task_alt

หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ หมู่บ้านตือระร่วมมือร่วมใจสร้างสามัคคีสู่ชุมชนเข้มแข็ง

ชุมชน บ้านตือระ หมู่ที่2 ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส

รหัสโครงการ 58-03780 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2222

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2015 ถึง 15 ตุลาคม 2016

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2015 ถึงเดือน มีนาคม 2016

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 17 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนให้สามารถลงข้อมูลในเว็บไซต์ได้อย่างถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สามารถเข้าถึงข้อตกลงในการจัดทำโครงการฯ
  2. สามารถทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ สสส.โดยภาพรวม
  3. สามารถทราบถึงแนวทางการจัดทำรายงาน และบันทึกกิจกรรมรายงานผล ซึ่งจะประกอบด้วยแบบรายงานสรุป 4 ฉบับ (ส1-4) และแบบรายงานการเงิน 2 ฉบับ (ง1-2)
  4. รับทราบถึงวิธีการจัดทำรายงานการเงิน การเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินเพื่อเบิกจ่าย
  5. สามารถจัดกระบวนการการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์ ครอบคลุมขั้นตอนการเตรียมพร้อม ขั้นทำ และขั้นตอนการทบทวนเพื่อพัฒนาให้ยั่งยืน
  6. สามารถป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการผ่านทางเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข
  7. สามารถป้อนข้อมูลแผนภาพโครงการได้
  8. สามารถป้อนแผนการดำเนินงานลงในปฏิทินโครงการได้
  9. สามารถรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมได้
  10. รับรู้ถึงปัญหาที่เคยเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไข ในการดำเนินกิจกรรมและการรายงานผลในเว็บไซต์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการปี 2558 มีการให้ความรู้เรื่องหลักการบริหารจัดการโครงการ การจัดทำรายงานกิจกรรมและเอกสารการเงิน การสังเคราะห์โครงการ และการบันทึกข้อมูลปฏิทินลงในเวบไซต์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการปี 2558 มีการให้ความรู้เรื่องหลักการบริหารจัดการโครงการ การจัดทำรายงานกิจกรรมและเอกสารการเงิน การสังเคราะห์โครงการ และการบันทึกข้อมูลปฏิทินลงในเวบไซต์

 

2 2

2. 1.ประชุมเพื่อจัดตั้งสภาผู้นำและชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการฯ

วันที่ 24 ตุลาคม 2015 เวลา 19:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้เกิดสภาผู้นำชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีสภาชุมชนในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนในชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 250 คน แต่ที่เซ็นชื่อเข้าร่วมกิจกรรม 170 คน แบ่งเป็นชาย 97 คนหญิง 73 คน
  • มีสภาชุมชน ทั้งหมด 35 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานสภาชุมชน นายนาซูฮา หะยีอาแว รองประธานได้แก่คอเต็บ นายมะลูเด็ง มูหะมะ เลขาฯได้แก่นายวอเฮะ เจ๊ะแม และการเงินได้แก่นายอับดุลเลาะ เจ๊ะแวและคณะกรรมการสภา รวมเป็น 35 คน
  • มีสภาชุมชนสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนได้
  • ประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญกับกิจกรรมนี้เป็นอยางมากประเมินได้จากทางทีมงานประเมินก่อนงานประมาณการ 200 คน โดยมีการเตรียมเก้าอี้ 200 ตัว แต่ประชาชนมาร่วมงานมากกว่านั้น
  • ประชาชนที่เข้าไปร่วมงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เข้าไปร่วมงานทุกคนมีความตระหนักของความสามัคคีเพื่อให้เกิดพลังและมีความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองที่อยู่ในชุมชน
  • มีผู้ร่วมสนับสนุนได้แก่ เทศบาลตำบลปาเสมัส ให้การสนับสนุนเต็นท์จำนวน 3 ตัว และประชาชนในชุมชนได้บริจาคข้าวสาร 3 กระสอบ ปลาแห้ง 5 กิโลกรัม และเครื่องปรุง โดยทีผู้บริจาคไม่ประสงค์ออกนาม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมทุกภาคส่วนในชุมชน ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้านและคณะ 5 คน(ฝ่ายปกครอง) โต๊ะอีหม่ามและคณะ 5 คน(ฝ่้ายศาสนา)ผู้นำโดยธรรมชาติหรือผู้ทีบุคคลให้ความเคารพ 10 คน คณะทำงานโครงการ 5 คน เยาว์ชน 5 คน และอื่นๆ 5 คน ประชาชนในชุมชน 120 ครัวเรือน ร่วมทั้งหมด 155 คน โดยมีวาระดังนี้

วาระที่ 1

  • ให้มีสภาชุมชน ประกอบด้วย คณะทำงานสภาชุมชน(โครงสร้าง) ระเบียบ วาระการทำงาน เนื้อหางานสภาชุมชน โดยมีคณะกรรมการสภามี 35 คน
  • มีการประชุมสมัยสามัญเดือนละ 1 ครั้ง ภายใน 1 ปี ประชุม 12 ครั้ง และสมัยวิสามัญตามความเหมาะสม
  • ผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อยร้อยละ 80 ของคณะทำงาน
  • ทุกครั้งที่ประชุมจะมีวาระเรื่องโครงการฯและเรื่องของชุมชน
  • สรุปมติการประชุมสภาเพื่อนำไปกำหนดกิจกรรมชุมชนต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

วาระที่ 2.ชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการฯ และกำหนดแผนการทำงานตลอดระยะเวลาโครงการฯ

วาระที่ 3 มีกิจกรรมบรรยายธรรมความรู้เกียวกับบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อชุมชนในทัศนอิสลาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ตรงกับปีใหม่ของศาสนาอิสลาม จึงได้จัดกิจกรรมร่วมกันกับการตอนรับปีใหม่ตามหลักศาสนาอิสลาม ขั้นตอนการปฎิบัติดังนี้ ก่อนวันงาน วันที่ 10 ตุลาคม 2558 มีการประชุมของคณะทำงานและชาวบ้านเพื่อเตรียมงาน กำหนดวันจัดกิจกรรมและได้แบ่งหน้าที่ จากที่ประชุมได้มอบหมายให้นาย มะลูเด็ง มูหะมะ เป็นผู้ประสานงานกับวิทยากร นาย นาซูฮา หะยีอาแว เป็นผู้ที่ประชาสัมพันธ์ให้กับคนในชุมชนนาย อับดุลเลาะ เจ๊ะแว เป็นผู้ที่ดูแลฝ่ายสถานที่และจัดหาวัสดุต่างๆที่เกี่ยวกับงานเช่นโต๊ะ เก้าอี เต้น และอื่นๆ นาย หามะปาดือลี มะสาและ เป็นผู้ที่ดูแลกำหนดการและผู้ดำเนินรายการ นาย วอเฮะ เจ๊ะแม เป็นผู้ที่ดูแลเกี่ยวกับการถ่ายภาพและจัดหาอาหารและเครื่องดื่ม และแต่ละคนที่รับผิดชอบนั้นไปหาทีมงานของต้นเองให้เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ เช่นผู้ที่ดูแลฝ่ายสถานที่นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องมีทึมงานหลายคนเพราะว่าต้องมีการจัดสถานที่
  • วันที่ 24 ตุลาคม 2558 ทีมงานมีการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าของการเตรียมงานและมีความคืบหน้าดังนี้ วิทยากรสามารถมาบรรยายได้ในวันจัดงาน สถานที่ สามารถหาอุปกรณ์ต่างๆได้แต่เก้าอี้ในหมู่บ้านมีเพียงแค่ 120 ตัวเท่านั้น แต่ก็ได้ประสานกับหมู่บ้านใกล้เคียงและสามารถยื่มได้จากหมู่บ้านน้ำตกโดยผู้ทีี่รับผิดชอบประสานกับสมาชิกสภาเทศบาลเพื่อดำเนินการและสามารถหาเก้าอี้ได้อีกจำนวน 80 ตัว กำหนดการนั้นได้เสนอให้เปิดโอกาสให้กับเด็กๆด้วยเพื่อทดสอบความสามรถของเด็กๆและนำมาเป็นแนวทางของกิจกรรมต่อไป โดยให้ผู้ดูแลประสานกับโรงเรียนตาดีกาเพื่อหาเด็กๆมาแสดงความสามารถบนเวที่ในวันจัดงาน ในส่วนอื่นๆก็ได้ลุลวงเป็นอย่างดี
  • ขั้นตอนวันจัดงานโดยเริ่มเวลา 18.30 น.ละหมาดมัฆรีบพร้อมกันที่มัสยิดหลังจากนั้นได้ร่วมรับประธานอาหารพร้อมกัน
  • เวลา19.30 น. เปิดการประชุมได้มีการเชิญอ่านอัลกุรอ่านเพื่อให้มีความบารอกัต(มีความสำเร็จ)และหลังจากนั้นผู้ที่ได้อ่านอัลกุรอ่านนั้นได้พูดบนเวที่เกี่ยวความสำคัญของคัมภีร์อัลกุรอ่านเพราะคัมภีร์อัลกุรอ่านนั้นเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของมุสลิมทุกคน
  • เวลา 20.15 น.ตัวแทนคณะทำงานผู้ใหญ่บ้านชี้แจงโครงการและทำความเข้าใจโครงการฯ คือโครงการฯนี้ได้รับเงินสนับสนุนจาก สสส เป็นจำนวนทั้งหมด 200,450 บาทโดยแบ่งเป็น 3 งวด งวดแรก จำนวน 80,000 บาท งวดที่สอง 100,000 บาท งวดที่ สาม20,450 บาท มีกิจกรรมดั่งนี้
  1. ประชุมเพื่อจัดตั้งสภาและชี้แจงโครงการฯและมีการประชุมสภาเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งหมด 11 ครั้ง
  2. กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการสำรวจข้อมูลและสำรวจข้อมูลในชุมชน2.กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล
  3. การวางแผนและพัฒนาแผนปฏิบัติการชุมชนน่าอยู่เพื่อเสริมสร้างความสมัคคีและความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้แบ่งเป็น 6 กิจกรรมย่อยเช่นส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชน การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นต้น เวลา 20.30 น.ได้มีการขัดเลือกสภาชุมชนโดยได้รับการขัดเลือกจากคนในชุมชนและผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานสภาชุมชน นายนาซูฮา หะยีอาแว รองประธานได้แก่คอเต็บ นายมะลูเด็ง มูหะมะ เลขาฯได้แก่นายวอเฮะ เจ๊ะแม และการเงินได้แก่นายอับดุลเลาะ เจ๊ะแว และคณะกรรมการรวมทั้งหมด 35 คน
  • เวลา 21.15.น.ได้มีกิจกรรมของเด็กๆ เด็กชาย 2 กลุ่ม อานาซีด และเด็กหญิง 3 กลุ่มอานาซีด และเด็กชาย 2 คนอ่านอัลกุรอ่าน และ 1 คนได้อาซาน
  • เวลา 22.00 น.ได้มีการบรรยายธรรมในหัวข้อการอยู่ร่วมกันเป็น(ญามาอะห์)เป็นกลุ่มและความสามัคคีโดยนายอ้สรี ซึ่งเป็นบาบอปอเนาะ(เป็นสถาบันการเรียนรู้ทางศาสนาอิสลาม) เปิดสอนปอเนาะที่ตำบลปูโยะ อำภอสุไหงโกลก จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นบุคคลทีประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ให้การยอมรับ และได้บรรยายถึงของท่านศาสดานบีมูฮำหมัด (ซ,ล)เป็นบุคคลตัวอย่างที่ตลอดชีวิตของท่านได้เสียสละและทำงานเพื่อประชาชาติมาโดยตลอด

 

155 250

3. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 24 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ และเป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในเรื่องของโทษพิษภัยจากบุหรี่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชาวบ้านสามารถได้เห็นถึงการดำเนินงานตามโครงการ และให้ความร่วมมือไม่สูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการติดตั้งป้าย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำป้ายโครงการและป้ายรณรงค์งดสูบหรี่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดทำป้ายโครงการและสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่

 

150 100

4. 2.ประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 1

วันที่ 25 ตุลาคม 2015 เวลา 09:30-12.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้สามารถประชุมวางแผ่นกิจกรรมของโครงการฯและกิจกรรมการดำเนินงานในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีสภาชุมชนในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนในชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีผู้เข้าร่วมประชุม 36 คน
  2. ทำใหสมาชิกสภาทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ เช่น เข้าใจว่าการที่ สสส สนับสนุนงบประมาณนั้นก็เพื่อให้มีการสร้างประชาชนในชุมชนมีความเข้มแข็งเพราะการที่คนๆหนึ่งจะมีสุขภาพดีนั้นจำเป็นต้องสร้างชุมชนให้น่าอยู่และชุมชนจะน่าอยู่นั้นส่วนหนึ่งก็มาจากคนในชุมชนมีความรักซึ่งกันและกันและมีความสามัคคีกัน
  3. มีโครงสร้างการบริหารโครงการฯมากขึน เช่น การบริหารโครงการฯเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้นั้นต้องมีการมีส่วนร่วม โปร่งใส่ และสามัคคีกัน
  4. นำความเข้าใจนี้ไปปฎิบัติได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องมากที่สุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สภาชุมชนได้มีการประชุมหารือ เรื่อง การแบ่งบทบาททีมสภาผู้นำ และพี่เลียงของโครงการฯนายอาหามะ เจ๊ะโซะ เข้าร่วมชี้แจงโครงการฯและได้ชี้แจงเกี่ยวกับการทำงานของ สสส เช่น เรื่องงบประมาณ วิธีการใชจ่าย และอื่นๆ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ที่ประชุมได้แบ่งและมอบหมายให้มีคนรับผิดชอบกิจกรรมของโครงการฯคือ นาย นาซูฮา หะยีอาแว รับผิดชอบหลักกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการสำรวจข้อมูลและสำรวจข้อมูลในชุมชน
  • กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล นาย อับดุลเลาะ เจ๊ะแว รับผิดชอบกิจกรรมส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชน ,
  • นาย หามะปาดือลี มะสาและ รับผิดชอบกิจกรรมการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • นาย มะลูเด็ง มูหะมะ รับผิดชอบกิจกรรมการถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชน
  • นาย วอเฮะ เจ๊ะแม รับผิดชอบกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพที่สอดคลองกับภูมิสังคม
  • ในที่ประชุมได้ให้ผู้ที่รับผิดชอบได้ไปทำแผนงานของแต่ละกิจกรรมเพื่อง่ายและสะดวกในการทำกิจกรรมและติดตามประเมินผลของแต่ละกิจกรรม ถึ้งแม้การแบ่งการรับผิดชอบแต่ในหลักการปฎิบัติก็คือทุกคนต้องร่วมกันและช่วยเหลือกัน และทางผู้ใหญ่บ้านได้บอกในที่ประชุมว่าให้ทุกคนช่วยกันดูแลรักษาความปลอดภัยในชุมชนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกันในการรักษาความปลอดภัยในชุมชน เพราะก่อนหน้านี้นั้นได้มีวัยรุ่น 2 คนเข้าไปในมัสยิดในเวลากลางคืนซึ่งผิดวิสัย เกรงกลัวว่าจะมีการขโมยตู้บริจาคสำหรับเด็กกำพร้าที่ตั้งในมัสยิดซึ่งเป็นวัยรุ่นจากพื้นที่อื่นๆแต่โชคดีมีคนมาพบเห็นก่อนจึงได้สอบถามและปล่อยตัวไป

 

35 36

5. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่ 1

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2015 เวลา 13:00-15.30น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • สร้างจิตสำนึกเริ่มตั้งแต่เด็กได้รู้จักวัฒนธรรมและมีความรักในวัฒนธรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

3.1ชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อย มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่โดยมีการทำกิจกรรมอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง 3.2ประชาชนในชุมชนสามารถนำความรู้ด้านศาสนามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเข้าร่วมละหมาดยามาอะห์และร่วมกิจกรรมที่มัสยิดมากขึ้น ร้อยละ 30 3.3มีกลุมเยาว์ชนในชุมชน 1 ถึง 2 กลุ่มที่เพาะเห็ดได้ และมีอาชีพสร้างร้ายได้
3.4เด็กๆมีความสามารถที่จะแสดงกิจกรรม ในกิจกรรมที่ 3.5 อย่างน้อย 5 กิจกรรม ได้และเด็กมีความรัก ความกล้าแสดงออกและเข้าใจด้านวัฒนธรรมมากขึ้น 3.5ประชาชนในชุมชนได้มีการร่วมตัวกันและมีความเป็นเอกภาพและประชาชนในชุมชนร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 120 คน 3.6 มียุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนเป็นสุขอย่างน้อย 40 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ทำให้เห็นถึงความสามารถของเด็กๆ
2.ทำให้เด็กๆมีความกล้าแสดงออก
3.เด็กๆมีจิตสำนึกการทำงานเป็นกลุ่ม
4.เด็กสามารถนำความรู้นี้ไปบอกกับบิดามารดาและผู้ปกครอง
5.ผู้ปกครองมีความตระหนักและให้การสนับสนุนโรงเรียนตาดีกา
6.เป็นการสร้างบรรยากาสในการเรียนและการสอน และบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ประชุมเพื่อให้เยาวชนในชุมชนนั้นมีการฝึกงานในชุมชนเพื่อให้มีกิจกรรพัฒนาศักยภาพ ศักยภาพประเพณี โดยมีการฝึกให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในทางปฏิบัติได้ในด้านวัฒนธรรมต่างๆในโรงเรียนตาดีกา เช่น อานาซีด อ่านอัลกุรอ่าน ปาฐกฐา เดือนละ 1 ครั้ง 6 เดือน 6 ครั้ง ครั้งละ 2 ชัวโมง เด็กทั้งหมด 80 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 13.00 น.ครูตาดีกาได้รวบร่วมให้เด็กรวมตัวกัน
  • เวลา13.15 น.ครูตาดีการ่วมกันในการให้ความรู้โดยการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมให้กับเด็กๆโดยให้ความรู้เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอ่าน การอ่านอัลกุรอ่านเด็กๆส่วนใหญ่มีพื้นฐานที่ได้เรียนมาเป็นประจำอยู่แล้ว แต่การสอนครั้งนี้นั้นเป็นการสอนแบบท่องจำเพื่อให่เด็กๆมีความจำทีดีขึ้น
  • การอานาซีด(ร้องเพลง)ครูสอนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอานาซีด เช่น การอานาซีดนั้นสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับศาสนาในเรื่องต่างๆและผู้สอนจะเน้นสอนเพลงเรื่องการละหมาดเพราะการละหมาดคือเสาหลักของศาสนาอิสลามและการทำความดีเพื่อปลุกจิตสำนึกการทำความดีเริ่มตั้งแต่เด็กๆ
  • ครูตาดีกาได้สังเกตุและได้สอบถามนักเรียนที่สนใจหรือมีความสามารถต่อได้มาสอนเป็นการเฉพาะหรือแบ่งกลุ่มกันเพื่อต่อยอดต่อไป เสร็จแล้วก็ได้ให้เด็กๆนักเรียนรับประทานอาหารว่างที่เตรียมไว้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับเด็กๆ

 

80 85

6. อบรมการเขียนรายงาน

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2015 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้สามารถลงข้อมูลการรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับคำแนะนำเรื่องการเขียนรายงานกิจกรรมในเวบไซต์ ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนสอดคล้องกับอผนกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริง และได้รับแนะนำในเรื่องของการจัดทำเอกสารการเงิน โดยปรับเพิ่มข้อมูลการเขียนรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน และได้ความรู้เรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเริ่มหักในช่วงเดือนธันวาคม 2558 เป็นต้นไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อบรมการเขียนรายงานการดำเนินงานตามโครงการโดยมี สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงโครงการร่วมในการอบรมเพื่อทำความเข้าใจและพูดคุยแลกเปลี่ยนพร้อมแนะนำแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงาน สสส.ได้วางไว้

กิจกรรมที่ทำจริง

  • อบรมการเขียนรายงานการดำเนินงานตามโครงการโดยมี สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงโครงการร่วมในการอบรมเพื่อทำความเข้าใจและพูดคุยแลกเปลี่ยนพร้อมแนะนำแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงาน สสส.ได้วางไว้

 

2 2

7. 3.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 2

วันที่ 1 ธันวาคม 2015 เวลา 19.30-21.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อใหสามารถประชุมวางแผ่นกิจกรรมของโครงการฯและกิจกรรมการดำเนินงานในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีสภาชุมชนในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนในชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สมาชิกสภาชุมชนได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯและรับรู้ถึงกิจกรรมต่างๆที่จะมีขึ้นในชุมชนและได้เตรียมความพร้อม โดยที่ประชุมได้ข้อสรุป คือ กิจกรรมที่ผ่านมานั้นได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ กิจกรรมของหมู่บ้านนั้นทำให้เห็นถึงหมู่บ้านได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐเป็นอย่างดี วาระอื่นๆนั้น สมาชิกสภาได้เสนอว่าควรที่จะให้หาแนวทางเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความร่วมมือมากกว่านี้ถึงแม้ปัจจุบันนี้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมร้อยละ 80 เปอร์เซนต์แล้ว
  • ในการประชุมสภาในครั้งนี้นั้นได้มีมติให้ชุมชนมีกฎระเบียบของชุมชนและได้มีมติจากชุมชนว่าในช่วงแรกนี้ทางคณะกรรมการชุมชนทุกท่านควรรณรงค์ให้เยาวชนและชาวบ้านทั่วไปร่วมกันละหมาดร่วมกันที่มัสยิดทุกครั้ง เพื่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชนและเป็นช่วงรณรงค์นี้ยังไม่มีมาตรการณ์ใดๆสำหรับผู้ที่ไม่ไปร่วมละหมาดแต่เป็นการสร้างบรรยากาศในชุมชนในการปฎิบัติกิจกรรม
  • บทเรียนที่ได้รับการแบ่งกลุ่มที่ผ่านมานั้นทำให้เห็นถึงการพัฒนาการและความเข้าใจใหม่ๆต่อกิจกรรมและโครงการฯถึงแม้มีความเข้าใจระดับดีแล้วกับโครงการฯหรือกิจกรรมแต่สิ่งหนึ่งที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไปก็คือการสร้างระดับความเข้าใจร่วมกันอย่างแท้จริงเพราะพื้นฐานแต่ละคนไม่เหมือนกันทั้งทางด้านความรู้และประสบการณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสภาชุมชนทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประธานสภาชุมชนไดกล่าวเปิดการประชุมโดยมีวาระการประชุม 1 สรุปและถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา สรุปกิจกรรมประชุมเพื่อจัดตั้งสภาผู้นำและชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการฯคือได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ในที่ประชุมมีข้อเสนอแนะ ชุมชนควรที่จะจัดกิจกรรมที่ใหญ่กว่านี้หรือต้องมีการเชิญวิทยากรผู้มาบรรยายที่มีความรู้ความสามารถมากกว่านี้หรือเป็นบุคคลที่ให้การยอมรับในสังคมทุกระดับชั้น และกิจกรรมการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นควรที่จะเพิ่มเวลามากขึ้นและควรที่จะมีอย่างต่อเนื่องต่อไป
  • ชีแจงกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป คือ จะมีกิจกรรส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชน 2 ครั้ง
  • กิจกรรมของชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจงว่าหลังจากนี้จะมีกิจกรรมทางอำเภอเพื่อคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านดีเด่นและชุมชนได้รับงบประมาณจาก ศอ.บต โครงการสร้างอาชีพโดยให้ปลูกต้นมะพร้าวเพื่อขายหน่อได้รับงบประมาณทั้งหมดประมาณ 200,000 บาทปลูกในพื้นที่ 17 ไร่และที่ดินนั้นได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกในชุมชนเป็นที่ดินที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆอีก
  • วาระอื่นๆผู้ใหญ่บ้านได้ขอความร่วมมือกับสมาชิกทุกท่านช่วยกันประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนในชุมชนร่วมกันกับกิจกรรมในชุมชน

 

35 35

8. ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 1

วันที่ 19 ธันวาคม 2015 เวลา 08:00-11.30น.-14.00-16.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรักความสามัคคีในชุมชนและมีความตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

3.1ชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อย มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่โดยมีการทำกิจกรรมอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง 3.2ประชาชนในชุมชนสามารถนำความรู้ด้านศาสนามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเข้าร่วมละหมาดยามาอะห์และร่วมกิจกรรมที่มัสยิดมากขึ้น ร้อยละ 30 3.3มีกลุมเยาว์ชนในชุมชน 1 ถึง 2 กลุ่มที่เพาะเห็ดได้ และมีอาชีพสร้างร้ายได้
3.4เด็กๆมีความสามารถที่จะแสดงกิจกรรม ในกิจกรรมที่ 3.5 อย่างน้อย 5 กิจกรรม ได้และเด็กมีความรัก ความกล้าแสดงออกและเข้าใจด้านวัฒนธรรมมากขึ้น 3.5ประชาชนในชุมชนได้มีการร่วมตัวกันและมีความเป็นเอกภาพและประชาชนในชุมชนร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 120 คน 3.6 มียุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนเป็นสุขอย่างน้อย 40 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ คือ

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 43 คน ได้ร่วมกันทำความสะอาดถนนในหมู่บ้านซึ่งทำให้ถนนในหมู่บ้านมีความสะอาด
2.ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมการพัฒนาด้านการทำความสะอาดเรียบร้อยในชุมชนจึงจำเป็นที่จะต้องมีความสะอาดเรียบร้อยเพราะหากสองข้างทางของถนนมีต้นไม้หรือเป็นทีรกรุงรังนั้นจะทำให้ปิดบังการมองเห็นในการสัญจรไปมาอาจเกิดอันตรายได้หรืออาจมีสัตว์มีพิษที่ทำให้เกิดอันตรายได้
3.เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เยาวชนและผู้ใหญ่หรือผู้ใหญ่ด้วยกันหรือเยาวชนด้วยกันมีความสัมพันธ์กันและมีความใกล้ชิดมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนทำความสะอาดสถานที่ประกอบศาสนกิจ เช่น มัสยิด กูโบร์(สุสาน)แบ่งเป็น
    1.กำหนดระยะเวลา 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง 2.ช่วงที่เป็นวันสำคัญทางศาสนา เช่นวันอิดีฟิตรี(วันเฉลิมฉลองหลังการถือศิลอด)คณะทำงานชุมชน 20 คน เยาวชน 20 คน ทั้งหมด 5 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ได้ประชาสัมพันธ์ที่มัสยิดเพื่อเชิญชวนและได้มีความเห็นตรงกันว่าต้องเริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลาๆ 08.00 น.มีการร่วมตัวกันและได้พูดคุยกันถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมและได้มีการพูดคุยถึงสถานที่จะเลือกทำกิจกรรมคือถนนเส้นทางหลักในหมู่บ้านและแบ่งกลุ่มโดยกลุ่มละ 10 คน ร่วมทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1.ทำความสะอาดหน้าปากซอยเป็นระยะทางโดยประมาณ 500-800 เมตร กลุ่มที่ 2.หลังจากกลุ่มที่ 1 ระยะทางเท่ากันโดยประมาณ กลุ่มที่ 3.ก็เช่นเดียวกันและกลุ่มที่ 4 สุดท้ายของถนนระยะทางโดยเฉลี่ยเท่ากัน และในแต่ละกลุ่มนั้นแบ่งหน้าที่กัน
  • เวลา 08.30น.ก็ได้ลงไปในพื้นที่ทีต้องการพัฒนาทำความสะอาดในชุมชนในครั้งแรกนี้ได้มีการทำความสะอาด ถนน ในชุมชน คนที่มีเครื่องตัดหญ้าก็จะตัดหญ่า เก็บขยะ และตัดต้นไม้ที่อยู่ในเขตของถนน
  • เวลา 11.30น.ก็จะพักรับประทานอาหารและละหมาดร่วมกันที่มัสยิด
  • เวลา 14.00 น.ก็เริ่มทำความสะอาดต่อ โดยที่กลุ่มไหนเสร็จแล้วก็จะไปช่วยเหลือกลุ่มอื่นๆต่อ ถ้าส่วนไหนเสร็จแล้วก็จะไปทำความสะอาดต่อที่ถนนสายรองในหมู่บ้าน ในขณะทำความสะอาดนั้นมีคนที่รับผิดชอบเรื่องน้ำดื่มเพื่อบริการให้กับผู้ที่ทำงาน

 

40 43

9. ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 2

วันที่ 26 ธันวาคม 2015 เวลา 08:00-11.30น-14.00-16.00น น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรักความสามัคคีในชุมชนและมีตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

3.1ชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อย มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่โดยมีการทำกิจกรรมอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง 3.2ประชาชนในชุมชนสามารถนำความรู้ด้านศาสนามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเข้าร่วมละหมาดยามาอะห์และร่วมกิจกรรมที่มัสยิดมากขึ้น ร้อยละ 30 3.3มีกลุมเยาว์ชนในชุมชน 1 ถึง 2 กลุ่มที่เพาะเห็ดได้ และมีอาชีพสร้างร้ายได้
3.4เด็กๆมีความสามารถที่จะแสดงกิจกรรม ในกิจกรรมที่ 3.5 อย่างน้อย 5 กิจกรรม ได้และเด็กมีความรัก ความกล้าแสดงออกและเข้าใจด้านวัฒนธรรมมากขึ้น 3.5ประชาชนในชุมชนได้มีการร่วมตัวกันและมีความเป็นเอกภาพและประชาชนในชุมชนร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 120 คน 3.6 มียุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนเป็นสุขอย่างน้อย 40 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้นั้นได้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

1.ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 41 คน
2.โรงเรียนตาดีกาจึงทำให้โรงเรียนตาดีกามีความสะอาดมากขึ้น
3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมการพัฒนาด้านการทำความสะอาดเรียบร้อยในชุมชน
4.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความใกล้ชิดมากขึ้น
5.ผู้เข้าร่วมมีความคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนทำความสะอาดสถานที่ประกอบศาสนกิจ เช่น มัสยิด กูโบร์(สุสาน)แบ่งเป็น 1.กำหนดระยะเวลา 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง 2.ช่วงที่เป็นวันสำคัญทางศาสนา เช่นวันอิดีฟิตรี(วันเฉลิมฉลองหลังการถือศิลอด)คณะทำงานชุมชน 20 คน เยาว์ชน 20 คน ทั้งหมด 5 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ได้ประชาสัมพันธ์ที่มัสยิดเพื่อเชิญชวนและได้มีความเห็นตรงกันว่าต้องเริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา 08.00 น.มีการร่วมตัวกันและได้พูดคุยกันถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมและหลังจากนั้นก็ได้ลงไปในพื้นที่ทีต้องการพัฒนาทำความสะอาดในชุมชนในครั้งนี้ได้มีการทำความสะอาดและพัฒนาที่โรงเรียนตาดีกา(สถานที่สอนศาสนาให้กับเด็กๆ)ในชุมชน สืบเนื่องจากในครั้งนี้ในชุมชนต้องการทีจะรื้ออาคารหลังเก่าและถมดินในบริเวณโรงเรียนตาดีกา ช่วงเช่าได้ร่วมกันรื้ออาคารหลังเก่าจนเสร็จ เวลา 11.30น.ก็จะพักรับประทานอาหารและละหมาดร่วมกันที่มัสยิด และเวลาประมาณ 14.00 น.ก็ได้ร่วมกันข่นดินเพื่อไปถมในบริเวณโรงเรียนตาดีกาจนพร้อมกับทำความสะอาดจนแล้วเสร็จก็ได้แยกยายกลับบ้าน

 

40 41

10. 4.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 3

วันที่ 1 มกราคม 2016 เวลา 19.30-21.30 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้สามารถประชุมวางแผ่นกิจกรรมของโครงการฯและกิจกรรมการดำเนินงานในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  1. มีสภาชุมชนในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนในชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้ที่รับผิดชอบแต่ละคนได้มีการสรุปกิจกรรมที่ต้นเองรับผิดชอบที่ผ่านมาทั้งหมด
  2. นำเสนอแผ่นที่จะจัดกิจกรรมครั้งต่อไปคือการเตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรมต้องมีเวลาอย่างน้อย 7-10 ก่อนจัดกิจกรรมและต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ดีกว่าเดิมไม่ใช้ประชาสัมพันธ์เฉพาะที่มัสยิดเท่านั้นเช่นไปที่บ้านเป็นต้น
  3. ทางคอเต็บได้ประเมินถึงผู้ที่เข้าร่วมละหมาดร่วมกันที่มัสยิดมีมากขึ้นจากเดิมมีประมาณ 30-40 คน แต่หลังจากได้มีการรณรงค์แล้วเพิ่มขึ้นเป็น40-50 คนโดยเฉลี่ย
  4. สมาชิกสภามีความพร้อมที่จะปฎิบัติกิจกรรมที่ได้ว่างไวและมีการแลกเปลี่ยนประเด็นในที่ประชุมมากขึ้น 5.จากการจัดกิจกรรมมาทั้งหมดแนวโน้มไปในทิศทางทีดีขึ้นคือเมื่อมีการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและประชาชนก็จะเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นและเป็นแนวทางสู่การมีความสามัคคีมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสภาชุมชนทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประธานสภาชุมชนไดกล่าวเปิดการประชุมโดยมีวาระการประชุม
  1. สรุปและถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา คือ กิจกรรส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชน 2 ครั้ง ประสบผลสำเร็จได้ดีระดับหนึ่งและคนในชุมชนมีความสนิทสนม มีความใกล้ชิดมากขึ้น
  2. ชีแจงกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป
  3. กิจกรรมของชุมชนผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจงถึงโครงการร่วมกันปลูกต้นมะพร้าวได้ดำเนินการไปแล้วครึงหนึ่งได้ปลูกแล้วประมาณ 5,000 ต้น และได้ติดตามความคืบหน้าถึงกิจกรรมที่ส่งประกวดผู้ใหญ่บ้านดีเด่นและผู้ใหญ่บ้านได้ขอความร่วมมือกับชาวบ้านในชุมชนว่าในวันดังกล่าวนั้นให้ผู้ที่ทำผลิตภันฑ์ในชุมชนนำไปแสดงด้วย เช่น ผ้าบาติก ผ้าละหมาดสตรีเป็นต้น สืบเนื่องจากว่าหมู่บานตือระได้รับการคัดเลือกในอำเภอสุไหงโกลกเป็นผู้ใหญ่บานดีเด่นและได้คัดเลือกให้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านดีด่นระดับจังหวัดต่อไปและมีกิจกรรมการตอนรับคณะกรรมการคัดเลือกระดับจังหวัดมาเยี่ยมชมในชุมชน
  4. วาระอื่นๆ ในที่ประชุมได้นำเสนอให้กับทุกคนพูดคุยเรื่องกิจกรรมต่างๆของชุมชนในร้านน้ำชา หรือให้พูดคุยประเด็นการสร้างความสามัคคีเพื่อให้มีบรรยากาสทีดีขึ้น โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปโดยร่วม คือ กิจกรรมที่ผ่านมานั้นได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้และได้มีการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมกิจกรรมที่จะมีขึ้นต่อไป

 

35 35

11. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่ 2

วันที่ 17 มกราคม 2016 เวลา 13:00-15.30 น น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • สร้างจิตสำนึกเริ่มตั้งแต่เด็กได้รู้จักวัฒนธรรมและมีความรักในวัฒนธรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

3.1ชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อย มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่โดยมีการทำกิจกรรมอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง 3.2ประชาชนในชุมชนสามารถนำความรู้ด้านศาสนามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเข้าร่วมละหมาดยามาอะห์และร่วมกิจกรรมที่มัสยิดมากขึ้น ร้อยละ 30 3.3มีกลุมเยาว์ชนในชุมชน 1 ถึง 2 กลุ่มที่เพาะเห็ดได้ และมีอาชีพสร้างร้ายได้
3.4เด็กๆมีความสามารถที่จะแสดงกิจกรรม ในกิจกรรมที่ 3.5 อย่างน้อย 5 กิจกรรม ได้และเด็กมีความรัก ความกล้าแสดงออกและเข้าใจด้านวัฒนธรรมมากขึ้น 3.5ประชาชนในชุมชนได้มีการร่วมตัวกันและมีความเป็นเอกภาพและประชาชนในชุมชนร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 120 คน 3.6 มียุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนเป็นสุขอย่างน้อย 40 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทำให้เด็กมีความสามารถที่หลากหลาย
  2. ทำให้เด็กความความกระตือรือร้น
  3. มีการฝึกฝนเริ่มตั้งแต่เด็ก
  4. เป็นการสร้างจิตวิญญานให้กับเด็กด้านวัฒนธรรม
  5. มีจิตสะนึกด้านความสามัคคีเริ่มตั้งแต่เด็ก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นประชุมเพื่อให้เยาว์ชนในชุมชนนั้นมีการฝึกงานในชุมชนเพื่อให้มีกิจกรรพัฒนาศักยภาพ ศักยภาพประเพณี โดยมีการฝึกให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีสามารถในทางปฏิบัติได้ในด้านวัฒนธรรมต่างๆในโรงเรียนตาดีกา เช่น อานาซีด อ่านอัลกุรอ่าน ปาฐกฐา เดือนละ 1 ครั้ง 6 เดือน 6 ครั้ง ครั้งละ 2 ชัวโมง เด็กทั้งหมด 80 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 13.00 น.ครูตาดีกาได้รวบรวมให้เด็กรวมตัวกัน
  1. ครูตาดีกาได้ร่วมกันในการให้ความรู้โดยการทบทวนเกี่ยวกับวัฒนธรรมให้กับเด็กๆและได้สอบถามความรู้เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอ่าน การอานาซีด(ร้องเพลง)เพื่อทบทวนของกิจกรรมครั้งที่แล้วโดยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
  2. กิจกรรมครั้งนี้ครูได้สอนเกี่ยวกับการอาซานคือ(การเชิญชวนให้ผู้คนมาละหมาด) สอนเรื่องอาซานให้ถูกต้องเป็นอย่างไรให้ไพเราะ เสียงสูง ต่ำ ยาว สั่น ให้เด็กๆเข้าใจ และหลังจากนั้นให้เด็กๆทดสอบครูก็มีหน้าที่ชี้แนะให้กับเด็กๆ
  3. ครูได้สอนเรื่องการบรรยายธรรม โดยได้สาธิตวิธีการบรรยายธรรมให้กับเด็กๆ เช่นการเริ่มต้นการบรรยายทุกครั้งต้องเริ่มด้วยสาลาม อัสลามูอาลัยกุม(คำทักทายคือจงมีสันติสุขแดทุกท่าน)และการขึ้นนำ อัลฮัมดุลลีเลาะห์(ขอบคุณพระเจ้าอัลลอฮ์ ซบ) และอื่นๆ เสร็จแล้วก็ได้ให้เด็กๆนักเรียนรับประทานอาหารว่างที่เตรียมไว้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับเด็กๆ

 

80 80

12. ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 3

วันที่ 30 มกราคม 2016 เวลา 008:00-11.30-14.00-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรักความสามัคคีในชุมชนและมีตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

3.1ชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อย มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่โดยมีการทำกิจกรรมอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง 3.2ประชาชนในชุมชนสามารถนำความรู้ด้านศาสนามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเข้าร่วมละหมาดยามาอะห์และร่วมกิจกรรมที่มัสยิดมากขึ้น ร้อยละ 30 3.3มีกลุมเยาว์ชนในชุมชน 1 ถึง 2 กลุ่มที่เพาะเห็ดได้ และมีอาชีพสร้างร้ายได้
3.4เด็กๆมีความสามารถที่จะแสดงกิจกรรม ในกิจกรรมที่ 3.5 อย่างน้อย 5 กิจกรรม ได้และเด็กมีความรัก ความกล้าแสดงออกและเข้าใจด้านวัฒนธรรมมากขึ้น 3.5ประชาชนในชุมชนได้มีการร่วมตัวกันและมีความเป็นเอกภาพและประชาชนในชุมชนร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 120 คน 3.6 มียุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนเป็นสุขอย่างน้อย 40 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. การจัดกิจกรรมในครั้งนี้นั้นได้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้
  2. ระหว่างทำกิจกรรมได้มีโอกาสพูดคุยกันและมีความใกล้ชิดมากขึ้น
  3. ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมการพัฒนาด้านการทำความสะอาดเรียบร้อยในชุมชน
  4. กูโบร์(สุสาน) เป็นสถานที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม การพัฒนากุโบร์ จึงทำให้ทุกคนให้ความร่วมมือและให้เกียรติต่อสถานที่ว่าต้องดูแลให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา
  5. ผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมาแต่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้บริจาคน้ำดื่มให้ในกิจกรรมครั้งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนทำความสะอาดสถานที่ประกอบศาสนกิจ เช่น มัสยิด กูโบร์(สุสาน)แบ่งเป็น 1.กำหนดระยะเวลา 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง 2.ช่วงที่เป็นวันสำคัญทางศาสนา เช่นวันอิดีฟิตรี(วันเฉลิมฉลองหลังการถือศิลอด)คณะทำงานชุมชน 20 คน เยาว์ชน 20 คน ทั้งหมด 5 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • วันที่ 29 มกราคม 2559 ทางคณะทำงานได้ไปสอบถามชาวบ้านผู้ที่มีเครื่องตัดหญ่าและได้ไปประชาสัมพันธ์ให้กับชาวบ้านว่าในวันที่ 30 มกราคม 2559 จะมีกิจกรรมพัฒนาที่กูโบร์ (สุสานของคนมุสลิม) และประชาสัมพันธ์ที่มัสยิดเพื่อเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม
  • วันที่ 30/1/59 เวลา 08.00 น.มีการร่วมตัวกันและได้พูดคุยกันถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมและหลังจากนั้นก็ได้ลงไปในพื้นที่ทีต้องการพัฒนาทำความสะอาดในชุมชนในครั้งแรกนี้ได้มีการทำความสะอาดกุโบร์(สุสานที่ฝังศพคนมุสลิม) ในชุมชน ได้ร่วมกันตัดหญ่า ตกแต่งต้นไม้ที่อยู่ภายในบริเวณสุสาน ตัดกิ่งไม้ เป็นต้น เวลา 11.30 น.ก็จะพักรับประทานอาหารและละหมาดร่วมกันที่มัสยิด เวลาประมาณ 14.00 น.ก็ได้ทำความสะอาดต่อ โดยได้ช่วยกันใส่หินให้กับหลุมฝังศพที่ยังไม่มีอีกเพื่อเป็นสัญลักษณ์และสะดวกสำหรับผู้จะจะขุดหลุมในครั้งต่อไป

 

40 42

13. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาวชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่ 3

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 13:00-15.30 น น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • สร้างจิตสำนึกเริ่มตั้งแต่เด็กได้รู้จักวัฒนธรรมและมีความรักในวัฒนธรรม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

3.1ชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อย มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่โดยมีการทำกิจกรรมอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง 3.2ประชาชนในชุมชนสามารถนำความรู้ด้านศาสนามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเข้าร่วมละหมาดยามาอะห์และร่วมกิจกรรมที่มัสยิดมากขึ้น ร้อยละ 30 3.3มีกลุมเยาว์ชนในชุมชน 1 ถึง 2 กลุ่มที่เพาะเห็ดได้ และมีอาชีพสร้างร้ายได้
3.4เด็กๆมีความสามารถที่จะแสดงกิจกรรม ในกิจกรรมที่ 3.5 อย่างน้อย 5 กิจกรรม ได้และเด็กมีความรัก ความกล้าแสดงออกและเข้าใจด้านวัฒนธรรมมากขึ้น 3.5ประชาชนในชุมชนได้มีการร่วมตัวกันและมีความเป็นเอกภาพและประชาชนในชุมชนร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 120 คน 3.6 มียุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนเป็นสุขอย่างน้อย 40 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีเด็กนักเรียนชาย 1 กลุ่ม หญิง 1 กลุ่ม ที่มีความสามารถที่จะไปแข่งขันได้ แต่ก็ต้องมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
  2. มีผู้ปกครองครองของเด็กให้การสนับสนุน ที่ผ่านมาได้มีผู้ปกครองบางท่านได้ไปพูดคุยกับครูตาดีกาถ้าเป็นไปได้ควรที่จะมีการสอนเรื่องนี้ทุกๆสัปดาห์
  3. เด็กๆมีจิตสำนึกการทำงานเป็นกลุ่มมีรูปธรรมมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นประชุมเพื่อให้เยาว์ชนในชุมชนนั้นมีการฝึกงานในชุมชนเพื่อให้มีกิจกรรพัฒนาศักยภาพ ศักยภาพประเพณี โดยมีการฝึกให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีสามารถในทางปฏิบัติได้ในด้านวัฒนธรรมต่างๆในโรงเรียนตาดีกา เช่น อานาซีด อ่านอัลกุรอ่าน ปาฐกฐา เดือนละ 1 ครั้ง 6 เดือน 6 ครั้ง ครั้งละ 2 ชัวโมง เด็กทั้งหมด 80 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 13.00 น.ครูตาดีกาได้รวบร่วมให้เด็กร่วมตัวกัน ครูตาดีกาได้ร่วมกันในการให้ความรู้โดยการทบทวนเกี่ยวกับวัฒนธรรมให้กับเด็กๆและได้สอบถามความรู้เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอ่าน การอานาซีด(ร้องเพลง)และการอาซาน เพื่อทบทวนของกิจกรรมครั้งที่แล้วโดยที่ครูตาดีกาได้ทบทวนอย่างเข้มข้นเพื่อให้เด็กๆสามารถที่จะได้ปฎิบัติได้จริงหรือเพื่อให้สามารถส่งเด็กๆนักเรียนส่งไปประกวดการแข่งขันขึ้นหากมี โรงเรียนตาดีกาอื่นๆเชิญ เสร็จแล้วก็ได้ให้เด็กๆนักเรียนรับประทานอาหารว่างที่เตรียมไว้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับเด็กๆ

 

80 83

14. การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่ 1

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 19.30-21.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ประชาชนเข้าใจหลักการศาสนามากขึ้นเพื่อสามารถอยู้ร่วมกันเป็นญามาอะห์(ร่วมกลุ่มและมีความสามัคคี)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

3.1ชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อย มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่โดยมีการทำกิจกรรมอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง 3.2ประชาชนในชุมชนสามารถนำความรู้ด้านศาสนามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเข้าร่วมละหมาดยามาอะห์และร่วมกิจกรรมที่มัสยิดมากขึ้น ร้อยละ 30 3.3มีกลุมเยาว์ชนในชุมชน 1 ถึง 2 กลุ่มที่เพาะเห็ดได้ และมีอาชีพสร้างร้ายได้
3.4เด็กๆมีความสามารถที่จะแสดงกิจกรรม ในกิจกรรมที่ 3.5 อย่างน้อย 5 กิจกรรม ได้และเด็กมีความรัก ความกล้าแสดงออกและเข้าใจด้านวัฒนธรรมมากขึ้น 3.5ประชาชนในชุมชนได้มีการร่วมตัวกันและมีความเป็นเอกภาพและประชาชนในชุมชนร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 120 คน 3.6 มียุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนเป็นสุขอย่างน้อย 40 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประชาชนทั้งหมดได้เข้าร่วมในครั้งนี้ทั้งหมด 100 คน ประชาชนได้รับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของผู้นำอย่างแท้จริงคือการเสียสละ ทำงานอย่างโปรงใส่ การทำงานจะต้องจริงใจ ทุกครั้งที่จะมีงานต้องมีการประชุมเพราะตามหลักการของอิสลามนั้นสนับสนุนการประชุม สามารถเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมแล้วการประชุมคือส่วหนึ่งที่สำคัญของการอยู่ร่วมกันและเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้เกิดความสามัคคี
  • ประชาชนเข้าใจถึงการเป็นผู้ตามทีดีก็คือปฎิบัติตามผู้นำนั้นคือหน้าที่ของผู้ตามตามหลักศาสนาอิสลามและการเป็นผู้ตามทีดีนั้นคือการปฎิบัติตนตามหลักศาสนาและทรงผลต่อการเปลี่ยนแปลงในชุมชนคือผู้นำทำหน้าที่ทีดีแล้วมีผู้ตามทีดีด้วยสังคมก็จะเกิดความสามัคคีขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนในด้านการสามัคคีประชุมทีมงานและเยาวชนเพื่อให้มีกิจกรรพัฒนาศักยาภาพและใช้วิทยากรจากการสำรวจศักยภาพชุมชนที่มีความรู้เฉพาะด้านศาสนา กิจกรรม สอนศาสนาเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 วัน วันละ 2 ชั่วโมง ทั้งหมด 6 ครั้ง
  • ครั้งที่ 1 สอนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้นำในทัศนะอิสลาม
  • ครั้งที่ 2 เรื่องบทบาทและหน้าที่ในชุมชน
  • ครั้งที่ 3 สอนเรื่องอยู่ร่วมกันเป็นญามาอะห์(เป็นกลุ่มมีความสามุคคี)
  • ครั้งที 4 สอนเรื่องความสัมพันธ์และความรับผิดชอบระหว่างเพื่อนมนุษย์
  • ครั้งที่ 5 สอนเรืองการทำอีบาดะห์(การปฏิบัติธรรม)
  • ครั้งที่ 6 สอนเรื่องเตาฮีด(หลักศรัทธา)

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 18.45 ร่วมกันละหมาดมัฆรีบที่มัสยิดและหลังละหมาดเสร็จแล้วอีหม่ามได้ประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้กับผู้ที่ร่วมละหมาดว่าหลังจากละหมาดอีซาเสร็จแล้วจะมีการสอนกีตาบ(คู่มือหนังสือเกี่ยวกับศาสนา)เรื่องเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของผู้นำตามทัศนะของอิสลาม
  • เวลา 19.30 น.ร่วมกันละหมาดอีซาหลังจากเสร็จละหมาดอีซาแล้ว ก็ได้มีการบรรยายเรื่องบาทและหน้าที่ของผู้นำตามทัศนะของอิสลาม จากการสอนในครั้งนี้สรุปได้ว่าผู้นำมีหน้าที่ที่ต้องเสียสละและเป็นแบบอย่างที่ดีของชาวบ้านในชุมชนและผู้ตามก็วายิบ(จำเป็นต้อง)ที่ต้องฎออัต(เคารพ)ต่อผู้นำตราบใดที่ผู้นำไม่ได้ปฎิบัติทีขัดกับหลักศาสนา เป็นต้น และหลังจากสอนเสร็จแล้วก็ได้ร่วมกันรับประทานอาหารว่างที่ทางทีมงานได้เตรี่ยมไว้หลังจากนั้นได้แยกยายกันกลับบ้าน

 

100 100

15. การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่ 2

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 19.30-21.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้ประชาชนเข้าใจหลักการศาสนามากขึ้นเพื่อสามารถอยู้ร่วมกันเป็นญามาอะห์(ร่วมกลุ่มและมีความสามัคคี)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

3.1ชุมชนมีความสะอาดเรียบร้อย มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่โดยมีการทำกิจกรรมอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง 3.2ประชาชนในชุมชนสามารถนำความรู้ด้านศาสนามาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเข้าร่วมละหมาดยามาอะห์และร่วมกิจกรรมที่มัสยิดมากขึ้น ร้อยละ 30 3.3มีกลุมเยาว์ชนในชุมชน 1 ถึง 2 กลุ่มที่เพาะเห็ดได้ และมีอาชีพสร้างร้ายได้
3.4เด็กๆมีความสามารถที่จะแสดงกิจกรรม ในกิจกรรมที่ 3.5 อย่างน้อย 5 กิจกรรม ได้และเด็กมีความรัก ความกล้าแสดงออกและเข้าใจด้านวัฒนธรรมมากขึ้น 3.5ประชาชนในชุมชนได้มีการร่วมตัวกันและมีความเป็นเอกภาพและประชาชนในชุมชนร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 120 คน 3.6 มียุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนเป็นสุขอย่างน้อย 40 คน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประชาชนทั้งหมดได้เข้าร่วมในครั้งนี้ทั้งหมด 100 คน และทุกคนทีเข้าร่วมฟังการบรรยายในครั้งนี้ได้ตระหนักถึงหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อเพือนบ้านเพราะเป็นคำสั่งทางศาสนาและเป็นการสร้างบรรยากาศอย่างหนึ่งเพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันและมีความสามัคคีกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนในด้านการสามัคคีประชุมทีมงานและเยาวชนเพื่อให้มีกิจกรรพัฒนาศักยาภาพและใช้วิทยากรจากการสำรวจศักยภาพชุมชนที่มีความรู้เฉพาะด้านศาสนา กิจกรรม สอนศาสนาเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 วัน วันละ 2 ชั่วโมง ทั้งหมด 6 ครั้ง
  • ครั้งที่ 1 สอนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้นำในทัศนะอิสลาม
  • ครั้งที่ 2 เรื่องบทบาทและหน้าที่ในชุมชน
  • ครั้งที่ 3 สอนเรื่องอยู่ร่วมกันเป็นญามาอะห์(เป็นกลุ่มมีความสามุคคี)
  • ครั้งที 4 สอนเรื่องความสัมพันธ์และความรับผิดชอบระหว่างเพื่อนมนุษย์
  • ครั้งที่ 5 สอนเรืองการทำอีบาดะห์(การปฏิบัติธรรม)
  • ครั้งที่ 6 สอนเรื่องเตาฮีด(หลักศรัทธา)

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 18.45 ร่วมกันละหมาดมัฆรีบที่มัสยิดและหลังละหมาดเสร็จแล้วได้ร่วมกันรับประทานอาหารว่างที่ได้เตรียมไว้ สืบเนื่องจากได้รับข้อเสนอจากครั้งที่แล้วเพราะว่าบางคนที่ไปร่วมละหมาดที่มัสยิดยังไม่ได้รับประอาหาร
  • เวลา 19.30 น.ร่วมกันละหมาดอีซาหลังจากเสร็จละหมาดอีซาแล้ว ก็ได้มีการบรรยายเรื่องบทบาทและหน้าที่ในชุมชน จากการสอนในครั้งนี้สรุปมุสลิมเปรียบเสมือนเรือนร่างอันเดียวกันส่วนใดส่วนหนึ่งเจ็บทุกส่วนก็เจ็บด้วย คือ มุสลิมทุกคนคือพี่น้องทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบซึ่งกันและกัน มีหน้าที่ที่จะต้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นต้น และหลังจากสอนเสร็จแล้วก็ได้แยกยายกันกลับบ้าน

 

100 100

16. รายงานปิดงวดที่1

วันที่ 15 มีนาคม 2016 เวลา 09:00-16.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดทำรายงานงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับคำแนะนำเรื่องการปรับแก้เอกสารการเงิน ให้แนบใบหักภาษีในรายงานที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย และเอกสารการเงินถูกต้อง สามารถจัดส่งรายงานงวด 1ให้ทาง สจรส.ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดทำรายงานความก้าวหน้า งวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นำเอกสารการเงินงวดที่ 1 ให้ทาง สจรส.ม.อ.ตรวจความถูกต้อง ก่อนจะทำการส่งรายงานงวด 1 ให้ทาง สจรส.ม.อ.

 

2 3

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 43 16                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 200,450.00 60,457.00                  
คุณภาพกิจกรรม 64 54                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่ 2 ( 20 ก.พ. 2016 )
  2. รายงานปิดงวดที่1 ( 15 มี.ค. 2016 )
  3. 5ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 4 ( 17 มี.ค. 2016 )
  4. กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการสำรวจข้อมูลและสำรวจข้อมูลในชุมชนและวิเคราะห์ข้อมูล ( 17 มี.ค. 2016 - 18 มี.ค. 2016 )
  5. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่4 ( 19 มี.ค. 2016 )
  6. การถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาและจารีตชุมชนครั้งที่3 ( 24 มี.ค. 2016 )
  7. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่5 ( 27 มี.ค. 2016 )
  8. 7.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 5 ( 1 เม.ย. 2016 )
  9. การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงระดับเยาว์ชนในการรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นครั้งที่6 ( 3 เม.ย. 2016 )
  10. พัฒนายุวจิตอาสาร่วมพัฒนาชุมชนสร้างสุข ( 13 เม.ย. 2016 )
  11. ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 4 ( 21 เม.ย. 2016 )
  12. 8.ประชุมสภาชุมชนครั้งที่ 6 ( 1 พ.ค. 2016 )
  13. ส่งเสริมการจัดระเบียบและปรับภูมิทัศน์ของชุมชนครั้งที่ 5 ( 25 มิ.ย. 2016 )
  14. 9.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 7 ( 26 ก.ค. 2016 )
  15. 11.ประชุมสภาชุมชน ครั้งที่ 8 ( 1 ส.ค. 2016 )

(................................)
นาย วอเฮะ เจ๊ะแม
ผู้รับผิดชอบโครงการ