directions_run

ทำนบร่วมสร้างอาชีพสร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างสภาผู้นำที่เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ?
ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง 2 .สมาชิกสภาผู้นำเข้าร่วมประชุม อย่างน้อยร้อยละ 80

มีการประชุมสภาผู้นำละคณะทำงานโครงการ ซึ่งจะมีสมาชิก 25 คน เพื่อถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนความรู็และความการคิดร่วมกันแก้ปัญหาของแต่ละกิจกรรมทั้งก่อนทำและหลังทำกิจกรรม ซึ่งสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการสามารถประเมินกิจกรรมเป็นครั้งคราว โดยวิธีการพูดคุย สนทนาเล่าเรื่อง ทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

2 สภาพแวดล้อมเกิดความเข็มแข็งในชุมชนและมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ตัวชี้วัด : 1.เกิดกติการ่วมด้านการออมของชุมชน วันละ บาท 2.เกิดกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน

เกิดกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนโดยมีครัวเรือนที่เข้ามาเป็นกลุ่มสมาชิกกองทุน ทำให้ครัวเรือนเกิดการออมซึ่งครัวเรือนที่เป็นสมาชิกนั้น มาเก็บเงินออมทรัพย์เดือนละ 1 ครั้ง โดยแต่ละครัวเรือนสามารถออมได้ตามความสามารถของตนเอง ทำให้กองทุนออมทรัพย์กำหนดวิธีการออม โดยครัวเรือนต้องเก็บออมของแต่ละเดือนไม่เกิน วันที่ 15 ของทุกเดือน และต้องนำสมุดออมทรัพย์มาทุกครั้งกองทุนจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกกองทุน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ ป่วยเป็นไข้ คลอดบุตร และให้ซากาตแก่ผู้ไร้ และทุนการศึกษา ซึ่งเป็นกฏกติการที่กองทุนตั้งไว้ เพื่อการช่วยเหลือยามเดือดร้อนแก่ ชุมชน และเป็นความสมัครใจ กติการ่วมของสมาชิก

3 กลุ่มเยาวชนและสตรีเป็นแบบอย่างในเรื่องของจิตอาสาดำรงรักษาวัฒธรรมลงแขก
ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และครัวเรือนมีจิตอาสา ร่วมกิจกรรมลงแขกกิจกรรมเลี้ยงปลาดุก ตามบ้าน อย่างน้อย 1 กลุ่ม 50 ครัวเรือน

เกิดกลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และครัวเรือนจิตอาสากลุ่มหนึ่งในชุมชน เพื่อการขับเคลื่อนช่วยเหลือคนในชุมชน เกิดการสืบสานวัฒนธรรมการลงแขกที่กำลังจะสูญหาย ซึ่งการลงแขกเป็นวิถีดั้งเดิมของคนในชุมชน ให้คงอยู่ สามารถสร้างความรัก ความสามัคคีระหว่างบ้านต่อบ้าน และเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่ลุกหลานในปัจจุบัน ให้คงดำเนินกิจกรรมการลงแขกต่อไป

4 สร้างชุมชนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด : ในชุมชนมีการทำบัญชีครัวเรือน 50 ครัวเรือน

ครัวเรือนได้เรียนรู้วิธีการลงบัญชี รายรับ รายจ่ายของครัวเรือนตนเอง เกิดความแตกต่างจากที่ไม่เคยทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพราะครัวเรือนไม่สามารถหรือไม่รู้หลักการมาก่อน ทำให้มีการอบอบรมการเขียนบันทึกการใช้จ่ายของครัวเรือนในแต่ละวัน ครัวเรือน 10 ครัวเรือนที่สามารถลงบัญชีการใช้จ่ายแต่ส่วนใหญ่จะทำบางไม่ทำบางเพราะขาดทักษะ ให้เกิดเป็นนิสัยและกิจวัตรประจำวันในการเขียนบันทึกรายรับรายจ่ายของตนเอง เกิดกลุ่มขับเคลื่อนในชุมชน เพราะครัวเรือนจะได้ลดปัญหาการใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อยเกินไปครัวเรือนมีรายได้เท่าไรทำให้รู้ถึงที่มาที่ไปของการใช้เงิน รู้จักค่าของเงิน ใช้เงินให้เกิดประโยชน์กับครัวเรือนลดสิ่งที่ไม่จำเป็น นำไปสู่การออมเงินได้มากที่สุด สามารถนำเงินที่ออมทรัพย์กับกองทุนมาใช้ในเวลาครัวเรือนเดือดร้อน

5 เพื่อจัดการกระบวนการจัดการข้อมูลในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.มีเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลชุมชน 2.เกิดทีมงานหรือกลุ่มสตรีจัดการข้อมูลในชุมชน 1 ทีม 3.เกิดข้อมูลชุมชน

1.ชุมชนมีเครื่องมือนการสำรวจข้อมูล โดยใช้การข้อมูลในการสำรวจ เช่น รายได้ต่อเดือนต่อครัวเรือน การจ่ายใช้จ่ายของครัวเรือน การเพิ่มรายได้ของครัว เพื่อนำวิเคราะห์ถึงปัญหาหรือแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ถูกต้อง 2.เกิดกลุ่มผู้สำรวจของชุมชน เพื่อจัดเก็บข้อมูลและขับเคลื่อนข้อมูลที่ได้ทำการสอบถามถึงปัญหาด้านเศษฐกิจ เช่น ปัญหาการออมทรัพย์ ปัญหาการว่างงาน ทำให้กลุ่มสตรี ที่ว่างงาานฝึกการบันทึกข้อมุลและเป็นการเรียนรู้ภายในตัว
3.เกิดข้อมูลเพื่อนำไปวางแผนเป็นข้อมูลหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านต้องการอาชีพคนในชุมชนมีคนว่างงานกี่คน ชุมชนมีการรณรงค์ปัญหายาเสพติด และกลุ่มสตรีที่ทำการสำรวจจัดเก็บข้อมูลนำไปพัฒนาและต่อยอดให้มีความสอดคล้องในชุมชนต่อไป

6 สร้างอาชีพในชุมชน
ตัวชี้วัด : เกิดการสร้างอาชีพแก่ผู้ว่างงาน 50 ครัวเรือน

ชุมชนมีครัวเรือนที่ยังขาดอาชีพผู้ว่างงานจำนวนไม่น้อยที่ว่างจากอาชีพหลัก เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชนที่ไม่เรียนหนังสื่อ กลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้มีกิจกรรมการการสำรวจ หรือสรา้งอาชีพเสริมให้แก่กลุ่มต่างๆที่ยังว่างอยู่มาทำกิจจกรรม การสำรวจข้อมูล หรือการลงแขกสรา้งอาชีพและอาชีพการทำขนมในชุมชน ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยคณะกรรมการโครงการแล้วเห็นว่าการทำอาชีพเสริมให้แก่ผู้ว่างงานแล้ว ยังสามารถเพิ่มรายได้จากอาชีพหลักได้ โดยนำวัตถุดิบจากชุมชนที่มีอยู่แล้วมาผลิตหรือต่อยอด ได้แก่ การปลูกผักริมรั้ว ทำให้เกิดรายได้แก่ครัวเรือน หลังจากที่เก็บการเกี่ยวมรับประทานแล้ว นำไปขายในตลาดนอกชุมชน การทำขนมตาแปฮูบีกายู (มันสำปะหลัง) ทำการแปรรูปเป็นขนมขบเคี้ยวกินเล่น และการเลี้ยงปลาดุกใช้ระยะเวลา 3 เดือน ในการเลี้ยงที่จะโตเต็มวัย นำไปขายได้ อาชีพเสริมเหล่านี้สามารถทำได้ที่บ้าน โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมาก ในการลงทุน เพราะใช้ระยะสั้นสามารถนำผลผลิตมาขายเพิ่มรายในขณะที่เข้าฤดูฝน ชุมชนยังอาหารบิริโภคและสร้างรายได้และ การสร้างอาชีพเสริมนี้เป็นประโยชน์แก่ครัวเรือนได้มากต่อการเพิ่มรายได้

7 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

1.คณะทำงานโครงการได้เข้าร่วมกิจกรรมกับพี่เลี้ยงสสส สจรส.ม.อ.ศึกษาชุมชนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อมาปรับปรุงพัฒนาต่อชุมชนของเรา ทำให้การเรียนรู้จาก ผู้ที่ประสบผลสำเร็จแล้ว ยังมาบอกเล่าถึงการทำอย่างไรให้ชุมชนหันมาใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ทการลดความขัดแย้ง ลดหนี้สิ้น ลดการว่างงาน ลดยาเสพติดที่มีผลต่อการเปลี่ยนของชุมชนให้หายไปจากกลุ่มเยาวชนที่ไม่เรียนหรือเด็กนักเรียน แม่กระทั่งผู้ปกครองในชุมชนซึ่งกิจกรรมที่ทาง สสส.ได่จัดขึ้นนั้นเป็นจุดๆหนึ่งที่จะทำใ้ชุมชนที่กำลังพัฒนาในด้านต่าง นำไปประกอบ เรียนรู้ให้ได้ถึง จุดที่เป็นปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง และนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน 2.ภายในชุมชนมีการกำหนดสถานที่ ที่ประกอบศาสนกิจเป็นที่ปลอดบุหรี่ เพราะสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่อีบาดะห์ในทางศาสนาเป็นเงียบสงบบริสุทธิ์ ผู้คนต้องเกีตรแก่สถานที่ ชุมชนจึงเลือกมัสยิดเป็นที่ปลอดบุหรี่ 3.ชุมชนจะถ่ายภาพเก็บไว้เพื่อแสดงถึงการดำเนินงานทุกครั้งที่ ได้ทำไป
4.ชุมชนมีการจัดรายงานและส่งรายงานไป สสส.ทุกครั้ง ตามระยะเวลาที่ต้องส่ง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างสภาผู้นำที่เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ? (2) สภาพแวดล้อมเกิดความเข็มแข็งในชุมชนและมีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (3) กลุ่มเยาวชนและสตรีเป็นแบบอย่างในเรื่องของจิตอาสาดำรงรักษาวัฒธรรมลงแขก (4) สร้างชุมชนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง (5) เพื่อจัดการกระบวนการจัดการข้อมูลในชุมชน (6) สร้างอาชีพในชุมชน (7) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh