แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ นาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม (ต่อเนื่อง)

ชุมชน บ้านไทรงาม หมู่ที่ 11 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93150

รหัสโครงการ 58-03832 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1933

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมสภาผู้นำชุมชนร่วมกับคนในชุมชน เพื่อทำความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ (เปิดตัวโครงการ)และรับสมัครครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวอินทรีย์

วันที่ 18 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชนมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • คนในชุมชนเข้าใจการดำเนินงานโครงการและเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 148 ครัวเรือน
  • เกิดครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวปลอดภัยจำนวน 30 ครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานโครงการและคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ การผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชนเพื่อมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์ ได้ครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวอินทรีย์ จำนวน 30 ครัวเรือน 30 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมทำความเข้าใจการดำเนินงานโครงการกับคนในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และวิทยากรให้ความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชนมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์ พร้อมกับเปิดตัวโครงการและรับสมัครครัวเรือนนำร่องผลิตข้าวอินทรีย์

 

138 112

2. ปฐมนิเทศโครงการร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานและการบริหารจัดการโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการโครงการ,การจัดทำรายงานการเงิน,หลักเกณฑ์ในการโอนเงินซึ่งจะแบ่งเป็น 3 งวด สามารถลงโปรแกรมแบบใหม่และลงปฎิทินรายละเอียดโครงการรวมไปถึงการจัดรายงานกิจกรรมโครงการได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กำหนดแผนปฎิทินโครงการรายละเอียดกิจกรรม การจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • วันแรกช่วงเช้า วิทยากรโดยทีม สจรส.ม.อ.กล่าวเปิดต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการโครงการ,การจัดทำรายงานการเงิน,หลักเกณฑ์ในการโอนเงินซึ่งจะแบ่งเป็น 3 งวด ช่วงบ่าย วิทยากรจาก สจรส.มอ ให้ความรู้เรื่องโปรแกรมแบบใหม่ในการลงปฎิทินรายละเอียดโครงการ
  • วันที่สอง แต่ละพื้นที่โครงการลงปฎิทินการดำเนินกิจกรรมโครงการ และวิทยากรให้ความรู้ต่อเรื่องการรายงานกิจกรรมโครงการลงในโปรแกรมเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

 

2 3

3. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 1

วันที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีการประชุมประจำเดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการทุกเดือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สภาผู้นำชุมชนทุกคนมีการเสนอแนวคิดใหม่ ๆ มีแผนในการทำงานร่วมกันกับตัวแทนครัวเรือนผู้ทำนา 30 คน 30 ไร่ มีตัวแทนครัวเรือนนำร่องในการทำนาอินทรีย์ จำนวน 3 ไร่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

 

33 27

4. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 1

วันที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะทำงานโครงการมีการวางแผนการดำเนินงานโครงการตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการประชุมได้เห็นความร่วมมือของคนในชุมชน มีการนำเสนอปัญหา และแสดงความคิดเห็นในเรื่องการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนหันมาดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น มีแนวคิดในการบริโภคอาหารและข้าวที่ปลอดสารพิษไว้บริโภคเองในครัวเรือน หลายครัวเรือนสมัครใจที่เข้าร่วมโครงการในการผลิดข้าวอินทรีย์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตาม โดยสภาผู้นำชุมชน

 

60 81

5. เบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชี

วันที่ 21 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อขอเบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชี

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการเบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชีโครงการนาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชี

กิจกรรมที่ทำจริง

เบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชีโครงการนาอินทรีย์คืนวิถีคนไทรงาม

 

1 1

6. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 2

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะทำงานโครงการมีการวางแผนการดำเนินงานโครงการตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานโครงการและสภาผู้นำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • คณะทำงานโครงการและสภาผู้นำชุมชนประชุมปรึกษาหารือการดำเนินกิจกรรมของโครงการ นำปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมมาแก้ปัญหาร่วมในเวทีประชุม

 

60 80

7. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 2

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีการประชุมประจำเดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการทุกเดือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สภาผู้นำชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมได้ มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมร่วมกัน มีการวางแผนงานการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จากการประชุมมีการกำหนดจะจัดกิจกรรมจัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าวชุมชนและประชุมทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลร่วมกับทีมสำรวจข้อมูลในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ให้สภาผู้นำชุมชนแต่ละคนรับผิดชอบร่วมกัน เนื่องจากแผนงานเดิมไม่สามารถจัดกิจกรรมได้เพราะเข้าช่วงฤดูฝน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เวลา 15.00 น. มีการประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ในวันนี้ประชุมเตรียมงานการสำรวจข้อมูลนาข้าวในชุมชน

 

33 28

8. อบรมการเขียนรายงาน เอกสารการเงินและการบริหารจัดการ

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน
  • เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานและการบริหารจัดการโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนรายงาน เอกสารการเงินและการบริหารจัดการ และการหักภาษี ณ ที่จ่ายมากขึ้น ว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ รายจ่ายหมวดค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจ้างทำป้าย ค่าจ้างประกอบการทำอาหาร ค่าเช่าสถานที่ ค่าวัสดุในพื้นที่ เช่น ขี้วัว แกลบ ค่าเช่าเหมารถ ค่าจ้างทำหนังสือ/เอกสารซึ่งจะต้องหักภาษี 1 % หากมีการจ่ายเงินเกิน 1,000 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

อบรมการเขียนรายงาน เอกสารการเงินและการบริหารจัดการ ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ณ วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษฺณ จัดโดย สจรส.ม.อ.

กิจกรรมที่ทำจริง

  • อบรมการเขียนรายงาน เอกสารการเงินและการบริหารจัดการ โดยทีม สจรส.ม.อ. ได้บรรยายให้ความรู้เรื่องการเขียนรายงานกิจกรรม การจัดทำเอกสารการเงิน และการหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

2 1

9. เวทียกร่างข้อตกลงการทำนาอินทรีย์

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชน มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีกฏระเบียบการผลิตข้าวอินทรีย์ และประกาศใช้กฏระเบียบ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ตัวแทนครัวเรือนผู้ทำนาอินทรีย์จำนวน 15 ราย 30 ไร่ได้ร่วมรับรู้ข้อตกลงร่วมกันและมีแนวทางที่จะถือปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีกฏระเบียบการผลิตข้าวอินทรีย์และประกาศใช้กฏระเบียบการทำนาอินทรีย์ร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมครัวเรือนนำร่องทำนาอินทรีย์ เพื่อร่างข้อตกลงร่วมกันในการทำนาอินทรีย์ และยกร่างข้อตกลงการทำนาอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

วิทยากรเวทีได้นำคุยในเรื่องประเด็นนาอินทรีย์โดยวิธีการสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่านาอินทรีย์เป็นอย่างไร ตัวแทนผู้ทำนาอินทรีย์ได้ช่วยกันระดมความคิดเห็นว่านาอินทรีย์คือการทำนาที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเลยแต่ใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพแทน หลังจากนั้นก็ได้มีการยกร่างข้อตกลงการทำนาอินทรย์ร่วมกัน ดังนี้

  1. ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี
  2. ไม่มีการใช้สารเคมี
  3. ผลผลิตที่ได้จากการทำนาไว้กินเองในครัวเรือน เหลือแบ่งปันและขายได้
  4. ผู้ทำนาต้องคืนพันธ์ข้าว ไร่ละ 25 กก. ( ตามผลผลิตที่ได้ )
  5. หากผลผลิตเสียหายให้ถือว่าข้อตกลงที่วางไว้ไม่เป็นผล
  6. สำหรับแปลงสาธิตจำนวน 3 ไร่ ให้เก็บพันธ์ และมีการลงแขกในการเก็บเกี่ยว
  7. ผู้ทำนาทุกคนจะต้องมีการเก็บข้อมูลด้านต้นทุนการผลิต การเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้จากการทำนาอินทรีย์ทุกแปลง

 

26 30

10. จัดทำฐานข้อมูลการผลิตข้าวชุมชน

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชน มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • คณะทำงาน / เด็กเยาวชนร่วมกับออกแบบเครื่องมือที่ง่ายในการเก็บข้อมูลของคนในชุมชน
  • ได้เครื่องมือที่มีรายละเอียดครอบคลุมข้อมูลในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานโครงการ / ตัวแทนสมาชิกผู้ทำนาอินทรีย์ เด็กเยาวชนร่วมกันออกแบบเครื่องมือที่ง่ายในการเก็บข้อมูลของคนในชุมชนและได้เครื่องมือที่มีรายละเอียดครอบคลุมข้อมูลในชุมชน สามารถลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำข้อมูลนา ข้อมูลเรื่องการผลิตข้าวชุมชน ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี ข้อมูลเรื่องต้นทุนการผลิต ข้อมูลชนิด ปริมาณการกินข้าว

กิจกรรมที่ทำจริง

วิทยากรเวทีร่วมกับคณะทำงานโครงการและตัวแทนสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้ร่วมกันออกแบบการเก็บข้อมูล ออกแบบเครื่องมือ ผลิตเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่

  1. จัดทำข้อมูลนา ข้อมูลเรื่องการผลิตข้าวชุมชน โดยวิธีการสอบถามว่ามีนาหรือไม่มีถ้ามีจำนวนกี่ไร่ ทำเองหรือให้เขาเช่า
  2. ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีหรือไม่
  3. ข้อมูลเรื่องต้นทุนการผลิต จำนวนพันธ์ข้าวไร่ละกี่กิโล กิโล ละกี่บาท ค่าไถ ค่าตัดข้าว
  4. ข้อมูลชนิด ปริมาณการกินข้าว ใช้พันธ์อะไรในการปลูก คนในชุมชนกินข้าวพันธุ์อะไร ราคาข้างที่ซื้อกิโลละกี่บาท

 

30 30

11. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 3

วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะทำงานโครงการมีการวางแผนการดำเนินงานโครงการตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานโครงการพร้อมด้วยสภาผู้นำชุมชนมีการวางแผนการดำเนินงานโครงการตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้และสามารถดำเนินงานตามแผนงานรวมไปถึงการสรุปผลการดำเนินได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผนและรายงานผลการติดตาม

 

60 80

12. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 3

วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีการประชุมประจำเดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการทุกเดือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีการประชุมประจำเดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการทุกเดือน สภาผู้นำชุมชนมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน มีการรายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรมให้ได้รับทราบร่วมกันเพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

 

33 33

13. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 1

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์กินเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

กลุ่มทำนามีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานกันอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สมาชิกกลุ่มทำนำอินทรีย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำนาอินทรีย์ว่าเป็นการทำนาที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเลย แต่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนทั้งหมดและมีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากหลายคนเล็งเห็นและใส่ใจสุขภาพตัวเองมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เพื่อรายงานผล / สรุปผลการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เพื่อรายงานผล / สรุปผลการทำกิจกรรม และชี้แจงขั้นตอนการทำนาอินทรีย์

 

30 33

14. รู้ทำ รู้ใช้อินทรีย์ชีวภาพ ครั้งที่ 1

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์กินเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • กลุ่มทำนามีปุ๋ยชีวภาพใช้ในการผลิตข้าวปลอดภัย
  • เกิดกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สมาชิกกลุ่มทำนาและตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจในการทำน้ำหมักชีวภาพ สามารถทำน้ำหมักได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี และผลผลิตที่ได้ในวันนี้จะเอาไปใช้ที่บ้านเพื่อรดผักและต้นไม้ที่ปลูกไว้ตามบ้านเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์เรียนรู้เรื่องการทำและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เรียนรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพและการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ โดยมีวิทยากรช่วยแนะนำและสอนให้ทำ มีด้วยกันหลายสูตร
  1. สูตรผักสด ส่วนประกอบ มีหน่อกล้วย 6 ส่วน หน่อไม้ 6 ส่วน ผักบุ้ง 6 ส่วนรำข้าว 2 กก.กากน้ำตาล 6 ลิตร (หากไม่มีผักดังกล่าวให้ใช้ผักอื่น ๆ ที่อุ้มน้ำได้ตามอัตราส่วน) สูตรผักสดเหมาะกับบำรุง ราก ลำต้น ใบ
  2. สูตรผลไม้ส่วนประกอบ กล้วยสุก6 ส่วน มะละกออ 6 ส่วน ฟักทอง 6 ส่วนรำข้าว 2 กก.กากน้ำตาล 6 ลิตร วิธีการทำ 1) ให้แยกทำทีละสูตร นำส่วนผสมแต่ละอย่างสับให้ละเอียด ผสมกับรำข้าวคลุกเคล้าให้เข้ากันใส่ถังปิดฝา 2) ใส่กากน้ำตาลคลุกเคล้าให้เข้ากันปิดฝาไว้ 7 วัน แล้วเปิดฝาใช้ไม้กวนให้ข้างล่างขึ้นข้างบนปิดฝาไว้อีก7 วัน 3) หมักได้ประมาณ2 สัปดาห์ กรองเอาแต่น้ำจะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่สามารถนำไปขยายต่อได้ หรือนำไปใช้กับพืชผักในอัตราที่เจือจาง สูตรผลไม้เหมาะกับการติดดอก บำรุงผล และรสชาติ ซึ่งทั้ง 2 สูตรสามารถใช้ร่วมกันได้
  3. น้ำหมักหอยเชอรี่ ส่วนประกอบ หอยเชอรี่ 60 กิโลกรัมใส่กระสอบทุกให้แตกหรือบด ใส่ถังหมัก 200 ลิตร ใส่น้ำสะอาดไม่ต้องเต็มถัง ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำ 5 ลิตร กากน้ำตาล 5 ลิตร คนให้เข้ากันปิดฝาหมักไว้ 1 เดือนก็ใช้ได้
  4. สมุนไพรป้องกันแมลง ศัตรูพืช ส่วนประกอบ บอระเพชร 1 ส่วน ยูคาลิปตัศ 1 ส่วน สะเดา 1 ส่วน วิธีการทำ นำส่วนผสมสับหรือตำให้ละเอียดใส่ถังหมักเติมน้ำสะอาดพอท่วมส่วนผสม ปิดฝาหมักไว้ 1 คืน กรองเอาน้ำไปใช้ 1 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นป้องกันแมลงศัตรูพืช
  5. น้ำหมักหอยเชอรี่ผสมผลไม้ ส่วนประกอบ หอยเชอรี 60 กิโลกรัมใส่กระสอบทุบให้แตก หรือบด สัปปะรด 3 กิโลกรัม มะละกอ 3 กิโลกรัม สับละเอียดใส่ถังหมัก 200 ลิตร ใส่น้ำสะอาดพอท่วม กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม หมักไว้ 20 วันนำน้ำหมักไปใช้รดพืชผักผสมให้เจือจาง

 

73 75

15. เรียนรู้พื้นที่"เพื่อนนาอินทรีย์ต้นแบบ"

วันที่ 19 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชน มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • ครัวเรือนนำร่องจำนวน 30 ครัวเรือนมีความรู้ในการผลิตข้าวปลอดภัยและสามารถนำมาปรับใช้กับพื้นที่ของชุมชนเองได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ครัวเรือนนำร่องจำนวน 30 ครัวเรือนมีความรู้ในการผลิตข้าวปลอดภัยและสามารถนำมาปรับใช้กับพื้นที่ของชุมชนเองได้ มีการแลกเปลี่ยนรู้ร่วมกัน รู้จักพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมากขึ้น เช่น ข้าวหัวนา ข้าวเบล์หอม ข้าวสังข์หยด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบนาอินทรีย์(พี่สอนน้อง)จำนวน 2 พื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เรียนรู้การทำนาอินทรีย์ การบริหารจัดการกลุ่มองค์กรเรื่องนาอินทรีย์ ณ บ้านนาปะขอ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว และเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ครบวงจร ณ บ้านท่าช้าง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

 

40 42

16. สร้างแปลงนาผลิตข้าวอินทรีย์ครั้งที่ 1

วันที่ 2 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์กินเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • เกิดแปลงนาสาธิตจำนวน 3 ไร่ เพื่อการเรียนรู้ระบบการผลิตข้าวปลอดภัยที่เหมาะสมกับภูมินิเวศน์ของพื้นที่ชุมชน
  • เกิดแปลงนาผลิตข้าวปลอดภัย จำนวน 30 ราย 30 ไร่ เพื่อเป็นแปลงนาและครัวเรือนนำร่องในการผลิตข้าวปลอดภัยไว้บริโภค

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดแปลงนาสาธิตแบบนาหว่านจำนวน 1 ไร่ เพื่อการเรียนรู้ระบบการผลิตข้าวปลอดภัยที่เหมาะสมกับภูมินิเวศน์ของพื้นที่ชุมชนโดยสมาชิกกลุ่มทำนาร่วมกับเด็กเยาวชนในหมู่บ้านช่วยกันทำช่วยกันดูแล เด็กเยาวชนสนุกกับการทำนาเพราะบางคนไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ไปช่วยผู้ปกครองทำเลย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สร้างแปลงนาผลิตข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 1 แบบนาหว่าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เกิดแปลงนาสาธิตจำนวน 1ไร่ แบบนาหว่าน โดยมีคนในชุมชนช่วยกันทำ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมแปลง การไถ การเตรียมพันธ์ข้าว วิธีการทำนาหว่านจะแช่ข้าวปลูกไว้ 1 คืนและยกขึ้นไว้บนที่แห้งตั้งไว้อีก 2 คืนก็สามารถนำไปหว่านได้ นาข้าว 1 ไร่ใช้ข้าวปลูกประมาณ 25 กิโลกรัม

 

40 42

17. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 4

วันที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะทำงานโครงการมีการวางแผนการดำเนินงานโครงการตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สภาผู้นำชุมชนและคณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามแผนที่วางไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผนและรายงานผลการติดตาม ให้สภาผู้นำชุมชนได้เสนอแนะปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน

 

60 64

18. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 4

วันที่ 6 มกราคม 2559 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีการประชุมประจำเดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการทุกเดือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สภาผู้นำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนและวิธีการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน สามารถนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาแก้ปัญหาร่วมกันได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำเดือนมกราคม สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน เพื่อจะได้ช่วยกันคิดเสนอแนะแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่อไป และรวมถึงวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินกิจกรรม

 

33 33

19. รู้ทำ รู้ใช้อินทรีย์ชีวภาพ ครั้งที่ 2

วันที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์กินเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • กลุ่มทำนามีปุ๋ยชีวภาพใช้ในการผลิตข้าวปลอดภัย
  • เกิดกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์และตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ มีการช่วยกันทำปุ๋ยจำนวน 2 ตันเพื่อแบ่งปันนำปุ๋ยที่ได้ไปใช้ใส่นาข้าว จำนวน 50 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์เรียนรู้เรื่องการทำและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์เรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพร่วมกับตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้าน โดยมีวิทยากรแนะนำการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ คือสิ่งที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืชซากสัตว์รวมถึงสิ่งขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์ที่ทับถมบนดิน หรือคลุกเคล้าอยู่ในดิน อินทรียวัตถุ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ เป็นแหล่งที่ให้อาหารพืช ทำให้ดินตรึงธาตุอาหารไว้ไม่ให้ถูกชะล้างลงในดินชั้นล่าง ช่วยให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำดีขึ้น และช่วยให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์สามารถทำได้ 2 แบบ คือ ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีส่วนผสมหลายอย่างและมีสูตรที่ไม่ตายตัวสามารถปรับสูตรให้เหมาะสมได้ตามชนิดของวัสดุที่ใช้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ถ้าหากนำจุลินทรีย์มาช่วยย่อยสลายก็จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมายา (AM) ส่วนผสมขนาด 2 ตัน 1. มูลสัตว์ (ขี้วัว) 1,000 กก. 2. แกลบดิบ 300 กก. 3. แกลบดำ 300 กก. 4. รำข้าว 300 กก. 5. น้ำหมัก 10 กก. กากน้ำตาล 6 กก. น้ำเปล่า 400 ลิตร
  • วิธีการผสมปุ่ยอินทรีย์ชีวภาพ 1. นำวัตถุดิบ มูลสัตว์ แกลบดิบ แกลบดำ รำข้าว ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน 2. ปรับกองปุ๋ยให้เรียบเสมอกัน ขนาดกองสูงประมาณ 15 เซนติเมตร 3. ผสมน้ำหมัก กากน้ำตาล น้ำเปล่า คนให้เข้ากัน นำมารดในกองปุ๋ยที่เตรียมไว้ ไม่ให้กองปุ๋ยเปียกหรือแห้งจนเกินไป 4. ผสมกองปุ๋ยอีกครั้งเพื่อให้น้ำหมักเข้ากับกองปุ๋ยได้ทั่วถึง หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน อุณหภูมิกองปุ๋ยเพิ่มขี้นให้กลับกองปุ๋ยวันละครั้งจนกว่าอุณหภูมิปกติก็นำไปใช้ได้ ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ นาข้าว ปรับปรุงบำรุงดิน ให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดีใช้ 50 กิโลกรัมต่อไร่ (ใส่ครั้งเดียวหรือ 2 ครั้ง) ผักสวนครัว ใช้รองก้นหลุม เพระต้นกล้า หรือใส่รอบทรงพุ่มประมาณ 3 กำมือ ไม้ยืนต้น ไม้ผล 1-3 กิโลกรัมต่อต้น ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ ของดิน ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การระบายน้ำ ระบายอากาศ ช่วยให้รากพืชขยายกระจายในดินให้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มแร่ธาตุต่าง ๆ แก่ดินทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง แร่ธาตุอาหารทุกชนิดมีความสำคัญเท่าเทียมกันต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าขาดแร่ธาตุอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยลดต้นทุนการทำการเกษตร เช่น ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นการนำประโยชน์ของจุลินทรีย์มาใช้ให้เกิดความรวดเร็วในการหมักวัสดุอินทรีย์ ทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำการเกษตร ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและเกษตรกรยังปลอดภัยจากสารเคมีด้วย และเป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น

 

73 73

20. ติดตาม/ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ ครั้งที่ 1

วันที่ 11 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลไกติดตาม ประเมินผล ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครัวเรือนผลิตข้าวปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการมีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงนาโดยพร้อมเพรียงกัน มีการนัดหมายกันล่วงหน้าและสามารถลงไปเรียนรู้จริงในแปลงนาทั้ง 33 แปลง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตัวแทนคณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมแปลงนา การเตรียมพันธุ์ข้าว การแช่ข้าวปลูก การไถนา การหว่านข้าว

 

5 6

21. นำภาษีหักณ. ที่่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

วันที่ 11 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำภาษีหัก ณ. ที่่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งสรรพากรตามเวลาที่กำหนดไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำภาษีหักณ. ที่่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งสรรพากร

 

1 1

22. สร้างแปลงนาผลิตข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 2

วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนผลิตข้าวอินทรีย์กินเอง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • เกิดแปลงนาสาธิตจำนวน 3 ไร่ เพื่อการเรียนรู้ระบบการผลิตข้าวปลอดภัยที่เหมาะสมกับภูมินิเวศน์ของพื้นที่ชุมชน
  • เกิดแปลงนาผลิตข้าวปลอดภัย จำนวน 30 ราย 30 ไร่ เพื่อเป็นแปลงนาและครัวเรือนนำร่องในการผลิตข้าวปลอดภัยไว้บริโภค

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สมาชิกกลุ่มทำนาและเด็กเยาวชนได้ร่วมกันทำกิจกรรมนาโยนในแปลงสาธิตจำนวน 1 ไร่ มีการเรียนรู้วิธีการโยนข้าวและลงปฏิบัติจริงในแปลง ทำให้เด็กเยาวชนในหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าในในอาชีพทำนามากขึ้นเพราะบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอาชีพทำนาเขาทำกันอย่างไร เด็กเยาวชนมีความสุขกับการได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรักความสามัคคีเห็นได้จากการร่วมกันโยนข้าวลงนาเป็นกลุ่มเป็นก้อน ไม่ต่างคนต่างทำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.สร้างแปลงรวมเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ 3 ระบบคือ หว่าน ดำ โยน จำนวน 3 ไร่ จำนวน 3 ครั้ง ตั้งแต่เตรียมแปลงแล้วลงมือทำ

2.สร้างแปลงทำนาอินทรีย์รายย่อย จำนวน 30 ไร่ 30 ราย

กิจกรรมที่ทำจริง

1.สร้างแปลงรวมเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ 3 ระบบคือ หว่าน ดำ โยน จำนวน 3 ไร่ จำนวน 3 ครั้ง ตั้งแต่เตรียมแปลงแล้วลงมือทำ

2.สร้างแปลงทำนาอินทรีย์รายย่อย จำนวน 30 ไร่ 30 ราย สมาชิกกลุ่มทำนาร่วมกับเด็กเยาวชนมีการนัดหมายกันที่จะร่วมเรียนรู้วิธีการทำนาโยนตั้งแต่การเตรียมแปลง การเตรียมพันธุ์ข้าว

  • วิธีการโยนข้าว ซึ่งมีขั้นตอนในการทำคือ เตรียมถาดในการเพาะต้นกล้า 1 แผง 2 กำกล้า ได้ 434 หลุม นา 1 ไร่ ใช้พันธุุ์ข้าวจำนวน 60 ถาด พันธุ์ข้าว 7 กิโลกรัม ใช้ดินร่วนดีกว่าดินเหนียวผสมแกลบดำปนกับดินร่่วน วิธีการเพาะกล้าปรับพื้นให้เรียบเรียงเพาะกล้าทีละถาด แถวเดียวกัน เอาดินมาโรยประมาณครึ่งหลุม หลังจากนั้นเอาพันธุ์ข้าวมาโรยเป็นแถวแล้วเอาดินมาโรยกลบอีกครั้งใช้ไม้ปาดให้เห็นปากหลุม เอาถาดเปล่ามาตั้งชนกันอีกแถวทำเหมือนเดิม (3 แถว) เอาผ้าแสลมมาปิดให้ตลอดแล้วรดน้ำให้ชุ่ม วันละ 2 ครั้ง หลังจากนั้น 3 วันกล้าจะแทงรากออกมาให้เห็น พันธุ์ข้าวแช่ข้าวปลูกเหมือนกับการทำนาหว่าน แช่ 1 คืน ยกตั้งไว้ 2 คืน เพาะไว้ประมาณ 10 วันก็นำไปโยนได้

 

40 50

23. นำภาษีหักณ.ที่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อนำภาษีหัก ณ ที่่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งสำนักงานสรรพากร

 

1 1

24. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 5

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะทำงานโครงการมีการวางแผนการดำเนินงานโครงการตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • จากการประชุมหมู่บ้านประจำเดือนสรุปได้ว่าเกษตรกรผู้ทำนาบางรายได้รับผลกระทบจากการที่ฝนตกหนักทำให้ไร่นาเสียหายหลายแปลง ทำให้ผู้ทำนาอินทรีย์ต้องจ้ดหาซื้อพันธ์ข้าวใหม่โดยงบประมาณของตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตาม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมหมู่บ้านเพื่อปรึกษาหารือขั้นตอนการทำงาน วางแผน และรายงานผลการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้ทำนำอินทรีย์ทั้งหมด พบว่าผู้ทำนาอินทรีย์บางครัวเรือนข้าวที่หว่านไว้เกิดความเสียทั้งหมดเนื่องจากได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันทำให้นาข้าวจมอยู่ใต้น้ำ ข้าวที่หว่านจมไปกับน้ำ

 

60 66

25. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 5

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 15:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีการประชุมประจำเดือนเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการทุกเดือน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สภาผู้นำชุมชนได้ร่วมกันพูดคุยปรึกษาหารือถึงวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันจนได้ข้อยุติว่าให้เกษตรกรผู้ทำนาอินทรีย์ซื้อพันธ์ข้าวปลูกมาหว่านใหม่ สำหรับค่าใช้จ่ายทางโครงการจะออกให้ครึ่งหนึ่งแต่คงไว้ซึ่งการทำนาอินทรีย์เหมือนเดิมและห้ามใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีเด็ดขาด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสภาผู้นำชุมชน เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ประจำทุกเดือน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • สภาผู้นำชุมชน จำนวน 30 คน ได้ร่วมกันประชุม เพื่อติดตาม ประเมินผล รายงานผลการดำเนินงานของกิจกรรมในโครงการพบว่ากิจกรรมสร้างแปลงนาผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มผู้ทำนาอินทรีย์บางรายได้ประสบปัญหาน้ำท่วมแปลงนาเสียหายทั้งแปลงเนื่องจากได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน

 

33 30

26. ประชุมทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลร่วมกับทีมสำรวจข้อมูล

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เรื่องต้นทุนการผลิต เรื่องปริมาณการกินข้าวของคนในชุมชน มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตข้าวอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • เกิดแกนนำที่เข้าใจเครื่องมือในการเก็บข้อมูลชุมชน
  • แกนนำมีความรู้ในการเก็บข้อมูลและสามารถลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำ/คณะทำงานและเด็กเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลและสามารถลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยมีการแบ่งโซนออกเป็น 6 โซน คือ

  1. โซนใต้จันทร์ จำนวน 26 ครัวเรือน
  2. โซนบ้านออก จำนวน 25 ครัวเรือน
  3. โซนกลางบ้าน จำนวน 25 ครัวเรือน
  4. โซนบ้านตีน จำนวน 20 ครัวเรือน
  5. โซนบ้านหัวหรั่ง จำนวน 23 ครัวเรือน
  6. โซนบ้านเขานุ้ย จำนวน 6 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลร่วมกับทีมสำรวจข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมทำความเข้าใจแบบสำรวจข้อมูลร่วมกับทีมสำรวจข้อมูลโดยแกนนำ / คณะทำงานและเด็กเยาวชน มีวิทยากรในชุมชนเป็นผู้ให้ความรู้และให้คำแนะนำในการลงไปจัดเก็บ แบบสำรวจข้อมูลมีทั้งหมด 5 หมวด คือ

  • หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป มีชื่อผู้ให้ข้อมูล ที่อยู่ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก อาชีพรองและจำนวนสมาชิกที่อยู่ในครัวเรือน

  • หมวดที่ 2 ข้อมูลการอยู่อาศัย การถือครองที่ดิน
  • หมวดที่ 3 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ มีรายได้หลักของครัวเรือน รายจ่ายของครัวเรือน หนี้สิน และการเก็บออมเงิน
  • หมวดที่ 4 ข้อมูลสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ/อาชีพทำนา พื้นที่ทำนาทั้งหมด พื้นที่ตั้งนา ทำนาปีละกี่ครั้ง ประเภทการทำนา ชนิดพันธ์ข้าวที่ทำ ทำบริโภค หรือขาย ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตข้าว การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง วัชพืช เครื่องมืออุปกรณ์ในการทำนา ต้นทุนผลผลิตต่อไร่ ผลผลิตรวมต่อไร่
  • และหมวดที่5 ข้อมูลการบริโภค ข้าวสารที่นำมาบริโภค ชนิดข้าวที่นิยมบริโภค ปริมาณการบริโภคข้าวสารในครัวเรือนและจะเลือกินข้าวพื้นเมืองชนิดไหน

 

20 27

27. ติดตาม/ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ ครั้งที่ 2

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

เกิดกลไกติดตาม ประเมินผล ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครัวเรือนผลิตข้าวปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • แปลงนาอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่มทำนาทั้ง 33 ไร่ ต้นข้าวในแปลงนามีความเจริญเติบโตตามระยะเวลาในการทำอย่างเป็นระบบ แต่บางแปลงก็มีปัญหาเนื่องจากเกิดน้ำท่วมขังทำให้ต้องหว่านใหม่ในบางแปลง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตัวแทนคณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ จำนวน 6 คน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ทั้งระบบ แบบนาหว่าน นาโยน นาดำ ซึ่งจากการลงพื้นที่ได้พบปัญหาว่าได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันจนทำให้น้ำท่วมแปลงนาของสมาชิกกลุ่มทำนา สมาชิกกลุ่มทำนาบางคนต้องทำการหว่านใหม่

 

5 6

28. ติดตามหนุนเสริมครั้งที่2

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามหนุนเสริมประเมินผลโครงการ ครั้งที่2

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานโครงการและการเงินมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสรุปผลการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงการและตรวจสอบเอกสารการเงินให้ถูกต้อง

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดทำเอกสารการเงินงวดที่ 1 ให้เรียบร้อยเพื่อให้ทีมงานพี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความถูกต้อง

 

3 3

29. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 2

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่่อติดตามและประเมินผลการทำกิจกรรม/ปัญหาอุปสรรคระหว่างการทำนาอินทรีย์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

กลุ่มทำนามีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานกันอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรียได้เห็นถึงความแตกต่างในต้นทุนการผลิตรที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการใช้สารเคมีหรือปุุ๋ยเคมี แต่การดูแลรักษาในช่วงแรกๆอาจจะยากกว่าเพราะอยู่ในช่วงของการปรับสภาพด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เพื่อรายงานผล / สรุปผลการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ เพื่อรายงานผล / สรุปผลการทำกิจกรรม และชี้แจงขั้นตอนการทำนาอินทรีย์

 

30 30

30. จัดทำรายงานการเงิน งวดที่ 1

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ/ตรวจเอกสารการเงินและจัดทำรายงานการเงิน งวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามแผนที่วางไว้และเอกสารการเงินเรียบร้อยถูกต้อง สามารถจัดส่งรายงานงวด 1 ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ/ตรวจเอกสารการเงินและจัดทำรายงานการเงิน งวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

  • มีการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ/ตรวจเอกสารการเงินและจัดทำรายงานการเงิน งวดที่ 1ตามแผนงานที่วางไว้

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 69 30                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 207,820.00 124,143.00                  
คุณภาพกิจกรรม 120 96                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.การทำนาอินทรีย์เนื่องจากสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์บางรายต้องหว่านเมล็ดพันธ์ุข้าวใหม่ถึงสามรอบทำให้มีค่าใช้จ่ายในการทำนาเพิ่มขึ้น

ภัยธรรมชาติ(น้ำท่วมขังแปลงนาติดต่อกันหลายวันถึงสามครั้ง

ซื้อพันธ์ุข้าวมาหว่านใหม่โดยทางโครงการออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของราคาเมล็ดพันธ์ุข้าว

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ติดตามหนุนเสริมครั้งที่2 ( 16 ก.พ. 2559 )
  2. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 2 ( 18 ก.พ. 2559 )
  3. จัดทำรายงานการเงิน งวดที่ 1 ( 20 ก.พ. 2559 - 21 ก.พ. 2559 )
  4. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 1 ( 22 ก.พ. 2559 )
  5. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 2 ( 23 ก.พ. 2559 )
  6. สร้างแปลงนาผลิตข้าวอินทรีย์ ครั้งที่ 3 ( 24 ก.พ. 2559 )
  7. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 3 ( 25 ก.พ. 2559 )
  8. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่4 ( 26 ก.พ. 2559 )
  9. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 5 ( 27 ก.พ. 2559 )
  10. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ครั้งที่ 6 ( 28 ก.พ. 2559 )
  11. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 6 ( 6 มี.ค. 2559 )
  12. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 ( 6 มี.ค. 2559 )
  13. เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ( 12 มี.ค. 2559 )
  14. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 7 ( 6 เม.ย. 2559 )
  15. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 7 ( 6 เม.ย. 2559 )
  16. ติดตาม/ตรวจเยี่ยมแปลงนาอินทรีย์ ครั้งที่ 3 ( 24 เม.ย. 2559 )
  17. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 8 ( 6 พ.ค. 2559 )
  18. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 8 ( 6 พ.ค. 2559 )
  19. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 3 ( 20 พ.ค. 2559 )
  20. เก็บข้าวนาวาน ( 21 พ.ค. 2559 )
  21. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 4 ( 28 พ.ค. 2559 )
  22. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 9 ( 6 มิ.ย. 2559 )
  23. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 9 ( 6 มิ.ย. 2559 )
  24. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 10 ( 6 ก.ค. 2559 )
  25. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 10 ( 6 ก.ค. 2559 )
  26. ประชุมสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ครั้งที่ 5 ( 18 ก.ค. 2559 )
  27. ประชุมประจำเดือนวาระหมู่บ้าน ครั้งที่ 11 ( 6 ส.ค. 2559 )
  28. ประชุมสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 11 ( 6 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาง ยุภา ธนนิมิตร
ผู้รับผิดชอบโครงการ