แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า

ชุมชน ชุมชนสะพานม้าเทศบาลเมืองตะลุบัน ถ.สะพานม้า ต.ตะลุบัน อำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี

รหัสโครงการ 58-03978 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2179

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2015 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2016

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการท้องถิ่นน่าอยู๋

วันที่ 5 ตุลาคม 2015 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เรียนรู้และทำความเข้าใจการทำเอกสารรายงานการเงินและรายงานกิจกรรมผ่านแวปไซต์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่คีย์ข้อมูลทำการเงิน ได้เรียนรู้การทำเอกสารโครงการ การรายงานการเงินให้ถูกต้อง ว่า ทุกครั้งที่ทำกิจกรรมต้องมีหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน และค่าใช้จ่ายต้องตรงกับแผนที่วางไว้ และการรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข ได้ลงปฏิทินกิจกรรม และฝึกการรายงานกิจกรรม 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.มอ.) จัดประชุมปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ ปี 2558 ได้พัฒนาศักยภาพผู้รับทุนด้านการบริหารจัดการโครงการ การเขียนรายงานโครงการ และการติดตามสนับสนุนโครงการ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบรรยายให้ความรู้แก่ผู้รับทุน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สจรส.นัดหมายผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล/การเงินเพื่อทำความเข้าใจระเบียบการใช้งบประมาณการบันทึกข้อมูนลงเว็ปไซด์คนใต้สร้างสุข การลงปฏิทินโครงการ เรียนรู้การลงบัญชีรับจ่าย การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมโดยเบิกใช้ตามกิจกรรมในเดือนนั้นๆและต้องรายงานการประชุมสภาผู้นำเกี่ยวกับงบปนระมาณในแต่ละกิจกรรม

 

2 2

2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 8 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรณรงค์และสร้างความมือในการไม่สูบบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คนในชุมชนสะพานน้ำให้ความร่วมมือในการติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความสำคัญและความร่วมมือในการไม่สูบบุหรี่ในสถานที่มีป้ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในที่ประชุม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ออกแบบป้ายสัญลักษณ์ตามกำหนดของ สสส.จัดจ้างให้ร้านทำป้ายดำเนินการทำป้ายตามแบบ นำป้ายรณรงค์ติดตามสถานที่

 

450 450

3. จัดเวทีประชุมคณะกรรมการตามโครงการเพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน

วันที่ 10 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบและกลุ่มเป้าหมาย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดแผนงานด้านกิจกรรมและกำหนดบทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบให้กับคณะกรรมการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดคณะทำงาน 1 ชุดในการดำเนินกิจกรรมโครงการโดยมีคณะกรรมการชุมชน 10 คน คณะทำงาน 8 คนรวม18 คนในการร่วมดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน เช่น คณะกรรมสภาผู้นำ 1 ชุดอย่างน้อย 18 คนมีบทบาทหน้าที่ในการประชุมเดือนละ 1 ครั้งในการรับฟังฟัญหา ความต้องการ และแก้ไขปัญหาของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเวทีประชุมคณะกรรมการตามโครงการเพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดเวทีประชุมคณะกรรมการชุมชนและคณะกรรมการโครงการเพื่อกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมโดยมีการคัดเลือก รับสมัครกลุ่มเป้าหมายเช่นกลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรีในการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและแบ่งบทบาทหน้าที่ตามความถนัด

 

18 18

4. เปิดเวทีโครงการประชาสัมพันธ์โครงการ/จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการชุมชน

วันที่ 15 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาให้กลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบสภาผู้นำ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. เกิดสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)จำนวน 42 คน
  2. มีกลุ่มแกนนำชุมชนสะพานม้า หน่วยงานรัฐในพื้นที่จำนวน133คน รับรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินการและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
  3. มีกลุ่มอาสาสมัครเยาวชนและ แกนนำชุมชนในการเก็บข้อมูล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายโดยคัดเลือกจากคณะกรรมการชุมชนซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเครือข่ายมาจากกลุ่มต่างๆในชุมชนประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน 10 คน,อสม.3 คน,ปราญชาวบ้าน2 คน,ผู้นำศาสนา 4 คน,ตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน 10 คน,เยาวชน 5 คน,คณะทำงานโครงการ 5 คน,ผู้สูงอายุ 3 รวมจำนวน 42 คน พร้อมทั้งคัดเลือกกลุ่มจิตอาสาชุมชน เยาวชน 5 คน และ แกนนำชุมชน 5 ให้พร้อมให้ความรู้รับรุ้ถึงบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติและรับผิดชอบของกลุ่มเครือข่าย
  • การก่อเกิด การจัดตั้งสภาผู้นำเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการ การแก้ไขปัญหา การรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องในชุมชนสะพานม้า ขั้นตอนการคัดเลือกคณะกรรมการสภาผู้นำโดยขอความร่วมมจากคณะกรรมการชุมชนกลุ่มเครือข่ายในชุมชนจากคนที่ทำงานจิตอาสาเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีความยั่งยืนสามารถดูแลชุมชนของตนเองได้ผลจากการตัดเลือกคณะกรรมการสภาผู้นำ ดังรายชื่อต่อไปนี้
  1. ประธานชุมชน นางอำพรกังพานิช
  2. รองประธานชุมชน นายนิมูฮัมหมัดวาบา
  3. กรรมการฝ่ายปกครอง นายพลแสงมณี
  4. กรรมการฝ่ายคลังนายนิยมทองดวง
  5. กรรมการฝ่ายสวัสดิการ นายมงคลบุญส่ง
  6. กรรมการฝ่ายสาธารณสุขนางเจ๊ะตอฮีเราะ พงษ์พืช
  7. กรรมการฝ่ายพัฒนา นายอุทัยแซ่ซิ่น
  8. กรรมการฝ่ายการศึกษา นายอ้วน สีโท
  9. กรรมการประชาสัมพันธ์ นางสาวนวรพรแซ่ซิ่น
  10. เลขานุการเพ็ญรพีขุนบุญจันทร์

อสม.3 คนคือ

  1. นางเจ๊ะตอฮีเราะ พงษ์พืช
  2. นางสาวฐาปนีพรหมเอียด
  3. นางสาวศิริวรรณกังพานิช

ปราญชาวบ้าน 2 คน คือ

  1. นายดอรอแมกามะ
  2. นายสมนึกกังพานิช

ผู้นำศาสนา 2 คนคือ

  1. นายอ้วน สีโท
  2. นายดอรอแมกามะ

ตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน 10 คน

  1. นางดารียะอาบู
  2. นายมงคลบุญส่ง
  3. นายพลแสงมณี
  4. นางซารอแมกามะ
  5. นายอัฐทองไชย
  6. นายนิยมทองดวง
  7. นายบุญเพ็ญพงษ์พืช
  8. นายสะมาแออาบู
  9. นางสาวฐาปนีพรหมเอียด
  10. นางรัตนาจิวตระกูล

เยาวชน 5 คน

  1. เด็กหญิงฟิรดาวส์แดวอสะนุง
  2. เด้กหญิงโซเฟียกามะ
  3. นายพิชิตบุญส่ง
  4. เด้กชายพันธิการแซ่ซิ่น
  5. เด็กหญิงจิตติมาทองไชย

คณะทำงานโครงการ 6 คน ผู้สูงอายุ 3 คน

  1. นางมือเลาะบางกา
  2. นางมาลีสุ่มประดิษฐ์
  3. นางเคลื่อนสีโท

อีกทั้งเลือก กลุ่มจิตอาสาชุมชน เยาวชน 5 คน แกนนำชุมชน 5 คนและกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ คณะกรรมการสภาผู้นำจำนวน 42คน เยาวชนเก็บข้อมูล 20คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประสัมพันธ์โครงการย้อนอดีตคืนความสุข 2 วิถีชุมชนสะพานม้า เตรียมความพร้อมในการพัฒนาการจัดตั้งสภาผู้นำ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เปิดเวทีโครงการ เพื่อเป็นการประชาสันพันธ์ โดยประธานชุมชนนัดชาวบ้าน เข้าร่วมประชุมผ่านทางแกนนำกลุ่ม และพี่เลี้ยงโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าในชุมชนมีโครงการของ สสส.เป็นโครงการท้องถิ่นชุมชนน่าอยู่ และบอกให้ถึงทราบถึงวิธีการทำโครงการ และกิจกรรมต่างที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะสร้างการมีส่วนร่วมในพัฒนาเป็นแก้ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ทั้ง2 ศาสนา ในชุมชน
  • ประธานชุมชนกล่าวเปฺิดกิจกรรมตามโครงการทั้งพร้อมอธิบายเหตุผลและหลักการต่างๆ ที่มาของการเสนอโครงการของบประมาณจาก สสส. บอกถึงประชาชนให้มีส่วนร่วมในขั้นตอนและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด13 กิจกรรมหลักอยากให้ประชาชนเข้าร่วมดังกล่าว คุณกัลยา เอี่ยวสกุล ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงติดตามโครงการชี้แจงความเป็นมาโครงการเรียกว่าโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เป็นโครงการของชุมชนสะพานน้ำที่จะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดและจัดกิจกรรมร่วมกัน

 

133 120

5. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่1เดือนตุลาคม

วันที่ 23 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีพุทธและมุสลิม โดยใช้ประเด็นงานที่เชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน มีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการและสามารถเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนร่วมกับคณะทำงานตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทบทวนกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ

  • ประธานสภาผู้นำ แจ้งจำนวนประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากการวางแผนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมจำนวน 133 คน แต่มีผู้เข้ากิจกรรมในวันเปิดโครงการจำนวน 92 คนเนื่องจากผู้นำชุมชน ผู้ศาสนามีการประชุมซ้อนกับนายอำเภอภายใต้โครงการ ตำบลละ 5 ล้านทำให้ผู้เข้าร่วมไม่ครบตามจำนวนที่วางเป้าหมายไว้แต่สามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้

วางแผนกิจกรรมชุมชน

  • กิจกรรมดำเนินต่อไปได้อย่างดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับงบประมาณกระตุ้นเรื่องงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ตำบลละ 5 ล้าน โดยชุมชนมีมติจากคณะกรรมการชุมชนเสนอทำโครงการ เพาะเลี้ยงอนุบาลลูกปลา เลี้ยงปลานิลแดงในกระชัง โดยใด้รับงบประมาณจำนวนทั้งสื้น 185,000 บาท อีกทั้งเทศบาลตะลุบันขอความร่วมมือชุมชนสะพานม้าเข้าร่วมงานประเพณีชักพระประจำปี 2558 ซึ่งชุมชนจะมีการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในงานประเพณี เช่น กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน ประกวดขบวนเรือพระ ประกวดกลองยาวชุมชน มีมติให้คณะกรรมการและประชาชนในชุมชนที่เป็นไทยพุทธและไทยอิสลามเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน มีความเข้าใจในการดำเนินการกิจกรรมโครงการและสามารถเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนร่วมกับคระทำงานตลอดระยะเวลาดำเนินกิจกรรมได้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นัดประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)จำนวน 42 คน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอปัญหาร่วมกับคณะทำงาน โดยมีการวางแผนกิจกรรมโครงการทบทวนกิจกรรมการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจโครงการ และเกิดการประชุมสภาผู้นำ (สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ขึ้น

 

62 42

6. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 2เดือนพฤศจิกายน

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีพุทธและมุสลิม โดยใช้ประเด็นงานที่เชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน มีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการและสามารถเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนร่วมกับคณะทำงานตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประธานสภาผู้นำชี้แจงเรื่องโครงการเกษตรอำเภอจะมาให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ ส่งเสริมการทำปุ่ยหมัก เชื้อราฆ่าแมลง เตรียมความพร้อมในการต้อนรับคณะกรรมการเจ้าสาธารณะสุขจังหวัดปัตตานี เพื่อมาถอดบทเรียนให้ความรู้ในชุมชน ตามโครงการหมู่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพชุมชนโดยมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ คือ คณะกรรมการชุมชนเป็นต้อนรับ ให้นายสมนึก กังพานิช เป็นวิทยากรพื้นที่ในการบรรยายในศูนย์เศษฐกิจพอเพียงชุมชน นางสาววรภรแซ่ซินและคณะกรรมการรับผิดชอบด้านอาหาร
  • นัดประชุมกิจกรรมครั้งต่อไป คณะทำงานโดยมีผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่เลี้ยง สสส.และสจรส.วันที่ 24 พฤศจิกายน ในเดือนพฤศจิกายนวันที่ 25 มีกิจกรรมการออกแบบสอบถามชุมชนขึ้น ณ.ศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้านขึ้นขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมตามกิจกรรมโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน มีความเข้าใจในการดำเนินการกิจกรรมโครงการและสามารถเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนร่วมกับคระทำงานตลอดระยะเวลาดำเนินกิจกรรมได้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นัดประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)จำนวน 42 คน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอปัญหาร่วมกับคณะงาน โดยมีการวางแผนกิจกรรมโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และวางแผนกิจกรรมออกแบบสอบถาม

 

62 42

7. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำเอกสารรายงานและรายงานการเงิน

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนด้านการจัดการทำรายงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำเอกสารการเงินร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม กิจกรรมที่ดำเนินการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมความพร้อมในการจัดทำเอกสารการเงินการรายงานทางการเงิน การจัดทำเอกสารการเงินที่ถูกต้อง การบันทึกข้อมูลเว็บไซด์คนใต้สร้างสุขโดยมีเจ้าหน้าที่การเงิน/บันทึกข้อมูลมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารการรายงานการเงิน การเสียภาษีตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 เป็นต้น ได้แก่ ค่าตอบแทน 1000 บาท หักภาษี 10 บาท ค่าอาหารเกิน 5000 บาทจ่ายภาษี 1% การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดงบประมาณให้บันทึกตามงบประมาณก่อนหักภาษีทำให้เจ้าหน้าที่การเงิน/บันทึกข้อมูล ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณและการบันทึกข้อมูลมากยิ่งขึ้นสะดวกกับการบันทึกในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ฝึกอบรมการเขียนรายงานการจัดทำเอกสารการเงิน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สจรส.นัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำรายงานและรายงานการเงินร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยการทำเอกสารการเงิน การรายงานทางการเงิน การรายงานกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ลงเว็บไซค์ คนใต้สร้างสุข และการเสียภาษี

 

2 2

8. ออกแบบการด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมทั้ง 2 วิถี

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบสภา(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม) ออกแบบเครื่องมือการจัดการด้านความสัมพันธ์ของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดการมีส่วนร่วมในการออกแบบสอบถามด้านประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์วิถีพุทธและมุสลิมชุมชนจำนวน 133ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลจากการระดมความคิดตามแนวทางการจัดทำแบบสำรวจปัญหาในครัวเรือน และปัญหาในชุมชนผลจาการการระดม การแลกเปลี่ยนข้อมูลจนเกิดเป็นแบบสำรวจที่ตรงกับความต้องการและปัญหาของชุมชน
  • ได้วางแผนเตรียมการเก็บข้อมูล โดยแบ่งกลุ่มโซนชุมชนออกเป็น 4 กลุ่ม ตามเขตรับผิดชอบของ อสม.อาสาสมัครจัดเก็บทั้ง 4 โซนแบ่งจำนวนครัวเรือนในการจัดเก็บโดยให้ อสม.เป็นชุดหัวหน้าทีมลงพื้นที่จัดเก็บตามข้อมูลแบบสำรวจปัญหาในครัวเรือนและปัญหาในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การออกแบบเครื่องมือการจัดการด้านความสัมพันธ์อบรมสร้างความเข้าใจการเก็บข้อมูลโดยวิทยากรให้ความรู้สร้างความเข้าใจวิเคราะห์ทุนในชุมชนเพื่อออกแบบข้อมูล ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมทั้ง 2 วิถี โดยการจัดเก็บข้อมูลด้านโภชนาการ ด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ ด้านอาชีพ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสาธารณสุข ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านจารีต ปัญหาของชุมชน ศักยภาพและความต้องการ บทบาทองค์กรของชุมชน ตลอดจนชุดความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนและความรู้สร้างความเข้าใจ การใช้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลให้กับอาสาสมัคร

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เตรียมความพร้อมวางแผน โดยมีคณะกรรมการสภาผู้นำ อาสาสมัคร ในการสร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนข้อมูลพื้้นฐาน ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมทั้ง 2 วิถี ด้านโภชนาการ ด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ ด้านอาชีพ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสาธารณสุข ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านจารีต ปัญหาของชุมชน ศักยภาพและความต้องการ บทบาทองค์กรของชุมชน ตลอดจนชุดความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยมีวิทยากรให้ความรู้สร้างความเข้าใจการวิเคราะห์ทุนในชุมชนเพื่อออกแบบสอบถาม
  • วิทยาการให้ความรู้แก่เยาวชน อาสาสมัคร ลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจปัญหาในครัวเรือนและปัญหาในชุมชน

 

30 32

9. อาสาสมัครลงพื้นเก็บข้องมูลชุมชน ครั้งที่1

วันที่ 3 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนากลไกการมีส่วนร่วม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม133ครัวเรือนและการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนการเก็บข้อมูลระหว่างคนในครัวเรือนและอาสาสมัคร

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผลจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชนในการสำรวจวันแรก เกิดการแลกเปลี่ยนแบบสอบถามในครัวเรือนเรื่องปัญหาด้านรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น และช่วงนี้เศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากราคายางพาราตกต่ำ ทำให้ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และได้พูดคุยกับคนในชุมชนแต่ละโซน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีเมื่อได้พูดคุย ชาวบ้านให้ความร่วมมือทำให้ทีมอาสาสมัครเก็บข้อมูลมีกำลังใจในการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ออกสำรวจโดยการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลในแบบสำรวจ โดยเยาวชนและแกนนำในชุมชนซึ่งแบ่งการสำรวจเป็น 5 โซน จำนวน โซนละ 4 คน จัดเก็บ ตามครัวเรือน 133 ครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เตรียมการแบ่งโซลรับผิดชอบ 5 โซนๆละ 4 คน ลงพื้นที่นำแบบสำรวจปัญหาครัวเรือนและปัญหาในชุมชนลงสัมภาษณ์ สอบถาม พูดคุยกับหัวหน้าครัวเรือนหรือบุคคลในครัวเรือน

 

20 20

10. อาสาสมัครลงพื้นเก็บข้องมูลชุมชน ครั้งที่2

วันที่ 4 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนากลไกการมีส่วนร่วม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม133ครัวเรือนและการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนการเก็บข้อมูลระหว่างคนในครัวเรือนและอาสาสมัคร

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการเก็บข้อมูลวันที่สอง ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มในเรื่อง เศรษฐกิจท้องถิ่น เช่น หนี้สิน รายได้ ว่างงาน ขาดที่ดินทำกิน ราคาผลผลิตตกต่ำ และค่าครองชีพสูงฯ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ออกสำรวจโดยการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลในแบบสำรวจ โดยเยาวชนและแกนนำในชุมชนซึ่งแบ่งการสำรวจเป็น 5โซน จำนวน โซนละ 4คน จัดเก็บ ตามครัวเรือน 133 ครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานประชุมร่วมกับอาสาสมัครเพื่อเตรียมการแบ่งโซลรับผิดชอบ5โซลๆละ 4คน ลงพื้นที่นำแบบสำรวจปัญหาครัวเรือนและปัญหาในชุมชนลงสัมภาษณ์ สอบถาม พูดคุยกับหัวหน้าครัวเรือนหรือบุคคลในครัวเรือนให้ครอบคลุมทั้ง133ครัวเรือน

 

20 20

11. อาสาสมัครลงพื้นเก็บข้องมูลชุมชน ครั้งที่3

วันที่ 5 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนากลไกการมีส่วนร่วม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม133ครัวเรือนและการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนการเก็บข้อมูลระหว่างคนในครัวเรือนและอาสาสมัคร

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เยาวชนและแกนนำชุมชนลงพื้นที่ใช้แบบสำรวจพร้อมบันทึกข้อมูลจากการพูดคุย สอบถาม สัมภาษณ์ตามรายละเอียดในแบบสำรวจโดยมีบุคคลในครัวเรือน 2-3 คน ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจ ผลจากการแบ่งโซนเก็บข้อมูลได้ดังนี้

โซนที่ 1 จำนวน 26 ครัวเรือน

โซนที่ 2 จำนวน 27 ครัวเรือน

โซนที่ 3 จำนวน 26 ครัวเรือน

โซนที่ 4 จำนวน 26 ครัวเรือน

โซนที่ 5 จำนวน 26 ครัวเรือน

  • สามารถลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจครอบคลุม 131 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ออกสำรวจโดยการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลในแบบสำรวจ โดยเยาวชนและแกนนำในชุมชนซึ่งแบ่งการสำรวจเป็น 5 โซน จำนวน โซนละ 4 คน จัดเก็บ ตามครัวเรือน 133 ครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานประชุมร่วมกับอาสาสมัครเพื่อเตรียมการแบ่งโซลรับผิดชอบ5โซลๆละ 4คน ลงพื้นที่นำแบบสำรวจปัญหาครัวเรือนและปัญหาในชุมชนลงสัมภาษณ์ สอบถาม พูดคุยกับหัวหน้าครัวเรือนหรือบุคคลในครัวเรือนให้ครอบคลุมทั้ง133ครัวเรือน

 

20 20

12. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสำรวจ ครั้งที่1

วันที่ 18 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบสภาผู้นำ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • ได้ข้อมูลของชุมชนเพื่อมาจัดทำแผนชุมชน
  • เกิดแผนที่เดินทางครอบครัว พุทธ 1 ชุด มุสลิม 1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • นักวิชาการและเยาวชนนำข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจมาจัดแยกข้อมูลออกเป็น 7 ด้าน ดังนี้
  • จากการศึกษาจากแบบสำรวจข้อมูลชุมชนสะพานม้า พบว่าข้อมูลทั้ง 7 ด้าน คือ
  1. มิติด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น มีปัญหา ร้อยละ 25 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 75
  2. มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีปัญหา ร้อยละ 18 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 82
  3. ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณี / สังคม /ครอบครัว /สวัสดิการ/ศาสนา มีปัญหา ร้อยละ 45 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 55
  4. การศึกษามีปัญหา ร้อยละ 0.5 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 95
  5. ประชาธิปไตย / การมีส่วนร่วม / ธรรมาภิบาล มีปัญหา ร้อยละ 45 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 55
  6. โครงสร้างพื้น ฐาน มีปัญหา ร้อยละ 25 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 75
  7. สุขภาพ มีปัญหา ร้อยละ 25 ไม่มีปัญหา ร้อยละ 75
  • ประชาชนตอบแบบสอบถอบถามทั้งหมด 131 ชุด
  • ร้อยละ 80 เป็นหัวหน้าครัวเรือน ร้อยละ 15 เป็นคนในครอบครัว ร้อยละ 0.5 อืนๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • วิเคราะห์ข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการจัดทำแผนชุมชน วิทยากรให้ความรู้ และแนะแนวทางการทำแผนชุมชน และการจัดการข้อมูล ให้กับแกนนำของชุมชนและเยาวชน ตัวแทนชาวพุทธ 20คน ชาวมุสลิม 20 คน เพื่อให้แกนนำมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และร่วมกันนำสิ่งที่เรียนรู้ไปจัดทำแผนชุมชน และร่วมกันออกแบบแบบสอบถาม เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลทำแผนชุมชน จัดทำกระบวนการจำนวน 2 วัน
  • จัดทำแผนที่ทางเดินครอบครัววิถีพุทธและมุสลิม(แผนที่เดินดิน) ซึ่งต้องระบุให้เห็นถึงผังกายภาพของทรัพยากร ผังโครงสร้างพื้นฐาน ผังเรียนรู้

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกับคณะกรรมการสภาผู้นำประชุมนำแบบสำรวจปัญหาครัวเรือนและปัญหาในชุมชนจากการลงพื้นที่สำรวจ 131 ครัวเรือน โดยแกนนำเยาวชนคัดแยกข้อมมูลออกมาแต่ละด้านทั้ง 7 ด้านนำข้อมูลแยกตามประเด็นปัญหา สรุปผลที่ได้จากการจัดเก็บของปัญหาในชุมชนทั้ง 7 ด้าน

 

90 65

13. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 3เดือนธันวาคม

วันที่ 25 ธันวาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อฟื้อฟูความสัมพันธ์ทั้งวิถีพุทธและมุสลิมโดยใช้ประเด็นงานที่เชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน มีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการและสามารถเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนร่วมกับคณะทำงานตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะกรรมการสภาผู้นำติดตามความก้าวหน้าของการประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ ของคณะกรรมการโดยเฉพาะตัวแทนกลุ่มต่างๆ เข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรม ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งจำนวนงบประมาณที่ใช้ไปแล้ว และคงเหลือ พร้อมทั้งแจ้งในเรื่องของการส่งรายงายปิดงวดครั้งที่ 1 เดือน 15 กุมภาพันธ์ 2559 แจ้งเรื่องข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรมเพราะประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ประธานชุมชนแจ้งวาระการประชุมเรื่อง การจัดกรรมงานประเพณีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันปีใหม่รายงานความคืบหน้าโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจสู่ตำบลกำหนดวันเพื่อทำการปัลผลให้กับสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ กำหนดกิจกรรมงานวันเด็กร่วมกับเทศบาลเมืองตะลุบัน อสม.แจ้งให้คณะกรรมชุมชนมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูล จปฐ.กับประชาชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สภาผู้นำกับคณะทำงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน กลุ่มเป้าหมาย 42 คน เดือนละ1ครั้งเพื่อร่วมเรียนรู้วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนในการกำหนดกิจกรรม พร้อมทั้งร่วมคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชนตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนากิจกรรมโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานร่วมกับสภาผู้นำเตรียมการพูดเกี่ยวกับวาระการพูดคุยโดยเริ่มจากการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมโครงการในการดำเนินการภายในเดือนธันวาคมและรายการสถานการณ์การเงินใช้ไป จำนวนเงินคงเหลือ และร่วมรับฟังปัญหาความต้องการของคนในชุมชนพร้อมทั้งรายงานสถานการณ์ทั่วไปเกี่ยวกับชุมชนสะพานม้า

 

42 38

14. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 4เดือนมกราคม

วันที่ 15 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทั้งวิถีพุทธและมุสลิมโดยใช้ประเด็นงานที่เชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรมในท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ที่สามารถวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน มีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการและสามารถเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนร่วมกับคณะทำงานตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะกรรมการสภาผู้นำมีการติดตามความก้าวหน้าของเอกสารทางการเงินของโครงการผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งจำนวนงบประมาณคงเหลือ15,355.12 บาท
  • ประเมินปัญหาทั่วไปจากแบบสำรวจส่วนใหญ่ ประชาชนในชุมชนยังให้ข้อมูลกับแบบสำรวจไม่ครบถ้วนและไม่กล้าที่จะตอบตามความจริง เนื่องจากเกิดความไม่เข้าใจในข้อมูลจากแบบสำรวจจะไปใช้อะไรจึงไม่ให้ข้อมูลครบถ้วน อาสาสมัครเก็บข้อมูลใช้การสังเกตุประกอบด้วยเป็นคนในพื้นที่ชุมชนโนโซนที่ลงไปเก็บข้อมูล จึงใช้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดนำมาประกอบการลงพื้นที่
  • ประธานชุมชนแจ้งวาระการประชุมเรื่อง การปรับโครงการสร้างคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน เพื่อคณะกรรมการมาขับเคลื่อนกองทุนของชุมชม รายงานโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจสู่ตำบลได้รับวัสดุและอุปกรณ์ตามรายเอียดโครงการเรียบร้อยแล้ว และพร้อมจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการและงบ กทบ.ให้กองทุนหมู่บ้านเสนอของงบประมาณโครงการประชารัฐสู่ชุมชน และกำหนดวันที่จะเชิญสมาชิกกองทุนเข่าร่วมเสนอโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สภาผู้นำกับคณะทำงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน กลุ่มเป้าหมาย 42 คน เดือนละ1ครั้งเพื่อร่วมเรียนรู้วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแผนในการกำหนดกิจกรรม พร้อมทั้งร่วมคิดในการแก้ไขปัญหาในชุมชนตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนากิจกรรมโครงการครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ดำเนินการประชุมโดยประธานสภาผู้นำและกรรมการผู้ดำเนินโครงการ ในเรื่องดังนี้
  1. ปรึกษาหารือถึงความก้าวหน้าของกิจกรรมที่ทำมา
  2. สรุปบัญชีการเงินให้กับคณะกรรมการรับทราบ
  3. ให้ประธานชุมชนแจ้งเรื่องกิจกรรมเร่งด่วนในชุมชนให้ประชาชนรับทราบ
  4. วางเแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมพร้อมในการจัดกิจกรรม

 

42 38

15. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสำรวจ ครั้งที่2

วันที่ 17 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบสภาผู้นำ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • ได้ข้อมูลของชุมชนเพื่อมาจัดทำแผนชุมชน
  • เกิดแผนที่เดินทางครอบครัว พุทธ 1 ชุด มุสลิม 1 ชุด

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดข้อมูลชุมชน 1 ชุด ในการจัดทำแผนชุมชนและแผนที่เดินดิน เช่นข้อมูล สถานที่ราชการมีโรงเรียน 2 แห่ง กูโบร์ 1 แห่ง โรงงาน 1 แห่ง ฟาร์มสุกร 1 แห่ง กลุ่มอาชีพ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเพาะเลี้ยงลูกปลาทับทิม 2) กลุ่มโค 3) กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชัง 4) กลุ่มเลี้ยงสุกร
  • ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลละเอียดชัดมากขึ้นแม้ใช้ระยะเวลาสั้น ข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือมาเพราะเป็นข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามซึ่งคนในชุมชนเป็นผู้ให้ข้อมูล การนำข้อมูลด้านเศษฐกิจุชุมชนมาประโยชน์ในการทำแผนที่เดินดินซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
  1. นำแผนที่เก่าที่เคยทำไว้มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น แล้วตรวจสอบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ใส่รายละเอียดเพิ่มเติม
  2. ให้ความสำคัญกับการสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้านในชุมชนควบคู่กับการเขียนแผนที่ แวะทักทายชาวบ้านระหว่างการทำ
  3. ถ้าเป็นหมู่บ้านที่มีระยะห่าง ไม่ควรนั่งรถยนต์ทำแผนที่ อาจใช้รถจักรยาน หรือจักรยานยนต์ แต่ต้องหมั่นจอดแวะทักทายชาวบ้าน
  4. เดินสำรวจให้ทั่วถึง โดยเฉพาะบ้านคนจน บ้านผู้ทุกข์ยากที่อยู่ชายขอบของชุมชน บ้านของผู้ที่แยกตัวอย่างโดดเดี่ยวในชุมชน
  5. มองพื้นที่ทางกายภาพแต่ตีความให้เห็นถึงพื้นที่ทางสังคม
  6. ถ้าทีมงานมีหลายคน ไม่ควรแยกเขียนแล้วนำมาต่อกัน ควรเดินสำรวจร่วมกันทั้งทีม
  7. หมั่นสังเกตและพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในทีมระหว่างเดินสำรวจว่าพื้นที่ที่เห็นบอกเรื่องราวอะไรที่สำคัญของชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ
  8. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเพียงอย่างเดียวต้องสอบถามจากเจ้าของบ้านญาติ เพื่อนบ้าน หรือบุคคลอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม
  9. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสอบถามจากเจ้าของบ้านได้โดยตรง จำเป็นต้องสอบถามคนในชุมชนเพิ่มเติม หรืออาศัยการสังเกตเพิ่มเติมด้วยตนเอง
  10. ข้อพึงระวัง เมื่อให้ชาวบ้านนำทาง ข้อมูลอาจจะมีอคติจากผู้พาเดิน เช่น ไม่ต้องการให้พบเห็นสิ่งที่คิดว่าสร้างความเสื่อมเสียต่อชุมชน
  11. พยายามเขียนข้อสังเกต เช่น ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนในชุมชน หน้าที่ทางสังคมของพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ครั้งที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมคณะทำงานร่วมกับสภาผู้นำเพื่อเตรียมเวทีการวิเคราะห์จากแบบสอบถามนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ คัดแยกมาสรูปประเด็นเพื่อกำหนดเป็นแผนที่ทางเดินดินรวบรวมปัญหาข้อเสนอแนะที่เกิดขึ้นในชุมชนเพื่อจัดทำแผนที่ทางเดินของชุมชน ประสานกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมจำนวน 90 คน ตามแผนงานที่วางกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เสียงตามสยขอความร่วมมือคนในชุมชนเข้าร่วมการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมมูลครั้งที่ 2 โดยมีทีมวิทยากรนำการทบทวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อสรุปจากครั้งที่ผ่านมาเพื่อจัดทำแผนที่เดินดิน

 

90 80

16. จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชาชนเพื่อถ่ายทอดและสื่อข้อมูลสู่สมาชิกในชุมชน

วันที่ 30 มกราคม 2016 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบัน1ชุด นำไปสู่การจัดทำแผนด้านความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีพุทธและมุสลิม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การคืนข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน เกิดข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบัน 1 ชุด นำไปสู่การจัดทำแผนด้านความสัมพันธ์ทั้ง 2 วิถีพุทธและมุสลิม ผู้เข้าร่วมได้ทราบปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนสะพานม้าเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปชองชุมชนด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ด้านสุขภาพของคนในชุมชนและด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน จากการนำเสนอข้อมูลที่มาจากการจัดทำแผนชุมชนและแผนที่เดินดิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชาชนโดยให้วิทยากรนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ คืนข้อมูลที่ได้ให้กับชาวชุมชน และชี้แจงทราบถึงปัญหา รับรู้ข้อมูล ด้านต่างๆ แล้วจัดหมวดหมู่ข้อมูล และสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาชุมชนให้ชัดเจนและยกร่างทำแผนชุมชน โดยการแบ่งกลุ่มประชาชนย่อยระดมความคิดเห็น ซึ่งมีตัวแทนประชาชน 100 คน คณะกรรมการชุมชน 10 คน อสม. 3 คน ปราชญ์ชาวบ้าน 4 คน เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองตะลุบัน 5 คน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 3 คน หน่วยความมั่นคงในพื้นที่ 3 คน ครู 2 คน เด็กเยาวชน 10 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงานโดยมีการประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำแบ่งบทบาทภาระกิจหน้าที่ในการประสานงานวิทยากร ประสานผู้เข้าร่วม เตรียมสถานที่ในการจัดเวทีคืนข้อมูลจากการสำรวจโดยวิทยากรได้นำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว คืนข้อมูลที่ได้ให้กับชาวชุมชนสะพานม้า และชี้แจงให้ทราบถึงปัญหาในชุมชนสะพานม้าที่ได้สำรวจมาจากทุกครัวเรือนให้ประชาชนรับทราบ รับรู้ข้อมูลด้านต่างๆแล้วจัดหมวดหมู่ข้อมูลและสามารถกำหนดแนวทางการปฎิบัติในการแก้ไขปัญหาชุมชนให้ชัดเจนและยกร่างทำแผนชุมชน โดยการแบ่งกลุ่มย่อยจากประชาชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อระดมความคิดเห็นในการยกร่างแผนชุมชน

 

140 95

17. ถอนเงินเปิดบัญชีโครงการ

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อถอนเงินที่เปิดบัญชี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ถอนเงินที่เปิดบัญชีออกเพื่อไม่ให้สับสนกับเงินโครงการ และสามารถลงบัญชีในการทำรายงานการเงินได้ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ถอนเงินเปิดบัญชี จำนวน 500 บาท

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ถอนเงินที่เปิดบัญชีโครงการ จำนวน 500 บาท

 

2 2

18. พบพี่เลี้ยงตรวจเอกสารรายงานปิดงวดที่1

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 11:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง และทำการตรวจเอกสารรายงานปิดโครงการงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับคำแนะนำการปรับแก้ใบเสร็จ และรายงานกิจกรรมให้เพิ่มข้อมูลและกลับไปแก้ไข แล้วมาพบพี่เลี้ยงอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบเอกสารก่อนส่งรายงานให้ สจรส.ม.อ.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ตรวจเอกสารรายงานการเงิน สมุดบัญชีบันทึกรายงานการเงิน ตรวจเอกสารการบันทึกกิจกรรมเพื่อปิดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นัดพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายการเงิน การบันทึกกิจกรรมปิดโครงการงวดที่1
  • ตรวจเอกสารบัญชี การบันทึกกิจกรรม ใบสำคัญรับเงินเพื่อจัดทำงานเอกสารรายงานปิดโครงการ

 

3 3

19. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำรายงานปิดโครงการงวดที่1

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อตรวจเอกสารการเงินและการทำบัญชี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ใบเสร็จรับเงินและเอกสารการเงินถูกต้อง สามารถส่งเอกสารการเงินและการจัดทำรายงานปิดงวดโครงการให้ สจรส.ม.อ.ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • นำเอกสารการเงิน รายงานปิดงวดโครงการให้ทีมงาน สจรส.ตรวจความถูกต้อง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นำเอกสารการเงินที่แก้ไขและผ่านการตรวจจากพี่เลี้ยงแล้ว มาส่งให้ สจรส.ม.อ. เพื่อทำการตรวจสอบเอกสารการเงินอีกครั้ง

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 49 19                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 186,060.00 74,598.00                  
คุณภาพกิจกรรม 76 62                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมแต่ละกิจจกรมไม่ตรงตามเป้าหมาย

1.ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมไม่ตรงกับเวลาว่างของกลุ่มเป้าหมายเนื่องจากคนในชุมชนสะพานม้ามีอาชีพทำการเกษตรและค้าขาย

1.ปรับเปลี่ยนเวลาในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปเป็นช่วงบ่ายหรือค่ำเพราะเป็นเวลาที่ว่างจากการประกอบอาชีพหรือใช้เวทีสภาผู้นำสอบถามความต้องการในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 5เดือนกุมภาพันธ์ ( 20 ก.พ. 2016 )
  2. วิเคราะห์และประมวลความต้องการของชุมชนที่มีต่อการพัฒนา พร้อมทั้งประเมินศักยภาพและทุนทางสังคม ( 11 มี.ค. 2016 )
  3. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 6เดือนมีนาคม ( 25 มี.ค. 2016 )
  4. เวทีแผนปฏิบัติชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมของสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่1 ( 27 มี.ค. 2016 )
  5. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 7เดือนเมษายน ( 10 เม.ย. 2016 )
  6. จัดเวที แบ่งกลุ่มย่อยให้กับตัวแทนครัวเรือนประชาชนในชุมชนสะพานม้า ที่เป็นมุสลิม ( 16 เม.ย. 2016 )
  7. จัดเวที แบ่งกลุ่มย่อยให้กับตัวแทนครัวเรือนประชาชนในชุมชนสะพานม้า ที่เป็นพุทธ ( 22 เม.ย. 2016 )
  8. จัดทำแผนปฏิบัติชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมของสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้ง ที่2 ( 24 เม.ย. 2016 )
  9. จัดเวทีถอดบทเรียนรู้การอยู่ร่วมกันทั้ง2 ศาสนา ( 6 พ.ค. 2016 )
  10. กิจกรรมผู้เฒ่าเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนสะพานม้า ( 13 พ.ค. 2016 )
  11. พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ ( 19 พ.ค. 2016 )
  12. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 8เดือนพฤษาคม ( 21 พ.ค. 2016 )
  13. กิจกรรมว่าวร้อยใจสองวิถีชุมชน ( 22 พ.ค. 2016 )
  14. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 9เดือนมิถุนายน ( 18 มิ.ย. 2016 )
  15. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือครั้งที่ 1 ( 19 มิ.ย. 2016 )
  16. กิจกรรมชุมชนคืนความสัมพันธ์พุทธ-มุสลิม ( 24 มิ.ย. 2016 )
  17. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 10เดือนกรฎาคม ( 17 ก.ค. 2016 )
  18. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือครั้งที่2 ( 1 ส.ค. 2016 )
  19. ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำ(สภาร้อยใจพุทธ-มุสลิม)ครั้งที่ 11เดือนสิงหาคม ( 9 ส.ค. 2016 )
  20. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือครังที่ 3 ( 11 ส.ค. 2016 )
  21. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือครั้ง ที่4 ( 15 ส.ค. 2016 )

(................................)
นาง อำพร กังพานิช
ผู้รับผิดชอบโครงการ