แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ ”

บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นาง อาจารีย์ สิทธิศักดิ์

ชื่อโครงการ ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้

ที่อยู่ บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03859 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2028

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้



บทคัดย่อ

โครงการ " ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 58-03859 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 209,250.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 310 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้การวิธีลดรายจ่ายภูมิปัญญาชุมชน
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 1

    วันที่ 6 กันยายน 2558 เวลา 13.00 น- 16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ภาคเช้าเป็นการประชุมประจำเดือนของหมู่ที่1 ตำบลควนหนองหงส์ผู้ใหญ่บ้านคือนายชนะ ห้วยแก้ว ได้เปิดการประชุมโดยใช้สถานที่ประชุมคือ หอประชุมบ้านกาโห่ใต้โดย มีนาง จิรนันท์ แปะก๋งเส้ง พยาบาลวิชาชีพได้เข้าร่วมการประชุมด้วย เพื่อมาชี้แจงโครงการที่ได้รับงบประมาณจาก สสส เพื่อที่จะให้ตัวแทนจากชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนบ้านกาโห่ใต้ ซึ่งได้คัดเลือกตัวแทนจากผู้นำชุมชนตัวแทนจากหน่วยราชการในราชการในพื้นที่ และจิตอาสาพัฒนาชุมชน โดยนำวาระการดำเนินงานมาคุยในวันประชุมประจำเดือน โดยใช้สถานที่หอประที่หอประชุมหมู่บ้านในการประชุม และวาระของ รพสต บ้านควนหนองหงส์ รณรงค์ในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม การสำรวจข้อมูลหมู่บ้านมีนายระเบียบ กัญชนะกาญจน์ เป็นคนรับผิดชอบ เรื่อง ฝากเงินสัจจะในหมู่บ้านการระดมเงินฝากวันละบาทเพื่อเป็นสวัสดิการของครัวเรือน และพูดถึงการพัฒนางาน เมื่อมีปัญหาในชุมชนก็ได้มาพูดคุยทำความเข้าใจกันและแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยมีการจดบันทึกวาระการประชุมโดยโดยนายลิขิต กัญชนะกาญจน์ และนำผลการประชุมมาพูดคุยกันให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม และให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารในหมู่บ้านและร่วมกันแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านมีความตระหนักในเรื่องสุขภาพและปัญหาทั่วไปในชุมชน


    ภาคบ่ายเป็นการพูดคุยเพื่อจัดตั้งสภาชุมชนบ้านควนหนองหงส์ โดยทุกคนมอบให้นายชนะ ห้วยแก้ว ยังเป็นประธานของสภาชุมชน บ้านก่าโห่ใต้ และมีคณะทำงานประกอบด้วย นาง อาจารีย์ สิทธิศักดิ์
    นางสาว ชาลิสา หมื่นรักษ์ , นาง จิรนันท์ แปะก๋งเส้ง , นาย จำนงค์ แก้วมณี , นาย ทวีป นวลใหม่ , นาง สมใจ ชูโชดโดยนางจิรนันท์ เล่าให้ฟังว่าบทบาทขององค์กรสภาชุมชนทำอะไรบ้าง สภาชุมชน คือหมายถึง เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยคนในชุมชนท้องถิ่น และเพื่อคนในชุมชนท้องถิ่นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย ตัวแทนของคนในชุมชนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มยาเหลือง กลุ่ม อสม และกลุ่มที่มีอยู่ในชุมชนโดยมีผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ เช่น ผู้รู้ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำทางการได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านสอบต. เข้ามาร่วมใช้เวทีพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นร่วมกันสภาชุมชนเกิดประโยชน์ ดังนี้
    1.ทำให้ชุมชน มีเวทีกลางของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการพัฒนาชุมชนที่เปิดพื้นที่ให้กลุ่มกิจกรรมต่างๆ คนที่มีความตั้งใจทำสิ่งดีๆ เพื่อชุมชนหรือคนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยน เพื่อหาทางแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อชุมชนท้องถิ่นร่วมกัน 2.ทำให้เกิดความร่วมมือ และลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน เพราะสภาชุมชนเป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการปรึกษาหารือของทุกฝ่ายร่วมกัน ไม่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกไป
    3.ทำให้ชุมชนเกิดการจัดการความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเองของชุมชนที่เกิดจากการปฏิบัติจริง และเกิดการขยายผลออกไปสู่วงกว้างอย่างเป็นกระบวนการ 4.ทำให้เกิดประชาธิปไตยชุมชนที่เข้มแข็ง เพราะสภาชุมชนมีกระบวน การประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือทำให้คน กลุ่มคน เข้ามาร่วมกันทำโดยผ่านระบบตัวแทนน้อยที่สุด เมื่อสอบถามกลุ่มเป้าหมายทุกคนเห็นด้วยกับ กระบวนการผลักดันให้เกิดสภาชุมชน และร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า 1.มีกลุ่มเป้าหมายเข้าประชุม 30 คน
    2.ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีมติร่วมจัดตั้งสภาชุมชนและทำความเข้าใจในเรื่องการจัดตั้งสภาชุมชน ของหมู่ที่ 1 3.ได้เรียนรู้ในเรื่องการจัดทำสภาผู้นำชุมชน ประชาชนมีความเข้าใจมากขึ้น

     

    25 25

    2. ปฐมนิเทศนิเทศโครงการใหม่

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
    อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง 3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงิน
    อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการถ่ายภาพในการทำโครงการ พี่หมี ได้แนะนำเกี่ยวกับการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันนี้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ มีตัวแทน 2 คน เข้าร่วมประชุม และได้เรียนรู้

    1. เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
    2. เรียนรู้วิธีการตรวจสอบเอกสารโครงการ
    3. เรียนรู้วิธีดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
    4. ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
    5. ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน
    6. ได้เรียนรู้การถ่ายภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ

     

    2 2

    3. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 2

    วันที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ภาคเช้าเป็นการพูดคุยประชุมประจำเดือน ตัวแทนกลุ่มชุมชนได้เข้าร่วมประชุมร่วมกับผู้นำชุมชน โดยมีวาระการประชุมโดยทั่วไปที่ตัวแทนจากส่วนราชการได้มาชี้แจงในที่ประชุมเรื่อง การขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อรับเงินชดเชยจากรัฐบาล โดย ผู้ใหญ่บ้านนายชนะ ห้วยแก้ว และมีสหกรณ์ได้เข้ามาชี้แจงเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยในการทำบัญชีครัวเรือนการทำบัญชี คือ การจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัวข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในแต่ละวันแต่ละ สัปดาห์แต่ละเดือน จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่างๆในชีวิต ในครอบครัวจะเป็นการการจดบันทึกรายการเกี่ยวกับการเงินทุกรายการ ทั้งที่ได้รับเข้ามาและที่ต้องจ่ายออกไปในแต่ละวันการทำบัญชีบันทึกรายรับ – รายจ่าย เป็นการบันทึกรายรับรายจ่ายของแต่ละวัน เปรียบเสมือนเป็นการวางแผนการเงินใช้จ่ายให้ถูกวิธี และทำให้ตัวเราเองเป็นคนที่มีระเบียบวินัยเพิ่มมากขึ้น จะได้งดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และสอนให้รู้ถึงประโยชน์ของการทำบัญชี การทำบัญชีครัวเรือนนั้น ทำให้เรารู้การใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือน ช่วยให้สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในออกไปได้ทำให้มีเงินเหลือมากขึ้น เช่น ค่าบุหรี่ค่าซื้อหวยค่าโทรศัพท์ เป็นตันและทำให้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อนจะใช้จ่ายอะไร จะได้รู้ว่าอะไรที่ไม่จำเป็นหรือจำเป็นที่จะต้องใช้ และจะได้มีเงินเหลือ เก็บไว้เป็นเงินออม เก็บไว้ใช้จ่ายยามจำเป็นอีกด้วยส่วนวัตถุประสงค์ของการบันทึกบัญชีครัวเรือน ก็เพื่อให้ผู้บันทึก 1.สามารถวางแผนการใช้จ่ายต่อไปได้อย่างรอบคอบ ไม่ใช้จ่ายเกินกว่าเงินคงเหลือเนื่องจากทุกครั้งที่บันทึกบัญชีจะทราบถึงยอดเงินคงเหลือของตน 2.ทราบถึงถึงรายได้และค่าใช้จ่ายของตนและครอบครัว ทั้งรายละเอียดและภาพรวมในครอบครัว 3.เมื่อผู้บันทึกทำการวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายของตนที่ได้บันทึกไว้แล้ว จะสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จาเป็น ทำให้เกิดการประหยัดและการออม และหากมีการใช้จ่ายเท่าที่มีก็จะไม่ก่อให้เกิดหนี้สิน จึงสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้อย่างยั่งยืน


    การประชุมสภาชุมชน (ตอนช่วงบ่าย) เป็นการพูดคุยของสภาชุมชนบ้านควนหนองหงส์ ครั้งที่ 2 โดยนางจิรนันท์ แปะก๋งเส้ง พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต. บ้านควนหนองหงส์ได้ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานของโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ ซึ่งโครงการได้รับงบประมาณจาก สสส.โดยใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยคุณครูณรงค์ เนาว์สุวรรณ์ นางเกลื้อม ขวัญทอง ผู้สืบทอดภูมิปัญญาในท้องถิ่นเพื่อต้องการแก้ปัญหาหนี้สินระดับครัวเรือนโดยใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น เหตุผลที่ต้องไปของบประมาณเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน เพราะทุกวันนี้ ปัญหาในชุมชนที่ทุกคนประสบทุกครัวเรือนคือปัญหาหนี้สินเรือนรายได้ไม่พอรายจ่ายเพราะสินค้ามีราคาสูงขึ้นไม่มีการวางแผนการใช้จ่ายใช้จ่ายฟุ่มเฟือยใช้ชีวิตแบบวิถีนิยม บ้านกาโห่ใต้ของพวกเราเป็นชุมชนที่ทำสวนยางพารา พอราคายางตกต่ำจึงทำให้เกิดการหนี้จากการใช้จ่ายที่ไม่เพียงพอ อาจจะเกิดปัญหาทะเลาะกันในครอบครัว มีปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้เครียดเนื่องจากไม่ได้วางแผนการใช้จ่าย ทำให้เกิดภาวะหนี้สินโดยไม่จำเป็นการแก้ปัญหาโดยจะใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนมาแก้ปัญหา จะมีการเรียนรู้การลดค่าใช้จ่ายการทำบัญชีครัวเรือนกำหนดกติการ่วมกันในการทำกิจกรรมมีการเรียนรู้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน ได้แก่สมุนไพรการนวดจักรสานการทำขนมไทย เพื่อที่จะใช้ภูมิปัญญาในการสร้างรายได้ โดยใช้ครูภูมิปัญญาที่มีในชุมชนมาเป็นผู้สอนโดยจะมี อสม. นักเรียนและเยาวชน มาขับเคลื่อนในการทำกิจกรรม และเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเพื่อชุมชนมีความรักความสามัคคีกลับมาเป็นชุมชนที่น่าอยู่เหมือนเดิมมีการร่วมทำกิจกรรมและร่วมพันนาหมู่บ้าน สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มรายได้ ให้กับครอบครัว เพิ่มการออมในระดับบุคคลและครอบครัวปรับการดำรงชีวิต ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ให้สอดคล้องตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คนมีจิตสำนึก รักความถูกต้อง มีคุณธรรม จริยธรรม มีการเอื้ออาทร สร้างจิตอาสาในการทำงาน มีกติกา มีการช่วยเหลือกันเป็นกลุ่มเกิดการปฎิบัติการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการการเรียนรู้ และได้มีการเรียนรู้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผู้เข้าร่วมประชุม 25 คน
    2. สภาผู้นำชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกันภายในและและได้ทำความเข้าใจบทบาทตนเองมากขึ้น
    3. คณะทำงานได้เรียนรู้ถึงผลดีของการทำบัญชีครัวเรือน
    4. คณะทำงาน ได้มีการวางแผนการทำงาน และแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ

     

    25 25

    4. ประชาสัมพันธ์โครงการ

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้พี่เลี้ยงโครงการนำโดย นายยงยุทธ สุขพิทักษ์ นายมนูญ พลายชุม พิ่เลี้ยงโครงการได้มาชี้แจงและเปิดตัวโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ซึ่งได้รับงบประมาณจาก สสส.โดยใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยคุณครูณรงค์ เนาว์สุวรรณ์ นางเกลื้อม ขวัญทอง ผู้สืบทอดภูมิปัญญาในท้องถิ่น และชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานให้ประชาชนได้รับทราบรายละเอียดกิจกรรมโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ เพื่อต้องการแก้ปัญหาหนี้สินระดับครัวเรือนโดยใช้ภูมิปัญญาพร้อมประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนกลุ่มเป้าหมายทีเข้าร่วมประชุม

    เหตุผลที่อยากพัฒนาโครงการ เพราะคณะทำงานของหมู่่บ้าน ได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา พบว่าปัญหาในชุมชนที่เลือกปัญหาหนี้สินเรือนรายได้ไม่พอรายจ่าย เนื่องจาก สินค้ามีราคาสูงขึ้น ผู้คนไม่มีการวางแผนการใช้จ่ายใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายในสิ่งของที่ไม่ชุมชนก้าวทันกับเทคโนโลยี ใช้จ่ายสิ่งของที่ไม่จำเป็น ใช้ชีวิตแบบวิถีนิยม อยากจะมีเหมือนคนอื่น จึงทำให้รายได้ที่ได้มาไม่พอกับรายจ่ายที่จ่าย ประกอบกับบ้านกาโห่เป็นชุมชนที่ทำสวนยางพาราเป็นส่วนมาก ราคายางตกต่ำจึงทำให้เกิดการหนี้จากการใช้จ่ายที่ไม่เพียงพอ อาจจะเกิดปัญหาทะเลาะกันในครอบครัว มีปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้เครียดเนื่องจากไม่ได้วางแผนการใช้จ่าย ทำให้เกิดภาวะหนี้สินโดยไม่จำเป็น และในการวิเคราะห์ชุมชน พบว่าคนในชุมชนยังมีความความขัดแย้งกันมีการแบ่งพรรคแบ่งฝ่าย หลังจากการเมืองท้องถิ่นมามีอิทธิพลทำให้เกิดการทะเลาะกันในกลุ่มของเครือญาติเนื่องจากความคิดเห็นในการเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่นทำให้คนในชุมชนทะเลาะกันและเกิดการรวมกลุ่มกันยากทำให้ระบบการช่วยเหลือกันแบบญาติพิ่น้องก็หายไปประชาชนใช้ชีวิตแบบวิถีนิยมที่มีความเชื่อใหม่ๆเชื่อจากสื่อออนไลน์สื่อสังคมใหม่ ทำขาดการคิดและไตร่ตรอง ทำให้เกิดความเชื่อที่ผิดๆ และเกิดปัญหาต่างๆตามมาได้ประชาชนบางกลุ่มมีความรู้แต่ไม่สนใจไม่นำความรู้มาใช้ในการพัฒนาขาดความตระหนักต่อชุมชน การแก้ปัญหาโดยจะใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนมาแก้ปัญหา จะมีการเรียนรู้การลดค่าใช้จ่ายการทำบัญชีครัวเรือนกำหนดกติการ่วมกันในการทำกิจกรรมมีการเรียนรู้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน ได้แก้สมุนไพรการนวดจักรสานการทำขนมไทย เพื่อที่จะใช้ภูมิปัญญาในการสร้างรายได้ โดยใช้ครูภูมิปัญญาที่มีในชุมชนมาเป็นผู้สอนโดยจะมี อสม. นักเรียนและเยาวชน มาขับเคลื่อนในการทำกิจกรรม และเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเพื่อชุมชนมีความรักความสามัคคีกลับมาเป็นชุมชนที่น่าอยู่เหมือนเดิมมีการร่วมทำกิจกรรมและร่วมพันนาหมู่บ้าน สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มรายได้ ให้กับครอบครัว เพิ่มการออมในระดับบุคคลและครอบครัวปรับการดำรงชีวิต ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ให้สอดคล้องตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คนมีจิตสำนึก รักความถูกต้อง มีคุณธรรม จริยธรรม มีการเอื้ออาทร สร้างจิตอาสาในการทำงาน มีกติกา มีการช่วยเหลือกันเป็นกลุ่มเกิดการปฎิบัติการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการการเรียนรู้ และได้มีการเรียนรู้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน

    วัตถุประสงค์ 1. มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง 2. เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้การวิธีลดรายจ่ายภูมิปัญญาชุมชน 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ตัวชีี้วัด 1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน
    2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น 4.มีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม50 ครัวเรือน (จากครัวเรือนทั้งหมด 150 ครัว) 5.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ร้อยละ 85 5.กลุ่มเป้าหมาย 50 ครัวเรือน เรียนรู้บัญชีครัวเรือน ร้อยละ 100 7.กลุ่มเป้าหมาย ลดรายจ่ายในครัวเรือนได้500 บาท ต่อเดือน 8.กลุ่มเป้าหมายมีรายได้จากการนวดและทำยาเหลือ คนละ 500 บาทต่อเดือน 9. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 10. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 11. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 12. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม 120 คน
    2. กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้สภาพปัญหาแนวทางการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
    3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้เกิ่ยวกับโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้และมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดการพัฒนาหมู่บ้านมากขึ้น

     

    120 120

    5. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่

    วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นางอารีย์สิทธิศักดิ์ ประธานโครงการ ได้เปิดการประชุมโครงการ ของ สสส.ให้ชาวบ้านทราบ บ้านกาโห่ใต้ ได้ทำโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้จึงจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายปลอดบุหรี่และป้ายปลอดสุรา เพื่อรณรงค์การปลอดบุหรี่และปลอดสุรา พร้อมชี้แจงความเป็นมาของโครงการให้แกนนำทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุผลการดำเนินงาน ผลงานที่เกิดขึ้น: มีป้ายโครงการไว้สำหรับประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายเขตปลอดบุหรี่ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น: ความร่วมมือของชุมชนและแกนนำ สิ่งที่เกินความคาดหมาย:
    -มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ป้ายเขตปลอดบุหรี่ -ประชาชนรับรู้โครงการฯ

     

    2 2

    6. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 3

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ช่วงเช้า วันนี้เป็นการประชุมของประชาชน ผู้นำ ของหมู่ที่ 1 ตำบล ควนหนองหงส์ ณ หอประชุมหมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่1 นายชนะ ห้วยแก้ว ได้กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงเรื่องการขึ้นทะเบียนยางและแจ้งรายชื่อคนที่ยังไม่ส่งเอกสาร ให้ดำเนินการส่งเอกสารให้เรียบร้อยนาง จิรนันท์ แปะก๋งเส้งได้ชี้แจงเรื่องของงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในชุมชนโดยแจ้งให้ทราบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้ผู้บริหารทุกระดับจัดทำข้อตกลงปฏิบัติงาน ดังนี้1) LTC คือการ งานบูรณาการ 5 กลุ่มวัย ในตำบลต้นแบบ 2) ลดอุบัติเหตุ 3) การพัฒนาคุณภาพสถานบริการ ลดป่วย ลดตาย ลดแออัด ลดเวลารอคอย 4)โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต้องลดภาวะแทรกซ้อนทางไตให้ได้ และลดภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน 5) ระบบส่งเสริมสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อม ระบบคุ้มครองผู้บริโภค ระบบป้องกันควบคุมโรค ระบบดูแลภาวะฉุกเฉิน นายดาราเรณ ดารากัย ชี้แจง เรื่องการรับเบี้ยยังชีพในกลุ่มผู้สูงอายุ ของตำบล ควนหนองหงส์ การศึกษาตามอัธยาศัยได้เข้าร่วมเรื่องการเรียนและประชาสัมพันธ์รับสมัครนักเรียนในชุมชน นายกเข้าร่วมชี้แจงเรื่องงานของอบต ที่ชาวบ้านมีส่วนเกี่ยวข้อง


    ช่วงบ่ายเป็นการพูดคุยของสภาชุมชน เพื่อพัฒนางานตามโครงการ โดยนาง อาจารีย์สิทธิศักดิ์ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้และหมอแดง ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเหลืองเนื่องจากคนบ้านก่าโห่ใต้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เมื่อทำงานมาตลอดทั้งวันกลับมาถึงบ้าน บางคนก็มีอาการปวดเมื่อย ขัดยอกตามร่างกาย และวิงเวียน ต่อมามีครูหมอพื้นบ้าน ซึ่งมีความรู้ในด้านการทำน้ำมันเหลือง ได้แนะนำให้ใช้น้ำมันเหลือง โดยท่านได้สอนวิธีทำและให้สูตร ปรากฏว่าใช้ได้ผลดี ซึ่งทำให้อาการดังกล่าวหายได้ และน้ำมันเหลืองนี้เป็นน้ำมันที่ทำ จากสมุนไพรซึ่งมีอยู่ในพื้นที่บ้านกาโห่ หรือหมู่บ้านใกล้เคียง จึงได้รวมกลุ่มผู้ที่สนใจเพื่อจะทดลองทำ จึงได้ปรึกษาหารือกัน นำความรู้มาทำน้ำมันเหลืองใช้เอง ประกอบกับชาวบ้านกาโห่ ส่วนมากประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ซึ่งจะมีเวลาว่างในช่วงบ่าย เมื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับส่วนผสมและวิธีทำแล้ว ได้ทดลองทำใช้เองเฉพาะในกลุ่มและแจกจ่ายให้เพื่อน บ้านนำไปใช้ ปรากฏว่าใช้ได้ผลดี จึงมีความคิดว่าอยากพัฒนาให้กว้างขึ้นในหมู่บ้าน
    ตำรับน้ำมันไพลทอดสูตรโบราณ( น้ำมัน เหลือง ) หัวไพลสด 2 กิโลกรัม ขมิ้นชันสด 1/2 กิโลกรัม น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันมะพร้าว 1 กิโลกรัม ดอกกานพลู 100 กรัม การบูร 100 กรัม อีกสูตรวัตถุดิบ 1.ไพลสด 2 กิโลกรัม 2.ขมิ้นอ้อย 2 กิโลกรัม 3.น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา 1 ลิตร 4.เมนทอล 900 กรัม 5.การบูร 600 กรัม 6.พิมเสน 300 กรัม ถ้าอยากให้มีคุณสมบัติแก้ปวดเมื่อยก็ลองใส่น้ำมันระกำได้นะคะ แต่กลิ่นจะแรงมาก หรือจะลองใส่สมุนไพรตัวอื่นดูก็ได้ สรรพคุณ น้ำมันเหลือง เป็นผลิตภัณฑ์ที่คนส่วนใหญ่นิยมทำใช้กันเอง เพราะสมุนไพรหาได้ง่าย ใช้ทาแก้อัมพาต เหน็บชา ตะคริว ปวดสันหลังปวดบั้นเอว ปวดเข่า ฟกช้ำ ปวดกล้ามเนื้อ สูดดมแก้คลื่นไส้ วิงเวียน
    หอบหืด และไซนัส วิธีทำ หั่นไพลสด และขมิ้นชันสด ให้เป็นชิ้นบาง ๆ เทน้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันมะพร้าว ลงกระทะยกตั้งไฟ พอน้ำมันร้อนปานกลาง เอาไพลและขมิ้นชันลงทอดในน้ำมัน (เหมือนทอดกล้วยแขก) ทอดจนไพลและขมิ้นชันกรอบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แล้วน้ำมันเป็นสีเหลืองใส (ระวังไหม้) ช้อนเอาชิ้นไพลและขมิ้นชันออก ตำกานพลูให้ป่น นำลงทอดในน้ำมันต่อและลดไฟให้เหลือไฟอ่อน ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันที่อยู่ในกานพลูระเหยไป ทอดประมาณ 5 นาที กรองด้วยผ้าขาวบาง พอน้ำมันอุ่น ๆ ผสมการบูรลงในน้ำมัน แล้วเทลงในภาชนะที่สามารถปิดฝาให้สนิทป้องกันการระเหยได้ แล้วเทบรรจุลงขวดเล็กปิดฝาให้แน่นเพื่อนำไปใช้ต่อไป สอบถามกลุ่มเป้าหมาย ว่ามีใครสมัครและสนใจบ้าง ทุกคนสนใจและสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทุกคนบอกว่าเป็นเรื่องที่ดี และควรอนุรักษ์ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีผุ้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน และได้เรียนรู้เรื่องการทำงานแบบบูรณาการให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม
    2. คณะทำงานเริ่มมีการพูดคุยแบบสนิทใจและมีการยอมรับกันมากขึ้นในหมู่คณะ
    3. มีการให้ความรู้และแนวทางการพัฒนา ทำให้คณะทำงานเข้าใจมากขึ้น

     

    25 25

    7. เรียนรู้บัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 1

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 1 โดยนางจีระนันท์ แปะก๋งเส้งพยาบาลวิชาชีพ รพ.สต. บ้านควนหนองหงส์และผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะมาเรียนรู้กันในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ประสงค์ก็เพื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้รายรู้รายรับรายจ่ายในครัวเรือนอะไรที่ไม่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือย ในชีวิตประจำวันของเราเอง ซึ่งในกิจกรรมในวันนี้ได้เรียนรู้ถึง ความหมายการทำบัญชี คือ การจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบอกถึงอดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่างๆในชีวิต ในครอบครัวจะเป็นการการจดบันทึกรายการเกี่ยวกับการเงินทุกรายการ ทั้งที่ได้รับเข้ามาและที่ต้องจ่ายออกไปในแต่ละวัน การทำบัญชีบันทึกรายรับ – รายจ่าย เป็นการบันทึกรายรับรายจ่ายของแต่ละวัน เปรียบเสมือนเป็นการวางแผนการเงินใช้จ่ายให้ถูกวิธี และทำให้ตัวเราเองเป็นคนที่มีระเบียบวินัยเพิ่มมากขึ้น การทำบัญชีบันทึกรายรับ-รายจ่าย ประจำวัน ท่านสามารถแบ่งแยกเป็นตารางที่มีส่วนประกอบ ได้ดังนี้ รายรับ คือรายรับที่เราได้รับมาเช่นเงินเดือน ค่าขายของได้พ่อแม่ให้เงินมาจ่ายค่าขายผลผลิตทางการเกษตรได้เงินที่ได้จากการขายสินค้าเงินทีได้ จากการทำงาน เป็นต้นส่วนรายจ่ายคือสิ่งที่เราต้องจ่ายออกไปทั้งหมดเช่น ค่าอาหาร ค่าเชื้อเพลิงรถค่าปุ๋ย ค่าเทอมให้ลูก ค่าโทรศัพท์ค่าเสื้อผ้า ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น

    ส่วนประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือน 1.เพื่อจดบันทึกรายการการดำเนินกิจการเรียงลำดับก่อนหลัง ในเรื่องของการใช้จ่ายเงินในแต่ละวัน 2.ง่ายต่อการตรวจสอบ ก็คือเราได้รู้ว่าเงินของเราได้จ่ายอะไรไปบ้างได้รับจากส่วนไหนบ้างรับมาเท่าไหรถือว่าเป็นการตรวจสอบตัวเองไปด้วย 3. บัญชีครัวเรือน” ช่วยชี้ว่าจัดการเงินได้ถูกต้องแค่ไหน
    4. เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน
    5. เพื่อรับรู้รายได้และรายจ่ายที่แน่นอน รวมทั้งทราบค่าใช้จ่าย ที่ฟุ่มเฟือยค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จะได้รู้และจะได้ลดในสิ่งที่ไม่จำเป็ฯ
    7. คุมยอดค่าใช้จ่ายให้เพียงพอกับรายได้ คือ จะได้รู้ว่าเรารับมาเท่าไหร และจะต้องจ่ายไปเท่าไหรควบคุมเพื่อที่จะได้ไม่เกินกับรายรับที่ได้รับมา หลักการทำบัญชีรับ-จ่าย - จัดทำแบบฟอร์มบัญชีรับจ่ายอย่างง่าย ให้สะดวกต่อการจดบันทึกรายการ - จดบันทึกรายการเรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละอย่าง ในแต่ละวัน - สรุปยอดเงินรายรับรายจ่าย ประจำวัน เปรียบเทียบผลการดำเนินกิจการประจำวัน
    -ยอดเงินคงเหลือจะได้เป็นเงินออมส่วนหนึ่งเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น การทำบัญชีครัวเรือนนั้น ทำให้เรารู้การใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือน ช่วยให้สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในออกไปทำให้มีเงินเหลือมากขึ้น เช่น ค่ากาแฟ ค่าชอปปิ้งของที่ไม่จำเป็น ทำให้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อนจะใช้จ่าย รู้ว่าค่าใช้จ่ายไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เพราะถ้าเรารู้จักตัวเอง และมองเห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองแล้ว การละเลิกกิจกรรมที่สร้างความฟุ่มเฟือยนั้น จะเป็นจุดเริ่มต้นของการออมที่เพิ่มขึ้นด้วยการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้เกิ่ยวกับบัญชีครัวเรือนและมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดการพัฒนาหมู่บ้านมากขึ้น
    2. การบันทึกข้อมูลรายรับรายจ่ายในครัวเรือนของตนเอง
    3. มีการแลกเปลี่ยนความคิดกันขณะเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน

    หลังจากเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนแล้วก็ได้แนะนำให้กลุ่มเป้าหมายได้ไปบันทึกที่บ้านและทุกเดือน และเอาผลการบันทึกบัญชีมาพูดคุยอะไรเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด อะไรเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สามารถที่จะประหยัดส่วนไหนได้บ้างเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบบรมได้ รู้จักข้อมูลของครัวเรือนตนเอง

     

    70 120

    8. เรียนรู้บัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2และได้คำปรึกษาจากพิ่เลี้ยงโครงการ ได้ให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมเรียนรู้บัญชีครัวเรือนต่อยอดจากครั้งที่ 1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รู้จักบันทึกข้อมูลในครอบครัวของตนเองและสอบถามในส่วนที่ไม่เข้าใจในรายละเอียด วิธีลดหนี้สินครัวเรือนเรียนรู้วิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือนในกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ซึ่งได้รับงบประมาณจาก สสสโดยใช้ภูมิทอดภูมิปัญญาในท้องถิ่นเพื่อต้องการแก้ปัญหาหนี้สินระดับครัวเรือนโดยเรียนรู้จากรายรับรายจ่ายในครอบครัวและมีวิธีการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และนการฝึกระเบียบวินัยในการใช้จ่ายในครอบครัวของตนเอง หลังจากเรียนรู้บัญชีการฝึกนิสัยการรับผิดชอบและรู้จักสังเกตรายรับรายจ่ายในครัวเรือน เพื่อให้ทุกคนในครัวเรือนร่วมกันประหยัดค่าใช้จ่ายให้กลุ่มเป้าหมายได้ไปบันทึกที่บ้านและทุกเดือน และเอาผลการบันทึกบัญชีมาพูดคุยอะไรเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด อะไรเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สามารถที่จะประหยัดส่วนใหนได้บ้างเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบบรมได้ รู้จักข้อมูลของครัวเรือนตนเอง

    การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว
    ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ ลืมบันทึกบัญชี ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการบันทึก และส่งผลให้ไม่อยากบันทึก ผู้จัดทำเข้าใจผิดในรายการบัญชี ไม่เข้าใจรายการที่เป็นรายรับ จึงไม่ได้บันทึกบัญชี เช่น ลูกส่งเงินมาให้พ่อแม่สำหรับใช้จ่ายทุกวันสิ้นเดือน แต่พ่อแม่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายรับเนื่องจากเข้าใจว่าเงินที่ได้รับมานั้นมิได้เกิดจากการประกอบอาชีพของตนเองหรือ เข้าใจผิดรายการหนี้สินแต่บันทึกว่าเป็นรายรับ ทำให้มิได้เก็บเงินไว้สำหรับจ่ายชำระหนี้ในอนาคต เช่น ยืมเงินจากเพื่อนบ้านมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ถึงแม้จะได้รับเงินมาแต่รายการดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นรายรับเนื่องจากตนเองมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้ในอนาคต ซึ่งอาจต้องชดใช้เงินต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยด้วย จากสาเหตุดังกล่าวอาจทำให้ครอบครัววางแผนการใช้จ่ายเงินผิดพลาด

    ส่วนข้อผิดพลาดอีกประการหนึ่งคือ การเขียนชื่อรายการผิด การบันทึกตัวเลขผิด การบวกหรือการลบจำนวนเงินผิดอาจเกิดจากการลืมจดบันทึกรายการบัญชี หรือบันทึกรายการซ้ำๆ กันหลายรายการ ปัญหาดังกล่าวแก้ไขโดยการคำนวณจำนวนเงินกระทบยอดเงินคงเหลือในบัญชีกับยอดเงินฝากธนาคารที่ครอบครัวมีอยู่จริง หรือยอดเงินที่เก็บไว้สำหรับใช้จ่ายจริง หากพบว่ายอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร แสดงว่าการจัดทำบัญชีถูกต้อง แต่หากกระทบยอดแล้วยอดเงินทั้งสองไม่เท่ากันอาจเกิดจากการบันทึกบัญชีผิดพลาด หรือเงินสดของครอบครัวสูญหาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินโครงการ พบว่า
    1.ผู้เข้าร่วมโครงการ 70 คน ได้เรียนรู้เกิ่ยวกับบัญชีครัวเรือนและมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดการพัฒนาหมู่บ้านมากขึ้นและมีโอกาสซักถามในส่วนที่ยังไม่เข้าใจในเรื่องของทำบัญชีครัวเรือน 2.ทำให้ประชาชนสามารถบันทึกรายรับรายจ่ายในครัวเรือนได้ 3.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ข้อคิดพลาดและข้อสังเกตในการทำบัญชีครัวเรือน

     

    70 70

    9. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 4

    วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นการประชุมประชาชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน ของบ้านกาโห่ใต้ ได้มีการประชุมเพื่อให้เกิดการจัดตั้งสภาผู้นำที่เข้มแข็ง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภายนอกมาชี้แจงรายละเอียดของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีดังนี้นายดาราเรณ ดารากัย นักพัฒนากร อบต ควนหนองหงส์ได้มาแจกเบี้ยยังชีพทุกเดือน นายระเบียบ กัญชนะกาญจฯทบทวนรายงานการประชุมชี้แจงข้อราชการที่ได้จากการประชุมจากส่วนราชการมาแจ้งให้ในที่ประชุมทราบ นาง จิรนันท์ แปะก๋งเส้ง เจ้าหน้าที่จาก รพสต บ้านควนหนองหงส์ได้มาชี้แจงเกี่ยวกับการคัดกรองกลุ่มโรคความดัน เบาหวานและเชิญชวนให้ตรวจสุขภาพประจำปี นาย สุชาติ จันทร์แก้ว ได้แจ้งเรื่อง กองทุนสวัสดิการเงินล้านและ กลุ่มสัจจะในหมู่บ้านและชี้แจงเรื่องการดำเนินการของโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้อยู่ในขั้นตอนการสำรวจข้อมูลและรวบรวมข้อมูลชุมชน

    ช่วงบ่าย เป็นการประชุมคณะทำงานและสภาชุมชนบ้านกาโห่ใต้ โดย วันนี้หมอแดง ได้สรุปผลการดำเนินงานในการจัดทำบัญชีครัวเรือน การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว
    ข้อควรระวังในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ ลืมบันทึกบัญชี ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการบันทึก และส่งผลให้ไม่อยากบันทึก ผู้จัดทำเข้าใจผิดในรายการบัญชี ไม่เข้าใจรายการที่เป็นรายรับ จึงไม่ได้บันทึกบัญชี เช่น ลูกส่งเงินมาให้พ่อแม่สำหรับใช้จ่ายทุกวันสิ้นเดือน แต่พ่อแม่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายรับเนื่องจากเข้าใจว่าเงินที่ได้รับมานั้นมิได้เกิดจากการประกอบอาชีพของตนเองหรือ เข้าใจผิดรายการหนี้สินแต่บันทึกว่าเป็นรายรับ ทำให้มิได้เก็บเงินไว้สำหรับจ่ายชำระหนี้ในอนาคต เช่น ยืมเงินจากเพื่อนบ้านมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ถึงแม้จะได้รับเงินมาแต่รายการดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นรายรับเนื่องจากตนเองมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้ในอนาคต ซึ่งอาจต้องชดใช้เงินต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยด้วย จากสาเหตุดังกล่าวอาจทำให้ครอบครัววางแผนการใช้จ่ายเงินผิดพลาด

    ส่วนข้อผิดพลาดอีกประการหนึ่งคือ การเขียนชื่อรายการผิด การบันทึกตัวเลขผิด การบวกหรือการลบจำนวนเงินผิดอาจเกิดจากการลืมจดบันทึกรายการบัญชี หรือบันทึกรายการซ้ำๆ กันหลายรายการ ปัญหาดังกล่าวแก้ไขโดยการคำนวณจำนวนเงินกระทบยอดเงินคงเหลือในบัญชีกับยอดเงินฝากธนาคารที่ครอบครัวมีอยู่จริง หรือยอดเงินที่เก็บไว้สำหรับใช้จ่ายจริง หากพบว่ายอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร แสดงว่าการจัดทำบัญชีถูกต้อง แต่หากกระทบยอดแล้วยอดเงินทั้งสองไม่เท่ากันอาจเกิดจากการบันทึกบัญชีผิดพลาด หรือเงินสดของครอบครัวสูญหาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานโครงการ พบว่า 1.กลุ่มเป้าหมาย 25 คน ได้ประชุมร่วมกันและติดตามผลการดำเนินงาน 2.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ผลการดำเนินงานบัญชีครัวเรือนและเรียนรู้ขัอผิดพลาดในการทำบัญชี 3.ได้มีโอกาสวางแผนการทำงานและติดตามการดำเนินโครงการ 4.คณะทำงานมีโอกาสแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้นในขณะทำกิจกรรม

     

    25 25

    10. การติดตามโครงการจาก สจรส.มอ

    วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.30น.ได้พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานทำกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อม และบันทึกกิจกรรมรายงานกิจกรรม ที่เกิดขึ้น และไปพบ สจรส.มอ.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เรียนรู้; 1.การเขียนรายงานและการเงิน การบันทึก รายงานลงโปรแกรม การประเมินผล คุณภาพกิจกรรม 2.การเก็บรวมรายงานใน 1กิจกรรม เอกสาร -รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม -ใบเสร็จรับเงิน 1ใบเสร็จ -สำเนาบัตรประชาชน ผู้รับเงิน 2.2 การจ่ายภาษีเอกสารทางภาษี 2.3การเขียนรายงาน บันทึกการทำกิจกรรมลงในเว็บไซต์ 3.การหักภาษี ออกภาษีหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ภงด.3 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน
    1.กลุ่มเป้าหมาย 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมของ สสส.โดยการติดตามการทำโครงการของพี่เลี้ยง 2.เข้าใจการเขียนรางงาน 3.การเรียนรู้การทำรายงาน เรียนรู้การทำรายงานการเงิน เรียนรู้การหักภาษี ณ ที่จ่าย 4.เข้าใจการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์

     

    2 2

    11. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 5

    วันที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนบ้านกาโห่ใต้ ได้มีการประชุมเพื่อให้เกิดการจัดตั้งสภาผู้นำที่ เข้มแข็ง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภายนอกมาชี้แจงรายละเอียดของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีดังนี้นายดาราเรณ ดารากัย นักพัฒนากร อบต ควนหนองหงส์ได้มาแจกเบี้ยยังชีพทุกเดือนนายระเบียบ กัญชนะกาญจฯทบทวนรายงานการประชุมชี้แจงข้อราชการที่ได้จากการประชุมจากส่วนราชการมาแจ้งให้ในที่ประชุมทราบ นาง จิรนันท์ แปะก๋งเส้ง เจ้าหน้าที่จาก รพสต บ้านควนหนองหงส์ได้มาชี้แจงเกี่ยวกับการคัดกรองกลุ่มโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และเชิญชวนให้ตรวจในวันจันทร์ของทุกสัปดาห์ และชี้แจงโครงการการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนบ้านกาโห่ใต้ในโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ นาย สุชาติ จันทร์แก้ว ได้แจ้งเรื่อง กองทุนสวัสดิการเงินล้านและ กลุ่มสัจจะในหมู่บ้านและชี้แจงเรื่องการดำเนินการของโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้อยู่ในขั้นตอนการสำรวจข้อมูลชุมชนของหมู่บ้าน

    วันนี้ผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดคุยบทสรุปของการเรียนรู้บัญชีครัวเรือน
    การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงินและการวางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้

    กิจกรรมต่อไปที่จะทำคือ การสืบค้นข้อมุลปราชญ์ชุมชน
    1.ปราชญ์คือบุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม 2.ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น 3.ขอความร่วมมือให้สมาชิก ช่วยกันเชิญปราชญ์ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ในครั้งถัดไปด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน 1.คณะทำงาน 25 คน ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน
    2.การดำเนินงานมีหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 3.กิจกรรมการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นในหมู่คณะ 4.เกิดแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญา โดยการถอดบทเรียนจากปราชญ์ชุมชน

     

    25 25

    12. ประชุมแกนนำปราชญ์ชาวบ้าน ครั้งที่ 1

    วันที่ 14 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ช่วงเช้าเป็นการประชุมหมู่บ้านหมู่ที่1ประธานคือนายชนะห้วยแก้วผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่1 ตำบล ควนหนองหงส์ได้เปิดการประชุมโดใช้หอประชุมหมู่ที่1มีการประชุมแกนนำและปราชญ์ชาวบ้าน โดยท่านสาธารณสุขอำเภอ นายโกศล แต้มเติม ได้ให้เกียรติมาร่วมเปิดโครงการประธานกล่าวเปิดงาน รายละเอียดกิจกรรมการประชุมแกนนำและปราชญ์ในชุมชน ทุกคนให้ความร่วมมือดีมากและจะให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรมของการดำเนินงาน และมีส่วนแสดงความคิดเห็นในการจัดทำโครงการและยินดีมอบสูตรยาเหลืองใว้เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่นเพื่อให้ลูกหลานคนในชุมชนได้สืบทอดภูมิปัญญาต่อไป และทุกท่านมีส่วนในการแลกเปลิ่ยนเรียนรู้ทุกปัญหาในหมู่บ้าน คุณครู ณรงค์ เนาว์สุวรรณ์ได้บรรยายสูตรยาเหลือง และขั้นตอนในการทำยาเหลือง และสรรพคุณของยาว่าได้มาจากตาหลวงหวลซึ่งท่านบวชเป็นพระอยู่ที่วัดกาโห่และมอบสูตรยาใว้เพื่อให้คนได้ใช้สูตรยานี้ต่อและยินดีที่จะใว้สืบทอดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีนาง จิรนันท์ แปะก๋งเส้งได้เข้าร่วมเพื่อชี้แจงโครงการยาเหลืองว่าอยู่ในขั้นตอนการประชุมเพื่อหาปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นวิทยากรและครูผู้ถ่ายทอดภูมิปัญาและได้ประชาสัมพันธ์โครงการยาเหลืองสูตรคุณยายเพื่อให้ทุกคนได้เข้าร่วมโครงการเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน คือ 1.มีผู้เข้าร่วมประชุม 50 คน ได้เรียนู้ภูมิปัญญาของในหมู่บ้านของตนเอง
    2.ได้สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับปราชญ์ของชุมชน เพื่อให้ปราชญ์ได้รับการยกย่องเป็นครูภูมิปัญญา 3.เกิดกระบวนการและแนวทางการอนุรักษ์ยาเหลือง 4.กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้และวางแผนในการทำกิจกรรมเรียนรู้การทำยาเหลือง

     

    50 50

    13. ประชุมแกนนำปราชญ์ชาวบ้าน ครั้งที่2

    วันที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมแกนนำและปราชญ์ชาวบ้าน วันนี้นายโกศลแต้มเติม ได้มาเป็นประธานในการเปิดการประชุม แกนนำและปราชญ์ชาวบ้านครั้งที่ 2 เพื่อรวบรวมปราชญ์ในชุมชนการรวบรวมภูมิปัญญากำหนดหลักสูตรในการลดหนี้ครัวเรือนและได้เพิ่มสูตรผมหงอกอีกสูตรเพื่อใช้พัฒนาสูตรยาต่อไป สูตรยาเหลืองที่ได้รับการถ่ายทอด สูตรยาเหลือง 1.วาสลีน 3 กก. 2. เมนทะเล5 บาท 3.พิมเสน4บาท 4.การบูร2 ขีด 5.ขมิ้นผง1 ถุง 6.ว่านร่อนทอง(เอามาตำ) 20 บาท ใส่พอประมาณ 7.ดีปลีเชือกประมาณ10 ดอก 8.ผักเสี้ยนผี(ตำผงใส่พอประมาณ)9. หัวกระชาย ใส่พอประมาณ10.หัวเปราะ11.กระชายดำ 12.ขิง13.ข่า14.น้ำมันมวยขวดเล็กสุด (50บาท) ใส่ครั้งหนึ่ง15.กล่องเบอร์ 4 จะได้ประมาณ 150 ขวด หลักคิดและวิธีการที่ปราชญ์ชาวบ้านได้เสนอแนวคิดที่ดีคือ 1. การรู้จักตัวเองให้ได้นั่นคือ ต้องรู้ว่า ปัญหาที่เราเผชิญอยู่เกิดจากอะไรใครทำให้เกิดปัญหา เราสร้างปัญหาเอง หรือ คนอื่นสร้างปัญหา วิเคราะห์ตนเอง ชุมชน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รากฐาน ประวัติศาสตร์ความเป็นมา มีทรัพยากรอะไรบ้าง มีทุนปัญญา ทุนทางสังคม ทุนวัฒนธรรม และ ทุนทรัพย์อยู่หรือไม่ ถ้ามีจำนวนเท่าไหร่ชีวิต หรือ ชุมชน ต้องการอะไร อะไรคือสิ่งที่จำเป็น อะไรคือสิ่งที่ต้องการ การวิคราะห์ตัวเอง ทำให้เราได้เข้าใจตัวเอง ทราบถึงความจำเป็น และความต้องการที่แท้จริง ทำให้ชีวิตหรือชุมชน สามารถจัดความสัมพันธ์ หรือ กำหนดท่าทีต่อสิ่งที่มาจากภายนอก ที่เข้ามา เป็นผู้เลือก คัดสรร อะไรควรรับ หรือควรปฏิเสธ รับแล้วควรปรับให้เข้ากับชีวิตหรือชุมชน ได้อย่างไร เป็นการรู้เท่าทันสิ่งภายนอก เปรียบเสมือนชุมชนที่มีภูมิต้านทานโรคร้ายที่เข้ามา 2. ใช้ปัญญาทำงานแทนเงินตรา เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาคนให้เกิดปัญญา มีความคิดที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง การระดมทุน ระดมทรัพยากรมาทีหลัง มีความเชื่อมั่นว่าถ้ามนุษย์เกิดปัญญา จะสามารถแก้ปัญหาได้ การทำงานร่วมกัน จึงต้องตระหนักเสมอว่า เป็นกระบวนการในการสร้างคนขึ้นมา 3. ชุมชนต้องมีบทบาทหลัก ไม่ใช่หน่วยงานราชการ งานพัฒนาชุมชนที่ผ่านมา เป็นงานของหน่วยงานราชการเป็นหลัก ชุมชนเป็นเพียงผู้เข้าร่วม ถูกขอร้องให้ช่วยทำเพื่อให้เกิดผลงาน ที่หน่วยงานราชการจะได้นำไปรายงานตามลำดับชั้น จนถึงระดับกระทรวง เป้าหมายของราชการ จึงไม่ได้อยู่ที่จะเกิดผลต่อการพัฒนาชาวบ้านแต่อย่างใด แต่อยู่ที่จะมีอะไรไปรายงานเป็นผลงานของหน่วยงานราชการเอง จึงต้องเปลี่ยนกลับกันเป็น ต่อไปนี้ ชุมชนต้องมีบทบาทหลัก หน่วยงานราชการเป็นเพียงผู้เข้าร่วม ส่งเสริมสนับสนุน ชาวบ้านจะต้องเป็นพระเอก ข้าราชการต้องลดบทบาทตัวเองลง เมื่อหน่วยงานราชการถอนตัว ชุมชนก็สามารถดำเนินการด้วยตัวเองไปได้ ไม่ใช่เหมือนการพัฒนาที่ผ่านมา เมื่อหน่วยงานราชการถอนตัว หมดงบประมาณ ไม่มาส่งเสริม โครงการนั้นก็ล้มหายตายจากไปพร้อมกับหน่วยงานราชการนั้น 4. ทำตัวเป็นแบบอย่าง คนยอมรับนับถือวิถีชีวิตของปราชญ์ชาวบ้าน เป็นวิถีที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้ชีวิตแบบสมถะ มีความซื่อสัตย์ เป็นคนมีคุณธรรม ยึดหลักพุทธรรม ไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน ทุกคนให้การยอมรับนับถือ ใช้ชีวิตอย่างคนที่พออยู่พอกิน ไม่ทะยานอยากไปตามกำเลสฝ่ายต่ำ ใช้ชีวิตแบบมีสติ ปฏิเสธสังคมบริโภคนิยมวัตถุ แต่เน้นมิติทางจิตใจ เป็นกัลยาณมิตร อยู่ร่วมกับธรรมชาติ หลักคิดและวิถีชีวิตของปราชญ์ เป็นสิ่งที่คนในยุคสมัยนี้ ควรได้เรียนรู้ และนำไปเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญา วิธีการในการทำงาน สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในระดับบุคคลและชุมชนได้เป็นอย่างดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน
    1.กลุ่มเป้าหมาย 50 คน เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้จากปราชญ์ครั้งที่ 2 2.ได้เรียนรู้สูตรยาเหลืองและสูตรน้ำมันรักษาผมหงอก ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาของปราชญ์ในชุมชน 3.การทำยาเหลืองเป็นการลดรายจ่ายครัวเรือนและเพิ่มรายได้ ซึ่งอยู่ในหลักสูตรการลดหนี้ครัวเรือน 4.ได้เรียนรู้แนวคิดที่ดี ที่ปราชญ์ใช้ในการดำรงตนเองและเป็นแบบอย่างที่ดี

     

    50 50

    14. เรียนรู้ยาเหลืองสุตรคุณยาย ครั้งที่ 1

    วันที่ 21 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้มีการทำยาเหลืองสูตรคุณยาย ท่านสาธารณสุขอำเภอ นายโกศล แต้มเติม ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดตัวโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ มีภูมิปัญญาในท้องถิ่นเข้าร่วมคือ คุณครู ณรงค์ เนาว์สุวรรณ์ ซึ่งเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำยาเหลืองมาจนถึงปัจจุบัน มีครูหมอทำขวัญนาคนายเหิม ทิพย์โภชน์ ได้มาทำพิธีอัญเชิญครูหมอยา คุณครูณรงค์ เนาว์สุวรรณ์ ได้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ สรรพคุณยาเหลืองได้จากตาหวล ซึ่งได้บวชเป็นพระในปัจจุบันและยินดีมอบให้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าต่อไป โดยอธิบายขั้นตอนในการทำ เครื่องสมุนไพร วิธีการปรุง จนบรรจุใส่ภาชนะเพื่อนำไปใช้ ต่อไปสูตรยาเหลือง 1.วาสลีน 3 กก. 2. เมนทะเล5 บาท 3.พิมเสน4บาท 4.การบูร2 ขีด 5.ขมิ้นผง1 ถุง 6.ว่านร่อนทอง(เอามาตำ) 20 บาท ใส่พอประมาณ 7.ดีปลีเชือกประมาณ10 ดอก 8.ผักเสี้ยนผี(ตำผงใส่พอประมาณ)9. หัวกระชาย ใส่พอประมาณ10.หัวเปราะ11.กระชายดำ 12.ขิง13.ข่า14.น้ำมันมวยขวดเล็กสุด (50บาท) ใส่ครั้งหนึ่ง15.กล่องเบอร์ 4 จะได้ประมาณ 150 ขวด

    ซึ่งในวันนี้ได้สูตรทำยาเหลืองได้ยาเหลือง จำนวน500 ขวด ซึ่งยาเหลืองนี้มีสรรพคุณในการรักษาแผลทุกชนิดแผลสด แผลติดเชื้อ แผลพุพองอาการอักเสบบวมแดงแมลงสัตว์กัดต่อยฟกช้ำดำเขียวแผลสด น้ำกัดเท้าแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก นวดคลายเส้นแก้ปวดฟันบรรเทาให้หายได้ภายใน 15 นาที

    สรุปส่ิงที่เกิดขึ้น 1.ครูภูมิปัญญาคือ นางเกลี้ยมขวัญทองนายณรงค์เนาว์สุวรรณได้บอกเล่าเรื่องราวยาเหลืองสูตรคุณยายให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมโยประกอบด้วยกลุ่มเยาวชนครูภูมิปัญญา โดยเล่าสรรพคุณของยาเครื่องสมุนไพรวิธีการปรุงและขั้นตอนของการปรุง 2.มีหมอพื้นบ้านเข้ามามีส่วนร่วมอัญเชิญ ครูหมอยาทำพิธีให้ด้วยความเต็มใจและจะร่วมโครงการทุกกิจกรรมที่หมู่บ้านได้ทำ ท่านสาธารณสุขอำเภอพอใจในกิจกรรมของโครงการ 3.คนมีความรู้ในการกวนยาเหลืองและยินดีต้อนรับกับโครงการนี้มากเกิดความรักความสามัคคีในการที่จะร่วมกันทำงานช่วยกันหาสมุนไพรเมื่อได้พูดคุยสร้างความเข้าใจกันมากขึ้น 4.มีการพูดคุยพบปะกันในคนที่ไม่มีโอกาสได้เจอกันเกิดความสนิทสนมคุ้นเคย เมื่อเวลาทำกิจกรรมประชาชนให้การต้อนรับกับโครงการดีมาก 5.กลไกเกิดการเรียนรู้ในกลุ่มและเกิดการรวมกลุ่มกันทำงานมากขึ้น 6.และมีนวัตกรรม คือ ยาเหลืองรักษาแผลทุกชนิดแผลสด แผลติดเชื้อ แผลพุพองอาการอักเสบบวมแดงบรรเทาให้หายได้ภายใน 15 นาที

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 1.ครูภูมิปัญญา ได้บอกเล่าเรื่องราวยาเหลืองสูตรคุณยาย ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม และเล่าสรรพคุณของยาเครื่องสมุนไพรวิธีการปรุงและขั้นตอนของการปรุง 2.หมอพื้นบ้าน เข้ามามีส่วนร่วมอัญเชิญ ครูหมอยาทำพิธี ให้ด้วยความเต็มใจ
    3.มีภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมกิจกรรม เช่น ท่านสาธารณสุขอำเภอชะอวด 4.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับยาเหลือง และเป็นการสร้างให้เกิดความรักความสามัคคีในการทำงานช่วยกัน 5.เกิดกระบวนการพูดคุยพบปะกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีโอกาสได้เจอกันเกิดความสนิทสนมคุ้นเคย
    6.กลไกเกิดการเรียนรู้ในกลุ่มและเกิดการรวมกลุ่มกันทำงานมากขึ้น 7.เกิดนวัตกรรม คือ ยาเหลืองรักษาแผลทุกชนิดแผลสด แผลติดเชื้อ แผลพุพองอาการอักเสบบวมแดงบรรเทาให้หายได้ภายใน 15 นาที

     

    50 50

    15. เรียนรู้ยาเหลืองสุตรคุณยาย ครั้งที่ 2

    วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้มีการทำยาเหลืองสูตรคุณยาย ครั้งที่ 2  โดยนัดกันที่บ้านของ คุณครู ณรงค์ เนาว์สุวรรณ์ ปราญช์ด้านการทำยาเหลืองสูตรคุณยาย      ซึ่งเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำยาเหลืองมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งวันนี้ได้มารวมตัวกันอีกครั้ง  เพื่อเป็นการฝึกฝนการทำยาเหลืองไป  และเพื่อเป็นการพบปะ  พูดคุยแลกเปลี่ยนในเรื่องของยาเหลือง  ซึ่งวันนี้จะแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อเรียนรู้สมุนไพรสูตรคุณยาย โดยแต่ละกลุ่มมีข้อกำหนดว่า ต้องมี อสม. มีเยาวชนและวัยทำงาน และทุกคนต้องช่วยกันหาสมุนไพรและวัตถุดิบในการทำยาเหลือง ซึ่งจะทำการเรียนรู้วิธีการทำยาเหลือง โดยมีขั้นตอนของการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการเคี่ยวยาเหลืองให้ได้คุณภาพซึ่งเป็นสูตรดั่งเดิมที่ได้รับการถ่ายทอดมา  4.เรียนรู้การนำยาเหลืองไปใช้ให้เกิดประโยชน์  และสมุนไพร ในส่วนผสมแต่ละชนิด  ให้เรียนรู้ว่าแต่ละชนิดมีสรรพคุณ มีประโยชน์อย่างไร อย่างเช่น คุณสมบัติยาเหลืองสูตรคุณยาย ใช้ทาแผลสด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลอักเสบผื่นคัน แก้ปวดเมื่อยตามตัว ช่วยสมานแผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. กลุ่มเป้าหมาย 50 คน ได้เรียนรู้วิธีการทำยาเหลืองสูตรสูตรคุณยายและมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น
    2. เกิดความศรัทธาต่อภูมิปัญญา จนเกิดกระบวนการอนุรักษ์และหวงแหน
    3. ได้เรียนสมุนไพรแต่ละตัวที่มาผสมทำเป็นยาเหลืองสูตรสูตรคุณยาย
    4. สมาชิกมีความร่วมแรงร่วมใจกันในการทำกิจกรรม

     

    50 50

    16. ติดตามผลงานร่วมกับพี่เลี้ยง ครั้งที่ 3

    วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    09.30น. ได้ไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ ผลงานของกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ สจรส.มอ. ตรวจหลักฐาน ในการปิดงวดที่ 1 ในวันที่ 13 - 14 ก.พ. 2559 โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1.พี่เลี้ยงได้แนะนำการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ การเขียนแบบบันทึกผลกิจกรรม สิ่งที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ ผลกระทบ รายงานกิจกรรม เพื่อบันทึกข้อมูลในเอกสารเรียบร้อย  และก็ให้พิมพ์เข้าโปรแกรมออนไลน์ และแต่ละกิจกรรมให้โหลดรูปภาพให้เรียบร้อย 2.หลักฐานการเงิน -ดำเนินตรวจสอบหลักฐานทางการเงิน -ตรวจสอบยอดเงินโครงการฯ และบันทึกออนไลน์ -ตรวตสอบการเขียนเงินสด -ตรวจสอบหลังฐาน สมุดบัญชีธนาคาร ต้องดำเนินกิจกรรมใช้เงินมากกว่าร้อยละ 60 3.หลักฐานประกอบการดำเนินงาน -ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม -หลักฐานการเบิกจ่ายเงิน 4.บันทึกช่วยจำ -บันทึกข้อมูลเข้าโปรแกรมออนไลน์ให้เรียบร้อย -หลักฐานการเงินต้องถูกต้อง ครบถ้วน -ปิดงวดส่งเอกสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
    1.ตัวแทน 2 คน ได้เรียนรู้การบันทึกกิจกรรม และการโหลดภาพ ขึ้นเว็บไซต์ 2.ได้ตรวจสอบความถูกต้องเอกสารด้านการเงิน

     

    2 2

    17. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 6

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ประชุมประชาชนกับคณะทำงานของบ้านกาโห่ใต้ โดยผู้นำชุมชนบ้านกาโห่ใต้ ได้มีการประชุมเพื่อให้เกิดการจัดตั้งสภาผู้นำที่ เข้มแข็ง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภายนอกมาชี้แจงรายละเอียดของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีดังนี้นายดาราเรณ ดารากัย นักพัฒนากร อบต ควนหนองหงส์ได้มาแจกเบี้ยยังชีพทุกเดือน
    นายระเบียบ กัญชนะกาญจฯทบทวนรายงานการประชุมชี้แจงข้อราชการที่ได้จากการประชุมจากส่วนราชการมาแจ้งให้ในที่ประชุมทราบ นาง จิรนันท์ แปะก๋งเส้ง เจ้าหน้าที่จาก รพสต บ้านควนหนองหงส์ได้มาชี้แจงเกี่ยวกับโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้อยู่ในขั้นตอนการเรียนรู้การทำยาเหลืองสูตรคุณยายได้เชิญชวนให้คณะกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม และชี้แจงโครงการการจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนบ้านกาโห่ใต้ในโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ นาย สุชาติ จันทร์แก้ว ได้แจ้งเรื่อง กองทุนสวัสดิการเงินล้านและ กลุ่มสัจจะในหมู่บ้านและชี้แจงเรื่องการเก็บเงินค่างวดของกลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ในหมู่ที่1บ้านกาโห่ใต้ นายสุนทร คลังจันทร์ผอรพสต ได้ประชาสัมพันธ์เรื่องการแพทย์แผนไทยนำร่อง

    ช่วงบ่ายเป็นการพูดคุยของสภาชุมชนบ้านกาโห่ใต้
    โดยหมอแดง ได้เล่าบทเรียน ที่ได้จากปราชญ์ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน

    1. กลุ่มเป้าหมาย 25 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรม
    2. มีการสรุปผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรม
    3. มีการเรียนรู้บทเรียนที่ดีจากปราชญ์ชุมชน

    หลักคิดและวิธีการที่ปราชญ์ชาวบ้านได้เสนอแนวคิดที่ดีคือ 1. การรู้จักตัวเองให้ได้นั่นคือ ต้องรู้ว่า ปัญหาที่เราเผชิญอยู่เกิดจากอะไรใครทำให้เกิดปัญหา เราสร้างปัญหาเอง หรือ คนอื่นสร้างปัญหา วิเคราะห์ตนเอง ชุมชน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รากฐาน ประวัติศาสตร์ความเป็นมา มีทรัพยากรอะไรบ้าง มีทุนปัญญา ทุนทางสังคม ทุนวัฒนธรรม และ ทุนทรัพย์อยู่หรือไม่ ถ้ามีจำนวนเท่าไหร่ชีวิต หรือ ชุมชน ต้องการอะไร อะไรคือสิ่งที่จำเป็น อะไรคือสิ่งที่ต้องการ การวิคราะห์ตัวเอง ทำให้เราได้เข้าใจตัวเอง ทราบถึงความจำเป็น และความต้องการที่แท้จริง ทำให้ชีวิตหรือชุมชน สามารถจัดความสัมพันธ์ หรือ กำหนดท่าทีต่อสิ่งที่มาจากภายนอก ที่เข้ามา เป็นผู้เลือก คัดสรร อะไรควรรับ หรือควรปฏิเสธ รับแล้วควรปรับให้เข้ากับชีวิตหรือชุมชน ได้อย่างไร เป็นการรู้เท่าทันสิ่งภายนอก เปรียบเสมือนชุมชนที่มีภูมิต้านทานโรคร้ายที่เข้ามา 2. ใช้ปัญญาทำงานแทนเงินตรา เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาคนให้เกิดปัญญา มีความคิดที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง การระดมทุน ระดมทรัพยากรมาทีหลัง มีความเชื่อมั่นว่าถ้ามนุษย์เกิดปัญญา จะสามารถแก้ปัญหาได้ การทำงานร่วมกัน จึงต้องตระหนักเสมอว่า เป็นกระบวนการในการสร้างคนขึ้นมา 3. ชุมชนต้องมีบทบาทหลัก ไม่ใช่หน่วยงานราชการ งานพัฒนาชุมชนที่ผ่านมา เป็นงานของหน่วยงานราชการเป็นหลัก ชุมชนเป็นเพียงผู้เข้าร่วม ถูกขอร้องให้ช่วยทำเพื่อให้เกิดผลงาน ที่หน่วยงานราชการจะได้นำไปรายงานตามลำดับชั้น จนถึงระดับกระทรวง เป้าหมายของราชการ จึงไม่ได้อยู่ที่จะเกิดผลต่อการพัฒนาชาวบ้านแต่อย่างใด แต่อยู่ที่จะมีอะไรไปรายงานเป็นผลงานของหน่วยงานราชการเอง จึงต้องเปลี่ยนกลับกันเป็น ต่อไปนี้ ชุมชนต้องมีบทบาทหลัก หน่วยงานราชการเป็นเพียงผู้เข้าร่วม ส่งเสริมสนับสนุน ชาวบ้านจะต้องเป็นพระเอก ข้าราชการต้องลดบทบาทตัวเองลง เมื่อหน่วยงานราชการถอนตัว ชุมชนก็สามารถดำเนินการด้วยตัวเองไปได้ ไม่ใช่เหมือนการพัฒนาที่ผ่านมา เมื่อหน่วยงานราชการถอนตัว หมดงบประมาณ ไม่มาส่งเสริม โครงการนั้นก็ล้มหายตายจากไปพร้อมกับหน่วยงานราชการนั้น 4. ทำตัวเป็นแบบอย่าง คนยอมรับนับถือวิถีชีวิตของปราชญ์ชาวบ้าน เป็นวิถีที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้ชีวิตแบบสมถะ มีความซื่อสัตย์ เป็นคนมีคุณธรรม ยึดหลักพุทธรรม ไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน ทุกคนให้การยอมรับนับถือ ใช้ชีวิตอย่างคนที่พออยู่พอกิน ไม่ทะยานอยากไปตามกำเลสฝ่ายต่ำ ใช้ชีวิตแบบมีสติ ปฏิเสธสังคมบริโภคนิยมวัตถุ แต่เน้นมิติทางจิตใจ เป็นกัลยาณมิตร อยู่ร่วมกับธรรมชาติ หลักคิดและวิถีชีวิตของปราชญ์ เป็นสิ่งที่คนในยุคสมัยนี้ ควรได้เรียนรู้ และนำไปเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญา วิธีการในการทำงาน สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในระดับบุคคลและชุมชนได้เป็นอย่างดี

    วันนี้ทุกคนได้ฟังแนวคิดเรื่องปราชญ์ชุมชนแล้ว และให้ทุกคนช่วยกันหาแนวทางที่อนุรักษ์ภูมิปัญญาไว้

     

    25 25

    18. ปิดรายงานงวดที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินทางมาพบพี่เลี้ยง รพ.สต. เขาพระบาท เพื่อดำเนินการปิดงวดครั้งที่ 1 โดยพี่เลี้ยงดูความก้าวหน้าในการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน การจัดการเอกสารการเงินให้ถุกต้อง ครบถ้วน และจัดเรียงเอกสารตามรายกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน

    1. ตัวแทน 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมและ มีการรวบรวมเอกสาร รวบรวมกิจกรรมได้ทุกกิจกรรม และได้แก้ไขในบางกิจกรรมได้
    2. เขียนรายงานเพิ่ม 1 กิจกรรม โดยได้บันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์
    3. เรียนรู้การทำบัญชีทางการเงิน การตรวจหลักฐานการทำรายงานการเงิน การลงบันทึกโปรแกรมออนไลน์ การโหลดรูปภาพ ขึ้นเว็บไซต์ การลงบันทึกรายรับรายจ่าย การเปลี่ยนแปลงวันที่ทำกิจกรรม การเขียนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรม

     

    2 2

    19. จัดทำรายงาน ปิดงวดที่ 1

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรม ปิดงวดโครงการที่ 1 โดยจัดกิจกรรม ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ก็เป็นการตรวจเอกสารด้านการเงินเอกสารเกี่ยวกับโครงการและการบันทึกกิจกรรมในออนไลน์ของเจ้าหน้าที่สจรส.มอ.ซึ่งจะต้องรอเข้าคิวในการตรวจเอกสารเพราะมีโครงการในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจำนวนมากที่มาร่วมกันตรวจในวันนี้โครงแต่ละโครงการได้ตรวจเป็นเวลา จึงทำให้ไม่ทันในการตรวจและเมื่อได้สอบถามจากโครงการที่ตรวจแล้วเอกสารเกี่ยวกับการเงินยังผิดอยู่บ้างและการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ยังไม่สมบูรณ์รายละเอียดของกิจกรรม และผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ชัดเจน ก็เลยกลับไปแก้ไขก่อนให้เรียบร้อยและจะส่งตรวจในภายหลัง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงาน 1.ตัวแทน 2 คน ได้เตรียมเอกสารเอกสารเกี่ยวกับโครงการไว้สำหรับตรวจเอกสาร 2.ได้สอบถามโครงการที่ได้ตรวจเสร็จแล้วเอกสารด้านการเงินยังผิดอยู่ก็เลยต้องกลับไปแก้ใหม่ 3.ได้ทราบถึงสิ่งที่ต้องแก้ไข คือ ค่าถ่ายเอกสารบิลร้านไม่ถูกต้อง และลงไม่ถูกหมวด ขาดใบสำคัญรับเงินของผู้ประสานงานในบางกิจกรรม การเขียนกิจกรรมไม่ตรงกัน รูปถ่ายกับกิจกรรม ไม่สัมพันธ์กันการเขียนผลลัพธ์กว้างเกินไป การเขียนผลลัพธ์ยังไม่สัมพันธ์ สิ่งที่เกินความคาดหมาย:ความละเอียดในทุกกิจกรรมมีผลต่อการปิดงวดรายงาน

     

    2 2

    20. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 7

    วันที่ 6 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ครั้งที่7 นางอารีย์สิทธิศักดิ์ ประธานโครงการ ประธานโครงการได้ ได้กล่าวทักทายและพูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุมได้ชี้แจงถึงกิจกรรมที่ผ่านมา คือจัดทำรายงาน ปิดงวดที่ 1ที่ ม.วลัยลักษณ์ร่วมกับพี่เลี้ยง และ สจรส.ซึ่งกิจกรรมในวันนั้นก็เป็นการตรวจเอกสารด้านการเงินเอกสารเกี่ยวกับโครงการและการบันทึกกิจกรรมในระบบออนไลน์เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข ในส่วนของการตรวจเอกสารของเจ้าหน้าที่สจรส.มอ. ซึ่งจะต้องรอเข้าคิวในการตรวจเอกสารเพราะมีโครงการในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจำนวนมากที่มาร่วมกันตรวจในวันนี้โครงแต่ละโครงการได้ตรวจเป็นเวลานาน จึงทำให้ไม่ทันในการตรวจและเมื่อได้สอบถามจากโครงการที่ตรวจแล้วและได้มาตรวจดูของโครงการตนเอง ก็ยังมีเอกสารเกี่ยวกับการเงินยังผิดอยู่บ้างและการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์ยังไม่สมบูรณ์รายละเอียดของกิจกรรม รูปในเว็ปไซต์ยังลงไม่หมดทุกกิจกรรม และผลผลิต ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ชัดเจน ก็เลยกลับไปแก้ไขก่อนให้เรียบร้อยและจะส่งตรวจในภายหลัง และได้สอบถามโครงการที่ได้ตรวจเสร็จแล้วเอกสารด้านการเงินยังผิดอยู่ก็เลยต้องกลับไปแก้ใหม่ ได้ทราบถึงสิ่งที่ต้องแก้ไข คือ ค่าถ่ายเอกสารบิลร้านไม่ถูกต้อง และลงไม่ถูกหมวด ขาดใบสำคัญรับเงินของผู้ประสานงานในบางกิจกรรม การเขียนกิจกรรมไม่ตรงกัน รูปถ่ายกับกิจกรรม ไม่สัมพันธ์กันการเขียนผลลัพธ์กว้างเกินไป การเขียนผลลัพธ์ยังไม่สัมพันธ์ สิ่งที่เกินความคาดหมาย:ความละเอียดในทุกกิจกรรมมีผลต่อการปิดงวดรายงาน และได้ชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไปคือ สำรวจข้อมูลหนีสินครัวเรือน ครั้งที่ 1 และครั้งที่2 เรียนรู้ฐานภูมิปัญญาครั้งที่1วันที่26 มีนาคม2559 พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครการที่ม.วลัยลักษ์ โดยจะให้คณะทำงานไปร่วมประชุม 2 คน และประชุมสภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ครั้งที่8

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน

    2.ได้ติดตามผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาการปิดงดรายงานที่ 1สิ่งที่ต้องแก้ไข คือ ค่าถ่ายเอกสารบิลร้านไม่ถูกต้อง และลงไม่ถูกหมวด ขาดใบสำคัญรับเงินของผู้ประสานงานในบางกิจกรรม การเขียนกิจกรรมไม่ตรงกัน รูปถ่ายกับกิจกรรม ไม่สัมพันธ์กันการเขียนผลลัพธ์กว้างเกินไป การเขียนผลลัพธ์ยังไม่สัมพันธ์

    3.ได้ชี้แจงกิจกรรมในครั้งต่อไป คือประชุมสภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ครั้งที่ 8

     

    25 25

    21. สำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือน ครั้งที่ 1

    วันที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลคณะทำงานประสานขอความร่วมมือกับกลุ่ม อสม ตัวแทนเยาวชน นักเรียน ผู้นำในชุมชนออกสำรวจข้อมูลหนี้สินภาคครัวเรือนโดยการพูดคุยและใช้แบบสอบถาม 2.ใช้แบบสำรวจข้อมูลที่ร่วมกันออกแบบของชาวกาโห่ใต้โดย 1 สำรวจข้อมูลชุมชนและหนี้สินภาคครัวเรือน 2 หัวหน้าทีมประสานงานกับอสมและเยาวชนเพื่อร่วมกันวางแผนสำรวจข้อมูลครัวเรือนรายรับรายจ่ายเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนากิจกรรมรวมกันคิดข้อคำถามในแบบสำรวจมีข้อคำถามทั่วไป สถานะสุขภาพข้อมูลรายได้ ข้อมูลรายจ่าย หนี้สินภาคครัวเรือน การออม การดำรงชีวิตนำข้อมูลมาเรียบเรียงให้สอดคล้องกันเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการจัดเก็บข้อมูล และทำการรวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 150 ครัวเรือน และส่งมอบให้ทีมสำรวจข้อมูล โดยมอบหมายให้สำรวจเป็นทีมสำรวจประกอบด้วย ซึ่งจะขอความร่วมมือกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชนให้ประชาชนทราบและขออนุญาตไปสอบถามข้อมูลตามแบบสำรวจ -ทุกทีมออกไปเก็บข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจโดยหัวหน้าทีมร่วมทุกกลุ่ม จัดทำสรุปข้อมูลเป็นภาพรวมของหมู่บ้านโดยเผยแพร่ข้อมูลเป็นแผ่นพับทุกหลังคาเรือน จัดทำไวนิลสรุปข้อมูลติดใว้ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หอประชุมหมู่บ้าน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจ 6 ด้าน รายจ่าย รายได้ การออมการดำรงชีวิตประจำวัน การอนุรักษ์ธรรมชาติ รวมทั้งข้อมูลสุขภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพและเห็นความสำคัญ -กระจายข้อมูลสู่ชุมชนโดยทำการประสานผ่านผู้ใหญ่บ้าน เป็นข้อมูลสถานะสุขภาพของคนในหมู่บ้าน การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และปัญหาของหมู่บ้านเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบและยืนยันข้อมูลที่ได้คืนให้กับชุมชนกระตุ้นให้ประชาชนได้รับรู้เกิดความตระหนักร่วมกันและลุกขึ้นมาแก้ปัญหาหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 35 คน 2.มีแบบสอบถามเป็นของบ้านกาโห่ใต้ 1 ฉบับ

    3.สมาชิกได้ร่วมกันออกแบบแบบสอบถามของบ้านกาโห่ใต้

    4.มีฐานข้อมูลครัวเรือนข้อมูลชุมชนบ้านกาโห่ใต้ มีการคืนข้อมูลกลับไปยังครัวเรือนโดยผ่านทางหอประชุมบ้านกาโห่ใต้เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และตระหนักร่วมกันและลุกขึ้นมาแก้ปัญหาของหมู่บ้าน

    5.คณะกรรมการและผู้นำชุมชนร่วมกันรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้สำรวจมาสรุปเป็นภาพรวมของหมู่บ้าน

     

    35 39

    22. สำรวจข้อมูลหนี้ครัวเรือน ครั้งที่ 2

    วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 2ซึ่งวันนี้จะเป็นการออกสำรวจข้อมูลในชุมชนโดยนัดพบชี้แจงและเตรียมความพร้อมก่อนลงสำรวจก่อนเวลา 09.00 น. โดยมีกิจกรรมดังนี้ กอ่นลงสำรวจประธานโครงการได้พูดคุย และชี้แจงก่อนลงสำรวจว่าวันนี้เป็นกิจกรรมการสำรวจข้อมูล ครั้งทีี่ 2ซึ่งครั้งที่ 1 เราได้ออกแบบสำรวจไปแล้วและในวันนี้เราก็ได้ออกสำรวจกันในการสำรวจข้อมูลครัวเรือนนั้น เราได้แบ่งกลุ่มการลงสำรวจกันแล้วเมื่อครั้งก่อนแล้ว  โดยให้ทุกคนรับแบบสอบถามไปเพื่อทำการสำรวจ และประธานก็ได้ให้กำลังใจคณะทำงานทุกคนให้มีความตั้งใจในการทำงานมีความอดทน และให้เก็บข้อมูลให้ได้ตามที่ต้องการเพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วจะได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนต่อไปหลังจากนั้นคณะทำงานก็ได้แบ่งกลุ่มตามที่ได้แบ่งกันไว้แล้วก็ลงสำรวจกันโดยแบ่งเป็นโซนไปตามที่ อสม.รับผิดชอบเมื่อสำรวจเสร็จในวันนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ สรุปว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 35 คน 1. ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในการช่วยพัฒนาและช่วยเหลือชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ 2. คณะทำงานมีความยินดีกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ได้เห็นความสำคัญของตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน 3. ได้รู้จักคนในชุมชน มีความสัมพันธ์กับคนในชุมมากขึ้นทำให้คนในชุมชนเห็นคณะทำงานมีความตั้งใจในการร่วมพัฒนนาชุมชน 4. ได้ใช้แบบสำรวจที่ีได้จากการออกแบบของคนในชุมชนสำรวจข้อมูลในชุมชน จากการสำรวจข้อมูลวันนี้ คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปข้อมูลอย่างง่ายๆ โดยทำการสำรวจครัวเรือน 150 ครัวเรือน และทำการสรุปข้อมูลย่อยๆ ดังนี้ 1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 69เป็นชายร้อยละ 31 2. อายุของผู้ให้สัมภาษณ์ เฉลี่ย50 ปี 3. สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคู่สมรส ร้อยละ 58 4. ครัวเรือนประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 90 5. รอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตร ร้อยละ 68 6. รอบปีที่ผ่านมาครัวเรือนขายผลผลิตทางการเกษตรให้กับพ่อค้าคนกลางร้อยละ 65 7. ครัวเรือนประสบปัญหาในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ75 8. รายได้หลักของครอบครัวมาจากการเกษตร ร้อยละ70 9. ปัจจุบันครัวเรือนมีหนี้สิน ร้อยละ 75 10. หนี้สินครัวเรือน ส่วนใหญ่ เป็นหนี้จาก ธกส.ร้อยละ 58 กู้เงินดอก ร้อยละ 27 11. ครัวเรือนมีที่ดินทำกิน ร้อยละ 87 12. สมาชิกในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกดังนี้ ธนาคารหมู่บ้านร้อยละ 85 กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) ร้อยละ 70 กลุ่มสวัสดิการชุมชนตำบลร้อยละ3 กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์สูงอายุ ร้อยละ78 กลุ่มด้านสังคมและวัฒนธรรม ร้อยละ 58 กลุ่มจิตอาสา/ กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ร้อยละ 55 กลุ่มแกนนำสุขภาพ ร้อยละ 82 13. ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง คือ การรวมกลุ่มและร่วมทำกิจกรรม ร้อยละ 65 14. ครอบครัวมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 18 15. ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกฌาปนกิจ ร้อยละ 94

    1. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 14
    2. ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาสูบบุหรี่ ร้อยละ 17
    3. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารับประทานอาหารสุกๆดิบๆร้อยละ 4
    4. ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงนานกว่าครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 72
    5. นอนหลับเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ85
    6. สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 64
    7. นอนในมุ้ง / มุ้งลวด ร้อยละ 78
    8. มีวิธีปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ เล่นกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 72
    9. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ทุกวัน ร้อยละ 76
    10. มีการหลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 65
    11. การล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งร้อยละ 67
    12. การล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้งร้อยละ 95

     

    35 57

    23. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 1

    วันที่ 13 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมเรียนรู้ฐานภูมิปัญญาครั้งที่้ 1
    มีนางจิระนันท์ แปะก๋งเส็ง คณะทำงานโครงการได้พบปะพูดคุยกับผู็เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งวันนี้ผู้เข้าร่วมจะมาพูดคุยกันว่าจะได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง กิจกรรมที่สามารถเรียนรู็ได้จากโครงการ มีใครเป็นผู้ให้ความรู้ซึ่งจากการพูดคุยสรุปได้ดังนี้

    1.เรียนรู้สมุนไพร โดยมีแกนนำในชุมชน นายฉลาด หนูมา เป็นครูผู้สอน ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรประโยชน์ของสมุนไพร ที่มีอู่ในชุมชน
    2 นางเกลื้อม ขวัญทอง เรียนรู้สมุนไพรในครัวเรือนในการดูแลสุขภาพ จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรต่างๆ สรรพคุณของสมุนไพร ประโยชน์ของสมุนไพร โดยเน้นสมุนไพรที่มีในครัวเรือน ในการนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ

    3.เรียนรู้เกี่ยวกับน้ำมันเหลืองสูตรคุณยาย โดยมีนางอารีย์เนาวสุวรรณ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำวิธีการใช้ และประโยชน์ของยาเหลืองสูตรคุณยายซึ่งมีส่วนผสมของไพรสด ผลิตเป็นน้ำมันเหลือง รักษาแผลสด แผลพุพอง ไฟไหม้น้ำร้อนลวก

    4.เรียนรู้วิธีนวดแผนโบราณ โดยมี 1) นาง อาลัย ทองขาว หมอนวดแผนโบราณ 2.)นางศรัญยู ทองนุ่น หมอนวดแผนโบราณ โดยให้หมอนวดสอนกลุ่มเยาวชน โดยจัดหลักสูตรการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เรียนรู้แล้วกลับไปนวดคนในครอบครัวเพื่อสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวเพราะปัจจุบันเกิดช่องว่างระหว่างวัยเนื่องจากคนในครอบครัวติดโทรศัพท์มือถือไม่ได้มีเวลาคุยกันทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย 2.รวมกลุ่มเพื่อฝึกความชำนาญในการนวดโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยในการฝึกโดยมีพิ่เลี้ยงเป็นหมอนวดในชุมชนเป็นผู้ดูแล

    5.เรียนรู้การจักสาน โดยมี นาย วัน สิทธิศักดิ์ นายฉลาด หนูมาเป็นปราชญ์ในการสอนให้กับกลุ่มเยาวชนโดย สอนในเรื่องการทำกรงนกหัวจุก กรงนกเขา เจ้ย กระด้ง ว่าว ให้กับกลุ่มเยาวชน กลุ่มที่สนใจเข้าร่วมกลุ่ม โดยการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ภูมิปํญญาการจักรสานได้มีการสืบทอดความรู้ในเรื่องการจักรสานให้คงอยู่เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาให้กับเยาวชนรุ่นหลังซึ่งในครั้งต่อไป ก็จะเป็นการเรียนรู้ ในเรื่องของสมุนไพร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 คน

    2.มีฐานเรียนรู้ 4 ฐาน

    3.ได้มีการพูดคุยกันการระหว่างกิจกรรมในเรื่องฐานการเรียนรู้

    ผลลัพท์

    1.เกิดกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เยาวชนได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากครูภูมิปัญญาในท้องถิ่น

    2.เกิดการเรียนรู้และได้ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำขนมพื้นบ้านและเกิดกระบวนการเรียนรู้และทำงานเป็นทีมและมีการมอบหมายแบ่งหน้าที่กันทำงานทำให้เกิดความสามัคคี

     

    80 80

    24. พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ

    วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการที่ ม.วลัยลักษณ์ อ.กำไลได้ให้ความรู้เรื่องการจัดทำโครงการ ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งสมาธิก่อนเริ่มการประชุม ให้หลับตานึกถึงโครงการที่ได้ทำมาในระยะเวลา 6 เดือน ว่าจากที่ทำไปแล้ว มีใครที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปบ้าง เกิดการรวมกลุ่มอย่างไรบ้าง สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในชุมชนมีอะไรบ้าง แล้วระยะเวลาที่เหลือเราจะทำอะไรต่อไปบ้างแล้วให้เขียนลงในกระดาษส่งพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

    2.ได้ทบทวนโครงการว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปบ้าง

    3.ได้กลับไปดูกิจกรรมของตนเองว่า ต้องเพิ่มเติมอะไรอีกบ้างเพราะรายละเอียดกิจกรรมในเวปไซต์ และรูป ยังไม่เรียบร้อย

     

    2 2

    25. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 8

    วันที่ 6 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านกาโห่ใต่ครั้งที่ 8 1.ในเดือนนี้เป็นเทศกาลสงกรานต์ ซึ่้งพี่น้อง กลับบ้านมาเยี่ยมเยือนที่บเานกัน  ยังก็ก็ช่วยเฝ้าระวัง  และคอยเป็นหูเป็นตาด้วยในเรื่องเรื่องความปลอดภัย  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอุบัติเหตุ  เพราะใน ปี 2558 ที่ผ่านมา  สรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 9 - 15 เมษายน 2558 เกิดอุบัติเหตุรวม 3,373 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 364 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,559 คน  สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 39.31 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 24.35 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.34 โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 28.51 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 62.89 ถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 37.29 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 37.14  และสำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก 141 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ สุรินทร์ 16 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ สุรินทร์ 152 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน ยะลา สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บในช่วง 7 วันของการรณรงค์ มี 1 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ  ซึ่งการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2558 มีจำนวนครั้ง จำนวนผู้เสียชีวิต และจำนวนผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ขณะที่รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด โดยสาเหตุยังคงเกิดจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญทั้งการดื่มแล้วขับและการขับรถเร็ว รวมถึงการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัยถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุมีอัตราการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต  ซึ่งได้นำเอาข้อมมูลของปี 2558 มาบอกกล่าว  เพื่อที่ให้ช่วยเตือนลูกหลานให้ระวังอุบัติเหตุกันด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน

    2.ได้มีการพูดคุยในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ และรวมถึงการช่วยตักเตือนในการป้องกันอุบัติเหตุ

    3.คนในชุมชนเกิดความตระหนักในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เช่น การใช้หมวกนิรภัย ,เคารพกฎจราจร

     

    25 25

    26. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 9

    วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 9ซึ่งประธานได้กล่าวทักทายและได้ชี้แจงเรื่องสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งจากช่วงเทศกาลช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา
    อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2559 11-17 เม.ย.59 เกิดอุบัติเหตุรวม 3,447 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 442 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,656 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต มี 4 จังหวัด ได้แก่ ตราด ยะลา ระนอง และหนองบัวลำภูจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 168 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา 19 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 175 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 34.09 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 32.93 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.67 รองลงมา รถปิกอัพ ร้อยละ 8.85 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 64.49 บนถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.86 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.12 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 30.23 ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 52.28 ทั้งนี้ ได้เรียกตรวจยานพาหนะ 4,433,019 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 730,271 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 211,502 ราย ไม่มีใบขับขี่ 204,006 ราย
    ซึ่งหลังจากนี้ถึงไม่ใช่เป็นช่วงเทศกาลก็ขอฝากให้สมาชิกช่วยเป็นหูเป็นตาค่อยตักเตือนคนในชุมชนเวลาขับรถมอเตอร์ไซต์ก็ให้ใส่หมวกกันน็อคให้เรียบร้อยขับรถยนต์ รถเก่งก็คาดเข็มขัดนิรภัยให้เรียบรอ้ยและที่สำคัญคือเคารพกฎจราจร และมีวินัยในการขับรถ ด้วยนะคับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน

    2.ได้มีการคอยเตือนเรื่องการใช่รถ ใช้ถนน ผู้ใหญ่ ชนะ ห้วยแก้วประธานในที่ประชุมได้ชี้แจงเรื่องที่ได้จากอำเภอ นางจิรนันท์ แปะก๋งเส้ง ได้แจ้งในที่ประชุมว่าเชิญผู้เข้าร่วมประชุม ช่วยประชาสัมพัน์เรื่องการนวดแผนไทยที่รพสต บ้านควนหนองหงส์ไปใช้บริการและนัดหมายได้ล่วงหน้าเพื่อความสะดวกของผู้รับบริการ และชี้แจงการดำเนินงานของโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้และรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

     

    25 25

    27. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 10

    วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งที10ประธานโครงการได้บอกเล่าให้ผู้เข้าร่วมประชุมถึงปัญหาภัยแล้ง ตอนนี้ให้สมาชิกทุกคนที่ปลูกผักหรือปลูกผลไม้ให้ช่วยกันหาวัสดุกันแดดนำมามุงพืชผักเพื่อป้องกันแดดและจะได้ประหยัดน้ำ สำหรับกิจกรรมที่จะทำต้องรองบประมาณจาก สสส. งวดที่ 2 ยังไม่โอนให้ทีพอฝนตกพวกเราก็จะได้นำไปใช้ใส่ผัก ผลไม้ เพื่อฟื้นฟูสภาพ ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน ภัยธรรมชาติไม่มีใครห้ามได้แต่เราสามารถป้องกันได้ถ้าพวกเรามีการวางแผนที่ดี
    ผู้ใหญ่บ้าน ให้พี่น้องสำรวจความเสียหายพืชผัก ผลไม้ ที่กระทบจากภัยแล้งจะส่งให้เกษตรพิจารณาช่วยเหลือ ผู้ใหญ่บอกว่า ทุเรียน ลองกอง มังคุด ก็เสียหายหลายต้นเหมือนกัน สรุป ทุกคนมีการพัฒนาความคิด และมีการปรับเปลี่ยนความคิด ช่วยกันแก้ปัญหากันเองได้เกือบทุกเรื่องและชี้ีแจงในกิจกรรมครั้งต่อไปคือประชุมสภาผู้นำบ้านไร่เหนือครั้งที่ 11

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน

    2.ได้ให้สมาชิกช่วยบอกชาวบ้านให้สำรวจความเสียหายพืชผัก ผลไม้ ที่กระทบจากภัยแล้งจะส่งให้เกษตรพิจารณาช่วยเหลือ

    ผลลัพท์

    1.เกิดการเรียนรู้ร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหาในชุมชนและมอบหมายหน้าที่กันทำงาน

     

    25 25

    28. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 11

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้นี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำ ผู้ใหญ่บ้านนายชนะ ห้วยแก้ว ได้ชี้แจงโครงการประชารัฐ หมู่บ้านละ 200,000 บาท ได้ปรับปรุงซ่อมแซมศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน มีความคืบหน้าโครงการใกล้จะเสร็จแล้ว และประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกของหมู่บ้านที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้ไปใช้เสียงลงประชามติรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค. 59 ด้วย สำหรับโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ กองทุนหมู่บ้านละ 500,000 บาท ตอนนี้งบประมาณได้โอนเข้าบัญชีเรียบร้อยแล้ว ให้ทางคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการที่ประธานโครงการ ได้ชี้แจงกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไปเรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 2เรียนรู้ยาเหลืองสุตรคุณยาย ครั้งที่ 3เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 3 สร้างฐานเรียนรู้ ครั้งที่ 1 เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 4และ6 ส.ค. 2559 สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 12นางจิรนันท์ แปะก๋งเส้ง ได้ชี้แจงงานที่เกิ่ยวข้องกับอนามัยว่าตอนนี้เชื้อวัณโรคดื้อยาระบาดให้ทุกคนป้องกันและดูแลตัวเองถ้ามีอาการไอมากกินยาไม่หายให้ไปตรวจเสมหะที่โรงพยาบาล ชะอวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน

    2.ได้มีการประชาสัมพันธ์ชี้แจงกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไปเรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 2 เรียนรู้ยาเหลืองสุตรคุณยาย ครั้งที่ 3เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 3 สร้างฐานเรียนรู้ ครั้งที่ 1 เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 4และ6 ส.ค. 2559 สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 12

     

    25 25

    29. สภาผู้นำบ้านกาโห่ใต้ ครั้งที่ 12

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 13:00-15.00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธาน นายชนะห้วยแก้ว ดำเนินการเปิดประชุม วาระที่ 1 เรื่องการขึ้นทะเบียนเกษตรให้ชาวบ้านทุกครัวเรือนไปขึ้นทะเบียนได้ที่ทำการบ้านผู้ใหญ่ และเรื่องการเก็บเงินฌาปณกิจกองทุนหมู่บ้านให้ไปจ่ายได้ที่นางอาจารีย์สิทธิศักดิ์ วาระที่ 2นางจีรนันท์ แปะก๋งเส้งเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านควนหนองหงส์เรื่องการควบคุมไข้เลือดออกในตำบลควนหนองหงส์ ตอนนี้ไดืมีคนไข้ได้เกิดขึ้นในหมู่บ้านขอให้ชาวบ้านได้ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายเรื่องโครงการยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ได้แจ้งในที่ประชุมถามความสนใจใครที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมคือ กลุ่มนวดแผนไทย กลุ่มยาเหลืองสูตรคุณยาย กลุ่มจักรสานใครสนใจกลุ่มใดสามารถมาลงชื่อได้ ปิดประชุมเวลา15.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต มีสภาผู้นำที่เข้มแข็งและเข้าร่วมประชุมทุกเดือน

    ผลลัพท์ มีการประชุมสภาผู้นำและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม และเกิดหลักสูตรท้องถิ่น ศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

     

    25 25

    30. พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการ

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรม มาตรวจเอกสาร และติดตามความคืบหน้าของโครงการ  โดยวันนี้ได้ตรวจเช็คเอกสารด้านการเงิน  และการบันทึกในเวปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

    2.ได้ตรวจสอบเอกสารแล้วต้องกลับไปแก้ไขในเรื่องของใบเสร็จและให้ไปบันทึกข้อมูลในเวปไซต์ให้เรียบร้อย

     

    2 2

    31. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 2

    วันที่ 6 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้มีการทำยาเหลืองสูตรคุณยาย โดยเป็นการสอนการทำยาเหลืองสูตรคุณยายที่ โรงเรียนวัดกาโห่ใต้เพื่อเป็นการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เยาวชนโดยมี คุณครู ณรงค์ เนาว์สุวรรณ์ ซึ่งเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำยาเหลืองมาจนถึงปัจจุบัน มีครูหมอทำขวัญนาคนายเหิม ทิพย์โภชน์ ได้มาทำพิธีอัญเชิญครูหมอยา ซึ่งคุณครูณรงค์ เนาว์สุวรรณ์ ได้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ สรรพคุณยาเหลืองให้นักเรียนฟังว่ายาเหลืองนี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากตาหวล ซึ่งได้บวชเป็นพระในปัจจุบันและยินดีมอบให้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้เป็นความรู้และสมบัติอันล้ำค่าให้กับนักเรียนเพื่อที่จะเป็นการเรียนรู้โดยประกอบด้วยเด็กและเยาวชน นักเรียนและกลุ่มอสม กาโห่ใต้ทีเป็นพี่เลี้ยง เครื่องสมุนไพร วิธีการปรุงและสรรพคุณของยาเหลืองสูตรคุณยายซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สนใจจดบันทึกกัน โดยได้อธิบายขั้นตอนในการทำการเตรียมเครื่องสมุนไพร วิธีการปรุง จนบรรจุใส่ภาชนะเพื่อนำไปใช้ ซึ่งมีวัสดุและส่วนประกอบในการทำดังนี้ 1.วาสลีน 3 กก. 2. เมนทะเล5 บาท 3.พิมเสน4บาท 4.การบูร2 ขีด 5.ขมิ้นผง1 ถุง 6.ว่านร่อนทอง(เอามาตำ) 20 บาท ใส่พอประมาณ 7.ดีปลีเชือกประมาณ10 ดอก 8.ผักเสี้ยนผี(ตำผงใส่พอประมาณ)9. หัวกระชาย ใส่พอประมาณ10.หัวเปราะ11.กระชายดำ 12.ขิง13.ข่า14.น้ำมันมวยขวดเล็กสุด (50บาท) ใส่ครั้งหนึ่ง15.กล่องเบอร์ 4 จะได้ประมาณ 150 ขวด

    ซึ่งวิธีทำก็ ใช้บาตรที่พระไม่ใช้แล้วเอาเครื่องยาใส่ลงในบาตรพร้อมกันขึ้นไฟกวนไปทางเดียวกันประมาณ 15 นาที กวนให้เข้ากันดียกลงแล้วตักใส่กล่องขณะร้อนแล้วปล่อยให้เย็นเพื่อทำการบรรจุใส่ภาชนะ เพื่อใช้งาน ซึ่งยาเหลืองนี้มีสรรพคุณในการรักษาแผลทุกชนิดแผลสด แผลติดเชื้อ แผลพุพองอาการอักเสบบวมแดงแมลงสัตว์กัดต่อยฟกช้ำดำเขียวแผลสด น้ำกัดเท้าแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก นวดคลายเส้นแก้ปวดฟันบรรเทาให้หายได้ภายใน 15 นาที

    สรุปส่ิงที่เกิดขึ้น 1.นักเรียนมีความรู้ในการกวนยาเหลืองสูตรคุณยายร่วมด้วยช่วยกันในการกวนยาเหลือง ทำให้เกิดความสามัคคีกัน 2.มีนวัตกรรม คือ ยาเหลืองรักษาแผลทุกชนิดแผลสด แผลติดเชื้อ แผลพุพองอาการอักเสบบวมแดงบรรเทาให้หายได้ภายใน 15 นาที 3.ทำให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างวัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 คน

    ผลลัพท์ มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยครูภูมิปัญญาโโดยตรง เยาวชนได้รับการถ่ายทอดโโยตรง เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นทีมและมีการแบ่งบทบาทหน้าที่กันช่วยกันสอนให้กับเยาวชน

    จากที่ได้เรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นทีจะต้องถ่ายทอดจากรุ่น เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องสืบทอดเพื่อไม่ให้สูญหายไปจากท้องถิ่น เป็นนวัตกรรมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนมีการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนทั้งเด็กและเยาวชน คนมีส่วนร่วมในการทำงาน มีการเรียนรู้ร่วมกัน

     

    80 80

    32. เรียนรู้ยาเหลืองสุตรคุณยาย ครั้งที่ 3

    วันที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูภูมิปัญญาโดยอาจารย์อารี เนาว์สุวรรณ ได้บอกเล่าเรื่องราวยาเหลืองสูตรคุณยายให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยประกอบด้วยเด็กและเยาวชนและกลุ่มอสม กาโห่ใต้ทีเป็นพี่เลี้ยงกิจกรรมดดยบอกถึงสูตร เครื่องสมุนไพร วิธีการปรุงและสรรพคุณของยาเหลืองสูตรคุณยายซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สนใจจดบันทึกกัน วิธีทำ อุปกรณที่หาซื้อ วาสลิน 3 กิโล เมนทอล 5 บาท พิมเสน 4 บาท การบูร 2 ขีด ขมิ้นผง 1 ถุง ว่านร่อนทอง เอามาบดให้ละเอียด 20 บาท ผงใส่พอประมาณ ดีปลีเชือกประมาณ 10 ดอก (บดละเอียด ) ผักเสี้ยนผี (ตำผงใส่พอประมาณ ) หัวกระชาย พอประมาณ หัวเปราะพอประมาณ หัวกระชายดำ หัวขิง หัวข่า น้ำมันมวย ขวดเล็กใส่ ครึ่งหนึ่ง กล่องเบอ 4 จะได้ประมาณ 150 ขวด วิธีทำ ใช้บาตรที่พระไม่ใช้แล้วเอาเครื่องยาใส่ลงในบาตรพร้อมกันขึ้นไฟกวนไปทางเดียวกันประมาณ 15 นาที กวนให้เข้ากันดียกลงแล้วตักใส่กล่องขณะร้อนแล้วปล่อยให้เย็น สรรพคุณ ใช้สำหรับใส่แผลทุกชนิด แผลสด แผลเปื่อย แผลฟกช้ำดำเขียว แผลน้ำร้อนลวก นวดคลายเส้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตที่ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มวัยทำให้คนในชุมชนมีเวลาได้พูดคุยกันทำให้เกิดความสนิทสนมกันมากขึ้นสร้างความคุ้นเคยจากกิจกรรมที่ทำร่วมกัน เกิดนวัตกรรมยาเหลืองสูตรคุณยายวึ่งทางพัฒนาชุมชนคือนายดาราเรณ ดารากัยพัฒนากร อบตควนหนองหงส์ได้ต่อยอดเป็นผลิตภัณท์ของตำบลควนหนองหงส์ต่อไป จากการได้ให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียนเกี่ยวกับฐานภูมิปํญญาท้องถิ่น ผอ สันติ ทะเดช ผอ โรงเรียนวัดกาโห่ใต้ ได้ให้นักเรียนตั้งเป็นชมรมขึ้นในโรงเรียนและให้นักเรียนมีกิจกรรมต่อยอดเป็นกลุ่มชมรม ยาเหลืองในโรงเรียนเพื่่อให้เด็กนักเรียนได้มีกิจกรรมทำในโรงเรียนเป็นการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มากขึ้นซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลทีทำในปัจุบัน และมีชมรมแพทย์แผนไทย ซึ่งทางรพสต บ้านควนหนองหงส์มีแพทย์แผนไทยได้ให้คำปรึกษาและมาต่อยอดสอนเพิ่มเติมให้กับเยาวชนทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ เพื่อให้เยาวชนที่สนใจได้นำไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริมได้และมีรายได้เข้าครัวเรือนเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนอีกทาง

     

    80 80

    33. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 3

    วันที่ 12 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฐานภูมิปัญญาครั้งที่ 3 ซึ่งวันนี้ก็ได้มาทำกิจกกรมที่ รร.กาโห่ใต้มีนักเรียนเข้าร่วมในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีผู้ถ่ายทอดภูมปัญญาโดย นางเชย ขวัญทอง ได้ถ่ายทอดการทำขนมพื้นบ้านซึ่งในนี้ก็จะเป็นการทำนำ้สมุนไพรและการทำขนมพื้นบ้านเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำน้ำสมุนไพรและขนมพื้นบ้านนักเรียนได้แบ่งกลุ่มกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจดขั้นตอนวิธีการทำและลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชำนาญ
    โดยวันนี้เป็นการเรียนรู้ในการทำขนมสอดไส้ หรือที่เราๆเรียกกันว่าขนมค่อม โดยมีวัตถุดิบ ซึ่งสัดส่วนนี้สำหรับ 30 ห่อ • น้ำตาลปี๊ป 200 กรัม • เกลือป่น 1/2 ช้อนชา สำหรับไส้ , เกลือป่น 1 ช้อนชา สำหรับกะทิ • มะพร้าวทึนทึกขูด • แป้งข้าวเหนียว 350 กรัม • น้ำใบเตยปั่นละเอียด 300 มิลลิลิตร • กะทิ 800 มิลลิลิตร • แป้งข้าวเจ้า 80 กรัม • กลิ่นมะลิ 1 ช้อนชา • ไม้สำหรับกลัด หรือไม้จิ้มฟัน • ใบตองเช็ดสะอาดสำหรับห่อขนม วิธีทำ 1. นำใบตองที่สำหรับห่อมาตัดเป็น 2 ขนาด ฉีกใบตองชั้นนอก 5 นิ้ว และสำหรับชั้นใน 4 นิ้ว และนำมาตัดมุมให้เป็นทรงวงรี เช็ดให้สะอาด และนำไปลนไฟเล็กน้อยเพื่อให้ห่อขนมได้ง่าย 2. นำมะพร้าวทึนทึกที่ขูดเป็นเส้นยาว เกลือป่น และน้ำตาลปี๊บ ลงไปกวนในกระทะทองเหลือง ใช้ไฟอ่อน กวนไปเรื่อยๆ จนครบ 20 นาที จนส่วนผสมแห้ง จากนั้นก็ปิดไฟพักไว้ให้เย็น ผสมแป้งข้าวเหนียวและน้ำใบเตยเข้าด้วยกัน นวดแป้งจนเริ่มเป็นก้อน เสร็จแล้วให้คลุมด้วยพาสติกแรป 3. นำกะทิ 1/4 ของกะทิทั้งหมดผสมกับแป้งข้าวเจ้า เกลือป่น กลิ่นมะลิ ลงไปในกระทะ คนให้เข้ากันจนแป้งไม้จับตัวกันเป็นเม็ด แล้วค่อยเติมกะทิส่วนที่เหลือลงไป เปิดไฟอ่อนๆ และคนไปเรื่อยๆ จนกะทิเหนียวข้น ปิดไฟพักไว้ให้เย็น 4. เมื่อตัวไส้เริ่มเย็นดีแล้ว ปั้นไส้ให้เป็นก้อนกลมๆ ขนาด 1 นิ้ว จนหมด และปั้นตัวแป้งเป็นก้อนกลมขนาดใหญ่กว่าตัวไส้เป็น 1 นิ้วครึ่ง แผ่แป้งให้แบนวางไส้ลงตรงกลาง และห่อไส้ขนมให้มิดปั้นเป็นก้อนกลมๆเพื่อที่จะทำการห่อ 5. เตรียมใบตองสำหรับห่อ นำใบตอง 2 ขนาดที่ตัดไว้เป็นวงรีมาประกบกัน นำหน้านวลทั้ง 2 แผ่น ชนกัน นำขนมที่ปั้นไว้วางลงบนใบตอง และราดด้วยน้ำกะทิ 1 ช้อนโต๊ะ และพับใบตองให้เป็นทรงสูง คาดทับด้วยใบมะพร้าวและคาดด้วยไม้กลัด 6. นำไปนึ่งไว้ประมาณ 30 นาที พักไว้ให้เย็นและสามารถนำไปรับประทานได้เลย

    สิ่งที่เกิดขึ้น 1.นักเรียนได้เรียนรู้การทำขามพื้นบ้านทุกคนต่างสนใจที่จะเรียนรู้ ร่วมกันทำขนมกันซึ่งทำให้เด็กนักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในการทำขนมซึ่งเด็กนักเรียนมีควสใสนุกที่ได้เกิดการเรียนรู้ได้ทำได้กินกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. สมาชิกได้เรียนรู้ภูมิปัญญาทำน้ำสมุนไพร และขนมพื้นบ้าน โดยมีผู้ถ่ายทอดภูมปัญญาโดย นางเชยขวัญทอง ได้ถ่ายทอดการทำขนมพื้นบ้าน และทำน้ำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรให้มีไว้ และให้เยาวชนได้เรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญา ให้เด็กๆได้มีโอกาสลงมือทำ

    ผลลัพท์

    1.คนเกิดการเปลี่ยนแปลง ตระหนักถึงการถ่ายทอดภูมิปัญญาไปยังเยาวชน ไปเพิ่มเวลารู้นอกห้องเรียน และได้มีความหวงแหน อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    เด็กๆ เกิดความรู้และสนุกสนานในการทำขนมและน้ำสมุนไพร

    2.เกิดกระบวนการสอนงานระหว่างกลุ่มวัย ครูภูมิปัญญาสอนเยาวชนทำให้เกิดการท่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

    3.เกิดความรักความสามัคคีกัน การทำกิจกรรมช่วยให้คนได้มีโอกาสพูดคุยกัน

     

    80 80

    34. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 4

    วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฐานภูมิปัญญาครั้งที่ 4 ซึ่งวันนี้ก็ได้มาทำกิจกกรมที่ รร.กาโห่ใต้มีนักเรียนเข้าร่วมในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีผู้ถ่ายทอดภูมปัญญาโดย นางเชย ขวัญทอง ได้ถ่ายทอดการทำขนมพื้นบ้านซึ่งในนี้ก็จะเป็นการทำนำ้สมุนไพรและการทำขนมพื้นบ้านเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำน้ำสมุนไพรและขนมพื้นบ้านนักเรียนได้แบ่งกลุ่มกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจดขั้นตอนวิธีการทำและลงมือปฏิบัติกัน กิจกรรมย่อยเรียนรู้สมุนไพรและขนมพื้นบ้าน ฐานการเรียนรู้การทำน้ำสมุนไพรและขนมพื้นบ้าน เพื่อให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับภูมิปัญญาในท้องถิ่น และเกิดการเรียนรู้ และนำไปต่อยอด ปฏิบัติ และสืบทอดขนมพื้นบ้าน เพื่อไม่ให้สูญหายไปจากวิถีชุมชน และเกิดการเลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญา โดยมีนางเชยขวัญทอง เป็นผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำขนมพื้นบ้าน มีขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมสอดไส้ สูตรการทำขนมบ้า 1. แป้งข้าวเหนียว 1 กิโล 2. น้ำตาลปี้บ 1 กิโล 3. หัวมัน 1 กิโล 4. น้ำมันพืช 3 กิโล 5. งาขาว 2 ขีด วิธีทำ ส่วนผสม 1. เทแป้งใส่กะละมัง ตามด้วย นำตาลปี้ป ผสมให้เข้ากัน เป็นเนื้อเดียวกันจนเหนียว 2. ปั้นให้เป็นลูกกลมๆ เหมือนสะบ้า
    3. คลุกงาด้านบน 4. ใส่ในกระทะ ทอดพอเป็นสีเหลือง ตังลงในตะแกรง รอให้สะเด็ดนำมัน
    สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ นักเรียนได้เรียนรู้การทำขนมบ้าซ฿่งเด็กนักเรียนก็ร่วมมือกันทำมีการสอนแนะนำกันของเด็กนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทำให้เด็กมีความภาคภูมิใจที่ได้ทำขนมทำเองกินเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต ได้เรียนรู้เกิ่ยวกับวิธีการในการทำน้ำสมุนไพรและขนมพื้นบ้านซึ่งเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเกิดความชำนาญ ผลลัพท์ เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญในการแลกเปลิ่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชนซึ่งอาศัยการบอกต่อๆกันไปเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เกิดการเรียนรู้ในกระบวนการฝึกเกิดนวัตกรรมการถ่ายทอดไปยังเยาวชนคนรุ่นต่อไปได้สืบทอดภูมิปัญญาจากการปฏิบัติจริง และเกิดการอนุรักษ์ชื่อกิจกรรมหลักเรียนรู้ฐานภูมิปัญญา

     

    80 80

    35. สร้างฐานเรียนรู้ ครั้งที่ 1

    วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรม สร้างฐานเรียนรู้ครั้งที่ 1 เริ่มด้วยนางจิระนันท์ แปะก๋งเส็ง พูดคุยทักทายกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ โดยกิจกรรมในวันนี้ก็ร่วมกันจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อที่จะให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนซึ่ง

    ฐานเรียนรู้เกี่ยวกับการทำยาเหลืองสูตรคุณยายจะตั้งอยู่ที่หอประชุมประจำหมู่บ้านซึ่งในวันนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในชุมชน 1.ขมิ้นมาดูสรรพคุณทางยาของขมิ้นชันกัน ส่วนที่ใช้ก็คือ "เหง้า" จะมีรสฝาด โดยเหง้ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ ช่วยบำรุงตับ นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และเกลือแร่ต่าง ๆ
    ส่วนน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน ก็มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียดได้ด้วย จึงนิยมนำขมิ้นมาใช้สมานแผลในกระเพาะอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหารต้านการเกิดแผลและสมานแผลในกระเพาะอาหารขมิ้นชันมันมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น โดย นอกจากช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารลดการอักเสบมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบในร่างกายทุกชนิด และสารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบต้านการแพ้ขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการต้านการแพ้ โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของสารฮิสตามมิน ของร่างกายเมื่อมีอาการแพ้ ลดการบีบตัวของลำไส้ ขมิ้นชันมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ และยังช่วยในการขับลมและแก้อาเจียนด้วย ทั้งยังมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมยังพบว่า ขมิ้นมีสรรพคุณบำรุงร่างกายอีกหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศีรษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยขับน้ำนมสตรีหลังคลอดบุตร

    ดีปรีเรือผลสุกของดีปลีมีน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันของดีปลีตามการวิจัยของสถาบันการแพทย์แผนไทยบอกว่ามีฤทธิ์ฆ่าแมลงด้วงงวง และด้วงถั่ว ถ้าหากนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงสูตรจากธรรมชาติก็ได้

    คุณประโยชน์ด้านสมุนไพรของดีปลีนั้นมากมายมหาศาล เริ่มตั้งแต่ลำต้นหรือเถา รสเผ็ดร้อน แก้ปวดฟัน จุกเสียด แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยเจริญอาหาร ดอกนั้นรสเผ็ดร้อนขม แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืดหอบ แก้ลม วิงเวียนปรุงเป็นยาธาตุ
    แก้ตับพิการ รากรสเผ็ดร้อนขม แก้หืดหอบ แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาต
    ดอกแก่ต้มน้ำดื่มแก้ ท้องอืดท้องเฟ้อและช่วยให้หายวิงเวียน ส่วนหากจะแก้ไข ให้ใช้ดอกแก่แห้งครึ่งกำมือฝนกับ น้ำมะนาว กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ


    ผักเสี้ยนผี มีน้ำมันหอมระเหยซึ่งจะมีผลระบบทางเดินโลหิตและสารไฮโดรไซยาไนด์ ซึ่งมีพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง และยังมีกลิ่นเหม็นเขียวอย่างแรง เด็กรุ่นใหม่พอเข้าใกล้ได้กลิ่นผักเสี้ยนก็มักจะไม่ชอบ จึงทำให้สูญเสียโอกาสที่จะเรียนรู้คุณประโยชน์และภูมิปัญญาที่ว่าทำไมคุณย่า คุณยาย รวมถึงคุณแม่ด้วยจึงชอบผักเสี้ยนดองนัก ต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ฝีในปอดแก้ขับหนองในร่างกาย หรือให้หนองแห้ง แก้ฝีในลำไส้ ในตับ ขับพยาธิในลำไส้ได้ โรคข้ออักเสบ ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง ใบนำมาพอกแก้ปวดหัวบดกับเกลือทาแก้ปวดหลัง และแก้ปัสสาวะพิการ ผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์ แก้ปวดเป็นยาชาเฉพาะที่ เสริมฤทธิ์การนอนหลับ ยับยั้งเชื้อ HIV

    ในตำรายาโบราณมักนำผักเสี้ยนผีไปเข้าตำรับยารักษาอาการปวดเมื่อยหรือหุง ทำน้ำมัน ใช้สำหรับนวด นอกจากนี้ นำผักเสี้ยนผีไปต้มเอาน้ำกระสายยาแก้ซางขึ้นทรวงอก ถ้ามีอาการปวดหัวใช้ใบสดตำพอกที่ เมล็ดผักเสี้ยนนำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่มช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน ถ้ามีอาการปวดหลังให้ใช้ใบสดตำผสมเกลือทาแก้ปวดหลัง

    ผักเสี้ยนนับว่าเป็นผักสมุนไพรประเภทของดีราคาเยาอีกตัวหนึ่ง ที่น้อยคนจะรู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และยังสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่รู้จักวิธีการนำมารับประทาน

    กระชาย มีสรรพคุณช่วยให้ผมแข็งแรง ผมขาวกลับดำ ผมบางกลับหนาช่วยย่อยอาหารเสริมสมรรถภาพทางเพศอย่างเห็นได้ชัด สำหรับสรรพคุณอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ที่สุดคือ เป็นตัวกลางในการประสาน เอสโตรเจน เข้ากับแคลเซียม และวิตามินดี บำรุงกระดูก บำรุงสมองใช้เหง้าแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง แก้บิด รักษาท้อง บำรุงธาตุ และเป็นยาบำรุง ที่เรียกกันว่ายาอายุวัฒนะ

    ขิงขิงนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีข้อควรระวังนิดหนึ่งคือ ควรใช้น้ำขิงในปริมาณที่ไม่เข้มข้นจนเกินไปนัก ใช้แบบพอดี เพราะน้ำขิงที่เข้มข้นจะให้โทษแทนคุณประโยชน์ เหง้าช่วยในการกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับเสมหะ แก้โรคบิด ช่วยเจริญอากาศธาตุ ตลอดจนขับลม ช่วยแก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง หอบไอ และคลื่นไส้อาเจียน ให้รสหวานเผ็ดร้อน ต้นช่วยแก้อาการท้องร่วงหรือจุกเสียด ช่วยขับลมให้ผายเรอ ให้รสเผ็ดร้อน ใบช่วยแก้อาการนิ่ว ฟกช้ำ บำรุงกำเดา รวมทั้งช่วยขับปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และแก้โรคเกี่ยวกับตา ให้รสเผ็ดร้อน ดอกช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการปัสสาวะขัด และช่วยแก้โรคอาการประสาทที่ทำให้จิตใจขุ่นมัว ให้รสเผ็ดร้อน รากช่วยในการเจริญอาหาร แก้แน่น ช่วยขับเสมหะในลำคอ แก้ลม แก้พรรดึก และช่วยบำรุงเสียงให้กังวานไพเราะ ให้รสหวานเผ็ดร้อนและขม ผลเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยแก้อาการไข้ บำรุงน้ำนม แก้ไอ เจ็บคอ คอแห้ง ตลอดจนตาฝ้าฟาง ให้รสหวานและเผ็ด

    ข่า ใบใช้สำหรับแก้โรคกลากเกลื้อน แก้ปวดเมื่อยบริเวณข้อต่างๆ ให้รสเผ็ดร้อน ดอก ใช้สำหรับแก้โรคกลากเกลื้อน ให้รสเผ็ดร้อน ผลช่วยแก้อาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แก้บิด หรือท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น ให้รสเผ็ดร้อนฉุนหน่อช่วยในการบำรุงธาตุไฟ และแก้ลมแน่นหน้าอก ให้รสเผ็ดร้อนหวานเหง้าใช้ตำกับมะขามเปียกและเกลือให้สตรีรับประทานหลังคลอด ช่วยขับเลือดคาวปลา แก้อาการตกเลือด หรือขับรก นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดท้อง หรือจุกเสียดแน่น ช่วยขับลมให้กระจาย แก้พิษ แก้บิด แก้อาการฟกช้ำ แก้ลมป่วง แก้สันนิบาตหน้าเพลิง และแก้โรคกลากเกลื้อน ให้รสเผ็ดร้อนขม ต้นแก่ใช้ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ช่วยในการแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่างๆ หรือข้อ และแก้ตะคริว ให้รสเผ็ดร้อนซ่า รากช่วยแก้อาการเหน็บชา แก้เสมหะและโลหิต และช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ให้รสเผ็ดร้อนปร่า

    และอีหลายชนิดพิมเสนการบูรเมลทอลน้ำมันมะกอก และสอนวิธีการทำยาเลืองสูตรคุณยาย ก็จะเป็นนวัตกรรมที่เกิดใหม่ของหมู่บ้าน ไว้ในบุคคล 3 วัยและเป็นอาชีพเสริมและนวดแผนไทยที่เกิดขึ้นในชุมชนต่อด้วย ผู้ใหญ่ชนะ ห้วยแก้วชีแจงเรื่องของออกพรรษาวันที่ 17 ตุลาคม 2559จะมีการร่วมทำบุญตักบาตรกันในชุมชน ในหมู่บ้าน ฝากให้ประชาชน ฝากประาสัมพันธ์ให้คนในหมู่บ้านรับทราบด้วย
    สร้างฐานเรียนรู้ในชุมชนฐานเรียนรู้เรื่องจักรสานโดยมีปราชญ์ในชุมชน และสมาชิกในกลุ่มร่วมกันสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนร่วมกันสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อให้เป็นที่เรียนรู้ของคนที่สนใจในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน

    2.มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน แหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพรทที่หอประชุมประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง

    ผลลัพท์

    1.เกิดกระบวนการสอนงานระหว่างกลุ่มวัย ครูภูมิปัญญาสอนเยาวชนทำให้เกิดการท่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

    2.เกิดความรักความสามัคคีกัน การทำกิจกรรมช่วยให้คนได้มีโอกาสพูดคุยกัน

     

    30 30

    36. สร้างฐานเรียนรู้ ครั้งที่ 2

    วันที่ 21 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้เป็นกิจกรรมสร้างฐานเรียนรู้ครั้งที่ 2 ซึ่งวันนี้ไป ทำกิจกรรมที่ รร.บ้านกาโห่ใต้ซึ่งมีนางจิระนันท์แป๋ะก๋งเส้งได้พบปะพูดคุยกับนักเรียนซึ่งจากกิจกรรมโครงการที่ผ่านมา ได้มีการเรียนรู้ หลายกิจกรรม ซึ่งน้องๆนักเรียนก็ได้มาเรียนรู้กัน คือการเรียนรู้การทำ

    1.) ในกิจกรรมการทำยาเหลืองสูตรคุณยาย โดยมี คุณครู ณรงค์ เนาว์สุวรรณ์ ซึ่งเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำยาเหลืองมาจนถึงปัจจุบัน วู่งคุณครู ได้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ สรรพคุณยาเหลืองให้นักเรียนฟังว่ายาเหลืองนี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากตาหวล ซึ่งได้บวชเป็นพระในปัจจุบันและยินดีมอบให้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้เป็นความรู้และสมบัติอันล้ำค่าให้กับนักเรียนเพื่อที่จะเป็นการเรียนรู้ ซึ่งมีขั้นตอนในการทำการเตรียมเครื่องสมุนไพร วิธีการปรุง จนบรรจุใส่ภาชนะเพื่อนำไปใช้ ซึ่งมีวัสดุและส่วนประกอบในการทำดังนี้

    1.วาสลีน 3 กก. 2. เมนทะเล5 บาท 3.พิมเสน 4 บาท 4.การบูร 2 ขีด 5.ขมิ้นผง1 ถุง 6.ว่านร่อนทอง(เอามาตำ) 20 บาท ใส่พอประมาณ 7.ดีปลีเชือกประมาณ10 ดอก 8.ผักเสี้ยนผี(ตำผงใส่พอประมาณ)9. หัวกระชาย ใส่พอประมาณ10.หัวเปราะ11.กระชายดำ 12.ขิง13.ข่า14.น้ำมันมวยขวดเล็กสุด (50บาท) ใส่ครั้งหนึ่ง15.กล่องเบอร์ 4 จะได้ประมาณ 150 ขวด ซึ่งวิธีทำก็ ใช้บาตรที่พระไม่ใช้แล้วเอาเครื่องยาใส่ลงในบาตรพร้อมกันขึ้นไฟกวนไปทางเดียวกันประมาณ 15 นาที กวนให้เข้ากันดียกลงแล้วตักใส่กล่องขณะร้อนแล้วปล่อยให้เย็นเพื่อทำการบรรจุใส่ภาชนะ เพื่อใช้งาน ซึ่งยาเหลืองนี้มีสรรพคุณในการรักษาแผลทุกชนิดแผลสด แผลติดเชื้อ แผลพุพองอาการอักเสบบวมแดงแมลงสัตว์กัดต่อยฟกช้ำดำเขียวแผลสด น้ำกัดเท้าแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก นวดคลายเส้นแก้ปวดฟันบรรเทาให้หายได้ภายใน 15 นาที

    ในเรื่องของการทำขนนมพื้นบ้านก็มีนางเชยขวัญทอง เป็นผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำขนมพื้นบ้าน มีขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมสอดไส้ ซึ่งสูตรการทำขนมบ้า 1. แป้งข้าวเหนียว 1 กิโล 2. น้ำตาลปี้บ 1 กิโล 3. หัวมัน 1 กิโล 4. น้ำมันพืช 3 กิโล 5. งาขาว 2 ขีด วิธีทำ ส่วนผสม 1. เทแป้งใส่กะละมัง ตามด้วย นำตาลปี้ป ผสมให้เข้ากัน เป็นเนื้อเดียวกันจนเหนียว 2. ปั้นให้เป็นลูกกลมๆ เหมือนสะบ้า
    3. คลุกงาด้านบน 4. ใส่ในกระทะ ทอดพอเป็นสีเหลือง ตังลงในตะแกรง รอให้สะเด็ดนำมัน

    3.กิจกรรมการนวดแผนไทยมีผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาคือ พท.รัชยา ศรียกเฮ้ง และนางสรันยูทองนุ่นได้ ได้ฝึกการนวดแบบกายบริหารแบบไทยท่าฤาษีดัดตน 14 ท่าที1ท่านวดบริหารกล้ามเนื้อ7ท่า ท่าที่ 2 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมข้อมือ และแก้ลมในลำลึงค์ (ท่าเทพพนม)ท่าที่3 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมเจ็บศรีษระและตามัว (ท่าชูมือ ดัดมือ และกดเอว )ท่าที่4 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมเจ็บศรีษระและตามัวและแก้เกียจ)ท่าทิ่5 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตน แก้แขนขัด(ท่าดึงศอกไล้คาง)ท่าที่6 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตนแก้กล่อน และแก้เข่าขัด (ท่านั่งนวดขา)ท่าที่7 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้กล่อนปัตคาดและแก้เส้นมหาสนุกระงับ(ท่ายิงธนู)ท่าที่8 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตน(ท่าอวดแหวน ท่าดัดนิ้ว )ท่าที่9 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนดำรงกายอายุยืน ท่าที่ 10 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้ใหล่ขา และแก้เข่า ขา (ท่านางแบบ)ท่าที่11 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้โรคในอก(ท่านอนหงายผายปอด)ท่าที่12 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้ตะกริวมือ และตะกริวเท้า (ท่าเต้นโขน)ท่าที่13 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีตัดตนแก้ตะโพกสลักเพชร และแก้ใหล่ตะโพกขัด 14 เป็นท่ากายบริหารที่ย่อมาจากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมเลือดนัยตามัว(ท่านอนควำ่ทับหัตถ์)ท่าที่ 15 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์ท่าแก้เมื่อยตามปลายมือปลายเท้า
    ซึ่งฐานเรียนรุ้ต่างๆก็มีในชุมชนน้องๆนักเรียนสามารถที่จะเรียนรุ้ได้จากในชุมชน มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภูมิปัญญาในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการสอนงานจากรุ่นสู่รุ่นและถ่ายทอดภูมิปัญญาให้คนรุ่นต่อไปได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาและเกิดการหวงแหนโดยมีครูภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นคนถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนบ้านได้ เกิดการสอนงานระหว่างกลุ่มวัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน

    2.ได้เรียนรู้เกี่ยวกิจกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้เรียนเพื่อปรับใช้ เช่น การผลิตและใช้ยาสมุนไพร

     

    30 30

    37. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 5

    วันที่ 23 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้เรื่องนวดแผนไทย ครั้งที่ 8 โดยมีผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาคือ พท.รัชยา ศรียกเฮ้ง และนางสรันยูทองนุ่นได้และเยาวชนห่างไกลยาเสพติดและครอบครัวได้มีเวลาพูดคุยกันทุกคนมีความสุขมีรอยยิ้มที่ส่อประกายสดใสเป็นผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่เด็กนักเรียนเรียนรู้แล้วไปฝึกทบทวนกับคนในครอบครัวเพื่อให้เด็ก คนเกิดการเปลี่ยนแปลง มีกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญา จากรุ่นสู่รุ่นขยายต่อในกลุ่มวัยแรงงานเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ฝึกการนวดแบบกายบริหารแบบไทยท่าฤาษีดัดตน 14 ท่าที1ท่านวดบริหารกล้ามเนื้อ7ท่า ท่าที่ 2 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมข้อมือ และแก้ลมในลำลึงค์ (ท่าเทพพนม)ท่าที่3 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมเจ็บศรีษระและตามัว (ท่าชูมือ ดัดมือ และกดเอว )ท่าที่4 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมเจ็บศรีษระและตามัวและแก้เกียจ)ท่าทิ่5 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตน แก้แขนขัด(ท่าดึงศอกไล้คาง)ท่าที่6 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตนแก้กล่อน และแก้เข่าขัด (ท่านั่งนวดขา)ท่าที่7 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้กล่อนปัตคาดและแก้เส้นมหาสนุกระงับ(ท่ายิงธนู)ท่าที่8 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตน(ท่าอวดแหวน ท่าดัดนิ้ว )ท่าที่9 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนดำรงกายอายุยืน ท่าที่ 10 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้ใหล่ขา และแก้เข่า ขา (ท่านางแบบ)ท่าที่11 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้โรคในอก(ท่านอนหงายผายปอด)ท่าที่12 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้ตะกริวมือ และตะกริวเท้า (ท่าเต้นโขน)ท่าที่13 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีตัดตนแก้ตะโพกสลักเพชร และแก้ใหล่ตะโพกขัด 14 เป็นท่ากายบริหารที่ย่อมาจากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมเลือดนัยตามัว(ท่านอนควำ่ทับหัตถ์)ท่าที่ 15 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์ท่าแก้เมื่อยตามปลายมือปลายเท้า
    ผลผลิต มีฐานการเรียนรู้ในชุมชน ผลลัพท์คนเกิดการเปลี่ยนแปลง สนใจอนุรักษ์การนวดแผนไทย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 คน
    2.ได้เรียนรู้การนวดแผนไทย 15 ท่า

     

    80 80

    38. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 6

    วันที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชื่อกิจกรรมหลัก เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา
    กิจกรรมย่อย เรียนรู้การจักรสาน วันนี้นายฉลาด หนูมาได้นัดกลุ่มเป้าหมายที่ศูนย์เรียนรู้บ้านนาย ฉลาด หนูมา ได้สอนเรื่องการทำกระด้ง กับทำกรงนก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดมาจากปู่ย่าตายายที่ถ่ายทอดกันมา นายฉลาด หนูมาได้สอนให้เยาวชนรู้จักวิธีเตรียมไม้ไผ่ที่เอามาทำและการนำวัสดุไปตากแดดให้แห้ง และพร้อมที่จะนำมาทำเครื่องจักรสาน

    กระด้งนั้น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการล่อนข้าวหรือตากเมล็ดพันธุ์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังใช้รองในการทำขนม ตัวกระด้งทำมาจากไม้ไผ่ และในการสานกระด้งนั้นจะสานจากส่วนกลางให้เรียบร้อยก่อน แล้วจากนั้นจะทำการตัดขอบและดัดให้โค้งเป็นวงกลมเพื่อที่จะทำสันกระดังหรือขอบกระด้ง ซึ่งการทำขอบกระด้งนั้นเพื่อให้กระด้งแข็งแรงทนทานกับการใช้งาน ส่วนมากจะนำไปผิงไฟไว้ เพื่อให้เนื้อไม้ไผ่แห้งสนิท สีสวย

    วัตตถุดิบที่ใช้ในการสาน 1 ไม้ไผ่ 2 มีด 3 เชือก 4 เหล็ก 5 คีม วิธีสานกระด้ง 1 เลาไม้ไผ่ให้แบนกว้าง ประมาณ 2 เซนติเมตร 2 จัดวางรูปแบบในลักษณะการสาน 2 แถว 3 เริ่มสานไปจนได้ขนาดตามต้องการ 4 เตรียมขอบกระด้ง ใช้ไม้ไผ่หนาๆมาดัดให้เป็นวงกลม 5 นำไม้ไผ่ที่สานแล้วมาเข้ารูป ประโยชน์ 1 กระด้งห่างๆ ใช้ตากปลา ตากเนื้อ และอื่นๆที่ต้องการตากแห้ง 2 กระด้งที่สานถี่ๆ ใช้เป็นภาชนะรองในการส่ายข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้วหรือข้าวสารข้าวเปลือก

    กิจกรรมเพื่อให้กลุ่มเยาวชนและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้อนุรักษ์และเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ครูภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้สืบทอดความรู้ในเรื่องการจักสานให้คงอยู่เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาไปยังเยาวชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ผลผลิต
    คนเกิดการเปลี่ยนแปลง รู้จักหวงแหนภูมิปัญญาท้องถิ่นและเกิดการเรียนรู้ สิ่งทีเกินความคาดหมายผู้สนใจเข้าร่วมโดยไม่ได้รู้กิจกรรมล่วงหน้ามาเจอแล้วเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กนักเรียนและผู้ร่วมกิจกรรม สิ่งที่ยังเป็นปัญหา ความต่อเนื่องในการต่อยอด ถ้าไม่ได้ฝึกบ่อยก็ไม่เกิดความชำนาญ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 คน

    2.ได้เรียนรู้การทำจักสานในการทำกระด้ง

     

    80 80

    39. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 7

    วันที่ 27 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชื่อกิจกรรมหลัก เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา
    กิจกรรมย่อย เรียนรู้การจักรสาน วันนี้ได้มีกิจกรรมเรียนรู้โดยมีครูภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ นายฉลาด หนูมาได้เป็นครูถ่ายทอดภูมิปัญญาซึ่งทุกคนจะนัดกันมาที่บ้านนายฉลาดหนูมาเพื่อมาเรียนรู้กิจกรรมการจักรสานครูภูมิปัญญาได้ถ่ายทอดวิธีการทำกระด้งเพื่อใช้ในครัวเรือนและเหลือจากการใช้ก็เอาไปขายเพื่อนบ้าน โดยได้เตรียมอุปกรณ์ในการจักรสานใว้ให้ก่อนโดยเอาไม้ไผ่มาผ่าเป็นชิ้นเล็กๆและเหลาให้ได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วเอาไปตากแดดให้แห้งและนำเอามาสานเป็นกระด้ง ซึ่งมีหลายลายให้เลือกถ้าฝึกสานใหม่ๆใช้ลายที่ไม่ยากจนเกินไป เช่นลายลูกแก้ว ลายขัดธรรมดา เมื่อทำชำนาญแล้วก็เพิ่มลายที่ต้องใช้รายละเอียดมาก กิจกรรมเพื่อให้กลุ่มเยาวชนและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้อนุรักษ์และเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเรียนรู้วิถีชีวิตของปู่ยา่ตายาย และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้หายไปและให้ลูกหลานได้เรียนรู้และนำไปถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้หายไปจากวิถีชีวิตของคนในชุมชน ให้ครูภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้สืบทอดความรู้ในเรื่องการจักสานให้คงอยู่เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาไปยังเยาวชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม80 คน

    2.สมาชิกได้เรียนรู้การจักรสาน ทำให้รู้จักหวงแหนภูมิปัญญาท้องถิ่น

     

    80 80

    40. เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 8

    วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้เรื่องนวดแผนไทย ครั้งที่ 8 ซึ่งวันนี้เป็นการเรียนรู้การนวดแผนไทยเป็นครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการทบทวนและฝึกฝนเพิ่มเติมให่ช้เกิดความชำนาญ
    โดยมีผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาคือ พท.รัชยา ศรียกเฮ้ง และนางสรันยูทองนุ่น สมาชิกได้ฝึกการนวดแบบกายบริหารแบบไทยท่าฤาษีดัดตน 15 ท่าที 1ท่านวดบริหารกล้ามเนื้อ 7 ท่า ท่าที่ 2 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมข้อมือ และแก้ลมในลำลึงค์ (ท่าเทพพนม)ท่าที่ 3 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมเจ็บศรีษระและตามัว (ท่าชูมือ ดัดมือ และกดเอว ) ท่าที่ 4 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมเจ็บศรีษระและตามัวและแก้เกียจ) ท่าทิ่ 5 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตน แก้แขนขัด(ท่าดึงศอกไล้คาง)ท่าที่6 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตนแก้กล่อน และแก้เข่าขัด (ท่านั่งนวดขา) ท่าที่ 7 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้กล่อนปัตคาดและแก้เส้นมหาสนุกระงับ(ท่ายิงธนู)ท่าที่ 8 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีดัดตน(ท่าอวดแหวน ท่าดัดนิ้ว )ท่าที่9 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนดำรงกายอายุยืน ท่าที่ 10 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้ใหล่ขา และแก้เข่า ขา (ท่านางแบบ)ท่าที่11 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้โรคในอก(ท่านอนหงายผายปอด)ท่าที่ 12 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์จากท่าฤาษีดัดตนแก้ตะกริวมือ และตะกริวเท้า (ท่าเต้นโขน)ท่าที่13 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์มาจากท่าฤาษีตัดตนแก้ตะโพกสลักเพชร และแก้ใหล่ตะโพกขัด 14 เป็นท่ากายบริหารที่ย่อมาจากท่าฤาษีดัดตน แก้ลมเลือดนัยตามัว(ท่านอนควำ่ทับหัตถ์)ท่าที่ 15 เป็นท่ากายบริหารที่ประยุกต์ท่าแก้เมื่อยตามปลายมือปลายเท้าเยาวชนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและเยาวชนห่างไกลยาเสพติดและครอบครัวได้มีเวลาพูดคุยกันทุกคนมีความสุขมีรอยยิ้มที่ส่อประกายสดใสเป็นผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่เด็กนักเรียนเรียนรู้แล้วไปฝึกทบทวนกับคนในครอบครัวเพื่อให้เด็กได้มีเวลาพูดคุยกับผู้ปกครองและเกิดการใกล้ชิดกันมากขึ้น

    ผลผลิต มีฐานการเรียนรู้ในชุมชน คนเกิดการเปลี่ยนแปลง มีกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญา จากรุ่นสู่รุ่นขยายต่อในกลุ่มวัยแรงงานเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ผลผลิต มีฐานการเรียนรู้ในชุมชน ผลลัพท์คนเกิดการเปลี่ยนแปลง สนใจอนุรักษ์การนวดแผนไทย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 คน

    2.ได้เรียนรู้กรนวดแผนไทย ท่าฤาษี ดัดตน 15 ท่า

    3.มีฐานการเรียนรู้ในชุมชน

    4.มีฐานการเรียนรู้ในชุมชน

    ผลผลัพธ์

    1.คนเกิดการเปลี่ยนแปลง มีกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญา

    2.กลุ่มวัยแรงงานได้มีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จากท่าบริหารร่างกาย

    3.คนเกิดการเปลี่ยนแปลง สนใจอนุรักษ์การนวดแผนไทย

     

    80 80

    41. จัดทำรายงาน ค่าภาพกิจกรรม

    วันที่ 30 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมการจัดทำรายงานและเตรียมภาพภ่าย เพื่อปิดโครงการกับพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.ได้จัดทำรายงาน และเตรียมภาพถ่ายเพื่อปิดโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

     

    2 2

    42. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันจันทร์ ที่ 3ตุลาคม ๒๕๕๙ 12.00 - 13.00น. การแสดงโขน ตอน ศึกพรหมาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิธีเปิด การร่วมกันร้องเพลงชาติไทย 13.00 - 13.10น. กล่าวต้อนรับ โดย นายทรงพลสวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 13.10- 13.30น. กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 13.30 - 15.00น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน”โดย นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี 15.00 - 15.30น. รายงานสุขภาวะคนใต้ สรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) 15.30-17.00น. เสวนา “มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต” โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี นายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนม์เจริญนายกเทศมนตรีนครยะลา นายทวีวัตรเครือสาย ตัวแทนภาคประชาสังคมจังหวัดชุมพร นายแพทย์ยอร์นจิระนครสาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 12ผู้ดำเนินรายการเสวนา : นายแพทย์บัญชาพงษ์พานิช 18.00 - 20.00น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม วันอังคาร ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ 08.00 - 09.00น. ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม 09.00 - 12.00น.การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 2. การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ 5. ความมั่นคงทางมนุษย์ : การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ • 09.00 -12.00น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลังลานสื่อสร้างสุข 12.00 -14.00น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 14.00-17.00น. การประชุมห้องย่อย 1. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ (ต่อ) 2. ความมั่นคงทางอาหาร 3. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (ต่อ) 4. สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ (ต่อ) 6.การพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว 7.ระบบสุขภาพการแพทย์พหุวัฒนธรรม 14.00-17.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการ ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 1 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการกลุ่ม 2 (ต่อ) ห้องนำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่าเร้าพลัง (ต่อ) 18.00 -20.00น. ลานปัญญาเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม ซึ่งในวันนี้ก็ได้เข้าร่วม การประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โดยในเวลา 09.00 น. เริ่มกิจกรรม เริ่มด้วยการร่วมสนุกเต้นเพลงchicken dance ร่วมกันก่อน และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสวนา ในหัวข้อเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาวตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสนจังหวัดพัทลุงซึ่งจากปัญหาในหมู่บ้านในเรื่องวิกฤติภัยแล้งทำฝาย ปลูกป่า ขยะ ไฟไหม้ป่าซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลพื้นที่กำหนดทิศทางในการทำงาน ซึ่งคนในชุมชนมีส่วนร่วมกัน มีการแบ่งภาระงานเป็นหุ้นส่วน ร่วมกันทำงานในชุมชน ซึ่งมีโครงการจาก สสส เป็นฐานโดยมีอบต. สนับสนุนงบ ประมาณและนักวิชาการ ช่วยเสริม หัวหน้าสำนักปลัด นวก.สาธารณสุขจนท.อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ทสจ.) ราชการช่วยจัดการขยะซึ่งจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้นซึ่งมีปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยการมีผู้นำ ซึ่งนำแบบมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ เกิดความร่วมมือ แบ่งภารกิจ และการหนุนเสริมข้อมูลเด่นเฉพาะชุมชน คือ มีพื้นที่ป่าสงวนเต็มพื้นที่ โดยการกำหนดกติกาชุมชน คือ ใช้พื้นที่แล้วต้องปลูกป่าเพิ่ม กันเขตพื้นที่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟูมีการเชื่อมโยงเครือข่าย จาก ทสม. (อาสาจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ภาควิชาการ (มอ.ปัตตานี ม.ทักษิณ) หลังจากจบการเสวนาก็ ชม การแสดงโขนคนตอน เชิดพระอิศวร 10.10 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการคัดแยกขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชนตำบลทรายขาวอำเภอคลองท่อมจังหวัดกระบี่ 10.30น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียงตำบลตะโกอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 11.50น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชนโครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนดตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 11.20 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 14.00 น. นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน บ้านท่าฉัตรชัยตำบลนาท่อม ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 14.20 น.นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเองตำบลนาท่อมอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง 14.40 น. ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย 15.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สู่การยกระดับเชิงนโยบายโดย อ.กำไล สารักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมื่อเสร็จกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนกันก็คนที่เข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุมย่อยก็ได้มาจับมือร่วมกันเป็นวงกลม และร้องเพลงศรัทธาร่วมกัน วันพุธที่ 5ตุลาคม 255908.00 - 09.00น. ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ลานศาลาเรือนไทย 09.00-10.30น. สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 10.30 11.45น. เสวนาเรื่อง “การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียน”โดย  นายแพทย์ศักดิ์ชัยกาญจนวัฒนารักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  นายแพทย์พลเดชปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  รศ.ดร.วิลาสินีพิพิธกุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ (TPBS)ผู้ดำเนินการอภิปราย นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ 11.45 -12.00น. พิธีปิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อเสนอเพิ่มเติมจากการประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ 1.การสื่อสารให้เข้าถึงพื้นที่ รู้จัก สสส. 2.สสส.ควรทำงานร่วมกับโรงเรียนให้มากขึ้น ถ้าเข้าถึง เยาวชนได้มาก เขาจะรู้จัก สสส.ตั้งแต่ยังเล็ก ปลูกฝังความคิด จิตสาธารณะ ตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการคนชี้นำสสส.คิดอะไรเพื่อเด็กและเยาวชนหลายอย่าง เขาไม่รุ้ว่าใครทำอย่างไรให้ถึงโรงเรียนและทำให้ได้สมาชิกคนใหม่ และเด็กๆ ที่จะสืบทอด 3.การลงไปประชาสัมพันธ์ ลงไปยังพื้นที่ องค์กรเชื่อว่าหลายหมู่บ้าน ชุมชน ยังมีความต้องการวันนี้เป็นนิมิตหลายอันดี ที่ สสส.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และวันนี้สำคัญถ้าเราทำงานเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ ทำให้ประชาชนได้รุ้จัก สสส. (การสร้างคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเยาว์เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก) 4.อยากเติมเต็มโครงการ สสส. ทำภายใต้เทคโนโลยี ไอทีหลายหมู่บ้านอยากทำเพราะเป็นโครงการที่ดี เขาทำได้ แต่ปัญหาเขาขาดผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีอาจจะให้เขาได้เข้ามาเสนอ และหาคนรุ่นใหม่ มาอบรม เติมเต็มทางด้านนี้ เพื่อใช้ในการทำเครื่องมือรายงาน การวัดผล สรุปข้อเสนอเพื่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพของภาคใต้ 3. ข้อเสนอจากห้องสานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะข้อเสนอ สสส. - ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไก ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ เช่น สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้นาชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ให้สามารถขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มการสื่อสารและช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้เข้าถึงแหล่งทุนให้มากขึ้น - สนับสนุนให้เกิดการสร้างกลไกพี่เลี้ยงเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพนาไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สสส. เป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย เพื่อให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบาย เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ สช. - เปิดโอกาสให้ชุมชนที่ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ ได้เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม - นาบทเรียนและข้อมูล องค์ความรู้ และคณะทางานจากโครงการชุมชนน่าอยู่ มายกระดับสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสาธารณะ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาสุขภาวะชุมชน สปสช. - ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้กับชุมชนที่ดาเนินงานตามแนวทางของชุมชนน่าอยู่เพื่อพัฒนายกระดับจากพื้นที่สู่ตำบล - กำหนดสัดส่วนคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นให้มีตัวแทนของผู้นาชุมชนที่ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ได้สำเร็จ - กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนให้มีแนวทาง เพื่อพัฒนาและร่วมเป็นภาคีเครือข่ายได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุข - กำหนดให้หน่วยบริการสุขภาพ ดาเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดชุมชนน่าอยู่ในมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล - ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรสาขาสุขภาพมีความเข้าใจ และ มีความร่วมมือกับชุมชน ในการขับเคลื่อนงาน สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส - สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ แนวทางการดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ให้ทั่วถึงในระดับชุมชนท้องถิ่น - นาเสนอบทเรียนพื้นที่ตัวอย่าง ดาเนินงานชุมชนน่าอยู่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา กลุ่มผู้นาชุมชนให้มีกลไกการดาเนินงานสร้างชุมชนเข้มแข็ง - สนับสนุนให้เกิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่ ให้ถึงทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และสื่อสารให้สังคมได้เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างเป็นระบบ

     

    2 2

    43. ถอดบทเรียน

    วันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้มีการถอดบทเรียนการทำงาน
    วันนี้ลุงจำนง แก้วมณี เล่าให้ฟังว่า "ได้เข้ามาร่วม ผมได้เข้ามาเป็นแนวร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ ได้เรียนรู้สมุนไพร  แล้วนำมาใช้ในที่บ้านตัวเอง การทำเรื่องสมุนไพร เราต้องมาเป็นระยะเวลานาน เมื่อเราเข้าใจ ก็สามารถนำมาใช้ ในการพัฒนาตัวเอง จะทำให้มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาร่วมกิจกรรม  และมีการสนับสนุนมีการแตกต่างกัน
    สิ่งที่ผมอยากฝากคือ ให้ทุกคนเข้าร่วมประชุมสม่ำเสมอ อยากให้ผู้นำหลักๆ เข้ามาร่วมประชุมด้วย ควรเชิญผู้ใหญ่ กำนัน และผู้นำทุกระดับ และผู้นำ อสม.
    การเชิญคนอื่นๆ เข้ามาเพื่อเป็นการขยายโอกาส ขยายความรู้ ในความเป็นจริง ผู้ที่รับประโยชน์ ทุกคนได้รับประโยชน์ทุกคน ทุกระดับ  สิ่งที่เราได้ คือ การทำยาเหลืองเป็นยาแผนโบราณ ทำสมัยแต่โบราณ ได้ผล เป็นการสืบทอด สิ่งนี้ ถือว่าเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ตอนนี้ทุกคนให้การสนับสนุน เราก็ควรให้การยอมรับ  ผมอยากให้ทุกบ้าน ทุกครัวเรือน  มาปลุก วันนี้ผมปลูกแล้วที่บ้าน นำมาใช้แล้ว" ผมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำยาเหลือง โดยการปลูกยาสมุนไพร เมื่อก่อนทำใช้ส่วนตัว ไม่ได้ทำกลุ่มไหร มีการปลูกหัวไพล กระชาย และชักชวนให้มีการทำเป็นกลุ่ม ที่บ้านผมไม่ได้ปลูกทุกอย่าง ปลูกเพียงบางครั้ง  การทำกิจกรรม ผมมาร่วมกิจกรรม  สิ่งที่เปลี่ยนคือ ได้เรียนรู้ จิตใจเปลี่ยนแปลง ได้มีส่วนร่วม เป็นการทำเรื่องง่ายๆ ผมดีใจและทุกคนได้ร่วมกันทำกลุ่ม

    ส่วนลุงเหิม เล่าให้ัฟังว่า " ผมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำยาเหลือง โดยการปลูกยาสมุนไพร เมื่อก่อนทำใช้ส่วนตัว ไม่ได้ทำกลุ่มไหร มีการปลูกหัวไพล กระชาย และชักชวนให้มีการทำเป็นกลุ่ม ที่บ้านผมไม่ได้ปลูกทุกอย่าง ปลูกเพียงบางครั้ง  การทำกิจกรรม ผมมาร่วมกิจกรรม  สิ่งที่เปลี่ยนคือ ได้เรียนรู้ จิตใจเปลี่ยนแปลง ได้มีส่วนร่วม เป็นการทำเรื่องง่ายๆ ผมดีใจและทุกคนได้ร่วมกันทำกลุ่ม

    และบัง เป็นนักพัฒนาชุมชน บอกว่า "ผมก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ  กิจกรรมของโครงการได้เชิญ ทีมงานของ อบต.พาไปดูการปลูกสมุนไพรก่อน แล้วนำกลับมาใช้ที่บ้าน การเปลี่ยนแปลงคือ ทาง อบต.หนุนเสริมให้ทุกคนปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เป็นการทำกิจกรรมในตำบล เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนปลูกผักสวนครัว เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้น คาดว่า หลายคนได้นำมาทำสมุนไพรแปรรูปเอง  ตอนนี้ทุกบ้านก็มีปลูกที่บ้าน สมุนไพรได้มีการเรียนรู้ ทีแรกเอามาปลูกตายหมด เพราะติดหน้าแล้ง ตอนนี้พอเป็นหน้าฝน สมุนไพรก็งอกใหม่ ถือว่าเป็นการเรียนรู้  สิ่งที่เห็นของหมู่บ้าน คือ มีการทำยาเหลือง  ได้เข้ามาร่วมกระบวนการ พบว่า ใช้แล้วดี แก้ท้องอืดดีมาก มีสูตรที่ดีเป็นสูตรโบราณ วันนี้ ทาง อบต.จะไปรับหนุนเสริมต่อ  และจัดทำกลุ่มสมุนไพร"
    ทำโครงการนี้แล้ว หมู่บ้าน ได้มีการแปรรูปสมุนไพร และได้ทำเป็นยาเหลือง
    ยาเหลือง นำมาใช้ในการดูแล สุขภาพ ลดราจ่าย ประชาชนสนใจ รวมกลุ่มมากขึ้น เขาดีใจ เพราะมีโครการดีๆ พูดถึงในสิ่งที่ดี นำกิจกรรมเข้าสู่ไปในโรงเรียน
    กิจกรรมนี้เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียน ต่อชุมชน

    คนในหมู่บ้าน คนขัดแย้งน้อยลง คนส่วนใหญ่ ยอมรับกิจกรรมในหมู่บ้าน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
    คนส่วนใหญ่ กล้าแสดงความคิดเห็น หมู่บ้านนี้เมื่อก่อน สิ่งที่เป็นปัญหาคือไม่ให้ความร่วมมือเลย ตอนนี้ ร่วมมือมากขึ้น

    วิถีชีวิตเปลี่ยนมั้ย
    สนใจในการใช้สมุนไพร
    คนมีการพูดคุย และมีการวางแผนร่วมกัน


    ข้อเสนอ ถ้ามีงบประมาณ จัดมาสักก้อนนึง เพาะสมุนไพร เพื่อทำยาเหลือง และทำเป็นแหล่งเรียนรู้  และแจกจ่ายให้กับทุกบ้าน เพื่อให้มีการขยายพันธ์ หรือรักษาสมุนไพรไว้ในหมู่บ้าน เช่น ไพล กระชาย ผักเสี้ยนผี  พริกไทย เถาวัลย์เปรียง ดีปลีเชือก
    สร้างฐานเรียนรู้ในชุมชน ในหมู่บ้าน

    ความรู้
    การทำยาเหลือง ความรู้เรื่องสมุนไพร การทำข้อมูลชุมชน และการสรุปวิเคราะห์ชุมชน

    นวัตกรรม ยาเหลือง


    คนนำยาเหลืองมาใช้กับสุขภาพ เด็กฉีดวัคซีน ผู้ปกครอง จะนำยาเหลืองไปทาบริเวณแผลที่ฉีดวัคซีน ไม่บวม สรรพคุณคือ การรักษาแผลสด รักษาแผล
    นำมาใช้ในแผลทั่วไป คนไข้เรื้อรัง  คนไข้แผลสด
    คนที่ตัดปาล์มนำติดตัวประจำ  ก่อนตัดยา  ทาเพื่อแก้เข็ด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.ถอดบทเรียนการทำงาน 1 เรื่อง

    ผลลัพธ์

    1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เรืองการทำยาเหลือง ความรู้เรื่องสมุนไพร

    2.กลุ่มเป้าหมาเข้าใจการทำข้อมูลชุมชน และการสรุปวิเคราะห์ชุมชน
    3.เกิดนวัตกรรม คือ ยาเหลือง

    4.คนนำยาเหลืองมาใช้กับสุขภาพ เช่น เด็กฉีดวัคซีน ผู้ปกครอง จะนำยาเหลืองไปทาบริเวณแผลที่ฉีดวัคซีน ไม่บวม สรรพคุณคือ การรักษาแผลสด รักษาแผล
    นำมาใช้ในแผลทั่วไป คนไข้เรื้อรังคนไข้แผลสดคนที่ตัดปาล์มนำติดตัวประจำก่อนตัดยาทาเพื่อแก้เข็ด

     

    120 120

    44. พบพี่เลี้ยงเพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้คณะทำงานได้เดินทางมา ที่ รพ.สต.เขาพระบาท เพื่อมาทำรายงานกิจกรรมเอกสารด้านการเงิน และตรวจสอบเอกสารด้านการเงินพร้อมทั้งตรวจสอบการบันทึกการข้อมูลในเวปไซต์ และแก้ไขเอกสารต่างๆที่ไม่เรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 คน

    2.ได้ปรับเพิ่มข้อมูลในรายงานกิจกรรม ในระบบออนไลน์เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

     

    2 2

    45. การจัดทำเพื่อทำรายงาน งวดที่ 2 และรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการได้มาจัดทำรายงานฉบับสมบูรณื เพื่อปิดโครงการ ซึ่งประกอบด้าย นาง จิรนันท์ แปะก๋งเส้ง นางอาจารีย์ สิทธิศักดิ์ เป็นตัวแทนใการทำงานเพื่อพบพิ่่เลี้ยงโครงการ ในการแนะนำการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และแก้ไขเอกสารที่ยังไม่เรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 2 คน ได้ร่วมจัดทำรายงานปิดโครงการ สามารถจัดทำรายงาน ง.1 งวดที่ 2 ,ง.2 ส.3 ส.4

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือน 2.การประชุมสภาผู้นำแต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3.การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ อย่างน้อย1 ประเด็น

    1.สภาผู้นำมีการประชุมทุกเดือนจำนวน 12 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 100
    2.ประชุมสภาผู้นำทุกครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมร้อยละ 90

    3.ประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาเรื่องการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประเด็นอื่นๆ 1 ประเด็น

    2 เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้การวิธีลดรายจ่ายภูมิปัญญาชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.มีครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม50 ครัวเรือน (จากครัวเรือนทั้งหมด 150 ครัว) 2.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ร้อยละ 85 3.กลุ่มเป้าหมาย 50 ครัวเรือน เรียนรู้บัญชีครัวเรือน ร้อยละ 100 4.กลุ่มเป้าหมาย ลดรายจ่ายในครัวเรือนได้500 บาท ต่อเดือน 5.กลุ่มเป้าหมายมีรายได้จากการนวดและทำยาเหลือ คนละ 500 บาทต่อเดือน

    1.ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรม50 ครัวเรือน (เป้าหมาย 50 ครัวเรือน) ร้อยละ 100

    2.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ร้อยละ 90

    3.กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้บัญชีครัวเรือน ร้อยละ 100

    4.กลุ่มเป้าหมายลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ 500 บาท ต่อเดือน

    5.กลุ่มเป้าหมายมีรายได้จากการนวดและทำยาเหลือคนละ 500 บาทต่อเดือน

    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    1.คณะทำงานเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด)

    2.จัดทำป้ายโครงการและป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม ทุกครั้ง

    3.มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม ร้อยละ 100

    4.จัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง (2) เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้การวิธีลดรายจ่ายภูมิปัญญาชุมชน (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้

    รหัสโครงการ 58-03859 รหัสสัญญา 58-00-2028 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการดำเนินงาน คือ

    1.การทำยาเหลือง

    2.ความรู้เรื่องสมุนไพร

    3.การทำข้อมูลชุมชน และการสรุปวิเคราะห์ชุมชน

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • ภาพถ่าย และแหล่งเรียนรู้

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    1.ยาเหลือง -ใช้รักษาอาการแก้ปวดบวม รักษาแผลสด แผลเปื่อยแผลพุพอง แผลทุกชนิด รักษาสิว -รักษาอาการปวดเมื่อย
    -แก้จุกเสียด -ทดลอง 10 คน รักษาหายทุกคน เด็ก 50 คน ฉีดวัคซีน แล้วทาแก้ปวดแผล แก้อักเสบ
    (เป็นยาเย็น ไม่มีอาการปวดแสบ ปวดร้อน)

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • เอกสารถอดบทเรียนและภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    ลดการขัดแย้งด้วยกลุ่มยาเหลือง โดยชวนคนเข้ามารวมกลุ่ม โดยครั้งแรกให้เรียนรู้เรื่องน้ำยาเอนกประสงค์ แล้วสอนเรื่องสมุนไพรและรวมกลุ่มทำยาเหลือ และสอนไปในโรงเรียนให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยใช้ปราชญ์ชุมชน มาเป็นครูสอน แล้วชวนคนมาร่วมกิจกรรม ให้ความสำคัญกับคนทุกวัน

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาคือ กลุ่มยาเหลือง โดยการรวมตัวของครูภูมิปัญญา และมีการนำไปสอนในโรงเรียน ทำให้มีการขยายวงกว้างไปยังชุมชน

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • ภาพกิจกรรม บันทึกประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    กลุ่มทำยาเหลือง ที่บ้านครูภูมิปัญญา โดยมีศาลาใช้ในการทำยาเหลือง

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • ภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    มีการเรียนรู้เรื่องการลดสารเคมีในชีวิตประจำวัน โดยการนำสมุนไพรมาผลิตเป็นน้ำยาเอนกประสงค์ และสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อลดสารพิษตกค้างในร่างกาย

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีแผ่นป้ายรณรงค์ให้เลิก ลด สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณสุขและสร้างความตระหนักระดับครัวเรือน

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • ป้ายโครงการ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    การทำยาเหลืองเป็นการนำสมุนไพรในชุมชนมาให้เกิดประโยชน์ เป็นภูมิปัญญา ได้แก่ วาสลีน เมนทอน พิมเสน การบูร ขมิ้นผง ว่านร่อนทอง ดีปลีเชื่อก ผักเสี้ยนผี หัวชาย หัวเปราะ ขิง ข่า กระชายดำ น้ำมันมวยนำมาผสมกันในบาตรพระมักจะทำทำพิธีในวันเสาร์ วันอังคาร ข้างขึ้น

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกการถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    การเรียนรุ้ภูมิปัญญาและการใช้สมุนไพร เป็นการสร้างรายได้ให้ักับครัวเรือน ลดรายจ่าย และเป็นการส่งเสริมการลดใช้ยาแผนปัจจุบัน ทำให้ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลลดลง

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    การเรียนรุ้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ และการนำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ประโยชน์ เป็นการลดการใช้สารเคมี และสร้างสิ่งแวดล้อมทีด่ี

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    การทำยาเหลือง เป็นการส่งเสริมการใช้สมุนไพร ลดค่ารกัษาพยาบาล และเป็นการเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    กติกาของกลุ่มคือ ทุกคนต้องสมัครเป็นสมาชิก จึงจะได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องวิถีภูมิปัญญา และจะถ่ายทอดให้คนที่สมัครใจ

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานในพื้นที่ คือ อบต.ควนหนองหงส์ให้การสนับสนุน และยังพาไปศึกษาดูงาน

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการนำองค์ความรู้ และครูภุูมิปัญญา รวมทั้งสมุนไพรในชุมชน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และแปรรูปสมุนไพร ทำให้เกิดรายได้

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    กลุ่มเป้าหมายท่ี่เรียนรู้เรื่องยาเหลืองเกิดความภาคภูมิใจที่จะสืบทอดภูมิปัญญา

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ครูภูมิปัญญา มีความภูมิใจและยินดีที่จะถ่ายทอดความรุ้ให้กับใครก็ได้ที่สนใจสมัครเรียน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อหวังให้ความรู้คงอยู่ตลอดไป

    • บ้านกาโห่ ม.1 ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

    • เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    • บันทึกถอดบทเรียน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ยาเหลืองสูตรคุณยายที่บ้านกาโห่ใต้ จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 58-03859

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง อาจารีย์ สิทธิศักดิ์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด