แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ บ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง

ชุมชน บ้านโปน ม.4 ต.อินคีรี อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03888 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2112

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2015 ถึงเดือน มีนาคม 2016

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 3 ตุลาคม 2015 เวลา 9-17 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปฐมนิเทศและชี้แจงโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. นางอรสา เจริญผล และนายประเสริฐ สัณฐมิตร เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงที่มางบประมาณโครงการ จุดมุ่งหมายของโครงการจาก ผศ.ดร.พงศ์เทพ
  2. นางอรสา เจริญผล และนายประเสริฐ สัณฐมิตร เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงการลงกิจกรรมย่อยในโครงการ การทำปฏิทินโครงการ การบันทึกกิจกรรม การทำเอกสารการเิงิน การบันทึกเอกสารต่างๆ รวมทั้งการบันทึกลงในเวปไซด์ จากทีมสจรส.และทีมพี่เลี้ยง
  3. ลงกิจกรรมย่อยในโครงการ ทำปฏิทินโครงการ บันทึกกิจกรรม ทำเอกสารการเิงิน และบันทึกลงในเวปไซด์
  4. วางแผน และกำหนดวัน เวลา ที่ทำกิจกรรมในโครงการอย่างคร่าวๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ผศ.ดร.พงศ์เทพ ชี้แจงที่มางบประมาณโครงการ จุดมุ่งหมายของโครงการ
  2. ทีมสจรส.และทีมพี่เลี้ยงชี้แจงการลงกิจกรรมย่อยในโครงการ การทำปฏิทินโครงการ การบันทึกกิจกรรม การทำเอกสารการเิงิน การบันทึกเอกสารต่างๆ รวมทั้งการบันทึกลงในเวปไซด์

กิจกรรมที่ทำจริง

นางอรสา เจริญผล และนายประเสริฐ สัณฐมิตร เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงโครงการ และรายละเอียดการทำโครงการจากทีมสจรส. และทีมพี่เลี้ยง มา 2 วัน คือวันที่ 3 และ 4 ตุลาคม 2558 1. ผศ.ดร.พงศ์เทพ ชี้แจงที่มางบประมาณโครงการ จุดมุ่งหมายของโครงการ
2. ทีมสจรส.และทีมพี่เลี้ยงชี้แจงการลงกิจกรรมย่อยในโครงการ การทำปฏิทินโครงการ การบันทึกกิจกรรม การทำเอกสารการเิงิน การบันทึกเอกสารต่างๆ รวมทั้งการบันทึกลงในเวปไซด์ 3. นางอรสา เจริญผล และนายประเสริฐ สัณฐมิตร วางแผนและกำหนดวัน เวลา ในการทำกิจกรรมอย่างคร่าวๆ และลงกิจกรรมย่อย ทำปฏิทินโครงการ บันทึกกิจกรรม ทำเอกสารการเิงิน และบันทึกลงในเวปไซด์

 

2 2

2. จัดทำป้ายเปิดตัวโครงการในวันประชุมชี้แจงโครงการ

วันที่ 10 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00-11.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนทราบถึงโครงการที่ได้รับงบประมาณจากสสส. และเพื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ หรือไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คนในชุมชนอย่างน้อย 120 คนเข้าร่วมประชุมการชี้แจงโครงการ กิจกรรมของโครงการ ที่มาของงบประมาณ, เกิดสภาผู้นำชุมชน 1 กลุ่ม ผลผลิต: มีผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมของโครงการ แต่ละกลุ่มบ้าน และชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับรับผิดชอบโครงการได้ว่าจ้างจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 1 ป้าย ป้ายรณรงค์ "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" จำนวน 1 ป้าย ติดไว้ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และป้ายรณรงค์ "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่"

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการได้ว่าจ้างจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 1 ป้าย ป้ายรณรงค์ "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" จำนวน 1 ป้าย ติดไว้ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน

 

120 70

3. ตรวจสารเคมีในเลือดและให้ความรู้เรื่องพิษของการใช้สารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00-15.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับระดับสารเคมีในเลือดของคนในชุมชน2. เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักถึงอันตรายของการมีสารเคมีสะสมในเลือด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลลัพธ์: คนในชุมชนอย่างน้อย 120 คนได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดและเข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้ ผลผลิต: คนที่ได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดทราบผลการตรวจสารเคมีในเลือดของตนเอง และภาพรวมของชุมชน และเข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้ สามารถป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และใช้เกษตรอินทรีย์ในการเพาะปลูก

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ในช่วงเช้าได้มีผู้เข้าร่วมตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านนาสร้าง จำนวน 100 คน ในจำนวนดังกล่าวมีกำนันตำบลอินคีรี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 และอสม.เข้าร่วมกิจกรรมด้วย
  • ในช่วงบ่ายได้ชี้แจงผลการตรวจสารเคมีในเลือดเป็นรายบุคคล และแจ้งผลการตรวจเลือดในภาพรวมของทั้งชุมชน ซึ่งผลการตรวจสารเคมีในเลือดของทั้งชุมชนพบว่า ปกติ 8 ราย ปลอดภัย 23 ราย มีความเสี่ยง 45 ราย และไม่ปลอดภัย 24 ราย จากนั้นเจ้าหน้าที่รพ.สต.คือ นางสายสมร หมื่นบวร ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของการใช้หรือบริโภคสารเคมี ทำให้ชาวบ้านตระหนักถึงโทษของการใช้สารเคมีในการผลิต และการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนเพิ่มมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านนาสร้าง และอสม.บ้านโปน

กิจกรรมที่ทำจริง

ในช่วงเช้าได้มีผู้เข้าร่วมตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านนาสร้าง จำนวน 100 คน และในช่วงบ่ายได้แจ้งผลการตรวจสารเคมีในเลือดในชาวบ้านได้รับทราบเป็นรายบุคคล และในภาพรวมของทั้งชุมชน จากนั้นเจ้าหน้าที่รพ.สต. คือ นางสายสมร หมื่นบวร ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของการใช้สารเคมีหรือบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี

 

120 100

4. สำรวจชนิดเและปริมาณการใช้สารเคมี ต้นทุนการใช้สารเคมี

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ทราบชนิด ปริมาณการใช้สารเคมีในชุมชน ค่าใช้จ่ายที่ใช้ และโรคที่เกิดจากการใช้สารเคมี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลลัพธ์: ครัวเรือนในชุมชนจำนวน 264 ครัวเรือน ได้รับการสำรวจข้อมูลชนิด ปริมาณ ค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกความรู้เกี่ยวกับโทษของสารใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี การรับประทานผัก/ผลไม้ที่มีสารเคมีปนเปื้อน โรค อาการที่เกิดจากการใช้สารเคมีและการรับประทานผัก/ผลไม้ที่มีสารเคมีปนเปื้อน ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทำการเกษตรในส่วนของสารเคมีและปุ๋ยเคมีก่อนและหลังทำโครงการ ผลผลิต: เยาวชนหรือคนกลุ่มอื่นๆ ในชุมชน ตระหนักถึงโทษของการรับประทานผัก/ผลไม้ที่ปนเปื้อนสารเคมี หรือใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลที่เกิดขึ้นจริง: อสม.จำนวน 20 คน ได้ทำการสำรวจข้อมูลชนิด ปริมาณ ค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีเพื่อเพาะปลูก ความรู้เกี่ยวกับโทษของการใช้สารเคมีหรือการบริโภคสารเคมี ในตัวแทนครัวเรือนจำนวน 256 ครัวเรือน ก่อนทำโครงการ ซึ่งได้ผลดังนี้ 1. ครัวเรือนร้อยละ 90 ใช้สารเคมีในการเกษตร (ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า) ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปการการซื้อสารเคมี (รวมปุ๋ย)อยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท/ครัวเรือน/ปี ทุกครัวเรือนรับประทานผัก/ผลไม้ที่ซื้อจากตลาด และส่วนใหญ่ล้างผัก/ผลไม้ โดยใช้น้ำเปล่า ประมาณร้อยละ 10 ของครัวเรือน เริ่มมีคนในครัวเรือนมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย โดยไม่ทราบสาเหตุ 2. คนในชุมชน ตระหนักถึงโทษของการรับประทานผัก/ผลไม้ที่ปนเปื้อนสารเคมี หรือใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี 3. ครัวเรือนใช้สารเคมีมาก 74 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 28.90 ใช้สารเคมีปานกลาง 103 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 40.24 ใช้สารเคมีน้อย 79 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 30.86
4. ประเภทการใช้สารเคมีที่พบมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สำรวจข้อมูลชนิด ปริมาณ ค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีในชุมชน สำรวจความรู้เกี่ยวกับโทษของการใช้สารเคมี โรคที่เกิดจากการใช้สารเคมี

กิจกรรมที่ทำจริง

อสม. จำนวน 20 คน สำรวจข้อมูลชนิด ปริมาณ ค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีในชุมชน สำรวจความรู้เกี่ยวกับโทษของการใช้สารเคมี โรคที่เกิดจากการใช้สารเคมี ของคนในชุมชนทุกครัวเรือน

 

284 200

5. ประชุมชี้แจงโครงการ กิจกรรมโครงการ และที่มาของงบประมาณ

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนทราบถึงโครงการที่ได้รับงบประมาณจากสสส. และเพื่อขับเคลื่อนการทำเกษตรปลอดสารพิษในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คนในชุมชนอย่างน้อย 120 คนเข้าร่วมประชุมการชี้แจงโครงการ กิจกรรมของโครงการ ที่มาของงบประมาณ, เกิดสภาผู้นำชุมชน 1 กลุ่ม ผลผลิต: มีผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมของโครงการ แต่ละกลุ่มบ้าน และชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลที่เกิดขึ้นจริง: คนในชุมชนและแกนนำในชุมชนจำนวน 70 คนเข้าร่วมกิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการ กิจกรรมของโครงการ และที่มาของงบประมาณ ในวันนี้ที่ประชุมได้เลือกแกนนำชุมชนและแกนนำแต่ละกลุ่มบ้านในการขับเคลื่อนโครงการ 1 กลุ่ม ทำให้เกิดสภาผู้นำขึ้น นอกจากนี้ยังได้นัดวันทำกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ และการป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และพูดคุยเรื่องกิจกรรมที่ชุมชนต้องการเพิ่มเติม ซึ่งคนในชุมชนอยากได้วิธีการกำจัดสารพิษในพืช ผัก ผลไม้ ก่อนบริโภค ผลผลิต: มีผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมของโครงการ แต่ละกลุ่มบ้าน และชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมชี้้แจงโครงการ กิจกรรมโครงการ และที่มาของงบประมาณ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยงโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่ได้รับงบประมาณจากสสส. และแจ้งใหุ้ชุมชนทราบว่างบประมาณนี้เป็นงบประมาณที่ให้เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมบ้านโปนปลอดสารพิษด้วยวิถีชีวิตพอเพียง ซึ่งให้กับคนทั้งชุมชน ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการประชุมปรึกษาคนในชุมชนเพื่อเลือกแกนนำชุมนในแต่ละกลุ่มบ้านเพื่อขับเคลื่อนโครงการขึ้นมา 1 กลุ่ม
  3. ร่วมกันนัดวันในการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ การป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกาย

 

120 70

6. ประชุมครั้งที่ 2 ติดตามโครงการ

วันที่ 7 ธันวาคม 2015 เวลา 08:30-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามโครงการ ตรวจเช็ครายละเอียดกิจกรรม เอกสารการเงินต่างๆ เขียนรายงาน ปิดงวด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน เข้าร่วมรับฟังการติดตามโครงการ
  2. ตรวจเช็ครายละเอียดกิจกรรม เอกสารการเงินต่างๆ
  3. ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจการเขียนรายงาน การเขียนเอกสารการเงินมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมร่วมกับ สจรส.มอ. เพื่อติดตามโครงการ ตรวจเช็ครายละเอียดกิจกรรม เอกสารการเงินต่างๆ เขียนรายงาน ปิดงวด

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน เข้าร่วมรับฟังการติดตามโครงการ ตรวจเช็ครายละเอียดกิจกรรม เอกสารการเงินต่างๆ เขียนรายงานปิดงวด

 

2 2

7. ให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ให้ความรู้เรื่องพิษภัยของสารเคมี การป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย การล้างผักเพื่อลดสารพิษ

วันที่ 9 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ครัวเรือนมีความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ  การทำปุ๋ยหมัก นำ้หมักชีวภาพ น้ำยาไล่แมลง และมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสารเคมี สามารถป้องกันตัวเองไม่ให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลลัพธ์: คนในชุมชนอย่างน้อย 120 คน เข้ารับการอบรม ผลผลิต: คนในชุมชนทราบวิธีการทำเกษตรปลอดสารพิษ การทำน้ำหมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ/น้ำยาไล่แมลง, ได้ครัวเรือนที่สนใจทำเกษตรปลอดสารพิษ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คนในชุมชนจำนวน 96 คน เข้าร่วมโครงการ (วัยทำงานจำนวน ุ64 คน วัยสูงอายุจำนวน 32 คน)
  2. มีนายกอบต.อินคีรี มาเปิดงาน และเกริ่นนำเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้สารพิษในชุมชน
  3. คนในชุมชนตระหนักถึงพิษภัยของการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร และสนใจที่จะทำการเกษตรปลอดสารพิษ
  4. ทุกคนได้เรียนรู้ การทำน้ำหมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ/น้ำยาไล่แมลง การล้างผักก่อนกินให้ปลอดสารเคมี
  5. ผู้หญิงที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่สนใจเรื่องล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารพิษ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาไล่แมลง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ตอนเช้ามีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ และสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ ปู๋ยหมัก น้ำยาฆ่าแมลง โดย ร.ต.สุวรรณ ทองทรัพย์ ปราชญ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง และมีการแจกพันธ์ผักบุ้งและผักกาดเพื่อไปปลูกที่บ้าน
  2. ตอนบ่ายจะเป็นการชี้แจงสถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชนโดยผู้รับผิดชอบโครงการ และให้ความรู้เรื่องพิษภัยของสารเคมี วิธีการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายในผู้ที่ใช้สารเคมี วิธีการล้างผักเพื่อลดสารเคมี และสาธิตการล้างผัก โดยนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  3. แจกคู่มือ "รู้ทันสารพิษ ชีวิตปลอดภัย" ครัวเรือนละ 1 เล่ม และหากครัวเรือนไหนไม่มาร่วมโครงการ ก็จะให้อสม.นำไปให้ที่บ้าน

 

120 96

8. ประชุมครั้งที่ 3 ประชุมเพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 1

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 08:30-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำรายงานงวด 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมรับการจัดทำรายงานงวด 1 จำนวน 2 คน
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการขอขยายเวลาการปิดงวด 1 ไปอีก 1 เดือน เนื่องจากเพิ่งได้รับเงินสนับสนุนในวันที่ 12/11/2558 และภายหลังได้รับเงินเป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งปีนี้มีฝนตกเป็นระยะยาวนาน ทำให้การดำเนินงานล่าช้า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การจัดทำรายงานงวด 1 การจัดทำเอกสารต่างๆ 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมรับฟังการจัดทำรายงานงวด 1 และเขียนขอขยายเวลาการปิดงวด 1

 

2 2

9. จัดทำป้ายรณรงค์การทำเกษตรปลอดสารพิษปิดตามกลุ่มบ้าน

วันที่ 4 มีนาคม 2016 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คนในชุมชนอย่างน้อย 120 คนเข้าร่วมประชุมการชี้แจงโครงการ กิจกรรมของโครงการ ที่มาของงบประมาณ, เกิดสภาผู้นำชุมชน 1 กลุ่ม ผลผลิต: มีผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมของโครงการ แต่ละกลุ่มบ้าน และชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คนในชุมชนอย่างน้อย 300 คน ที่ผ่านไปผ่านมาได้เห็นป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. มีผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมของโครงการ แต่ละกลุ่มบ้าน และชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายรณรงค์การทำเกษตรปลอดสารพิษปิดตามกลุ่มบ้าน 6 กลุ่มบ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 6 ป้าย ปิดไว้ตามกลุ่มบ้านจำนวน 6 กลุ่มบ้าน

 

120 300

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 38 9                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,960.00 65,543.00                  
คุณภาพกิจกรรม 36 23                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมแกนนำ ( 20 ก.พ. 2016 )
  2. จัดทำป้ายรณรงค์การทำเกษตรปลอดสารพิษปิดตามกลุ่มบ้าน ( 4 มี.ค. 2016 )
  3. ประชุมแกนนำ ( 18 เม.ย. 2016 )
  4. ประชุมแกนนำ ( 12 พ.ค. 2016 )
  5. ประชุมแกนนำ ( 23 ก.ค. 2016 )
  6. ประชุมแกนนำ ( 15 ส.ค. 2016 )

(................................)
นาง อรสา เจริญผล
ผู้รับผิดชอบโครงการ