แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้คนในชุมชนผลิดข้าวอินทรีย์กินเอง
ตัวชี้วัด : 1. มีกลุ่มครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวกินเอง จำนวน 30 ครัวเรือน จากครัวเรือนทำนาทั้งหมด 60 ครัวเรือน 2. มีกลุ่มผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จำนวน 1 กลุ่ม 30 คน 3. มีแปลงนาอินทรีย์ 30 ไร่ 30 ราย 4. มีข้าวปลอดภัยให้คนในชุมชนไว้บริโภคไม่น้อยกว่า 12 ตัน 5. มีธนาคารเมล็ดพันธ์ุข้าว 6. มีกฎระเบียบในการผลิตข้าวอินทรีย์

 

 

  • มีครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวกินเอง จำนวน 15 ราย จำนวน 30 ไร่
  • ครัวเรือนนำร่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ใช้เองในนาข้าว
  • เกิดกลุ่มผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จำนวน 1 กลุ่ม สมาชิก จำนวน 30 คน
  • มีแปลงนาอินทรีย์สาธิต จำนวน 3 ไร่ จำนวน 3 แบบคือ นาหว่าน นาดำและนาโยน
2 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี/เรื่องต้นทุนการผลิต/เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชน มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์
ตัวชี้วัด : 1. มีเวทีเรียนรู้ มีคนเข้าร่วมเวทีจำนวน 60 คน มีครัวเรือนตัวแทนของคน 3 วัย ตัวแทนครัวเรือน ที่ตัดสินเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่องจำนวน 30 ครัวเรือน 2. มีชุดข้อมูลผลกระทบของการทำนาเคมีและการคืนข้อมูล 3. มีแผนปฏิบัติการหนุนเสริมการทำนาอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง 4. มีชาวนาและเยาวชนที่มีความรู้และสามารถในการจัดการแปลงนา/การทำและใช้ปุ๋ยชีวภาพ/วิธีการบำรุงรักษา/การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช/การคัดพันธ์ข้าว/การเก็บเกี่ยวข้าว/การทำนาต้นทุนสูงเปรียบเทียบกับการทำวิถีนาอินทรีย์ที่สามารถลดต้นทุน พึ่งตนเองในการทำนาและเอื้อต่อสุขภาวะของชุมชน

 

 

  • มีเวทีเรียนรู้ มีคนเข้าร่วมเวทีจำนวน 60 คน มีครัวเรือนตัวแทนของคน 3 วัย ตัวแทนครัวเรือน ที่ตัดสินเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่อง จำนวน 30 ครัวเรือน
  • มีชุดข้อมูลผลกระทบของการทำนาเคมี
  • มีชุดข้อมูลการผลิต บริโภค ข้าวของในชุมชนและมีการคืนข้อมูลให้คนในชุมชนได้รับรู้ร่วมกัน
3 เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมประจำเดือนทุกเดือน 2. มีวาระการประชุม เรื่องโครงการและเรื่องของชุมชน 3. ในการประชุมทุกครั้ง มีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4. มีการพัฒนศักยภาพสภาผู้นำชุมชนให้มีทักษะ ความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน

 

 

  • มีการประชุมประจำเดือนทุกเดือน
  • ในการประชุมทุกครั้ง มีการสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ การรายงานการเงินของโครงการ และวางแผนการทำงานของโครงการด้วย
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  • มีคณะทำงานและผู้รับผิดชอบโครงการ เข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ทุกครั้งที่จัด
  • มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่ประชุมและสถานที่จัดกิจกรรมของโครงการ