directions_run

สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ ”

บ้านไร่เหนือ ม.9 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาง จิราภรณ์ พลประมวล

ชื่อโครงการ สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ

ที่อยู่ บ้านไร่เหนือ ม.9 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03919 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2042

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านไร่เหนือ ม.9 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ



บทคัดย่อ

โครงการ " สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านไร่เหนือ ม.9 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03919 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,830.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 250 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเพิ่มรายได้ของครัวเรือน
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
    อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงิน
    อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

    1. เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
    2. เรียนรู้วิธีการตรวจสอบเอกสารโครงการ
    3. เรียนรู้วิธีดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
    4. ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
    5. ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน

     

    2 2

    2. 1.สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 1

    วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรม ประชุมสภาครั้งที่ 1
    เริ่มด้วย เปิดเวทีการประชุม เวลา 13.30 น. โดยนาง นีรนุช เกิดกุลชร เป็นประธานที่ประชุม มีคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาผู้นำชุมชน กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของโครงการ ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการปฎิบัคิการทำงานในแต่ละกิจกรรมตามแผน อย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อพบปะพูดคุยถึงสภาพปัญหา ของชุมชน การทำกิจกรรมต่อไปของโครงการ คือกิจกรรมการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพร ให้คณะทำงานดุว่าในกิจกรรมเราจะต้องทำอย่างไรมีขั้นตอนอะไรบ้าง ประธานจึงหมอบหมายคณะทำงานให้เชิญ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านไร่เหนือเข้ามาประชุมเพื่อออกแบบ แบบสอบถามข้อมูลให้ ในวันที่ 27 ตุลาคม 2558 และได้เชิญกลุ่ม อสม. เข้าร่วมในการออกแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพร เพราะ อสม.เป็นผู้ที่คุ้นชินกับในพื้นที่ในเขตที่รับผิดชอบของคนเอง คณะทำงานได้ร่วมกันพุดคุย ถึงวิธีการทำงานขั้นตอนการปฎิบัติ ในการลงพื้นที่สำรวจการเบิกงบประมาณของแต่ละกิจกรรมในแต่ละครั้ง จะต้องเบิกแต่ละกิจกรรม โดยมี นาง จิราภร พลประมวลนางขวัญใจ ชูทองนาง นีรนุช เกิดกุญชร เป็นผุ้เบิกจ่ายในแต่ละกิจกรรมการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป วันที่ 27ของเดือนถัดไป จะนัดออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพรการสำรวจข้อมูลสมุนไพรที่มีโดยธรรมชาติ ในวันที่ 30 ตุลาคม 2558 พร้อมลงสำรวจพื้นที่ในชุมชนประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 2 ในวันที่ 7 พ.ย 2558ผู้ใหญ่ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุม และปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างวัยเกิดขึ้น
    2. มีเวทีในการพบปะปรึกษาหารือกันในเรื่องของการทำงานแต่ละกิจกรรม
    3. มีการวางแผนและมอบหมายในกิจกรรมในครั้งต่อไป
    4. ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการทำงานของโครงการและติดตามความคืบหน้าร่วมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
    5. มีการแบ่งความรับผิดชอบกันในการทำงานตามความเหมาะสม
    6. ในการประชุมทุกครั้งมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จและอุปสรรค์ต่างๆทุกครั้ง

     

    20 20

    3. ทำป้ายโครงการ

    วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ๋บ้าน นางนีรนุช เกิดกุญชร ได้เปิดการประชุมโครงการ ของ สสส.ให้ชาวบ้านทราบ หมู่บ้านไร่เหนือได้ทำโครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ จึงจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการห้ายปลอดบุหรี่และป้ายปลอดสุรา เพื่อรณรงค์การปลอดบุหรี่และปลอดสุรา พร้อมความเป็นมาของโครงการให้แกนนำทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลงานที่เกิดขึ้น: ออกแบบป้ายโครงการ และป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น: ความร่วมมือของชุมชนและแกนนำ สิ่งที่เกินความคาดหมาย:
    -มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ป้ายเขตปลอดบุหรี่ -ประชาชนรับรู้โครงการฯ

     

    2 2

    4. คืนข้อมูลชุมชน ประชาสัมพันธ์โครงการ

    วันที่ 25 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมเปิดโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการณหอประชุมหมู่บ้านบ้านไร่เหนือซึ่งในวันนี้จะมีพี่เลี้ยงโครงการมาร่วมเปิดโครงการด้วยโดยมีกิจกรรมและวาระการประชุม ดังนี้ วาระที่ 1
    -ประธานในที่ประชุมนางนีรนุช เกิดกุญชร ได้แจ้งในที่ประชุม เรื่อง โครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ ภายในวงเงิน 212,830,00 บาท ซึ้งได้รับทุนจากสำนักงานกองทนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ซึ่งมีนางนีรนุช เกิดกุญชร เป็นประธานชุมชน 1.นางจิราภร พลประมวล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ (อสม) 2.นายสุชาติ นุ่นสุวรรณเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ คนที่1 ตำแหน่ง กรรมการหมู่บ้าน 3.นางขวัญใจ ชูทอง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ คนที่2 ตำแหน่ง อสม 4.นางเจตสุดา อินทรสาร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ คนที่3 ตำแหน่ง กลุ่มสตรี 5.นายสมโชค คงทอง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ คนที่4 ตำแหน่ง สมาชิก อบต 6.นางลักขณา ปัญจระ เป็นผู้รับผิชอบโครงการ คนที่5 ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีระยะเวลาดำเนินงาน 1 ปี มติที่ประชุม รัทราบ

    วาระที่ 2
    - ประธานได้เชิญพี่เลี้ยงของโครงการ นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์ ได้เป็นวิทยากรและบรรยายเกี่ยวกับโครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ อธิบายถึงความเป็นมาของโครงการและขั้นตอนต่างๆ และช่วยอธิยบายให้ชาวบ้านได้เข้าใจโครงการมากขึ้นและเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ทำให้ชาวบ้านรู้และเข้าใจการทำงานร่วมกัน ได้มีความรู้เรื่องสมุนไพรและความสามัคคีกันในหมู่บ้าน ก่อให้การร่วมกลุ่มมีอาชีพเสริมให้กับครอบครัว -
    มติที่ประชุม รับทราบ

    วาระที่3
    - ประธานในที่ประชุมให้ได้เข้าร่วมประชุมสมัครเข้าสมัคสมาชิกของโครงการซึ่งมีผู้เข้าร่วมหลายคน และในเวลา เวลา15.00 น. ได้กล่าวขอบคุณพี่เลี้ยง ที่ได้มาบรรยายและอธิบายเกี่ยวกับโครงให้ชาวบ้านได้กล่าวเข้ามากขึ้นและได้มอบของที่ระลึกให้กับพี่เลี้ยง ประธานได้กล่าวปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลที่เกิดขึ้นจริง:

    1. ได้ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการให้ชาวบ้านได้รับทราบ เพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมกลุ่ม มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยการใช้ทุนที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนให้ทุกครัวเรือนดูเอกสารประกอบและทุกคนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อจะร่วมกันพัฒนาชุมชน ว่าครัวเรือนใหนบ้างที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ถ้าสนใจก็รับสมัครเข้าร่วมโครงการในการพัฒนาตามโครงการด้วยความสมัครใจ เพื่อจะได้พัฒนาชุมชนไปพร้อมๆกัน
    2. ได้มีการแลกเปลี่ยนเสนอความคิดเห็นกันในหมู่บ้าน เกี่ยวกับโครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ ว่ามีวิธีดำเนินการอย่างไร มีประโยชน์เกิดขึ้นกับหมู่บ้าน และชาวบ้านอย่างไร
    3. เชิญชวนให้คนในชุมชนร่วมกิจกรรมของโครงการและสมัครเข้าร่วมโครงการฯ
    4. มีข้อมูลชุมชนเพื่อใช้ในการวางแผนการทำงาน เกิดกิจกรรมร่วมกลุ่ม เกิดผังเครือข่ายและบุคคลที่ประสานงานทราบถึงปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชน และได้มาหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ข้อมูลกลับสู่ชุมชน
    5. มีผู้เข้าร่วมประชุมตามเป้าหมาย ชาวบ้านสนใจกิจกรรมของโครงการ โครงการเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มในชุมชนโดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ต้องทำกิจกรรม สัปดาห์ ละ ครั้ง

     

    200 200

    5. สำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพร ครั้งที่ 1

    วันที่ 27 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านประกาศให้ลุกบ้านทราบถึงการออกสำรวจข้อมูลของทีมงานที่ออกสำรวจสมุนไพรๆโดยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มๆ 6 คน แล้วแบ่งออกสำรววจตามพื้นที่รับผิดชอบจาก 243 ครัวเรือนมีการสำรวจข้อมูลสมุนไพรที่พบตามธรรมชาติ และจะให้ครัวเรือนแต่ละครัวเรือนมีส่วนร่วมในการสำรวจสมุนไพรที่มีอยู่ในบริเวณบ้านหรือที่ปลูกไว้เอง 1.เรียนรู้เรื่องสมุนไพรมากขึ้น 2.เรียนรู้คุณประโยชน์ของสมุนไพรมากขึ้น 3.การเก็บข้อมูลสมุนไพร 4.การเก็บข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลที่เกิดขึ้นจริง: 1. ได้มีการสำรวจข้อมูลสมุนไพรในธรรมชาติและที่ปลูกเองที่บ้าน 2. ขั้นตอนการออกสำรวจและลงพื้นที่ มีการแบ่งกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมในชุมชน 3. พบสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพิ่มขึ้น เช่น ชนิดไม้ยืนต้น ส่วนมากจะพบในบริเวณรอบบ้าน และในสวนยาง ส่วนเป็นเถาวัลย์ จะพบมากบริเวณตีนเขา

     

    20 20

    6. สำรวจสมุนไพรธรรมชาติ ครั้งที่ 1

    วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานก่อนก่อนลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อม มีคณะทำงาน อสม เยาวชนลงในสำรวจพื้นที่หมู่ 9 บริเวณป่าและริมเขาในสวนยางและสมุนไพรในธรรมชาติ 1. เรียนรู้เรื่องสมุนไพร สรรพคุณ และคุณประโยชน์ 2. ขั้นตอนการทำงานและลงพื้นที่ 3. การเกิดกลุ่มสามัคคีและความพร้อมเพียงกัน


    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีข้อมูลในชุมชนเกี่ยวกับสมุนไพรที่เกิดในธรรมชาติ ทั้งในบริเวณป่า ริมเขา และสวนยางพารา
    2. การทำงานเป็นกลุ่มและลงพื้นที่ในชุมชน
    3. ได้รู้จักสมุนไพรมากขึ้น

     

    48 48

    7. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 2

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในวันนี้ ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 2 ณ ศาลาประจำหมู่บ้านไร่เหนือ
    เริ่มด้วย เปิดประชุม เวลา 13.00 โดยนาง นีรนุช เกิดกุญชร เป็นประธาน ในที่ประชุม ซึ่งคณะกรรมการ ผู้นำชุมชน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของเดือน พฤศจิกายน ตามแผนของกิจกรรม เพื่อพบปะพูดคุยปรึกษาหารือถึงปัญหาครัวเรือนและชุมชน และการปฎิบัติงานในแต่ละกิจกรรมมีอะไรบ้างได้มาร่วมกันวิเคราะห์ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลครัวเรือน และข้อมูลสมุนไพร ในครั้งที่ผ่านมา พบปัญหา คือ ปัญหารายรับ – รายจ่ายไม่เพียงพอมีหนี้สิน รายได้น้อย ไม่มีการทำบัญชี รายรับ-รายจ่ายไม่ค่อยมีความรู้เรื่องสมุนไพรในครัวเรือน แต่มีบางครัวเรือนที่นำสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำน้ำยาเอนกประสงค์จากสมุนไพร ทำน้ำหมักชีวภาพ ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้กันเองในครัวเรือน เพื่อประหยัดรายจ่าย คณะทำงานได้มานั่งปรึกษาว่า น่าจะนำครัวเรือนที่ทำอยู่แล้วนี้ มาแลกเปลี่ยนความรู้ กับครัวเรือนอื่นๆ ที่สนใจจะได้ทำไว้ใช้ เพื่อประหยัด และลดรายจ่ายในครัวเรือน คณะทำงานจึงเห็นด้วยจึงได้นัดทำกิจกรรมครังต่อไปของโครงการ โดยนัดคณะทำงานดูแผนการปฎิบัติงานว่าต้องทำอย่างไร เตรียมการอย่างไร ซึ่งในกิจกรรมครั้งต่อไปคือการสำรวจ ข้อมูลครัวเรือนและข้อมูลสมุนไพร ครั้งที่ 2และนัดประชุมสภาผู้นำครั้งต่อไป ในวันที่ 7 ธันวาคม2558 ที่ประชุมรับทราบ ผู้ใหญ่ได้กล่าวขอบคุณคณะทำงาน และปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้มีการวางแผนทำงานในกิจกรรมครั้งต่อไป
    2. มีการยอมรับกันมากขึ้น
    3. มีการเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
    4. ที่ประชุมได้ทราบถึงปัญหาในหมู่บ้านจากข้อมูล
    5. มีเวทีในการพบปะปรึกษาหารือกัน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่อง การนำสมุนไพรมาใช้ในชิวิตประจำวัน มีบางครัวเรือนที่ทำอยู่แล้ว เราน่าจะนำคร้วเรือนเหล่านี้ มาให้ความรู้กับครัวเรือนที่สนใจ เพื่อประหยัดลดรายจ่ายในครัวเรือนและเพื่อสุขภาพของคนในชุมชนได้อีกด้วย ได้เรียนรู้แผนปฎิบัติ ได้เรียนรู้การวิเคาะห์และวางแผนออกแบบกิจกรรม

     

    20 20

    8. สำรวจสมุนไพรธรรมชาติ ครั้งที่ 2

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจสมุนไพรครั้งที่ 2 มีกิจกรรมดังนี้เริ่มด้วย นางนิรนุช เกิดกุญชร ผู้ใหญ่บ้าน เปิดประชุม คณะทำงาน กลุ่ม อสม. เยาวชน เพื่อเตรียมความพร้อม เตรียมเอกสารในการสำรวจ และมีการแบ่งกลุ่มโดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดก่อนออกสำรวจหลังจากนั้นก็ออกสำรวจตามพื้นที่ ที่ได้รับหมอบหมาย คณะทำงานลงพื้นที่พร้อมกัน สำรวจสมุนไพรในบริเวณพื้นที่ของหมู่บ้าน เช่นในสวนยาง สวนปาล์ม และเขตริมข้างเขาบริเวณหมู่บ้าน ซึ่งมีสมุนไพร ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการสำรวจในวันนี้คณะทำงานได้พบ สมุนไพรชนิดต่างๆ มีทั้งประเภทไม้ยืนต้น ไม้เลือยเช่น บอรเพชรไหลเผือก หญ้ารีแพ พาโหมต้น ชุมเห็ด ย่านนาง ขมิ้นฤษี หญ้าใต้ใบจากนั้น เมื่อ เวลา 12 .00 น. คณะทำงานได้พักร่วมรับประทานอาหารเที่ยงกัน และพักเหนื่อยเพื่อจะเตรียมตัวลงในตอนบ่าย แล้วลงสำรวจพื้นที่อีกรอบ ในการลงสำรวจก็ได้พูดคุยถึงประโยชน์ ของสมุนไพรที่ได้พบมาจากการลงสำรวจ เช่นใบย่านนางมีสรรพคุณในการแก้โรงความดัน โรคเบาหวานขับสารพิษในร่างหาย เป็นต้นว่าสมุนไพรที่มีโดยธรรมชาติ มีมากมายแต่เราไม่รู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สมุนไพรบางชนิดนำมาเป็นยาป้องกันแมลงได้มีบางครัวเรือนที่รักษาโรคด้านสมุนไพร คณะทำงานก็ได้พูดคุยแล้วเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ ที่ลงสำรวจมาวิเคราะห์ว่าสมุนไพรต้วใหนพบมากที่สุด แล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านใหนได้บ้าง มีสรรพคุณอย่างไร และจากการลงสำรวจได้ประโยชน์แก่ผู้สำรวจ และชุมชนอย่างไรจากการลงพื้นที่สำรวจ นอกจากทำให้เกิดกลุ่ม แล้วยังเกิดความสามัคคีในหมู่คณะทำงานด้วย

    กิจกรรมหรือผลงานที่เกิดขึ้น มีการประชุม ร่วมกลุ่มกันก่อนลงพื้นที่สำรวจ เพื่อเตรียมความพร้อมมีคณะทำงาน อสม เยาวชน มีฐานข้อมูลสมุนไพรในหมุ่บ้าน มีกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานของการลงสำรวจพื้นที่ ได้พบสมุนไพรหลายชนิดทั้งประเภทยืนต้น และไม้เลื้อย เช่น ชุมเห็ดย่านนาง หญ้ารีแพ หญ้าใต้ใบ ซึ่งส่วนใหญ่พบบริเวณ สวนยาง และบริเวณข้างเขา และจากการสำรวจทำให้เกิดการเชื่อมความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆ จากหลายๆกลุ่มที่ได้รวมกลุ่มกันมาสำรวจในหิจกรรมครั้งนี้

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ รู้จักการวางแผนการทำงานเป็นลำดับขั้นตอนของคณะทำงาน อสม เยาวชนการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรในชุมชน การเก็บข้อมูลสมุนไพร การแก้ปัญหาในแต่ละกิจกรรม

     

    48 48

    9. สำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพร ครั้งที่ 2

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลสมุนไพรข้อมูลครัวเรือน ครั้งที่ 2 เริ่มกิจกรรมโดยนางนีรนุช เกิดกุลชร ผู้ใหญ่บ้าน พบปะพูดในเรื่องของการลงสำรวจ ว่าให้แบ่งกลุ่มในการสำรวจเหมือนเดิม และให้สำรวจในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ไปสำรวจให้มีการสำรวจทุกครัวเรือน ให้สอบถามตามลำดับขั้นตอนในแบบสำรวจ โดยมีกลุ่ม อสม. เป้นพี่เลี้ยงในการทำกิจกรรมและดำเนินการ เพราะ อสมเป็นผู้ชำนาญการในพื้นที่ และเขตรับผิดชอบของตนเอง โดยแบ่งเป็น 3 เขต รับผิดชอบ จากนั้นคณะทำงาน และกลุ่ม อสม ออกสำรวจพื้นที่ได้ข้อมูล ครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพรทำให้มีข้อมูลในการจัดการปฏิบัติงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการออกสำรวจชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ กรีดยางซึ่งรายได้ไม่พอกับรายจ่ายเป็นผลมาจากราคายางตกต่ำ บางครอบครัวต้องหาอาชีพเสริม การทำบันทึกรายรับ- จ่ายมีครัวเรือนที่ทำน้อย มีหนี้สิน จึงจำเป็นที่บางครอบครัวต้องหาอาชีพเสริม ในส่วนของสมุนไพรที่สำรวจพบในครัวเรือน บริเวณบ้าน ส่วนมาก มีตะใคร้ ขมิ้น กะเพรา หัวเปราะ หัวไพล พรึกไทยดำ ดอกอัญชัญ ใบรา โหระพาการเข้าร่วมกิจกรรมได้ผลตอบรับพอสมควร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินที่ตั้งไว้ แต่มีบางครัวเรือนยังไม่ค่อยเข้าใจโครงการเท่าที่ควร จึงมีการอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น จากการสำรวจทั้ง 3 เขต พบปัญหาคล้ายๆกัน คือ ชาวบ้านบางครัวเรือนยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำแบบสอบถาม และบางครัวเรือนยังไม่ค่อยเข้าใจถึงโครงการ ในสวนใหญ่จากการสำรวจมีสมุนไพรตามบริเวณบ้านมาก แต่ไม่สามรถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีสมุนไพรบางตัวที่ชาวบ้านไม่รู้จักว่าเป็นสมุนไพรสามรถใช้ประโยชน์ได้ ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุได้ร่วมกันเป็นที่ปรึกษาแนะนำ ในบางส่วนที่รู้ และผู้ออกสำรวจเป็นอย่างดีได้ช่วยอธิบายให้ชาวบ้านอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง ลดสร้างหนี้ เพิ่มรายได้เข้าครอบครัว โดยใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นประโยชน์ เพื่อลดปัญหาลงได้บ้าง ไม่มากก็น้อย และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของโครงการ เมื่อได้ข้อมูลหัวข้อมาแล้ว คณะทำงานจะเก็บเอกสารข้อมูลไว้เพื่อทำแผนกิจกรรมต่อไปในการปฏิบัติตามแผนต่อไปผู้ใหญ่ได้กล่าวขอบคุณทีมงาน และผู้ร่วมทำกิจกรรมทุกคนและนัดทำกิจกรรมต่อไปของโครงการ ผลที่เกิดขึ้น คณะทำงาน กลุ่ม อสมออกสำรวจพื้นที่ข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพร ว่ามีสมุนไพรชนิดใหนบ้าง จากการสำรวจพบทั้งที่มีธรรมชาติ และปลุกกันเองสมุนไพรครัวเรือน ส่วนมากพบ ตะใคร้ ขมิ้น กะเพรา หัวเปราะ หัวไพล พรึกไทยดำ ดอกอัญชัญ ใบรา โหรพาคณะทำงานก็ได้ปรึกษาว่าอันใหนที่มีมาก น้อยแล้วนำมาใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง ไม่ว่า จะกิน หรือ เป็นยารักษาโรค หรือแปรรูป ไว้ใช้ในครัวเรือน ลดปัญหารายจ่ายลงได้มั้ง ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญเพื่อสุขภาพของคนในชุมชนลดการใช้สารเคมี มาใช้สมุนไพรแทน และยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยปรับสภาพสิ่งแวดล้อมไปได้ในตัว

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ การทำงานเป็นระบบ เป็นทีม มีกระบวนการวางแผนในการออกสำรวจแต่ละครัง ได้รับคำแนะนำจากผู้สูงอายุ และปราชญ์ชาวบ้านที่มีส่วนร่วมของกิจกรรม ได้ทำงานกับกลุ่มหลายวัย ได้รู้จักพื้นที่ในชุมชนมากขึ้น

    สิ่งที่เกิดขึ้นเกินความคาดหมาย การร่วมกลุ่ม คณะทำงาน อสม. มีฐานข้อมูลชุมชน ได้ทำความเข้าใจในชุมชนมากขึ้น ทำความเข้าใจในด้าน พื้นที่ที่ลงสำรวจ ได้เข้าถึงครัวเรือนได้สัมผัสจากคนหลายกลุ่มวัย ทำความเข้าใจกับชุมชนได้ดียิ่งขึ้น

     

    20 20

    10. จัดทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 1

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้นำหมู่บ้าน นางนีรนุช เกิดกุญชร ได้เชิญครัวเรือนเป้าหมาย เข้าร่วมโครงการจัดทำบัญชีครัวเรือน แผนการลดรายจ่ายละเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยแกนนำร่วมกันคิด และจัดทำบัญชีครัวเรือนบบชุมชนบ้านไร่เหนือ โดยให้กลุ่มเป้าหมาย แบ่งทีมของแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 10 แต่ละกลุ่มมีผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน วัยทำงาน 5 คน นักเรียนหรือเยาวชน 3 คน และประชาชนทั่วไป 10คน โดยวิทยากร ผู้ชำนาญการจัดทำบัญชีครัวเรือน มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ของการใช้เงิน การทำบัญชีครัวเรือนสามารถรู้แหล่งเงินที่มาที่ไปของเงิน ชาวบ้านได้เรียนรู้ถึงการออมเงิน จะได้รู้ถึงไหนจำเป็น สิ่งไหนฟุ่มเฟือย 11.30น ร่วมรับประทานอาหาร 13.00น. วิทยากร บรรยายการลงบันทึกบัญชีต้นทุนการประกอบอาชีพการคิดกำไรขาดทุนจากการประกอบอาชีพ การบันทึกรายได้ ต้นทุนค่าใช้จ่าย การคิดค่าแรงงานตนเอง รายได้หลัก รายได้เสริม ให้ทุกคนไปทำต่อที่บ้าน และนัดหมายมาพบกันนเดือนถัดไป 15.00น. เลิกประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลงานที่เกิดขึ้น:

    เชิญหัวหน้าครัวเรือนเข้าร่วมโครงการฯ มาเรียนรู้เรื่องการจัดการจัดทำบัญชีครัวเรือน แผนการลดรายจ่ายและการเพิ่มรายได้ของครัวเรือนโดยแกนนำร่วมกันคิดและจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบชุมชนบ้านไร้เหนือ

    ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น:

    • เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องบัญชีครัวเรือน
    • กำหนดกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม
    • มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน

     

    100 100

    11. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.30น.ได้พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานทำกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อม และบันทึกกิจกรรมรายงานกิจกรรม ที่เกิดขึ้น และไม่พบ สจรส.มอ.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เรียนรู้; 1.การเขียนรายงานและการเงิน การบันทึก รายงานลงโปรแกรม การประเมินผล คุณภาพกิจกรรม 2.การเก็บรวมรายงานใน 1กิจกรรม เอกสาร -รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม -ใบเสร็จรับเงิน 1ใบเสร็จ -สำเนาบัตรประชาชน ผู้รับเงิน 2.2เอกสารทางภาษี 2.3รายงาน บันทึกการทำกิจกรรม 3.การหักภาษี ออกภาษีหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ภงด.3 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลงานที่เกิดขึ้นจริง: -เข้าร่วมกิจกรรมของ สสส. -เข้าใจการเขียนโครงการฯ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง:การเรียนรู้การทำรายงาน เรียนรู้การทำรายงานการเงิน เรียนรู้การหักภาษี ณ ที่จ่าย สิ่งที่เกินความคาดหมาย:การเรียนรู้การหักภาษี ณ ที่จ่าย

     

    2 2

    12. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 3

    วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาครั้งที่ 3 ณ ศาลาประจำหมู่บ้านบ้านไร่เหนือซึ่งเริ่มด้วย นางนีรนุช เกิดกุญช รผู้ใหญ่บ้านไร่เหนือได้เปิดประชุม ซึ่งมีคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือน ธันวาคม 2558 วึ่งประชุมตามแผนในกิจกรรมสภาผู้นำชุมชนเดือนละครั้ง เพื่อพบปะพูดคุยในเรื่องของการทำกิจกรรม ว่าแตละกิจกรรมมีปัญหาอะไรบ้างที่พบซึ่งจากการได้ประชุมพูดคุยกันในที่ประชุม ได้พบปัญหาในการทำกิจกรรมจากที่ได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนในครั้งที่ผ่านมา เช่น ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีครัวเรือนไม่ค่อยเข้าใจในการเขียน รายรับ รายจ่ายเท่าที่ควร บางครัวเรือนก็เข้าใจง่าย และมีการออมเงิน ครัวเรือนใหนที่เข้าใจ ก็ช่วยอธิบายวีธีการเขียนบัญชีรายรับรายจ่ายให้กับครัวเรือนอื่นๆในกลุ่มเป้าหมาย แต่ก็ยังไม่เข้าใจเท่าที่ควร คณะทำงานจึงได้ปรึกษากันว่าจะออกแบบการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ที่ชาวบ้านเข้าใจได้ง่าย และสะดวกต่อการลงบัญทึก และไม่ซับซ้อนมากเกินไป ประธานได้คุยและนัดทำกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งต่อไป ในเดือน มกราคม 2559 นัดคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน ดูและวางแผนในการทำกิจกรรมในโครงการนัดการอบรมการทำบัญชีครัวเรือนในครั้งต่อไป นางนีรนุช เกิดกุญชร ได้กล่าวขอบคุณสภาผู้นำทุกคนที่เข้าร่วมประชุม

    กิจกรรมหรือผลงานที่เกิดขึ้น ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน คณะทำงาน พุดคุยปัญหาของคนในชุมชน มีบางครัวเรือนไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีครัวเรือนไม่ค่อยเข้าใจในการเขียนรายรับ รายจ่ายเท่าที่ควร จึงได้มาคิดวิเคราะห์หาวิธีแก้ไขด้วยการออกแบบแบบการบันทึกการทำบัญชีครัวเรือน ที่บันทึกรายรับ รายจ่ายให้ชาวบ้านเข้าใจได้ง่ายที่สุด และสามารถลงบันทึกได้ โดยไม่ซับซ้อนและติดตามความคืบหน้าร่วมกันอย่างน้อยเดือนละ ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้มีการวางแผนทำงานในกิจกรรมครั้งต่อไป
    2. ได้ทราบถึงปัญหาจากการทำกิจกรรม คือ การไม่เข้าใจในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนเท่าที่ควร
    3. คณะทำงานได้ปรึกษาและคิดร่วมกันในการหาทางแก้ไขปัญหาการทำบัญชีครัวเรือน คือ การออกแบบสมุดบันทึกใหม่ที่ทำได้ง่ายและเป็นที่เข้าใจของคนในชุมชน

     

    20 20

    13. จัดทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2

    วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำครัวเรือนที่เข่าร่วมโครงการมาเรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน มาพร้อมกันเวลา 09.00น.เพื่ออบรมการทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2 หัวหน้าโครงการให้ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกันทำบัญชีครัวเรือนมาเล่าให้ฟังว่าตนเองได้อะไรจากการทำบัญชีครัวเรือน พบข้อมูลอะไรที่เป็นรายจ่ายฟุ่มเฟือย และมีแนวทางการปลับลดอย่างไร ครั้งนี้จะทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทั้งหมดเป็นสาเหตุของปัญหา ตัวแทนผู้เข้าอบรมได้ให้ นงจิรพร เกิดเกลี้ยง เป็นผู้อธิบายถึงสาเหตุและปัญหาต่างๆ ของของครัวเรือนสาเหตุที่เป็นหนี้เพราะมีรายจ่ายมากกว่ารายรับมียอดจ่ายที่ฟุ่มเฟือย ไมพอกับรายรับ จึงก่อให้เกิดหนี้ตามมา รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย เช่นเล่นหวย ซื้อของแพง ฟุ่มเฟือย หลังจากทำบัญชีครัวเรือนจึงได้สาเหตุใดที่ตนเอง เป็นหนี้สินมากมาย ทำบัญชีครัวเรือนสามารถบอกความเป็นอยู่ของเราให้ดีขึ้นได้ 12.00น. ร่วมรับประทานอาหาร 13.00น. เข้าอบรมต่อช่วงบ่าย มีวิทยากรได้สอนการจัดทำบัญชีครัวเรือนจากการทำบัญชีครัวเรือนจากการทำบัญชีครัวเรือนแล้วได้เรียนรู้รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย อะไรคือรายจ่ายที่จำเป็นและมีการปรับลดรายจ่ายอะไรบ้าง จากข้อมูลที่ชาวบ้านเข้าเรียนรู้จัดทำบัญชีแต่ละเดือนสามารถลดรายได้มีเงินออมแต่ละเดือน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันพร้อมทั้งแก้ไขมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เราจะทำอย่างไรห้มีเงินเก็บเงินออม 15.00น. เลิกการอบรม

    แกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมาเรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน มาพร้อมกันเวลา 9.00 น เพื่ออบรมการทำบัญชีครัวเรือนของครังที่ 2หัวหน้าโครงการให้ตัวแทนที่เข้าร่วมจัดทำบัญชีครัวเรือน มาเล่าให้ฟังว่าตนเองได้อะไรจากการทำบัญชีครัวเรือน พบข้อมูลอะไรบ้างที่เป็นรายจ่ายฟุ่มเฟือย และมีแนวทางการปรับลดรายจ่ายในครัวเรือน ในเรื่องการที่เรามีทุนในชุมชนนี้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนได้บ้าง ครั้งนี้จะทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทั้งหมดเป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆของครัวเรือน สาเหตุที่เป็นหนี้ เพราะมีรายจ่าย มากกว่ารายรับ จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น เล่นหวย เปลี่ยนโทรศัพท์อยู่เรื่อย เห่อกับวัตถุนอกกายของเหล่านี้ก่อให้เกิดหนี้ตามมาทีหลัง หลัง จากการทำบัญชีครัวเรือนจึงได้รู้ว่าสาเหตุใดที่ตนเอง เป็นหนี้มาก การจัดทำบัญชีครัวเรือนสามารถเห็นถึงความเป็นอยู่ของเราในแต่ละวัน แต่ละเดือน และคนในชุมชนสามารถปรับตัวในการดำรงชีวิตประจำวันได้ และครัวเรือนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ชุมชนน่าอยู่

    ผลงานที่เกิดขึ้น มีตัวแทนที่เข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือนมาเล่าให้ฟังว่าได้อะไรจากทำบัญชีครัวเรือน และมีแนวทางปรับลดอย่างไร โดยให้ชาวบ้านหันมาใช้ทุนที่มีในชุมชน มาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนลง ไม่จ่ายของฟุ่มเฟือย ให้ชาวบ้านจัดทำบัญชีในครัวเรือน เพื่อที่จะได้รู้ถึงรายรับ รายจ่ายในครัวเรือน และสามารถปรับตัวในการดำรงค์ชีวิตประจำวันได้ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลงานที่เกิดขึ้น:มีตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือนมาเล่าให้ฟังว่าได้อะไรจากการทำบัญชีครัวเรือน และมีแนวทางปรับลดอย่างไร

    ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น:

    • สมาชิกได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน รายรับรายจ่ายเพิ่มเติม
    • ครัวเรือนเป้าหมายมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีการบันทึกข้อมูลรายรับ รายจ่ายของครัวเรือน
    • ได้เรียนรู้จากการทำบัญชีครัวเรือนรายรับรายจ่ายในครัวเรือน โดยรู้ถึงสาเหตุที่มีค่าใช้จ่ายสูง ได้รู้สถานะของตนเองในการใช้จ่าย และแนวทางในการปรับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อใ้ห้รายรับพอกับรายจ่ายเช่น ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การเล่นหวย ลดการเปลี่ยนหรือซื้อวัตถุนอกกายบ่อย ๆ ไม่หลงตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ เน้นที่การใช้จ่ายที่จำเป็นในครัวเรือน ใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์

     

    100 100

    14. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 4

    วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านไร่เหนือครั้งที่ 4 ณ ศาลาประจำหมู่บ้านบ้านไร่เหนือ เริ่มด้วย เปิดประชุม เวลา 13.00 โดยนาง นีรนุช เกิดกุญชร เป็นประธานการประชุม มีคณะทำงาน สภาผุ้นำ กลุ่ม อสม เข้าร่วมประชุมประจำเดือน ประธานได้ชี้แจงการทำงาน ของคณะทำงาน ซึ่งมีหัวข้อดังนี้ ปํญหาในการลงพื้นที่ บางครัวเรือนที่ไม่ตอบรับและไม่ให้ความร่วมมือ นั้นมีน้อยลง และเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเพิ่มขึ้น บางครัวเรือนมีความสุข สนุกกับกิจกรรมของโครงการ ซึ่งได้พุดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในเรื่องของโครงการ สมุนไพรสร้างความสามัคคี และลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ ว่าชุมชนของเราส่วนใหญ่มีสมุนไพรทั้งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่ปลูกกันเอง เราน่านำสมุนไพรเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ เพื่อสุขภาพ และลดรายจ่ายในครัวเรือนได้บ้าง และได้พูดคุยกับผู้สูงอายุในพื้นที่ มีผู้สุงอายุส่วนใหญ่ร่วมมือกับกิจกรรม และสนใจ แล้วยังบอกสรรพคุณของสมุนไพรที่มีในพื้นที่ ว่านำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย คณะทำงานก็ได้ฟัง แล้วเก็บข้อมูลมาใช้ในการทำกิจกรรมครั้งไปการนัดประชุมครั้งต่อไปของเดือน กุมภาพันธ์ 2559 ดูตามแผนการปฏิบัติงาน ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะดำเนินการ กิจกรรมใดบ้างที่ต้องเพิ่ม การนัดประชุมผ่านคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะทำงานผู้ใหญ่ได้กล่าวขบคุณผู้เข้าร่วมประชุม และปิดเวทีการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้มีการวางแผนทำงานในกิจกรรมครั้งต่อไป
    2. มีการยอมรับกันมากขึ้น
    3. มีการเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
    4. มีฐานข้อมูลชุมชนเพื่อดำเนินกิจกรรมของโครงการ มีการประชุมคณะทำงานต่อเนื่อง มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนของชุมชนในครั้งต่อไป

    กิจกรรมหรือผลงานที่เกิดขึ้น ได้แก่

    ประชุมสภาชุมชนประจำเดือน มกราคม2559มีผู้เข้าร่วมประชุมตามกลุ่มเป้าหมายมีคณะทำงาน กลุ่ม อสม ได้ รายงานผลการปฏิบัติงาน ละกิจกรรมที่ผ่านมา ว่าชุมชนของเรายังมีสมุนไพรที่มีโดยธรรมชาติและปลูกกันเองตามบริเวณข้างบ้าน ที่สำรวจพบ ทั้งชนิด ยืนต้น เถาวัล์ และที่ปลูกกันเองบริเวณบ้าน มี ตะใคร้ ขมิ้น กะเพราหัวเปราะ หัวไพล พรึกไทยดำ ดอกอัญชัญ ใบรา โหระพาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มี บอรเพชร ไหลเผือก หญ้ารีแพร พาโหมต้น ชุมเห้ด ย่านนาง ขมิ้นฤษี หญ้าใต้ใบ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์มองข้ามของเหล่านั้นยังขาดความเข้าใจในการไปใช้ไประโยชน์และไม่เห็นคุณค่าของที่มีในชุมชนประชาชนมีน้อยมากที่ทำบัญทึก รายรับรายจ่ายเพราะฉะนั้นเราต้องให้ประชาชนได้ลงบัญทึก รายรับ จ่ายในแต่ละวัน แต่เราต้องหารูปแบบในการลงบัญทึก ให้ชาวบ้านเข้าใจได้ง่ายที่สุด และเขาสามารถลงได้ง่ายกระทัดรัด

     

    20 20

    15. ติดตามผลงานร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.30น. ได้ไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตาม ผลงานของกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ สจรส.มอ. ตรวจหลักฐาน
    1.มีการบันทึกกิจกรรม แบบบันทึกผลกิจกรรม สิ่งที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ ผลกระทบ รายงานกิจกรรม เพื่อบันทึกข้อมูลในเอกสารเรียนร้อย ให้พิมพ์เข้าโปรแกรมออนไลน์ แต่ละกิจกรรมให้โหลดรูปภาพ 2.หลักฐานการเงิน -ดำเนินตรวจสอบหลักฐานทางการเงิน -ตรวจสอบยอดเงินโครงการฯ และบันทึกออนไลน์ -ตรวจสอบการเขียนเงินสด -ตรวจสอบหลักฐาน สมุดบัญชีธนาคาร ต้องดำเนินกิจกรรมใช้เงินมากกว่าร้อยละ 60 3.หลักฐานประกอบการดำเนินงาน -ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม -หลักฐานการเบิกจ่ายเงิน 4.บันทึกช่วยจำ -บันทึกข้อมูลเข้าโปรแกรมออนไลน์ให้เรียบร้อย -หลักฐานการเงินต้องถูกต้อง ครบถ้วน -ปิดงวดส่งเอกสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลงานที่เกิดขึ้น:มีการบันทึกกิจกรรม รายงานกิจกรรมไว้สำหรับ สสส.ตรวจสอบ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น:

    • มีแบบบันทึกกิจกรรม
    • มีหลักฐานการเงินครบถ้วน
    • มีหลักฐานประกอบการดำเนินงานสมบูรณ์ครบทุกกิจกรรม

     

    2 2

    16. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 5

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านไร่เหนือครั้งที่ 5 ณ ศาลาประจำหมู่บ้านบ้านไร่เหนือ
    เริ่มด้วย นางนิรนุชเกิดกุญชร ผู้ใหญ่บ้าน เปิดการประชุม มีสภาผู้นำชุมชน ตามกลุ่มเป้าหมาย มาประชุมกันและพูดคุยถึงกิจกรรมที่ผ่านมาว่าได้รับการตอบรับของชุมชนได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี จากการลงพื้นที่ในการทำกิจกรรม ได้พูดคุยกับชาวบ้านในเรื่องของโครงการที่ได้รับสนับสนุนของ สสส เข้ามาในชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของโครงการ มีบางครัวเท่านั้นที่ไม่ให้ความร่มมือ ไม่ยอมรับฟัง ไม่สนใจ แต่ก็มีน้อย ส่วนใหญ่ก็สนใจและยินดีให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุให้คำแนะนำเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีในชุมชน และยังให้ความรู้กับสมุนไพรในด้านการใช้ประโยชน์ ไม่ว่ากิน หรือใช้เป็นยารักษาโรค และคณะทำงานได้คุยในปัญหาที่พบ ในเรื่องว่าชาวบ้านได้มองข้ามทุนที่มีอยู่ในชุมชน และไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ จึงปรึกษากันว่า จะต้องส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่องสมุนไพร และให้เรียนรู้ถึงการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน และให้เห็นคุณค่าของทุนในชุมชนจากนั้นก็ได้ทำบัญชีปิดงวดแรกของโครงการ ในการพบพี่ลี้ยง ให้นาง จิราภร พลประมวล นางขวัญใจ ชูทอง เป็นผู้พบพี่เลี้ยงทำเอกสารบัญชีของโครงการ และดูแผนปฏิบัติงานครั้งต่อไป จะต้องเตรียมความพร้อม นัดคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลของกิจกรรมการทำปิดงบงวดแรก ในวันเสาร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 ที่มหาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับหมอบหมายให้ นาง จิราภร พลประมวล และนาง ขวัฐใจ ชูทอง ไปทำรายงานปิดงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมหรือผลงานที่เกิดขึ้น ผู้ใหญ่เปิดการประชุม มีสภาผู้นำมาประชุมครบตามเป้าหมาย มาประชุมรายงานแผนปฏิบัติงานของกิจกรรมที่ผ่านมา มีกลุ่มผู้สูงอายุให้คำแนะนำเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีในชุมชนและคณะทำงานได้พูดคุยถึงปัญหาที่พบ ว่าชาวบ้านได้มองข้ามทุนที่มีในชุมชน ไม่สามรถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้ จึงปรึกษากันว่าจะต้องส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่องของสมุนไพร และให้เรียนรู้ถึงการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้เข้าครัวเรือนและส่งเสริมในการดูแลสุขภาพในด้านสมุนไพรของชุมชน

    ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง มีการประชุมคณะทำงานต่อเนื่อง มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างวัย มีเวทีพบปะพูดคุยปรึกษาหารือในเรื่องการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ในส่วนปัญหาที่พบก็คล้ายกัน คือ มีบางครัวเรือนไม่ให้ความร่วมมือ ไม่สนใจกับโครงการ และครัวเรือนที่สนใจกับโครงการแต่มองข้ามทุนที่มีอยู่ ในชุมชน ไม่รู้ในการนำไปใช้ประโยชน์ คณะทำงานจึงปรึกษาว่าจะนำกลุ่มเหล่านี้ มาให้ความรู้ด้านสมุนไพรและทำให้เกิดกลุ่มเรียนรู้ เพื่อที่จะได้เป็นตัอย่าง และดึงบางครัวเรือนที่ไม่สนใจ มาเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ

    สิ่งที่เกิดขึ้นเกินความขาดหมาย มีแผนการปฏิบัติงาน มีการแบ่งความรับผิดชอบตามความเหมาะสม ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ลดการขัดแย้งในชุมชน
    สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ มีความร่วมมือ ความพร้อมในการทำกิจกรรม คณะทำงานมีความสามัคคีและรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในแต่ละกิจกรรม และสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด

     

    20 20

    17. ปิดรายงานงวดร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินทางมาพบพี่เลี้ยง รพ.สต. เขาพระบาท เพื่อดำเนินการปิดงวดครั้งที่ 1 ได้เรียนรู้ในเรื่อง: -การตรวจหลักฐานการทำงายงาน -การลงบันทึกโปรแกรมออนไลน์ -การลงรูปภาพ -การลงบันทึกรายรับรายจ่าย ได้เรียนรู้การแก้ไขดังนี้ -การเขียนบันทึกรายงานลงโปรแกรมออนไลน์เรื่องบัญชีครัวเรือน -ใบสำคัญรับเงิน -การเปลี่ยนแปลงวันที่ทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถรวบรวมเอกสารการดำเนินกิจกรรมได้ครบถ้วนทุกกิจกรรม และได้แก้ไขในบางกิจกรรมได้เรียบร้อย โดยได้เรียนรู้ ได้ความรู้ในการทำบัญชีทางการเงินเพิ่มขึ้นจากการตรวจเอกสารร่วมกับพี่เลี้ยง

     

    2 2

    18. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันนี้เป็นกิจกรรมการติดตามและ พบพี่เลี้ยงพื้นที่และ สจรส.มอโดยตัวแทนโครงการ 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปิดรายงานงวดที่ 1 ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้นำเอกสารให้ สจรส.มอ.ตรวจสอบเอกสาร รายงานผลการดำเนินงาน และพี่เลี้ยงได้แนะนำมาให้ปรับปรุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

    1.1 มีการประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 1 กับ สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง

    2.ได้ทราบถึงสิ่งที่ต้องแก้ไขจากการตรวจรายงานและการตรวจเอกสาร ดังนี้
    2.1 ค่าถ่ายเอกสารบิลร้านไม่ถูกต้อง
    -แก้ไขโดยไปขอบิลจากร้านมาใหม่และในการบันทึกให้บันทึกในค่าใช้สอย -ขาดใบสำคัญรับเงินของผู้ประสานงานในบางกิจกรรมแก้ไขโดยการไปขอใบเสร็จรับเงินมา

    2.2 ลงไม่ถูกหมวด
    -การเขียนกิจกรรมไม่ตรงกันแก้ไขโดยการไปบันทึกใหม่ และดูกิจกรรมให้สอดคล้องกัน รูปถ่ายกับกิจกรรม ไม่สัมพันธ์ กับจำนวนกิจกรรมเป้าหมายแก้ไข โดยเก็บกิจกรรมเสริม การเขียนผลลัพธ์กว้างเกินไป การเขียนผลลัพธ์ยังไม่สัมพันธ์แก้ไขโดยการบันทึกใหม่

     

    2 2

    19. สำรวจสมุนไพรธรรมชาติ

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้าน และคณะทำงานกลุ่มเป้าหมายได้ออกสำรวจข้อมูลสมุนไพรที่มีตามธรรมชาติที่มีในชุมชน โดยการแบ่งที่ละกลุ่มในการออกสำรวจข้อมูล โดยแบ่งกลุ่มละ 6 คน จำนวน 8 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มมีผู้เชี่ยวชาญเรื่องสมุนไพรช่วนแนะนำและให้ความรู้ซึ่งบางตัวไม่รู้จักทั้งๆ ที่พบบ่อย และมีแบบฟร์อมในการกรอกข้อมูล ในหมู่บ้านจะแบ่งเป็น 3 เขต
      เขตที่ 1 จำนวน 3 กลุ่ม
      เขตที่ 2 จำนวน 2 กลุ่ม
      เขตที่ 3 จำนวน 3 กลุ่ม
      แต่ละกลุ่มออกสำรวจสมุนไพรธรรมชาติตามเขตที่แบ่งกัน
      *เขตที่ 1 เริ่มจากบ้าน นาง สาคร ภักดีนุฤทธิ์ ได้ออกสำรวจในบริเวณป่าของหมู่บ้าน สมุนไพรที่พบมาก -มีชะพลู หญ้าใต้ใบ ชิงดอกเดียว สมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมาต้มดื่่ม เพื่อรักษาร่างกายได้
      -ไหลเผือก รักษาเข็ดเมื่อย
      -รางจืด ต้นพาโหม รักษาโรคท้องอืด
      -ต้นกระดูกไก่ แก้เข็ดเมื่อย
      -ขมิ้นฤาษี แก้ความดัน โรคเลือดของผู้หญิงได้เป็นอย่างดี -คางคาวดำ ใช้ต้มกิน
      -เทพทาโรหรือไม้จวง ทำเป็นยาลม ขับลม
      -เหมาเหล็ก ฟ้าทะลายโจร หญ้าหนวดแมว รักษานิ้ว ขับปัสสาวะ
      -เพ็ตรสังฆาต ขับลมบรรเทาโรคริดสิดวง
      -ขี้เหล็ก แก้อาการท้องผูก -บอระเพ็ด แก้ใข้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
      -เหงือกปลาหมอ รักษาโรคภูมแพ้ ผื่นคัน
      -กำลังเสื้อโคร่ง พาโหมต้น หัวไพร ย่านางสมุนไพรตัวนี้จะช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกาย ดับพิษใข้ สมุนไพรตัวนี้จะพบมากใน 3 เขต ชุมเห็ดเทศ ใช้ขับพยาธิในลำใส้ แก้โรคผิวหนัง
      *เขตที่ 2 ที่พบมากมี -ย่านาง ชะพลู เสลดพังพอน ใช้ถอนพิษงู แมลงสัตย์กัดต่อย
      -กระทกรก บำรุงสมอง
      -กระทือ แก้ท้องอืด
      -ขมิ้นอ้อย เพกา หัวไพร ไมยราบ เหงือกปลาหมอ หมากบก หมากแห้ง
      *เขตที่ 3 เริ่มจากบ้านนาย เสนีย์ พรหมสังข์ สมุนไพรที่พบมาก เหมือนกับเขตที่ 1 พบมากมี ชะพลู ไหลเผือก ไมยราบ หญ้าใต้ใบ ขี้เหล็ก ย่านาง หญ้าแห้วหมุ เข็มป่งเมื่อเสร็จการออกสำรวจข้อมูลทุกคนมารวมกลุ่มกันที่หอประชุมของหมู่บ้าน โดยมีการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหา และอุปสรรค์ในการออกสำรวจครั้งนี้ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ที่พบ นางมณฑา นาคแก้ว ได้พูดถึง การที่เราขาดความรู้เรื่องสมุนไพรไม่ค่อยรู้จักทั้งๆ ที่มีอยู่มากมายและเป็นของไกลตัวซึ่งบางชนิดเรามองข้ามนึกไม่ถึงว่าเป็นสมุนไพรบ้างที่อยู่ข้างทางถนน นาย สมคิด ได้พูดว่าบางครัวเรือนไม่ค่อยสนใจไมาให้ความร่วมมือ แต่จากการสำรวจน้อยครัวเท่านั้นที่ให้ความสนใจ ส่วนใหญ่จะให้ความร่วมมือ และเล็งเห็นถึงประโยชน์ ซึ่งไม่ต้องลงทุน เพียงแต่อย่ามองข้าม จากนั้นคณะทำงานได้ขอบใจทุกคนที่ออกสำรวจข้อมูลในครั้งนี้ รอบต่อไปเราจะมาเก็บข้อมูลทางคณะทำงานและผู้ใหญ่จะนัดอีกครั้ง ทุกคนแยกย้ายกันกลับบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีคณะทำงานและกลุ้มเป้าหมาย 48 คน
    2. ได้รู้จักสมุนไพรเพิ่มขึ้น
    3. สามารถนำสมุนไพรที่ทำการสำรวจและเล็งเห็นแล้วว่าไม่มีในหมู่บ้านนำมาปลูกเพิ่มได้
    4. เพื่อสืบทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักสมุนไพร

    ผลลัพธ์

    1. มีกิจกรรมอบรมเรียนรู้เรื่องสมุนไพรที่มีในชุมชน สามารถนำมาแปรรูปและรักษาโรคได้ ซึ่งมีหลายชนิด
    2. เกิดกระบวนการวางแผนการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน
    3. มีการรวมกลุ่มและเกิดความสามัคคีในกลุ่ม
    4. ครัวเรือนได้มีส่วนรวมในกิจกรรมของโครงการ

     

    48 48

    20. ร่วมสืบสานสมุนไพรบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 1

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมวันผู้สูงอายุ กิจกรรมจัดที่ รพ.สต.ไร่เหนือ มีกิจกรรมหลายอย่าง ช่วงเช้า มีการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุมีวัดความดันกัดกลองเบาหวานตรวจสุขภาพทั่วไปจากเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม. กิกรรมทางศาสนานิมนต์พระ กิจกรรมร่วมสมุนไพรร่ายเหนือจัดกิจกรรม 2 กิจกรรม มีกิจกรรมการการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรในชีวิตประจำวัน แลกเปลี่ยนความรู้พุดคุยกัน คุรลุง หนูนิด ไทยเล็ก เป็นผู้ให้ความรู้ท่านได้คุยถึงสมุนไพรไกลตัวที่เราควรรู้ เช่น กระเทียม นำมาประกอบอาหาร และเป็นยารักษาโรค ขมิ้นก็เช่นกัน นำมาประกอบอาหาร ยารักษาโรค เสริมความงาม ขมิ้นนำมาบดทำเป็นแคปซูน รักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดกลิ่นคาวได้ นำมาขัดตัวถูตัวได้ ทำในรูปแบบสบู่ขมิ้น ครีมขมิ้น กระเพรานำมาต้มกิน แก้ท้องอืด แน่นท้อง หรือจะตากแห้ง ทำเป็นชาสมุนไพร ลุงได้ถามว่า ผู้ร่วมกิจกรรมใครมีเรื่อวงจะคุยเกี่นวกับสมุนไพรตัวใหนบ้าง ให้พูดคุยได้ ลุงประเสริฐ นุ่นสุวรรณ ได้พูดคุยเรื่องยารักษาโรคหากมีใข้ ให้ใช้ฟ้าทะลายโจร นำมาต้มกิน หญ้าหนวดแมว มีสรรคุณแก้ใข้ เช่นกัน ใบย่านางเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย ชะพลู นำมาต้มกิน รักษาเบาหวาน ชุมเห็ดเทศ รักษาริดสิดวงจมูก ระบบขับถ่ายดี กระชาย หัวทือ หัวไพล ที่มีช้างๆบ้ารเรามีคุณประโยชน์ทั้งนั้นนำมากินสดๆๆกะได้หรือทำเป็นตากแห้ง ขี้เหล็ก เป็นยาทั้งนั้นและยังมีสมุนไพรอีกมามาย ที่เรายังต้องเรียนรู้และศึกษา กิจกรรมที่ 2 คือการเรียนรู้การทำน้ำสมุนไพร มีกลุ่มสตรี เข้ามาช่วยในการสอนแนะวิธีทำน้ำสมุนไพรเพื่อสร้่งรายได้ในครัวเรือน วันนนี้ ทำน้ำมะขามกับน้ำใบเตย ต้มใส่น้ำตาล เกลือเล็กน้อย ความหวานไม่ต้องมาก ตั้งไว้ให้เย็นตักใส่ขวด น้ำย่านางใบเตย นำใบย่านางมาปั้นเอาแต่น้ำกรองด้วยกระชอน หรือผ้าขาวบาง นำตั้งไฟ เติมน้ำเล็กน้อย ใส่ใบเตย เติมน้ำตาลตามชอบน้ำดอกอัญชัน นำดอกมาแช่น้ำ กรองเอาแต่นำ้ นำน้ำตั้งไฟใส่น้ำอัญชัน เติมน้ำตาลตามชอบ ตั้งให้เย็นกรอกใส่ขวด น้ำกระเจี๊ยบ นำดอกกระเจี๊ยบมาต้ม กรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำตาลเกลือเล็กน้อย พักไว้ให้เย็น กรองใส่ขวด น้ำสมุนไพรหากเราทำขาย หรือทำไว้ดื่มเองกะได้ แทนการดื่มน้ำอัดลม สามรถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน น้ำสมุนไพรที่ทำวันนี้เอาแจกผู้เข้าร่วมกิจกรรม ยังมักิจกรรมของผู้สูงอายุต่อในช่วงบ่าย เป็นการแข็งขันกีฬาพื้นบ้าน เช่น การแตะปี๊บ ปิดตาตีหม้อ ตีกอฟคนจน โยนใข่ ร้องเพลงกล่อมเด็ก เป็นกิจกรรมสร้างความสามัคคี ความสนุก ให้กับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก กิจกรรมของโครงการสืบสานสมุนไพร ผู้สุงอายุให้การตอบรับและมีประโยชน์มากได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพร การทำน้ำสมุนไพรต่างๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย 100 คน ได้ร่วมกันทำกิจกรรม

    ผลลัพธ์

    1. คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมผู้สุงอายุของ รพ.สตไร่เหนือ
    2. ได้นำกิจกรรมร่วมสืบส่านเข้าร่วมมีการบรรยายพูดคุยเรื่องสมุนไพรใกล้ตัว
    3. มีการทำน้ำสมุนไพรมาเลี้ยงในกิจกรรมวันผู้สุงอายุด้วย

     

    100 100

    21. เรียนรู้การขยายพันธุ์สมุนไพร ครั้งที่ 1

    วันที่ 1 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้าน คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม เรียนรู้เรื่่องการขยายพันธ์สมุนไพร ผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจงในที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะทำงานเป็นผู้ดำเนินการ
    • คณะทำงานได้เชิญปราชญ์ชุุมชนมาพูดคุยให้ความรู้กับคนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เชิญคุณลุง ถนอม บัวเนี้ยว เป็นผู้บรรยายและให้ความรู้เรื่องสมุนไพร เรียนรู้การขยายพันธืสมุนไพร และวันนี้ท่านก็มาคุยสมุนไพรหลายตัว เช่น
    1. มะกรูดท่านว่าเป็นสมุนไพรยืนต้น มีคุณประโยชน์มากมาย ใช้ได้ตั้งแต่ราก ลำต้น ใบ ผล รากมะกรูดมีรสจืด สามรถ ช่วยอาการใข้ แก้ลม จุกเฉียด แก้พิษฝี ผิวมะกรูด แก้อาการนอนไม่หลับ เป็นยาบำรุงหัวใจ นำมาต้มดื่ม ใบมะกรูด แกเอาการไอ อาเจียนเป็นเลือด มะกรูดนำมาทำยาไล่ยุ่ง ไล่แมลง ทำยาสระผม แชมพูมะกรูด ดับกลิ่นต่างๆๆได้เป็นอย่างดี ใช้ประกอบอาหารก็ได้ วิธีขยายพันธ์คือ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ ในการปักชำ มีหลายชนิด
    2. กระชายขาว กระชายดำ กระชายเหลือง กระชายอยู่เหนือดิน มีสรรพคุณ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ลมวิงเวียน เสริมสรรถภาพทางเพศ บำบัดนกเขาไม่ขัน บำรุงหัวใจ ขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ
    3. มะละกอ สามาถนำมาทำเป็นชา มะละกอ ได้เช่นกัน โดยนำมะละกอดิบหั่นเป็นชิ้น ใส่ใบเตย ใส่น้ำต้มกินเพื่อล้างขยะในลำใส้ ขยายพันธ์โดยเพาะเมล็ด เสาวรส บรรเทาอาการหวัด ปรับสภาพในร่างกายขยายพันธ์โดยเมล็ด
    4. ย่านางมีมากในชุมชนขึ้นตามธรรมชาติ จะพบมากในสวนยางนำมาทำอาหาร และเครื่องดื่ม คุณประโยชน์ รักษาบรรเทาอาอาการหวัด บำรุงร่างกาย
    5. หัวไพล มีคุณประโยชน์ นำมาทำยา แก้เข็ดเมื่อยใช้นวดตามร่างกาย ทำน้ำมันหม่องหัวไพลตะใตร้หอมขยายพันธ์การแยกหน่อ ตระกูลเดี่ยว หัวข่า ขิง หัวแก่เต็มที่สามารถขุดทำยาได้
    6. ตะใคร้ เป็นสมุนไพรใกล้ตัวมีเกือบทุกบ้าน นำมาประกอบอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นยารักษาภายนอกและภายใน เช่น น้ำมันนวด ลูกประคบ ยาพ่นฉีดยุ่ง ขยายพันธ์โดยลำต้น สมุนไพรตัวนี้เป็นตัวชูโรงของชุมชุนเช่นชกัน เพราะมีมาก
    • นายเล็ก ไทยเล็ก ได้พูดคุยและสอบถามลุงถนอมเกี่ยวกับยาที่ทำให้นกเขาขัน ให้ลุงถนอมช่วยตอบ ลุงถนอมได้ให้สูตรยาคือ เกลือแกง 3 ส่วน+มะขามเปียก 5 ส่วน+ บอระเพ็ด 7 ส่วน นำมาตำปั้นเป็นลูกกลอน กินก่อนนอนทุกคืน สมุนไพรอีกตัวที่พบก็คือ

    7.บอระเพ็ด คุนประโยชน์ นำมาทำยาดอง หรือต้มกินทุกวัน จะดีมาก ขยายพันธ์กับ ย่าน หรือ ลำต้น

    8.หญ้าหนวดแมว ขยายพันธ์การปักชำ โดยใช้ลำต้นหรือกิ่ง กระเพรา มีกระเพราขาว กะเพราแดง เป็นไม้ล้มลุกมีทราพุ้มใหญ่ สรรคุณ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง แก้อาการคลืนใส้ ขยายพันธ์โดยการใช้เมล็ด การบำรุงรักษาปล่อยให้เจริญเติบโตได้เอง ข่า เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในครัวเรือนมากเช่น กัน มีประโยชน์ตั้งแต่ราก ต้น ใบ ดอก ขยายพันธ์ได้ กานแยกหน่อ เหง้า ประโยชน์นำมาทำเป็นอาหารแต่งกลิ่นหรือดับคาว

    • และลุงประเสริฐ นุ่นสุวรรณ ท่านได้เสริมข้อมูล การปลูกดีปลีเชือก ปลูกโดยใช้ ยอดแก่ปลูก 3-4 ยอดต่อค้าง นำยอดมาผูกตัดเสาค้างเพื่อยึดเกาะ การดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยให้สมำสมอ ให้รดน้ำให้ถึง ระยะ เก็บเกี่ยว 6 เดือน 1 ปี ประโยชน์นำมาทำยา และประกอบอาหารได้ด้วย
    • ลุงถนอม ท่านได้ถามผู้เข้าร่วมประชุมใครสนใจสมุนไพรตัวใหนบ้าง ให้ถามมา ป้า คำนึง ทองกระจ่าง ได้ถามสมุนไพรฟ้าทะลายโจรนำมารักษโรคได้ ลุงได้ตอบ ประโยชน์และสรรคุณ คือ บรรเทาอาการท้องเสีย รักษาแผล แก้ใข้ แก้ร้อนใน ลดความดัน นางชิต ลอยลม ได้ถามถึงขมิ้นว่ามีสรรพคุณอย่างไรบ้าง และนำมาทำอะไรได้บ้างขมิ้นมีกลิ่นหอม และสีเหลือง นำมาปรุงเป็นอาหาร แกงเหลือง ข้าวหมกไก่ นำมาตาแห้งแล้วนำไปบด กิน แก้บาดแผลในสำใส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปรับสมดุลในร่ากายและอีกมายคนบ้านเรานิยมใส่ขมิ้นเวลาแกง และทำแกงจืดบ้างชนิดเช่นต้มส้มปลา ต้มไก่ ต้มกะทิ และยังนำมาเสริมความงามได้ และยังบรรเทาอาการท้องอืด ดับกลิ่ยต่างๆๆในร่างกายิแก้โรคภูมิแพ้ แก้หวัด รักษาผืนคัน ขยานพันธ์ ใช้หัวปลูก ซึ่งทุกครัวเรือนจะมีไว้ในครัวเรือนเพื่อประกอบเครืองแกงและใช้ทำอาหารต่างๆ ลุงถนอมได้สรุปการบรรยายการเรียนรู้ขยายพันธ์สมุนไพร การขยายพันธ์สมุนไพร ขยายได้วิธ๊ใหนบ้าง ท่านก็บรรยายไปครบแล้ว หากใครสนใจชนิดใหนให้สอบถามท่านได้ทุกวัน คณะทำงานได้ขอบคุณลุงถนอม บัวเนี้ยว ที่มาให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้กันในชุมชน และขอบคุรผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย 100 คน ได้ร่วมกันทำกิจกรรม

    ผลลัพธ์

    1. ผู้ใหญ่บ้านคณะทำงานร่วมจัดกิจกรรมเรียนรุ้การขยายพันธ์สมุนไพร
    2. มีปราชญ์ชาวบ้าน คุณลุงถนอม บัวเนี้ยว ท่านมีความรู้เรื่องสมุนไพรท่านมาให้ความรู้การขยายพันธ์สมุนไพร
    3. ได้รู้ถึงประโยชน์ของสมุนไพร เช่น ต้นมะกรูด ซึ่งมีประโยชน์มากมาย ช่วยเสริมความงามบำรุงสุขภาพ รากมะกรูดมีรสจืด ช่วยแก้อาการใข้ถอนพิษ แก้ลมขับเสมหะ ผิวมะกรูด แก้อาการนอนไม่หลับ แก้อาการเป็นลม
    4. ได้รู้วิธีการขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ ยังมีสมุนไพรอีกมากมายอีกหลายดัวที่ท่านให้ความรู้
    5. ให้คนในชุมชุนหันมาใช้สมุนไพรที่มีในชุมชนเพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้
    6. ปลูกฝังให้เด็กมีความรู้เรื่องสมุนไพร

     

    100 100

    22. วิเคราะห์ทางสมุนไพร

    วันที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าโครงการ และคณะทำงาน ผู้นำชุมชน อสม เยาวชน เข้าร่วมอบรมเรียนรู้ ทำความรู้จักกับสมุนไพรให้มากขึ้น ได้เชิญหมอเสริญ เหมือนทอง ท่านมีความรู้เรื่องสมุนไพรที่มีในชุมชนเป็นอย่างดี ท่านเป็นหมอสมุนไพร หมอให้ความรู้เรื่องสมุนไพรที่มีในชุมชน ที่มีอยู่ใกล้ตัว และพบมากในชุมชน สรรพคุณประโยชน์ แหล่งที่พบมากในชุมชน มีสมุนไพรบางตัว สามารถนำมาแปรรูปสร้างรายได้ ให้กับครัวเรือน
    • หมอได้อธิบายสมุนไพรตัวแรก คือ กระเทียม มีกันทุกคนในครัวเรือน สรรพคุณ หัว แก้เสมหะและขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ วิธีใช้ ต้มกิน หรือกินสด บดเป็นผง กระบายสรรพคุณ ช่วยแก้โรคในปาก และคอ แก้อาการโลหิตเป็นพิษและถอนพิษต่างๆๆ ท้องอืด เป็นยารักษาโรคริดสิดวงช่วยขับปัสสาวะ กระเพรา พบมาก ส่วนมากจะปลูกกันเกือบทุกครัวเรือน มีสรรพคุณ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุก เสียด และปวดท้อง รักษากลากเกลือน เชื่อรา ขับพยาธิ และเป็นยาอายุวัฒนะ ขิ้น ทุกครัวเรือนและทุกคนต้องกิน เพราะต้องเอามาประกอบอาหารและเป็นยารักษาโรค
    • ขมิ้นเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย ใช้ได้ตั้งแต่ ราก หัว ใบ ใช้ได้หมด สรรพคุณ ดอก แก้บิดบ้วน มูกเลือด ใช้ต้มกิน หัว รักษาโรคท้องอืด ท้องร่วง โรคกระเพาะ ระบบขับถ่าย รักษาผิวพรรณ ระงับกลิ่นต่างๆๆได้ด้วย ข่า สรรพคุณ ช่วยแก้ลมพิษ อาหารเป็นพิษ ช่วยขับลม ลดอาการท้องเฟ้อ รวมไปถึงฆ่าเชื้อรา รักษาโรคผิวหนังโรคกลากเกลือนขิง สรรพคุณช่วยขับลม ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยฆ่าพยาธิ และขับปัสสาวะ บำรุงสายตา ช่วยละลายเสมหะ แก้ไอและเจ็บคอช่วยเจริญอาหาร
    • ขี้เหล็ก สรรพคุณ ดอก รักษาโรคนอนไม่หลับ ใช้ดื่มกิน รักษาโรคเหน็บชา ขับพยาธิ เป็นยาระบายขับถ่ายได้ดี ลดความดันสูง ตะใคร้ เป็นทั้งอาหารและสมุนไพร นำมาใช้ได้หลายอย่าง เช่นทำยำตะใคร้ น้ำสมุนไพรตะใคร้ ใส่ในแกง น้ำพรึกตะใคร้ ส่วนมากจะพบกันเกือบทุกหลังคาเรือน สรรพคุณ แก้ลมในลำใส้ ลดอาการแน่นท้อง จุกเสียด
    • ฟ้าทะลายโจร เป็นไม้ล้มลุก มีรสชาติ ข้ม สรรพคุณเป็นยาแก้ไอ แก้หวัด ระงับอาการอักเสบ ขับเสมหะ รักาาอาการท้องเสีย ลำใส้อักเสบ รักษาโรคตับเบาหวาน โรครัดสิดวง ใช้ต้มกิน หรือบดผง
    • ย่านนางเป็นสมุนไพรรสจืด เป็นยาเย็น มีฤทธ์ดับพิษร้อนคนจึงนำใบย่านนางไปทำเป็นคลอโรฟิลล์ ช่วยดับพิษใข้ ย่านางจะขึ้นตามธรรมชาติบางคนทำเป็นอาหาร เครื่องดื่มได้
    • ชุมเห็ดเทศ เป็นไม้พุ่ม มีดอกสีเหลือง เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณทางยามากและยังมีสมุนไพรอีกมากมายที่สามรถ ใช้รักษาโรคได้ นำมารับประทาน หรือแปรรูปเช่นนำมาบด หรือดื่มลุงหมอเสริฐ ได้บรรยาย เรื่องสมุนไพรจนถึงเวลา 16.00 น. และปิดวาระการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย 48 คน เข้าร่วมกิจกรรม
    • ได้รับรู้เรื่องสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพร
    • ได้รู้วิธีการแปรรูปของสมุนไพร
    • ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
    • ได้รู้จักวิเคราะห์สมุนไพรมีแนวทางในการหารายได้เสริมเข้ามาในครัวเรื่อนเพื่อลดค่าใช้จ่าย

     

    48 48

    23. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 6

    วันที่ 7 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีผู้เข้าร่วมประชุมตามกลุ่มเป้าหมาย 20 คน ประกอบไปด้วยเด็กวัยเรียน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ อสม. และกลุ่มเยาวชน
    • เข้าร่วมประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันของณะทำงานในแต่ละกิจกรรม ในการประชุมครั้งนี้ ได้พูดคุยถึงการปิดงวดที่ 1 ของโครงการ ได้ไปส่งเอกสารการปิดงวดกับพี่เลี้ยงที่ ม.วลัยลักษณ์ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมีเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินและผลการดำเนินงาน บางรายการต้องมีการปรับปรุง โดยเฉพาะเอกสารใบเสร็จรับเงิน การเขียนรายงานการประชุมการดำเนินงานกิจกรรม ซึ่งทาง สสส.สจรส.มอ ให้ปรับปรุงแก้ไข สรุปการปิดงวดที่ 1 ผ่านในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 และรองวดที่ 2 และทำกิจกรรมของโรงการครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น:

    1. มีข้อมูลชุมชน เพื่อทำกิจกรรมของโครงการฯ
    2. มีการวิเคราะห์และวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอน
    3. มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างวัยในการประชุมสภาผู้นำ
    4. มีการพูดคุยถึงปัญหาและอุปสรรค์ต่างๆในการทำกิจกรรม
    5. ในที่ประชุมผู้นำหมู่บ้านและสภาผู้นำ ปรึกษากันถึงการทำกิจกรรมต่อไปของโครงการฯ สำรวจข้อมูลสมุนไพรตามธรรมชาติคณะทำงานในที่ประชุมได้วิเคราะห์การทำงานการสำรวจข้อมูลสมุนไพรครั้งที่ 1 และ2 เรื่องการสำรวจสมุนไพรยังไม่ละเอียดเท่าที่ควร การเข้าถึงครัวเรือนและตามธรรมชาติยังไม่มากพอ จึงขอให้คณะทำงานเข้าสำรวจให้ทุกครัวเรือน และตามธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้นเพื่อจะได้นำมาวิเคราะห์ และเรียนรู้คุณประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และรักษาโรค
    6. ในที่ประชุมได้พูดคุยถึงปัญหาของการดำเนินงานในรอบที่ผ่านมา ในเรื่องการประชุมการทำกิจกรรม ยังมีบางครัวเรือนที่ไม่ค่อยจะยอมรับกับกิจกรรมของโครงการฯ บางครัวเรือนจะคิดทำไม่ได้ และไม่ค่อยรู้เรื่องเหล่านี้

     

    20 20

    24. เรียนรู้การขยายพันธุ์สมุนไพร ครั้งที่ 2

    วันที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้าน คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมร่วมกิจกรรมเรียนรู้และขยายพันธ์สมุนไพร คณะทำงานได้แจ้งให้ชาวบ้านเข้าร่วม และให้เตรียมสมุนไพรที่มีในครัวเรือน หรือที่พบตามธรรมชาติ ให้นำมาปลูกในหอประชุมหมู่บ้าน
    • คณะทำงานได้เตรียมดินในการปลูก และอุปกรณ์ต่างๆไว้พร้อมแล้ว มีการวางแผนผังวางพื้นที่ในการปลูก สมุนไพรมีทั้งยืนต้น และล้มลุก ให้เอาสมุนไพรยืนต้นปลูกชั้นนอก และพืชล้มลุกไว้แถวนอก ให้ชาวบ้านข้นดินใส่ปล้องหรือกระถ่างใส่ให้เต็มทุกปล้องและนำสมุนไพรปลูกลุงถนอม ได้เอาสมุนไพรมาให้กับหมูุ่บ้านเพื่อนนำปลูกและให้ศึกษา ว่าแบบใหนปลูกอย่างไร เช่น ชนิด หัว และชนืดใช้ปักกิ่ง
    • ป้าแดงนำกระชายมาปลูก นาง อุษา คงทอง นำตะใคร้หอมมาปลูก นางคณิต ไทยเอื้อ นำว่านหางจระเข้มาปลูกนางจิราภรณ์ พลประมวล นำกระชายดำมาปลูก หญ้าหนวดแมว และหัวเปราะ นางคำนึง นาคแก้ว นำตะใคร้หอม ขมิ้น กาบหอย ว่านชักมดลูก กระเพราะ นางจุรีพร วังบุญคง นำดีปลีเชือก เสาวรส ย่านาง นางขวัญใจ ชูทองและครอบครัว นำสมุนไพรเสาวรส ขี้พร้าไฟ อัญชัญ หัวไพร ข่าเล็ก สะดุ้งทุงฟ้า หญ้ารีแพรมาร่วมปลูกและ มีผู้เข้าร่วมอีกหลายท่านที่นำมาปลูก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.มีคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย 100 คน ได้ร่วมกันทำกิจกรรม

    ผลลัพธ์

    1. คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
    2. ได้เรียนรู้การขยายพันธ์สมุนไพร
    3. ชาวบ้านนำสมุนไพรที่มีในครัวเรือนและตามธรรมชาติ มาปลูกในที่หอประชุม
    4. เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้สมุนไพรชุมชนบ้านไร่เหนือ
    5. ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพิ่มแต่ละครัวเรือนที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
    6. เพื่อลดค่าใช่จ่ายในครัวเรือน
    7. มีเยาวชน ผู้สูงอายุ มาร่วมกันปลูกสมุนไพรกิจกรรมทำร่วมกัน
    8. เป็นภาพที่ประทับใจมากทุกคนร่วมมือกัน ช่วยกัน จนเสร็จกิจกรรม แม้จะมีฝนตกลงมาชาวบ้านก็พร้อมใจกัน
    9. เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเพื่อให้เด็กรุ่นลูก หลาน ได้ศึกษาเพื่อสืบทอดและเรียนรู้ไว้ที่ หอประชุมของหมู่บ้าน เป็นพื้นที่เหมาะสม เป็นที่สาธารณะ เหมาะที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์กลาางของชุมชนผู้ใหญ่บ้านยังรณรงค์ให้คนในชุมชุนได้ปลูกสมุนไพรทุกครัวเรือน เพื่อจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน การทำกิจกรรมสมุนไพรมีเยาวชนเข้าร่วมมาช่วยปลูกด้วย และผู้สูงอายุจะช่วยแนะนำเรื่องสมุนไพรร่วมด้วย และเสนอแนะให้ทำป้ายชื่อสมุนไพร ปักไว้ เพื่อจะได้รู้จักสมุนไพรแต่ละตัว และได้เรียนรู้ว่าตัวใหนมีสรรพคุณอย่างไร มีสมุนไพรที่เหลือก็นำใส่ถุงดำไว้ และให้ชาวบ้านปลูกเพิ่มที่บ้านด้วย และจะนำมาปลูกเพิ่มอยู่เรื่อยๆที่หอประชุมบ้านไร่เหนือ

     

    100 100

    25. สำรวจสมุนไพรธรรมชาติ

    วันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้านและคณะทำงานกลุ่มเป้าหมายได้ออกสำรวจข้อมูลสมุนไพรที่มีตามธรรมชาติที่มีในชุมชน โดยการแบ่งที่กลุ่มในการออกสำรวจข้อมูลแบ่งกลุม 7 และ 6 คน จำนวน 8 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่ม มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องสมุนไพร ช่วยแนะนำ และให้ความรู้และมีแบบฟอร์มในการกรอกข้อมูล ในหมู่บ้านจะแบ่งเป็น 3 เขต เขตที่ 1 จำนวน 3 กลุ่ม เขตที่ 2 จำนวน 2 กลุ่ม เขตที่ 3 จำนวน 3 กลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย 48 คน ได้ร่วมกันทำกิจกรรม

    ผลลัพธ์

    • กลุ่มออกสำรวจ ข้อมูลสมุนไพร ธรรมชาติ ตามเขตที่แบ่งดินเขตที่ 1 เริ่มจากบ้าน นางสาคร ภักดีนุฤทธิ์ ได้ออกไปสำรวจในบริเวณ ป่าของหมู่บ้าน ที่พบมากมีชะพลูหญ้าใต้ใบ ชิงดอกเดียว สามารถนำมาต้มดื่มได้ ไหลเผือก รักษาเข็ดเมื่อย รางจืด รักษาโรคท้องอืด ต้นกระดูกไก่ แก้เข็ดเมื่อย ขมิ้นฤษี แก้ความดัน โรคเลือดของผู้หญิง ค้างคาวดำใช้ต้มกิน ไม้จวง ทำเป็นยาลม ขับลมเหมาเหล็ก ฟ้าทลายโจร หญ้าหนวดแมว รักษานิ่วขับปัสสาวะท เพ็ชรสังคาต ขับลม บรรเทาริดสีดวง ขี้เหล้ก แก้อาการท่้องผูก บอระเพ็ด แก้ไข้ ลดน้ำตาลในเลืดเหงือกปลาหมอรักษาภูมิแพ้กำลังเสือโคร่งจะพบมาก ย่านนาง ช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายดับพิษไข้ตัวนี้จะพบมากใน 3 เขต ชุมเห็ดเทศขับพยาธิ ในลำไส้ แก้โรคผิวหนัง เขตที่ 2ที่พบมากมี ย่านนาง ชะพลูเสลดพังพอน ใช้ถอน พิษงูสัตว์กัดต่อยกระทกรก บำรุงสมองกระทือ แก้ท้องอืดขมิ้นเพกาหัวไพล ไมยราบเขต 3 เริ่มจาก นายเสนีย์ พรหมสิงห์ สมุนไพรที่พบมากเหมือนกับเขตที่1 ที่พบมาก มีชะพลู ไหลเผือกไมยราบ หญ้าไต้ใบ ขี้เหล็ก ย่านนางหญ้าแห้วหมู เข็มป่า เมื่อเสร็จการสำรวจ ทุกคนมารวมกลุ่มกันที่ห้องประชุมของหมู่บ้าน โดยมีการรวบรวมข้อมูลที่ได้ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับปัญหา และอุปสรรคที่พบในการสำรวจปัญหาที่พบคือนางมณฑา นาคแก้ว ได้กล่าวถึงการขาดความรู้เรื่องสมุนไพรเพราะพบอีกหลายชนิดแต่ตนไม่รู้จัก บางครัวเรือนไม่ไห้ความร่วมมือและไม่สนใจสักเท่าไหร่และได้นัดแนะคราวต่อไปกันอีกครั้ง

     

    48 48

    26. ประชุมติดตามโครงการ

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการที่ ม.วลัยลักษณ์ อ.กำไลได้ให้ความรู้เรื่องการจัดทำโครงการ ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งสมาธิก่อนเริ่มการประชุม ให้หลับตานึกถึงโครงการที่ได้ทำมาในระยะเวลา 6 เดือน ว่าจากที่ทำไปแล้ว มีใครที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปบ้าง เกิดการรวมกลุ่มอย่างไรบ้าง สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในชุมชนมีอะไรบ้าง แล้วระยะเวลาที่เหลือเราจะทำอะไรต่อไปบ้างแล้วให้เขียนลงในกระดาษส่งพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน
    2. ได้ทบทวนโครงการว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปบ้าง
    3. ได้กลับไปดูกิจกรรมของตนเองว่า ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกบ้างเพราะรายละเอียดกิจกรรมในเวปไซต์ และรูป ยังไม่เรียบร้อย

     

    2 2

    27. ร่วมสืบสานสมุนไพรบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 2

    วันที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมในการทำยาหม่องไพลตะใคร้หอม และสบู่ ขมิ้้น น้ำผึ้ง ที่หอประชุมบ้านไร่เหนือ โดยมีนางคณิต ไทยเกื้อ มาสอนวิธีการทำและมีเจ้าหน้าที่จาก อบต.เขาขาว มาร่วมด้วย นางคณิต ไทยเกื้อ เป็นคนในหมู่บ้านที่มีความชำนาญและได้ผ่านการอบรมจากนครศรีมาแล้ว โดยจะให้กลุ่มเป้าหมายนำหัวไพล ตะใคร้หอม ขมิ้นชันที่มีอยู่ในหมู่บ้านนำมาทำหัวไพล ขมิ้นชัน นำไปตากแห้งแล้วบดผง และในส่วนผสมของสบู่จะใช้น้ำผึ้งซึ่งน้ำผึ้งนั้นกลุ่มเป้าหมายได้นำมาและขึ้นไปหาบนเขามาเก็บใส่ขวดไว้มาเป็นส่วนผสมของสบู่จากนั้น นางคณิต ไทยเกื้อ ได้ทำการสอนส่วนผสมทุกอย่างว่าใช้ เท่าไร และแยกใส่ถ้วยไว้ในแต่ละอย่าง ส่วนผสมยาหม่อง ตะใคร้หอมมี 1) เมนทอล 1 กก.2) การบูร 1ขีด 3)พิมเสน1/2 ขีด 4) วาสลีน 1 โล 5)พารามิน(ขี้ผึ้ง 2 ขีด 6) น้ำมันหอมระเหย 1ขวด 7) น้ำมันระกำ1.5 โล 8) ไพลผง 1 ขีด เตรียมส่วนผสมไว้ทุกหอย่าง
    • และวิธีการทำ 1) เอาน้ำมันระกำใส่กะละมัง แล้วเอาหัวไพลใส่ลงไปในน้ำมันระกำแช่ไว้สักครึ่งชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำมันออก 2) นำขี้ผึ้ง ตั้งไฟให้ละลาย แล้วใส่วาสลีนลงไปกวนจนละลาย(ตั้งไฟอ่อนๆๆอย่าให้ไฟแรง) 3) นำเมยนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันหอมระเหย เอามารวมกันกับน้ำมันระกำที่แช่ไว้หัวไพลไว้ เอามารวมกันแล้วกวนให้เข้ากัน 4) นำข้อ 3 ที่เตรียมไว้ กวนให้เข้ากันใส่ผงขมิ้น เล็กน้อยรอให้ความร้อนอ่อนลง แล้วตักใส่ขวด ตามขนาด ที่ต้องการ ตั้งพักไว้ให้เย็นแล้วถึงจะปิดฝา หลังจากนั้นก็เตรียมส่วนผสมของสบู่ มี สบู่กลีเซอรีน 1 กก น้ำมันหอม 1 ส่วน 4ทานาคา 2 ช้อนโต๊ะ ขมิ้น 2 ช้อนโต๊ะ มะขาม 1 ช้อนโต๊ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ เตรียมส่วนผสมเสร็จเริ่มวิธีการทำ นำเกล็ดสบู่กลีเซอรีน นำไปตั้งไฟจนละลาย ละลายหมด ใส่มะขาม ขิ้น ทานาคา น้ำผึ้ง แล้วกวนให้เข้ากันกวนไปประมาณ 10 นาที จนกว่ากลิ่นขึ้นจมูก แล้วเอาลงจากเตา ตั้งไฟให้ความร้อนลดลง แล้วใส่น้ำมันหอมลงไปกวนเล็กน้อยให้เข้ากัน เสร็จแล้วตักใส่พิมพ์ที่เตรียมไว้ ตั้งไว้จนแข็ง ห่อด้วยฟอยส์ใส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย 100 คน ได้ร่วมกันทำกิจกรรม

    ผลลัพธ์

    • คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายได้ช่วยกันคนละไม้คนละมือ และนางคนึง นาคแก้ว ผู้สูงอายุในหมู่บ้านได้พูดว่าชอบที่มีกิจกรรมแบบนี้ อย่างน้อยได้พบปะพูดคุยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และยังได้ความรู้สามรถนำกลับไปใช้ในครัวเรือนได้ ถ้ามีกิจกรรมแบบนี้อีกจะเข้ามาร่วมอยู่เสมอ และหลังจากนั้น คณะทำงานได้กล่าวขอบคุณ นาง คณิต ไทยเกื้อ และกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ถ้ามีการทำกิจกรรมแบบนี้อีก จะแจ้งให้ทราบอีกที

     

    100 100

    28. เรียนรู้การขยายพันธุ์สมุนไพร ครั้งที่ 3

    วันที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานได้เชิญ นาย วิรัช มะลิแก้ว รองนายกองค์การบริหารตำบล เข้าร่วมประชุมและทำพิธีเปิดแหล่งเรียนรู้ชุมชนให้กับหมู่บ้าน ท่านชื่มชมบ้านไร่เหนือมากที่มีกิจกรรมดีๆแบบนี้ ท่านบอกว่ามีแห่งแรกของตำบลเขาขาว เรามีแหลงเรียนรุ้สมุนไพรชุมชน คุ้มค่ามาก ที่หมู่บ้านมีทุนในชุมชนและสามารถนำกันมาปลูกไว้ที่หอประชุมบ้านไร่เหนือ และแถมยังเอาสมุนไพรที่มีในชุมชนให้ชาวบ้านได้รู้จักวิธีการแปรรูปและสามารถแปรรูปได้เป็นผลิตภัณฑ์ของคนบ้านไร่เหนือ ยังสร้างอาชีพเสริมสร้างรายได้ลดรายจ่ายให้กับคนในชุมชน เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งท่านสนับสนุนและชอบในการทำกิจกรรมของโครงการนี้ และท่านยังให้คณะทำงานเข้าไปจดทะเบียนกลุ่มกับ อบต เพื่อจะได้ต่อยอด ขยายผลิตภัณท์ไปเรื่อยๆ เพื่อให้คนได้รู้จักในท้องถิ่น และ ท่านได้แนะนำให้โฆษนาสินค้าเพื่อให้คนรู้จักได้มากขึ้น ใช้ดี และบอกต่อ ท่านยังให้ข้อคิด ในการปลูกสมุนไพรท่านอยากให้ทุกครัวเรือนปลูกสมุนไพร ไว้ใช้กินเองในครอบครัว เพื่อประหยัดรายจ่ายและใช้คำว่าพอเพียงให้เป็นประโยชน์เท่านั้น คนในชุมชนก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและไม่เป็นหนี้ อยู่อย่างพอเพียง และท่านก็ได้สอบถามกับคณะทำงาน ว่ามี สมุนไพรอะไรบ้างในแหล่งเรียนรู้สมุนไพร ชาวบ้านบอกว่ามีไหลเผือตากแห้ง ขี้เหล็ก ปล้องต้น ย่านาง ขมิ้น เหงือกปลาหมอ ขมิ้นฤาษี มากกว่า20 คนที่คณะทำงานได้เอามาไว้ในแหล่งเรียนรู้ ยังมีเอกสารที่มีความรู้เรื่องสมุนไพรและมีผู้สูงอายุอีกที่สนใจ สมุนไพรอบแห้งบางท่านได้ขอเอาไปกิน เอาดองกับน้ำผึ้งรวง และมี เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่่ดีเพื่อเป็นการปลูกฝั่งเยาวชนทั้งแต่เด็กให้ เด็กเข้ามามีส่วนร่วมเวลาโตขึ้นจะได้เป็นเยาวนที่มีคุณภาพ ได้สืบทอดเกี่ยวกับสมุนไพรและเยาวชนได้ช่วยเก็บกวาดในแหล่งเรียนรู้ชุมชนช่วยเหลือกันคนละไม้ละมือ รู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่กัน บางคนนำสมุนไพรมาจากบ้านเพื่อเอามาปลูกที่หอประชุมบ้านไร่เหนือดญ กนกรรณ นาคแก้วได้ตามผู้สูงอายุ เกี่ยวกับสมุนไพร ย่านาง กินแก้อะไร นำมาทำอะไรได้บ้าง นายเล็ก ไทยเล็ก ท่านก็ได้ตอบไปทางสรรพคุณทางยาคือ รักษาโรคแก้เบาหวานความดันได้ดีชนิดหนึ่ง นำมาทำน้ำสมุนไพรได้ ด้านเสริมความงามก็ได้ รองนายก อบต ท่านได้นั่งพูดคุย กับชาวบ้านถึงปัญหาต่างๆในเรื่องต่างๆ ถนน น้ำ ไฟฟ้าและกลุ่มต่างๆในชุมชุมชน ท่านอยากจะส่งเสริมกลุ่มสมุนไพรมากให้ผู้ใหญ่บ้านไปติดต่อกับ อบต หรือคณะทำงานของกลุ่มก็ได้ ยินดีให้ความช่วยเหลือเต็มที่ท่านพูดเวลาพักเที่ยงท่านก้ร่วมรับประทานอาหรากับชาวบ้าน เวลา 13.00 น. ท่านขอตัวกลุ่มก่อนท่านมรภารกิจ คณะทำงานผู้เข้าร่วมประชุม ร่วมกันปรึกษาหารือกัน และตกแต่งสมุนไพรที่เตรียมมาและพูดคุยปัญหาการทำงาน ผู้ใหญ่บ้านได้ขอบใจคณะทำงาน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และรณรงค์ให้ครัวเรือนปลูกสมุนไพรไว้กินเองและจะส่งเสริมกลุ่มสมุนไพนนี้ และกล่าวปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย 100 คน ได้ร่วมกันทำกิจกรรม

    ผลลัพธ์

    1. คณะทำงาน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
    2. เปิดแหล่งเรียนรู้สมุนไพรชุมชน นายวิรัช มะลิแก้วรองนายกองค์การบริการตำบลมาเป็นพิธีเปิด ท่านชื่นชมกับกิจกรรมนี้มาก
    3. บ้านไร่เหนือเป็นที่แรกของตำบลเขาขาว ที่ทำเรื่องสมุนไพร
    4. สนับสนุนให้ไปจดทะเบียนกลุ่มสมุนไพร ซึ่งมีสมุนไพรหลายชนิดที่คณะทำงานได้นำไปตากแห้งเก็บมาใส่ขวดโหล ไว้ที่แหล่งเรียนรู้ของชุมชน
    5. เพื่อให้เยาวชนรุ้นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และรุ้จักสมุนไพรมากยิ่งขึ้น

     

    100 100

    29. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 7

    วันที่ 7 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้าน คณะทำงาน ได้เข้าร่วมประชุมตามกลุ่มเป้าหมาย 20 คน ครังที่ 7 ซึ่งประกอบไปด้วย เด็กวัยเรียน วัยทำงาน ผูั้สูงอายุ อสม.มาปรึกษาหารือกันเรื่องการลงสำรวจสมุนไพรมีผู้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบโดย อสม.โดยมีเขตรับผิดชอบโดยเขตที่ 1 นางขวัญใจ ชูทอง เป็นหัวหน้านำ หลักเขตที่ 2 นายสุรชาติ นุ่นสุวรรณ และเขตที่3 นางจิราพร พลประมวล เป็นแกนนำหลัก และพร้อมด้วยคณะทำงาน อสม ผู้นำชุมชน และคนที่สนใจ จากนั้นได้นัดแนะวันที่และเวลาในการดำเนินงานกัน นัดแนะ อุปกรณ์ที่จะเตรียมมาและวางแผนในการทำกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไปหลังจากนั้นผู้ใหญ่บ้านได้พูดคุยเพิ่มเติมในเรื่องทบทวนแผนพัฒนา 3 ปี (2559-2561) จำเป็นต้องทำประชาคมในการรวบรวมโครงการ/กิจกรรมที่เป็นปัญหาความต้องการของประชาชนและได้พูดถึงโครงการบุกเบิกถนนสายบ้าน นายเลี่ยม บรรจงแต้ม หมู่ที่9 ตำบลเขาขาวใช้งบประมาณ 250000 ได้ดำเนินโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อความอำนวยความสะดวกของประชาชนผุ็ใหญ่บ้านยังได้คุยในเรื่องการรับสมัครกองทุนวันละบาทถ้าชาวบ้านคนใหนสนใจมาสมัครเพิ่มได้ที่ นาง จิราภรณ์ พลประมวลตั้งแต่วันพรุ่งนี้จนถึงสิ้นเดือน ที่หอประชุมบ้านไร่เหนือตั้งแต่เวลา 13.00-15.00หลังจากสิ้นเดือนนี้จะปิดรับสมัคร ใครที่สมัครไม่ทันต้องรอปีหน้า ผู้ใหญ่บ้านได้พูดว่าไม่อยากให้ชาวบ้านเสียสิทธิ์ เก็บออมไว้ทั้งแต่วันนี้จะสบายวันหน้าและคณะทำงานได้กล่าวขอบคุณและได้เลิกการประชุมในเวลา15.00 น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 20 คน 2.มีการวางแผนการทำงานและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

    ผลลัพธ์

    1. มีสภาผู้นำแข็มแข็ง
    2. มีการวางแผนในการทำงานเป็นขั้นตอน
    3. เกิดความสามัคคีในกลุ่มระหว่างวัย

     

    20 20

    30. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 8

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้านคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน นัดประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 8 กิจกรรมของเดือนในที่ประชุมได้พูดคุยถึงปัญหาของเดือน มีกิจกรรมน้อย ไม่มีอุปสรรค์อะไร แต่ได้รับคำชมจากชาวบ้าน บางกิจกรรมคือเสริมอาชีพให้กับชาวบ้าน เช่น การทำยาหม่อง สบู่ สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน การสำรวจสมุนไพรก็ทำให้มีข้อมูลสมุนไพรในชุมชนจุดใหนมีมาก จุดใหนมีน้อยและได้อนุรักษ์พืชสมุนไพรต่างๆมากขึ้นด้วย เพราะเราได้เห็นความสำคัญของสมุนไพร และกลุ่มสตรี แม่บ้าน อสม เข้ามามีบทบาท ช่วงนี้เข้าฤดูฝนการขยายพันธ์ก็ดีเหมาะกับการขยายพันธ์สมุนไพร นางสาคร ได้พูดคุยถึงกิจกรรมการทำยาหม่อง เขาชอบมาก ได้ทำไว้ใช้เองเพื่อนวดคลายเส้นโดยเฉพาะผู้สูงอายุในชุมชนก็ยอมรับ ผู้ใหญ่บ้านได้พูดคุยถึงปัญหาในชุมชนตอนนี้เศรษฐกิจตตำ การใช้จ่ายก็ต้องระมัดระวังอย่าฟุ่มเฟือย ให้ทุกครัวเรือนปลูกพืช ปลูกผักไว้กินเองในครัวเรือนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายคณะทำงานได้พูดคุยเพื่อเพรียมความพร้อมและนัดประชุมสภาผู้นำครั้งอีกกิจกรรมร่วมสืบสานสมุนไพรครั้งที่ 3 เราจะไปจัดกันที่งานเกษตรแฟร์ มีการทำน้ำสมุนไพร แกงขมิ้น น้ำพรึกหัวทือ ยำตะใคร้ ให้คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย เตรียมอุปกรณ์ไว้ให้พร้อม ทั้งสมุนไพรที่ใช้ในการทำกิจกรรม ต่อมาผู้ใหญ่บ้านได้สอบถามผู้เข้าร่วมประชุมวันนี้ ใครมีอะไรจะคุยบ้าง ถ้าไม่มี ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวขอบคุณ และนัดการประชุมครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต คณะทำงาน สภาผู้นำ 20 คนร่วมกันประชุมประจำเดือน

    ผลลัพธ์

    1. นัดประชุมสภาผู้นำประจำเดือน
    2. พูดคุยถึงปัญหาในการทำกิจกรรม
    3. พูดคุยถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจ
    4. ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกพืชสมุนไพรข้างๆบ้าน
    5. การทำสบู่มันหม่องได้รับคำชื่นชอบจากชาวบ้าน

     

    20 20

    31. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 9

    วันที่ 7 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีผู้เข้าร่วมประชุมตามกลุ่มเป้าหมาย 20 คน ประกอบไปด้วยเด็กวัยเรียน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ อสม. เข้าร่วมประชุมและได้ลงมือปฎิบัตินำเอาสมุนไพร จากเขตที่ 2 และ 3 มาปลูกในเขต ที่ 1 และหลังจากนั้นไม่กี่วันมีฝนตกติดต่อกันทำให้สมุนไพรบางชนิดรอดตาย และบางชนิดฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งและได้นำเอาสมุนไพรบางชนิดไปปลูกเพิ่มและในที่ประชุมได้วางแผน หาสมุนไพร ที่มีสรรพคุณทางยา มาทำการขยายพันธ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม20คน
    2.มีการติดตามการดำเนินงานและชี้กิจกรรมในครั้งต่อไป 3. การวางแผนการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ คือประชุมสภาผุ็นำบ้านไร่เหนือครั้งที่ 10

    ผลลัพธ์

    • สมุนไพรที่นำมาขยายพันธุ์ เช่น หัวไพร ตะไคร้ ขมิ้นอ้อย เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ทางครัวเรือน ได้มีการคิดวางแผนทำยาหม่องไพลตะไคร้หอมและสบู่ขมิ้นผึ้ง เพราะจากการสำรวจพบพืชที่จะนำมาแปรรุปเป็นยาหม่อง และสบู่ ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ในการทำมี เป็นจำนวนมากซึ่งเราไม่ต้องหาซื้อจากที่อื่นเลย เราสามารถนำมาแปรรูปเพื่อสร้างรายได้เสริมให้คนในชุมชนและสามารถทำเก็บไว้ในหอประชุม และยังนำมาใช้ในครัวเรือนได้ด้วยในที่ประชุม นางสุจินเพ็ชรรัตน์ มีการเสนอ ว่าให้เชิญวิทยากรมาสอนแต่มีการแย้งขึ้นมาว่า ให้นางคณิต ไทยเอื้อ ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่มีในชุมชนและมีความชำนาญในความรู้ด้านนี้ให้มาสอน เพื่อเพิ่ม อาชีพและรายได้ให้กับชุมชน จากที่พูดคุยกัน จึงตกลงให้ นางคณิตไทยเกื้อ มาสอนวิธีการทำให้กับชาวบ้านและผู้ใหญ่ได้คุยเพิ่มเติมในเรื่องการไปร่วมอบรมที่วัดสหกรณ์นิคมเขาขาว
    • เรื่องปัญหาภัยแล้งมาแจ้งให้ชาวบ้านได้รับทราบว่า หากครัวเรือนใหนที่ขาดน้ำให้ทำเรื่อง ขอน้ำจากหน่วยงานของ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว โดยเอาแบบฟร์อมมากรอกรายละเอียดแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบล หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะจัดส่งน้ำให้ตามลำดับคิวที่ขอ ถ้าหากใครไม่กรอกแบบฟร์อมหรือไปขอปากเปล่าโดยไม่มีแบบฟร์อมใดๆๆจะไม่มีการจัดส่งน้ำให้ เพราะฉนั้นให้ทุกคนที่ต้องการความประสงค์ดังกล่าวทำตามลำดับขั้นตอนเพื่อความสะดวกของทุกคน

     

    20 20

    32. ร่วมสืบสานสมุนไพรบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 3

    วันที่ 11 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้าน คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกันทำกิจกรรมร่วมสืบสานสมุนไพร ครั้งที่ 3 คณะทำงานได้เชิญ คุณเยาวภา คำแหงเป็นผู้เชี่ยวชาญการทำน้ำยาอเนกประสงค์ น้ำยาล้างจาน ซึ่งวันนี้คณะทำงานจะทำน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป จากสมุนไพรในชุมชน วันนี้เราจะเรียนรู้เรื่องมะกรูด มะกรูดมีประโยชน์มากมาย ซึ่งเราได้มองข้ามความสำคัญไป ใบ-ผิวมะกรูด นำมาอบ แก้ลมวิงเวียนศรีษะ และยังใช้สรรพคุณทางยามากมาย นำมาประกอบอาหารก็เป็นยาชนิดที่ดีชนิดหนึ่ง
    • คุณป้าแดงซึ่งเป็นผู้สูงอายุ ในชุมชนท่านได้พูด เรื่องผลมะกรูดสามรถนำมาทำยาได้ และยังทำน้ำยาล้างจานใช้ในครัวเรือนได้ดี ทำแชมพูสระผม ลุงประเสริฐ นุนสุวรรณ ได้พูดคุยถึงเรื่องลูกมะกรูด นำมาทำลูกประคบได้ เหมาะสำหรับหญิงคลอดใหม่ ลูกมะกรูด ยังนำมาผลมาหั่นเป็นแว่น แล้วดองกับน้ำตาลทรายแดง เก็บไว้ 1 เดือน นำมากินแก้เข็ด แก้เมื่อย ช่วยบรรเทาอาการลงได้ และลุงเสริฐ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเสร็จ
    • คณะทำงานได้เตรียมอุปกรณ์ การทำน้ำยาล้างจานสูตร มะกรูด มีคุณเยาวภาเป็นผู้สอนในการทำน้ำยาล้างจาน มีวัสดุ และอุปรณ์ N 70 1กิโลกรัม สารขจัดใขมัน 1 กิโลกรัม เกลือ 1 กิโลกรัม มะกรูดต้มใส่ตามความต้องการที่เหมาะสมผงขมิ้น อัญชัญใส่เพื่อสีสัน
    • คณะทำงานได้จักเป็นกลุ่ม จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ทำแบบผงขมิ้น กลุ่มที่ 2 ทำแบบดอกอัญชัญ มีวิธีขั้นตอนการทำดังนี้ แบ่งน้ำใช้ประมาณ 1 แก้ว ใส่ผงขมิ้น และอัญชันตั้งพักไว้ อัญชันเอาแต่น้ำ นำ N 70 ลงในถังกวน กวนไปจนมันหนืด เติม S 24 ลงไปกวนไปเรื่อยๆ นำเกลือละลายในน้ำประมาณ 5 ลิตร ให้เกลือละลายให้หมด นำน้ำเกลือ ใส่สว่นผสม ใส่เรื่อยๆๆ กวนให้ไปทางเดียวกัน และอย่าหยุด ใส่น้ำเกลือหมดกวนไปเรื่อยๆๆให้ข้น เติมมะกรูด มะกรูดนำผ่าซีก ต้ม และนำไปปั่น กรองกับผ้าขาว เอาแต่น้ำ นำไปใส่ในส่วนผสม กวนไปเรื่อยเติมน้ำเรือย ให้ได้ประมาณ 15 ลิตร พอข้นได้ที่ กลุ่มที่ 1 เติมน้ำผงขมิ้น ที่เตรียมไว้ให้เห็นเป็นสีเหลือง กลุ่มที่ 2 เติมน้ำดอกอัญชัน ขยำกับนำ้แล้วกรองเอาแต่น้ำ ใส่ลงไป กวนไปสักพัก เสร็จ ตั้งพักไว้ให้หมดฟอง แล้วนำบรรจุขวดที่เตรียมไว้ ในการทำน้ำยาล้างจานวันนี้มีปัญหา กลุ่มที่ 2 น้ำยาไม่ข้น มีขั้นตอนทำเร็วไป คือรีบเติมน้ำกวน N 70 ไม่ทันเหนียว ใส่ s 24 ทำให้ไม่ข้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย 100 คน ร่วมกันทำกิจกรรมได้น้ำยาล้างจานจากผลมะกรูด55 ขวด จากดอกอัญชัน 50ขวด

    ผลลัพธ์ 1. มีการเรียนรู้เกี่ยวกับ สมุนไพร ผลมะกรูด และดอกอัญชัญ
    2. ได้รู้ประโยชน์จากสมุนไพร
    3. มีกิจกรรมที่เกิดขึ้นคือการทำน้ำยา เอนกประสงค์จากผลมะกรูดและดอกอัญชัญ
    4. การเข้าร่วมกิจกรรมตามกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้
    5. มีการประชุมและวางแผนการทำงานการทำงานที่ดี
    6. คนในชุมชนมีการทำกิจกรรมร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคี
    7. เมื่อเสร็จกิจกรรมการทำน้ำยาล้างจาน และได้แจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน นางระเบียบ สุขเมือง ชอบกิจกรรมนี้มาก สามรถนไปทำเองได้ ประหยัดลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ ที่สำคัญได้พบปะพูดคุยกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม คณะทำงานได้ขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ใ้ห้ผู้เข้าร่วมนำไปทำใช้เองในครัวเรือนได้ตลอด และขอบใจคุณเยาวภา คำแหง ที่มาสอนและให้ความรู้ กับคนในชุมชน

     

    100 100

    33. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 10

    วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะทำงานและสภาผู้นำได้เข้าร่วมประชุมที่ รพ.สต.ใบ้านไร่เหนือ ทางคณะทำงานและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะมีกิจกรรมร่วมกันทาง รพสต บ้านไร่เหนือ จะจัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ทางเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ได้เชิญสภาผู้นำเข้าร่วมประชุม เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมในวันแม่ มีกิจกรรมดังนี้
    • ช่วงเช้าตรวจสุขภาพผู้สูงอายุให้มี อสม. และจิตอาสามาช่วยในการบริการผู้สูงอายุนิมนต์พระสงฆ์ทำพิธีทางศาสนา ร่วมรับประทานอาหารช่วงบ่าย มีการอ่านคำขวัญวันแม่ กิจกรรมไหว้แม่มอบดอกมะลิให้แม่ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีกิจกรรมประกวดแม่ดีเด่นในชุมชนโดยให้ อสม. แม่ที่พระคุณและคุณสมบัติตามที่กำหนดเข้าประกวด
    • สำหรับกิจกรรมของโครงการสภาผู้นำชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานคณะทำงานได้นำกิจกรรมมาเผยแพร่ในเรื่องสมุนไพรเช่นการแจกแผนพับเรื่องสมุนไพรไกล้ตัว ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันแม่ มีสมุนไพรที่แปรรูปมาร่วมกิจกรรมคณะทำงานเป็นผู้อธิบายปัญหาที่พบ ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนการทำกิจกรรมไม่สะดวกเท่าที่ควรแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี ด้านผลลัพพธ์และการตอบรับค่อนข้างดีมก ชาวบ้านสนใจมากกับกิจกรรมที่นำมาแปรรูปในรูปแบบต่างๆ สำหรับกิจกรรมครึ่งต่อไป ได้ดำเนินการร่วมกับงานเกษตรแฟร์ คณะทำงานได้มอบหมายวางแผนดำเนิน กันไว้แล้ว ซึ่งคณะทำงานได้เตรียมความพร้อมและเเบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบในกิจกรรมได้เชิญกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มต่างๆในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วย คณะทำงานต้องเตรียมป้ายไวนิลป้ายปลอดบุหรี่ให้พร้อมผู้ใหญ่บ้านทำหนังสือแจ้งทุกครัวเรือน เพื่อให้เข้าร่วมกิจกรรรมด้วยผู้ใหญ่บ้านและคณะทำงานได้กล่าวขอบคุณ เจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านไร่เหนือ ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันและขอบคุณทุกๆคนที่เข้าร่วมประชุมปิดประชุมเวลา 15.00 น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต ผู้นำชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย 20 คน

    ผลลัพธ์

    1. สภาผู้นำเข้าร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ไร่เหนือ
    2. มีการจัดกิจกรรมร่วมกันในวันแม่แห่งชาติโดยการเชิญผู้สูงอายุและแม่ในชุมชนมาร่วมกิจกรรมมีการประกวดแม่ดีเด่นมอบดอกมะลิให้แม่ในกิจกรรมของโครงการ

     

    20 20

    34. การคืนข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้าน คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมคืนข้อมูลชุมชน คณะทำงานได้นำกลุ่มเป้าหมายและคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมในงาน มีเจ้าหน้าที่ และองค์กรณ์ต่างๆของหน่วยงานองค์กรณ์การบริหารตำบลเขาขาว มีนายเกษม สังข์แก้ว นายกการบริการตำบลเขาขาวเ็นหัวหน้างาน มีนายอำเภอ นาย ทศพร จันทรประวัติ มาเปิดงานเกษตรแฟร์ มีนายอำเภอ มาร่วมเปิดงาน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน สมชิก อบต กรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี กลุ่มสตรี อสม คณะกรรมการทุกหมู่บ้านเข้าร่วมงาน การจัดงานมีนายก อบต.ท่านให้ทุกหมู่บ้านจัดบูทออกสินค้าในชุมชนมาโชว์และจำหน่าย มีการประกวดผลผลิตทางการเกษตร ประกวดการกรีดยาง ขูดมะพร้าว ปอกมะพร้าว ปิดตาตีหม้อ ตำเครื่องแกง แข่งขันการกินขนม ทุกหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรมของงานเกษตรแฟร์ สำหรับหมู่บ้านที่ 9 บ้านไร่เหนือ ผู้ใหญ่บ้านส่งกิจกรรมของโครงการสมุนไพรสร้างสามัคคีลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือจัดบูท มีผลิตภัณท์จากโครงการเข้าร่วม มีน้ำมันหม่องไพรคะใคร้ สบู่มะขาม สบู่น้ำผึงรวง ยาสมุนไพรหมอคุ้ง ยารักษาริดสิดวง ฟ้าทะลายโจรอัดเม็ด มีน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ น้ำพริกสมุนไพร น้ำพริกมะขาม น้ำพริกตะใคร้ น้ำพริกมะกรูด น้ำพริกหัวทือ แกงขมิ้น สิ้นค้าตัวนี้มีการตอบรับมาก ขายหมดก่อน และขายดีอร่อยถูกใจลูกค้ามาก และมีน้ำสมุนไพร ชาตะใคร้ใบเตย ชากระเพรา มีสมุนไพรสดด้วย เช่น ย่านาง ตะใคร้ ขมิ้น กระเพรา กระชาย ผลมะกรูด และอีกหลายอย่างทั้งหมดได้จากการทำโครงการสมุนไพรของบ้านไร่เหนือ จัดกิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชนพร้อมเผยแพร่ผลิตภัณท์จากโครงการเพื่อได้ขยายการทำงานให้ครอบคลุมทั้งชุมชนและระดับตำบล หมู่บ้านข้างเคียงให้ความสนใจและติดใจผลิตภัณท์ของหมู่ที่9 โดยเฉพาะ น้ำมันหม่องไพลตะใคร้หอม แกงขมิ้น ชาวบ้านหมู่ที่ 9 มีผลิตภัณท์หลายชนิดในหมู่บ้านนำมาจำหน่าย ทำใ้หคนในหมู่บ้านเกิดรายได้ และได้รู้จักการแปรรูปสมุนไพร มีทั้งการแปรรูป ทั้งสด มาจำหน่ายชาวบ้านให้ความสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการสมุนไพรสร้างสามัคคีลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ นายอำเภอและหน่วยงานต่างๆเข้ามาเยี่ยมชมผลิตภัณท์ของชุมชน และถ่ายภาพร่วมกับกับบูทของหมู่ที่ 9 กิจกรรมของโครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือได้รับคำชมจากคณะผุ้เข้าเยี่ยมชม คณะทำงานได้เข้าร่วมกิจกรรมของงานเกษตรแฟร์ทุกวัน มีผลิตภัณท์ของหมู่บ้านทุกวัน ซึ่งเป็นที่รู้จักของชุมชนใกล้เคียง คณะทำงานได้ผลัดเปลี่บนกันเข้าทำกิจกรรม นายกเกษม สังข์แก้ว ทำพิธีปิดงานในวันสุดท้าย ขอบคุณทุกหมู่บ้านที่เข้า่ร่วมกิจกรรมการจัดงาน มีผลิตภัณท์จากหลายหมู่บ้าน หลายชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. คณะทำงานกลุ่มเป้าหมายเจ้าหน้าที่องค์กรต่างๆ และหน่วยงานองค์กรบริหารตำบลเขาขาวร่วม 240 คน
    2. ชาวบ้านร่วมกันทำกิจกรรม และบ้านไร่เหนือนำผลผลิตไปจำหน่ายมี มันหม่อง 100 ขวดสบู่ 85 ก้อนแกงขมิ้น 2 หม้อใหญ่น้ำพริก100 กระปุก น้ำสมุนไพร96 ขวด ยาริดสิดวง 45 ห่อ

    ผลลัพทธ์

    1. มีการเข้าร่วมกิจกรรมระดับตำบล
    2. ได้เผยแพร่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของหมู่บ้านที่นำใปจำหน่าย มีสมุนไพรสดจำหน่าย มี มันหม่องไพรตะไคร้หอมสบู่ขมิ้นมะขามน้ำผึ้งรวง ยาแผนโบราณหมอคุ้ง ยาริดสิดวง ยานกเขาไม่ขัน ด้านอาหาร น้ำสมุนไพร แกงขมิ้น น้ำพริกหัวทือน้ำพริกมะกรูด น้ำพริกตะไคร้น้ำพริกมะขาม
    3. เป็นที่สนใจของระดับตำบลโดยเฉพาะด้านอาหารผู้คนสนใจเป็นพิเศษ

     

    240 240

    35. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 11

    วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้านคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน ร่วมประชุมประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานร่วมกันพูดคุยถึงกิจกรรมชองโครงการได้เสร็จสิ้นแล้วร่วมกันพูดคุย ถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากครัวเรือนที่ไม่สนใจเลย ไม่รับรู้ไม่รับฟัง ไม่มีเหตุผลทำไม่ได้หรอกบ้านเรา คำพูดก่อนที่โครงการสมุนไพร คณะทำงานต้องอดทนทำกิจกรรมต่อเนื่องเรื่อยๆมา จนตอนนี้เขายอมรับ (โครงการนี้เปนโครงการที่ดีน้ะ) กิจกรรมที่ออกสำรวจสมุรไพร ปันหาที่พบเป็นช่วงฤดูแล้งพอดีจึงพบสมุนไพรไม่มากเท่าที่ควร แต่ก็ยังมีบ้างสภาผู้นำมีการประชุม ร่วมพูดถึงการทำงานและวางแผนและปันหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นการวิเคราะห์สมุนไพรก็ไปได้ด้วยดีไม่มีปันหาอะไรการคืนข้อมูลสู่ประชาชนก้อมีครัวเรือนเข้าร่วมเต็มกล่มเป้าหมาย การจัดทำบันชีครัวเรือน ตอนนี้มีบางครัวเรือนมีการทำบันชีครัวเรือนทุกเดือนร่วมสืบสานสมุนไพรพบปันหาบ้างเป็นช่วงฤดูฝน การทำกิจกรรมลำบากไม่สำเร็จตามที่กำหนด ล่าช้าไปเล็กน้อย กิจกรรมเรียนรู้และขยายพันธ์ ก็มีผูเข้าร่วมกิจกรรมมากมายหาสมุนไพรในชุมชนมาช่วยกันปลูกถอดบทเรียนสำเร็จด้วยดีการคืนข้อมูลสู่ชุมชน ถ้าเป็นไปได้ด้วยดี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มเป้าหมาย มีกลุ่มผลิตภันของโครงการออกโชว์และจำหน่ายเกิดยอมรับจากชุมชนเพื่อนบ้านใกล้ๆตอนนี้ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถนำสมุนไพรที่มีในครัวเรือนและชุมชนมาเป็นยารักษาโรคและใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น สร้างรายได้ให้กับชุมชนและลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ซึ่งในโครงการนี้ทำให้คนในชุมชนรักและสามัคคีกันได้ เป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ อสม. เยาวชน เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านใร่เหนือ เจ้าหน้าที่สภา อบต.เขาขาว ได้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกิจกรรมเชื่อมสานความสำคัญของคนในชุมชนได้ดีมากสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของแต่ละบุคคลได้ มีความคิดพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นและยังมีกิจกรรมสภาผู้นำอีกในเดือน กันยายน2559 ซึ่งเป็นกิจกรรมสุดท้ายจึงนัดคณะทำงานสภาผู้นำชุมชนในวันที่ 7 กันยยายน เวลา 13.00 น.ให้ทุกคนมาพร้อมกัน

     

    20 20

    36. พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบเอกสาร

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรม มาตรวจเอกสาร และติดตามความคืบหน้าของโครงการ  โดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงิน  และการบันทึกในเวปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

    ผลลัพธ์

    1. ได้ตรวจสอบเอกสารแล้วต้องกลับไปแก้ใขในเรื่องของใบเสร็จ
    2. ไปบันทึกข้อมูลในเวปไซต์ให้เรียบร้อย

    ปัญหา

    • ในการทำโครงการ บ้านไร่เหนือมีปัญหาในเรื่องทำเอกสารยังไม่เสร็จเรียบร้อย ในบางกิจกรรม แนวทางแก้ใขวันนั้นผู้รับผิดชอบโครงการและกรรมการโครงการได้ช่วยกันทำเอกสารในบางกิจกรรม จนเกือบสมบูรณ์ และหลังจากนั้นได้กลับมาทำจนเสร็จที่บ้าน และลงบันทึกข้อมูลในเวปไซต์

     

    2 2

    37. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 12

    วันที่ 7 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้ใหญ่บ้าน คณะทำงานสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกันยายน 2559 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายชองการทำกิจกรรมชองโครงการร่วมพูดคุยการประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 11 ในเดือนสิงหาคม 2559 พูดคุยปัญหาและการตอบรับของคนในชุมชนจากที่ทำกิจกรรมร่วมกันของคนชุมชนปรับเปลี่ยนความคิดใด้ดีขึ้นและช่วยเหลือเหลือซึ่งกันและกันในชุมชนลดปัญหาหนี้สินเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนในชุมชนสุขภาพดีขึ้นคนในชุมชนรักและสามัคคีมีการแปรรูปสมุนไพรในชุมชน และปรับพฤติกรรมการดูแลตัวเองเกิดการยอมรับของคนในชุมชนและหมู่บ้านไกล้เคียงในหมู่บ้านมีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปจากทุนที่มีในชุมชน เช่นมีน้ำมันหม่องไพรตะไคร้หอมน้ำมันเสลดพังพอนตะไคร้หอมสบู่สมุนไพรขมิ้นอ้อยน้ำผี้งน้ำยาล้างจานมะกรูดดอกอัญชัญแกงขมิ้นน้ำพริกสมุนไพรน้ำสมุนไพรธรรมชาติมียาสมุนไพรหมอคุ้ง ยาริดสิดวง ยานกเขาขัน ยาเลือด มีแหล่งเรียนรู้สมุนไพรชุมชนเกิดขึ้นมีภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสมุนไพร การสืบทอดตามตำรับยาสมุนไพรชองหมอคุ้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม20 คน

    ผลลัพธ์

    1. มีสภาผู้นำชุมชนร่วมมาปรึกษาประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
    2. รู้ถึงปัญหาที่พบในชุมชน มาร่วมกันนำเสนอปรับเปลี่ยนความคิดเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชน
    3. เพื่อให้ลดปัญหาที่พบในครัวเรือนปรับความคิดพฤติกรรมให้ดีขึ้น
    4. เสนอการแนะแนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์
    5. จากการทำโครงการสมุนไพร ช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือได้เห็นความร่วมมือของผู้นำและเจ้าหน้าที่คณะทำงานและกลุ่มต่างๆร่วมมือกันเป็นอย่างดี และเป็นความภาคภูมิใจของคนในชุมชนทุกคนโดยเฉพาะคณะทำงาน ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆมากมายการเขียนรายงานการทำกิจกรรมการดำเนินงานและได้เห็นคนในชุมชนรักกัน ร่วมมือร่วมใจกัน ในส่วนกิจกรรม พบพี่เลี้ยงในวันที่ 3 ถึง4 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ที่หาดใหญ่คณะทำงานได้มอบหมายให้นางจิราภรพลประมวล และนางขวัญใจชูทอง ไปร่วมกิจกรรมการตรวจเอกสารต่างๆ ทุกอย่างจะตรวจในวันที่15 ตุลาคม 2559 นี้พี่เลี้ยงให้เตรียมเอกสารต่างๆให้พร้อมเพราะปิดงวดที่ 2 และนำเครื่องถ่ายเอกสารไปด้วยแผ่นซีดีตรวจการทำการเงินทุกกิจกรรม จะต้องเสร็จสิ้นพร้อมตรวจ ผู้ใหญ่บ้านกล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนที่ทำให้กิจกรรมผ่านใปลุล่วงด้วยดีและกล่าวปิดประชุมเวลา13.00 น

     

    20 20

    38. การถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน

    วันที่ 30 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรม การจัดทำรายงานโดยกิจกรรมในวันนี้ก็เป็นการเตรียมเอกสารเพื่อจะทำรายงานปิดโครงการ โดยตรวจเช็คเอกสารแต่ละกิจกรรมและตรวจสอบการบันทึกข้อมูลในเวปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน 2.ได้จัดทำรายงานเพือปิดโครงการ

     

    2 2

    39. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      วันจันทร์ ที่ 3  ตุลาคม ๒๕๕๙ 12.00 - 13.00  น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย 13.00 - 13.10  น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 13.10- 13.30  น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 13.30 - 15.00  น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 15.00 - 15.30  น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) 15.30-17.00  น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 12  ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช 18.00 - 20.00  น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ 08.00 - 09.00  น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม 09.00 - 12.00  น.การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 2. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ 5. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ • 09.00 -12.00  น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1  ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข 12.00 -14.00  น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 14.00-17.00  น. การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) 2. ความมั่นคงทางอาหาร 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) 6.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว 7.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม 14.00-17.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 2 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) 18.00 -20.00  น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน วันพุธที่ 5  ตุลาคม 2559    08.00 - 09.00  น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 09.00-10.30  น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 10.30 11.45  น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดย  นายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ 11.45 -12.00  น. พิธีปิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่  สู่นโยบายสาธารณะ 1.การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส. 2.สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำ  สสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใคร  ทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียน  และทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด 3.การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กร  เชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการ  วันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์  เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก) 4.อยากเติมเต็ม  โครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอที  หลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอที  อาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 3. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ      ข้อเสนอ สสส. - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สช. - เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม - นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช. - ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล - กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ - กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข - กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส - สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น - นาเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

     

    2 2

    40. กิจกรรมการถอดบทเรียนจากการดำเนินโครงการ

    วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผุ้ใหญ่บ้าน คณะทำงาน และกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมการถอดบทเรียน การถอดบทเรียนจากการดำเนินโครงการ นัดครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมพูดคุยสนทนา จากกิจกรรมในโครงการสรุปผลการดำเนินงาน เมื่อเป้าหมายมาครบองค์ประชุม ก็เริ่มพูดคุยกันคณะทำงานได้ถาม ครอบครัวที่ร่วมกิจกรรม ท่านได้ปลูกสมุนไพรอะไรบ้าง มีสมุนไพรใดที่ท่านเอามาใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง โครงการนี้ดีมากที่ท่านเข้าร่วมกิจกรรม นาง ปรีดา บุญเสมอ ได้บอกว่าเป็นโครงการที่ดีมาก ป้าได้เพื่อนตอนมาทำกิจกรรม ป้ามีสมุนไพรไว้กินเอง บ้านป้ามีดีปลี ถั่วฟักยาว กระเพราะ หัวชาย ขิง ข่า ส้มปอย ตัวนี้ป้ากินทุกวัน แก้บำรุงหัวใจ บำรุงร่างกายป้าต้มกินทุกวันเป็นยาวิเศษแก้โรคไตป้ากินตัวนี้หายแล้วตอนนี้ เกิดความเปลี่ยนตัวป้าเปลี่ยนไปในทางที่ดีทั้งกายและใจ คนในครอบครัวป้าก็ยอมรับลูกๆป้าก็เข้าร่วมกิจกรรม และให้ข้อมูลทุกครั้งที่คณะทำงานลงสำรวจป้าอยากให้ทำโครงการนี้ไปเรื่อยๆๆค่ะ คณะทำงานได้ขอบใจป้าครัวต่อไปเชิญป้า คำนึง ทองกระจ่าง ได้เล่าจากการเข้าร่วมกิจกรรมป้าชอบกิจกรรมวิเคราะห์สมุนไพร ป้าได้รู้จักสมุนไพรมากขึ้น สมุนไพรที่ป้าใช้ประจำคือ ฟ้าทะลายโจร ผสมกับน้ำผึงรวง ปั้นเป็นลูกกลอน กินแก้เจ็บคอ แก้ใข้หวัด บ้านป้าไม่มียาพาราเข้าบ้านป้าใช้สมุนไพรตัวนี้แทนป้ายังปลูกเสาวรสไว้ทำน้ำสมุนไพรกินที่บ้าน และป้าเองชอบในกิจกรรมนี้ และเช้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ข้อดีคือ มีสมุนไพรเพิ่มขึ้น สุขภาพป้าดีขึ้น ข้อเสียก็คือถ้ากินมากเกินไปมันจะไปสะสมในร่างกายให้กินพอๆดี ป้าอยากแนะนำให้ลูกๆ ทำกิจกรรมแบบนี้ไปเรื่อยๆ ป้าให้ความร่วมมือทุกอย่าง ป้าได้พบเพื่อนพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดป้าไม่เหงา นาง เพ็ญศรี อยู่ดวง เป็นผู้รับการถ่ายทอกตำรับยาจากหมอคุ้ง ซึ่งเป็นหมอสมุนไพรในชุมชน นางเพ็ญศรี ได้พูดคุยในการทำยาสมุนไพร ยารักษาโรคริดสิดวงทยาเลือดของผู้หญิง แก้เจ็บเอวมีสมุนไพรหลายตัวที่นำมาทำยา นำมาบดผงใส่แคปซูลสิ่งที่ดีที่ได้จากโครงการ ป้าลดรายจ่ายในครัวเรือน มีอาชีพเสริมป้าดามีสมุนไพรฟ้าทะลายโจร หญ้าใต้ใบกินเอง ถ่ายท้องดี น่ยหนูนิด ไทยเล็ก กินบอระเพ็ดเป็นประจำ ที่บ้านลุวมีมากกว่า 10 ชนิดที่บ้านทำน้ำยาเอนกประสงค์ สบู่ ใช้เองได้วิธีการทำจากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ลุงยากให้ทำโครงการแบบน้เพราะชาวบ้านเกิดประโยชน์มาก ทุกคนได้ร่วมกันสรุปโครงการจากการดำเนินโครงการ ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความร่วมมือกันมากขึ้น ลดปัญหาหนี้สินชุมชนยอมรับในกิจกรรมที่เกิดขึ้น มีผลผลิตสู่ชุมชน จากคนที่เข้าพูดว่า ทำไม่ได้บ้านเราทำยากทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ตอนนี้เขาได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับเรา และให้ขู้มูลกับคณะทำงานและตอนนี้ชุมชนของเรามีแหล่งเรียนรู้สมุนไพรแห่งแรกของตำบลเขาขาว มีผลผลิตให้กับชุมชน ทำให้เกิดกลุ่มต่างๆในชุมชน ข้อเสียคือ ขาดความพร้อมบางกิจกรรม มีภัยธรรมชาติ ฝนตก ขาดข้อมูลบางครัวเรือน พบภัยแล้งสมุนไพรตายมากในช่วงแห้งแล้ง ข้อเสนอแนะ ชุมชน อยากให้มีโครงการแบบนี้อีกแปรรูปสมุนไพรมากกว่านี้ เพื่อเสริมรายได้และให้ปราญ์ชุมชุนมาให้ความรู้เรื่องสมุนไพรให้มากกว่านี้ สรุปผลจากการดำเนินโครงการคือ ให้ความรู้ชุมชนมีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องสมุนไพร มีแหล่งเรียนรู้สมุนไพรชุมชน จากทำโครงการคณะทำงานได้ทำงานเก่งขึ้น มีความรู้เพิ่มให้กับตัวเอง เรียนรู้การเขียนกิจกรรมเพิ่มขึ้นสรุปผลการเงิน ทุกคนได้ร่วมกันลงความเห็นร่วมกับถอดบทเรียน เป็นไปตามเป้าหมายทุกอย่าง ผู้ใหญ่บ้านได้ขอบใจ ผู้เจ้าร่วมกิจกรรมและกล่าวปิดการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย 100 คน ได้ร่วมกันถอดบทเรียนโครงการ

    ผลลัพธ์

    1.คณะทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย ถอดบทเรียนจากการดำเนินกิจกรรมร่วมพูดคุย สรุปผลกิจกรรมที่ทำทั้งหมดของโครงการ

    2.ชุมชนมีความรู้เรื่องสมุนไพรเพิ่มขึ้น

    3.มีศูนย์เรียนรู้สมุนไพรชุมชน มีแปลงสาธิตสมุนไพรชุมชน

    4.มีผลิตภัณท์ในชุมชน

    5.มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง มีกลุ่มต่างๆ ในชุมชน มีเวธีพูดคุยปรึกษากันในชุมชน

     

    100 100

    41. การประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วันนี้เป็นกิจกรรมการประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการโดยในวันนีได้เดินทางมาที่ รพ.สต.เขาพระบาทเพื่อมาทำรายงานฉบับสมบูรร์ เพื่อเตรียมปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผู้เข้าารร่วมกิจกรรม 2 คน โดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงินการบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ บันทึกข้อมูลกิจกรรมต่างๆ รายละเอียดของกิจกรรม การบันทึกรูปในเว็บไซต์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และก็ให้พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และข้อมูลในเว็บไซต์
    2. มีรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเตรียมปิดโครงการ

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน 2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น

    1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือนจำนวน 12 ครั้ง

    2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมร้อยละ 95

    3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน

    2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเพิ่มรายได้ของครัวเรือน
    ตัวชี้วัด : 1.ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม 50 ครัวเรือน (ทั้งหมด 228 ครัวเรือน) 2.ครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจรรมทุกครั้ง ร้อยละ 90 3.ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มจากการแปรรูปสมุนไพร ครัวเรือนละ 1,500 บาทต่อเดือน ปีละ 18,000 บาทต่อครัวเรือน (เป้า 50 ครัวเรือน)

    1.ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม 50 ครัวเรือน (ตั้งเป้าไว้ 50 ครัว) และเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งร้อยละ 95

    2.ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้จากการทำยาสมุนไพรแปรรูป เฉลี่ยเดือนละ 1500 บาท ปีละ 75,000 บาท

    3.มีแหล่งเรียนรู้สมุนไพรที่บ้านไร่เหนือและแปลงสมุนไพรที่ชาวบ้าน นำมาปลูกไว้ที่หอประชุม

    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.คณะทำงานเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด)

    2.จัดทำป้ายโครงการและป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม ทุกครั้ง

    3.มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม ร้อยละ 100

    4.จัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง (2) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิธีการเพิ่มรายได้ของครัวเรือน (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ

    รหัสโครงการ 58-03919 รหัสสัญญา 58-00-2042 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    เกิดความรู้ใหม่ คือ
    1.การขยายพันธ์สมุนไพร การสกัดสมุนไพรคุณประโยชน์สมุนไพร 2.การทำน้ำยาสมุนไพร 3.การทำน้ำมันนวดไพล

    บันทึกการประชุมและศูนย์เรียนรู้

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    ชาวบ้านนำสมุนไพรไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนี้ 1.ชาใบเตยชากระเพราะ เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด 2.ชามะละกอ เพื่อ ล้างลำไส้

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    มีการประชุมและทำงานแบบใหม่ ในรูปบบสภาผู้นำ 1.โดยมีเวทีประชุมหมู่บ้าน 2.คนเข้าร่วมประชุมเพิ่มขึ้น
    3.มีข้อเสนอมากขึ้นมีการถกเถียงให้เกิดประเด็น แต่มีข้อเสนอที่ดีในการพัฒนา

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มแปรรูปสมุนไพร ได้แก่ ทำยาหม่องสมุนไพร และจำหน่ายในชุมชน รวมทั้งการแปรรูปสมุนไพร

    ภาพถ่ายกิจกรรมโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 2 แห่ง คือ 1.สวนสมุนไพร ที่ศาลาประชุมหมู่บ้าน จะปลูกสมุนไพรในชุมชนเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ 2.สมุนไพรที่บ้านแกนนำและปราชญ์ชุมชน โดยการปลูกสมุนไพรไว้และทำการแปรรูปที่บ้านแกนนำชุมชน

    ภาพถ่ายโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    มีการส่งเสริมให้ปลูกผักไว้กินเองในครัวและส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ และการล้างพิษในร่างกาย

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการติดตแผ่นป้่ายรณรงค์งดสูบบุหรี่ในที่ประชุม และบ้านผู้นำ

    ภาพถ่ายโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    1.การปลูกสมุนไพร ที่บ้าน ทันใช้ ใช้พื้นที่ว่าง เป็นการนำสมุนไพรมาใช้รักษาดูแลสุขภาพ เด้กได้รู้จักคุณค่าสมุนไพร
    2.มีการทำน้ำมันหม่อง น้ำยาล้างจาน ชาวบ้านใช้ ลดต้นทุน ไม่ต้องซื้อ
    3.ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลดได้ประมาณ 500 บาท ต่อครัวเรือน ต่อเดือนเข้าร่วมโครงการ 50 ครัวเรือน เฉลี่ยเดือนละ 25,000 บาทต่อชุมชน

    บันทึกการประชุมและภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    รอบบ้านมีการปลูกสมุนไพร เพิ่มขึ้นจากเดิม 10 ต้น ต้นละ 1 ชนิดตอนนี้ มีการปลูกเพิ่มหลายชนิด ชนิดละหลายๆต้น ทุกบ้านปลูกประมาณ 20 ชนิด ข้อดีทำให้ได้รู้จักสมุนไพรเพิ่มขึ้น เป็นการปลูกไว้ใช้ในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่าย

    บันทึกการถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    1.คนในหมู่บ้านเข้ามาร่วมกิจกรรม มากขึ้น มีกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น 2.คนในหมู่บ้านมีความรัก ความสามัคคีเพิ่มขึ้น 3.มีการเชื่อมโยงระหว่างวัย ผู้สูงอายุ เด็ก คนวัยทำงาน เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน
    4.มีการทำน้ำมันหม่อง น้ำยาล้างจาน ชาวบ้านใช้ ลดต้นทุน ไม่ต้องซื้อ

    บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลดได้ประมาณ 500 บาท ต่อครัวเรือน ต่อเดือนเข้าร่วมโครงการ 50 ครัวเรือน เฉลี่ยเดือนละ 25,000 บาทต่อชุมชน

    บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    มีกติกากลุ่มคือ ทุกคนต้องยอมรับระหว่างกันและทุกคนต้องมีหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในการทำกิจกรรมตามโครงการ

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    การทำกิจกรรมกลุ่มเป็นการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชนและคณะทำงานเกิดความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัย

    บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการนำทุนในชุมชน คือ ปราชญ์ชุมชนมาสอนเรื่องสมุนไพร และนำสมุนไพรในชุมชน มาเรียนรู้สรรพคุณและแปรรูป จนสร้างคุณค่าและสร้างรายได้ให้

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ชุมชน ปราชญ์ และครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม เกิดความรู้สึกรัก หวงแหน สมุนไพรชมชน

    บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03919

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง จิราภรณ์ พลประมวล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด