directions_run

พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ในชุมชนบ้านบารายี

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการข้อมูล การวางแผนงานการทำงานและจัดทำแผนปฏิบัติการเรื่อง อาชีพเสริมในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนเข้าใจปัญหารายรับ รายจ่าย รายได้ในครัวเรือน 2. ชุมชนมีการปลูกพืช ผัก เป็นอาชีพเสริม 3. คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น 4. มีการนำผลผลิตไปแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 5. เกิดกองทุนหมุนเวียนด้านอาชีพในชุมชน 6. ครัวเรือนมีสภาพแวดล้อมที่ดี 7. ชุมชนมีฐานข้อมูลด้านการประกอบอาชีพและอาชีพเสริม8.ชุมชนมีนักจัดการข้อมูลด้านอาชีพเพื่อใช้ในการแก้ปัญหารายรับ รายจ่ายในชุมชน

 

 

  1. ประชาชนเข้าใจปัญหารายรับ รายจ่าย รายได้ในครัวเรือน จำนวน 120 ครัวเรือน
  2. ชุมชนมีการปลูกพืช ผัก เป็นอาชีพเสริม โดยมีครัวเรือนต้นแบบทำเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้จริง
  3. คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการปลูกพืชผักเป็นอาชีพเสริม
  4. เป็นการนำมาบริโภคในครัวเรือนเปนหลักเพื่อลดรายจ่ายและการนำผลผลิตไปแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ
  5. กองทุนหมุนเวียนด้านอาชีพในชุมชนยังคงอยู่ในระหว่างดำเนินการ
  6. ครัวเรือนต้นแบบมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นเนื่องจากแต่ละครัวเรื่อนมีการปลูกต้นไม้นอกจากพืชผักแล้วยังมีต้นไม้ยืนต้นที่ให้ความร่มรื่นแก่ชุมชนที่สามารถสร้างพื้นที่สีเขียวและเป็นมิตรกับโลกได้
  7. มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ รายจ่าย ความต้องการของประชาชนว่าจะปลูกพืชแบบไหนและสำรวจว่าประชาชนต้องการที่จะทำกองทุนธนาคารผักหรือไม่
  8. มีทีมสภาผู้นำที่ประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนมีการจัดการในการแก้ปัญหารายรับรายจ่ายในชุมชน
2 เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริหารจัดการด้านอาชีพของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ชุมชนเกิดกติกาด้านอาชีพโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2. เกิดแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพในชุมชนที่มีการบริหารจัดโดยคนในชุมชน

 

 

  1. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักจากการนำอาชีพเสริมในการปลูกพืช ผักที่สามารถนำมาสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้
  2. เมื่อมีกลุ่มต้นแบบในการทำกิจกรรมปลูกพืช ผัก แล้วเห็นผลมาก่อนจึงทำให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพในชุมชนเกิดขึ้นจริง
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกด้านกลุ่มอาชีพในชุมชน
ตัวชี้วัด : กลไกด้านอาชีพในชุมชนที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนในชุมชนที่หลากหลายทั้งท้องถิ่น ท้องที่ องค์กรศาสนา องค์กรภาคประชาชนแกนนำชุมชน กลุ่มเยาวชนในชุมชนที่มีศักยภาพ มีเวทีประชุมสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในชุมชนเป็นประจำทุกเดือน กลไกมีศักยภาพมากขึ้นและสามารถเชื่อมโยงไปสู่ชุมชนอื่นๆได้ในอนาคต

 

 

  • มีการจัดการประชุมเป็นประจำทุก ๆ เดือน โดยมีสภาผู้นำ
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  1. ได้เข้าร่วมประชุมกับสสส. สจรส.มอ. ทุกกิจกรรม เช่น พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบเอกสารโครงการ กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมคนใต้สร้างสุขภาคใต้
  2. ได้จัดทำป้าย"สถานที่นี้ปลอดบุหรี่"ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม เช่น อาคารอเนกประสงค์
  3. ได้ถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. ได้จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวน 2 เล่ม