนวน 4 ประเภท ได้แก่ -สมุนไพรใช้เหง้าหรือหัว เช่น ขมิ้น ไพร ขิง ข่า ว่านชักมดลูก เป็นต้น -สมุนไพรใช้ดอก  เช่น  เทียนบ้าน อัญชัญ ขี้เหล็ก เป็นต้น
    • สมุนไพรกินใบ  เช่น บัวบก แมงลัก พลู กะเพรา เป็นต้น
    • สมุนไพรใช้ต้นหรือเถา  เช่น  ตะไคร้  บระเพ็ด ดีปลีเชือก  เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสมุนไพรในชุมชนโดยให้ อสม. จับคู่เยาวชนลงสำรวจบ้านกลุุ่มเป้าหมาย จำนวน 250 ครัวเรือน โดยแบ่งการรับผิดชอบคู่ละ 20 ครัวเรือน โดยการใช้แบบสำรวจข้อมูลที่จัดทำขึ้น และให้เยาวชนสำรวจสมุนไพรในบ้านของตนเองด้วย และสอบถามความต้องการปลูกสมุนไพรแต่ละชนิดของคนในชุมชน
  • หลังการสำรวจข้อมูล นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมารวบรวม จัดทำชุดความรู้ ฐานข้อมูล และทำแผนที่ทรัพยากรพืชสมุนไพร ผักพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ ให้ความรู้ต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมจัดทำแผนที่ทรัพยากรพืชผักสมุนไพรในชุมชน
  • เชิญวิทยากรให้ความรู้ด้านการเก็บข้อมูล

 

30 30

13. สสส.เยี่ยมชมโครงการสมุนสร้างสุขบ้านถำ้ผุด

วันที่ 10 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อต้อนรับทีมสื่อจาก สสส.ในการเยี่ยมชมโครงการสมุนสร้างสุขบ้านถ้ำผุด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักสมุนไพร ทั้งชนิด และประโยชน์ และสามารถแนะนำผู้อื่นถึงการใช้ประยชน์จากสมุนไพรได้ และสามารถแยก สมุนไพรในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คนในชุมชนให้ความร่วมมือ และเกิดการตื่นตัว เมื่อมีทีมสื่อจาก สสส. ลงมาถ่ายทำสื่อในพื้นที่
  • สสส. เยี่ยมชมพื้นที่รอบชุมชนบ้านถำ้ผุดโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

    • กลุ่มที่ 1สภาผู้นำพาเจ้าหน้าที่ สสส. เยี่ยมชมสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเขานาใน ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายที่ร่วมกิจกรรมกับโครงการสมุนไพรสร้างสุขมาโดยตลอด และทางโรงเรียนได้มีนโยบายให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงชุมชนโดยง่ายและสามารถรู้ข้อมูลในชุมชนไปพร้อม ๆ กัน และลงพื้นที่เยี่ยมชมบ้าน ผู้ปลูกสมุนไพร บ้านนายสวัสดิ์ดำสีใหม่ปลูกพืชสมุนไพรไว้เกิอบทุกชนิด อาทิเช่น พริกไทย พริกขี้หนู ตะไคร้ ใบมกรูด เป็นต้น ล้วนแต่เป็นสมุนไพรที่รับประทานอยู่ทุกวัน และ เกิดเป็นรายได้ให้กับครอบครัวหลังจากเหลือกินเหลือใช้บ้านนายเลียบ พลูแก้ว ปลูกพืชสมุนไพรทุกชนิด และเป็นศูนย์การเรียนรู้เศษรฐกิจแบบพอเพียงตามรอยในหลวงของเรา
    • กลุ่มที่ 2 สสส. ถ่ายทำวิดิโอ ภาคีเตรือข่าย โดยมี นายนบภาโสภา นายก อบต.นายวิสุทธิ์สรรพากำนันตำบลต้นยวนนางพิกุล วงศ์พลัดหัวหน้า รพสต. คณะครูและเด็กนักเรียน จาก รร. บ้านเขานาในและเยียมชม บ้านนางอารีย์จบฤทธิ์ผู้ปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือนได้กล่าวถึงการเข้า่วมโครงการสมุนไพรสร้างสุข ว่าเกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างไร มีส่วนช่วยเหลือชุมชนในรูปแบบไหน เพื่อจะได้เดินไปในทิศทางเดียวกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะทำงานโครงการ นำสื่อจาก สสส. ลงเยี่ยมชมพื้นที่รอบชุมชนบ้านถ้ำผุด และเก็บภาพกิจกรรมตามโครงการ และสัมภาษณ์แกนนำโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทีมงานโครงการ นำสื่อจาก สสส. ลงพื้นที่ในชุมชน และสัมภาษณ์บุคคลดังต่อไปนี้

    • นายสิทธิ คงเรือง ผู้รับผิดชอบโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถำ้ผุด
    • นายนบภาโสภา นายก อบต. ตำบลต้นยวน
    • นายวิสุทธิ์ สรรพากำนันตำบลต้นยวน
    • นางพิกุล วงศ์พลัด หัวหน้า รพสต.บ้านเขานาใน
    • นางหนูเรียง จีนจูดประธานกลุมสมุนไพรนางไพร
    • นางอารีย์จบฤทธิ์ ผู้ปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไว้เพื่อกินเพื่อใช้ในครัวเรือน
    • ทีมงานโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถำ้ผุด โดยมีนางสาครดำใสนางสาวุนันทาด้วงเรืองนางละวรรณสงดำนางอารีย์จบฤทธิ์ นางสาวิตรีตุ๊กสุวรรณ
  • ร่วมรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน

  • ถ่ายรูปพร้อมทีมงานสสส.ที่ลงตรวจเยี่ยมชุมชนเพื่อเป็นที่ระลึกและทีมงานโครงการสมุนไพรกล่าวขอบคุณ ทีมงาน สสส. ที่ให้การสนับสนุน

 

7 48

14. อบรมเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า ง. 1

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
  • เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า ง. 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับรู้ข่าวสารของเพื่อนร่วมโครงการและจะได้นำข้อดีของเพื่อนสมาชิกไปปรับใช้ในโครงการของตัวเองได้และจะปรับปรุงปัญหาของโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถำ้ผุด
  • ได้ความรู้ในเรื่องการจัดเตรียมเอกสารด้านการเงิน การลงข้อมูลเอกสารทางการเงินและเรียบเรียงรายละเอียดเอกสารให้สมบูรณ์
  • ตรวจทานข้อผิดพลาดในการทำเอกสารทางการเงิน
  • ได้เล่าสู่กันฟังปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถำ้ผุด ว่า ชาวบ้านในพื้นที่ ม.11 บ้านถำ้ผุด ได้รู้จักถึงคุณสมบัติของสมุนไพรในชุมชนและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 1
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม
  • แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเพื่อนร่วมโครงการ สสส.
  • การจัดทำบัญชีเพื่อปิดงบดุลโครงการงวดแรกตรวจความเรียบร้อยของเอกสารทางการเงิน

 

2 3

15. ประชุมสภาผู้นำ เดือนกุมภาพันธ์ 2559

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนากลไกขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • กลุ่มเป้าหมายรู้และเข้าใจโครงการร่วมกัน
  • กลุ่มเป้าหมายทราบปัญหาด้านสุขภาพในชุนชน
  • เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สภาผู้นำและคนในชุมชนได้รับรู้ข่าวสารทางการเงินของโครงการและที่มาที่ไปการใช้เงิน โดยนายนาคินทร์ สงดำ ซึ่งได้เข้าร่วมอบรมในการจัดทำเอกสารทางการเงินและปิดงบดุลโครงการงวดที่ 1 ได้ชี้แจงรายละเอียดในการปิดงบดุลและจัดทำเอกสารทางการเงินของโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถำ้ผุด ว่า ในการดำเนินกิจกรรมโครงการซึ่งได้รับงบประมาณทั้งหมด192,800บาท และได้รับเงินงวดแรก77,120บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • กิจกรรมที่ 11 ครั้งที่ 1 พัฒนากลไกสภาผู้นำ ใช้งบประมาณ 2850บาท
    • กิจกรรมที่ 1จัดตั้งสภาผู้นำ ครั้งที่ 1 ใช้งบประมาณ1600 บาท
    • กิจกรรมจัดทำไวนิว ใช้งบประมาณ 1320บาท
    • กิจกรรมที่ 1ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 2 ใช้งบประมาณ1600 บาท
    • กิจกรรมที่ 2 เวทีชี้แจงโครงการสมุนไพรสร้างสุข ใช้งบประมาณ11000บาท
    • กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพชุมชนในการเรียนรู้พืชสมุนไพร ใช้งบประมาณ10850บาท
    • กิจกรรมที่ 7คณะสภาผู้นำชุมชนและสมาชิกร่วมติดตามเยี่ยมชมแปลงปลูกของครัวเรือนสมาชิกครั้งที่ 1ใช้งบประมาณ7110บาท
    • กิจกรรมที่ 1ครั้งที่ 3จัดประชุมสภาผู้นำ ใช้งบประมาณ4190บาท
    • กิจกรรมที่ 11ประชุมร่วมกับสจรส.มอ. ใช้งบประมาณ1300 บาท
    • กิจกรรมที่ 4สำรวจข้อมูลพืชผักสมุนไพรและผักพืชบ้านในชุมชน ใช้งบประมาณ7385บาท
    • กิจกรรมที่ 1ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 4 ใช้งบประมาณ 3680 บาท
    • กิจกรรมที่ 4จัดทำเวทีทำแผนที่ ใช้งบประมาณ8560 บาท
    • กิจกรรมที่ 11สสส.เยี่ยมชมโครงการสมุนไพรสร้างสุขบ้านถำ้ผุด ใช้งบประมาณ2000บาท
    • กิจกรรมที่ 11การจัดทำรายงานทางการเงินและปิดงบดุล ใช้งบประมาณ800บาท
    • กิจกรรมที่ 1ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 5 ใช้งบประมาณ 1200 บาท
    • รวมทั้งหมด 14 กิจกรรมเป็นเงิน 64645บาทมีเงินสดในมือ 355 บาท และคงเหลือเงินในบัญชี12650.70 บาท
  • ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการจัดตั้งกติกาการปลูกและดูแลสมุนไพรไปเป็นวันที่ 27ก.พ.2559เพื่อให้ผู้ที่สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมรับทราบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดประชุมสภาผู้นำชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 12 ครั้ง เพื่อรายงานความก้าวหน้า ติดตามการดำเนินงานโครงการ และวางแผนการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งและแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในชุมชนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำ
  • นายนาคินทร์ สงดำ ซึ่งได้เข้าร่วมอบรมในการจัดทำเอกสารทางการเงินและปิดงบดุลโครงการงวดที่ 1 ได้ชี้แจงรายละเอียดในการปิดงบดุลและจัดทำเอกสารทางการเงิน

 

40 40

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 34 15                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 192,800.00 65,445.00                  
คุณภาพกิจกรรม 60 51                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

-คนในชุมชนยังไม่ค่อยยอมรับในการดำเนินโครงการ -คนในชุมชนไม่รู้ถึงการใชัสมุนไพร -การใช้อินเตอรืเน็ตขัดข้อง

-คนในชุมชนไม่เคยได้รับโครงการใดๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ -คนในชุมชนยึดวิถีการใช้ชีวิตแบบเร่งด่วนตามยุคปัจจุบัน -การเข้าถึงของเครือข่ายโทรศัพท์ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่

-อธิบายถึงที่มาที่ไปของการดำเนินโครงการเพื่อให้ได้ซึ่งผลประโยชน์แก่ชุมชน -จัดกิจกรรมที่มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพร -ต้องอาศัยการลงผลงานโดยการออกมาใช้เครือข่ายของโรงเรียน

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. อบรมและจัดทำกติกาการปลูกและการดูแลสมุนไพร ( 27 ก.พ. 2559 )
  2. ประชุมสภาผู้นำ เดือนมีนาคม 2559 ( 7 มี.ค. 2559 )
  3. เยาวชนเพาะกล้าสมุนไพร ( 31 มี.ค. 2559 )
  4. พัฒนากลไกการทำงานพัฒนาชุมชน (สภาผู้นำ) ( 7 เม.ย. 2559 )
  5. ประชุมสภาผู้นำ ( 7 พ.ค. 2559 )
  6. ประชุมสภาผู้นำ ( 7 มิ.ย. 2559 )
  7. ประชุมสภาผู้นำ เดือนกรกฎาคม 2559 ( 7 ก.ค. 2559 )
  8. การแลกเปลี่ยนสมุนไพรเพื่อใช้ประโยชน์ ( 30 ก.ค. 2559 )
  9. ประชุมสภาผู้นำ ( 5 ส.ค. 2559 )
  10. พัฒนาแปลงสาธิตการปลูกสมุนไพรเพื่อการเรียนรู้กับสมาชิกผู้ปลูกสมุนไพรในชุมชน ( 6 ส.ค. 2559 )
  11. คณะสภาผู้นำชุมชน และสมาชิกร่วมติดตามเยี่ยมชมแปลงปลูกของครัวเรือน ครั้งที่ 2 ( 12 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย สิทธิ คงเรือง
ผู้รับผิดชอบโครงการ