task_alt

ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

ชุมชน บ้านทำนบ หมู่ 5 ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส

รหัสโครงการ 58-03788 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2219

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน มีนาคม 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศ

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนด้านการปฐมนิเทศโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เข้าใจการจัดทำรายงานกิจกรรม และการจัดการเอกสารการเงิน สามารถลงปฏิทินได้เสร็จ และเข้าใจการทำโครงการชุมชนน่าอยู่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการ ณ สจรส.ม.อ. มีการบรรยายให้ความรู้เรื่องหลักการทำโครงการ โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการใช้เวบไซต์คใต้สร้างสุข การจัดทำเอกสารการเงินและรายงานผลดำเนินกิจกรรม โดยทีมพี่เลี้ยงและทีม สจรส.ม.อ.

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการ ณ สจรส.ม.อ. มีการบรรยายให้ความรู้เรื่องหลักการทำโครงการ โดย อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการใช้เวบไซต์คใต้สร้างสุข การจัดทำเอกสารการเงินและรายงานผลดำเนินกิจกรรม โดยทีมพี่เลี้ยงและทีม สจรส.ม.อ.

 

2 2

2. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 1

วันที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเตรียมความพร้อมการจัดการชี้เแจงวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชุมชนมีภาวะผู้นำ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมจนเสร็จสิ้นกิจกรรมประชาชนมีความสุขในการร่วมกิจกรรมและพร้อมทุ่มเท กำลังกาย ใจ และสร้างความผูกพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนผู้ใหญ่กับเด็กๆ เกิดความสามัคคีภายในชุมชนของตนเอง อย่างมีความสุขและเป็นไปตามความตั้งใจของการจัดกิจจกรรมครั้งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ เพื่อถอดบทเรียนและร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ประชุมวิเคราะห์โครงการและกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ก่อนหลังทำกิจกรรม และประเมินโครงการเป็นระยะๆโดยวิธีการสนทนาเล่าเรื่อง ทุกเดือนๆละ 1ครั้ง เพื่อขับเคลื่อนโครงการก่อนและหลังการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. แจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการให้แก่คณะทำงาน
  2. แบ่งหน้าที่ของคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน)
  3. แจ้งรายละเอียดของกิจกรรมในโครงการ

 

25 30

3. เตรียมความพร้อมจัดตั้งสภาผู้นำและคณะทำงาน (คณะกรรมการหมู่บ้าน)

วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อร่างการจัดตั้งสภาชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้สภาผู้นำชุมชนร่วมคิดวางแผนแก้ปัญหาชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการจัดประชุมร่วมกันร่างการจัดตั้งคณะกรรมชุมชน จำนวน 40 คน และจัดตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร ร่วมทั้งพี่้เลี้ยงเข้ามาชี้แจงรายละเอียด เช่น การจัดตั้งสภาชุมชน เพื่อขับเคลื่่อนโครงการทำนบร่วมสร้างรายได้สร้างอาชีพอยู่อย่างพอเพียง และ การทำอาชีพหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความร่วมมือของชาวบ้านทุกคนมีความเข้าใจและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับการจัดกิจกรรม
  • วิดีโอที่ได้ชมทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชนของเรา ได้เรียนรู้วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินโครงการ สามารถนำไปประยุกต์ตามวิธีการ รวมถึงข้อซักถามของผู้เข้าร่วมประชุม มีทั้งปัญหาในหมู่บ้าน จะต้องปฎิบัติอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อหมู่บ้านมากที่สุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คัดเลือกสภาผู้นำ มีผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอิหม่าม สมาชิก อบต. ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มสตรีกลุ่มเยาวชน กลุ่มกองทุนหมู่บ้านอสม.กลุ่มอาชีพต่างๆคณะกรรมการหมู่บ้านในชุมชนกลุ่มกองทุน จำนวน 25 คน และร่วมคิดร่วมกำหนดบทบาท หน้าที่ของแต่ละงานตามความถนัดและกำหนดโซนรับผิดชอบ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการสภาผู้นำ พี่เลี้ยงได้ชี้แจงของโครงการหลักๆ ที่ผู้นำและคณะทำงานโครงต้องรับทราบ คือ ที่มาของโครงการ งบประมาณ วิธีการดำเนินงานของโครงการ และพี่เลี้ยงได้นำเสนอโครงการเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงผ่านวิดีโอให้ผู้เข้าร่วมประชุมชมความสำเร็จของหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทุกคนมีความสนใจและพร้อมที่จะดำเนินโครงการที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้านของตนเอง

 

25 40

4. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 2

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดเตรียมคณะทำงานและแบ่งหน้าที่ของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุมนำเสนอ ว่า ควรมีการจัดกิจกรรมประเพณีการกวนอะซูรอพร้อมกันในเวทีเปิดโครงการ ซึ่งการกวนอาซูรอ (นำอาหาร แป้ง ข้าวสาร น้ำตาล ถั่ว มากวนรวมกัน) เป็นประเพณีวัฒนธรรมของคนในชุมชนที่ทำทุกปี และจะทำให้เวทีเปิดโครงการมีผู้เข้าร่วมเยอะ และจะได้รับการสนับสนุนจาก ครือข่าย อบต ปลัดตำบลบางปอด้วย ร่วมทั้งมีการจัดกิจกรรมกีฬาสีตาดีกา เพื่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างเด็กและผู้ปกครองเกิดกระบวนการ เกิดการร่วมคิดร่วมทำการวางแผน เกิดรูปแบบการสร้างเครือข่ายในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ เพื่อถอดบทเรียนและร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ประชุมวิเคราะห์โครงการและกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ก่อนหลังทำกิจกรรม และประเมินโครงการเป็นระยะๆโดยวิธีการสนทนาเล่าเรื่อง ทุกเดือนๆละ 1ครั้ง เพื่อขับเคลื่อนโครงการก่อนและหลังการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน30 คน ประชุมเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ

 

25 30

5. อบรมการเขียนรายงาน

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนด้านการเขียนรายงานและการจัดทำเอกสารการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • รับรู้และเข้าใจการทำภาษีในเรื่องของค่าจ้าง ค่าวิทยากร และในกรณีการหักภาษีและเข้าใจการกรอกข้อมูลเข้าระบบเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเรียนรู้การจัดทำหลักการเสียภาษี โครงการ และร่วมฝึกประสบการณ์ในการคีย์ข้อมูลลงระบบ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เข้าร่วมประชุมอบรมการทำรายงาน การทำหลักฐานรายงานที่ถูกต้อง และวิธีการเขียนใบสำคัญรับเงิน

 

2 2

6. 1.ประชุมชี้แจง เพื่อสร้างวัตถุประสงค์ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันของโครงการ

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ชาวบ้านรับทราบของความเป็นมาของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ชุมชนเกิดสภาผู้นำและคณะทำงาน มีบทบาท หน้าที่ ของสมาชิกและรู้ถึงโครงสร้าง และรูปแบบกิจกรรมที่มีความชัดเจน ทำให้ชุมชนมีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ ลดภาระหนีสิ้น และเป็นแบบอย่างในการขับเคลื่อนเรื่องชุมชนสร้างเศรษฐกิจแบบพอเพียง ลดปัญหาการว่างงาน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ชาวบ้านในชุมชนเกิดสัมพันธ์ที่ดี มีความสามัคคี ความร่วมมือในการมาร่วมทำกิจกรรมเปิดเวทีโครงการและกวนอาซูรอ
  2. ชุมชนทราบถึงความเป็นมาของโครงการ
  3. คณะทำงานโครงการสามารถทำงานได้ตามแผนงานที่จัดเตรียมไว้ได้ตลอดงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมชี้แจง วัตถุประสงค์ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันของโครงการในแต่ละ บทบาทหน้าที่ของแกนนำ สมาชิก และร่วมกันออกแบบ กิจกรรม รับสมัครครัวเรือนขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงและเสริมสร้างอาชีพและอาสาสมัครเยาวชนและกลุ่มสตรี จัดการข้อมูลชุมชนโดยมีการจดบันทึกรายงานการประชุมข้อสรุปที่ขัดเจน
  • ผู้รับผิดชอบโครงการประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมเวทีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 25 คนที่หลากหลายทั้งผู้แทนองค์กรท้องที่ ท้องถิ่น องค์กรศาสนา องค์กรภาคประชาชน เยาวชน สตรี และอื่นๆในชุมชน ติดต่อประสานวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถร่วมในเวทีสร้างความเข้าใจ
  • กำหนดสถานที่ วัน เวลา และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรม เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ในกิจกรรมชี้เเจง เพื่อสร้างวัตถุประสงค์ของโครงการทางคณะกรรมและคณะทำงานโครงการได้ร่วมกับโรงเรียนดารุลบายาน บ้านทำนบ ต.บางปอ อ.เมือง จัดกิจกรรมประเพณีดั้งเดิม การกวนอาซูรอ การเดินขบวนพาเรดของเด็กนักเรียน และการละเล่นกีฬา กิจกรรมนี้เพื่อจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง ชาวบ้านระหว่างชาวบ้าน สมารถสร้างความสามัคคี มีความกระตือรือร้นกับการจัดกิจกรรม ความร่วมมือของชาวบ้านเป็นอย่างดี และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก หน่วยทหารในพื้นที่และปลัดผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลบางปอเป็นอย่างดี

 

350 350

7. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 3

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 20:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อชี้แจงรายละเอียดการพัฒนาศักยภาพชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกิจกรรมและปัญหาเกิดประสิทธิภาพการทำงานของสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการจัดการเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เรื่องเศรษฐกิจชุมชน วางระบบงานและเตรียมพร้อมในการดำเนินการ การพัฒนาศักยภาพและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพแบบพึ่งตนเอง (เลี้ยงปลาดุกด้วยบ่อซีเมนท์) มติที่ประชุมมีมติให้อบรมในรูปแบบการสาธิต และร่วมปฎิบัติเพื่อให้สามารถเห็นรูปแบบที่เป็นรูปธรรม ร่วมถึงการหาแหล่งปลาดุกให้ชุมชน และมอบหมายให้ทีมฝ่ายปกครองทำหน้าที่ประสานเพื่อของบประมาณกับ อบต ในเรื่องการสนับสนุน บ่อซิเมนต์คณะกรรมการ รับทราบในรายละเอียดของกิจกรรมได้ จะนำไปปฎิบัติตามที่ได้วางแผนไว้ เกิดทีมงานทำงานในแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ เพื่อถอดบทเรียนและร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ประชุมวิเคราะห์โครงการและกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ก่อนหลังทำกิจกรรม และประเมินโครงการเป็นระยะๆโดยวิธีการสนทนาเล่าเรื่อง ทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง เพื่อขับเคลื่อนโครงการก่อนและหลังการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ผู้ใหญ่ชี้แจงเรื่องพัฒนาศักยภาพชุมชน
  2. แบ่งหน้าที่และรายละเอียดการดำเนินงานของกิจกรรม

 

25 25

8. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ในสถานที่ ที่ปฎิบัติศาสนกิจของมุสลิม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ทำให้บุคคลที่สูบบุหรี่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยสูบบุหรี่ในเขตบริเวณมัสยิดนั้น เปลี่ยนจากที่เดิมเปลี่ยนเป็นห่างจากผู้คนที่อยู่กลุ่มใหญ่ และมีความเกรงใจมากขึ้น  เพราะมีป้ายการปลอดบุหรี่ เกิดการสำนึกภายในตัว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานโครงการได้ติดป้ายปลอดบุหรีในสถานที่ มัสยิดดารุลบายาน ม.5 ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส

 

230 230

9. พัฒนาศักยภาพชุมชนตามเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มเยาวชนและสตรี สังคม สิ่งแวดล้อมชุมชนมีนำเศรษฐกิจพอเพียงและเกิดกลุ่มบ้านทำบัญชีครัวเรือนเกิดเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้เข้าร่วมอบรมตั้งใจรับความรู้ที่วิทยากรนำเสนอ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทุกคนมีความตั้งใจจะทำและพัฒนาครอบครัวของเองให้อยู่ในหลักแบบไม่ฟุ่มเฟื่อย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน โดยทีมวิทยาแนะนำการเลี้ยงปลาดุกและการปลูกผักอย่างไรให้ปลอดจากสารพิษ และแนะวิธีต่างๆที่ทำให้เกิดรายได้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยเน้นพืชผักที่มีต้นทุนน้อยแต่รายได้ ได้รับหลายครั้ง พร้อมให้การแนะนำห้ามให้ซื้อของกิน ของใช้ที่เกิดอันตรายแก่ชีวิตบนรถที่ขายตามบ้าน ซึ่งพืชผักพวกนี้จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งและร่างกายได้รับสารพิษโดยปกติชุมชนหรือชาวบ้านจะปลูกผักตลอด ไม่เพียงแต่จะบริโภคเอง โดยเน้นครอบครัวนำร่องทำตามเป็นแบบอย่างหลักเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อบรมคนในชุมชนเกี่ยวกับหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 50 ครัวเรือน กำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง โดยสมาชิกมีส่วน ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ให้กลุ่มอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้รับรู้รายรับรายจ่ายวิเคราะห์ข้อมูลตนเอง การลงบัญชี ของบัญชีครัวเรือน การทำข้อมูลและออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจ เช่นรายได้ รายจ่าย หนี้สิน สาเหตุการเกิดเพื่อให้เกิดกลุ่มเยาวชนและสตรีนำเศรษฐกิจพอเพียงและเกิดกลุ่มบ้านทำบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ครั้งที่ 1 เป็นการให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง วิทยากรให้ความรู้เรื่อง การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง"คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเอง การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุลคือมีความสุขที่แท้ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดย ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ - ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต ความพอดีด้านจิตใจ- ต้องเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้ - มีจิตสำนึกที่ดี - เอื้ออาทร ประนีประนอม - นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน- รู้รักสามัคคี - สร้างความเข้มแข้งให้ครอบครัวและชุมชน เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร - พออยู่มีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากความรักและ เอื้ออาทรต่อกัน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการบริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสมดุล และ สืบทอดภูมิปัญญา ร่วมกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะกลายเป็นสังคมแห่งความพอเพียงได้ในที่สุด

 

110 110

10. พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำและคณะทำงาน(คณะกรรมการหมู่บ้าน)

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. พัฒนาผู้นำให้มีภาวะผู้นำเพื่อให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น2. พัฒนาหมู่บ้าน วางแผนการทำงาน ทำงให้เกิดความรู้ เกิดกระบวนการคิดในการทำงานชองสภาชุมชน3. องค์กรชุมชนและเครือข่ายมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองบนพื้นฐานทุนชุมชนอย่างสมดุลชุมชนมีผู้นำที่เสียสละ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ได้สภาผู้นำเข้มแข็ง มีความรู้ มีศักยภาพในการวางแผนและการจัดการโดยชุมชน ใช้กระบวนการร่วมคิดร่วมทำในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานต่างได้เห็นพร้อมเพรียงในเรื่องของสภาที่มีการให้ความรู้ อบรม และคณะทำงานมีความสนใจ กระตือรือร้นที่จะปฎิบัติในเรื่องที่ได้รับความรู้ ซึ่งแต่ละคนมีการสอบถาม เรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำให้มีความเข้มแข็งให้มากขึ้น และพร้อมที่จะร่วมมือ ร่วมใจทำงาน เพื่อให้เกิดชุมชนการช่วยเหลือภายในชุมชนและมีการงาน มีรายได้จากที่ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงการเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแล ให้ชุมชนเพื่อเกิดความสงบต่อชุมชน อยู่กันอย่างผาสุข สุขภาพแข็งแรง จิตใจเบิกบานร่าเริง เป็นชุมชนที่สภาผู้นำที่ดีและเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชนได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดอบรมสภาผู้นำให้มีความรู้การขับเคลื่อนชุมชนด้วยสภาผู้นำการวางระบบการจัดการโดยสภาผู้นำ เช่น การประชุมวางแผนกำหนดปัญหา การถอดบทเรียน บนพื้นฐานของข้อมูล การบันทึกการประชุม ความรู้ของกิจกรรม การประเมินติดตามโครงการ เช่น การทำผังชุมชน แผนที่เดินดิน การจัดกระบวนการขั้นตอนการดำเนินงาน ทำแผนชุมชนและการประเมินติดตามโครงการ วิธีการถอดบทเรียนแบบพูดคุยสนทนา การเล่าเรื่องและการถาม พร้อมการเขียนรายงานการประชุมและถอดบทเรียน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดอบรมสภาผู้นำให้มีความรู้การขับเคลื่อนชุมชน เน้นการรู้จักการวางแผน กระบวนการคิดเป็นลำดับขั้นตอน
  • วิทยากรให้ความรู้ ว่า ในการทำงานของสภาเป็นสังคมที่สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่เป็นภาระผู้อื่น สัมผัสได้ในความเป็นปึกแผ่น แน่นหนา ของความเป็นมิตรภาพ มีความแข็งแรง มั่นคง ยืนหยัด ยั่งยืน มีความพร้อมเพรียง ความสามัคคี อบอุ่น เป็นเอกภาพ ขยัน สร้างสรรค์ ขวนขวาย กระตือรือร้น ที่จะขับเคลื่อนการทำงานใหชุมชนมีความเข็มแข็งมากขึ้น จากที่ไม่เข้าใจในเรื่องของสภาผู้นำ ทำให้เกิดความรู้ลักษณะการทำงานของสภาได้ดีขี้น ชุมชนมีผู้นำที่มีศักยภาพ ขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้

 

25 25

11. พัฒนาศักยภาพชุมชนตามเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที 2

วันที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 13.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อเรียนรู็วิธีการลงบัญชีครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มเยาวชนและสตรี สังคม สิ่งแวดล้อมชุมชนมีนำเศรษฐกิจพอเพียงและเกิดกลุ่มบ้านทำบัญชีครัวเรือนเกิดเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นตัวเองที่จะทำให้เกิดการออม ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีครัวเรือนมีความสำคัญ ดังนี้ ทราบถึงรายรับรายจ่าย เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟฟ้า (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าน้ำมัน ค่าหนังสือตำรา เป็นต้น หรือรายจ่าย อาจไม่ได้รับสิ่งตอบแทนเป็นต้น ทำให้ประชาชนสามารถวางแผนการใช้จ่ายรู้จักการบริหารจัดสรรเงินแต่ละครั้งได้และยังรู้จักการออมภายในครอบครัวมีวินัยการใช้จ่ายรวมถึงสร้างความสามัคคีภายในครอบครัวและยังทำให้เกิดการจดบันทึกระหว่างค่าใช้จ่ายติดเป็นนิสัยทำให้ไม่เกิดหนี้สินตามมาภายในการทำบัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและครอบครัว บัญชีครัวเรือนสามารถจัดได้หมดจึงนับว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อครอบครัวที่เป็นต้นแบบของชุมชนให้มีการออม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อบรมคนในชุมชนเกี่ยวกับหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 50 ครัวเรือน กำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง โดยสมาชิกมีส่วน ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ให้กลุ่มอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้รับรู้รายรับรายจ่ายวิเคราะห์ข้อมูลตนเอง การลงบัญชี ของบัญชีครัวเรือน การทำข้อมูลและออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจ เช่นรายได้ รายจ่าย หนี้สิน สาเหตุการเกิดเพื่อให้เกิดกลุ่มเยาวชนและสตรีนำเศรษฐกิจพอเพียงและเกิดกลุ่มบ้านทำบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ทำการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
  2. วิทยากรทำการเรียนการสอนการทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือนโดยแยกการลงบัญชีให้ถูกกับรายจ่ายในแต่ละวัน

 

110 110

12. พัฒนาศักยภาพชุมชนตามเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 3

วันที่ 6 มีนาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อสอนวิธีการออกแบบข้อมูลอย่างง่าย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลุ่มเยาวชนและสตรี สังคม สิ่งแวดล้อมชุมชนมีนำเศรษฐกิจพอเพียงและเกิดกลุ่มบ้านทำบัญชีครัวเรือนเกิดเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการทำกิจกรรมการออกแบบข้อมูลบัญชีครัวเรือนให้ผู้เข้าร่วมประชุมทำความเข้าใจตามแบบฟอร์มวิทยากรได้ การสอนวิธีการออกแบบข้อมูลบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย และสอนรายละเอียดการลงบัญชีรายรับรายจ่ายให้ครัวเรือนลองกรอกลงบัญชีตามความเป็นจริงในแต่ละวันว่าครัวเรือนมีการลงบัญชีตามที่ออกแบบหรือลงตามช่องการใช้จ่ายถูกต้องหรือไม่กลุ่มแกนนำที่เป็นครัวเรือนต้นแบบมีความกระตือรือร้นในการลงบัญชีสนใจการทำบัญชี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อบรมคนในชุมชนเกี่ยวกับหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 50 ครัวเรือน กำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง โดยสมาชิกมีส่วน ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ให้กลุ่มอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้รับรู้รายรับรายจ่ายวิเคราะห์ข้อมูลตนเอง การลงบัญชี ของบัญชีครัวเรือน การทำข้อมูลและออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจ เช่นรายได้ รายจ่าย หนี้สิน สาเหตุการเกิดเพื่อให้เกิดกลุ่มเยาวชนและสตรีนำเศรษฐกิจพอเพียงและเกิดกลุ่มบ้านทำบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ทำการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ ฝึกการลงบัญชีครัวเรือน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู่การทำบัญชีครัวเรือน ครัวเรือ่นให้ความสนใจ และสอบสอบถามว่า ทำบัยชีครัวเรือนจะได้รู้ที่มาที่ไปของเงินในครอบครัว รายรับรายจ่ายเป็นอย่างไร แต่ปัญหาบางคนเขียนไม่เป็น ก็จะให้บุตรหลานช่วยเขียนบันทึกครัวเรือน

 

110 110

13. รายงานการปิดงวด 1

วันที่ 16 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับคำแนะนำเรื่องการจัดทำเอกสารการเงินให้ถูกต้อง ต้องมีหลักฐานใบเสร็จจากทางร้านค้า และจัดทำเป็นชุดกิจกรรมให้ง่ายในการเรียกตรวจสอบ
  • ได้รับคำแนะนำเรื่องการจัดทำรายงานกิจกรรมในโครงการ ต้องเพิ่มข้อมูลให้ชัดเจน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 1 ทาง สจรส.ม.อ.ทำการตรวจเอกสารการเงินในงวดที่ 1 และตรวจการรายงานกิจกรรมในเวบไซต์

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 43 13                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 187,075.00 64,801.00                  
คุณภาพกิจกรรม 52 39                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. พัฒนาศักยภาพชุมชนตามเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที 2 ( 5 มี.ค. 2559 )
  2. พัฒนาศักยภาพชุมชนตามเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 3 ( 6 มี.ค. 2559 )
  3. รายงานการปิดงวด 1 ( 16 มี.ค. 2559 )
  4. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 4 ( 26 มิ.ย. 2559 )
  5. วิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ( 7 ก.ค. 2559 )
  6. การพัฒนาศักยภาพและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพแบบพึ่งตนเอง (เลี้ยงปลาดุกด้วยบ่อซีเมนท์) ( 16 ก.ค. 2559 )
  7. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่1 ( 17 ก.ค. 2559 )
  8. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 6 ( 19 ก.ค. 2559 )
  9. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 5 ( 19 ก.ค. 2559 )
  10. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 2 ( 22 ก.ค. 2559 )
  11. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 7 ( 24 ก.ค. 2559 )
  12. ประชุมสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ (คณะกรรมการหมู่บ้าน) ครั้งที่ 8 ( 5 ส.ค. 2559 )
  13. การสืบสานวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและระดมความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพเพื่อลดต้นทุน(การลงแขกสร้างอาชีพ)ครั้งที่ 4 ( 13 ส.ค. 2559 )

(................................)
น.ส.นูรีซาน มะซาแม
ผู้รับผิดชอบโครงการ