แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อก่อตั้งสภาผู้นำชุมชนและ M.5 Buddy (สภาเยาวชนบ้านควน) เพิ่มประสิทธิภาพกลไกใหม่(เยาวชน)ในชุมชนซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติด
ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมสภาชุมชนทุกเดือนจำนวน 10 ครั้งแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 16 คน 2. มีการประชุม M.5 Buddy ทุกเดือนจำนวน 10 ครั้งแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 20 คน 3. การประชุมทุกครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆ ของชุมชน

 

 

  1. สภาผู้นำชุมชนได้ทำการประชุมทั้งหมด 90 % และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 20 คนทุกครั้ง
  2. มีการประชุมเพียงสองครั้งถือว่าไม่บรรลุตามวัตถุประสงแต่สามารถนำไปต่อยอดได้
  3. ทุกครั้งที่มีการประชุมสภาจะมีการนำปัญหาของชุมชนมาพูดคุยทุกครั้งเช่น เรื่องร้านค้าชุมชน เยาวชน ยาเสพติด เป็นต้น
2 เพื่อสำรวจสถานการณ์ยาเสพติดในเยาวชน
ตัวชี้วัด : 1. ได้ข้อมูลสถานการณ์ยาเสพติดในเยาวชน 1 ชุดข้อมูล

 

 

  • ได้ทำการสำรวจสถานการณ์ยาเสพติดข้อมูลจำนวน 200 ชุด ซึ่งเป็นเพศชาย จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 61.5 เป็นหญิง จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 38.5
  • เมื่อวิเคราะห์การวัดผลความรู้เรื่องยาเสพติดของคนในชุมชนพบว่า คะแนนเฉลี่ย รวม มีค่า 142 คิดเป็นร้อยละ 71.08 ถือว่าคนในชุมชนมีความรู้เรื่องยาเสพติดค่อนข้างมาก
  • วัดระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติด ข้างต้นในภาพรวมพบว่าระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติดของเยาวชนในชุมชนบ้านควน มีค่าเฉลี่ย82.36 คิดเป็นร้อยละ 41.2 อยู่ในระดับ ทำได้มาก อย่างไรก็ตาม ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการใช้สารเสพติดของเยาวชนในชุมชนบ้านควนที่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่องจาก ในการวัดระดับความสามารถของตนเองส่วนที่ทำได้น้อยที่สุดยังพบเห็นเปอร์เซนต์ของเยาวชน โดยเฉพาะในเรื่อง เมื่อนักเรียนมีความเครียดหรือกลัดกลุ้มใจนักเรียนสามารถควบคุมตนเองไม่ใช้บุหรี่หรือสารเสพติด ทุกชนิดในการระบายความเครียด หรือความกลุ้มใจ พบว่ามีจำนวนร้อยละ 2
3 เพื่อลดโอกาสการทดลองใช้ยาเสพติด และลดการใช้สารเสพติดของกลุ่มเป้าหมายหลัก
ตัวชี้วัด : 1. เยาวชนกลุ่มเสี่ยงไม่ไปใช้ยาเสพติด 2. เยาวชนกลุ่มใช้ยาเสพติดแล้ว สามารถลด ละ เลิกการใช้ยาเสพติดร้อยละ 20

 

 

  • เยาวชนกลุ่มเสี่ยงอายุประมาณ 7-12 ปี เป็นจำนวน 20 คน หลังจาเสร็จสิ้นโครงการแล้วเยาวชนกลุ่มนี้ยังไม่ใช้ยาเสพติด
  • เยาวชนกลุ่มใช้ยาเสพติดแล้วอายุระหว่าง13-20ปี จำนวน 20 คน สามารถลดการเสพได้ 3 คน และสามารถเลิกได้จำนวน 1 คน
4 เพื่อสร้างการมีจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการช่วยกันป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมโครงการ ร้อยละ 60 จากครัวเรือนทั้งหมด 2. ได้แผนชุมชนด้านการจัดการยาเสพติด 1 แผนงาน

 

 

  • ในชุมชนบ้านควนมีสมาชิกจำนวน 600 ครัวเรือน มีผู้เข้าร่วมจำนวน 400 ครัวเรือน คิดเป็น 66.67%ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด
  • มีแผนชุมชนด้านการจัดการยาเสพติดโดยเยาวชนคือ 1.มีการแข่งขันกีฬาภายในชุมชนเช่น ฟุตบอล ฟุตซอล วอลเล่ย์บอล เป็นต้น ปีละ5 ครั้ง 2. ควรจัดอบรมเรื่องยาเสพติดปีละ 3 ครั้ง3. จัดให้มีสถานที่เล่นกีฬาเพิ่ม 4. เยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชน ควรร่วมกันพัฒนาชุมชนให้ปราศจากยาเสพติด 5. ควรจัดให้มีการทัศนศึกษาตามแหล่งบำบัดยาเสพติดในสถานที่ต่างๆ 6. ควรส่งเสริมอาชีพของคนภายในชุมชน
5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  • ทางแกนนำเข้าร่วมประชุมทุกครั้งที่ทาง สจรส.มอ จัดและมีการติดป้ายปลอดบุหรี่ที่สถานที่จัดกิจกรรมหลักคือ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ต.บ้านควน ทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นมีการถ่ายรูปประกอบทุกครั้งและจัดส่งตามระยะเวลาที่กำหนด