task_alt

หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ หมู่บ้านยะออ ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพกายใจดี ชีวีมีสุข

ชุมชน บ้านยะออ ม.1 ต.จะแนะ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส

รหัสโครงการ 58-03994 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2176

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดประชุมทีมคณะทำงานเพื่อเตรียมพร้อมในการจัดทำโครงการ

วันที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อให้มีสภาผู้นำที่เข็มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • ประชาชนมีความเข้าใจในกิจกรรมโครงการ
  • มีคณะทำงานในการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประชาชน คณะทำงาน มีความเข้าใจในกิจกรรมโครงการไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การดำเนินงานเกิดความสะดวก รวดเร็ว บรรลุวัตุประสงค์ในการดำเนินงาน เนื่องจาก ทุกภาคส่วนเข้าใจและเสียสละ ตั้งใจ มีความรับผิดชอบในงานของตนที่ได้รับมอบหมาย สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นอกจากงานบรรลุผลแล้ว คือทำให้เห็นว่าชุมชนแข้มแข็งมากขึ้นเนื่องจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจและความร่้วมมือ ในส่วนของคณะทำงานเองเกิดความสัมพันธ์อันดี มีความสามัคคีซึ่งจะมีผลต่อการทำงานอื่นๆต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการให้ประชาชนรับทราบ

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 08.00 น. ประชุมกลุ่มทีมงาน

เวลา 08.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ประชาชนและคณะทำงานรับทราบ

เวลา 09.30-12.00 น. จัดตั้งคณะกรรมการทีมนำในการดำเนินงานโครงการพร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่/ขอบเขตงาน

เวลา 13.00-15.00 น. คณะทำงาน ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมออกแบบกิจกรรมที่กำหนด

 

10 10

2. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-15.00น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน
  • เพื่อรับฟังคำชี้แจงและกระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ปี 2558

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สามารถเข้าถึงข้อตกลงในการจัดทำโครงการฯ
  2. สามารถทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ สสส.โดยภาพรวม
  3. สามารถทราบถึงแนวทางการจัดทำรายงาน และบันทึกกิจกรรมรายงานผล ซึ่งจะประกอบด้วยแบบรายงานสรุป 4 ฉบับ (ส1-4) และแบบรายงานการเงิน 2 ฉบับ (ง1-2) 4.รับทราบถึงวิธีการจัดทำรายงานการเงิน การเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินเพื่อเบิกจ่าย
  4. สามารถจัดกระบวนการการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์ ครอบคลุมขั้นตอนการเตรียมพร้อม ขั้นทำ และขั้นตอนการทบทวนเพื่อพัฒนาให้ยั่งยืน
  5. สามารถป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการผ่านทางเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการปี 2558 มีให้บรรยายให้ความรู้เรื่องหลักการบริหารโครงการ การลงรายงาน เอกสารการเบิกเงิน การรายงานกิจกรรมทางเวบไซต์ การสังเคราะห์โครงการ และการลงปฏิทินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 09.00 ลงทะเบียน
  • เวลา 09.00 -12.00 น.ฟังการบรรยายเข้าถึงข้อตกลงในการจัดทำโครงการฯ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ สสส.โดยภาพรวมการจัดทำรายงาน และบันทึกกิจกรรมรายงานผล ซึ่งจะประกอบด้วยแบบรายงานสรุป 4 ฉบับ (ส1-4) และแบบรายงานการเงิน 2 ฉบับ (ง1-2) 4.รับทราบถึงวิธีการจัดทำรายงานการเงิน การเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินเพื่อเบิกการการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบและสมบูรณ์ ครอบคลุมขั้นตอนการเตรียมพร้อม ขั้นทำ และขั้นตอนการทบทวนเพื่อพัฒนาให้ยั่งยืน
  • เวลา13.00-15.00น. ป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการผ่านทางเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข ป้อนข้อมูลแผนภาพโครงการป้อนแผนการดำเนินงานลงในปฏิทินโครงการได้การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมได้ รับรู้ถึงปัญหาที่เคยเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไข ในการดำเนินกิจกรรมและการรายงานผลในเว็บไซต์

 

2 2

3. จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 23 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ในชุมชนและประกาศเตือนห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ทำกิจกรรม- ใช้เป็นป้ายประกาศและเป็นสื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนและผู้ร่วมกิจกรรมให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการดำเนินกิจจกรรมในครั้งนี้ สิ่งที่ได้มากกว่า ป้ายรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ในชุมชนและประกาศเตือนห้ามสูบบุหรี่ในชุมชน คือทำให้ชุมชนมีความสนใจ เข้าใจ เห็นด้วยในมาตรการ การห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่นั้นๆ เป็นการกำหนดมาตรการ กติกาในการอยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งเป็นเครื่องหมาย เตือนสติ ให้คนในชุมชน ละเลิก การสูบบุหรี่ และการที่มีป้ายติดประกาศในชุมชนยังส่งผลทำให้การดำเนินงานส่งเสริมให้ทุกภาคีเครือข่ายและประชาชนในชุมชน สะดวก เกิดความง่ายดาย เนื่องจากทุกคนรับทราบเข้าใจวัตถุประสงค์ได้โดยง่าย พร้อมให้ความร่วมมือด้วยดี กระตุ้นให้ประชาชนทุกระดับและภาคีเครือข่ายให้ความสนใจและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนตามโครงการอย่างยั่งยืน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ออกแบบป้ายตามที่สสส.กำหนด
2.สั่งทำป้ายไวนิล

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ออกแบบป้ายตามที่ สสส.กำหนด โดยระบุประโยค ดังนี้...
  • ระบุสัญลักษณ์ สสส. และประโยค "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ"
  • ระบุสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ของสสส. และประโยค "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่"
  • ระบุชื่อโครงการ
  1. สั่งทำป้ายไวนิล

 

150 150

4. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่1

วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง
  2. พัฒนาศักยภาพของแกนนำและคณะทำงานในการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-ร้อยละ 80 มีสมาชิกสภาผู้นำเข้าร่วมประชุม -มีรายงานการประชุมสภาผู้นำสร้างสุขบ้านยะออ เดือนละ 1 ครั้ง -มีการสรุปผลการดำเนินงาน ประมวลผล วิเคราะห์ปัญหาและผลการพัฒนางานในชุมชนต่อไป

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ทราบปัญหาและข้อมูลเพิ่่มเติมในการทำงานต่างๆ จากสภาผู้นำชุมชนสร้างสุขและคณะทำงาน โดยสามารถนำไปใช้ประกอบการนำเสนอข้อมูลในขั้นตอนประชาคมหมู่บ้าน ให้ได้ปัญหาที่แท้จริงจากชุมชนและเพื่อดำเนินการหาแนวทางแก้ไข้ปัญหาต่อไป อีกทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคประชาชน ผู้นำในชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถอดบทเรียนจากการจัดกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน จนได้ปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไข้ จัดทำโครงการและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชนให้อยู่ดี มีสุข เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งต่อไป
  • จากการประชุมครั้งนี้ปัญหาที่ได้ มีดังนี้ ปัญหาสิงแวดล้อมต่าง ๆ เช่น น้ำประปาไม่ไหล น้ำขุ่น คูน้ำขาด ปัญหาเศรษฐกิจของประชาชน อาชีพ รายได้ ปัญหาสุขภาพ โรคเรื้อรัง โรคฟันผุในกลุ่มต่างๆ เหงือกอักเสบ ในส่วนของปัญหาอื่นๆที่ทาง ทันตบุคลากรไม่สามารถแก้เองได้ เราได้ประสานงานให้ทาง ผู้ใหญ่บ้านและ อบต. หาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
  • ในส่วนของปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบว่าประชาชนทุกกลุ่มวัยล้วนได้รับผลกระทบจากการปวดฟันทำให้ไม่สามารถทำงาน ไปโรงเรียนได้ และยังส่งผลต่อสุขภาพองค์รวม อารมณ์ ความเครียด และที่สำคัญส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน (คณะทำงานรับผิดชอบและสัญญากับประชาชนที่จะจัดโครงการเพื่อแก้ปํยหาในเรื่องนี้ต่อไป) โดยประชาชนให้ความเห็ฯอยากให้มีการออกหน่วยเชิงรุก ออกมาบริการถอนฟัน อุดฟัน เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากไปรับบริการที่โรงพยาบาลแล้วคิวทำฟันยาว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสภาผู้นำสร้างสุขและคณะทำงาน ชี้แจงปัญหาในการทำกิจกรรม เดือนละ 1 ครั้ง
  • สภาสร้างสุขบ้านยะออ / คณะทำงาน แกนนำผู้ปกครอง แกนนำเยาวชน มีการแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน ร่วมเสนอปัญหาในการดำเนินงาน แนวทางแก้ไข และร่วมกัน สรุปประเด็นปัญหาในการจัดกิจกรรมในแต่ครั้ง
  • สรุปและนำเสนอ ข้อเสนอแนะจากชุมชนเพื่อการพัฒนางานในชุมชนต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00 น. ประชุมกลุ่มทีมงานในการดำเนินกิจกรรม

09.30 น. ลงทะเบียน

10.00 น. เริ่มการประชุม เสนอปัญหาจากการทำงานที่ผ่านมา แลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนร่วมกัน

11.00 น. สรุปประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะจากชุมชนในการดำเนินงานทั้งหมดเพื่อพัฒนางานต่อไป

 

50 50

5. ทำป้ายรณรงค์แปรงฟันก่อนละหมาด

วันที่ 25 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. พัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ
  2. พัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยม ความเชื่อมีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
  3. พัฒนาให้มีการสร้างเสริ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีสภาผู้นำและคณะทำงานในชุมชนบ้านยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชุมชนและคณะทำงานได้มีการประชุม และลงมติขึ้นให้ ชุมชนมีการวางกฏระเบียบ กติกาในการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาโรคในช่องปากที่มีผลที่ประชนชนในทางลบ โดยมีการกำหนดกติกา ดังนี้
  1. ห้ามร้านค้าในโรงเรียนจัดจำหน่ายอาหารขยะ และเครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม
  2. นักเรียนต้องแปรงฟันทุกครั้งก่อนอาบน้ำละหมาด โดยแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาที ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  3. ชุมชนให้ความร่วมมือ ที่สำคัญ ครู ผู้ปกครอง และผู้นำศาสนา ต่างเห็นความสำคัญของการแปรงฟัน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยฉพาะการแปรงฟันก่อนละหมาด 5 เวลา เนื่องจากท่านศาสนามูฮำหมัดได้กล่าวว่า หากไม่เป็นการยากลำบาก สำหรับประชาชาติของฉัน ฉันจะให้แปรงฟันก่อนอาบน้ำละหมาด และสอดคล้องกับบทอื่นๆที่ท่านศาสดาให้ความสำคัญในเรื่องของการรักษาความสะอาด กล่าวคือ แท้จริงการรักษาความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ซึ่งกิจกรรมนี้สอดของตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่คนในชุมชนนับถือ ทำให้การดำเนินงานราบรื่น เกิดความยั่งยืนในกิจกรรม และโครงการในชุมชนแห่งนี้ ที่สำคัญเกิดชุมชนเข้มแข็งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชุมชนในสังคม ถือเป็นโมเดล แบบอย่างให้กับสังคม ชุมชนอื่นๆ เนื่องจากเป็นการปลูกฝังนักเรียนและคนในชุมชนให้ตระหนักและ ดูแลรักษา สุขภาพช่องปากและองค์รวมบนพื้นฐานความเชื่อ ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยต่างๆในการแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพ ยิ่งพฤติกรรมของมนุษย์ จากการสอบถามหลังจบกิจกรรมจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปได้ว่า ชุมชนเกิดความสนใจ ต่อกิจกรรม โครงการได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีป้ายรณรงค์แปรงฟันก่อนละหมาดในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สร้างกฏกติการ่วมกัน (ฮูกมปากัติ) ในการจัดตั้งร้านค้าปลอดอาหารขยะ และปลอดน้ำอัดลมในโรงเรียนตาดีกา โดยสภาชุมชนร่วมกับผู้ปกครองของเด็กตาดีกา

กิจกรรมที่ทำจริง

  • แบ่งหน้าที่ทีมงานสร้างกระแสโดย ติดป้ายรณรงค์“แปรงฟันก่อนละหมาด”ตามสถานที่ต่างๆในหมู่บ้านและมัสยิด

 

10 50

6. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 1

วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. พัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ
  2. พัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยม ความเชื่อมีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
  3. พัฒนาให้มีการสร้างเสริ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีสภาผู้นำและคณะทำงานในชุมชนบ้านยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชุมชนมีการรวมตัวกันเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพช่องปาก ครั้งนี้ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ เกิดการพัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยม ความเชื่อมีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้ และพัฒนาให้มีการสร้างเสริมสุขภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชาชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชาชน

เวลา 08.00 น. ประชุมกลุ่มคณะทีมงานเพื่อแบ่งหน้าที่ และวางกิจกรรม
เวลา 08.30 น. ลงทะเบียน
เวลา 09.00 น. ชี้แจงการกำหนดการกิจกรรมและรายละเอียดกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบ

เวลา 09.30 น. นำเสนอข้อมูลปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมในชุมชนจากการเก็บรวบรวมข้อมูล

เวลา 10.00-12.00 น. เริ่มกิจกรรมประชาคม; ร่างปัญหา , ร่วมลงคะแนน (ตามกระบวนการประชาคมหมู่บ้าน)วิเคราะห์ปัญหา จัดลำดับความสำคัญ จนได้ปัญหารวมถึงระบุแนวทางการแก้ปัญหา ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง และผู้ประสานงานปัญหาอื่นๆที่ไม่สามารถแก้ปัญหากันเองได้ในระดับล่าง

เวลา 13.30 -15.00น. จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชนชน โดยผู้นำชุมชน

 

150 50

7. เตรียมความพร้อมการจัดตั้งสภาผู้นำสร้างสุขบ้านยะออ,อาสาสมัคร แกนนำเยาวชน ครูตาดีกาและคณะทำงานร่วมกัน

วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. สภาผู้นำที่เข้มแข็ง
  2. พัฒนาศักยภาพของแกนนำและคณะทำงานในการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีสภาผู้นำสร้างสุขบ้านยะออ 2.มีแกนนำเยาวชน แกนนำแม่บ้าน ครูตาดีกาสร้างเสริมสุขภาพบ้านยะออ 3.มีคณะทำงานสร้างสุขบ้านยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดตั้งสภาผู้นำในการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยคณะกรรมการที่ได้รับการเลือกจะได้รับมอบให้ปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งทำให้ การทำงานเกิดความง่ายเนื่องจากสภาผู้นำคือบุคคลที่ประชาชนนับถือและให้ความไว้วางใจ การทำงานง่าย สะดวก และประสบความสำเร็จเร็วขึ้น ตัวผู้นำเองเห็นความสำคัญ ตระในหน้าที่ ทำให้ทำงานด้วยความจริงจัง ส่งผลทำให้เกิดความพึงพอใจในการดำเนินงานต่างๆ ประชาชนมักเห็นด้วยในทุกๆอย่าง ซึ่งเป็นผลดี ให้ความสนใจในหัวข้อที่เจ้าหน้าที่กำลังจะแก้ ไม่เกิดการต่อต้านการทำงานเนื่องจาก ผู้ทำงานคือบุคคลที่ตนเลือก ซึ่งจุดนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ตระหนักได้ว่า ในการดำเนินงานประชาชนต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง งานถึงจะบรรลุผลสำเร็จได้ด้วยดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

09.00น.ประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้แก่ทีมงานแบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

09.30-12.00น. ประธานได้ชี้แจงที่มาโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ และกิจกรรมตามแผนที่ตั้งไว้ชาวบ้านและทีมงานร่วมกัน เสนอชื่อเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดบทบาทหน้าที่ทีมสมาชิกคณะทำงานโครงการ

13.00-15.00น. ร่วมกันออกแบบ กิจกรรมที่กำหนดให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00น.ประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้แก่ทีมงานแบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

09.30-12.00น. ประธานได้ชี้แจงที่มาโครงการ วัตถุประสงค์ดครงการ และกิจกรรมต่ามแผนทืี่ตั้งไว้ชาวบ้านและทีมงานร่วมกัน เสนอชื่อเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดบทบาทหน้าที่ทีมสมาชิกคณะทำงานโครงการ

13.00-15.00น. ร่วมกันออกแบบ กิจกรรมที่กำหนดให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

70 70

8. สร้างกฎกติการวมกันฮูกัมปากัต

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.พัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ

2.พัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยม ความเชื่อมีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้

3.พัฒนาให้มีการสร้างเสริม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีสภาผู้นำและคณะทำงานในชุมชนบ้านยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ตั้งกฏกติการ่วมกัน (ฮูกมปากัติ) ในการจัดตั้งร้านค้าปลอดอาหารขยะ และปลอดน้ำอัดลมในโรงเรียนตาดีกา ชุมชนและคณะทำงานได้มีการประชุม และลงมติขึ้นให้ ชุมชนมีการวางกฏระเบียบ กติกาในการอยู่ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาโรคในช่องปากที่มีผลที่ประชนชนในทางลบ โดบมีการกำหนดกติกา ดังนี้
  1. ห้ามร้านค้าในโรงเรียนจัดจำหน่ายอาหารขยะ และเครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม
  2. นักเรียนต้องแปรงฟันทุกครั้งก่อนอาบน้ำละหมาด โดยแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาทีใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  • ชุมชนให้ความร่วมมือ ที่สำคัญ ครู ผู้ปกครอง และผู้นำศาสนา ต่างเห็นความสำคัญของการแปรงฟัน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยฉพาะการแปรงฟันก่อนละหมาด 5 เวลา เนื่องจาก ท่านศาสนามูฮำหมัดได้กล่าวว่า "หากไม่เป็นการอยากลำบาก สำหรับประชาชาติของฉัน ฉันจะให้แปรงฟันก่อนอาบน้ำละหมาด" และสอดคล้องกับบทอื่นๆที่ท่านศาสดาให้ความสำคัญในเรื่องของการรักษาความสะอาด กล่าวคือ "แท้จริงการรักษาความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา" ซึ่งกิจกรรมนี้สอดของตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่คนในชุมชนนับถือ ทำให้การดำเนินงานราบรื่น เกิดความยั่งยืนในกิจกรรม และโครงการในชุมชนแห่งนี้ ที่สำคัญเกิดชุมชนเข้มแข็งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชุมชนในสังคม ถือเป็นโมเดล แบบอย่างให้กับสังคม ชุมชนอื่นๆ เนื่องจากเป็นการปลูกฝังนักเรียนและคนในชุมชนให้ตระหนักและ ดูแลรักษา สุขภาพช่องปากและองค์รวมบนพื้นฐานความเชื่อ ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยต่างๆในการแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพ ยิ่งพฤติกรรมของมนุษย์ จากการสอบถามหลังจบกิจกรรมจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปได้ว่า ชุมชนเกิดความสนใจ ต่อกิจกรรม โครงการได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง มีป้ายรณรงค์แปรงฟันก่อนละหมาดในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • สร้างกฏกติการ่วมกัน (ฮูกมปากัติ) ในการจัดตั้งร้านค้าปลอดอาหารขยะ และปลอดน้ำอัดลมในโรงเรียนตาดีกา โดยสภาชุมชนร่วมกับผู้ปกครองของเด็กตาดีกา

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น. ประชุมกลุ่มทีมงาน เพื่อเตรียมกิจกรรมประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

เวลา 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

เวลา 10.00-12.00 น. จัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

เวลา 13.00 น. สร้างกฏกติการ่วมกัน (ฮูกมปากัติ) ในการจัดตั้งร้านค้าปลอดอาหารขยะ และปลอดนำ้อัดลมในรร.ตาดีกา โดยสภาชุมชนร่วมกับผู้ปกครองของเด็กตาดีกา

 

50 50

9. การพัฒนาศักยภาพการมีส่วนของชุมชนครั้งที่ 1

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. พัฒนาศักยภาพของแกนนำและคณะทำงานในการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • มีเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล ดำเนินโครงการ
  • แกนนำสามารถใช้เครื่องมือในการดำเนินโครงการ
  • เกิดภาวะผู้นำในชุมชนยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการอบรมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ทีมงานและประชาชนร่วมกันจัดงานให้มีความสนุกสนาน ในขณะเดียวกัน ได้สาระความรู้มากมาย โดยในช่วงเช้า ทุกคนได้ร่วมฟังการถ่ายถอดความรู้ความเข้า่ใจ การดูแลส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง โดยมีการฝึกทักษะจริง ในช่วงบ่ายมีการจัดแข่งกันแม่ลูกฟันดี โดยมีการมอบรางวัลหลังการแข่งขันอีกด้วย มีการกล่าวชมเชย ให้กำลังใจ ประชาชนในชุมชนให้มีพลังในการดุแลสุขภาพช่องปาก วันนี้นอกจากได้ความรู้เรื่องฟันทุกคนยังเป็นประโยชน์ให้กับคนในครอบครัวคือสามารถเป็นแบบอย่างและแบ่งปันความรู้ อีกทั้งกิจกรรมครั้งนี้กระตุ้นให้เกิดกระแส การแปรงฟันให้สะอาด และถูกวิธี สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดคือ ชาวบ้านอดทน และมีความตั้งใจสูงมาก ไม่ว่าฝนจะตกก็ตาม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ออกแบบเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพ

2.จัดอบรมเรื่องการวิจัยท้องถิ่น

3.จัดอบรมภาวะการเป็นผู้นำ

4.ลงพื้นที่ออกสำรวจค้นหาข้อมูล สุขภาพในชุมชนยะออ ร่วมกัน เพื่อนำไปวิเคราะห์และนำเสนอให้กับชุมชนต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น. ประชุมกลุ่มทีมงานประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

เวลา 10.00-1200 น.วิทยากรให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การดุแลสุขภาพลูก กลุ่มผู้ปกครอง มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลฟันลูก เคล็บลับ การแปรงฟัน ชาวบ้านเล่าว่า ควรมีการแปรงฟันพร้อมกัน แม่ลูก สร้างความสนุกสนาน และเคยชิน ในการแปรงฟัน ซื้อแปรงสีฟันลายการ์ตูน ดึงดูดให้ลูกอยากแปรงมากขึ้น ชาวบ้านมีความสนใจในกิจกรรมดังกล่าวอย่างยิ่ง

เวลา 13.00 -13.20.น. ประธานชี้แจงกฎกติการการแข่งขันแปรงฟัน
เวลา13.30-15.00น.เริ่มจัดการแข่งขันการแปรงฟัน

 

70 70

10. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่2

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.มีสภาผู้นำที่เข้มแข็ง

2.พัฒนาศักยภาพของแกนนำและคณะทำงานในการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-ร้อยละ 80 มีสมาชิกสภาผู้นำเข้าร่วมประชุม -มีรายงานการประชุมสภาผู้นำสร้างสุขบ้านยะออ เดือนละ 1 ครั้ง -มีการสรุปผลการดำเนินงาน ประมวลผล วิเคราะห์ปัญหาและผลการพัฒนางานในชุมชนต่อไป

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดเครือข่ายร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ผู้นำในชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการจัดทำโครงการและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชนให้อยู่ดี มีสุข เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งต่อไป
  • จากการประชุมครั้งนี้ปัญหาที่ได้ คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหารายได้ไม่พอจ่าย และปัญหาสุขภาพในช่องปาก ซึ่งทางสภาผู้นำจะประสานให้ทางทันตสาธารณสุขเข้ามาร่วมดำเนินการในต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมสภาผู้นำสร้างสุขและคณะทำงาน ชี้แจงปัญหาในการทำกิจกรรม เดือนละ 1 ครั้ง
  • สภาสร้างสุขบ้านยะออ / คณะทำงาน แกนนำผู้ปกครอง แกนนำเยาวชน มีการแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน ร่วมเสนอปัญหาในการดำเนินงาน แนวทางแก้ไข และร่วมกัน สรุปประเด็นปัญหาในการจัดกิจกรรมในแต่ครั้ง
  • สรุปและนำเสนอ ข้อเสนอแนะจากชุมชนเพื่อการพัฒนางานในชุมชนต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00 น. ประชุมประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

09.30 น. ลงทะเบียน

10.00-1200 น. เริ่มการประชุม เสนอปัญหาจากการทำงานที่ผ่านมา แลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนร่วมกัน

13.00-15.00 น. สรุปประเด็นปัญหา และข้อเสนอแนะจากชุมชนในการดำเนินงานทั้งหมดเพื่อพัฒนางานต่อไป

 

50 50

11. อบรมการเขียนรายงานและการเงิน

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อพัฒนางานด้านการเขียนรายงานกิจกรรมส่งเข้าระบบรายงานออนไลน์
  2. เพื่อเรียนรู้ ฝึกการเขียนเอกสารด้านการเงิน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนรายงานปิดงวดเงินครั้งที่ 1
  2. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1 ค่าจ้าง ค่าวิทยากรค่าร้านที่มี VAT
  3. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำหนังสือรับอรงการหักภาษี ณ ที่จ่าย
  4. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องใบแนบ ภงด.3
  5. มีความรู้ความเข้าใจในการทำแบบสรุปการจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย ุ
  6. มีความรู้ความเข้าใจในการเก็บหลักฐานในการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมการเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ

  • การจัดเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง

  • การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่

  • ซักถามแลกเปลี่ยน

  • แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้อง

  • สรุปถอดบทเรียนร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

มีการอบรมโดยทีม สจรส.ม.อ.ให้ความรู้เรื่อง

09.30 - 10.00 น.การจัดเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง

10.30 - 11.00 น การหักภาษีโครงการชุมชนน่าอยู่

11.00 - 12.00 น.ซักถามแลกเปลี่ยน

13.00 - 16.00 น.แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้อง

16.00 - 16.30 น.สรุปถอดบทเรียนร่วมกัน

 

2 2

12. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 2

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. พัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ
  2. พัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยม ความเชื่อมีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
  3. พัฒนาให้มีการสร้างเสริ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีสภาผู้นำและคณะทำงานในชุมชนบ้านยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชาวบ้าน พ่อแม่ ผุ้ปกครอง และครู มีความสนใจ ให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมเป็นอย่างดี เกิดการสร้างกระแสสุขภาพตามวิถีอิสลามในทางที่ดี เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพองค์รวม โดยเฉพาะสุขภาพช่องปาก เนื่องจากในหลักวิชาการศาสนามีระบุอย่างชัดเจนในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก กล่าวคือ หากไม่เป็นการยากลำบากสำหรับประชาชาติของฉัน ฉันนจะให้แปรงฟันก่อนละหมาดทุกครั้ง และ จากสายรายงาน กิจวัติประจำวัน เมื่อท่านศาสนากลับเข้าบ้านสิ่งที่ท่านทำอันดับแรกคือการแปรงฟัน ด้วยเหตุ หากประชาชน ผู้ศรัทธาได้ยึดแนวทางปฏิบัติตาม ถือเป็นการทำความดี และในทางกลับกันมีความสอดคล้องกับทางการแพทย์ที่ให้แปรงฟัน เพื่อป้องกันฟันผุ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กอายุ2-3ปี จำนวน50 ครอบครัวจแกนนำเยาวชนจำนวน 30คน และเด็กนักเรียนตาดีกาจำนวน 60คนในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค
  • จัดการประกวดครอบครัวสุขภาพฟันดีในชุมชน 30 ครอบครัว (คู่พ่อลูก/แม่ลูกฟันดี 60 คน)
  • จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในรร.ตาดีกา จำนวน 60 คน มีการแปรงฟันก่อนทำศาสนกิจทุกวัน
  • แข่งทีมแปรงฟันสะอาดในตาดีกาเพื่อสร้างกระแสและแรงจูงใจให้เด็กรักการแปรงฟัน
  • อบรมครูตาดีกาให้มีความรู้และสามารถบูรณาการกับการสอนศาสนาในตาดีกา จำนวน 10 คน
  • จัดกิจกรรมแข่งตอบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจในเด็กตาดีกา
  • จัดกิจกรรมร่วมกันสร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด (โดยเชิญโต๊ะครูมาบรรยายศาสนาในชุมชนยะออ เดือนละครั้ง และมีการแปรงฟันร่วมกันหลังจากร่วมฟังบรรยายก่อนทำการละหมาดยุมอะห์)

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00 น. ประชุมทีมงาน ประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "อิสลามกับสุขภาพ"ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค

12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด

13.30 น. จัดเวทีสนทนากลุ่ม

 

40 40

13. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 3

วันที่ 25 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. พัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ
  2. พัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยม ความเชื่อมีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
  3. พัฒนาให้มีการสร้างเสริ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีสภาผู้นำและคณะทำงานในชุมชนบ้านยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้าน พ่อแม่ ผุ้ปกครอง และครู มีความสนใจ ให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมเป็นอย่างดี เกิดการสร้างกระแสการดูแลสุขภาพตามวิถีอิสลามในทางที่ดีขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชาชน

4.1อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กอายุ2-3ปี จำนวน50 ครอบครัวจแกนนำเยาวชนจำนวน 30คน และเด็กนักเรียนตาดีกาจำนวน 60คนในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค

4.2จัดการประกวดครอบครัวสุขภาพฟันดีในชุมชน 30 ครอบครัว (คู่พ่อลูก/แม่ลูกฟันดี 60 คน)

4.3จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในรร.ตาดีกา จำนวน 60 คน มีการแปรงฟันก่อนทำศาสนกิจทุกวัน

4.4แข่งทีมแปรงฟันสะอาดในตาดีกาเพื่อสร้างกระแสและแรงจูงใจให้เด็กรักการแปรงฟัน

4.5อบรมครูตาดีกาให้มีความรู้และสามารถบูรณาการกับการสอนศาสนาในตาดีกา จำนวน 10 คน

4.6จัดกิจกรรมแข่งตอบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจในเด็กตาดีกา

4.7จัดกิจกรรมร่วมกันสร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด (โดยเชิญโต๊ะครูมาบรรยายศาสนาในชุมชนยะออ เดือนละครั้ง และมีการแปรงฟันร่วมกันหลังจากร่วมฟังบรรยายก่อนทำการละหมาดยุมอะห์)

4.8จัดทำป้ายรณรงค์“แปรงฟันก่อนละหมาด”ตามสถานที่ต่างๆในหมู่บ้าน

4.9อบรมให้ความรู้ในการประกอบอาหารอ่อนหวานเพื่อสุขภาพในกลุ่มแกนนำแม่บ้านยะออ จำนวน 30 คน โดยนักโภชนากร

4.10กิจกรรมประกวดอาหารอ่อนหวานในกลุ่มแม่บ้านยะออจำนวน 30 ครอบครัวในประเพณีกวนอาซูรอเพื่อส่งเสริมให้แม่บ้านมีความตระหนักในการปรุงอาหารอ่อนหวานในครัวเรือน

4.11 สร้างกฏกติการ่วมกัน (ฮูกมปากัติ) ในการจัดตั้งร้านค้าปลอดอาหารขยะ และปลอดนำ้อัดลมในรร.ตาดีกา โดยสภาชุมชนร่วมกับผู้ปกครองของเด็กตาดีกา

4.12 จัดอบรมการปลูกผักในครัวเรือนจำนวน 30 ครัวเรือนเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนบริโภคผัก สร้างเสริมสุขภาพดีและสร้างรายได้ในครอบครัว โดยเกษตรตำบล

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00 น. ประชุมทีมงาน ประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "อิสลามกับสุขภาพ"ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กอายุ2-3ปี ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค

12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด

13.30 จัดเวทีสนทนากลุ่ม

 

40 40

14. การพัฒนาศักยภาพการมีส่วนของชุมชนครั้งที่ 2

วันที่ 26 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. พัฒนาศักยภาพของแกนนำและคณะทำงานในการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • มีเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล ดำเนินโครงการ
  • แกนนำสามารถใช้เครื่องมือในการดำเนินโครงการ
  • เกิดภาวะผู้นำในชุมชนยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จัดทำเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ ประมวลผล และสรุปสภาวะสุขภาพต่างๆในชุมชนเพื่อใช้ประกอบการแก้ปัญหา
  • ได้เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยในชุมชนได้มากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ออกแบบเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพ

  • จัดอบรมเรื่องการวิจัยท้องถิ่น

  • จัดอบรมภาวะการเป็นผู้นำ

  • ฝึกการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น แผนที่เดินดิน ปฎิทินหมู่บ้าน

  • สำรวจ วิเคราะห์ ค้นหาข้อมูล สุขภาพในชุมชนยะออ ร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น. ประชุมกลุ่มประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

เวลา 09.30 น. ละทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

เวลา 10.00-12.00 น. ประธานชี้แจงกิจกรรม แนะนำวิทยากร วิทยากรให้ความรู้จัดเรื่องการวิจัยท้องถิ่น ,ภาวะการเป็นผู้นำ,เครื่องมือ 7 ชิ้น แผนที่เดินดิน ปฎิทินหมู่บ้าน ชาวบ้านมีความสนใจ มีการโต้ตอบ ซักถาม ระหว่างชาวบ้านและวิทยากร ชาวบ้านได้มีการแลกเปลี่ยน เรื่องประวัติศาสตร์หมู่บ้านให้วิทยากรฟังประเพณีต่างๆในหมู่บ้าน

เวลา 13.30 -15.00น. ออกแบบเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพ

 

70 70

15. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 4

วันที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. พัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาในการดูแลสุขภาพ
  2. พัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยม ความเชื่อมีการบูรณาการความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากตามบริบทชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้
  3. พัฒนาให้มีการสร้างเสริ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีสภาผู้นำและคณะทำงานในชุมชนบ้านยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู มีความสนใจ ให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมเป็นอย่างดี
  • เกิดการสร้างกระแสสุขภาพตามวิถีอิสลามในทางที่ดี ทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน การเลือกอุปกรณ์ในการแปรงฟัน อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เข้าใจ และตระหนักในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการทำความสะอาดที่มีแบบอย่างมาจากท่านนบีตลอดจนได้ทบทวนหลักคำสอนในเรื่องศาสนา ทำความเข้าใจจากผู้รู้ในเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี จนไม่เกิดการต่อต้านต่อกิจกรรมการแปรงฟันก่อนละหมาดที่เป็นข้อตกลงและประกาศเป็นนโยบายในชุมชน โดยส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดเวทีคืนข้อมูลกลับสู่ประชาชน
  • อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กอายุ2-3ปี จำนวน50 ครอบครัวจแกนนำเยาวชนจำนวน 30คน และเด็กนักเรียนตาดีกาจำนวน 60คนในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค
  • อบรมครูตาดีกาให้มีความรู้และสามารถบูรณาการกับการสอนศาสนาในตาดีกา จำนวน 10 คน
  • อบรมให้ความรู้ในการประกอบอาหารอ่อนหวานเพื่อสุขภาพในกลุ่มแกนนำแม่บ้านยะออ จำนวน 30 คน โดยนักโภชนากร

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00 น. ประชุมทีมงานประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ครู เพื่อเตรียมกิจกรรม

09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

09.30 น. กิจกรรมฟังบรรยายศาสนา หัวข้อ "อิสลามกับสุขภาพ" ในมุมมองของอิสลาม ถือว่าการดูแลรักษาสุขภาพนั้นเป็นหน้าที่ (วาญิบ) สำหรับมนุษย์ เพราะสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี เป็นความโปรดปราน (เนี๊ยะมัต) ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่มนุษย์ ดังที่ท่านนบีมุฮัมหมัดกล่าวว่า“เนี๊ยะมัต (ความโปรดปราน) 2 ประการ ที่คนส่วนใหญ่มักจะหลงลืม คือ การมีสุขภาพที่ดี และการมีเวลาว่าง”อบรมครูตาดีกาให้มีความรู้และสามารถบูรณาการกับการสอนศาสนาในตาดีกา ซึ่งครูต่างสนใจฟัง

12.00 น.กิจกรรมแปรงฟันก่อนละหมาด

13.30-15.00น. จัดเสวนากลุ่มในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพช่องปากดี สะอาด ไม่เป็นโรค และให้ความรู้ในการประกอบอาหารอ่อนหวานเพื่อสุขภาพดี

 

1 53

16. การพัฒนาศักยภาพการมีส่วนของชุมชนครั้งที่ 3

วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. พัฒนาศักยภาพของแกนนำและคณะทำงานในการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • มีเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล ดำเนินโครงการ
  • แกนนำสามารถใช้เครื่องมือในการดำเนินโครงการ
  • เกิดภาวะผู้นำในชุมชนยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทางทันตกรรมในเรื่องสุขภาพช่องปาก เช่น ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ได้รับคำปรึกษาจากทันตบุคลากร การดูแลฟันปลอม การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันที่ต้องมีการแปรงฟัน ดูแลช่องปากมากขึ้นกว่าเดิม มีการเดินทางหาหมอ เข้าใจว่าฟันไม่ได้หลุดตามวัย แต่สามารถอยู่กับคนเราได้ตลอดชีวิต ผู้นำชุมชนและแกนนำสามารถนำข้อมูลสุขภาพในชุมชนมาวิเคราะห์ เพราะเป็นฐานข้อมูลในการแก้ปัญหาสุขภาพต่อไป และเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนต่อไป ชาวบ้านยะออมีทัศนะคติในการดูแลสุขภาพในทางที่ดีขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ออกแบบเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพ

  • จัดอบรมเรื่องการวิจัยท้องถิ่น

  • จัดอบรมภาวะการเป็นผู้นำ

  • ฝึกการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น แผนที่เดินดิน ปฎิทินหมู่บ้าน

  • สำรวจ วิเคราะห์ ค้นหาข้อมูล สุขภาพในชุมชนยะออ ร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น. ประชุมกลุ่มประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

เวลา 09.30 น. ละทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

เวลา 10.00 น. ประธานชี้แจงกิจกรรม แนะนำวิทยากรวิทยากรได้จัดอบรมหัวข้อ สุขภาพองค์รวมแบบฉบับตามซุนนะห์นบีสุขภาพดี ฟันดีการแปรงฟันก่อนละหมาด การแปรงฟันด้วยกล่าวบิสมีลาฮ ก่อนทุกครั้ง อิสลามเชื่อว่าสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ จะเป็นพลังที่จะนำไปสู่สุขภาพที่ดีโดยรวม เนื่องจากอิสลามเป็นวิถีการดำเนินชีวิต (Way of Life) ที่ตั้งอยู่ในกรอบแนวทางของศาสนาที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน และแบบอย่างคำสอนของท่านศาสดามุฮัมหมัด ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทั้งในเรื่องการกิน การนอน กิจวัตรประจำวันทั่วไป สังคม วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย การเจ็บป่วย ความตาย และอื่นๆ ซึ่งมีบัญญัติไว้ทั้งสิ้น

เวลา 13.30 น. วิทยากรจัดเวทีเสวนากลุ่ม ชาวบ้านมีความกระตือรื้อร้นสนุกสนาน สนใจ

 

70 70

17. การพัฒนาศักยภาพการมีส่วนของชุมชนครั้งที่ 4

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. พัฒนาศักยภาพของแกนนำและคณะทำงานในการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • มีเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล ดำเนินโครงการ
  • แกนนำสามารถใช้เครื่องมือในการดำเนินโครงการ
  • เกิดภาวะผู้นำในชุมชนยะออ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ และมีศักยภาพในการดำเนินงานในชุมชนตนเอง รู้งาน รู้หน้าที่ รู้ขั้นตอนการทำงาน รู้จัก ประสานงาน รู้จักบุคคลสำคัญ และรู้จักการแก้ปัญหา ตลอดจนบริหารทรัพยากร เข้าใจหลักงานทำงาน สามารถวิเคราะหื ปัญหา สร้างเครื่องมือในการค้นหาปัญหาที่แท้จริง จัดลำดับความสำคัญของปัยหาได้ กลุ่มเป้าหมายแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมและความสามัคคีในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • จัดอบรมภาวะการเป็นผู้นำ

  • ฝึกการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น แผนที่เดินดิน ปฎิทินหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น. ประชุมกลุ่มทีมงาน ประธานชี้แจงกิจกรรมวันนี้ แบ่งหน้าที่ ในการจัดกิจกรรม ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายสวัสดิการ อาหาร ฝ่ายประสาน ติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์

เวลา 09.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

เวลา 10.00 น. ประธานเปิดกิจกรรมแนะนำ วิทยากร วันนี้ จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง สุขภาพกับอิสลาม การมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดี ย่อมเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และกระบวนการพัฒนาในทุกด้านทุกมิติ “ผู้ใดที่ตื่นเช้าขึ้นมา มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีจิตใจที่สงบร่มเย็น ไม่มีความวิตกกังวลทุกข์ร้อน มีอาหารสำหรับบริโภคในวันนั้นก็ประหนึ่งว่าเขาผู้นั้นได้ครองโลกไว้ทั้งโลก”

เวลา 13.00 น.ทีมงานและชาวบ้าน ร่วมกันสำรวจ วิเคราะห์ ค้นหาข้อมูล สุขภาพในชุมชนยะออ

 

70 70

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 43 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 180,900.00 70,328.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68 51                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมน้อย

2.ไม่ได้เสียภาษีตามกำหนด

1.ขาดการประสานในทีมงานอย่างต่อเนื่อง ขาดการประชาสัมพันธ์กิจกรรม

2.ละเลยการเสียภาษี ไม่เข้าใจการลงข้อมูล ภงด 3

1.มีการประสานในทีมงานอย่างต่อเนื่อง เพิ่มการประชาสัมพันธ์ทางไมล์มัสยิด และ อสม.

2.ปรึกษาพี่เลี้ยงการลงข้อมูล ภงด 3 เสียภาษีตามกำหนด

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า ( 27 ก.พ. 2559 - 28 ก.พ. 2559 )
  2. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 5 ( 12 มี.ค. 2559 )
  3. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่3 ( 13 มี.ค. 2559 )
  4. อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก การบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ( 26 มี.ค. 2559 )
  5. อบรมให้ความรู้การประกอบอาหารอ่อนหวานในกลุ่มแกนนำแม่บ้านยะออ ( 8 เม.ย. 2559 )
  6. ประกวดครอบครัวสุขภาพฟันดีในชุมชน ( 9 เม.ย. 2559 )
  7. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 6 ( 16 เม.ย. 2559 )
  8. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่4 ( 23 เม.ย. 2559 )
  9. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 7 ( 7 พ.ค. 2559 )
  10. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่5 ( 8 พ.ค. 2559 )
  11. ประกวดอาหารอ่อนหวานในกลุ่มแม่บ้านยะออ ( 13 พ.ค. 2559 )
  12. สร้างเสริมสุขภาพช่องปากใน ร.ร. ตาดีกา ( 14 พ.ค. 2559 )
  13. อบรมครูตาดีกาเพื่อบรูณาการหลักสูตรการสอน ( 21 พ.ค. 2559 )
  14. แข่งแปรงฟันสะอาดใน ตาดีกา เพื่อสร้างกระแส ( 29 พ.ค. 2559 )
  15. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 8 ( 4 มิ.ย. 2559 )
  16. จัดอบรมการปลุกผักใรครัวเรือน ( 10 มิ.ย. 2559 )
  17. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่ 6 ( 12 มิ.ย. 2559 )
  18. แข่งตอบปัญหาสุขภาพเพื่อวัดความรู้ในตาดีกา ( 25 มิ.ย. 2559 )
  19. เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ครั้งที่ 7 ( 3 ก.ค. 2559 )
  20. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 9 ( 16 ก.ค. 2559 )
  21. สร้างกระแสแปรงฟันที่มัสยิด พร้อมบรรยายศาสนา ครั้งที่ 10 ( 6 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาง แวนูรียะห์ สาและ
ผู้รับผิดชอบโครงการ