directions_run

ปลุกจิตสำนึกชุมชน คนป่าเสม็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อสร้างกลไกสภาผู้นำชุมชนป่าเสม็ด ตำบลท่าเรือ ในการจัดการป่าชายเลนและสัตว์น้ำ ทั้งการอนุรักษ์ ป้องกัน ฟื้นฟู และพัฒนาและดึงการมีส่วนร่วมของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.มีการประชุมทุกเดือน จำนวน 10 เดือน 2.แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3.การประชุมทุกครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่อง โครงการ และ เรื่องอื่นๆของชุมชน

 

 

  • สมาชิกสภา 35 คนมาร่วมประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 9 ครั้ง เพื่อเตรียมงาน ติดตามผลการดำเนินงาน และแก้ปัญหาปรับแผนการทำงาน
  • มีการมารายงานผลการสำรวจป่า การลาดตระเวนป่า และการจัดกิจกรรมให้เยาวชน
2 เพื่อใช้พลังของข้อมูลสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน
ตัวชี้วัด : 1. ได้ข้อมูลป่าชายเลนของชุมชน 1 ชุดข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลต้นไม้ สัตว์บก สัตว์น้ำ และความสมบูรณ์ของสิ่งเหล่านั้น

 

 

  • เยาวชนและชาวบ้าน 60 คน สรุปบทเรียน ผลการทำโครงการคือ ทำกิจกรรมไม่ครบถ้วน ขาดกิจกรรมการปลูกป่า การคืนข้อมูลการสำรวจป่าและการทำแผนชุมชนด้านการอนุรักษ์ การทำศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลน

  • เกิดผลลัพธ์แก่ชุมชน ดังนี้ 1) ทีมสภาผู้นำป่าเสม็ด 35 คน มาช่วยในการจัดการบริหารกิจการหมู่บ้าน ทำให้เกิดความคล่องตัว เกิดความสามัคคี 2) ทีมอาสาอนุรักษ์มีความเข้มแข็งเรื่องป่าชายเลนมากขึ้น มีข้อมูลป่าที่สมบูรณ์ ที่เสื่อมโทรม 3) เยาวชนที่ได้มาร่วมกิจกรรมเกิดความรู้เรื่องป่าชายเลน เรื่องสัตว์น้ำ ต้นไม้ในป่าชายเลนมากขึ้น และเกิดจิตสำนึกอนุรักษ์มากขึ้น

3 เพื่อหนุนเสริมให้เกิดปฏิบัติการป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาป่าชายเลน
ตัวชี้วัด : 1. ป่าชายเลนได้รับการต่อยอด พัฒนาให้เกิดประโยชน์ 1-3 กิจกรรม 2. เกิดกติกาชุมชนในการป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาป่าชายเลน

 

 

  • ป่าชายเลนได้รับการต่อยอด พัฒนาให้เกิดประโยชน์
  • ประเด็นป่าชายเลน โดยจะอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้เยาวชนมาทำกิจกรรมนี้ให้มากเพื่อสร้างจิตสำนึกและสร้างความสัมพันธ์คนในชุมชน เพื่อให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ป่าชายเลนได้รับการจัดระบบ ทำข้อมูล อนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน และเกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลน
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  • มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของจำนวนครั้งที่จัด
  • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  • มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  • มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด