task_alt

ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านในโคร๊ะ

ชุมชน บ้านในโคระ ม.10 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03885 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1887

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 26 เมษายน 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 1

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ปฐมนิเทศโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เข้าร่วมฟังการปฐมนิเทศ การรายงานกิจกรรมในระบบเวปไซค์ ระเบียบการเงิน การบันทึกกิจกรรม นำความรู้ที่ได้มาปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ร่วมปฐมนิเทศ เรียนรู้การจัดทำโครงการและการบริหารโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ปฐมนิเทศรับฟังคำชี้แจงโครงการ รับฟังแนวทางการบริหารจัดการโครงการจาก สจรส มอ บรรยายและแนะนำขั้นตอนในการลงกิจกรรมของโครงการ การปรับตัวชี้วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเตรียมทีม เตรียมกิจกรรม เตียมคนช่วยงาน และเรียนรู้การทำรายงานการเงินการลงรายละเอียดและเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่าย แนะนำชี้แจงการลงข้อมูลเวปไซต์

 

2 3

2. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที1 เดือนตุลาคม 58

วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-10.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดสภาผู้นำในชุมชนขับเครื่อนชุมชนสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีสภาผู้นำที่สามารถบริหารจัดการโครงการและร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีระเบียบ/ข้อตกลงร่วมในการบริหารจัดการและการดำเนินงานในหมู่บ้านที่ชัดเจน
  3. มีกลไกการติดตามประเมินผลหนุนเสริมให้การดำเนินงานของชุมชนมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีสภาผู้นำจำนวน 25คน ได้เข้าร่วมประชุมและมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานเพื่อให้ทุกคนได้ช่วยกันทำงานเป็นทีมโดยมีนายมาโนชทองประดับ เป็นประธาน รองประธาน 2 คือ นายสุนทรชามทอง และนายอรุณใจดีเหรัญญิก นางอุไร นาคัน เลขานุการ น.ส.จุฑารัตน์ ใจแผ้ว ผู้ช่วยเลขานุการ นางลิลัย เพชรนิล ฝ่ายทะเบียนจำนวน 3 คนมีนางจุรีย์ เทพศรี เป็นหัวหน้าฝ่ายฝ่ายสถานที่ 5 คน มี นางสมอน เมฆฉาย เป็นหัวหน้าฝ่ายฝ่ายคอมพิวเตอร์สื่อสารจำนวน 3 คน มีนายกสิเดช อ๋องสุด ฝ่ายประชาสัมพันธ์จำนวน 3 คน มีนายวิเชียร แก้วน้อย เป็นหัวหน้าฝ่าย ตัวแทนเยาวชน 5คน มี น.ส.ภูสุดา อาจหาญ เป็นหัวหน้า สภาผู้นำมีการวางแผนการทำงานล่วงหน้าและกำหนดแผนงานแนวทางในการจัดการตามกิจกรรมของโครงการ การบริหารมีข้อตกลงร่วมกันในการบริหารจัดการ ชุมชนมีกลไกการติดตามประเมินผลหนุนเสริม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 1 คน และตัวแทนเยาวชน 1 คน รวม 25 คน โดยมีบทบาทหน้าที่ประชุมเดือนละ 1 ครั้งเพื่อมอบหมายบทบาทหน้าที่ ร่วมวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณจัดทำแผนการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผลประเมินปัญหา รวมกันหาแนวทางแก้ไข และตัดสินใจร่วมกัน และมีการหารือปรึกษาเรื่องอื่นๆของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา13.00-17.00 น. ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่10บ้านในโคร๊ะโดยมีผู้ใหญ่ มาโนช ทองประดับ เป็นประธานประชุมได้มีการแยกบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำในชุมชนเป็นไปด้วยตามเรียบร้อยและได้ร่วมกันวางแผนในการจัดทำกิจกรรการติดตามประเมินผล ประเมินปัญหาและได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและตัดสินใจร่วมกันการปรึกษาหารือเรื่องอื่นๆในชุมชนและในการจัดทำโครงการของ สสส โครงการชุมชนปลอดสารพิษตามวิถีเศรษกิฐพอเพียงบ้านในโคร๊ะโดย ในการจัดทำกิจกรรมจำนวน 7กิจกรรมโดยการแยกงบประมาณแต่ละกิจกรรมชัดเจนและการพัฒนาศักยภาพผู้นำจำนวน 5 ครั้งในการสรุปปัญหาและร่วมกันตัดสินใจและปรึกษาในด้านต่างๆในหมู่บ้านกันตัดสนใจและปรึกษาในด้านต่างๆในหมู่บ้าน

 

25 25

3. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ

วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 10.00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาหลีกเหลี่ยงการใช้สารเคมี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ชุมชนรับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการ ร่วมกันทำกิจกรรมเกิดกระบวนการมีส่วนร่วม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะกรรมการโครงการได้ชี้แจงรายละเอียดวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการ มีผู้เข้าร่วมประชุมโครงการจำนวน 136 คน
  2. มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมของโครงการในเรื่องของการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี การจัดทำบัญชีครัวเรือน และการปลูกผัดปลอดสารพิษ
  3. มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการและมีข้อตกลงร่วมกันในการจัดทำโครงการ จำนวน 80 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงโครงการให้กับประชาชนในชุมชนได้รับฟัง โดยบอกกล่าวถึงวัตถุประสงค์ กลวิธีการดำเนินงานและประโยชน์ที่จะได้จากกิจกรรม และการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชนในแต่ละกลุ่มอายุในแต่ละกิจกรรมที่กำหนดไว้ตามแผนงานในโครงการ ทำความเข้าใจคณะกรรมชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.มีนายบุญโชค แก้วแกม นายกองค์การบริหาส่วนตำบลท่าขึ้น กำนันสุพจน์ เอี่ยมสกุลเวชมาเป็นประธานเปิดโครงการ มาโนช ทองประดับ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 กล่าวเปิดประชุมโครงการงบประมาณ ส.ส.ส. นายศุภกิจ กลับช่วย พี่เลี้ยงโครงการ พัฒนาชุมชนตำบลท่าขึ้นเเละมีผู้นำในตำบลท่าขึ้นเข้าร่วม 5 คน ส.อบต.2 คนและคณะกรรมการโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินชี้แจงขั้นตอนการการดำเนินของโครงการประกอบด้วย พัฒนาศักยภาพผู้นำ 10 ครั้ง ชี้เเจงวัตถุประสงค์โครงการ สร้างเครื่องมือเเละสำรวจข้อมูล วิเคราห์ข้อมูลจากการสำรวจ จัดเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลจากการสำรวจ เรียนรู้เเละการฝึกปฎิบัติการทำบัญชีครัวเรือน วิเคราะห์บัญชีครัวเรือนนำไปปฎิบัติต่อเนื่อง เริ่มเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสารเคมีเพื่อการเกษตร ปฎิบัติการทำปุ๋ยหมัก ลงเเขกเเปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษเเละปฎิบัติการปลูกผัก ติดตามประเมินการพัฒนาเเต่ละครัวเรือนครั้งที่2 ประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงกรเเละกลุ่มเกษตรในชุมชนครั้งที่2 มหกรรมวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเเละมอบรางวัลครัวเรือนต้นเเบบ จัดเวทีประชาสัมพันธ์ยื่นข้อเสนอในชุมชนขยายดำเนินการต่อเนื่อง และการถอดบทเรียนพร้อมซักถามเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้ที่เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งแนะนำคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ และได้มีการชวนเชิญคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ มีผู้สนใจเข้าร่วม 80 คน

 

100 136

4. เข้าร่วมการประชุมโครงการผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการโครงการได้ร่วมเรียนรู้การจัดทำกิจกรรมชี้แจงโครงการของชุมชนบ้านแขกเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้าร่วมกิจกรรมการชี้แจงโครงการ หมู่ที่ 13 บ้านแขก ตำบลท่าขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการโครงการจำนวน 7 คน เข้าร่วมกิจกรรมการชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการผักปัญญาอ่อนสร้างสุขบ้านแขก ของหมู่ที่ 13 บ้านแขก ตำบลท่าขึ้น เพื่อร่วมเรียนรู้การจัดทำกิจกรรมของชุมชนบ้านแขก  โดยมีคณะกรรมการโครงการของบ้านแขกได้ชี้แจงโครงการแก่ชาวบ้านในชุมชนตามงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. โดยมีชาวบ้านมีสนใจเข้ารับฟังและพร้อมกันเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมกับโครงการ

 

7 7

5. สร้างเครื่องมือและสำรวจข้อมูล

วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สร้างเครื่องมือและสำรวจข้อมูล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ฐานข้อมูลชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีแบบสำรวจข้อมูลชุมชนจำนวน 1 เรื่อง
  2. มีผู้เข้าร่วมจัดทำแบบสำรวจจำนวน 43 คน
  3. มีเยาวชนได้เรียนรู้การจัดทำแบบสำรวจจำนวน 8 คน สำรวจข้อมูล 144 หลังคาเรือน

ผลลัพธ์ จากการสร้างเครื่องมือของชุมชนทำให้เยาวชนและตัวแทนในชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกันในการกำหนดแบบสอบถามสำหรับการสำรวจข้อมูลของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีคุยแลกจัดทำออกแบบเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลชุมชน
1.ร่วมกันออกแบบสำรวจข้อมูลของชุมชน
2. สำรวจข้อมูลชุมชนโดยให้เยาวชนในชุมชนร่วมกันจัดเก็บข้อมูลเพื่อฝึกให้เด็กได้ทำงานร่วมกับชุมชนและทราบข้อมูลร่วมกับคนในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา 09.00-15.00 น. สภาผู้นำ กรรมการหมู่บ้าน และผู้เข้าร่วมประชุมและออกแบบแบบสำรวจข้อมมูลในชุมชนโดยมีเนื้อหาการสำรวจเกี่ยวกับ 1. ข้อมูลสภาพทั่วไป ประกอบด้วยด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ข้อมูลด้านกลุ่มสัมพันธ์  2. ข้อมูลพื้นที่ 3.ข้อมูลครวอบครัว เกี่ยวกับเรื่องรายได้ อาชีพหลักอาชีพรอง บทบาทในชุมชน 4.ข้อมูลด้านสุขภาพ ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันให้เยาวชนจำนวน 8 คนเป็นแกนนำเพื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูล โดยแบ่งกันคนละเฉลี่ย 18 ครัวเรือนต่อคนจำนวน 144 ครัวเรือน ให้เริ่มสำรวจข้อมูลช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์

 

50 43

6. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

รณรงค์การงดสูบบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ป้ายรณรงค์งดสูบบุหี่จำนวน 1 ป้าย ติดตั้งป้ายไว้ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายรณรงค์งดสูบบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายรณรงค์งดสูบบุหี่จำนวน 1 ป้าย

 

2 5

7. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที2 เดือนพฤศจิกายน 58

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดสภาผู้นำในชุมชนขับเครื่อนชุมชนสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีสภาผู้นำที่สามารถบริหารจัดการโครงการและร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีระเบียบ/ข้อตกลงร่วมในการบริหารจัดการและการดำเนินงานในหมู่บ้านที่ชัดเจน
  3. มีกลไกการติดตามประเมินผลหนุนเสริมให้การดำเนินงานของชุมชนมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สภาผู้นำจำนวน 25 คนได้มีการสรุปปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการซึ่งสำเร็จไปด้วยดี
  2. ได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ
  3. ได้มีการมอบหมายให้แต่ฝ่ายเตรียมความพร้อมในเรื่องของการจัดเตรียมอาหาร สถานที่ และประสานงานผูเข้าร่วมประชุม
  4. ทุกคนได้มองเห็นความสำคัญของโครงการแต่ละขั้นตอนและยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้แจงโครงการให้กับประชาชนในชุมชนได้รับฟัง โดยบอกกล่าวถึงวัตถุประสงค์ กลวิธีการดำเนินงานและประโยชน์ที่จะได้จากกิจกรรม และการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชนในแต่ละกลุ่มอายุในแต่ละกิจกรรมที่กำหนดไว้ตามแผนงานในโครงการ ทำความเข้าใจคณะกรรมชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา13.00-17.00 น. ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่10บ้านในโคร๊ะโดยมีผู้ใหญ่ มาโนช ทองประดับ เป็นประธานประชุมชี้แจงร่วมกันสรุปผลจากการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีโดยมีชาวบ้านและแกนนำได้เข้าร่วมประชุมกันจำนวน 136 คนซึ่งเกินเป้าหมาย พร้อมทั้งหารือกำหนดรายละเอียดเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนโดยให้แต่ละคนกันเสนอรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนเพื่อเตรียมสำหรับการร่วมกันกิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลในชุมชน

 

25 25

8. วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดสภาผู้นำในชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนชุมชนสู่ชุมชนที่เข้มแข็งได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนร่วมกัน เพื่อร่วมกันวางแผนแก้ปัญหา

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สภาผู้นำในชุมชน ตัวแทนครัวเรือน และตัวแทนเยาวชนจำนวน 32 คนได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ หาสาเหตุปัจจัยรายรับรายจ่ายภาระหนี้ การดำเนินชีวิตทำให้เกิดการเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนร่วมกัน สร้างความตระหนักในการร่วมกันแก้ปัญหาและวางแผนแก้ไขปัญร่วมกัน

โดยในภาพรวมของหมู่บ้านพบว่า มีกลุ่มผู้สูงอายุ 79 คน กลุ่มพิการ กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง 31 คน กลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัว 67 คน กลุ่มที่ไม่หนี้สิน 28 ครัวเรือน เนื่องจากมีรายได้ในครัวเรือนเพียงพอ มีอาชีพเสริมโดยการปลูกผัก กลุ่มที่มีภาวะหนี้สิน ธกส. 39 ครัวเรือน พบว่าส่วนใหญ่กู้ยืมไปลงทุนประกอบอาชีพสวนยางพารากลุ่มเป็นหนี้สินกองทุนหมู่บ้าน 60 รายส่วนใหญ่กู้ยืมไปทำอาชีพเสริม เช่นเลี้ยงหมู เลี้ยงวัว ปลูกผัก บางส่วนกู้ยืมไปแล้วใช้จ่ายสุรุ่ยสุ่ร่ายทำให้เป็นหนี้สินในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ หาสาเหตุปัจจัยรายรับรายจ่ายภาระหนี้ การดำเนินชีวิต โดยร่วมกันวิเคราะห์ทั้งสามด้านคือปัจจัยที่เกิดจากคนด้านสิ่งแวดล้อมและด้านกลไกชุมชนโดยเชิญผู้มีความรู้มาร่วมวิเคราะห์ กับแกนนำครัวเรือน กลุ่มเยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

สภาผู้นำในชุมชนและตัวแทนครัวเรือน 25 คนและแกนนำกลุ่มเยาวชน 8 คนได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ หาสาเหตุปัจจัยรายรับรายจ่ายภาระหนี้ การดำเนินชีวิต โดยร่วมกันวิเคราะห์ทั้งสามด้านคือปัจจัยที่เกิดจากคน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านกลไกชุมชน โดยมีการซักถาม แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่มีความรู้มาร่วมวิเคราะห์

 

50 32

9. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลการสำรวจ

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เกิดสภาผู้นำในชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนชุมชนที่เข้มแข็งได้
  2. เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาโดยการทำเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงสารเคมี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนให้ทราบสถานการณ์

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 101 คนได้เข้าร่วมประชุมและรับทราบข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลชุมชนโดยเยาวชน พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกันทำให้เห็นภาพปัญหาของหมู่บ้านมีความตระหนักที่จะช่วยด้วยช่วยกันแก้ปัญหากันมากขึ้น ในที่ประชุมตกลงร่วมกันกำหนดกติกาให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการดำเนินเข้าร่วมให้ครบตามระยะเวลาของการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูลการสำรวจ พร้อมทั้งร่วมกันรับสมัครครัวเรือนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ และทำกติกาในการปฏิบัติร่วมกัน เยาวชนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ และสรุปวิเคราะห์ชี้แจงในที่ประชุมเพื่อให้ทราบสถานการณ์ของชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เวทีจากผู้ที่มีประสบการณ์ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขแก้ปัญหาเรียนรู้จากข้อมูลที่ผ่านมา

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลจาการสำรวจ โดยมีตัวแทนครัวเรือนจำนวน 101 คนเข้าร่วมเรียนรู้และรับทราบข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลชุมชนโดยเยาวชน โดยมีข้อมูลดังนี้ กลุ่มผู้สูงอายุ 79 คน กลุ่มพิการ กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง 31 คน กลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัว 67 คนกลุ่มที่ไม่หนี้สิน 28 ครัวเรือนเนื่องจากมีรายได้ในครัวเรือนเพียงพอ มีอาชีพเสริมโดยการปลูกผัก กลุ่มที่มีภาวะหนี้สิน ธกส. 39 ครัวพบว่าส่วนใหญ่กู้ยืมไปลงทุนประกอบอาชีพสวนยางพารากลุ่มเป็นหนี้สินกองทุนหมู่บ้าน 60 รายส่วนใหญ่กู้ยืมไปทำอาชีพเสริม เช่นเลี้ยงหมู เลี้ยงวัว ปลูกผัก บางส่วนกู้ยืมไปแล้วใช้จ่ายสุรุ่ยสุ่ร่ายทำให้เป็นหนี้สิน

 

100 101

10. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที3 เดือนธันวาคม 58

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 3 เดือนธันวาคม 2558

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีสภาผู้นำที่สามารถบริหารจัดการโครงการและร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีระเบียบ/ข้อตกลงร่วมในการบริหารจัดการและการดำเนินงานในหมู่บ้านที่ชัดเจน
  3. มีกลไกการติดตามประเมินผลหนุนเสริมให้การดำเนินงานของชุมชนมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สภาผู้นำเข้าร่วมประชุม 25 คน ได้ร่วมกันสรุปการดำเนินกิจกรรมการสร้างเครื่องมือและการสำรวจข้อมูลที่ผ่าน ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ มีการวางแผนและมอบหมายหน้าที่ในการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อเตรียมติดต่อวิทยากรการอบรม อาหารผู้เข้าอบรม เอกสารการทำบัญชี และการประสานงานประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมรับทราบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 1 คน และตัวแทนเยาวชน 1 คน รวม 25 คน โดยมีบทบาทหน้าที่ประชุมเดือนละ 1 ครั้งเพื่อมอบหมายบทบาทหน้าที่ ร่วมวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณจัดทำแผนการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผลประเมินปัญหา รวมกันหาแนวทางแก้ไข และตัดสินใจร่วมกัน และมีการหารือปรึกษาเรื่องอื่นๆของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมสภาผู้นำเวลา 13.00 น มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมจำนวน 25 คน มีนายมาโนช ทองประดับ เป็นประธานการประชุม และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ มีฝ่ายทะเบียน 5 คน โดยมี น.ส.ลินดา จารันต์ เป็นประธาน ฝ่ายเหรัญญิก 5 คนโดยมี นางอุไร นาคัน เป็นประธานแ ฝ่ายสถานที่ 5 คนโดยมีนางสมอน เมฆฉายเป็นประธาน และมีฝ่ายตรวจสอบ 5 คนโดยมีนายประวิง ชนะสิทธิ์เป็นประธาน และฝ่ายเจ้าหน้าที่ อ.ส.ม. 4 คนโดยมีนางจุรีย์ เทพศรี เพื่อวางแผนการทำงานถึงกิจกรรมต่อไปและสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาคือการสร้างเครื่องมือและสำรวจข้อมูล ร่วมกันวางแผนเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บัญชีครัวเรือนโดยมอบหมายให้นางอุไร นาคัน ติดต่อวิทยากร นางอำพร กลาสี เกษตรอาสา ตำบลโพธิ์ทอง มาเป็นวิทยากร และการเตรียมเอกสารการทำบัญชี และมอบหมายให้นางสำรวย เมฆฉายติดต่อเรื่องอาหาร และการประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายเชิญชวนเข้าร่วมอบรม

 

25 25

11. การติดตามจาก สจรส.มอ ครั้งที่ 2

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ชี้แจงวิธีการการจัดทำเอกสารทางการเงิน  การหักภาษี ณ. ที่จ่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถบันทึกแบบสรุปรายงานการใช้เงินและจัดทำเอกสารทางการเงินได้
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการมีควมรู้คาวมเข้าใจและสามารถบันทึก พ.ง.ด.3 และ ใบแนบ พ.ง.ด.3 ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การจัดทำแบบสรุปเอกสารการใช้เงิน โดยติดตาม จาก สสส. สจรส.ม.อ.

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมพี่เลี้ยงได้แนะนำให้ความรู้กี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินของโครงการ ตั้งแต่ 1000 บาทขึ้นไป ต้องหักภาษี ณ ที่จาย ในหมวดค่าตอบแทน หมวดค่าใช้สอย ที่เป็นค่าอาหาร ค่าห้องประชุม และค่าเช่ารถ ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1 การเขียนแบบแสดงรายการเสียภาษี พ.ง.ด.3 และใบแนบ พ.ง.ด.3 และแบบสรุปการใช้เงินในกิจกรรมต่างๆ 

 

2 2

12. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำบัญชีครัวเรือน

วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดการพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนและแผนปฏิบัติการบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 120 ครัวเรือน ได้เรียนรู้การทำบัญชีเครือเรือนของตนเองได้โดยการบันทึกรายรับรายจ่ายในรูปแบบที่ง่ายและสะดวกในการเขียนเพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้รายรับรายจ่ายและหนี้สินของตนเองเพื่อสร้างให้เกิดความตระหนักและรู้ถึงสภาพการใช้จ่ายของครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ผู้เข้าร่วมโครงการร่วมเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน พร้อมฝึกปฏิบัติในการลงบัญชีให้ทราบรายรับรายจ่ายโดยเฉพาะรายจ่ายที่ไม่จำเป็น โดยหาวิธีที่เหมาะสมและสะดวกแก่ครัวเรือนในการบันทึกเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ง่าย ดูได้สะดวกเช่นบันทึกในปฏิทินหรือที่สามารถเห็นทั้งครอบครัวเพื่อให้เกิดความตระหนักร่วมกัน ทราบสถานะการใช้จ่ายในครัวเรือน โดยร่วมเรียนรู้กับพร้อมเด็กเยาวชนในชุมชนจากนั้นมีการร่วมกันทำแผนปฏิบัติการของครัวเรือนในการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเกิดเป็นแผนปฏิบัติการบัญชีครัวเรือนนำข้อมูลของครัวเรือนมารวมกันจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการของชุมชน เพื่อให้เห็นภาพรวมรายรับหรือรายจ่ายที่สามารถทำร่วมกันในภาพชุมชน รวมกันเป็นกลุ่มการออมของชุมชนร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการของกลุ่มกำหนดกติการ่วมกัน กำหนดแผน กำหนดการติดตาม และประเมิน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน120คน 2.แบบฟอร์มบันทึกรายรับรายจ่าย มีการเชิญครูบัญชีอาสา คือ คุณ อำพร กะลาสี 99/1 ม.2 ตใโพธิ์ทอง อ.ท่าศาลา เข้ามาแนะนำเกี่วกับการกรอกแบบฟอร์มรายรับรายจ่ายในครัวเรือนให้กับเกษตรครัวเรือนในชุมชนดดยชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงงานมีความกรพตือรือน้นในการเรียนรู้มากขึ้น เพื่อต้องการลดรายจ่านที่ไม่จำเป็นในครัวเรือนซึ่งการทำบัญชีในครัาขึ้วเรือนโดยนำไปเข้าแผนปฎิบัติการของชุมชนด้วยการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้ได้เห็นภาพมากขึ้นได้มีการคัดแยกทำเป้นกลุ่มเพื่อจะได้ร่วมกันชุมชนกำหนดกติกนใน

 

100 120

13. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที4 เดือนมกราคม 59

วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 4 เดือนมกราคม 2559

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีสภาผู้นำที่สามารถบริหารจัดการโครงการและร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีระเบียบ/ข้อตกลงร่วมในการบริหารจัดการและการดำเนินงานในหมู่บ้านที่ชัดเจน
  3. มีกลไกการติดตามประเมินผลหนุนเสริมให้การดำเนินงานของชุมชนมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.สภาผู้นำเข้าจำนวน 25 คนได้ร่วมประชุมหารือพร้อมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรมการการประเมินความเสี่ยงของสารเคมีในเลือด
2.มีการมอบหมายหน้าที่ในการประสานติดต่อเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ในการตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงสารเคมีในเลือด
3.ทีมสภาผู้นำให้ความสำคัญในการจัดการโครงการและร่วมกันวางแผนงาน และแบ่งบทบาทหน้าที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 1 คน และตัวแทนเยาวชน 1 คน รวม 25 คน โดยมีบทบาทหน้าที่ประชุมเดือนละ 1 ครั้งเพื่อมอบหมายบทบาทหน้าที่ ร่วมวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณจัดทำแผนการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผลประเมินปัญหา รวมกันหาแนวทางแก้ไข และตัดสินใจร่วมกัน และมีการหารือปรึกษาเรื่องอื่นๆของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา13.00-17.00 น. ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่10บ้านในโคร๊ะโดยมีผู้ใหญ่ มาโนช ทองประดับ เป็นประธานประชุมชี้แจงเรื่อง พูคคุยเตรียมการในการนัดเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดของคนในชุมชนและในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีการมอบหมายให้ อสม.ในหมู่บ้านช่วยประสานเชิญชาวบ้านในเขตรับผิดชอบของอสม.แต่ละคน และให้นางจุรีเทพศรี เรียนเชิญประสาน นางขวัญเรือน เสรีพงศ์ ผู้อำนวยการ รพ.สต.บ้านประดู่หอม เพื่อขอสนับสนุนเจ้าหน้าที่ของ รพ.สต.บ้านประดู่หอมมาช่วยการในตรวจคัดกรองโดยนางอุไร นาคัน ได้เสนอให้เชิญตัวแทน อสม.หมู่บ้านละ 2 คน มาช่วยในวันจัดกิจกรรมที่ประชุมได้มอบหมายให้ นางวันดีรอดบุญเป็นแกนหลักในการเตรียมสถานที่พร้อมทั้งจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในวันจัดกิจกรรม พร้อมทั้งการแจ้งนัดกลุ่มเป้าหมายใ้ห้ตามวันที่เวลาที่กำหนดสถานที่ ศาลาของหมู่บ้าน

 

25 25

14. ประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการและกลุ่มเกษตรกรในชุมชน

วันที่ 12 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนลดการใช้สารเคมีโดยใช้เกษตรอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คนในชุมชนได้รับการตรวจประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การประเมินสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน จำนวน 150 คน สามารถแยกแยะกลุ่มปลอดภัยจากสารเคมีและกลุ่มเสี่ยงได้ จากผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดจำนวน150คนตามเป้าหมายพบว่า มีคนที่เสี่ยง 77 คน ไม่ปลอดภัย 30 คนรวม 107 คน ส่วนคนที่ปลอดภัย 25 คน และไม่มีสารเคมีตกค้างมีเพียง 18 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือดแก่ครัวเรือนผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงของคนในชุมชน จำนวน 2 ครั้ง ก่อนและหลังดำเนินโครงการเพื่อเปรียบเทียบประเมินผล

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มดำเนินการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือดแก่ครัวเรือนผู้เข้าร่วมโครงการและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงของคนในชุมชน เวลา 7.00 น.โดยใช้สถานที่ศาลาประชุมของหมู่บ้าน โดยคุณ ขวัญเรือน เสรีพงศ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำ รพ.สต.บ้านประดู่หอม พร้อมด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน 11 คนและตัวแทน อสม.ต่างหมูบ้านจำนวน 2 คน มีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน โดยชาวบ้านลงทะเบียน ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง จากนั้นวัดความดันมีเจ้าหน้าที่เจาะเลือดปลายนิ้ว จากนั้นนำเลือดที่ได้ไปปั่นเพื่อแยกหาเซรุ่ม แล้วนำไปตรวจกับแผ่นกระดาษทดสอบ มีผู้เข้าร่วมคัดกรองทั้งหมด 150 คน ทำให้คนในชุมชนได้ทราบสถานะสุขภาพภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดของตนเองเพื่อเฝ้าระวังและดูแลตนเองต่อไป

 

150 150

15. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที5 เดือนกุมภาพันธ์ 59

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้เกิดสภาผู้นำในชุมชนขับเครื่อนชุมชนสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีสภาผู้นำที่สามารถบริหารจัดการโครงการและร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีระเบียบ/ข้อตกลงร่วมในการบริหารจัดการและการดำเนินงานในหมู่บ้านที่ชัดเจน
  3. มีกลไกการติดตามประเมินผลหนุนเสริมให้การดำเนินงานของชุมชนมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สภาผู้นำจำนวน 25 คนได้ร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานสรุปผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด และมีการวางแผนแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่พบในการจัดกิจกรรมการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือดให้มีสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน และช่วยกันตรวจเอกสารหลักฐานในการประกอบการเบิกจ่าย ใบลงทะเบียนต่างๆ เพื่อเตรียมปิดงวดที่ 1 ทีมสภาผู้นำมีส่วนร่วมในการวางแผนแก้ปัญหาในการทำงานร่วมกันมีแผนการดำเนินงานเอกสารหลักฐานการเงินที่ยังไม่สมบรูณ์จัดทำเอกสารให้สมบรูณ์เรียบร้อย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 1 คน และตัวแทนเยาวชน 1 คน รวม 25 คน โดยมีบทบาทหน้าที่ประชุมเดือนละ 1 ครั้งเพื่อมอบหมายบทบาทหน้าที่ ร่วมวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณจัดทำแผนการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผลประเมินปัญหา รวมกันหาแนวทางแก้ไข และตัดสินใจร่วมกัน และมีการหารือปรึกษาเรื่องอื่นๆของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เริ่มประชุมเวลา13.00-17.00 น. ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่10บ้านในโคร๊ะโดยมีผู้ใหญ่บ้าน มาโนช ทองประดับ เป็นประธานประชุมชี้แจงสรุปผลการดำเนินกิจกรรมการประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีในเลือดให้ที่ประชุมทราบ จากการตรวจคัดกรองพบว่ามีผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองจำนวน 150 คน สามารถแยกแยะกลุ่มปลอดภัยจากสารเคมีและกลุ่มเสี่ยงได้มีคนที่เสี่ยง 77 คน ไม่ปลอดภัย 30 คนรวม 107 คน ส่วนคนที่ปลอดภัย 25 คน และไม่มีสารเคมีตกค้างมีเพียง 18 คน ปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินการตรวจคัดกรองคือระยะเวลาในดำเนินการต้องปรับใหม่ให้เหมาะสมกับเวลาว่างของคนส่วนใหญ่เพราะมีบางคนติดภาระกิจ และปรับจุดนัดตรวจคัดกรองเพิ่มเติมเนื่องจากยังมีชาวบ้านบางส่วนที่ติดภาระกิจในวันดังกล่าวที่มีความประสงค์ที่จะตรวจคัดกรองเพิ่มเติม โดยนางอุไรนาคัน ได้เสนอให้มีการตรวจประเมินภาวะเสี่ยงเพิ่มเติมในรายที่ตกค้างและครั้งต่อไปให้ปรับเพิ่มจำนวนวันนัดการตรวจคัดกรองจากนั้นได้มีการร่วมหารือ เพื่อสรุปเอกสารหลักฐานใบลงทะเบียน หลักฐานทางการเงิน ของโครงการให้ถูกต้องเรียบร้อยสำหรับการเข้าร่วมประชุมปิดงวดที่ 1

 

25 25

16. การจัดประชุมงวดที่ 1 (ครั้งที่3)

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อที่จะจัดทำรายงานได้ถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการได้สรุปการดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ได้ดำเนินไปแล้วและปรับปรุงแก้ไขในบางกิจกรรมตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ได้เรียนการเขียนรายงานได้บันทึกกิจกรรมเข้าเว็บไซต์ และเรียนรู้การทำบัญชีทางการเงินและรายงานการปิดงวดที่ 1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ปิดงวดรอบครั้งที่1 และสรุปรายงานปิดงวด 1

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมร่วม สจรส.มอ. พบพี่เลี้ยงติดตามกิจกรรมย่อย เจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงถึงการที่ได้เข้าร่วมประชุมวันนี้เพื่อปิดงวดโครงการ และตรวจสอบเอกสารหลักฐานรายงาน ใบลงทะเบียน รายการเงิน และการบันทึกข้อมูลผ่านทางเวปไซต์โดยมีข้อแก้ไขบางรายการและปรับปรุงตามคำแนะนำพร้อมการจัดทำรายงานปิดงวดที่

 

2 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 36 16                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 191,400.00 64,697.00                  
คุณภาพกิจกรรม 64 53                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที6 เดือนมีนาคม 59 ( 12 มี.ค. 2559 )
  2. ปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก ( 12 มี.ค. 2559 )
  3. วิเคราะห์บัญชีครัวเรือนนำไปปฏิบัติต่อเนื่อง ( 24 มี.ค. 2559 )
  4. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงปรับแก้รายงาน ( 26 มี.ค. 2559 )
  5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสารเคมี ( 31 มี.ค. 2559 )
  6. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที7 เดือนเมษายน 59 ( 7 มิ.ย. 2559 )
  7. เรียนรู้แปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษและปฏิบัติการปลูกผัก ( 12 มิ.ย. 2559 )
  8. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที8 เดือนพฤษภาคม 59 ( 18 มิ.ย. 2559 )
  9. ติดตามประเมินผลการพัฒนาแต่ละครัวเรือน ( 1 ก.ค. 2559 )
  10. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที9 เดือนมิถุนายน 59 ( 7 ก.ค. 2559 )
  11. ประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่2 ( 9 ก.ค. 2559 )
  12. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที10 เดือนกรกฏาคม 59 ( 11 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย มาโนช ทองประดับ
ผู้รับผิดชอบโครงการ