directions_run

หมู่บ้านยุคใหม่ใส่ใจสุขภาวะ หมู่ 7บ้านนาข่าใต้

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยและอันตรายจากสารเคมีในชุมชน
ตัวชี้วัด : - มีฐานข้อมูลสถานการณ์คนในชุมชนในการใช้สารเคมีในสาวนยางและพืชผักสวนครัว - มีแกนนำที่มีความรู้มีความเข้าใจเรื่องอันตรายสารเคมี และเรื่องการบริโภคที่ปลอดภัย

 

 

  • อสม.และเยวชนได้ลงพื้นที่ลงสำรวจครัวเรือนทุกครัวเรือน • สอบถามข้อมูลการใช้สารเคมี •ได้แบบสำรวจและข้อมูลจริงที่สำรวจแล้วมาประเมินได้ •ได้พูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ •ได้รับรู้ความเป็นอยู่และสัมผัสความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมากขึ้นคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยและอันตรายจากสารเคมีในชุมชน
2 เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนลดการใช้สารเคมี
ตัวชี้วัด : - มีกติกาชุมชนการลดการใช้สารเคมีในแปลงผัก - มีครัวเรือนต้นแบบปลูกพืชผักปลอดสารเคมี 80 ครัวเรือน - มีชาวสาวนยางต้นแบบที่ลดการใช้ยาฆ่าหญ้าในสาวนยาง - มีศูนย์เรียนรู้ของชุมชนจำนวน 3 ฐาน ประกอบด้วย ฐานผลิตปุ๋ยชีวภาพ ฐานธนาคารพันธ์ผัก ฐานออมเรียนรู้แปลงเกษตรปลอดสารเคมี

 

 

กำหนดกติกาชุมชน กำหนดกฎเกณฑ์เช่น ทุกครัวเรือนต้องมีการปลูกผัก พืชสมุนไพรปลอดสารเคมีไว้กินอย่างน้อยครัวเรือนละ 10 ชนิด
กำหนดโซนห้ามการใช้สารเคมี ไม่สนับสนุนการใช้สารเคมีในครัวเรือน
ไม่ซื่อหรืออุดหนุนสินค้าที่มาจากผู้ที่ใช้สารเคมี รณนรงค์งดใช้สารเคมี ปฎิเศษการใช้สารเคมี ครัวเรือนต้นแบบปลูกพืชผักปลอดสารเคมี 80 ครัวเรือน

จัดตั้งพื้นที่ศูนย์เรียนรู้แนวใหม่จำนวน 3 ฐาน

1.ฐานผลิตปุ๋ยชีวภาพ

2.ฐานธนาคารพันธ์ผัก

3.ฐานเรียนรู้แปลงเกษตรปลอดสารเคมี

4.มีการจัดตั้งผู้รับผิดชอบในแต่ละฐาน จำนวน 3 คน

3 เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนงานของชุมชน
ตัวชี้วัด : - มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน1 ชุด - มีสภาหมู่บ้านจำนวน1สภา - สมาชิกสภามาจากกลุ่มต่างๆในชุมชนประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนกลุ่มอื่นๆจำนวน 30 คน -มีการประชุมสภาผู้นำจำนวน 10 ครั้ง -มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 -มีแผนกิจกรรมอย่างน้อย 5 แผนงาน

 

 

มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน1 ชุด มีสภาหมู่บ้านจำนวน1สภา มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่องจำนวน 10 ครั้งต่อปี มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้งที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนมีการแบ่งงาน มีผู้รับผิดชอบเตรียมงาน มีการสรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง

4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

คีย์ข้อมูลได้ เข้าใจในเอกสารสัญญา สามารถทำรายงานได้ การเก็บเอกสารใบเสร็จรับเงินโดยมีตัวแทนคณะกรรมการโครงการ คณะกรรมการฝ่าย ไอที และผู้รับผิดชอบโครงการจำนวนโครงการละ 2 ท่าน ร่วมการประชุม เพื่อทุกโครงการจะได้เรียนรู้และทำความเข้าใจการทำกิจกรรมให้เป็นไปตามข้อสัญญาร่วมทั้งการรายงานผลกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นนำเอกสารการเงินให้เจ้าหน้าที่ สจรส.ตรวจสอบความถูกต้องและตรงกับรายงานในเว็ปไซน์ ดำเนินการปิดงวดรายงานการเงินได้ทำรายงานและเอกสารการปิดงวดโครงการที่สมบูรณ์