directions_run

ทุ่งเกาะปาบร่วมรักษ์พืชผักพื้นบ้าน ม. 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจการอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน
ตัวชี้วัด : - มีฐานข้อมูลของพืชผักพื้นบ้านอย่างน้อย 20 ชนิด - มีแกนนำชุมชนที่มีทักษะในการเก็บข้อมูลอย่างน้อย 40 คน

 

 

1.มีฐานข้อมูลของพืชผักพื้นบ้านทั้งหมดจำนวน 45 ชนิด ได้แก่ อัญชัน ไพล ชะอม ตะขาบ เขาคัน เสาวรส ขมิ้น ส้มปอย บอลส้ม บัวบก ขิง ตะไคร้ ชะพลู พล่าโหม ต้นพ้อ ตลิงปลิง กระถิน ผักหวาน เตยหอม ชะมวง พูดโร ผักกาดนกเขา ย่านาง ต้นเอ็น ตำลึง ถั่วพลู ถั่วแกะ มันถะ ยอดหมุย ยาร่วง ดอกแค หญ้าหนวดแมว ผักปรัง ดอกโดน รากคร๋อง ข่า มะกรูด ว่านหางจระเข้ ยอ ฟ้าทลายโจร กระเจี๊ยบเขียว มะนาว พลับพลึง หม้อข้าวหม้อแกงลิง ผุ้งผิ้ง

2.มีแกนนำชุมชนที่มีทักษะในการเก็บข้อมูลอย่างน้อย 40 คน ได้แก่ คณะทำงานจำนวน 15 คน กลุ่มเยาวชนจำนวน 10 คน ตัวแทน อสม.จำนวน 10 คน กลุ่มสตรีจำนวน 5 คน

2 เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและอนุรักษ์พืชพันธ์ผักพื้นบ้านหายากของชุมชนให้คงอยู่เป็นมรดกสืบไป
ตัวชี้วัด : - มีหนังสือปรโยชน์ สรรพคุณของพืชผักพื้นบ้านอย่างน้อย 20 ชนิด - มีครัวเรือนต้นแบบที่ทำเรื่องบัญชีครัวเรือน 50% ของครัวเรือนที่มีในชุมชน - มีครัวเรือนต้นแบบที่ทำเรื่องการปลูกพืชผักพื้นบ้านจำนวน 40 ครัวเรือน - เกิดศูนย์เรียนรู้ในครัวเรือนอย่างน้อย 3 ครัวเรือน

 

 

1.มีหนังสือประโยชน์ สรรพคุณของพืชผักพื้นบ้านจำนวน 45 ชนิด เช่น ตะไคร้ มีสรรพคุณ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาสวะ แก้นิ่ว ขับประจำเดือน ขิง มีสรรพคุณ เป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ ช่วยย่อยไขมัน บัวบก มีสรรพคุณ ใช้ทาแผล ลดไข้ เจ็บคอ ร้อนใน แก้ท้องเสีย ข่า มีสรรพคุณ แก้โรคกลากเกลื้อน แก้ท้องอืด ขับลม มะกรูด มีสรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมลำไส้ แก้ไอ แก้เสมหะ ขจัดรังแค ว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณ รักษาแผลสด แผลไฟไหม้นำ้ร้อนลวก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาระบาย ไพล มีสรรพคุณ เป็นยาขับลม เป็นยาสมานแผล แก้เคล็ดขัดยอก ยอ มีสรรพคุณ แก้คลื่นไส้อาเจียน ฟ้าทลายโจร มีสรรพคุณ แก้เจ็บคอ ท้องเสีย แก้ไข้ กระเจี๊ยบเขียว มีสรรพคุณ รักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาความดัน บำรุงสมอง เป็นยาระบาย แก้พยาธิ มะนาว มีสรรพคุณ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ย่านาง มีสรรพคุณ แก้ไข้ทุกชนิด ตลิงปลิง มีสรรพคุณ ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยลดปริมาณนำ้ตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหมาน แก้ตัวร้อนเป็นไข้ ย่อยอาหาร ละลายเสมหะย่านเอ็น มีสรรพคุณ แก้เมื่อย เป็นยาบำรุงเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ อัญชัน มีสรรพคุณ บำรุงสายตา ช่วยขับปัสสาวะ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แก้ปวดฟัน ใช้ผสมอาหาร บำรุงเส้นผม ชะอม มีสรรพคุณ แก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ เป็นยาพยาธิ ช่วยขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ตะขาบ มีสรรพคุณ รักษาหูนำ้หนวก แก้อาการฟกชำ้ ถอนพิษตะขาบและถอนพิษแมงป่องได้ ถั่วพลู มีสรรพคุณ ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะ ช่วยลดกรดไขมัน แก้อาการปวดหรือมวนท้อง แก้ร้อนในกระหายนำ้ ช่วยบำรุงกำลัง ม่าวพูโร มีสรรพคุณ ป้องกันมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจล้มเหลว บำรุงสายตา ช่วยขับโลหิต ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ แก้ขับนำ้คาวปลา แก้ฟกชำ้ ชะพลู มีสรรพคุณ เจริญอาหาร แก้โรคตาฟาง บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับถ่าย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ยอดหมุย มีสรรพคุณ แก้ปวดศรีษะ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ตามืดตามัว และทาแก้พิษงู

2.ชุมชนบ้านทุ่งเกาะปาบมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 257 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่จัดทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 130 ครัวเรือน

3.มีครัวเรือนต้นแบบที่ทำเรื่องการปลูกพืชผักพื้นบ้านจำนวน 40 ครัวเรือน มีการปลูกผักพื้นบ้านทุกครัวเรือน

4.เกิดศูนย์เรียนรู้ในครัวเรือนอย่างน้อย 3 ครัวเรือน มีครัวเรือนต้นแบบทั้งหมด 5 ครัวเรือน ได้แก่ นายหมาดหนอด ดินเตบ นางฮาเรี๊ยะ หมื่นอาด นายหมาดอน หมาดง๊ะ นางแบด๊ะ ณะเตี้ย และนางฮอลีย๊ะ จิมาร

3 เพื่อยกระดับกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน
ตัวชี้วัด : - มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน1 ชุด - เกิดสภาหมู่บ้าน 1 สภา - สมาชิกสภาประกอบด้วยกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชนจำนวน 30 คน - มีการประชุมสภาผู้นำ 10 ครั้งต่อปี - มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 - มีแผนปฏิบัติการในการจัดการร่วมกันรักษ์พืชผักพื้นบ้านอย่างน้อย 5 แผนงาน

 

 

1.มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน1 ชุด ได้แก่ นายอามินทร์ ดินเตบ นางสาวจิตรวรรณ ชำนาญเพาะ นายชม ดินเตบ นายสมศักดิ์ คงแดง นางสาวเจ๊ะอาหวา คงแดง นางสาวนิตยา ดินเตบ นางสาวชนิดา เต่งทิ้ง นายสะมะ โต๊ะเต้ง นางศุภกิตติ์ มินสยม นายหอด เต่งทิ้ง นางสาวซอลีห๊ะ โส๊ะเต่ง นางสาวยุวิตา ทุ่งอ้น นางสาววิลาศ หมาดหมีน นางสาวจรรยา ชำนาญเพาะ นางสาวยารอ สุงาบารู

2.เกิดสภาหมู่บ้าน 1 สภา ได้แก่ สภาผู้นำหมู่บ้าน

3.สมาชิกสภาประกอบด้วยกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชนจำนวน 30 คน ได้แก่ กรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน ตัวแทนอสม.จำนวน 10 คน และตัวแทนกลุ่มสตรีจำนวน 5 คน

4.มีการประชุมสภาผู้นำ 10 ครั้งต่อปี ดังนี้
ครั้งที่1 วันที่ 4 ม.ค.59
ครั้งที่2 วันที่ 11 ม.ค.59 ครั้งที่3 วันที่ 5 ก.พ.59 ครั้งที่4 วันที่ 16 ก.ค.59 ครั้งที่5 วันที่ 29 ก.ค.59 ครั้งที่6 วันที่ 5 ส.ค. 59 ครั้งที่7 วันที่ 12 ส.ค. 59 ครั้งที่8 วันที่ 26 ส.ค.59 ครั้งที่9 วันที่ 5 ก.ย. 59 ครั้งที่10 วันที่ 15 ก.ย. 59

5.มีแผนปฏิบัติการในการจัดการร่วมกันรักษ์พืชผักพื้นบ้านอย่างน้อย 5 แผนงาน ได้แก่ 1.จัดประชุมคณะทำงาน 2.จัดประชุมครัวเรือนต้นแบบ 3.ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพืชผักพื้นบ้า่นครัวเรือนต้นแบบ 4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่ 5.จัำทำศูนย์เรียนรู้ครัวเรือนต้นแบบ

4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

1.มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด มีการประชุมทั้งหมด 4 ครั้ง เข้าร่วมทั้งหมด 4 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100

2.มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม จำนวน 1 ป้าย

3.มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม ได้แก่ ประชุมคณะทำงานโครงการ 1 ครั้งประชาสัมพันธ์โครงการ 10 ครั้ง ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน 10 ครั้ง ประชุมทีมวิชาการจัดทำแบบสำรวจพืชผักพื้นบ้านจำนวน 20 คน ประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูล 20 คน ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสถานการณ์จำนวน ชนิด ประโยชน์ของพืชผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชนจำนวน 7 วัน สรุป วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 100 คน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่ อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ เผยแพร่ข้อมูลของชุมชนโดยผ่านเสียงตามสายของชุมชนเดือนละ 2 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง รับสมัครครัวเรือนต้นแบบในการปลูกผักพื้นบ้านเพื่อให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้าน จำนวน 40 ครัวเรือน อบรมเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนและสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง อบรมเชิงปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ประชุมทีมคณะทำงานแกนนำเยาวชนและแกนนำชุมชนจำนวน 40 คน วางแผนลาดตระเวน ลงพื้นที่ลาดตระเวนเฝ้าระวังป้องกันการทำลายพืชผักพื้นบ้านที่มีในชุมชน เวทีทบทวนเติมเต็มกติการ่วมของหมู่บ้าน จัดงานประกาศกติการ่วมของชุมชน สรุปถอดบทเรียนการทำงานโครงการ การประชุมร่วมกับ สสส.สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงผู้รับผิดชอบ และทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรมและจัดทำรายงาน

4.มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด ในวันที่ 15 ต.ค.59