task_alt

บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ บ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว

ชุมชน บ้านโคกใหญ่ ม.4.ต บางตะพง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03887 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2157

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน มีนาคม 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. รับการปฐมนิเทศ

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามและปฐมนิเทศโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลสำคัญสรุปได้ดังนี้

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการมีความพร้อมเข้ารับการปฐมนิเทศตามแผน
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานมีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาสำคัญและสามารถลงมือทำการบันทึกข้อมูลรายละเอียดบนเว็บไซต์ได้ ระดับหนึ่ง บรรยากาศที่เข้าร่วม มีความเครียดและวิตกกังวลบ้างแต่ก็สามารถทำความเข้าใจ โดยพี่เลี้ยงค่อยติดตามชี้แนะช่วยเหลือในพื้นที่ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดดำเนินการปฐมนิเทศอบรมและประชุมชี้แจงผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน เกี่ยวกับระเบียบข้อตกลงการจัดการโครงการ สสส.ตามที่ขอเสนอรับงบประมาณ

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บันทึกข้อมูลโครงการ และพี่เลี้ยงโครงการ เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการตามแผนงานกิจกรรมหลักของ สสส. โดยแบ่งกิจกรรมเป็นสองวัน
วันแรก 3 ตค.58 ทีมสนับสนุนวิชาการ สจรส.และทีมพี่เลี้ยง จ.นคร และชุมพร สุราษฎร์ ร่วมกันชี้แจงระเบียบข้อตกลง วิธีดำเนินงาน ทั้งในส่วนของการบันทึกกิจกรรม การทำรายงานการเงืนโครงการ และ การจัดเก็บหลักฐานการเงิน
วันที่2 4 ตค.58 ให้ทีมโครงการฝึกปฎิบัติลงข้อมูลจริงบนเวบ โดยมีพี่เลี้ยงพื้นที่คอยให้การช่วยเหลือ

 

2 3

2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

วันที่ 4 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินการจัดทำป้ายประกอบโครงการ ขนาด 2x2 เมตร และป้ายปลอดบุหรี่ตามขนาดและรูปแบบที่ สสส.กำหนด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินการจัดทำป้ายประกอบโครงการ และป้ายปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินการจัดทำป้ายประกอบโครงการ และป้ายปลอดบุหรี่ ป้าย ขนาด 2*2 เมตร

 

2 1

3. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้านเพื่อจัดตั้งสภาหมู่บ้านเข้มแข็งครั้งที่ 1

วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมจัดตั้งสภาผู้นำหมู่บ้านเข็มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ 2.มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้มาประชุม 15 คน มีผู้ใหญ่บ้าน พี่เลี้ยงและผู้รับผิดชอบโครงการ
  • เกิดสภาหมู่บ้านเข็มแข็ง 1 คณะ
  • มีปฏิทินกิจกรรมประชุม
  • เกิดพันธะบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์
  • มีมติที่ประชุมนัดประชุมทุกวันอาทิตย์สิ้นเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1 ประชุมคณกรรมการสภาชุมชน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ และจากนั้นประชุมเดือนละ 1ครั้ง
กรรมการ ร่วมกันร่างแผนการทำงานในการติดตาม เพื่อติดตามประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ11ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมคณะกรรมการสภาชุมชน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์และจากนั้นประชุมเดือนละ 1 ครั้ง
  2. กรรมการร่วมกันร่างวางแผนการทำงานในการติดตามเพื่อติดตามประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ

 

15 15

4. จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียด วิธีการดำเนินงานและข้อตกลงการร่วมโครงการครั้งที่2

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกษตรกรบ้านโคกใหญ่ดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรกรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในหมู่บ้าน มีสมาชิกอย่างน้อย 30 คน 2.สมาชิกมีความรู้และทำเกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 70

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีชาวบ้านรวมประชุม วันที่17ตุลาคม2558 จำนวน 68 คน

  • ในการจัดประชุมพบว่าตัวแทนครัวเรือนมีความเข้าใจเกี่ยวกับ วิธีการดำเนินงานและข้อตกลงการร่วมโครงการ พร้อมรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน
  • สรุปข้อตกลงของโครงการโดยที่ประชุมรับทราบ งบประมาณและการเข้าร่วมกิจกรรมและตกลงทำกิจกรรมในวันหยุดเดือนละ 1 ถึง 2 ครั้งโดยให้มีการประชุมกรรมการก่อนทำวันกิจกรรมก่อน 2 ถึง 3 วัน
  • จัดทำข้อตกลง โดยมีอาสาสมัครเป็นแปลงตัวอย่าง อย่างน้อย 10 แปลงดังต่อไปนี้
  1. นางศุภลักษณ์ ปล้องบรรจง
  2. นางสุฒนทา ปล้องบรรจง
  3. นส.เสาวภา ทิพย์แก้ว
  4. นางสงวน ทิพย์แก้ว
  5. นางสมทรง อินทรนุพัฒน์
  6. นางประไพศรี ประจงไสย
  7. นางดวงแข สุขศิล
  8. นางรจนา ลิ่มรังสี
  9. นางสุภานี คงระบัติ
  10. นางอุทัย ดำรักษ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียด วิธีการดำเนินงานและข้อตกลงการร่วมโครงการ พร้อมรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนอย่างน้อย 50 คน เมื่อได้จำนวนชัดเจนแล้วชี้แจงข้อตกลงโครงการพร้อมทั้งรายละเอียดงบประมาณและการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นข้อตกลง ในการร่วมงานกับ สสส โดยเน้นแนวคิดหลัก คือเกษตรอินทรียืเพื่อสร้างอาชีพ รายได้แก่คนบ้านโคกใหญ่

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้ชาวบ้านร่วมประชุม วันที่17ตุลาคม2558 เพื่อจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียด วิธีการดำเนินงานและข้อตกลงการร่วมโครงการ พร้อมรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนอย่างน้อย 50 คน ชี้แจงข้อตกลงโครงการพร้อมทั้งรายละเอียดงบประมาณและการเข้าร่วมกิจกรรม จัดทำข้อตกลง ในการร่วมงานกับ สสส โดยเน้นแนวคิดหลัก คือเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างอาชีพ รายได้แก่คนบ้านโคกใหญ่โดยให้มีอาสาสมัครเป็นแปลงตัวอย่าง อย่างน้อย 10 แปลง

 

60 68

5. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็ง ครั้งที่ 2

วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมกันจัดตั้งสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ 2.มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กรรมการร่วมกันสร้างแผนการทำงานในการติดตาม เพื่อติดตามประเมิณผลและสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรรมของโครงการ โดยมีข้อตกลงในการพัฒนาโครงการตามเป้าหมายคือ

  1. มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ
  2. มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน
  3. เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

ประกาศรายชื่อแปลงต้นแบบ ให้หมู่บ้านและผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบและจัดทำข้อตกลง โดยมีอาสาสมัครเป็นแปลงตัวอย่าง10 แปลงเข้าร่วมดังต่อไปนี้

นางศุภลักษณ์ ปล้องบรรจง นางสุฒนทา ปล้องบรรจง นส.เสาวภา ทิพย์แก้ว นางสงวน ทิพย์แก้ว นางสมทรง อินทรนุพัฒน์ นางประไพศรี ประจงไสย นางดวงแข สุขศิล นางรจนา ลิ่มรังสี นางสุภานี คงระบัติ นางอุทัย ดำรักษ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ 2 .ปฎิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรย์

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการรวม 15 คนร่วมกันสร้างแผนการทำงานในการติดตาม เพื่อติดตามประเมิณผลและสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรรมของโครงการ โดยช่กรรมการทั้งหมดได้ร่วมกันเชิญชวนกลุ่มในชุมชน เช่น แกนนำกลุ่มสูงอายุ อสม. และตัวแทนแปลงต้นแบบ 10 แปลง เข้ามาร่วมประชุม โดยเน้นการพูดถึงวัตถุประสงของการจัดทำโครงการกับสสส.และเป้าหมายของหมู่บ้านโคกใหญ่ คือโดยมีข้อตกลงในการพัฒนาโครงการตามเป้าหมายคือ 1.มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ 2.มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

 

15 15

6. สร้างเป้าหมายชีวิต ร่วมหลักสูตรกลุ่มเกษตรอินทรีย์

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สร้างหลักสูตร กลุ่มเกษตรอินทรีย์เรื่องการออมเพื่อสร้างเสริมปริมาณรายได้และลดปริมาณรายจ่ายลง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

.สมาชิกกลุ่มมีแผนชีวิตและโครงงานอาชีพสร้างรายได้ และแผนการออมในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้ทำปุ๋ยหมักมีปุ๋ยหมักได้เองเพื่อลดปริมาณค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในปัจจุบัน
  2. ทำน้ำยาล้างจานเพื่อเก็บไว้ใช้เองโดยลดปริมาณค่าใช้จ่ายลงและเพื่อเป็นการประหยัดและมีเก็บไว้โดยไม่ต้องไปเลือกซื้อ
  3. ทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้รับรู้และรับทราบถึงปริมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละครัวเรือน
  4. ตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่ิอให้ได้รับรู้ถึงข้อมูลในด้านค่าใช้จ่ายของในแต่ละครัวเรือน
  5. ทำน้ำสมุนไพรเพื่อสร้างเสริมคุณค่าทางด้านยารักษาโรคต่างๆได้เป็นอย่างดีและช่วยสร้างเสริมคุณค่าทางอาหารได้เป็นอย่างดีเช่นกัน 6.อบรมวางแผนการใช้แบบวิถีชีวิตแบบพอเพียงเพื่อให้เกิดความรู้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และอีกทั้งยังได้มีความรู้ตามหลักวิถีพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยเช่นกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สร้างหลักสูตร กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ต้องมีแผนชีวิตและครอบครัว เพื่อชี้ให้เห็นเป้าหมายชีวิตโดยเน้นการจัดการเรื่องการออม และนัดประชุมแผนชีวิตทำโครงงานอาชีพของครอบครัวที่เข้ากลุ่ม โดยเชิญวิทยากรมาแนะนำการจัดหลักสูตร แผนชีวิตและเป้าหมาย จากนั้นนัดแลกเปลี่ยน สัปดาห์ละครั้ง ทุกวันอาทิตย์ จำนวน 6 ครั้ง และติดตามที่ครัวเรือน 1 ครั้ง เพื่อพัฒนาโครงงาน ของแต่ละครอบครัว ดังนี้ วิธีการจัดทำแผนชีวิตครัวเรือนบนความพอเพียง5 ขั้นตอน 1. จับเข่าคุยกัน คนในครัวเรือนต้องหันหน้ามาจับเข่าคุยกัน ถึงปัญหา และสาเหตุของปัญหาความยากจนของครัวเรือน
2. ค้นหาของดีในบ้านเรา และใกล้ตัวเรา เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 1 แล้ว มาช่วยกันคิดว่า ในบ้านเรามีดีอะไรบ้าง บ้านเรามีที่ดินพอเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ได้ ในชุมชนบ้านเราส่วนใหญ่เขาทำมาหากินอะไรกัน มีอะไรบ้างที่เราพอจะทำได้ ในชุมชนของเรามีแหล่งทุนอะไรบ้างที่พอจะใช้บริการได้เราเป็นสมาชิกแล้วหรือยัง มีผู้เชี่ยวชาญอาชีพอะไรบ้างที่เราพอจะไปขอคำปรึกษาแนะนำ 3. หาทางออก ผ่าทางตัน เมื่อครัวเรือนตกผลึก ยอมรับสภาพปัญหาในครัวเรือนว่ามีสาเหตุจากอะไร มีความตั้งใจที่แน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหาโดยการผนึกกำลังกันเองของคนในครัวเรือนก่อนโดยค้นพบแล้วว่า ของดีในบ้าน นอกบ้านมีอะไรบ้าง เราจะนำของดีอะไรมาใช้ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างความสุขความอบอุ่นในครัวเรือนเรา ในขั้นตอนนี้คนในครัวเรือนต้องร่วมกำหนดเป้าหมายและวิธีการ/กิจกรรมที่เป็นหนทางออกในการแก้จนของครัวเรือน 4 วางแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน ให้สมดุลกับรายได้ โดยมีกิจกรรมพื้นฐาน คือ การทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือน ควบคุมรายจ่าย โดยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอยู่อย่างพอเพียง ช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ ประหยัดการใช้ไฟฟ้าปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคและทุกสิ้นเดือนควรมีการสรุปบัญชีรับจ่ายกันในครัวเรือนเพื่อประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลว เบื้องต้น ถ้ามีเหลือก็เก็บออมไว้บ้าง
5 คิดหาอาชีพหลัก/อาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ 6. หลีกเลี่ยงอบายมุขลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ การพนัน นำเงินที่เคยต้องเสียไปกับค่าเหล่า บุหรี่ การพนัน ไปหยอดกระปุก แล้วมานับดูเมื่อสิ้นเดือนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจมากขึ้น 7. สร้างสุขในครัวเรือน เช่นช่วยกันทำงานบ้าน ไปทำบุญด้วยกันมีปัญหาต้องช่วยกันคิดหาทางออก
8. หากัลยาณมิตร ไม่ปิดกั้นตนเองอยู่แต่ในบ้าน แสวงหาเพื่อนดี ๆ แสวงหาโอกาสในการเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตจากกัลยาณมิตร มีน้ำจิตน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้จักเสียสละเวลาเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน 9. ร่วมแรงแข็งขันลงมือทำอย่างจริงจัง ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดที่จะให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการบรรลุทางออก ผ่าทางตันได้สำเร็จ คนในครัวเรือนจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
10. ทบทวน ประเมินตนเอง 11. กิจกรรมอะไรที่ทำแล้วได้ผลดี ให้ทำต่อเนื่อง เช่นการทำบัญชีรับจ่าย การประหยัดค่าน้ำค่าไฟฟ้า พฤติกรรมที่ดีทำแล้วคนในครัวเรือนมีความสุข เช่น การกอดกัน เดินจูงมือกัน หอมแก้มกัน ร้องเพลง/เล่นกีฬา /อ่านหนังสือ /ดูทีวีร่วมกัน เป็นต้น 12. กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ยังทำไม่ได้ดี ให้หันหน้ามาจับเข่าคุยกันแล้วทบทวนปรับปรุงใหม่

กิจกรรมที่ทำจริง

4)สร้างหลักสูตร กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ต้องมีแผนชีวิตและครอบครัว เพื่อชี้ให้เห็นเป้าหมายชีวิตโดยเน้นการจัดการเรื่องการออม และนัดประชุมแผนชีวิตทำโครงงานอาชีพของครอบครัวที่เข้ากลุ่ม โดยเชิญวิทยากรมาแนะนำการจัดหลักสูตร แผนชีวิตและเป้าหมาย จากนั้นนัดแลกเปลี่ยน สัปดาห์ละครั้ง ทุกวันอาทิตย์ จำนวน 6 ครั้ง และติดตามที่ครัวเรือน 1 ครั้ง เพื่อพัฒนาโครงงาน ของแต่ละครอบครัว ดังนี้ วิธีการจัดทำแผนชีวิตครัวเรือนบนความพอเพียง5 ขั้นตอน 1. จับเข่าคุยกัน คนในครัวเรือนต้องหันหน้ามาจับเข่าคุยกัน ถึงปัญหา และสาเหตุของปัญหาความยากจนของครัวเรือน
2. ค้นหาของดีในบ้านเรา และใกล้ตัวเรา เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 1 แล้ว มาช่วยกันคิดว่า ในบ้านเรามีดีอะไรบ้าง บ้านเรามีที่ดินพอเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ได้ ในชุมชนบ้านเราส่วนใหญ่เขาทำมาหากินอะไรกัน มีอะไรบ้างที่เราพอจะทำได้ ในชุมชนของเรามีแหล่งทุนอะไรบ้างที่พอจะใช้บริการได้เราเป็นสมาชิกแล้วหรือยัง มีผู้เชี่ยวชาญอาชีพอะไรบ้างที่เราพอจะไปขอคำปรึกษาแนะนำ 3. หาทางออก ผ่าทางตัน เมื่อครัวเรือนตกผลึก ยอมรับสภาพปัญหาในครัวเรือนว่ามีสาเหตุจากอะไร มีความตั้งใจที่แน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหาโดยการผนึกกำลังกันเองของคนในครัวเรือนก่อนโดยค้นพบแล้วว่า ของดีในบ้าน นอกบ้านมีอะไรบ้าง เราจะนำของดีอะไรมาใช้ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างความสุขความอบอุ่นในครัวเรือนเรา ในขั้นตอนนี้คนในครัวเรือนต้องร่วมกำหนดเป้าหมายและวิธีการ/กิจกรรมที่เป็นหนทางออกในการแก้จนของครัวเรือน 4 วางแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน ให้สมดุลกับรายได้ โดยมีกิจกรรมพื้นฐาน คือ การทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือน ควบคุมรายจ่าย โดยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอยู่อย่างพอเพียง ช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ ประหยัดการใช้ไฟฟ้าปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคและทุกสิ้นเดือนควรมีการสรุปบัญชีรับจ่ายกันในครัวเรือนเพื่อประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลว เบื้องต้น ถ้ามีเหลือก็เก็บออมไว้บ้าง
5 คิดหาอาชีพหลัก/อาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ 6. หลีกเลี่ยงอบายมุขลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ การพนัน นำเงินที่เคยต้องเสียไปกับค่าเหล่า บุหรี่ การพนัน ไปหยอดกระปุก แล้วมานับดูเมื่อสิ้นเดือนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจมากขึ้น 7. สร้างสุขในครัวเรือน เช่นช่วยกันทำงานบ้าน ไปทำบุญด้วยกันมีปัญหาต้องช่วยกันคิดหาทางออก
8. หากัลยาณมิตร ไม่ปิดกั้นตนเองอยู่แต่ในบ้าน แสวงหาเพื่อนดี ๆ แสวงหาโอกาสในการเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตจากกัลยาณมิตร มีน้ำจิตน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้จักเสียสละเวลาเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน 9. ร่วมแรงแข็งขันลงมือทำอย่างจริงจัง ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดที่จะให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการบรรลุทางออก ผ่าทางตันได้สำเร็จ คนในครัวเรือนจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
10. ทบทวน ประเมินตนเอง 11. กิจกรรมอะไรที่ทำแล้วได้ผลดี ให้ทำต่อเนื่อง เช่นการทำบัญชีรับจ่าย การประหยัดค่าน้ำค่าไฟฟ้า พฤติกรรมที่ดีทำแล้วคนในครัวเรือนมีความสุข เช่น การกอดกัน เดินจูงมือกัน หอมแก้มกัน ร้องเพลง/เล่นกีฬา /อ่านหนังสือ /ดูทีวีร่วมกัน เป็นต้น 12. กิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ยังทำไม่ได้ดี ให้หันหน้ามาจับเข่าคุยกันแล้วทบทวนปรับปรุงใหม่

 

40 50

7. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้าน ครั้งที่ 3

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมจัดตั้งสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็งร่วมสดงความคิดเห็น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ 2.มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการโครงการ10คน และผู้ร่วมกิจกรรม5คน รวม 15 คน ร่วมกันวางแผนเพื่อที่จะจัดกิจกรรมต่อไป และการติดตามผลที่ดำเนินการมาแล้ว และ วางแผนเรื่องการไปศึกษาดูงานแปลงเกษตรอินทรีย์ ที่ต่างอำเภอ ผลสรุปมีดังนี้

  1. กำหนดผู้ร่วมเดินทางไปดูงานที่พื้นที่ ต.หัวไทร บ้านนายบุญธรรม สังข์ผอม จำนวน 15 คน คือ กรรมการโครงการ 10 คน และตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 5 คน
  2. แบ่งหน้าที่ ในการไปศึกาาดูงาน โดย นางเสาวภา ทิพย์แก้ว รับผิดชอบโครงการและกิจกรรมลงทะเบียน นางดวงแข สุขศิล ทำำหน้าที่ประสานงาน ติดต่อเจ้าของพื้นที่ และ รถในการเดินทาง
  3. การใช้รถในการเดินทาง ตกลงใช้รถรับจ้างไม่ประจำทาง เหมาจ่ายในการเดินทาง ไปกลับ 1 วันจำนวน 2 คัน คันละ 8 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณกรรมการสภาชุมชน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ และจากนั้นประชุมเดือนละ 1ครั้ง
กรรมการ ร่วมกันร่างแผนการทำงานในการติดตาม เพื่อติดตามประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ11ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการโครงการ  10  คน และผู้ร่วมกิจกรรม  5  คน รวม 15 คน ร่วมกันวางแผนเพื่อที่จะจัดกิจกรรมต่อไป และการติดตามผลที่ดำเนินการมาแล้ว และ วางแผนเรื่องการไปศึกษาดูงานแปลงเกษตรอินทรีย์ ที่ต่างอำเภอ

 

15 15

8. สภาหมู่บ้านเข้มแข็งร่วมศึกษาดูงานการปลูกผักปลอดสารพิษ

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกษตรกรบ้านโคกใหญ่ดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ชาวบางไทรมีความรู้และสามารถปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน ร้อยละ 70

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทีม 18 คน ได้ร่วมกันเดินทางไปศึกษาดูงาน และได้ศึกษาประวัติลุงบุญธรรม สังข์ผอม เป็นอดีตคนขับรถแบ๊กโฮ ที่ผันตัวเองมาปลูกผักอยู่บ้านกับภรรยาที่ทำมาก่อนแล้ว โดยดัดแปลงพื้นที่มรดกกว่า 3 ไร่เป็นสวนเกษตรอินทรีย์ย่อมๆ มีทั้งบ่อปลานิล คอกหมู คอกไก่ โรงเพาะเห็ดฟาง รวมทั้งแปลงผักกินได้ และไม้ผลที่ยืนต้นอยู่รอบสวนอีกหลายอย่าง ชนิดที่หากออกดอกออกผลพร้อมๆ กัน คงต้องเกณฑ์ชาวบ้านหมู่อื่นมาช่วยเก็บ ลุงบุญธรรมเล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนทำงานไม่เคยมีเงินเหลือ แต่เมื่อกลับมาอยู่บ้าน ปลูกผัก เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา สามารถเก็บหอมรอมริบรายได้จากการขายผักและอื่นๆ จนพอสร้างบ้านหลังเล็กๆ ได้ ผลสรุปสำคัญได้แก่

  1. ชาวบ้านโคกใหญ่มีความรู้ในการปลูกผักเป็นร้านเพื่อหนีน้ำท่วมการเลี้ยงไก่ไข่การเลี้ยงวัวขังไว้ในคอกเพื่อนำมูลวัวไปทำปุ๋ยการเพาะเห็ดการใช้ชีวิตแบบพอเพียงพึงพาตนเองได้
  2. นำวิธีการปลูกผักในรูปแบบต่างๆในการไปศึกษาดูงาน นำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับบ้านโคกใหญ่
  3. รูปแบบการเลี้ยงไก่ไข่ แบบขังคอก เลี้ยงปลาในธรรมชาติสามารถนำมาปรับใช้ในหมู่บ้านได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ชวนทีมผู้สนใจ 20 คน ร่วมศึกษาดูงาน ชิณวงศ์ฟาร์ม ตั้งอยู่ท้องที่หมู่ 7 ต.ท่าดี อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ถูกยกให้เป็นฟาร์มที่ใหญ่สุดในภาคใต้ในขณะนี้ เจ้าของคือ น.ส.วาริน ชิณวงศ์ หรือ น้ำ เจ้าของชิณวงศ์ฟาร์ม ถือเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขเมืองนครศรีธรรมราชโดยแท้ คุ้นชินกับวิถีกสิกรรมมาตั้งแต่เด็กจนโต โดยเฉพาะวิถีเกษตรในพื้นที่ “ลุ่มน้ำปากพนัง” ถือเป็นฐานสำคัญทางการเกษตรของ จ.นครศรีธรรมราชมาอย่างยาวนาน ในการศึกษาดูงานมุ่งเน้นแนวคิดการปลูกพืชเกษตรผักสวนครัวในกระถาง และการปลูกเป้นทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาหน้าน้ำท่วม

กิจกรรมที่ทำจริง

ชวนทีมผู้สนใจ 18 คน ร่วมศึกษาดูงานที่บ้านนายบุญธรรม สังข์ขอม เปลี่ยนแปลงจากในแผนที่กำหนดไว้เป็น ชิณวงศ์ฟาร์ม เนื่องจากปัญหาเรื่องการประสานงาน ซึ่ง ในการศึกษาดูงานมุ่งเน้นแนวคิดการปลูกพืชเกษตรผักสวนครัวในกระถาง และการปลูกเป็นทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาหน้าน้ำท่วม

 

20 18

9. การติดตามประเมินโครงการจากสจรส.มอ.ครั้งที่ 1

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 - 16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

มารับฟังการรายงานกิจกรรมโครงการในความรับผิดชอบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบเรียนรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับการเขียนรายงานบันทึกกิจกรรมต่างๆ  การเขียนรายงานทางการเงิน ต่าง ๆเรียนรู้การหักภาษี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดดำเนินการปฐมนิเทศอบรมและประชุมชี้แจงผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน เกี่ยวกับระเบียบข้อตกลงการจัดการโครงการ สสส.ตามที่ขอเสนอรับงบประมาณ

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมกับสสส  การเขียนรายงาน  การเขียนใบสำคัญรับเงิน  การเขียนภาษี    บันทึกกิจกรรมต่าง ๆ



































 

2 2

10. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้าน ครั้งที่ 4

วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมจัดตั้งสภาผู้นำหมู่บ้านเข็มเข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ 2.มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการวัยทำงาน 15 คนผู้สุงอายุ5คน ร่วมประชุมกรรมการสภาหมู่บ้านเข้มแข็งต่อเนื่อง เดือนธันวาคม โดยร่วมกันวางแผนกิจกรรม การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอิทรีย์ เน้นหลักมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค การปลูกผักปลอดสารพิษ ด้วยการนำร่องใช้พื้นที่รอบบ้านปลูกผักสวนครัวนานาชนิด เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านสนใจเกษตรปลอดสารพิษ และร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่ พร้อมทั้งตกลงกติกากลุ่มเพื่อมีแนวทางหลักคิดเดียวกันในการร่วมกลุ่มเน้นหลักกลุ่มบ้านที่อยู่ใกล้ๆกัน ร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างกระแสการปลูกผักในหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความตระหนักในวงกว้างสรุปมติที่ประชุมดังนี้

  1. เสาวภา ทิพย์แก้ว ทำหน้าที่ลงทะเบียน
  2. ศุภลักษณ์ ปล้องบรรจง ทำหน้าที่แจ้งการประชุม ประชาสัมพันธ์
  3. ดวงแข สุขศิล ทำหน้าที่จัดเอกสาร อุปกณ์การจัดประชุม
  4. วิทยากร ให่ อ.สุธรรมแก้วประดิษฐ์ ร่วมเป็นวิทยากรกับ นายสุรศักดิ์ เซ่งทอง นักพัฒนาชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณกรรมการสภาชุมชน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ และจากนั้นประชุมเดือนละ 1ครั้ง
กรรมการ ร่วมกันร่างแผนการทำงานในการติดตามผล และร่วมกันพัฒนาในวันรัฐธรรมนูญและร่วมกันพัฒนา ตัดหญ้าข้างทางปรับภมูมิทัศข้างถนน

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการวัยทำงาน 15 คนผู้สุงอายุ5คน ร่วมประชุมกรรมการสภาหมู่บ้านเข้มแข็งต่อเนื่อง เดือนธันวาคม
1.จัดประชุมสภา  ต่อเนื่อง 2.ร่วมทำกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันสำคัญ 10 ธค.58 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์ 4. วางแผนจัดกิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอิทรีย์ เน้นหลักมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค ร่วมกัน

 

15 20

11. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ เน้นหลักมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค

วันที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกษตรกรบ้านโคกใหญ่ดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มเกษตรอินทรีย์ สมาชิกอย่างน้อย 50 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ชาวบ้านโคกใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 70 คนได้รับความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ ในการเรียนรู้ครั้งนี้ วิทยากร โดยอ.สุธรรม และ นักพัฒนาชุมชน จาก อบต.บางศาลา ร่วมแนะนำ และจัดทำข้อตกลงหมู่บ้าน ในการทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยการสัญญาว่า

  1. จะ ลด ละ เลิก การใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงเกษตร และหันมาใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ที่เรารวมกลุ่มทำกันเอง เพื่อ ประโยชน์ ของดิน น้ำ อาหาร ที่เป็นผลผลิต ได้ ปลอดสารพิษ เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ และยังช่วยลดรายจ่ายครัวเรือน
  2. การรวมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ โดยรวบรวมสมาชิกอย่างน้อย 30 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอิทรีย์ เน้นหลักมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค การปลูกผักปลอดสารพิษ ด้วยการนำร่องใช้พื้นที่รอบบ้านปลูกผักสวนครัวนานาชนิด เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านสนใจเกษตรปลอดสารพิษ และร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่ พร้อมทั้งตกลงกติกากลุ่มเพื่อมีแนวทางหลักคิดเดียวกันในการร่วมกลุ่มเน้นหลักกลุ่มบ้านที่อยู่ใกล้ๆกัน ร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างกระแสการปลูกผักในหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความตระหนักในวงกว้าง จากนั้น

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดอบรมได้ความรู้แก่ชาวบ้านโคกใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ จำนวน 70 คนเรื่องเกษตรอิทรีย์ เน้นหลักมาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภค การปลูกผักปลอดสารพิษ ด้วยการนำร่องใช้พื้นที่รอบบ้านปลูกผักสวนครัวนานาชนิด เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านสนใจเกษตรปลอดสารพิษ และร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่ พร้อมทั้งตกลงกติกากลุ่มเพื่อมีแนวทางหลักคิดเดียวกันในการร่วมกลุ่มเน้นหลักกลุ่มบ้านที่อยู่ใกล้ๆกัน ร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างกระแสการปลูกผักในหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความตระหนักในวงกว้าง

 

90 70

12. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็งครั้งที่ 5

วันที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกษตรกรบ้านโคกใหญ่ดำเนินชีวิตตามแนวเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ 2.มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กรรมการโครงการ และกรรมการหมู่บ้าน ร่วมประชุมพัฒนาโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ วางแผนเรื่องการร่วมประชุมติดตามโครงการกับพี่เลี้ยงโครงการและ จนท.ติดตามโครงการ จาก สจรส. ที่มหาวิทยาวลัยลักษณ์ ได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกใหญ่ พร้อมทั้งตกลงกติกากลุ่มเพื่อมีแนวทางหลักคิดเดียวกันในการรวมกลุ่มเน้นหลักหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ๆกัน ได้ข้อสรุปสำคัญดังนี้

  1. ชี้แจงกรรมการเรื่องที่ไปร่วมประชุมพัฒนา ติดตามโครงการ จาก สจรส.มอ.ในวันที่ 6-7 ธค.58 เน้นเรื่องการหักภาษีณ ที่จ่าย
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมประชุม คือ นางเสาวภา ทิพย์ แก้ว และ นางดวงแข สุขศิล เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากโครงการ
  3. นัดประชุมครั้งต่อไป เดือน กุมภาพันธ์ 59

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ และจากนั้นประชุมเดือนละ 1 ครั้ง มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ 2 มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเเรียนรู้ ทุกเดือน 3 เกิดพันธธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ และจากนั้นประชุมเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อผลักดันมีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน และ เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์ โดยการประชุมในเดือนพฤศจิกายน วางแผนเรื่องการร่วมประชุมติดตามโครงการกับพี่เลี้ยงโครงการและ จนท.ติดตามโครงการ จาก สจรส. ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

15 15

13. ประชุม ติดตามและจัดทำรายงานงวดที่ 1

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อตรวจสอบรายงานและสรุปยอดค่าใช้จ่ายของงวดที่1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พี่เลี้ยงโครงการ ผู้รับผิดชอบ และการเงินโครงการ รวมกันรวบรวมเอกสารหลักฐานการเงิน และนำเสนอผลการดำเนินงานงวด 1 และวันที่ 2 ส่งเอกสารหลักฐานให้ทีมสนับสนุนตรวจสอบ พบว่า ยังดำเนินการไม่ถึง 70 % จึงขอขยายเวลา 1 เดือน ปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังพื้นที่ ทำให้กิจกรรมบางอย่างทำไม่ได้ขอขยายเวลา แจ้ง สสส.ทราบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พี่เลี้ยงโครงการ ผู้รับผิดชอบ และการเงินโครงกาi รวมกันรวบรวมเอกสารหลักฐานการเงิน และนำเสนอผลการดำเนินงานงวด 1 และวันที่ 2 ส่งเอกสารหลักฐานให้ทีมสนับสนุนตรวจสอบ

กิจกรรมที่ทำจริง

พี่เลี้ยงโครงการ ผู้รับผิดชอบ และการเงินโครงการ ร่วมกันจัดทำรายงานและตรวจสอบเอกสาร เพื่อแก้ไข จัดพิมและ ปิดงวด

 

2 2

14. ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษโดยจัดแปลงสาธิต

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษโดยการจัดทำแปลงสาธิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ครัวเรือนร่วมเรียนรู้การทำเกษตรปลอดสารพิษ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มชาวบ้านวัยทำงาน30 คน และผู้สูงอายุ 30 คน รวมกรรมการโครงการ จำนวน 60 คน มาร่วมกัน เรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มเกษตรปลอดสาพิษโดยจัดแปลงสาธิตทุกบ้านที่ร่วมโครงการ เพื่อให้เกษตรมีพื้นที่อย่างน้อยแปลงละ 5x 10เมตรจำนวน 30 ครัวเรือน ในการเป็นแปลงนำร่องของชุมชนโคกใหญ่ เพื่อให้ครัวเรือนใกล้เคียงร่วมมาเรียนรู้ โดยเน้น กลุ่มแปลงต้นแบบ10 แปลงมาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ตามข้อตกลงการเป็นแปลงต้นแบบ ผลสรุปเนื้อหาสำคัญ คือ

  1. สถานการณ์การผลิตผักปลูกผักในบ้านเราไม่มีความต่อเนื่อง เนื่องจากเกษตรกรปลูกผักตามฤดูกาล เก็บเกี่ยวเสร็จต้องรอพักดินแล้วปลูกใหม่ ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตมีความขาดช่วง ไม่มีการกำหนดแผนการผลิตที่มีความหลากหลาย ปัญหานี้ ให้กลุ่มนำไปคิดต่อ
  2. การใช้สารเคมีไม่ถูกวิธี บ้านใด แปลงไหน ที่ยังใช้สารเคมี อยู่ให้ทำพันธะสัญญา ลด ละ เลิก และเข้ากลุ่มทำปุ๋ยหมักของกลุ่มบ้านโคกใหญ่
  3. กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผักยังมีลักษณะเป็นต่างคนต่างทำ ควรมีการจัดตั้งกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง ให้มีลักษณะแบบเชิงธุรกิจ
  4. การส่งเสริมด้านการตลาด เพื่อเป็นข้อต่อรอง โดยเน้นการสร้างตลาดผักในชุมชน และการสร้างแผงในตลาดนัดในบริเวณหมู่บ้านใกล้เคียง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษโดยจัดแปลงสาธิตทุกบ้านที่ร่วมโครงการ เพื่อให้เกษตรมีพื้นที่อย่างน้อยแปลงละ 5x 10เมตรจำนวน 30 ครัวเรือน ในการเป็นแปลงนำร่องของชุมชนโคกใหญ่ เพื่อให้ครัวเรือนใกล้เคียงร่วมมาเรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษโดยจัดแปลงสาธิตทุกบ้านที่ร่วมโครงการ เพื่อให้เกษตรมีพื้นที่อย่างน้อยแปลงละ 5x 10 เมตร จำนวน 30 ครัวเรือน ในการเป็นแปลงนำร่องของชุมชนโคกใหญ่ เพื่อให้ครัวเรือนใกล้เคียงร่วมมาเรียนรู้ โดยใช้ศาลาประชาคม มาเป็นที่เรียนรู้ และปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง เกษตรปลอดสารพิษ และอาจารย์สุธรรม และนักวิชาการเกษตรมาอธิบายขั้นตอนการทำแปลงผักปลอดสารพิษ ในช่วงเช้า ส่วนช่วงบ่ายให้ผู้เข้าร่วมประชุมผลัดเปลี่ยนกันทำกิจกรรมทั้สาธิต ได้แก่ การเตรียมแปลง การทำปุ๋ย การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และวิทยากรเพิ่มเติมเรื่องการทำตลาด

 

60 60

15. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มเข็ง ครั้งที่ 6

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ร่วมวางแผนการจัดลงแขกกับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีสภาหมู่บ้านเข้มแข็ง 1 คณะ 2.มีปฏิทินกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกเดือน 3.เกิดพันธะสัญญาบ้านโคกใหญ่ร่วมใจทำเกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมคณะกรรมการสภาชุมชน15 คน ร่วมประชุมประจำเดือน เดือนนี้วางแผนการจัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถาง โดยมีมติ ในที่ประชุมดังนี้

  1. นัดจัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถาง วันที่ 27 กพ.59
  2. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 60 คน เป็นกรรมการ 15 คน และผู้เข้าร่วมอื่นๆอีก 45 คน
  3. โครงการมีวัสดุสนับสนุนในเรื่อง กระถางเพื่อใช้ในการฝึกและประชุมเชิงปฏิบัติการจริง คนละ 1 ชุด และ เมล็ดพัน์พืชผัก ที่ไม่มีในพื้นที่ รวมงบ 5000 บาท
  4. การฝึกทำจริง ให้ผุ้เข้าร่วม แต่งชุดที่สะดวกในการการจัดกิจกรรม และ นำอุปกรณ์ กระถาง หรือวัสดุ ที่ต้องการปลูกผักมาเองด้วย
  5. เน้นหลักการเกษตรปลอดสารพิษ และแกนนำต้นแบบ 10 แปลง ให้เข้าร่วม ตามข้อตกลง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมประชุมประจำเดือน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ และจากนั้นประชุมเดือนละครั้ง เดือนนี้วางแผนการจัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถาง

กิจกรรมที่ทำจริง

ระชุมคณะกรรมการสภาชุมชน  15 คน ร่วมประชุมประจำเดือน เพื่อวางแผนการจัดการบริหารโครงการสร้างหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ และจากนั้นประชุมเดือนละครั้ง เดือนนี้วางแผนการจัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถาง 

 

15 15

16. จัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถางแก้ปัญหาฤดูน้ำท่วม

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหากหันมาปลูกผักในกระถางเชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาน้ำท่วมแปลงผักในช่วงน้ำท่วมและยังมีผักไว้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ครัวเรือนเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในกะถาง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการ และผู้ร่วมโครงการจำนวน60คน เป็น วัยทำงาน40 คนผู้สูงอายุ20คน ครัวเรือนเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในกระถาง ซึ่งโครงการสนับสนุนถังทำน้ำหมัก และกระถางต้นไม้บางส่วน ในการจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มปลูกผักบ้านโคกใหญ่และวิทยากร ได้รวบรวมความรู้สำคัญในการปลูกผักกระถางดังนี้ 1.เลือกและใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน เช่น กะละมัง, กระถาง, ยางรถยนต์, ถังน้ำ ฯลฯ ให้ทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาใช้ และให้จัดตกแต่งกระถาง หรือภาชนะที่จะนำมาใช้ปลูกผัก เช่น ตัดปาก ตัดกัน หรือทำขอบเพื่อให้กระถางคงทน และสวยงาม การเลือกกระถางปลูก ต้องเลือกให้เหมาะสมต่อผักที่จะปลูก กล่าวคือผักที่มีระบบรากลึก ควรปลูกในกระถางที่มีความลึก ผักที่มีระบบรากตื้นเหมาะกับกระถางที่มีความตื้นไม่มาก 2.เลือกผักที่จะปลูก มีความสำคัญมากเลือกผักให้เหมาะสมกับกระถางและเลือกปลูกผักที่มีการใช้บริโภคภายในครอบครัวเป็นประจำทุกวันก่อน เพราะนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เลือกปลูกผักที่สมาชิกในครอบครัวชอบรับประทานด้วย เพราะจะทำให้ผักนั้นได้รับความสนใจจากสมาชิกในครอบครัวตามไปด้วย
3.การเตรียมดิน ต้องเตรียมให้ดี และเหมาะสมกับผักแต่ละชนิด สามารถทำได้เองโดยมีส่วนผสม ดังนี้ - ดินร่วน 1 ส่วน/ ทราย 1 ส่วน/ ปุ๋ยหมัก หรือปุ่ยคอก 1 ส่วน/ ขึ้เก้าแกลบ, ขุยมะพร้าว 1 ส่วน นำทั้ง 4 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดี อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดินก็ได้ และหากไม่สะดวกที่จะผสมดินใช้เองดินที่ผสมเสร็จแล้วนำไปบรรจุในกระถางที่เตรียมปลูกผัก การบรรจุไม่ควรให้เต็มกระถาง หรือเสมอขอบ ควรเติมหลังจากปลูกผักไปแล้ว จึงจะเพิ่มดินให้อยู่ในระดับที่ต้องการ 4.การปลูกผักลงกระถาง สามารถทำได้ทั้งปลูกแบบใช้เมล็ดพันธุ์หว่าน หรือหยอดลงกระถางเลย หรือ เพราะต้นกล้าก่อนแล้วจึงนำลงปลูกในกระถาง หรือผักบางชนิดสามารถใช้วิธีปักชำลงในกระถางได้เลย วิธีหว่านหรือหยอดเมล็ด โดยหว่างเมล็ดลงให้กระถางโดยกะระยะห่างของเมล็ด หรือหลุมที่หยอดให้เหมาะสมกับชนิดของผัก ผักที่นิยมปลูก โดยใช้เมล็ดได้แก่ ผักชี, ผักบุ้งจีน, ตั้งโอ๋, ขึ้นฉ่าย เป็นต้น 5.วิธีเพาะต้นกล้าผักก่อนปลูก นำต้นกล้าผักที่เพาะเมล็ดได้ระยะเวลาที่พอเหมาะ โดยสังเกตจากลักษณะของลำต้น และระบบรากฝอย ถ้าสมบูรณ์ก็สามารถย้ายต้นกล้าผักลงปลูกได้เลย ผักที่นิยมปลูกวิธีนี้ได้แก่ ผักคะน้า, ผักกาดขาว, ผักกาดเขียว, ผักกาดหอม, กะหล่ำปลี, ปูเล่, กะเพรา, โหระพา เป็นต้น 6.วิธีนำส่วนของผักมาปักชำ ผักที่สามารถนำมาลงปลูกแบบปักชำในกระถางได้เลย เช่น สะระแหน่, ชะพลู, หอมแบ่ง, ตะไคร้ ฯลฯการปักชำต้องดูว่าผักแต่ละชนิดใช้ส่วนใดในการปักชำได้
7.การดูแลรักษาผักในกระถางการดูแล โดยคอยรดน้ำให้ดินในกระถางในมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ยหากผักมีเจริญเติบโตไม่ดี และควรเปลี่ยนดินเมื่อมีการปลูกผักในครั้งต่อไป หรือปลูกผักชนิดใหม่ในกระถางเดิม ถ้าหากที่ที่วางกระถางอยู่ผักที่ปลูกได้รับแสงไม่เพียงพอ สามารถย้ายกระถางไปวางไว้ในที่มีแสงเพียงพอได้ 8.การเก็บเกี่ยว สำหรับผักที่ปลูกในกระถาง หากเป็นผักที่บริโภคในส่วนของใบ ให้เก็บใบล่างไปก่อน เหลือยอดบนไว้ให้เจริญต่อไป เช่น ผักกาด คะน้า ปูเล่ ถ้าเป็นผักที่ใช้ส่วนยอดอ่อนบริโภค ควรเลือกเก็บเฉพาะยอดเท่านั้น จะทำให้ผักมีการแตกยอดอ่อนเจริญเติบโตให้เราได้ใช้บริโภคอีก เช่น สะระแหน่, กะเพรา, โหระพา
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งหมดได้ร่วมแบ่งปันวิธีการปลูกและผักสวนครัวที่ปลูกกันอยู่แล้ว แต่ไม่ได้จัดการให้สวยงาม หลังอบรมคาดว่าจะพัฒนาแปลง และกระถางให้ดีขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถางเพื่อนำร่องปลูกแล้วแจกชาวบ้านจะทำให้แก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังช่วงเวลา 3 เดือนที่เพื่อสร้างรายได้ตลอดปี เพราะที่ผ่านมาชาวลุ่มน้ำปากพนังมีรายได้จากกสิกรรม 9 หมื่นบาทจากการทำทำงาน 9 เดือน ในช่วงน้ำท่วม 3 เดือน หากหันมาปลูกผักกระถางเชื่อว่าจะเติมเต็มให้เกิดรายได้ตลอด 12 เดือนได้ ซึ่งสามารถมีรายรับเพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการ และผู้ร่วมโครงการจำนวน60คน เป็น วัยทำงาน40คน  ผู้สูงอายุ20คน จัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในกระถางเพื่อนำร่องปลูกแล้วแจกชาวบ้านจะทำให้แก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังช่วงเวลา 3เดือนที่เพื่อสร้างรายได้ตลอดปี เพราะที่ผ่านมาชาวลุ่มน้ำปากพนังมีรายได้จากกสิกรรม 9 หมื่นบาทจากการทำงาน 9 เดือน ในช่วงน้ำท่วม 3 เดือน หากหันมาปลูกผักกระถางเชื่อว่าจะเติมเต็มให้เกิดรายได้ตลอด 12 เดือนได้ ซึ่งสามารถมีรายรับเพิ่มขึ้น

 

60 60

17. การประชุมถอดบทเรียนร่วมกับ สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อร่วมประชุมและรับการติดตามโครงการ งวดที่ 1 พร้อมถอดบทเรียนโครงการระดับจังหวัด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน ร่วมประชุมและรับการติดตามโครงการ จากพี่เลี้ยงทีมสนับสนถุน วิชาการพื้นที่พร้อมถอดบทเรียนโครงการระดับจังหวัด ผลการดำเนินงาน โครงการบ้านโคกใหญ่ร่วมใจส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว พบว่า 1. เกิดสภาผู้นำชุมชน ประชุมต่อเนื่อง จำนวน 15 คน ทุกเดือน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานทุกครั้ง 2. เกิดข้อตกลง ในหมู่บ้านโคกใหญ่ จำนวน 2 เรื่อง คือ การลดละเลิกการใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงผัก และหัน มาปรับเปลี่ยนเป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่จัดผลิตกันในหมู่บ้านและ การ การตกลงเรื่องพื้นที่กิจกรรมเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่
3. เกิดข้อตกลงให้ผู้ร่วมโครงการเป็นพื้นที่เรียนรู้ต้นแบบ 4. การดำเนินกิจกรรล่าช้า กว่าในแผน เพราะ ผู้รับผิดชอบโครงการ และทีมงาน ไม่เข้าใจและไม่สามารถเชื่อมโยงกิจกรรมกะปฎิทินท้องที่จริง การประสานงานเรื่องวิทยากร ซึ่ง แก้ปัญหาโดยการให้ทีมพี่เลียงและนักพัฒนาชุมชน ในพื้นที่ ร่วมเป็นวิทยากร ช่วยทำกิจกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์ และ มีนาคม ให้แล้วเสร็จตามแผนใน งวดที่ 1 โดยขอขยายเวลา กับ สสส.ผู้ให้ทุน เป็นปิดงวดในวันที่ 31 มีค .59 และ สสส.รับทราบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน ร่วมประชุมและรับการติดตามโครงการ จากพี่เลี้ยงทีมสนับสนถุน วิชาการพื้นที่พร้อมถอดบทเรียนโครงการระดับจังหวัด ในการดำเนินงาน งวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน ร่วมประชุมและรับการติดตามโครงการ จากพี่เลี้ยงทีมสนับสนถุน วิชาการพื้นที่พร้อมถอดบทเรียนโครงการระดับจังหวัด ในการดำเนินงาน งวดที่ 1

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 39 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 188,850.00 64,375.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68 51                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

การดำเนินกิจกรรมล่าช้ากว่าแผน

เนื่องจาก ฝนตก น้ำท่วมในพื้นที่ ไม่สามารถทำกิจกรรมในเดือน ธค. -มกราคม ได้

ขอขยายเวลาเป็นปิดงวดเดือน มีนาคม และเร่งทำกิจกรรมตามแผนงานกำหนด

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้านครั้งที่ 7 ( 10 เม.ย. 2559 )
  2. ลงแขกปรับพื้นที่แปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 30 แปลง ( 7 พ.ค. 2559 - 21 พ.ค. 2559 )
  3. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็ง ครั้งที่ 8 ( 21 พ.ค. 2559 )
  4. ลงแขกปลูกผัก พืชในแปลงเกษตรปลอดสารพิษจำนวน 30 แปลงครั้งที่1-15 ( 10 มิ.ย. 2559 - 24 มิ.ย. 2559 )
  5. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้าน ครั้งที่ 9 ( 18 มิ.ย. 2559 )
  6. เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง ( 2 ก.ค. 2559 )
  7. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้าน ครั้งที่10 ( 16 ก.ค. 2559 )
  8. หลักสูตรร่วมเรียนรู้และการจัดการบัญชีครัวเรือนบ้านโคกใหญ่ ครั้ง 2 ( 30 ก.ค. 2559 )
  9. สภาผู้นำและปฏิทินชุมชน เรียนรู้ครั้งที่ 3 ( 5 ส.ค. 2559 )
  10. ตามรอยคนต้นแบบ เกษตรอินทรีย์ ใครจด หมดหนี้เรียนรู้ทำบัญชีครัวเรือน ( 6 ส.ค. 2559 )
  11. เรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ครั้ง ที่ 4 ( 12 ส.ค. 2559 )
  12. ร่วมกันส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลดหนี้ครอบครัว เรียนรู้ครั้งที่ 5 ( 19 ส.ค. 2559 )
  13. จัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ บ้านโคกใหญ่ เรียนรู้ครั้งที่ 6 ( 26 ส.ค. 2559 )
  14. ประชุมคณะกรรมการโครงการและกรรมการหมู่บ้าน ครั้งที่11 ( 2 ก.ย. 2559 )
  15. ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 2 ( 3 ก.ย. 2559 - 4 ก.ย. 2559 )
  16. จัดเวทีเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปลูกผักปลอดสารพิษในกะถาง ( 23 ก.ย. 2559 )
  17. กรรมการโครงการจัดทำชุดความรู้โครงงานรวมเป็นข้อมูลการจัดการความรู้และเก็บไว้เผยแพร่ ( 28 ก.ย. 2559 )
  18. ติดตามผลการปฏิบัติงานโดยคณะกรรมการและตัวแทนเกษตรในแต่ละกลุ่ม ( 29 ก.ย. 2559 )
  19. จัดเวทีเรียนรู้ และเปิดตลาดผักปลอดสารพิษ ( 30 ก.ย. 2559 )

(................................)
นางสาว เสาวภา ทิพย์แก้ว
ผู้รับผิดชอบโครงการ