แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน

ชุมชน ชุมชนบ้านทุ่งโชนม.6ต.เขาพระทองอ.ชะอวดจ.นครศรีธรรมราช80180

รหัสโครงการ 58-03843 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2208

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศ การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปฐมนิเทศน์โครงการใหม่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิตคณะทำงานเข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการ จำนวน 2 คน รับฟังการบริหารจัดการโครงการ สสส เรียนรู้การจัดทำรายงานต่างๆรายงานการเงิน การลงทะเบียน การเบิกจ่ายงบในแต่ละกิจกรรม การจัดทำรายงานผ่าน เวปคนใต้สร้างสุข
  • ผลลัพธ์คณะทำงานทราบและเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ สสสสามารถจัดทำรายงานต่างๆได้ และบันทึกรายงานผ่านเวปคนใต้สร้างสุขได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • รับฟังแนวทางการบริหารจัดการโครงการจาก ผส.ดร.พงเทพษ์ และทีมงานของคนใต้สร้างสุข
  • ตัวแทน จาก สจรส มอ บรรยายและแนะนำขั้นตอนในการลงกิจกรรมของโครงการ การปรับตัวชี้วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด กิจกรรมที่จะต้องลงมีดังต่อไปคือ กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมชี้แจงชุมชนในการดำเนินงานทุกครั้งต้องแนบรายงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนและพี่เลี้ยงในลงไปช่วยในการปิดงวดแต่ละครั้ง พร้อมทั้งตัวแทนจะ สจรส.มอ. ไปช่วยตรวจสอบความถูกต้องหลังจากทำงานไป 2 เดือน ต่อจากนั้นจะมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย สสส. เป็นผู้จัด
  • อาจารย์ กำไลสมรักษ์ชี้แจงกิจกรรมที่จะต้องทำ เช่น เตรียมทีม เตรียมกิจกรรม เตียมคนช่วยงาน เพื่อเริ่มต้นการทำงานให้สำเร็จ
  • อาจารย์ สุดาไพศาล ชี้แจงการจัดทำรายงานการเงินการลงรายละเอียดและเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการเบิกจ่าย
  • ทีมงานจาก สจรส มอแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพที่ดี แนะนำชี้แจงการลงข้อมูลในโปรแกรมและฝึกปฏิบัติการลงรายงานในเวปคนใต้สร้างสุข จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานตลอดโครงการ จนเสร็จ และ บันทึกกิจกรรมวันปฐมนิเทศ

 

2 2

2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรณรงค์ลดละเลิกบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิตมีป้ายเขตปลอดบุหรี่ ตามมาตราฐานที่สสส กำหนด จำนวน 1 ป้ายติดในสถานที่จัดทำกิจกรรมของโครงการ
  • ผลลัพธ์กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีการสูบบุหรี่ ในเวลาการจัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายเกิดจิตสำนึกงดสูบบุหรี่ในวันจัดกิจกรรมติดประชาสัมพันธ์ไว้ในที่ประชุมประจำเดือนหมู่บ้านและสถานที่นัดประชุม/ ออกกำลังกายของหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่จำนวน1 ป้าย และป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน 1 ป้าย คณะทำงานและได้นำป้ายไปติดประชาสัมพันธ์ไว้ในที่ประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก

 

2 2

3. ตั้งคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชน(ครั้งที่ 1)

วันที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างองค์กรสภาชุมชนขึ้นในชุมชนทำหน้าที่แก้ปัญหาชุมชนในระยะยาว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดสภาผู้นำชุมชน 1  คณะ และสภาดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต คณะทำงาน ตัวแทนครัวเรือน พี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 100 คนร่วมเวทีตั้งคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชน ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทาย ชี้แจงการจัดเวทีในวันนี้เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนเพื่อเป็นคณะทำงานในโครงการที่รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส เจ้าของโครงการชี้แจงที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ งบประมาณที่ได้รับ กิจกรรมที่ต้องช่วยดำเนินการตลอดระยะเวลา1 ปี พี่เลี้ยงโครงการเพิ่มเติม ที่มาและวัตถุประสงค์ งบประมาณ และเอกสารหลักฐานต่างๆที่ใช้ในการประกอบการใช้จ่ายและพูดคุยให้ตัวแทนครัวเรือนร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมสภาชุมชนเพื่อมาขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการและช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชนต่อไปร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมการสภาชุมชน จัดตั้งเป็นคณะทำงานแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และแจ้งให้ตัวแทนครัวเรือนรับทราบผู้ใหญ่ขอบคุณตัวแทนครัวเรือนทุกคน พร้อมพี่เลี้ยงโครงการที่ช่วยมาชี้แจงทำความเข้าใจกับชุมชน
  • ผลลัพธ์ ตัวแทนครัวเรือนรับทราบที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการและงบประมาณที่ได้รับสนับสนุน พร้อมกิจกรรมที่ต้องช่วยกันดำเนินการ เกิดสภาผู้นำชุมชน 1 คณะ มีสมาชิกจำนวน 30 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นัดตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 ครัวเรือน และคณะกรรมการหมู่บ้านเดิม และคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ทำการประชุมเพื่้อคัดเลือกและจัดตั้ง คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนหมู่ที่ 6 ซึ่งประกอบด้วย ประธานสภา สมาชิก คณะกรรมการ และฝ่ายต่าง ๆ พร้อมทั้งการจัดโครงสร้างสภาชุมชนในชุมชนประกอบด้วย ประธาน เลขานุการ และคณะกรรมการ ที่ปรึกษา เพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชนบ้านหน้าโตน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานตัวแทนครัวเรือนลงทะเบียน ร่วมเวที่ตั้งคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชน
  • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทาย ชี้แจงการจัดเวทีในวันนี้เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนเพื่อเป็นคณะทำงานในโครงการที่รับการสนับสนุนจาก สสส
  • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์กิจกรรมที่ต้องช่วยดำเนินการตลอดระยะเวลา1 ปี ตลอดจนงบประมาณแต่ละกิจกรรมและงบรมทุกกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงโครงการเพิ่มเติม ที่มาและวัตถุประสงค์ งบประมาณ และเอกสารหลักฐานต่างๆที่ใช้ในการประกอบการใช้จ่ายและพูดคุยให้ตัวแทนครัวเรือนร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมสภาชุมชนเพื่อมาขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการและช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชนต่อไป
  • ร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมการสภาชุมชน จัดตั้งเป็นคณะทำงาน
  • แบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และแจ้งให้ตัวแทนครัวเรือนรับทราบ
  • ผู้ใหญ่ขอบคุณตัวแทนครัวเรือนทุกคน พร้อมพี่เลี้ยงโครงการที่ช่วยมาชี้แจงทำความเข้าใจกับชุมชน

 

100 100

4. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งที่ 1

วันที่ 11 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ ของโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านุท่งโชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดเวทีประชาเข้าในอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  มีการทบทวนปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ร่วมประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการสายน้ำสร้างสุข และกิจกรรมอื่น ๆ ของชุมชน

  • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะกรรมการรับทราบบทบาทของตนเองและภาระกิจของตนเองที่เกี่ยวข้องในโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน
  2. คณะกรรมการ/ผู้นำเกิดความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการฯและกิจกรรมของทางการที่ได้ประสานมาในระดับหมู่บ้านไปในทิศทางเดียวกัน
  3. แกนนำเกิดความพร้อมในการดำเนินงาน โดยผู้นำร่วมกับสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อน แก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำร่วมกับคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการหมู่บ้าน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อหารูปแบบของการดำเนินงานการพัฒนาหมู่บ้านในหมู่ที่ 6 บ้านหน้าโตนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการทำหน้าทีแก้ปัญหาของชุมชนโดยรูปแบบคณะกรรมการสภาชุุมชนบ้านหน้าโตน ในการแก้ปัญหหาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์สายน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะกรรมการสภาชุมชน ลงทะเบียน ร่วมประชุม
  • ผู้ไหญ่ศิริรัตน์เป็นประธานพร้อมด้วยคณะทำงานร่วมกับสภาผู้นำชุมชนร่วมกันปรึกษาหารือวางแผนเรื่องการทำกิจกรรมในครั้งต่อไปคือการจัดทำ ระเบียบ แผนของสภาชุมชน
  • ร่วมกันร่างระเบียบ เพื่อนำเสนอ ในเวที่จัดทำระเบียบของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางคร่าวๆ
  • มอบหมายภาระกิจ ในการจัดเตรียมอาหาร การจัดทำใบลงทะเบียน และการปรชาสัมพันธ์ให้ตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 12 ธันวาคม 2558 ให้ช่วยกันเพราะเป็นวันพรุ่งนี้แล้ว

 

30 30

5. คณะกรรมการสภาจัดทำ ระเบียบ แผนของสภาชุมชน(ครั้งที่ 2)

วันที่ 12 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำระเบียบ และแผนการดำเนินงาน ของสภา ฯ มาปฏิบัติในการดำเนินงานของสภาผู้นำชุมชนบ้านทุ่งโชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดสภาผู้นำชุมชน 1  คณะ และสภาดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนบ้านทุ่งโชน ได้ทำการประชุมชี้แจง ถึงบทบาทหน้าที่ วาระ แผนการดำเนินงานของสภาผู้นำชุมชนให้กับประชาชน จำนวน 100 คนได้รับทราบ ผลลัพธ์ตัวแทนครัวเรือน/ประชาชนให้ความสนใจให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของสภาพชุมชนบ้านทุ่งโชน ได้เห็นโครงสร้างมีคณะทำงานสภาผุ้นำชุมชน 1 คณะประกอบ ด้วยประธานสภาคือ ผู้ใหญ่บ้าน และเลขาสภาคือนางอารมย์ตรีแก้ว ทำหน้าที่ในการมาประชุมวางแผนเพื่อแก้ปัญหาชุมชนทุกเดือน โดยสมาชิกมีหน้าที่ในการนำเสนอปัญหาและร่วมพูดคุย เพื่อแก้ปัญหา แนวทางที่ได้กำหนดในสภาฯ นำมาสู่การปฏิบัตในชุมชน เป็นแนวทางเป็นข้อปฏิบัติของชุมชน สมาชิกเกิดความเข้าใจบทบาทของตนเองมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ครัวเรือนจำนวน 100 คน และคณะกรรมการสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนมาจัดทำระเบียบ วาระ แผน บทบาทหน้าที่ การดำเนินงานของสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนเพื่อให้เห็นกระบวนการทำงานของสภาชุมชนบ้านทุ่งโชนที่ชัดเจน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชาชนในหมู่บ้านได้เดินทางมาร่วมประชุมพร้อมกันที่หอประชุมของหมู่บ้านซึ่งประกอบด้วยพี่เลี้ยงและ คณะทำงานโครงการ ผู้้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านสอบต.กลุ่มสตรีอสม.กลุ่มผู้สูอายุพี่เลี้ยงได้ชี้แจงในที่ประชุมเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการและได้ทำการคัดเลือกทีมงานสภาผู้นำชุมชนประกอบด้วยประธานสภา คณะกรรมการ และฝ่ายต่างๆพร้อมทั้งการจัดโครงสร้างสภาผู้นำชุมชน

 

100 100

6. กติกาชุมชนในการอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมบ้านหน้าโตน(จำนวน 2 ครั้ง) ครั้งที่1

วันที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนเรียนรู้และปฏิบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกติกาชุมชนในการอนุรักษ์ สายน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชนที่มีการนำสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิตคณะตัวแทนครัวเรือนจำนวน 40 คนเข้าร่วมประชุมเพื่อร่างกติการักษาสายน้ำบ้านทุ่งโชน
  • ผลลัพธ์เกิดร่างกติกาชุมชนรักสายน้ำบ้านทุ่งโชน คือ
  1. ห้ามตัดต้นไม้ทั้งบริเวณลำคลอง ป่าต้นน้ำ โดยเด็ดขาด
  2. ห้ามตัดต้นไทร ต้นมะเดื่อ ต้นปลง ที่ขึ้นบริเวณลำคลอง และห่างจากลำคลอง รัศมี 300เมตร
  3. ห้ามช้อตปลาในลำคลอง
  4. ห้ามล้างภาชนะ ขวดยาฉีดหญ้า ในลำคลอง
  5. ทุกวันที่ 1 ของทุกปี มีการปลูกต้นไม้
  6. ร่วมกันรักษา ผักริมคลอง กบคลอง ปลาซิว ปลาปก และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในคลองบ้านทุ่งโชน
  7. การบังคับใช้/การละเมิดตามข้อ 1-6 ดำเนินการโดยคณะกรรมการสภาหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน โดยแต่ละข้อ/ประเด็นหรือ หากมีการเพิ่มประเด็น ให้อยู่ในการลงประชามติ ของที่ประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-ครั้งที่ 1 นัดตัวแแทนครัวเรือนและกลุ่มอนุรักษ์ จำนวน 40 คน มาประชุม สร้างกระบวนการประชาเข้าใจเพื่อร่างกติการอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแแวดล้อมบ้านทุ่งโชน -ครั้งที่ 2 นัดตัวแทนครัวเรือนและสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์มาร่วมประชาพิจารณ์และนำมาใช้กติกาชุมชนเพื่อขับเคลื่อนในกิจกรรมการอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งโชน

กิจกรรมที่ทำจริง

นัดตัวแทนครัวเรือนมาประชุม เพื่อจัดทำร่างกติกาชุมชน ในการรักษาสิ่งแวดล้อมของสายน้ำบ้านทุ่งโชน

 

40 40

7. ตั้งกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อม บ้านทุ่งโชน

วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นตัวแทนให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และปฏิบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ครัวเรือน หยุดการทำลายป่าต้นน้ำ บ้านหน้าโตน และถ่ายทอดแนวคิดสู่ลูกหลานของครอบครัว

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 คน ได้มาประชุมและรับทราบวัตถุประสงค์ ของการตั้งกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำเกิดกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชน
  • เกิดกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชน มีสมาชิก 30 คน ประกอบด้วย ตัวแทนบ้านจากซอยต่าง ๆ มีโครงสร้างประธาน คณะกรรมการ เลขานุการ และเหรัญญิก ทำหน้าที่ เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมการรักษาสายน้ำและสิ่งแวดล้อมอื่นในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เชิญตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 ครัวเรือนมาประชุมร่วมกันเพื่อจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งโชน จัดทำทะเบียนสมาชิก และชี้แจงวัตถุประสงค์ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม และมีการประกาศเจตนารมย์ในการอนุรักษ์ป่า ไม่ทำลายป่า หยุดโค่นต้นไม้ อย่างสิ้นเชิง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ สร้างข้อมูลข่าวสาร เรื่องกิจกรรมการอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมของบ้านทุ่งโชน ตลอดจนการประสานงานเชื่อมโยงจากองค์กรภายในและภายนอกชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เชิญตัวแทนครัวเรือน เยาวชนมาทำการประชุมเพื่อหาแนวร่วมเพื่อการตั้งกล่มอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งโชน ที่ประชุมได้รับฟังวัตถุประสงค์จากผู้รับผิดชอบโครงการ ถึงความจำเป็นในการตั้งกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชนขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการนำข้อมูลมาเสนอในที่ประชุมใหญ่ โดยการคัดเลือกมาจำนวน 30 คน จากตัวแทนครัวเรือนทั้งหมด โดยให้แต่ละกลุ่มบ้านมีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ที่ประชุมได้มีการโหวดและคัดเลือก ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชนขึ้นมา 1 กลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 30คนมีประธานกลุ่มโดยการคัดเลือกคือ นางจรรยาหนูแป้น บ้านเลขที่ 136/2หมู่ที่ 6 บ้านเขาพระทองและเลาขานุการกลุ่ม คือ นางวิภารัตน์ไม้หอม บ้านเลขที่ 183/3 หมู่ที่ 6 ตำบลเขาพระทอง เพื่อเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนชุมชนนการดูแล ให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

 

100 100

8. สร้างกระบวนการประชาเข้าใจในการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า บ้านทุ่งโชน ครั้งที่ 1

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนเกิดความตระหนักในการรักและหวงแหนธรรมชาติ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ประชาชนมีความเข้าใจ  มีจิตสำนีกในการดูแลรักษาน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชน  หันกลับมามองดูผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิตตัวแทนครัวเรือนจำนวน 105 ครัวได้มาประชุมพร้อมกันที่ประชุมเพื่อรับฟัง และลงปฏิบัติในพื้นที่ตามเขต/ซอยต่าง ๆ ของชุมน เพื่อร่วมกันคิดหาแนวทางการดำเนินงานอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชน ทำให้เกิดผลลัพธ์คือประชาชนตัวแทนครัวเรือนมีความเข้าใจมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชน โดยมีเนื้อหารายละเอียดคือ

  1. น้ำเกิดจากป่าไม้ ป่าต้นน้ำของคลองบ้านทุ่งโชน เกิดจากป่าบริเวณบ้านหน้าสโตน ซึ่งปัจจุบันเหลือไม่มาก ที่ผ่านมาถูกทำลายโดยการที่ชาวบ้านเองมีการลักลอบในการตัดต้นไม้เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย และบางรายเกิดการขายไม้ ทำไม้ขายห้กับคนต่างถิ่น
  2. ในคลองบ้านทุ่งโชน โดยเริ่มตั้งแต่บ้านหน้าสโตน ระยะทางประมาณ 5 กม ในลำคลองปัจจุบันสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลาหลด ปลาปก หายไป พวกกบคลองได้หายไปเกิดจากการจับโดยขาดความรู้ ขาดการเอาใจใส่ และเห็นแก่ตัว ต่อไปน่าจะมีการร่วมกันลงมือรักษาพันธุ์ปลาเหล่านี้ไว้
  3. การรักษาน้ำไว้ในพื้นที่ ไม่มีความจำเป็นที่ต้องสร้างเขื่อนใหญ่โตเพื่อทการเก็บน้ำแต่เพียงแต่สร้างฝายกั้นน้ำไว้เป็นตอน ๆ เพื่อเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นแหล่งสร้างพืชน้ำที่เป็นอาหารของคนในบ้านทุ่งโชนได้ ที่ประชุมได้ซักถามแนวทางการดำเนินการรักษาสภาพแวดล้อม เรื่องป่าไม้ เรื่องไม้น้ำ ประโยชน์ของต้นไทรและพืชบางชขนิด กับคณะวิทยากรที่มาให้ความรู้ จนเกิดความเข้าใจและพูกคุยตกลงถึงเรื่องแนวทางการตั้งกติกาชุมชนเพื่อรักษาป่า และน้ำของบ้านทุ่งโชนเบื้องต้นมอบหมายหัวหน้าซอยทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนในการดูแลป่าและน้ำ และประสานเพื่อนบ้านเรื่องแนวทางการดำเนินงานต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คณะกรรมการบริหารโครงการเชิญตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 ครัวเรือน มาประชุมเพื่อประสานงานกระบวนการประชาเข้าใจในการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า หาผู้รับผิดชอบในการดูแลน้ำและสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งโชน บริเวณวังหินกลิ้ง ตลอดจนการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของคลองชะอวด สร้างกระบวนการรวมพลัง รวมใจในการอนุรักษ์ มองหมายว่าสมบัติและสิ่งแวดล้อมเป็นของชุมชน สมบัติเป็นของส่วนรวมและทำประชามติในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และแนวทางการกลับมาของน้ำ ในคลองบ้านทุ่งโชน

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ตัวแทนครัวเรือน นักเรียน จำนวน105 คน เข้าร่วมกันประชุมทำประชาเข้าใจในการอนุรักษ์ดินน้ำป่า
2.เลือกตั้งตัวแทนผู้ดูแลรับผิดชอบในการอนุรักษ์ ดินน้ำป่า

 

100 105

9. สืบชะตาสายน้ำบ้านทุ่งโชน 1 ครั้ง

วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์สายน้ำ และ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดการอนุรักษ์พันธ์พืชพันธ์สัตว์ในลำคลองบ้านทุ่งโชน สายน้ำบริเวณลำคลองสะอาดปราศจากขยะ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 100คน และผู้เกี่ยวข้อง ได้นัดแนะทำพิธีสืบชะตาสายน้ำบ้านหน้าโตนเพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าต่อไป จะเกิดความร่วมมือในการรักษาสิ่งแวดล้อมของคลองบ้านหน้าโตน ผลลัพธ์ เกิดการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดกิจกรรม ชาวบ้านเกิดมีจิตสำนึกในการดูแลอนุรักษ์พันธ์สัตว์ พืช และต้นน้ำเพิ่มขึ้นมากเลื่อมใสในการลงมือรักษาสภาพแวดล้อมของคลองบ้านหน้าโตน เกิดสัญญลักษณ์การบวชต้นไม้ การรักษาสายน้ำเป็นการเริ่มต้นที่ดีของชุมชน และนำผ้าเหลืองไปผูกต้นไม้เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ห้ามตัด จำนวน 52 ต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นัดแนะครัวเรือนจำนวน 100ครัวเรือนมาประชุมพร้อมกันบริเวณต้นน้ำคลองบ้านหน้าโตนเพื่อจัดกิจกรรมร่วมอนุรักษ์สืบชะตาสายน้ำบ้านทุ่งโชน โดยร่วมกันทำความสะอาดสายน้ำ บวชต้นไม้เพื่อเป็นการปลูกฝังแนวคิดในการอนุรักษ์ น้ำอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงสายน้ำที่มีคุณค่าทางจิตใจของคนในชุมชน โดยการเชิญพระสงฆ์มาให้พร ทำพิธีรวมใจในการอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งโชน

กิจกรรมที่ทำจริง

นัดตัวแทนครัวเรือนมาทำการประชุมเพื่อทำพิธีสืบชะตาสายน้ำโดยการ นิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีให้พรก่อนที่จะเริ่มกระบวนการ ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวเปิด และกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมในวันนี้ ว่า บ้านหน้าโตนบ้านเราสภาพแวดล้อมถูกทำลายไปหมดแล้ว ดังนั้นเห็นทีเราจะต้องมาร่วมมือกันในเรื่องของการรักษา เพื่อเป็นการเริ่มวันนี้เราได้นิมนต์พระคุณเจ้ามาทำพิธี เป็นสิ่งยืนยันว่าต่อไป เราจะไม่ตัดไม้และทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว

 

100 100

10. สำรวจและบันทึกข้อมูลสิ่งแวดล้อมชุมชน

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-12.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนรู้จักรักและหวงแหนธรรมชาติในชุมชนของตนเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดฐานข้อมูลชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม เกิดทะเบียนต้นไม้ ในบริเวณป่าต้นน้ำบ้านทุ่งโชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิตเยาวชนให้ความสนใจและสนุกสนานกับการทำกิจกรรมการสำรวจ ผลลัพธ์ เยา่วชนเกิดความรู้ และตระหนัก เปรียบเทียบความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมที่ในอดีต กับปัจจุบัน จาดการบอกเล่าของพี่เลี้ยง " เมื่อก่อนในสายน้ำมีปลาชุกชุม หากินได้เลย ปัจจุบันมีปลาไรบ้าง มีหอย ชนิดใด ลดลงแทบไม่เหลือเมื่อเกิดการเปรียบเทียบ เยาวชนได้มีการจดบันทึก และนำมามาพูดคุยสรุปผลที่ได้ และเกิดฐานข้อมูลชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมบ้านทุ่งโชน และมี เกิดทะเบียนต้นไม้ในชุมชนที่ยังคงเหลือ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รับสมัครเป็นอาสาสมัครในการร่วมกันเดินสำรวจต้นไม้แหล่งน้ำ สัตว์ป่า บริเวณป่าต้นน้ำบ้านทุ่งโชน พร้อมภาพถ่ายทำทะเบียน เพื่อนำเสนอต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการสร้างกิจกรรมอนุรักษ์ครั้งนี้เพื่อร่วมกันอนุรักษ์สิ่งบ้านทุ่งโชน เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างความตระหนักในเรื่องดังกล่าว

กิจกรรมที่ทำจริง

นัดแนะเยาวชนมาพร้อมกันและชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงาน เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการสำรวจและบันทึกข้อมูล จากการสำรวจและการการจัดทำทะเบียนต้นไม้ สภาพแวดล้อม ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชุมชน

 

50 50

11. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งที่2

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อวางแผนการดำเนินงานและสร้างความเข้าใจ ทบทวนปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหา เกี่ยวกับโครงการสายน้ำให้ไปในทิศทางเดียวกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดเวทีประชาเข้าในอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  มีการทบทวนปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ได้เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมกัน

  • ผลลัพธ์

  1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนรับทราบปัญหาการจัดกิจกรรมและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขพร้อมวางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
  2. เกิดการทบทวน ภาระกิจที่ได้รับมอบหมายที่ได้มอบหมายให้กับคณะกรรมการแต่ละท่าน พร้อมทั้งรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
  3. เกิดเวทีประชาเข้าใจในกลุ่มผู้นำชุมชนและที่ปรึกษา
  4. เกิดการมีส่วนร่วม ช่วยกันสรุปผลการดำเนินงาน ทบทวนปัญหาในการดำเนินงานโครงการสายน้ำสร้างสุขฯภาพรวม เช่น การถ่ายภาพไม่ครบกระบวนการในการประชุม และจัดเก็บไม่เป็นระบบ การจัดทำรายงานผ่านเวปไม่ทันตามกำหนดเวลา เอกสารหลักฐานบางกิจกรรมไม่สมบรูณ์เช่นใบลงทะเบียน ให้ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมประชุมลงลายมือชื่อไม่หมด คนแก่ที่มาร่วมกิจกรรมให้เด็กเขียนชื่อให้ซึ่งไม่ถูกต้อง ต่อไปต้องมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบดูแลในส่วนใบลงทะเบียน และการถ่ายภาพให้ชัดเจน เลขาจะต้องสรุปผลการจัดเวทีแต่ละครั้งให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการนำไปบันทึกในเวปเพื่อให้ทันตามกำหนดเวลา
  5. เกิดการร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมจัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน และมอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมหมู่บ้าน คณะกรรมการสภาผู้นำ และคณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน เพื่อหารูปแบบวางแผนการดำเนินงานโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน และการพัฒนาหมู่บ้านในหมู่ที่ 6 บ้านหน้าโตนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการทำหน้าที่แก้ปัญหาของชุมชนโดยรูปแบบคณะกรรมการสภาชุุมชนบ้านหน้าโตน ในการแก้ปัญหหาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์สายน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะกรรมการฯ กลุ่มเป้าหมาย สภาผู้นำชุมชนมาพร้อมกันที่ประชุมทำการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุม
  • ผู้ใหญ่บ้านกล่าวทักทายพูดคุยการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ให้ร่วมช่วยสรุปว่ามีปัญหาอะไร จากการประชุมมีปัญหาในการจัดกิจกรรมบางกิจกรรมของโครงการ เช่น มีการถ่ายภาพไม่ครบกระบวนการในการประชุม และจัดเก็บไม่เป็นระบบ การจัดทำรายงานผ่านเวปไม่ทันตามกำหนดเวลา เอกสารหลักฐานบางกิจกรรมไม่สมบรูณ์เช่นใบลงทะเบียน ให้ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมประชุมลงลายมือชื่อไม่หมด คนแก่ที่มาร่วมกิจกรรมให้เด็กเขียนชื่อให้ซึ่งไม่ถูกต้อง ต่อไปต้องมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบดูแลในส่วนใบลงทะเบียน และการถ่ายภาพให้ชัดเจน เลขาจะต้องสรุปผลการจัดเวทีแต่ละครั้งให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการนำไปบันทึกในเวปเพื่อให้ทันตามกำหนดเวลา
  • ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมจัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน
  • มอบหมายภาระกิจในการจัดเตรียมใบลงทะเบียนและผู้ดูแลในการลงทะเบียนการจัดเตรียมอาหาร การเก็บเอกสารหลัดฐานการเงิน การประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้ารับทราบและเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 16พฤศจิกายน 2558
    รวบรวมกิจกรรมที่ได้จัดทำไปแล้วนำมาทบทวนวิเคราะห์ถึงปํญหาอุปสรรคต่างๆและผลลัพธ์ที่ได้ของแต่ละกิจกรรมฯ

 

30 30

12. จัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน 1ครั้ง

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ชุมชนเกิดการรับรู้ ถึงปัญหาของสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ในปัจจุบันของชุมชน และร่วมกันเกิดจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนเกิดความตระหนักในการรักษาธรรมชาติ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงการดูแล อนุรักษ์ หวงแหนป่าต้นน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 114 ครัวเรือนเข้าร่วมประชุมพร้อมกัน ผลลัพธ์ ครัวเรือนเกิดความรู้และเข้าใจในปัญหาของชุมขนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการทำลายป่าไม้ และการไม่มีน้ำในสายน้ำในชุมชน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อธรรมชาติเสียสมดุลย์ สร้างความตระหนักมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาอนุรักษฺ์และหวงแหนธรรมชาติทำให้ครัวเรือนรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเกิดการยอมรับและยกมือสนับสนุนในการดำเนินงานตามโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมในการคืนข้อมูลให้ชุมชน หลังจากที่ได้ข้อมูลจากการสำรวจและผ่านการรวบรวมวิเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิและมีความรู้ความชำนาญ เป็นการคืนข้อมูลให้ชุมชนเห็นถึงความวิกฤตของปัญหาการขาดน้ำของชุมชน เนื่องมาจากการที่สิ่งแวดล้อมป่าต้นน้ำถูกทำลาย กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุมคือ ตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 ครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการได้มีชี้แจง หลังจากการรวบรวมข้อมูลต่างๆปัญหาในชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมของบ้านทุ่งโชน

  • สายน้ำคลองบ้านทุ่งโชน ระยะทางจาก บ้านหน้าโตน ถึง ปากทางหมู่บ้านระยะทางกว่า 5กม
  • การที่พืชสำคัญถูกทำลาย เพื่อปรับพัฒนาเป็นสวนยางพาราและสวนปาล์ม
  • น้ำแห้งขาดสายคลองมีแอ่งน้ำในลำคลอง แค่สามแห่ง เมื่อเปรียบกับเมื่อก่อน ต่างกันมากที่น้ำเต็มคลอง
  • พันธ์สัตว์ไม่เหลือ แม้แต่ปลาเล็ก เกิดจากสาเหตุ การช้อตปลา การปนเปื้อนของสารเคมีปราบหญ้า
  • ผลไม้ สวนยาง ได้รับผลไม่ดี เพราะขาดน้ำ น้ำไม่พอ

ที่ประชุมได้เสนอแนะ และบอกสาเหตุของปัญหาเพื่อให้คนอื่นในที่ประชุมรับทราบ และมีการถามว่า " ถึงเวลาแล้วยังที่เราต้องหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชนตนเอง"ที่ประชุมยอมรับและยกมือสนับสนุน

 

100 114

13. ติดตามโครงการจาก สจรส.

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้ระบบการทำโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต คณะทำงานจำนวน 2 คน เข้าร่วมการเรียนรู้การเขียนรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน การหักภาษีณ ที่จ่าย
  • ผลลัพธ์ คณะทำงานเข้าใจในการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการการเงิน การหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ในค่าเช่า ค่าตอบแทนและค่าจ้าง การเขียนหลักฐานแสดงการทำที่ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การติดตามโครงการจากสสส.

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังคำชี้แจงการเขียนรายงาน
  2. อาจารย์ กำไล ชี้แจงการเขียนรายงานและเครื่องสำรวจการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาเขียนเป็นรายงาน
  3. อาจารย์ สุทธิพงศ์ ชี้แจงรายงานการเงิน และกานหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% พร้อมลงมือปฏิบัติจริง
  4. ทีมงาน สจรส มอ พร้อมพี่เลี้ยงช่วยกันตรวจสอบเอกสารพร้อมแนะนำการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง
  5. บันทึกกิจกรรมปฏิบัติในวันที่ผ่านมา เว็บ คนใต้สร้างสุข พร้อมเขียนใบสำคัญรับเงินค่าเดินทาง
  6. จากการตรวจสอบเอกสารบางอย่างต้องแก้ไขเพิ่มเติมเช่นรายละเอียดการเขียนใบสำคัญรับเงิน และพี่เลี้ยงแนะนำให้จัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบในแต่ละกิจกรรม

 

2 2

14. ให้เยาวชนในชุมชนที่ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำสื่อชุมชน

วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเกิดการตื่นตัวในการทำกิจกรรม ประชาสัมพันธ์โครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เยาวชนเกิดจิตสำนึกในการรักสายน้ำบ้านเกิดและสายน้ำแห่งชีวิต ได้ทราบประวัติความเป็นมา ความอุดมสมบูรณ์ของสายน้ำหน้าโตนที่ผ่านมา

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิตเยาวชน จำนวน 70 คน มาประชุมรวมตัวกัน ฟังคำชี้แจง กติกา ในการดำเนินงาน ผลลัพธ์ เยาวชนได้ร่วมกันคิดคำขวัญ และร่วมกันประกวดคำขวัญชนะเลิศในการรักษาสายน้ำบ้านทุ่งโชนคือ "คนอยู่ร่วมป่า ป่าร่วมคน" หมายถึง หากคนในชุมชนจะอยู่ได้ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุน หากสิ่งแวดล้อมถูกทำลายคนก็อยู่ไม่ได้ มีความเดือดร้อน เยาวชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และก่อให้เกิดการกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน แนวปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมของชุมชน พร้อมทั้งมอบหมายแกนนำเยาวชนไปพูดในหอกระจายข่าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมให้เยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนจำนวน70 คนได้เข้าร่วมกิจกรรม โดยการจัดประกวดคำขวัญ และ กิจกรรมการอนุรักษ์สายน้ำคลองบ้านทุ่งโชน โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนสามวัยมีการเล่านิทานเล่าประวัติความเป็นมาของสายน้ำบ้านทุ่งโชน เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์แก่เยาวชน ตอบปัญหาและทำกิจกรรมมีส่วนร่วม มองรางวัลส่งเสริมความดีแก่เยาวชน

กิจกรรมที่ทำจริง

นัดเยาวชนจำนวน70 คนมาร่วมกันทำกิจกรรม ชี้แจงกระบวนการและกติกา โดยมีวิทยากร และพี่เลี้ยงทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการประกวดคำขวัญ เพื่อร่วมกันเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์แก่เยาวชนและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และก่อให้เกิดการกำหนดทิศทางในการดำเนินงานรักษาสายน้ำบ้านทุ่งโชนในอนาคต

 

70 70

15. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งที่ 3

วันที่ 11 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแจ้งความก้าวหน้าของการทำงาน ปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข ให้กับคณะกรรมการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดเวทีประชาเข้าในอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  มีการทบทวนปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ได้มาประชุมพร้อมกัน ร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่ทำแล้วอย่างต่อเนื่อง
  • ผลลัพธ์ เกิดการมอบหมายคณะกรรมการออกติดตามผลในการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการ อย่างต่อเนื่อง เกิดการร่วมพูดคุย หาทุนในการจัดทำฝาย มาสบทบ ประสานกำลังจากทหารมาช่วยด้วยพร้อมทั้งเครือข่าย ฝายมีชีวิต เกิดการพูดคุยปัญหาเรื่องเด็กเยาวชนที่มั่วสุมในการใช้สารเสพติดมีการมอบหมายคณะกรรมช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตา และกำหนดกระบวนการหากพบบุตรหลานใครก็แจ้งให้ผู้ปกครองทราบถ้าไม่กล้าก็ให้แจ้งมาที่ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อผู้ใหญ่จะได้ดำเนินการแจ้งผู้ปกครองเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. นัดคณะกรรมการมาประชุมเช่น คณะกรรมการสภาผู้นำ, คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการหมู่บ้าน
  2. ชี้แจงความก้าวหน้าโครงการโดยผู้รับผิดชอบโครงการ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข
  3. การแจ้งข่าวสารเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดำเนินงานการพัฒนาหมู่บ้านในหมู่ที่ 6 บ้านหน้าโตนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะกรรมการต่าง ๆ ได้มาประชุมพร้อมกัน มีการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการประชุมโดยใช้สถานที่วัดทุ่งโชนเป็นสถานที่ประชุมกรรมการ และร่วมกันพัฒนาวัดไปดด้วยพร้อมกัน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการสายน้ำสร้างสุขบ้านทุ่งโชน ได้รายงานและทบทวนกิจกรรมที่ทำแล้วและตอบปัญหา ตอบคำถาม ในที่ประชุม
  • ที่ประชุมได้มีการมอบหมายคณะกรรมการออกติดตามผลและให้มรายงานในที่ประชุมครั้งต่อไป
  • คณะกรรมการได้ร่วมพูดคุย เพื่อหาทุนมาสมทบในการจัดทำฝาย และการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า มีการสนับสนุนอะไรบ้าง
  • คณะกรรมการได้พูดคุยปัญหาเรื่องเด็กเยาวชนที่มั่วสุ่มในการใช้สารเสพติดให้คณะกรรมช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตา หากพบบุตรหานใครก็แจ้งให้ผู้ปกครองทราบถ้าไม่กล้าก็ให้แจ้งมาที่ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อผู้ใหญ่จะได้ดำเนินการแจ้งผู้ปกครองเอง

 

30 30

16. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำร่วมกับคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการหมู่บ้านครั้งที่ 4

วันที่ 11 มกราคม 2559 เวลา 13:00-1600 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และการดำเนินงานความก้าวหน้าโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดเวทีประชาเข้าในอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  มีการทบทวนปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิตคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ร่วมประชุมเจ้าของโครงการชี้แจงงบประมาณที่ใช้ไปในแต่ละกิจกรรมพร้อมให้ช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมการจัดทำฝาย มอบหมายภาระกิจการจัดเตรียมอุปกรณ์ อาหาร และการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 12 มกราคม2559
  • ผลลัพธ์คณะกรรมการและผู้เข้ารประชุมทุกฝ่าย เกิดความเข้าใจรับทราบ ขั้นตอนของการดำเนินงาน เกิดความเข้าใจเรื่องของการใช้จ่ายงปประมาณแต่ละกิจกรรม และมีความพร้อมในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เกิดการนัดแนะ รวมตัวกันที่บริเวณการทำฝาย ระบุเวลา และเครื่องมือในการดำเนินงานขั้นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำร่วมกับคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการหมู่บ้านประจำเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้มาร่วมประชุมพร้อมกันและได้ลงทะเบียน ร่วมประชุม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจง ความก้าวหน้าของการดำเนินงานและงบประมาณที่ใช้ไปในแต่ละกิจกรรม และช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
  • ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป และการระดมการแก้ปัญหาเรื่องที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา
  • มอบหมายภาระกิจการจัดเตรียมอุปกรณ์ อาหาร และการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 12 มกราคม2559

 

30 30

17. ทำฝายมีชีวิตเก็บกักน้ำ ครั้งที่1

วันที่ 12 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อฟื้นฟูระบบสภาพแวดล้อมคลองทุ่งโชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดฝายมีชีวิต เป็นที่เก็บกักน้ำ โดยการร่วมแรงร่วมใจของชุมชน  เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของครบอครัวเป็นที่ทำกิจกรรมของเยาวชน และเป็นสถานที่ทำกิจกรรมของครอบครัว

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลที่เกิดขึ้น ตัวแทนครัวเรือนให้ความร่วมมือ และมาพร้อมกันบริเวณที่กำหนดจัดการสร้างฝาย เกิดการแลกเปลี่ยน เกิดความตระหนัก ความคิดไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดผลลัพธ์ เกิดการดำเนินการตามแผนที่วางไว้มีการมือร่วมแรง ร่วมใจ และมีการสนับสนุน สมทบอุปกรณ์ต่างๆจากครัวเรือนเช่นกระสอบ ไม้ไผ่อุปกรณ์ตักทรายเป็นต้น เกิดการแบ่งงานกันทำ และแบ่งผลัดกันในการทำงานว่าใครรับผิดชอบช่วงไหน ของวัน ฝ่ายประสานงาน ฝ่ายวัสดุ ฝ่ายอาหาร การเงินเกิดการแลกปลี่ยนเรียนรู้และการนำปัญหามาสรุปแต่ละวัน สรุปความก้าวหน้าในการทำฝายครั้งที่ 1 ดังนี้

  • มีการกำหนดจุดในการสร้างฝายที่ชัดเจน จำนวน 1 จุด
  • ลงตอกเสาไม้ไผ่ ผูกเชือก จัดทำโครงสร้างฝาย ร้อยละ 70 ของโครงสร้าง
  • ต่อเติมหูช้าง ตอกเสาหมุด ขอบเขตแนวหูช้าง ร้อยละ 50 ของโครงสร้างหูช้าง
  • รวมมือกันบรรจุกระสอบทราย ร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะใช้ทั้งหมด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นัดคนในชุมชนตัวแทนครัวเรือนจำนวน 100 ครัวเรือนมาร่วมกันทำฝายมีชีวิต 1 จุดเพื่อเป็นแหล่งสาธิต และแหล่งเรียนรู้ เป็นโรงเรียนชุมชนในการอนุรักษ์น้ำ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ และต้นไม้ให้แก่ชุมชน เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่สวนผผลไม้ สวนยางพาราของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. นัดแนะแรงงาน และทำความเข้าใจให้ความรู้ในเรื่องการทำฝาย ประโยชน์ วิธีการสร้าง และการอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชน แก่ตัวแทนครัวเรือน
  2. ร่วมกันเคลียพื้นที่ ในบริเวณพื้นที่ในการสร้างฝายมีชีวิต
  3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์เช่นไม่ไผ่กระสอบเชือกทราย
  4. รวบรวมกำลังคน แบ่งหน้าที่ในการทำงาน เป็นผลัด ๆ ละ 1-2 ชม ประมาณ 20-30 คน เพื่อการดำเนินงานการสร้างฝายอย่างต่อเนื่อง และไม่กระทบต่อการประกอบอาชีพของครัวเรือน
  5. ลงมือทำฝายมีชีวิต 1 การบรรจุกระสอบทราย การตัดไม้ไผ่การวางผัง และอื่นๆ ตามกระบวนการการทำฝาย

 

100 100

18. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำร่วมกับคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการหมู่บ้านครั้งที่ 5

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และการดำเนินงานความก้าวหน้าโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดเวทีประชาเข้าในอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  มีการทบทวนปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน มีการสรุปผลการจัดกิจกรรม เกี่ยวกับข้อดี ข้อบกพร่องละปัญหาต่างๆ พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา มีการจดบันทึกพร้อมทั้งมีการร่วมอภิปรายแนวทางการแก้ปัญหาจนได้ข้อตกลงร่วมกัน
  2. ช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐานเพื่อความพร้อมในการจัดเก็บและการรายงานผลกิจกรรม
  3. ร่วมพูดคุยการหาวัสดุในการทำฝายเพิ่มเติม ให้คณะกรรมการช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านออกมารวมกัน ให้มากๆ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ใครมีเพื่อนต่างถิ่นก็ประชาสัมพันธ์ขอสนับสนุนพวกกระสอบ
  4. มอบหมายภาระกิจผู้เข้าร่วมประชุม กับทีม สจรส มอ เพื่อปิดงวดโครงการในวันที่13 -14 กุมภาพันธ์ 2559ที่ประชุมตกลงมอบเจ้าของโครงการกับเลขาเข้าประชุม
  5. คณะกรรมรับทราบภาระกิจ สามารถทำกิจกรรมได้ต่อเนื่อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. นัดคณะกรรมการเพื่อทำการประชุม
  2. แจ้งคณะกรรมการฯ เรื่องของความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน
  3. หารูปแบบของการดำเนินงานการพัฒนาหมู่บ้านในหมู่ที่ 6 บ้านหน้าโตนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยเฉพาะเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์สายน้ำลำคลองบ้านทุ่งโชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนลงทะเบียน ร่วมประชุม
  • ผู้ใหญ่พูดคุยทักทาย ร่วมกันสรุปผลการจัดกิจกรรม ช่วยกันตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
  • ร่วมพูดคุยการหาวัสดุในการทำฝายเพิ่มเติม ให้คณะกรรมการช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านออกมารวมกัน ให้มากๆ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ใครมีเพื่อนต่างถิ่นก็ประชาสัมพันธ์ขอสนับสนุนพวกกระสอบ
  • มอบหมายภระกืจผู้เข้าร่วมประชุม กับทีม สจรส มอ เพื่อปิดงวดโครงการในวันที่13 -14 กุมภาพันธ์ 2559ที่ประชุมตกลงมอบเจ้าของโครงการกับเลขาเข้าประชุม ทบทวนการทำกิจกรรมที่ได้ทำแล้วและเตรียมทำกิจกรรมาครั้งต่อไป

 

30 30

19. ประชุมเพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 1

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

จัดทำรายงานรวบรวมรายงานงวดที่1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลผลิต คณะกรรมการจำนวน 2 เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการจัดกิจกรรมงวดที่1 พร้อมจัดทำรายงานปืดงวด และตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆโดยสจรส มอและพี่เลี้ยง
  • ผลลัพธ์ การจัดกิจกรรมในงวดที่1 ครบทุกกิจกรรมตามแผน แต่ในบางกิจกรรมลงภาพถ่ายไม่เรียบร้อยให้ดำเนินการดูภาพที่คณะกรรมการได้ถ่ายไว้มาลงให้เรียบร้อย ใบลงทะเบียนไม่สมบรูณ์การบันทึกรายงาน ให้ปรับแก้การเขียนรายงานให้มองเห็นภาพที่จัดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปผลการดำเนินกิจกรรมในงวดที่1
  • สรุปผลการจัดกิจกรรมงวดที่ 1
  • บันทึกรายงาน
  • พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
  • สจรส มอ ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 36 19                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 211,800.00 110,450.00                  
คุณภาพกิจกรรม 76 69                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

การลงรายงาน ภาพประกอบ ไม่สมบูรณ์

เนื่องปัญหาครอบครัวของเลขานุการโครงการผู้ทำหน้าที่ในการลงรายงาน ซึ่งมีความจำเป็นต้องชะลองานโครงการไว้ก่อนเพื่อรักษาครอบครัวไว้ จนกระทั่งถึงวันนัดในการส่งงาน จึงทำไใ้การลงรายงานไม่สมบูรณ์ ต้องใช้เวลา 2 วันในการซ่อมแซมระบบรายงาน

ซ่อมแซมระบบรายงาน และชี้แจงถึงความจำเป็นของเหตุการรณ๋ที่ผ่านมา

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำครั้งที่6 ( 11 มี.ค. 2559 )
  2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ( 26 มี.ค. 2559 )
  3. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ ครั้งที่7 ( 2 มิ.ย. 2559 )
  4. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ ครั่้งที่ 8 ( 2 ก.ค. 2559 )
  5. กติกาชุมชนในการอนุรักษ์สายน้ำและสิ่งแวดล้อมครั้งที่2 ( 16 ก.ค. 2559 )
  6. ทำฝายมีชีวิตเก็บกักน้ำ ครั้งที่2 ( 23 ก.ค. 2559 )
  7. ทำฝายมีชีวิตเก็บกักน้ำครั้งที่3 ( 31 ก.ค. 2559 )
  8. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ ครั้งที่ 9 ( 11 ส.ค. 2559 )
  9. ปลูกป่าบริเวณ โรงเรียน วัด และบริเวณริมคลองบ้านทุ่งโชน 1 ครั้ง ( 12 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาง สมเด็จ เกื้อกูล
ผู้รับผิดชอบโครงการ