task_alt

แหล่งเรียนรู้ ปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก (ต่อยอด ปี 2)

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ แหล่งเรียนรู้ ปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก (ต่อยอด ปี 2)

ชุมชน บ้านคลองหมาก หมู่ที่3 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ 81130

รหัสโครงการ 58-03849 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1888

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมให้น่าอยู่ภาคใต้ ปี 2558

วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน
  • เพื่อการจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจ และได้ลงมือปฏิบัติจริง เข้าใจการจัดทำโครงการ ต้องมีคณะทำงาน มีการวางแผนการทำกิจกรรมใน 1 ปี ซึ่งได้ลงกิจกรรมในปฏิทินแผนงานโครงการเสร็จ และจะนำแผนกิจกรรมไปนำเสนอในเวทีประชุมคณะทำงานอีกครั้ง เข้าใจการทำกิจกรรมทุกครั้งต้องรายงานผลการทำกิจกรรมและมีเอกสารใบสำคัญทางการเงินถูกต้อง ที่ประชุมได้แจ้งให้ทราบว่าต้องรายงานกิจกรรมทุกเดือน และไม่มีรายงานล่าช้าเกิน 2 เดือนจะถือเป็นโครงการเสี่ยง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ปี 2558 ระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2558 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง โดยมีเนื้อหาในการประชุม ดังนี้
  • การบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การจัดการความเสี่ยงของโครงการ
  • การทำรายงานโครงการ และรายงานทางการเงิน
  • การสังเคราะห์ผลโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้
  • การใช้ระบบเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข
  • กระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้
  • กรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ปี 2558 ระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2558 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง โดยมีเนื้อหาในการประชุม ดังนี้
  • การบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การจัดการความเสี่ยงของโครงการ
  • การทำรายงานโครงการ และรายงานทางการเงิน
  • การสังเคราะห์ผลโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้
  • การใช้ระบเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข
  • กระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้
  • กรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ

 

1 1

2. ประชุมสภาผู้นำเพื่อทบทวน ทำความเข้าใจ และมอบหมายหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดเวทีประชาคมเปิดตัวโครงการ

วันที่ 11 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจให้แก่สภาผู้นำในการดำเนินกิจกรรมเปิดตัวโครงการ แหล่งเรียนรู้ ปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก (ต่อยอด ปี 2)
  2. เพื่อมอบหมายหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดเวทีประชาคมเปิดตัวโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

สภาผู้นำชุมชนรับรู้บทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบในการจัดเวทีประชาคมเปิดตัวโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะกรรมการสภาผู้นำ เข้าใจเป้าหมายของการทำโครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อยอดในปีที่ 2 และได้รับทราบกิจกรรมในแผนงานโครงการตลอดทั้งปี ซึ่งยังไม่มีการเลื่อนวันในตอนนี้ และจะจัดประชุมทุกเดือนเพื่อติดตามผลการดำเนินกิจกรรม
  2. คณะกรรมการสภาผู้นำทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดเวทีประชาคมเปิดตัวโครงการ และจะประชุมเพื่อเตรียมเวทีเปิดโครงการอีกครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. กล่าวเปิดการประชุมโครงการโดยนายทวีชัย อ่อนนวน พี่เลี้ยงโครงการ เพื่อชี้แจงหลัการและวัตถุประสงค์ของโครงการ
  2. แลกเปลี่ยน ซักถามข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการให้ประสบความสำเร็จ
  3. มอบหมายงาน หน้าที่รับผิดชอบตามความถนัดและความเหมาะสม โดยเน้นความรับผิดชอบตามภาระหน้าที่หลัก
  4. รับประทานอาหาร
  5. สรุปการประชุม ปิดการประชุม โดย ผู้นำศาสนาภายในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • กล่าวเปิดการประชุมโครงการโดยนายทวีชัย อ่อนนวน พี่เลี้ยงโครงการ เพื่อชี้แจงหลัการและวัตถุประสงค์ของโครงการ
  • แลกเปลี่ยน ซักถามข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการให้ประสบความสำเร็จ
  • มอบหมายงาน หน้าที่รับผิดชอบตามความถนัดและความเหมาะสม โดยเน้นความรับผิดชอบตามภาระหน้าที่หลัก
  • รับประทานอาหาร
  • สรุปการประชุม ปิดการประชุม โดย ผู้นำศาสนาภายในหมู่บ้าน

 

25 25

3. จัดทำป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่

วันที่ 12 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ สสส.
  • เพื่อติดป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ป้ายประชาสัมพันธ์จำนวน 1 ป้าย ติดตั้งไว้ที่มัสยิดบ้านคลองหมาก เกิดผลลัพธ์ดังนี้ เมื่อได้ติดป้ายเขตปลอดบุหรี่แล้วทำให้ชาวบ้าน ประชาชนทั่วไปได้เห็นและตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อเพื่อนมนุษย์ไม่กล้าที่จะสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ ที่สำคัญชาวบ้านรู้และเข้าใจวิถีการอยู่ร่วมกัน ในสังคมและให้เกียรติกับสถานที่มากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประสานกับพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำลักษณะป้ายมาตรฐานที่ สสส.กำหนด
  2. ประสานกับร้านรับจ้างทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
  3. ติดป้ายในสถานที่กำหนดไว้ คือ บริเวณมัสยิดบ้านคลองหมาก

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดทำป้ายไวนิล
  2. ปิดประกาศในบริเวณที่กำหนดคือมัสยิดบ้านคลองหมาก 3.บันทึกภาพกิจกรรม
  3. จัดเอกสารรายงานส่ง สสส.

 

100 180

4. ประชุมสถาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการ เตรียมความพร้อมในการเปิดตัวโครงการครั้งที่ 2

วันที่ 16 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ประชุมสภาผู้นำชุมชนและคณะกรรมการโครงการ เตรียมความพร้อมในการเปิดตัวโครงการครั้งที่ 2

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

สภาผู้นำชุมชนรับรู้บทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบในการจัดเวทีประชาคมเปิดตัวโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สภาผู้นำได้รับทราบยการดำเนินงานโครงการ มีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักเกี่ยวกับการภาระหน้าที่ ที่ตนรับผิดชอบ โดยแบ่งหน้าที่เป็นฝ่าย การเงิน ฝ่ายประสานงาน ฝ่ายอาหาร ฝ่ายอาคารสถานที่ ฝ่ายพิธีกร ฝ่ายกิจกรรม และฝ่ายอำนวยการ ในช่วงที่มีการจัดกิจกรรม
  2. ประชาชนได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • เปิดการประชุมโครงการโดยนายสุเมศ บินระหีม เพื่อชี้แจงหลัการและวัตถุประสงค์ของการเปิดโครงการแหล่งเรียนรู้ ปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก (ต่อยอด ปี 2)
  • แลกเปลี่ยน ซักถามข้อสงสัยเพิ่มเติม
  • มอบหมายงาน หน้าที่รับผิดชอบ ในเวทีเปิดโครงการ
  • สรุปการประชุม ปิดการประชุม โดย ผู้นำศาสนาภายในหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ทำจริง

  • เปิดการประชุมโครงการโดยนายสุเมศ บินระหีม เพื่อชี้แจงหลัการและวัตถุประสงค์ของการเปิดโครงการแหล่งเรียนรู้ ปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บ้านคลองหมาก (ต่อยอด ปี 2)
  • แลกเปลี่ยน ซักถามข้อสงสัยเพิ่มเติม
  • มอบหมายงาน หน้าที่รับผิดชอบ ในเวทีเปิดโครงการ
  • สรุปการประชุม ปิดการประชุม โดย ผู้นำศาสนาภายในหมู่บ้าน

 

25 25

5. จัดเวทีเปิดตัวโครงการ

วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชุมทำความเข้าใจแผนงาน กระบวนการดำเนินโครงการ และประชาสัมพันธ์โครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับรู้ เข้าใจ ถึงวัตถุประสงค์และกระบวนการดำเนินงานโครงการโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คนในชุมชนที่มีที่นาบนเกาะทุ่งท่าไร ได้รับทราบว่าโครงการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองบ้านคลองหมาก ได้รับการต่อยอในปีที่ 2 และรู้สึกยินดี่มีโครงการต่อยอด ทำให้ได้สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์เพิ่มขึ้น 60 ครัวเรือน จากเดิม 32 ครัวเรือน และได้ทำนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
  • เกิดกลุ่มเครือข่ายในุมชนบ้านคลองหมากที่เข้ามาร่วมสนับสนุนการทำโครงการ เพื่อให้เกิดการทำนาวิถีอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น โดยมีเครือข่ายสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามตันมียะห์ อบต.คลองขนาน ครูและผู้นำศาสนาในพื้นที่ รวมทั้งทีมสื่อ สสส. ทจะชวยสนับสนุนการทำนาอินทรีย์ร่วมกันอย่างยั่งยืน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เตรียมสถานที่ประชุม
  2. ประสานงานทำหนังสือเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
  3. แจ้งประชาสัมพันธ์ชาวบ้านในชุมชน
  4. จัดเวทีเปิดตัวโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. กิจกรรมชีแจงและเปิดตัวโครงร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน เริ่มจากจัดสถานที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เตรียมอาหารช่วงเช้า
  2. ฝ่ายทะเบียนได้จัดให้ผุู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
  3. เริ่มประชุมชี้แจงเฉพาะผู้เข้าร่วมกิจกรรมภายในชุมชนเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ ดังนี้
  • ผู้รับผิดชอบโครงการแถลงเปิดตัวโครงการ ชี้แจงหลักการและเหตุผลใการจัดโครงการ
  • นายก อบต.คลองขนานแถลงการเป็นแนวร่วมสนับสนุนโครงการ
  • พี่เลี่ยงจาก สสส. ชี้แจงกฎกติกา ให้ความรู้เกี่ยวกับการโครงการของ สสส.
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมซักถาม แสดงความคิดเห็น
  • กล่าวปิดงานโดยผู้นำศาสนา

 

60 70

6. ค้นหาสมาชิกที่มีความพร้อม และจัดอบรมพูดคุย ทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญการทำนา

วันที่ 18 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อขยายจำนวนสมาชิกครัวเรือน ปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บนเกาะทุ่งท่าไร่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

• ได้กลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมในการทำนาบนเกาะทุ่งท่าไร่ • กลุ่มได้รับความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำไปนำไปสู่การทำนาแบบลดต้นทุนปลอดสารเคมี

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ชาวบ้านผู้ทำนาเเห็นด้วยกับการทำนาลดต้นทุน ทำนาแบบอินทรีย์ลดใช้สารเคมี ซึ่งจะนำไปปฏิบัติจริงต่อไป
  • ได้สมาชิกที่สมัครใจทำนาอินทรีย์ 60 คน 200 ไร่ ในเกาะทุ่งท่าไร
  • ผู้เข้าร่วมได้ความรู้เรื่องการทำนาอินทรีย์ ในด้านทุนการผลิตที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการทำนาเคมี เนื่องจากสามารถทำปุ๋ยเองได้ แต่ต้องมีเวลาดูแลข้าวมากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ผลดีของการทำนาอินทรีย์ คือ ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และปลอดสารเคมี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมวางแผนและสร้างความเข้าใจแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
  • ค้นหาสมาชิกที่มีความพร้อมและมีพื้นที่ทำนาบนเกาะทุ่งท่าไร่
  • จัดอบรมสมาชิกเพื่อทำความเขข้าใจ เรื่องความสำคัญขของการทำนาแบบลดต้นทุน การทำนาอินทรีย์ลดใช้าสารเคมี และการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เปิดการอบรมขยายจำนวนสมาชิกครัวเรือน ปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ตามแนวทางชีววิถี บนเกาะทุ่งท่าไร่
  2. ช่วงเช้าอบรมเรื่องการลดต้นทุนการทำนา โดยคุณอาณัติ กุลดี ผู้นำศาสนาในหมู่บ้าน
  3. เที่ยงตรงพักรับประทานอาหาร
  4. ช่วงบ่ายอบรมเรื่องการทำนาอินทรีย์ลดใช้สารเคมี โดยอาณัติ ช่างเรือ รองผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามตันมีหย๊ะจำกัด
  5. อบรมเรื่องการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง โดยอำมาตย์ กุลดี
  6. แลกเปลี่ยนผู้เข้าร่วม และปิดการอบรม

 

60 60

7. อบรมเพิ่มความรู้เรื่องการทำอินทรีย์ปลอดสารเคมี เพื่อการลดต้นทุนการผลิต

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่ออบรมเเพิ่มความรู้ ความเข้าใจเรื่องการทำนาอินทรีย์ปลอดสารเคมี
  2. เพื่อการลดต้นทุนการผลิตของชาวนา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • ผู้อบรมได้รับความรู้การลดต้นทุนในการทำนา การคัดพันธ์ข้าว การเพาะกล้าข้าว การโยนกล้า การเก็บเกี่ยวข้าว วิธีการบำรุงรักษา การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ ทำให้ระบบนิเวศบนเกาะทุ่งท่าไร่ดีขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำนาอินทรีย์ปลอดสารเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยนำฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยวหมักน้ำหมักชีวภาพเพื่อทำเป็นปุ๋ย จะช่วยลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยซึ่งปุ๋ยเคมีมีราคาสูงกระสอบละ 700 บาท ทำนา 1 ครั้งต้องใช้ 2 กระสอบ การใช้ปุ๋ยที่ทำขึ้นเองนั้น ทำให้ต้นข้าวแข็งแรง มีความต้านทางต่อโรคและแมลง
  2. ได้ความรู้เรื่องการปรับสภาพดินก่อนการทำนา ซึ่งเกาะทุ่งท่าไร่ดินจะเป็นกรด ใช้โดโลไมล์กับหินฝุ่น ผสมกันเพื่อให้ดินปรับสภาเป็นกลาง ร่วนซุยและมีธาตุอาหารก่อนหว่านข้าว
  3. การคัดพันธุ์ข้าว โดยดูช่อรวงที่หนา ตรงกลางช่อ ดูต้นข้าวที่แข็งแรง โดยให้ชาวบ้านเก็บข้าวไว้ตอนเก็บเกี่ยว ข้าวพันธุ์พื้นบา้นได้แก่ พันธุ์ข้าวดอกไม้ หอมใบเตย ข้าวรูมูฟและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้สมุนไพรที่มีรสขมและร้อน ได้แก่ สะเดา
  4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้นำไปปรับใช้ ลงมือปฏิบัติจริงได้
  5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเเกิดความเชื่อมั่นและมีความสุขกับการประกอบอาชีพการทำนา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เปิดโครงการและบรรยายพิเศษ โดย นางเยาวภา ชัยประจง เกษตรอำเภอเหนือคลอง
  2. อบรมให้ความรู้เรื่องการทำนาอินทรีย์ปลอดสารเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดย นายปฏิวัติ บุญสวรรณ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ
  3. อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับสภาพดิน โดย นายปัญญา ใจสมุทร นักวิชาการสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกระบี่
  4. อบรมให้ความรู้เรี่องการคัดพันธุ์ข้าวการเพาะกล้าข้าวการโยนกล้าการเก็บเกี่ยวการบำรุงรักษาและการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดย นายสุเมศ บินระหีม
  5. ปิดโครงการโดย ผู้นำศาสนา ในชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เปิดโครงการและบรรยายพิเศษ โดย นางเยาวภา ชัยประจง เกษตรอำเภอเหนือคลอง
  2. อบรมให้ความรู้รู้เรื่องการทำนาอินทรีย์ปลอดสารเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดย นายปฏิวัติ บุญสวรรณ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ
  3. อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับสภาพดิน โดย นายปัญญา ใจสมุทร นักวิชาการสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกระบี่
  4. อบรมให้ความรู้เรี่องการคัดพันธุ์ข้าวการเพาะกล้าข้าวการโยนกล้าการเก็บเกี่ยวการบำรุงรักษาและการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดย นายสุเมศ บินระหีม
  5. ปิดโครงการโดย ผู้นำศาสนา ในชุมชน

 

60 60

8. จัดอบรมให้ความรู้การทำนาแก่บุตรหลานเจ้าของที่นาและผู้ที่สนใจ

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเบื่องต้นเกี่ยวกับการทำนา
  2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความผูกพันธ์และเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการประกอบอาชีพการทำนา
  3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกรักต่ออาชีพการทำนา

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • เยาวชนบุตรหลานเจ้าของที่นา และผู้สนใจที่เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความรู้สึกดีรักและหวงแหนต่อการที่นา สามารถที่จะลงมือทำนาสืบทอดรุ่นสู่รุ้นต่อไป

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำนา จากการบรรยายและพาไปดูพื้นที่นา โดยขั้นแรกต้องมาการคัดเมล็ดพันธุ์ที่ดีเก็บไว้ ก่อนทำนาต้องไถดิน ซึ่งเมื่อก่อนใช้ควายไถแต่ปัจจุบันใช้รถไถนา และนำเมล็ดพันธ์ุข้าวไปหว่านโยน เรียกว่า นาโยน และบำรุงข้าวโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถทำเองได้ รอจนข้าวท้อง (ข้าวสุก) จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้ และที่สำคัญการทำนาต้องใช้น้ำฝน ดังนั้นการทำนาต้องทำในช่วงปลายฤดูฝน คือช่วงเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน การบรรยายในครงนี้ส่งผลให้เด็กและเยาวชนมีความผูกพันธ์และเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการประกอบอาชีพการทำนา ทำให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกรักต่ออาชีพการทำนา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. พิธีเปิดโครงการโดย อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองหมาก
  3. อบรมให้ความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของชาวนา
  4. ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้บนเกาะนาทุ่งท่าไร

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. พิธีเปิดโครงการและบรรยายพิเศษทีมาและความสำคัญของชาวนาโดย อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองหมาก
  3. อบรมให้ความรู้เรื่อง ความรู้เบื้องต้นและขั้นตอนการทำนา โดย นายสุเมศ บินระหีม
  4. ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้บนเกาะนาทุ่งท่าไรโดย นายสุเมศ บินระหีม

 

40 40

9. จัดกิจกรรมเพาะกล้าข้าว

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการเพาะกล้าข้าว
  2. เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชนให้เกิดการเรียนรู้กระบวนการเพาะกล้าข้าว
  3. เพื่อให้เด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชนได้ลงมือทำการเพาะกล้าข้าว ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

60 ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย เยาวชนบุตรหลานเจ้าของที่นาได้รับความรู้เรื่องการเพาะกล้าข้าว และได้ลงมือเพาะกล้าข้าวจริง สามารถที่จะนำไปปฏิบัติจริงได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เด็กและเยาวชนมีความสนุกสนานที่ได้มาร่วมกิจกรรมทำนา เห็นความเหนื่อยจากอาชีพพ่อแม่ที่ทำนา จากการถามเด็กที่ทำกิจกรรมว่ารู้สึอย่างไรเมื่อทำนา เด็กจะตอบว่า ร้อนและเหนื่อย กิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เด็กเห็นคุณค่าของอาชีพทำนา
  • ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ฝึกการวางแผงเพาะปลูกข้าว โดยขั้นตอนการเพาะกล้าข้าวมีดังนี้
  1. ขั้นตอนการเรียงแผงเพาะกล้า
  2. ขั้นตอนการทำตรม โคลน
  3. ขั้นตอนการใส่ตรม โคลนในแผง
  4. ขั้นตอนการโรยเมล็ดพันธุ์ข้าว
  5. ขั้นตอนการคลุมแผงเพาะพันธุ์ข้าว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. อบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง กระบวนการเพาะกล้าข้าวให้แก่ประชาชน เด็กและเยาวชน
  3. สาธิตการวางแผงเพาะปลูกข้าว 4.ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ฝึกการวางแผงเพาะปลูกข้าว

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. อบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง กระบวนการเพาะกล้าข้าวให้แก่ประชาชน เด็กและเยาวชน
  3. สาธิตการวางแผงเพาะปลูกข้าว
  4. ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ฝึกการวางแผงเพาะปลูกข้าว ขั้นตอนการเพาะกล้าข้าว
  5. สรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้

 

100 100

10. ประชุมสภาผู้นำ และคณะกรรมการโครงการประจำเดือน ครั้งที่ 1

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อประชุมชี้แจงและมอบหมายภาระหน้าที่การปฏิบัตงานเตรียมงานกิจกรรมการเพาะกล้าข้าว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • คณะกรรมการและภาคีในพื้นที่รับรู้ถึงผลการดำเนินโครงการ จุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหา และอุปสรรค เพื่อจะได้นำไปพัมนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิมในการดำเนินงานโครงการในปีต่อๆไป

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สภาผู้นำได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ กรอบการปฏิบัติงานในการปฏิบัติงานร่วมกัน
  2. สภาผู้นำได้แลกเปลี่ยนหาปรึกษาหารือ ในข้อปัญหาและแนะนำเพิ่มเติม เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน ได้ประชุมเตรียมผู้เข้าร่วมประชุมอบรมการเขียนรายงานที่จัดโดย สจรส.ม.อ.ในอาทิตย์หน้า ซึ่งได้มอบหมายให้นายสุเมศ และทีม จำนวน 2 คนเข้าร่วมประชุม
  3. ทุกคนได้รับการมอบหมายภาระงานในแต่ละด้านตามความเหมาะสม ส่งผลให้ทุกคนได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าประชุม
  2. เปิดการประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์ กรอบการปฏิบัติงานให้สอดรับกับกิจกรรม
  3. แลกเปลี่ยนหาปรึกษาหารือ ในข้อปัญหาและแนะนำเพิ่มเติม
  4. มอบหมายภาระงานในแต่ละด้านตามความเหมาะสม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าประชุม
  2. เปิดการประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์ กรอบการปฏิบัติงานให้สอดรับกับกิจกรรม
  3. แลกเปลี่ยนหาปรึกษาหารือ ในข้อปัญหาและแนะนำเพิ่มเติม
  4. มอบหมายภาระงานในแต่ละด้านตามความเหมาะสม

 

10 10

11. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน
  • เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรายงานทางการเงินและกิจกรรมต่างๆต่อ สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้รับรู้กระบวนการทำงานเพิ่มเติมในการสนับสนุน ส่งเสริมการปฏิบัติงานในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิ ประสิทธิผลต่อไป โดยมีการดูแลตรวจสอบการทำโครงการจากพี่เลี้ยงในจังหวัดและทีม สจรส.ม.อ.
  2. ได้นำข้อเสนอแนะจากการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องอบรม สู่ การปรับใช้และแก่ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
  3. ได้รับการชี้แนะข้อปัญหา ปรึกษาหารือกับ เจ้าหน้าที่ สจรส มอ.ต้องแก้ไขการเขียนเอกสารใบสำคัญรับเงิน ซึ่งเขียนไม่ละเอียด และต้องเพิ่มข้อมูลการรายงานกิจกรรมทุกกิจกรรม โดยกลับไปดำเนินการในพื้นที่อีกครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม
  2. ฟังการอบรม อธิบายจากคณะกรรมการ สจรส.มอ.
  3. เข้าปรึกษาหารือกับ เจ้าหน้าที่ สจรส มอ.เพื่อตรวจสอบโครงการและกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม
  2. ฟังการอบรม อธิบายจากคณะกรรมการ สจรส.มอ. เรื่อง การเขียนรายงานกิจกรรม การจัดทำเอกสารการเงินที่ถูกต้อง และการจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย
  3. เข้าปรึกษาหารือกับ เจ้าหน้าที่ สจรส มอ.เพื่อให้คำแนะนำการจัดทำเอกสารการเงินและการรายงานกิจกรรม

 

2 2

12. โยนกล้าข้าวลงแปลงนา

วันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจวิธีการโยนข้าว
  2. เพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้เรียนรู้เทคนิคการเพาะปลูกข้าววิธีการโยนข้าว3.เพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้ลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการโยนข้าว

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

60 ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย เยาวชนบุตรหลานเจ้าของที่นาได้รับความรู้วิธีการโยนกล้า และได้ลงมือโยนกล้าจริงในแปลงนาทำให้ซึมซับถึงคุณค่าการทำนาปลูกข้าวซึ่งได้ทั้งความรู้และภูมิปัญญาที่สำผัสได้จิรงจากการปัฏบัติ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ประชาชนและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการโยนข้าว
  2. ประชาชนและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การสาธิตเทคนิคการโยนข้าวให้แก่ประชาชนและเยาวชน
  3. ประชาชนและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกการโยนข้าว ตามขั้นตอนการโยนกล้า ดังนี้
  • เทคนิคเตรียมนา คราดนา ให้เป็นแลนต่มในขณะที่จะต้องมีน้ำขังอยู่ในแปลงนาประมาณ 5 ซม.
  • เทคนิคการโยนกล้าลงในแปลงนา ถือเป็นเกิดนวัตกรรมใหม่ในการทำนาข้าวเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน โดย การลดขั้นตอนการทำนาซึ่งจากเดิมจะต้องมีการถอนต้นกล้า และนำต้นกล้าไปปักดำในแปลงนา แต่วิธีการปลูกข้าวโดยการโยนกล้านั้น ไม่จำเป็นต้องถอนต้นกล้า โดยใช้วิธีการนำต้นกล้าจากแผงเพาะกล้า มาโยนลงในแปลงนาข้าวได้เลย ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงานและต้นทุนการผลิตได้ถึง 80 เปอร์เซ็น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. อบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง วิธีการโยนข้าวให้แก่ประชาชน เด็กและเยาวชน
  3. สาธิตเทคนิคการโยนข้าวให้แก่ประชาชนและเยาวชน
  4. ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ฝึกการโยนข้าว

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. อบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง วิธีการโยนข้าวให้แก่ประชาชน เด็กและเยาวชน
  3. สาธิตเทคนิคการโยนข้าวให้แก่ประชาชนและเยาวชน
  4. ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ฝึกการโยนข้าว ขั้นตอนการโยนกล้ามีดังนี้
  • เทคนิคเตรียมนา คราดนา ให้เป็นแลนต่มในขณะที่จะต้องมีน้ำขังอยู่ในแปลงนาประมาณ 5 ซม.
  • เทคนิคการโยนกล้าลงในแปลงนา

 

100 100

13. จัดกิจกรรมเกี่ยวข้าว

วันที่ 2 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสังเกต ก่อนการเก็บเกี่ยว
  2. เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนได้ศึกษาวิธีการเก็บเกี่ยวข้าว 3. เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนรู้รักสามัคคี อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

60 ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย เยาวชนบุตรหลานเจ้าของที่นารับความรู้เรื่องการเกี่ยวข้าว และได้ลงมือเกี่ยวข้าวจริง สามารถที่จะนำไปปฏบัติได้จริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สภาผู้นำในชุมชนเกิดระบบการทำงานจากการประชุมวางแผนงาน และมอบหมายภาระหน้าที่
  2. ประชาชนและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการสังเกต ก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว ให้ดูข้าวที่มีสีเหลืองทอง ต้นแข็งแรงมีรวงข้าว ซึ่งเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้แล้ว
  3. ประชาชนและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ศึกษาจากสาธิตเทคนิคการเกี่ยวข้าวโดยใช้เคียวเกี่ยวข้าว ต้องระมัดระวังเพราะมีความคม ในปัจจุบันจะใช้รถเกี่ยวข้าวรับจ้าง ซึ่งจะไม่ค่อยเห็นการใช้เคียวและแกะในการเก็บข้าว และได้ลงมือปฏิบัติการเกี่ยวข้าว
  4. ประชาชนและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรักสามัคคีในหมู่คณะและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมวางแผนงาน มอบหมายภาระหน้าที่
  2. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  3. อบรมให้ความรู้เรื่องเทคนิคการสังเกต ก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว
  4. สาธิตเทคนิคการเกี่ยวข้าว
  5. ร่วมกันสรุปทดบทเรียนกิจกรรมการเกี่ยวข้าว

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมวางแผนงาน มอบหมายภาระหน้าที่
  2. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  3. อบรมให้ความรู้เรื่องเทคนิคการสังเกต ก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว
  4. สาธิตเทคนิคการเกี่ยวข้าว
  5. ร่วมกันสรุปทดบทเรียนกิจกรรมการเกี่ยวข้าว

 

100 100

14. จัดกิจกรรมประสานสัมพันธ์ ปั่นไปเกี่ยวข้าวท่าไร่

วันที่ 9 มกราคม 2559 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  1. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้แหล่งปลูกข้าวบนเกาะทุ่งท่าไร่
  2. เพื่อส่งเสริมแหล่งท้องเที่ยววิถีชุมชน เชิงระบบนิเวศน์และส่งเสริมสุขภาพ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • กลุ่มจักรยานเกิดการร่วมตัวในการทำกิจกรรมที่เกาะทุ่งท่าไร่ เพื่อสร้างกระแสให้เป็นที่รู้จักเพื่อสื่อสารสู่สังคมภายนอกให้เห็นถึงศักยภาพของเกาะทุ่งท่าไร่ นำไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยว และการเพิ่มรายได้แก่คนในชุมชนในการผลิตและจำหน่ายข้าวพื้นเมืองปลอดสารพิษ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สภาผู้นำและแกนนำในชุมชนทำงานอย่างเป็นระบบ
  2. เกิดการแหล่งท้องเที่ยวเชิงสุขภาพ ส่งเสริมวิถีชุมชน อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมชุมชนและอนุรักษ์ระบบนิเวศน์เกาะทุ่งท่าไร่
  3. แปลงนาบนเกาะทุ่งท่าไรเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปมากขึ้น
  4. ชุมชนเกิดรายได้
  5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรมส่งเสริมประสานสัมพันธ์ ปั่นไปเกี่ยวข้าวท่าไร่ ได้เรียนรู้เทคนิต่างๆ ดังนี้
  • เทคนิคการเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวข้าว
  • สาธิตเทคนิคการเกี่ยวข้าว
  • ลงมือปฏิบัติการเกี่ยวข้าวร่วมกัน

6.กลุ่มจักรยานเกิดการร่วมตัวในการทำกิจกรรมที่เกาะทุ่งท่าไร่ เพื่อสร้างกระแสให้เป็นที่รู้จักเพื่อสื่อสารสู่สังคมภายนอกให้เห็นถึงศักยภาพของเกาะทุ่งท่าไร่ นำไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยว และการเพิ่มรายได้แก่คนในชุมชนในการผลิตและจำหน่ายข้าวพื้นเมืองปลอดสารพิษ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ประชุมวางแผนคณะดำเนินงาน เพื่อมอบหมายภาระหน้าที่รับผิดชอบ
  2. เตรียมเส้นทางการปั่นจักรยาน จาก ลานปูดำ สู่ ทุ่งท่าไร่
  3. รับลงทะเบียน
  4. กิจกรรมส่งเสริมประสานสัมพันธ์ ปั่นไปเกี่ยวข้าวท่าไร่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • จัดกิจกรรม 2 วัน
  1. ประชุมวางแผนคณะดำเนินงาน เพื่อมอบหมายภาระหน้าที่รับผิดชอบ
  2. เตรียมเส้นทางการปั่นจักรยาน จาก ลานปูดำ สู่ ทุ่งท่าไร่
  3. รับลงทะเบียน
  4. กิจกรรมส่งเสริมประสานสัมพันธ์ ปั่นไปเกี่ยวข้าวท่าไร่ ดังนี้
  • ปั่นจักรยานจากลานปูดำ อำเมือง จังหวัดกระบี่ สู่ แปลงนาเกาะทุ่งท่าไร
  • อบรมให้ความรู้เทคนิคการเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวข้าว
  • สาธิตเทคนิคการเกี่ยวข้าว
  • ลงมือปฏิบัติการเกี่ยวข้าวร่วมกัน

 

200 200

15. ประชุมสภาผู้นำชุมชน และคณะกรรมการโครงการประจำเดือน ครั้งที่ 3

วันที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อทบทวนและรายงานผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาก่อนปิดงวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

  • คณะกรรมการและภาคีในพื้นที่รับรู้ถึงผลการดำเนินโครงการ จุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหา และอุปสรรค เพื่อจะได้นำไปพัมนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิมในการดำเนินงานโครงการในปีต่อๆไป

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการสภา ได้วสรุปผลการทำกิจกรรมที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็ ได้จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมนาอินทรย์ตามเป้าหมาย คือ จำนวน 60 คน และมีหน่วยงานเข้ามาให้ความร่วมมือทั้งหน่วยงานในชุมชนและภายนอกชุมชน ทำให้ได้ดำเนินกิจกรรมไปตามฤดูกาล และได้ให้ความรู้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าประชุม
  2. เปิดการประชุมและทบทวน รายงานผล การปฏิบัติงานที่ผ่านมา
  3. แลกเปลี่ยนหาปรึกษาหารือ ในข้อปัญหาและแนะนำเพิ่มเติม
  4. มอบหมายภาระงานในแต่ละด้านตามความเหมาะสม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียนผู้เข้าประชุม
  2. เปิดการประชุมและทบทวน รายงานผล การปฏิบัติงานที่ผ่านมา ได้แก่ กิจกรรมเปิดโครงการ กิจกรรมเพาะปลูกข้าว กิจกรรมโยนข้าวและเกี่ยวข้าว
  3. แลกเปลี่ยนหาปรึกษาหารือ ในข้อปัญหาและแนะนำเพิ่มเติม
  4. มอบหมายภาระงานในแต่ละด้านตามความเหมาะสม

 

10 10

16. พบพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดทำงานรายงวด 1

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • หลังจากได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆไปตามแผนการปฏิบัติงาน ที่มีการปรับแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับ ฤดูกาลแล้ว และได้เตรียมข้อมูลในการเข้าประเมินรายงานงวดที่ 1 โดยเน้นการจัดระบบปฏิทินให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงาน การจัดทำรายงานการเงิน และการตรวจการรายงานข้อมูลหน้าเว็ปไซต์เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นรับฟังการชี้แจงของคณะวิทยากรพี่เลี้ยงโครงการ และรับการประเมินรายงานโครงการฯ ซึ้งจะต้องนำกลับไปปรับปรุงและแก้ไขรายงานกิจกรรมในเว็บไซต์ และเอกสารการเงินจากการแนะนำตามความเหมาะสม ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. เตรียมข้อมูลในการเข้าประเมินรายงานงวดที่ 1 ได้แก่ การจัดระบบปฏิทินให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงาน การจัดทำรายงานการเงิน และการตรวจการรายงานข้อมูลหน้าเว็ปไซต์
  2. รับฟังการชี้แจงของคณะวิทยากรพี่เลี้ยงโครงการ
  3. รับการประเมินรายงานโครงการฯ
  4. ปรับปรุงและแก้ไขรายงานจากการแนะนำตามความเหมาะสม

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เตรียมข้อมูลในการเข้าประเมินรายงานงวดที่ 1 ได้แก่ การจัดระบบปฏิทินให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงาน การจัดทำรายงานการเงิน และการตรวจการรายงานข้อมูลหน้าเว็ปไซต์
  2. รับฟังการชี้แจงของคณะวิทยากรพี่เลี้ยงโครงการ
  3. รับการประเมินรายงานโครงการฯ
  4. ปรับปรุงและแก้ไขรายงานจากการแนะนำตามความเหมาะสม

 

1 1

17. จัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้รับคำแนะนำเรื่องการปรับแก้เอกสารการเงิน ในรายการ ค่าตอบแทน ต้องเขียนรายละเอียดให้ชัดเจน และเพิ่มเติมข้อมูลรายงานกิจกรรมในเวบไซต์ ยังมีข้อมูลน้อย ไม่ชัดเจน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า ณ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 45 อ.คลองท่อม จ.กระบี่

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า ณ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 45 อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ทางพี่เลี้ยงและทีม สจรส.ม.อ.ได้ตรวจสอบเอกสารการเงินในงวดที่ 1 และตรวจรายงานกิจกรรมในเว็บไซต์

 

2 1

18. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  • เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • สามารถจัดทำรายงานการเงินได้ถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • ถอนเงินคืนค่าเปิดบัญชีโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ถอนเงินค่าเปิดบัญชีโครงการคืน 500 บาท

 

1 1

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 33 18                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 199,090.00 122,028.00                  
คุณภาพกิจกรรม 72 56                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. จัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1 ( 24 ก.พ. 2559 )
  2. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี ( 24 ก.พ. 2559 )
  3. ประชุมสภาผู้นำ และคณะกรรมการโครงการประจำเดือน ครั้งที่ 4 ( 18 ก.ค. 2559 )
  4. สำรวจขอมูลระบบนิเวศ และจัดทำฐานข้อมูล ( 20 ก.ค. 2559 - 22 ก.ค. 2559 )
  5. อบรมการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ( 28 ก.ค. 2559 )
  6. ประชุมสภาผู้นำ และคณะกรรมการโครงการ ครั้งที่ 5 ( 5 ส.ค. 2559 )
  7. จัดเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน ( 8 ส.ค. 2559 )
  8. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง ( 15 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย สุเมศ บินระหีม
ผู้รับผิดชอบโครงการ