task_alt

ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ชุมชน บ้านบาลาหมู่ที่ 5 ตำบลโละจูด อำเภอแว้งจังหวัดนราธิวาส

รหัสโครงการ 58-03989 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2177

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการปี 2558

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • สจรส.ประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้เรียนรู้การจัดทำโครงการชุมชนน่าอยู่ ทดลองการบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักฐานเอกสารที่จำเป็นต่างๆ และรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน ได้ลงปฏิทินแผนการดำเนินงานในเวบไซต์ตนเสร็จ และได้วางแผนการทำโครงการร่วมกับพี่เลี้ยงและทีม สจรส.ม.อ.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • กิจกรรม ประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจในการบันทึกข้อมูล หลักฐานเอกสารต่างๆ และรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ชี้แจงการทำโครงการชุมชนน่าอยู่ โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ฟังการบรรยายการบันทึกข้อมูล หลักฐานเอกาสรต่างๆ และรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทีม สจรส.ม.อ.

 

2 2

2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 28 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ สสส.และรณรงค์พื้นที่งดสูบบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 2 แผ่นคือ 1.เขตปลอดบุหรี่ ขนาด 50 x 50cm 2. เขตปลอดบุหรี่ ขนาด 49 x 130 cmนำไปวางที่มัยิดราวฏอลตุลญัณนะห์ บ้านบาลา ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไม่ให้สูบบุหรี่ในบริเวณศาสนสถาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ออกแบบ จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ออกแบบ จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่จำนวน 2 แผ่นคือ 1.เขตปลอดบุหรี่ ขนาด 50 x 50cm 2. เขตปลอดบุหรี่ ขนาด 49 x 130 cm

 

2 2

3. ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำและคณะทำงาน

วันที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 น. - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.เพื่อชี้แจงโครงการให้สภาผู้นำและคณะทำงานรับทราบ 2.จัดตั้งสภาผู้นำและคณะทำงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้สภาผู้นำชุมชนร่วมคิดวางแผนแก้ปัญหาชุมชนจำนวน 1 คณะ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นายมะอะฮูมือรี ยูนุ๊  ประธานได้จัดตั้งประชุมสภาผู้นำและคณะทำงาน ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ รายละเอียดของโครงการและกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ พร้อมร่วมคิดร่วมกำหนดบทบาท หน้าที่ของแต่ละงานตามความถนัดและกำหนดโซนรับผิดชอบ ให้สภาผู้นำและคณะทำงานเข้าใจและรับทราบในทางเดียวกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คัดเลือกสภาผู้นำ มีผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอิหม่าม สมาชิก อบต. ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มสตรีกลุ่มเยาวชน อสม.กลุ่มอาชีพต่างๆคณะกรรมการหมู่บ้านในชุมชนกลุ่มกองทุน จิตอาสาญาลันนันบารู มีจำนวน30 คน และร่วมคิดร่วมกำหนดบทบาท หน้าที่ของแต่ละงานตามความถนัดและกำหนดโซนรับผิดชอบ

กิจกรรมที่ทำจริง

  ได้บรรยายโครงการให้คณะทำงานรับทราบ พร้อมคัดเลือกสภาผู้นำ มีผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอิหม่าม สมาชิก อบต. ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มสตรีกลุ่มเยาวชน อสม.กลุ่มอาชีพต่างๆคณะกรรมการหมู่บ้านในชุมชนกลุ่มกองทุน จิตอาสาญาลันนันบารู มีจำนวน30 คน และร่วมคิดร่วมกำหนดบทบาท หน้าที่ของแต่ละงานตามความถนัดและกำหนดโซนรับผิดชอบ 

 

30 31

4. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเพิ่มพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

สภาผู้นำผ่านกระบวนการอบรมและพัฒนาศักยภาพตนเองและกลุ่ม และมีความเข้มแข็ง มีความรู้ มีศักยภาพในการวางแผนและการจัดการโดยชุมชน ใช้กระบวนการร่วมคิดร่วมทำในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สภาผู้นำผ่านกระบวนการอบรมและพัฒนาศักยภาพตนเองและกลุ่ม และมีความเข้มแข็ง มีความรู้ มีศักยภาพในการวางแผนและการจัดการโดยชุมชน ใช้กระบวนการร่วมคิดร่วมทำในชุมชน
ได้ผลผลิตดังนี้ 1.แผนที่เดินดิน 6 โซน 2.แผนที่เดินดินทั้งหมู่บ้าน 1 แผ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดอบรมสภาผู้นำให้มีความรู้การขับเคลื่อนชุมชนด้วยสภาผู้นำการวางระบบการจัดการโดยสภาผู้นำ เช่น การประชุมวางแผนกำหนดปัญหา การถอดบทเรียน บนพื้นฐานของข้อมูล การบันทึกการประชุม ความรู้ของกิจกรรม การประเมินติดตามโครงการ เช่น การทำผังชุมชน (แผนที่เดินดิน) การจัดกระบวนการขั้นตอนการดำเนินงาน การทำข้อมูลประชาชน ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม ทำแผนชุมชนและการประเมินติดตามโครงการ วิธีการถอดบทเรียนแบบพูดคุยสนทนา การเล่าเรื่องและการถาม พร้อมการเขียนรายงานการประชุมและถอดบทเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงาน ทั้ง 30 คน เข้าร่วมอบรม โดยมีนางจินตนา เลาะนะ เป็นวิทยากรในครั้งนี้ เนื่องจากท่านมีความรู้ในการพัฒนาบุคลากรและปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นระยะเวลานาน ในการจัดอบรมสภาผู้นำให้มีความรู้การขับเคลื่อนชุมชนด้วยสภาผู้นำการวางระบบการจัดการโดยสภาผู้นำ เช่น การประชุมวางแผนกำหนดปัญหา การถอดบทเรียน บนพื้นฐานของข้อมูล การบันทึกการประชุม ความรู้ของกิจกรรม การประเมินติดตามโครงการ เช่น การทำผังชุมชน (แผนที่เดินดิน) การจัดกระบวนการขั้นตอนการดำเนินงาน การทำข้อมูลประชาชน ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม ทำแผนชุมชนและการประเมินติดตามโครงการ วิธีการถอดบทเรียนแบบพูดคุยสนทนา การเล่าเรื่องและการถาม พร้อมการเขียนรายงานการประชุมและถอดบทเรียน

 

31 31

5. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่1

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-12.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพี่อชี้แจงรายละเอียดโครงการให้คณะสภาผู้นำรับทราบและปฏิบัติ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน ผลผลิตที่เกิดขึ้น
  1. วันนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน
  2. ได้รายชื่อกลุ่มเยาวชนจูเนียร์ตาสับปะรด จำนวน 40 คน
  3. ได้รายชื่อคณะรับผิดชอบกิจกรรมการจัดเก็บขยะด้วยวิถีมุสลิม 2 คน
  4. แบ่งการดำเนินงานเป็นโซนเขตรับผิดชอบ 6 โซน
  5. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบเรื่องเวทีประชาคม ซึ่งจัดในวันที่ 7 ธันวาคม 2558

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. พี่เลี้ยงประจำพื้นที่มาพบปะคณะทำงานในพื้นที่
  2. ประชุมเพื่อการแบ่งการของคณะทำงาน โดยแบ่งตามเขตรับผิดชอบ
  3. รายละเอียดกิจกรรมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม

09.30 - 11.00 น. นางนิมลต์ หะยีนิมะ พี่เลี้ยงโครงการ มาชี้แจงรายละเอียดโครงการให้คณะทำงาน

11.00 - 12.00 น.จัดหาเด็กเข้ากลุ่มเยาวชนจูเนียร์ตาสับปะรดและหาผู้รับผิดชอบกิจกรรมการจัดเก็บขยะด้วยวิถีมุสลิมและสรุปถอดบทเรียนร่วมกัน

 

30 30

6. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน
  • เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำเอกสารการเงินที่ถูกต้องและอบมรมเรื่องเวบไซต์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการจริง 2 คน
  2. ได้ความรู้เกี่ยวกับระบบการหักภาษีณที่จ่าย
  3. ผู้จัดทำโครงการมีความรู้ในการทำเอกสารการเงินและการหักภาษีได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมการเรียนรู้เพื่อทำรายงานผู้รับผิดชอบโครงการ
  2. เรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1
  3. เรื่องการจัดทำหนังสือรับอรงการหักภาษี ณ ที่จ่าย

กิจกรรมที่ทำจริง

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 09.00 - 09.30 น. การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
09.30 - 10.00 น. การจัดเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
10.30 - 11.00 นการหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่
11.00 - 12.00 น. ซักถามแลกเปลี่ยน
13.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้อง
16.00 - 16.30 น. สรุปถอดบทเรียนร่วมกัน

 

2 2

7. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่1

วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดมัสยิด ถนนในชุมชน และทำความสะอาดลำคลอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดบ้านสะอาดชุมชนน่าอยู่โดยใช้หลักธรรมของศาสนาเป็นต้นแบบ โดยอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

1.มีผู้เข้าร่วม 60 คน

ผลลัพธ์

  1. ชาวบ้านร่วมกันทำความสะอาดมัสยิดและตาดีกา
  2. ได้ทำความสะอาดบริเวณบ้านตนเอง
  3. ได้ฟังหลักธรรม เรื่องทำความสะอาด ทำให้ประชาชนตระหนักเรื่องการทิ้งขยะในเขตมัสยิด ตาดีกา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คอเต็บประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสะอาดตามหลักศาสนาที่มัสยิด ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดมัสยิด ถนนในชุมชน และทำความสะอาดลำคลองในหมู่บ้านโดยการขุดลอกคูคลองระบายน้ำ และเก็บขยะโดยประชาชน ทุกวันศุกร์ โดยคณะกรรมการมัสยิดกับครัวเรือน และกลุ่มเยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสัปปะรด ร่วมกันทำความสะอาดเดือนละ 1 ครั้ง และ ประกวดบ้านน่าอยู่

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 13.00 -13.30น. ลงทะเบียน

เวลา 13.30 - 14.00 น. ฟังหลักธรรมจากโต๊ะอิหม่าม เรื่องการรักษาความสะอาด ซึ่งความสะอาดนั้นแท้จริงเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ดังนั้นการจัดการขยะก็เป็นการดูแลรักษาความสะอาดตามหลักศรัทธา

เวลา 14.00 - 16.00 น. ทำความสะอาดบริเวณ มัสยิด ตาดีกา บ้านตนเอง

 

60 60

8. ประชุมเวทีประชาคม เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงให้ชาวบ้านรับทราบรายละเอียดโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีการประชุมคณะทำงาน 1 ครั้ง โดยประชาชน และเยาชนรับทราบ ร่วมคิดร่วมวิพากษ์และกำหนดบทบาทหน้าทีสมาชิกทีมคณะทำงานโครงการ และประธานแกนนำร่วมกัน และออกแบบ กิจกรรมที่กำหนดให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม จำนวน 185 คน และร่วมทำกิจกรรมโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

1.ผู้เข้าร่วมประชุม 190 คน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์

ผลลัพธ์

  1. ประธานโครงการชี้แจงงานดำเนินงานโครงการครั้งนี้ให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบ
  2. แนะนำสมาชิกสภาชุมชนให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบ
  3. ประชาชนมีความสนใจในเรื่องการดำเนินโครงการอย่างดี เห็นได้จากการซักถามเรื่องการทิ้งขยะ การกำจัดขยะในหมู่บ้านว่าต้องทำอย่างไรต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการให้ประชาชนรับทราบ ร่วมคิดร่วมวิพากษ์และกำหนดบทบาทหน้าทีสมาชิกทีมคณะทำงานโครงการ และประธานแกนนำร่วมกัน และออกแบบ กิจกรรมที่กำหนดให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม งบประมาณ จากแหล่ง สสส ค่าอาหารและอาหารว่าง 185 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมที่1ประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจ 1.1 ประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการให้ประชาชนรับทราบ ร่วมคิดร่วมวิพากษ์และกำหนดบทบาทหน้าทีสมาชิกทีมคณะทำงานโครงการ และประธานแกนนำร่วมกัน และออกแบบ กิจกรรมที่กำหนดให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม งบประมาณ จากแหล่ง สสส ค่าอาหารและอาหารว่าง 190 คน ซึ่งจากการขี้แจงโครงการผู้เข้าร่วมได้ซักถามเรื่องการทิ้งขยะการกำจัดขยะในหมู่บ้านว่าต้องทำอย่างไรต่อไป มีผู้เสนอให้ทำถุังขยะจากสัสถุในชุมชน เช่นเศษไม้ และมีผู้เสนอว่า ถ้าขยะขายได้ก็ดี ทุกคนจะได้ไม่ทิ้งขยะ ซึ่งผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นประธานโครงการได้แจ้งว่า นั้นสิ่งที่ชุมชนต้อง และร่วมกันคิกต่อไปว่าจะทำอย่างไร

 

185 190

9. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่2

วันที่ 11 ธันวาคม 2558 เวลา 13.00-16.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสภาผู้นำเข้าใจเรื่องทำโครงการเพิ่มมูลค่าขยะในแนวทางเดียวกัน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

1.ผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน

ผลลัพธ์

  1. ประธานชี้แจงการดำเนินงานครั้งที่ผ่านมาเรื่องการจัดเก็บขยะด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่ 1 ว่า กิจกรรมที่ผานมามีผู้เข้าร่วม 60 คน ได้เข้าร่วมทำความสะอาดบริเวณมัสยิด ตาดีกา และบ้านของตนเอง ทั้งนี้จากการไปตรวจสอบผลพบว่ายังทำความสะอาดไม่ได้ค่อยเรียบร้อย ยังมีเศษขยะหลงเหลืออยู่บ้าง
  2. จากการทำเวทีประชาคม พบว่าประชาชนให้ความสนใจในเรื่องการดำเนินโครงการ และจะให้ความร่วมมือกับคณะทำงานโครงการ
  3. การดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลขยะโดยเยาวชนจูเนียร์ต้องเลื่อนเป็นเดือนมกราคมเนื่องจากภายในเดือนนี้คณะทำงานมีภารกิจในงานราชการอย่างอื่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำ(กรรมการหมู่บ้าน)และคณะทำงานโครงการเพื่อถอดบทเรียนและร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ประชุมวิเคราะห์โครงการและกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ก่อนหลังทำกิจกรรม และประเมินโครงการเป็นระยะๆโดยวิธีการสนทนาเล่าเรื่อง ทุกเดือนๆละ 1ครั้ง เพื่อขับเคลื่อนโครงการก่อนและหลังการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 13.00 น.- 13.30 น. ลงทะเบียน

เวลา 13.30 น.- 14.30 น. ประชุมสภาผู้นำ(กรรมการหมู่บ้าน)และคณะทำงานโครงการสรุปผลการดำเนินงานครั้งที่แล้ว

เวลา 14.30 น.- 16.00 น. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมครั้งต่อไป

 

30 30

10. การจัดเก็บข้อมูลขยะในชุมชนครั้งที่ 1

วันที่ 3 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

การจัดเก็บขยะของ อบต ตามเครื่องมือที่ออกแบบ เช่น มีข้อมูลขยะมีกี่กิโล ประเภทขยะมีกี่กิโล การแบ่งโซนพื้นที่ขยะโดยครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีฐานข้อมูลขยะในชุมชน 1 ชุด เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในชุมชนและเกิดเยาวชนนักวิจัยชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิตที่เกิดขึ้น

  • เด็กเข้าร่วม 40 คน
  • เด็กเก็บขยะได้ 2 โซน คือ
  • เด็กแยกขยะได้ 4 ประเภท ดังนี้ โซนไอร์ยะกา
  1. เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 7 กิโลกรัม
  2. เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 5 กิโลกรัม
  3. เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 8.6 กิโลกรัม
  4. เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม
    โดยโซนโซนลูโบ๊ะแปะ

  5. เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 3 กิโลกรัม

  6. เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 2 กิโลกรัม
  7. เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 2.5 กิโลกรัม
  8. เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม
  • ทั้งนี้ประชาชนได้ให้การตอบรับอย่างดีตอนที่เด็กไปเก็บขยะตามบ้าน ถนน เพราะช่วยให้เด็กใช้เวลาว่างวันเสาร์ช่วยดูแลความสะอาดในหมู่บ้าน หลังจากเด็กเก็บจากที่ต่างๆแล้วจะมาชั่งน้ำหนักที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน เพื่อแยกการกำจัดขยะตามประเภทขยะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสับปะรดจัดเก็บข้อมูลในชุมชนตามครัวเรือน ร้านค้า และการจัดเก็บขยะของ อบต ตามเครื่องมือที่ออกแบบ เช่น มีข้อมูลขยะมีกี่กิโล ประเภทขยะมีกี่กิโล การแบ่งโซนพื้นที่ขยะโดยครัวเรือน และเยาวชนร่วมกันคิดออกแบบและจัดทำแผนที่เดินดินด้านขยะชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

เวลา 09.00 - 12.00 น. เด็กเก็บขยะถนน บ้าน และบริเวณบ้านโซนไอร์ยะกา ระยะทางประมาณ 500 เมตร

เวลา 13.00 - 16.00 น. เด็กเก็บขยะถนน บ้าน และบริเวณบ้านโซนลูโบ๊ะแปะ ระยะทาง 1 กิโลเมตร

 

40 40

11. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่3

วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 13.00น. -16.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแจ้งสภาผู้นำและคณะทำงานเข้าใจเรื่องโครงการและความเคลื่อนไหวของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน

ผลลัพธ์

2.ประธานชี้แจงการดำเนินงานครั้งที่ผ่านมาเรื่องการจัดเก็บขยะได้ 2 โซน โดยให้เยาวชนจูเนียร์เป็นผู้ดำเนินการทำสำเร็จแล้ว ทั้งนี้เหลืออีก 4 โซนให้ดำเนินการต่อไป 3.จากการดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลขยะโดยเยาวชนจูเนียร์ ประชาชนในหมู่บ้านให้ความร่วมมืออย่างดี 4.เยาวชนจูเนียร์นำขยะที่ได้ไปเก็บที่ธนาคารขยะเพื่อรวบรวมนำมาประดิษฐ์เป็นผลิตพันธ์ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำ(กรรมการหมู่บ้าน)และคณะทำงานโครงการเพื่อถอดบทเรียนและร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ประชุมวิเคราะห์โครงการและกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ก่อนหลังทำกิจกรรม และประเมินโครงการเป็นระยะๆโดยวิธีการสนทนาเล่าเรื่อง ทุกเดือนๆละ 1ครั้ง เพื่อขับเคลื่อนโครงการก่อนและหลังการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 13.00 น.-13.30 น. ลงทะเบียน

เวลา 13.30 น.-14.30 น. ประชุมสภาผู้นำ(กรรมการหมู่บ้าน)และคณะทำงานโครงการสรุปผลการดำเนินงานครั้งที่แล้ว

เวลา 14.30 น.-16.00 น. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมครั้งต่อไป

 

30 30

12. การจัดเก็บข้อมูลขยะในชุมชนครั้งที่ 2

วันที่ 10 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสับปะรดจัดเก็บข้อมูลในชุมชนตามครัวเรือน ร้านค้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีฐานข้อมูลขยะในชุมชน 1 ชุด เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในชุมชนและเกิดเยาวชนนักวิจัยชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิตที่กิดขึ้น

  • เด็กเข้าร่วม 40 คน
  • เด็กเก็บขยะได้ 2 โซน
  • เด็กแยกขยะได้ 4 ประเภทโดยโซนบาลาบน

1.เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 3 กิโลกรัม
2.เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 6 กิโลกรัม 3.เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 4 กิโลกรัม
4.เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

โดยโซนโซนสะบือรัง

1.เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 6 กิโลกรัม
2.เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 7 กิโลกรัม 3.เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 3 กิโลกรัม
4.เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

  • ทั้งนี้ประชาชนได้ให้การตอบรับอย่างดีตอนที่เด็กไปเก็บขยะตามบ้าน ถนน เพราะช่วยให้เด็กใช้เวลาว่างวันเสาร์ช่วยดูแลความสะอาดในหมู่บ้าน หลังจากเด็กเก็บจากที่ต่างๆแล้วจะมาชั่งน้ำหนักที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน เพื่อแยกการกำจัดขยะตามประเภทขยะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสับปะรดจัดเก็บข้อมูลในชุมชนตามครัวเรือน ร้านค้า และการจัดเก็บขยะของ อบต ตามเครื่องมือที่ออกแบบ เช่น มีข้อมูลขยะมีกี่กิโล ประเภทขยะมีกี่กิโล การแบ่งโซนพื้นที่ขยะโดยครัวเรือน และเยาวชนร่วมกันคิดออกแบบและจัดทำแผนที่เดินดินด้านขยะชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

เวลา 09.00 - 12.00 น. เด็กเก็บขยะตามถนน บ้าน และบริเวณบ้านโซนสะบือรัง ประมาณ 600 เมตร

เวลา 13.00 - 16.00 น. เด็กเก็บขยะตามถนน บ้าน และบริเวณบ้านโซนบาลาบน ประมาณ 400 เมตร

 

40 40

13. การจัดเก็บข้อมูลขยะในชุมชนครั้งที่ 3

วันที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสับปะรดจัดเก็บข้อมูลในชุมชนตามครัวเรือน ร้านค้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีฐานข้อมูลขยะในชุมชน 1 ชุด เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในชุมชนและเกิดเยาวชนนักวิจัยชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  • เด็กเข้าร่วม 40 คน
  • เด็กเก็บขยะได้ 2 โซน
  • เด็กแยกขยะได้ 4 ประเภท โดยโซนไอร์บือซี

1.เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 7 กิโลกรัม
2.เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 9 กิโลกรัม 3.เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 2 กิโลกรัม
4.เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

โดยโซนปาลอฆือเตาะ

1.เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 2 กิโลกรัม
2.เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 7 กิโลกรัม 3.เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 3 กิโลกรัม
4.เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

  • ทั้งนี้ประชาชนได้ให้การตอบรับอย่างดีตอนที่เด็กไปเก็บขยะตามบ้าน ถนน เพราะช่วยให้เด็กใช้เวลาว่างวันเสาร์ช่วยดูแลความสะอาดในหมู่บ้าน หลังจากเด็กเก็บจากที่ต่างๆแล้วจะมาชั่งน้ำหนักที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน เพื่อแยกการกำจัดขยะตามประเภทขยะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสับปะรดจัดเก็บข้อมูลในชุมชนตามครัวเรือน ร้านค้า และการจัดเก็บขยะของ อบต ตามเครื่องมือที่ออกแบบ เช่น มีข้อมูลขยะมีกี่กิโล ประเภทขยะมีกี่กิโล การแบ่งโซนพื้นที่ขยะโดยครัวเรือน และเยาวชนร่วมกันคิดออกแบบและจัดทำแผนที่เดินดินด้านขยะชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

เวลา 09.00 - 12.00 น. เด็กเก็บขยะตามถนน บ้าน และบริเวณบ้านไอร์บือซี ประมาณ 800 เมตร

เวลา 13.00 - 16.00 น. เด็กเก็บขยะตามถนน บ้าน และบริเวณบ้านปาลอฆือเตาะ ประมาณ 300 เมตร

 

40 40

14. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่2

วันที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 13.00น. - 16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดมัสยิด ถนนในชุมชน และทำความสะอาดลำคลอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดบ้านสะอาดชุมชนน่าอยู่โดยใช้หลักธรรมของศาสนาเป็นต้นแบบ โดยอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วม 60 คน

ผลลัพธ์
2.ชาวบ้านได้ร่วมกันทำความสะอาดบริเวณมัสยิด และโรงเรียนตาดีกา (โรงเรียนสอนอิสลามศึกษาเบื้องต้น ทำการเรียนในวันเสาร์อาทิตย์) และยังทำความสะอาดบิเวณบ้านตนเอง ทำให้บริเวณมัสยิดและบ้านเรือนเกิดความสะอาด ผู้คนในชุมชนได้เข้ามาช่วยเหลือกัน ได้พูดคุยกันและมีความสุขที่ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วยังได้ผลบุญด้วย เนื่องจากเป็นทำตามหลักการศาสนาอิสลาม ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนรักษาความสะอาด ซึ่งความสะอาดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ผู้ที่รักษาความสะอาดเป็นผู้ที่มีศรัทธาต่อพระเจ้าด้วยเช่นกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อิหม่ามประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสะอาดตามหลักศาสนาที่มัสยิด ประชาสัมพันธ์ให้มีการร่วมทำความสะอาดบ้านเรือนของตนเองทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดมัสยิด ถนนในชุมชน และทำความสะอาดลำคลองในหมู่บ้านโดยการขุดลอกคูคลองระบายน้ำ และเก็บขยะโดยประชาชน ทุกวันศุกร์ โดยคณะกรรมการมัสยิดกับครัวเรือน และกลุ่มเยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสัปปะรด ร่วมกันทำความสะอาดเดือนละ 1 ครั้ง และ ประกวดบ้านน่าอยู่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดกิจกรรมในวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันที่คนในชุมชนมาละมาดรวมกันที่มัสยิด หลังจากละมาดวันศุกณ์เสร็จ โต๊ะอีม่ามได้กล่าวคุตเบาะฮ์ (เทศนา)ให้ผู้มาละมาดฟังในเรื่อง เรื่องหลักการอิสลามกับการรักษาความสะอาด หลังจากเสร็จก็ทานอาหารว่างร่วมกัน และร่วมกันทำความสะอาดบริเวณมัสยิด ตาดีกา บ้านตนเอง

 

60 60

15. วิเคราะห์ข้อมูลขยะ

วันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 10.00น.-14.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสรุปสถานการณ์ขยะและจัดทำแผนปฏิบัติการลดขยะในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ข้อสรุปฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  1. ผู้เข้าร่วมประชุม 50 คน
  2. ตัวแทนประชาชนใน ม.5 บ้านบาลารับรู้ถึงสถานการณ์ขยะในพื้นที่ สามารถสรุป 3 วันที่เยาวชนจูเนียร์เก็บขยะได้ดังนี้
  • เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 28 กิโลกรัม
  • เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 36 กิโลกรัม
  • เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 23.1 กิโลกรัม
  • เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

ผลลัพธ์

  1. ประชาชนยังทิ้งขยะไม่ถูกวิธี
  2. ประชาชนส่วนใหญ่ยังจำแนกวิธีการทิ้งขยะไม่ถูกตามประเภทของขยะ
  3. ประชาชนส่วนใหญ่ใช้พลาสติกในการดำเนินชีวิตประจำวัน
  4. มีแกนนำเยาวชนจูเนียร์คอยแนะนำการทิ้งขยะในหมู่บ้าน เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักเรื่องการใช้ ทิ้ง ทำลายขยะ
  5. การดำเนินงานเก็บขยะในแต่ละโซนหมู่บ้านทำให้เป็นการดูแลสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านอย่างทั่วถึง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตัวแทนครัวเรือนและตัวแทนเยาวชนจูเนียร์จิตอาสาตาสับปะรดและอาสาสมัครคัดแยกขยะ ร่วมกับและผู้นำผู้ใหญ่บ้าน และสภาผู้นำร่วมด้วยคณะทำงานโครงการร่วมวิเคราะห์ข้อมูลขยะ

กิจกรรมที่ทำจริง

10.00 น.-10.30 น. ลงทะเบียน

10.30 น.-12.00 น. นำเสนอผลการดำเนินงานเก็บขยะในพื้นที่ โดยเยาวชนจูเนีย ได้นำขยะมาแสดงให้ดูแต่ละประเภท และนำเสนอในเวทีให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ประเภทของขยะในชุมชนจากข้อมูลที่เก็บมาได้

12.00 น.-13.30 น. พักรัปประทานอาหารพร้อมละหมาด

13.30 น.-14.30 น. สรุปสถานการณ์ขยะในพื้นที่หมู่ 5 บ้านบาลา

14.30 น. ปิดการประชุม

 

50 50

16. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่4

วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 15.30 -16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อชี้แจงคณะสภาผู้นำเข้าใจในการทำงานอย่างเป็นระบบที่ตั้งไว้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการขยะผ่านการประชุมร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้วางแผนการประชาสัมพันธ์การทำกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบ โดยมอบหมายให้ทีมสภาผู้นำทำหน้าที่ประสานผู้เข้าร่วม และกำหนดจัดในวันที่ 28-29 มกราคม 59 เนื่องจากทีมวิทยากรมีความพร้อมและสะดวกในการมาร่วมทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำ(กรรมการหมู่บ้าน)และคณะทำงานโครงการเพื่อถอดบทเรียนและร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ประชุมวิเคราะห์โครงการและกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ก่อนหลังทำกิจกรรม และประเมินโครงการเป็นระยะๆโดยวิธีการสนทนาเล่าเรื่อง ทุกเดือนๆละ 1ครั้ง เพื่อขับเคลื่อนโครงการก่อนและหลังการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 13.00 - 13.15 น. ลงทะเบียน

เวลา 13.15 - 15.30 น. ประธานได้จัดประชุมสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นกับคณะทำงาน และวางแผนการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดเก็บขยะ ที่จะจัดในครั้งต่อไป

เวลา 15.30 - 16.00 น. ประธานได้ปิดการประชุมพร้อมรับประทานอาหารว่างร่วมกัน

 

30 30

17. อบรมให้ความรู้การจัดเก็บขยะอย่างครบวงจร วันที่ 1

วันที่ 28 มกราคม 2559 เวลา 09.00น. -16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ความรู้เรื่องกระบวนจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การคัดแยก การจัดเก็บ การกำจัด และการเพิ่มมูลค่าขยะใช้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายครัวเรือน และกลุ่มเยาชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมตามเป้าหมายที่กำหนด และมีทักษะเชิงปฏิบัติในการส่งเสริมชุมชนในการลดการใช้ขยะ คัดแยกขยะ เก็บขยะในบ้านของตนเองมาให้ศูนย์คัดแยกขยะและร่วมกันคัดแยกขยะ และสามารถเก็บข้อมูลขยะได้ มีการจัดเก็บข้อมูลขยะในชุมชนตามเครื่องมือที่ออกแบบ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  • ผู้เข้าร่วม 140 คน

ผลลัพธ์

  • ประชาชนมีความรู้เรื่องประเภทของขยะ สามารถคัดแยกขยะได้เองที่บ้าน ก่อนนำไปทิ้ง
  • ประชาชนสามารถทำลายขยะได้ถูกวิธี
  • มีการรวมตัวของประชาชนในหมู่บ้านสามารถแลกเปลี่ยนเรื่องเอกสารต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน มาเล่าสู่กันฟัง
  • ประชาชนมีโรงเรียนเป็นที่ปรึกษาในเรื่องการนำขยะให้เป็นประโยชน์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อบรมให้ความรู้เรื่องกระบวนจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การคัดแยก การจัดเก็บ การกำจัด และการเพิ่มมูลค่าขยะใช้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายครัวเรือน และกลุ่มเยาชน และการทำข้อมูลและออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลขยะที่คลอคลุม เช่นข้อมูลประเภทขยะ จำนวน สาเหตุการเกิดขยะ การจัดเก็บ หรือทำลายขยะเป็นอย่างไร เพื่อ ครัวเรือนสามารถ ลดการใช้ขยะ คัดแยกขยะ เก็บขยะในบ้านของตนเองมาให้ศูนย์คัดแยกขยะและร่วมกันคัดแยกขยะ และสามารถเก็บข้อมูลขยะของชุมชนได้

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00-09.30 น. ลงทะเบียน

เวลา 09.30-10.30 น. บรรยายเรื่องประเภทขยะ และการนำขยะไปดัดแปลงรีไซเคิล เพื่อเพิ่มมูลค่าและนำไปใช้ต่อได้ โดยคุณสุธีมนต์ สกุลวิศัลย์ ครูโรงเรียนเทพประสานบ้านเจ๊ะเต็ง
เวลา 10.30-11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 11.00-12.00 น. บรรยายเรื่องประเภทของขยะ(ต่อ)

เวลา 12.00-13.30 น.พักรับประทานอาหารกลางวันพร้อมละหมาดซุฮรี

เวลา 13.30 - 15.30 น. บรรยายเรื่องการเก็บขยะและทำลายขยะ

เวลา 15.30 - 15.50 น. พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 15.50 -16.30 น.บรรยายเรื่องการลดการใช้ขยะ

 

140 151

18. อบรมให้ความรู้การจัดเก็บขยะอย่างครบวงจร วันที่ 2

วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 09.00 -16.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ความรู้การจัดเก็บขยะอย่างครบวงจร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมตามเป้าหมายที่กำหนด และมีทักษะเชิงปฏิบัติในการส่งเสริมชุมชนในการลดการใช้ขยะ คัดแยกขยะ เก็บขยะในบ้านของตนเองมาให้ศูนย์คัดแยกขยะและร่วมกันคัดแยกขยะ และสามารถเก็บข้อมูลขยะได้ มีการจัดเก็บข้อมูลขยะในชุมชนตามเครื่องมือที่ออกแบบ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต - ผู้เข้าร่วม จำนวน 152 คน

ผลลัพธ์

  • ประชาชนสามารถแยกขยะได้ถูกวิธี
  • ประชาชนสามารถนำขยะมารีไซเคิลโดยได้รับคำปรึกษาจากวิทยากรโรงเรียนเทพประทาน(บ้านเจ๊ะเด็ง)
  • ประชาชนเริ่มตระหนักเรื่องการใช้พลาสติกมากขึ้น เนื่องจากถุงพลาสติกไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อบรมให้ความรู้เรื่องกระบวนจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การคัดแยก การจัดเก็บ การกำจัด และการเพิ่มมูลค่าขยะใช้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายครัวเรือน และกลุ่มเยาชน และการทำข้อมูลและออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลขยะที่คลอคลุม เช่นข้อมูลประเภทขยะ จำนวน สาเหตุการเกิดขยะ การจัดเก็บ หรือทำลายขยะเป็นอย่างไร เพื่อ ครัวเรือนสามารถ ลดการใช้ขยะ คัดแยกขยะ เก็บขยะในบ้านของตนเองมาให้ศูนย์คัดแยกขยะและร่วมกันคัดแยกขยะ และสามารถเก็บข้อมูลขยะของชุมชนได้

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน

เวลา 09.30 - 10.30 น. บรรยายเรื่องการคัดแยกขยะ โดยคุณอัครเดช วัฒนเสรีกุล ครูโรงเรียนเทพประทานบ้านเจ๊ะเด็ง

เวลา 10.30 - 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 11.00 - 12.00 น. บรรยายเรื่องการคัดแยกขยะ (ต่อ)

เวลา 12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวันพร้อมละหมาด

เวลา 13.30 - 15.00 น. บรรยายเรื่อง การนำขยะมาใช้ประโยชน์

เวลา 15.00 - 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 15.30 - 16.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนกับวิทยากรเรื่องขยะ

 

140 152

19. การถ่ายทอดและการสื่อสารข้อมูลสู่ชุมชน

วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้ความรู้เรื่องขยะแก่ประชาชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดการร่วมคิดร่วมทำแผนชุมชนจัดการขยะของคนในชุมชน โดย กลุ่มครัวเรือน กลุ่มเยาชน และสภาผู้นำร่วมด้วยคณะทำงานโครงการ และช่วยสร้างการยอมรับในกิจกรรมของชุมชนด้านการจัดการขยะ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต

  • ผู้เข้าร่วม 165 คน
  • แจ้งสถานการณ์ขยะจาก 3 วันที่เยาวชนจูเนียร์เก็บขยะได้ดังนี้

1.เด็กเก็บขยะประเภทขยะแห้ง 28 กิโลกรัม
2.เด็กเก็บขยะประเภทขยะเปียก 36 กิโลกรัม 3.เด็กเก็บขยะประเภทขยะรีไซเคิล 23.1 กิโลกรัม
4.เด็กเก็บขยะประเภทขยะอันตราย 0 กิโลกรัม

ผลลัพธ์

  • มีแผนการจัดการขยะ 1 แผน
  • ประชาชนและคณะทำงานมีความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาขยะในหมู่บ้านตนเอง
  • ประชาชนสามารถนำขยะที่คัดแยกแล้วไปขายให้ธนาคารขยะ
  • คณะทำงานร่วมกับประชาชนจัดตั้งธนาคารขยะ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
  • หาคณะทำงานธนาคารขยะในการประชุมสภาชุมชนครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมคืนข้อมูลขยะสู่ชุมชนโดย จัดประชุมกลุ่มครัวเรือน กลุ่มเยาวชน และผู้นำผู้ใหญ่บ้าน และสภาผู้นำร่วมด้วยคณะทำงานโครงการเพื่อทำแผนปฏิบัติการร่วมกันในการจัดการขยะ

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00-09.30 น. ลงทะเบียน
เวลา 09.30-10.30 น. ประธานโครงการเสนอข้อมูลขยะในหมู่บ้าน

เวลา 10.30-11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 11.00-12.00 น. ร่วมทำแผนการจัดการขยะ

เวลา 12.00-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.30-16.30 น. ร่วมทำแผนการจัดการขยะ(ต่อ)

 

165 165

20. จ่ายภาษีเดือนกุมภาพันธ์ 2559

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00น.-16.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจ่ายภาษีเดือนกุมภาพันธ์ 2559

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เข้าใจเรื่องการจ่ายภาษีโครงการในแต่ละครั้งที่ทำโครงการ ต้องจ่ายเดือนต่อเดือน ไม่เกินภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อจ่ายภาษีโครงการชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ณ ที่จ่ายที่สรรพกรอำเภอแว้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

นำใบหักภาษีเดือนมกราคม 2559 ในโครงการชุมชนบ้านบาลาเพิ่มมูลค่าขยะเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายที่สรรพกรอำเภอแว้ง จ.นราธิวาส

 

1 1

21. จัดทำรายงานความก้าวหน้า งวดที่ 1

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00น.-16.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ งวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รับคำแนะนำการการเขียนรายงานการเงินและรายละเอียดการเขียนโครงการในเวปไซต์ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ถูกต้อง ตรวจสอบได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พี่เลี้ยง สจรส. ตรวจสอบข้อมูลการทำโครงการ การเงิน และรายละเอียดการเขียนโครงการในเวปไซต์

กิจกรรมที่ทำจริง

พี่เลี้ยงพื้นที่ตรวจสอบและแนะนำเพิ่มเติมการเขียนรายงานการเขียนโครงการในเวบไซต์ และให้พี่เลี้ยง สจรส. ตรวจสอบข้อมูลการทำโครงการ การเงิน และรายละเอียดการเขียนโครงการในเวปไซต์

 

2 4

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 63 21                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 193,950.00 104,206.00                  
คุณภาพกิจกรรม 84 63                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน
  1. ยังพบขยะตามท้องถนนเป็นประปราย
  2. ไม่มีแหล่งพักขยะ

1.นักท่องเที่ยวมักทิ้งขยะบริเวณถนนตามไหล่ทาง 2.ไม่มีงบประมาณจัดทำที่พักขยะรีไซเคิล

  1. จัดจุดทิ้งขยะให้นักท่องเที่ยวเป็นระยะๆบริเวณถนน เป็นถังขยะธรรมชาติจากวัสดุไม้ในท้องถิ่น
  2. ใช้วัสดุจากชุมชน แรงงานชุดคุ้มครองหมู่บ้าน ชุดรักษาความปลอดภัย สนับสนุนจากคณะกรรมการหมู่บ้าน คนในชุมชน และหน่วยงานต่างๆในพื้นที่

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. จ่ายภาษีเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ( 25 ก.พ. 2559 )
  2. จัดทำรายงานความก้าวหน้า งวดที่ 1 ( 27 ก.พ. 2559 )
  3. การจัดตั้งธนาคารขยะของชุมชนบ้านบาลา ( 4 มี.ค. 2559 )
  4. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่5 ( 10 มี.ค. 2559 )
  5. ประชุมสภาผู้นำ(คณะกรรมการ)และประชาชนร่วมกันทำฮูกมปากัตครั้งที่ 1 ( 14 มี.ค. 2559 )
  6. ประชุมสภาผู้นำ(คณะกรรมการ)และประชาชนร่วมกันทำฮูกมปากัตครั้งที่2 ( 15 มี.ค. 2559 )
  7. ประชุมสภาผู้นำ(คณะกรรมการ)และประชาชนร่วมกันทำฮูกมปากัตครั้งที่3 ( 16 มี.ค. 2559 )
  8. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่3 ( 19 มี.ค. 2559 )
  9. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่4 ( 24 มี.ค. 2559 )
  10. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 6 ( 31 มี.ค. 2559 )
  11. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 7 ( 7 เม.ย. 2559 )
  12. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่5 ( 16 เม.ย. 2559 )
  13. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 8 ( 12 พ.ค. 2559 )
  14. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 9 ( 16 มิ.ย. 2559 )
  15. อบรมสร้างผลงานนวัตกรรมจากขยะรุ่นที่1 ( 26 มิ.ย. 2559 )
  16. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่1 ( 27 มิ.ย. 2559 )
  17. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการครั้งที่ 10 ( 14 ก.ค. 2559 )
  18. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่6 ( 15 ก.ค. 2559 )
  19. อบรมสร้างผลงานนวัตกรรมจากขยะรุ่นที่2 ( 15 ก.ค. 2559 )
  20. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่2 ( 16 ก.ค. 2559 )
  21. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่3 ( 17 ก.ค. 2559 )
  22. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่4 ( 18 ก.ค. 2559 )
  23. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่5 ( 19 ก.ค. 2559 )
  24. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่6 ( 20 ก.ค. 2559 )
  25. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่7 ( 21 ก.ค. 2559 )
  26. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่8 ( 22 ก.ค. 2559 )
  27. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่9 ( 23 ก.ค. 2559 )
  28. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่10 ( 24 ก.ค. 2559 )
  29. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่11 ( 25 ก.ค. 2559 )
  30. ประดิษฐ์ผลงานจากขยะครั้งที่12 ( 26 ก.ค. 2559 )
  31. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่7 ( 29 ก.ค. 2559 )
  32. จ่ายภาษีเดือนกรกฎาคม 2559 ( 5 ส.ค. 2559 )
  33. จัดเก็บขยะให้ชุมชนสะอาดด้วยวิถีมุสลิมครั้งที่8 ( 12 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย มะอะฮูมือรี ยูนุ๊
ผู้รับผิดชอบโครงการ