directions_run

ศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโคกแย้ม (ต่อเนื่อง)

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.มีสภาผู้นำเดิม 20 คนและคัดเลือกเพิ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชน จากภาครัฐ และท่องถิ่นให้ได้ไม่น้อยกว่า 25 คน 2.มีการประชุมอย่างเดือนละ 1 ครั้ง 3.แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4.การประชุมแต่ครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและรื่องอื่นๆของ ชุมชน 5.มีการพัฒนาสภาผู้น้ำให้รู้และเข้าใจการจัดการชุมชนเข้มแข็ง

 

 

คณะทำงานและสภาผู้นำชุม ร่วมช่วยกันขับเคลื่อนงานของโครงการให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน มีการประชุมเตรียมทำกิจกรรม ปรึกษา หารือ เป็นประจำทุก วันที่ 15 ของเดือน มีแกนนำเข้าร่วมประมาณ 15-20 คน ต่อครั้ง และมีการพัฒนาสภาผู้นำการจัดการชุมชนให้เข็มแข็งโดยการไปดูงานที่ ม11 ต. บ้านทุ่งยาว อ.เขาชัยสน จ. พัทลุง

2 เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพครบวงจร
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนสมาชิกสภาผู้นำที่มาจากกรรมการหมู่บ้าน และสมาชิก อบต. และตัวแทนชาวนา ร้อยละ 80 2. จำนวนหลักสูตรการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ไม่น้อยกว่า 3 หลักสูตร 3. จำนวนครัวเรือนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ปรับพฤติกรรมโดยใช้สารเคมมีในการเกษตร (ประเมินโดยการสังเกตโดยคณะทำงานโครงการ ร่วมกับการสำรวจปริมาณการขายสารเคมีเพื่อการเกษตรของร้านค้าในชุมชน)

 

 

ในการทำกิจกรรมของโครงการจะได้รับความร่วมมือจากสภาแกนนำ สามาชิก กลุ่มทำนาอินทรีย์ กลุ่มเด็กเยาวชนเป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีกระบวนการเรียนรู้การจัดทำหลักสูตรการผลิดข้าวอินทรีย์ชีวภาพ ตั้งแต่ กระบวนการก่อนปลูก กระบวนการดูแลรักษา กระบวนการเก็บเกี่ยว มีสามาชิกกลุ่มทำอินทรีย์ชีวภาพเข้าร่วมจำนวน 60 คน

3 เพื่อปรับสภาพแวดล้อนในชุมชนให้เอื้อต่อการส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปข้าวอินทรีย์ชีวภาพ
ตัวชี้วัด : 1. เกิดพื้นที่การผลิตข้าวอินทรีย์รวมของชุมชนเพื่อใช้เป็ยฐานในการสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์และการส่งเสริมการบริโภค ไม่น้อยกว่า 4 ไร่ 2. มีการจัดให้ร้านค้าในชุมชนจำหน่ายผลผลิตที่แปรรูปเป็นข้าวกล้อง ข้าวขาวอินทรีย์ อย่างน้อย 3 ร้าน 3. เกิดศูนย์เรียนรู้การผลิตข้าวอินทรย์ชีวภาพครบวงจร 1 ศูนย์

 

 

มีพื้นที่การทำนาอินทรีย์ชีวภาพเป็นแปลงรวมจำนวน 4 ไร่ เป็นพื้นที่เรียนรู้ทุกกระบวนการในการผลิตข้าว กลุ่มทำนา กลุ่มเด็กเยาวชน และบุคคลที่สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้ มีการเก็บเกี่ยวข้าวคัดเลือกเป็นเมล็ดพัันธ์และรวบรวมพันธ์ข้าวจากกลุ่มสามาชิกกลุ่มทำนามาเก็บไว้เป็นธนาคารข้าวของชุมชนไว้ในการทำฤดูกาลต่อไป มีการแปรรูปข้าวเป็นข้าวกล้องจัดหน่ายในร้านชุมชน

4 เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดสภาผู้นำร่วม 3 ฝ่ายประกอบด้วยภาครัฐภาคท้องถิ่น และตัวแทนจากหมู่บ้าน ในการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้และพื้นที่สาธารณะเพื่อการผลิตเมล็ดพันธ์ 2. เกิดข้อตกลงร่วมภายในหมู่บ้านเกี่ยวกับการร่วมกลุ่มการผลิตและการจำหน่ายข้าวอินทรียชีวภาพ

 

 

การขับเคลื่อนโครงการศูนย์เรียนรู้นาอินทรีย์ที่บ้านโดยแย้มมี แกนนำ กรรมการหมู่บ้านและเทศบาล ร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อจะสร้างพื้นที่เรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวอินทีย์ชีวภาพครบวงจรตั้งแต่กระบวนการปลูกจนจึงกระบวนการแปรรูปข้าวมีการจัดตั้งกลุ่มจำหน่ายข้าวอินทรีย์ชีวภาพในชุมชน

5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

ผู้รับผิดโครงการ/การเงินโครงการ/ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็ปไซส์เข้าร่วมประชุมกับ สสส. สจรส.เป็นจำนวนประมาณ 5 ครั้ง มีการปฐมนิเทศ การอบรมการเขียนรายงาน การจัดการบริหารการเงินโครงการ การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน การจัดทำรายงานการปิดงวด เป็นไปตามเวลาที่กำหนด การจัดทำป้าย สถานที่นี้ปลอดบุหรี ติดตั้งที่ศาลาหมู่บ้าน เป็นเขตปลอดบุหรีของคนในชุมชน มีการจัดทำภาพถ่ายการดำเนินงานทุกกิจกรรมลงรายงานรูปในเว็ปครบถ้วน