directions_run

บ้านห้วยไทร หมู่ 10 น่าอยู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจเน้นความเจริญด้านอาหาร

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและสามารถจัดการข้อมูลชุมชนได้
ตัวชี้วัด : - มีฐานข้อมูลสถานการณ์หนี้สินของคนในชุมชนจำนวน 1 ชุด - มีแกนนำชุมชนและเด็กเยาวชนที่มีทักษะในการเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน - มีแผนปฏิบัติงานของพื้นที่

 

 

  • ได้ระบบฐานข้อมูลสถานการณ์หนี้สินจำนวน 1 ชุด ที่ได้จากการลงพื้นที่สำรวจจริงทุกครัวเรือนเพื่อนำไปสู่การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล
  • ครัวเรือนต้นแบบจำนวน 30 ครัวเรือนได้รับความรู้ในการทำเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำหลักความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้
  • กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือนสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปสร้างเป็นอาชีพเสริมโดยการปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ว่าง สามารถนำผลผลิตที่เหลือจากการรับประทานในครัวเรือนนำไปจำหน่ายได้รายได้เสริม ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากอาชีพหลักในครัวเรือน
2 เพื่อให้เกิดกระบวนการการจัดการปัญหาหนี้สินในชุมชน
ตัวชี้วัด : - มีครัวเรือนต้นแบบการทำบัญชีครัวเรือนจำนวน 30 ครัวเรือน - มีกติการ่วมของชุมชน

 

 

  • เกิดกติการ่วมของชุมชน เป็นธรรมนูญหมู่บ้านในการอยู่ร่วมเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของคนในชุมชน ป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน
  • ครัวเรือนนำร่องมีการทำบัญชีครัวเรือนเกือบทุกครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
  • เกิดกลุ่มการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้อย่างน้อย 30 ครัวเรือน และเกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน 3 ศูนย์สำหรับปลูกพืชสมุนไพรและพืชผักสวนครัวในระดับชุมชน
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกการขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่
ตัวชี้วัด : - มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน จำนวน 1 ชุด - เกิดสภาหมู่บ้าน1 สภา - สมาชิกสภาประกอบด้วย กรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชนจำนวน30 คน - มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80 - มีแผนปฏิบัติการอย่างน้อย 5 แผน - ประชุมกรรมการสภา 10 ครั้ง

 

 

  • มีคณะทำงานโครงการจำนวน 15 คน ที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์
  • เกิดสภาผู้นำหมู่บ้าน 1 สภา จำนวน 30 คน จากภาคีเครือข่ายต่างๆในหมู่บ้านร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมในหมู่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้านมีบทบาทในการร่วมปรึกษาหารือร่วมกันกับตัวแทนกลุ่มต่างๆ สามารถเสนอแนะและแก้ไขปัญหาต่างที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านได้ มีการประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งโดยมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่า80%ในแต่ละครั้งเพราะคนในชุมชนเข้าใจและร่วมรับฟังในการประชุมหรือจัดกิจกรรมต่างๆ
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  • มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด เช่น การปฐมนิเทศโครงการ การปิดงวดโครงการ 2 ครั้ง มาพบพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำเอกสาร และจัดทำรารายงาน
  • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรมเป็นประจำ
  • มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม ซึ่งได้บันทึกในรายงานทุกครั้ง
  • มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด