แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะอำเภอกงหรา

ชุมชน จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 61-01865 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึง 30 พฤศจิกายน 2562

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤศจิกายน 2561 ถึงเดือน มิถุนายน 2562

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานงานโครงการประจำเดือน ครั้งที่1

วันที่ 18 ธันวาคม 2561 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน 2 มีโครงสร้างในรูปของคณะทำงานโครงการและได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการทำงานร่วมกันดังนี้ นายหรูน เส็นบัตรทำหน้าที่เป็นประธานเครือข่าย นายสุนิตย์ พลนุ้ยเป็นรองประธานเครือข่าย นางปรีดา คงเกลี้ยง ผู้ใหญ่บ้านหมู่2ต.คลองทรายขาวทำหน้าที่การเงิน นางเรวดี จีนศรีพานิชย์และทีมบ้านป่าใสออกเป็นทีมเลขาดูแลเรื่องเอกสารประกอบโครงการและกรรมการด้านอื่นๆที่สำคัญ 3 ได้แผนการดำเนินงานโครงการในระยะแรกคือ   3.1 กำหนดประชุมคณะทำงานทุกวันที่ 15ของเดือน
  3.2 กำหนดวันเปืดโครงการในวันที่9มกราคม2562สถานที่จัดกิจกรรมคือนำ้ตกมโนราห์หมู่11ต.คลองเฉลิม โดยให้ทีมหมู่ที่11บ้านนาทุ่งโพธิ์รับผิดชอบในการเตรียมกิจกรรม   3.3 กำหนดสถานที่จัดประชุมคณะทำงานโครงการครั้งต่อไปโดยกำหนดที่บ้านท่าเน๊าะหมู่6ต.คลองทรายขาว 4 คณะทำงานได้เรียนรู้และเข้าใจวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดสำคัญของโครงการที่จะดำเนินโครงการให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวังในช่วงปีแรกของการดำเนินโครงการ รวมถึงวิธีการและเงื่อนไขในการใช้งบประมาณของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา10.00-10.30น. พร้อมกันที่ประชุม ลงทะเบียนร่วมประชุม เวลา10.30-12.00น.  ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ โดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงสนับสนุนโครงการ เนื้อการการชี้แจงเป็นเรื่องที่มาที่ไปของโครงการ วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการดำเนินโครงการในระยะเวลา 1ปีแรกของโครงการ ที่มาของโครงการคืองบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)แนวทางทำโครงการเพื่อไปหนุนเสริมยุทธศาสตร์จังหวัดเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป้าหมายของโครงการคือร่วมกันสร้าวการเรียนรู้เพื่อร่วมกันสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะ ปีแรกอาจจะทำได้แค่เรื่องของขยะ ให้ชุมชนสามารถสร้างที่ท่องเที่ยวให้มีการจัดการขยะ เน้นที่ปลอดโฟม เรื่องที่2 คือเรื่องสร้างที่ท่องเที่ยวปลอดเหล้า และเบียร์ 12.00-13.00น.  พักกลางวัน เวลา13.00-14.30น.  จัดทำโครงสร้างของเครือข่ายในรูปแบบของคณะทำงานโครงการ ดำเนินการโดยนายหรูน เส็นบัตร ผู้ประสานงานเครือข่าย และกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการทำงานของโครงการ เวลา14.30-15.00น. รับประทานอาหารว่าง เวลา 15.00-16.00น.กำหนดแผนการทำงานในระยะช่วงแรกของการดำเนินโครงการกำหนดให้มีการประชุมทุกวันที่15ของเดือน

 

20 0

2. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่2 สถานที่ หมู่6 ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

วันที่ 15 มกราคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีคณะทำงานร่วมประชุม 20คน
  • คณะทำงานได้เรียนรู้โครงการ ที่ไป ที่มา วัตถุประสงค์ของโครงการเพิ่มขึ้น
  • ได้แบบจัดเก็บข้อมูลที่จะใช้เก็บข้อมูลในที่ท่องเที่ยวจากการร่วมคิดของคณะทำงาน
  • ได้กำหนดแนวทางและวิธีการเก็บข้อมูลร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

08.30 นัดพร้อมกันที่กลุ่มสตรีบ้านท่าเน๊าะ 10.00 นายหรูน เส็นบัตร กล่าวทักทายผู้ร่วมประชุม
    นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงผู้ติดตามโครงการ ทบทวนวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เน้นสาระสำคัญที่การสร้างแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสุขภาวะ คือสามารถจัดการจยะในแหล่งท่องเที่ยวขงแต่ละหมู่บ้าน โดยใช้กลไกของเครือข่ายและแกนนำในพื้นที่เป็นเพื่อนในการทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะ โดยเฉพาะโฟม และการสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้ปลอดจากเครื่องดื่มแฮลกอออล์ ซึ่งโครงการได้รับงบจาก สสส .มาทำกิจกรรมเพื่อไปหนุนยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพราะที่ผ่านมาเรื่องการท่องเที่ยวเป็นเรื่องของส่วนราชการชาวบ้านไม่ค่อยได้เรียนรู้ ตอนนี้ที่เห็นมีโครงการ นวัฒวิถีชุมชนที่มาหนุนเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนอยู่ โครงการของ สสส.ก่อนที่ไปถึงผลสุดท้ายที่ต้องการต้องมีการเรียนรู้ของชุมชน สิ่งที่ชุมชนจะใช้เป็นเครื่องมือคือ ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ คือเรื่องขยะ และแฮลกอฮอล์ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องนี้จึงต้องเก็บข้อมูลกันก่อน 12.00-13.30 พัก 13.30 ช่วยกันแสดงความเห็นเรื่่องข้อมูลที่จะเก็บ สรุปให้เห็นชนิดของขยะ แฮลกอฮอล์ ที่มา ปริมาณ และการจัดการในปัจจุบัน ของแต่ละที่ และช่วยกันแสดงความเห็นถึงแนวทางในการจัดเก็บข้อมูล คือให้ใช้แกนนำของแต่ละพื้นที่ช่วยกันเก็บข้อมูลของตนเอง แล้วนำมารวบรวมและเรียนรู้ร่วมกันในครั้งต่อไปของการประชุม ชี้แจงเรื่องค่าใช้จ่ายเรื่องการจัดเก็บข้อมูล ที่ประชุมสรุปให้แต่ละที่บริหารจัดการกันเอง เพื่อจะได้เรียนรู้และเข้าใจการทำงานมากขึ้น

 

20 0

3. เก็บข้อมูลพื้นที่ สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวทั้ง6 หมู่บ้าน ในเครือข่าย

วันที่ 20 มกราคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ได้ฐานข้อมูลเรื่องปริมาณและประเภทของขยะในที่ท่องเที่ยวของแต่ละหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน -เกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มในชุมชนในการร่วมกิจกรรม มีกลุ่มเด็กเยาวชน ผู้นำ กลุ่มสตรี และคนจิตอาสา -ได้ความร่วมมือจากผู่้นำกลุ่ม และการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-แต่ละหมู่บ้านลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลกันเองในแต่ละหมู่บ้าน -แต่ละหมู่บ้านรับงบประมาณที่ใช้ในการจัดเก็บไปบริหารจัดการกันเอง -ได้ข้อมูลจากแต่ละหมู่บ้านแล้วนำข้อมูลมารวบรวมเป็นข้อมูลกลางของโครงการ -ข้อมูลที่ได้นำมาเสนอในที่ประชุมประจำเดือน

 

60 0

4. ประชุมเปิดโครงการ ทำความเข้าใจพื้นที่ รับสมัครแกนนำหมู่บ้าน

วันที่ 22 มกราคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 95 คน ส่วนราชการร่วมกิจกรรมจำนวน 3คน ส่วนท้องถิ่นจำนวน 2คน 2 เกิดความร่วมมือจากผู้นำท้องที่คือ กำนันวินัย ยาชะรัด สนับสนุนอาหารว่างเป็นขนมจีนน้ำยา และอำนวยความสะดวกเรื่องจัดสถานที่สนับสนุนเต๊นท์จำนวน 1หลัง 3 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ที่มาของโครงการและแนวคิดการสร้างแหล่งท่องเที่ยวสุขภาวะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและมีความตื่นรู้ตื่นตัวในการที่จะจัดการแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน 4 ได้อาสาสมัครจากชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมาเป็นแกนนำระดับหมู่บ้านในการเคลื่อนงานของชุมชนและโครงการ 5ได้แกนนำหมู่บ้านละ10คน ตามเป้าหมาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา13.00-14.00น. กลุ่มเป้าหมายพร้อมกันที่ประชุม ลงทะเบียน เวลา14.00-14.30น.ให้ความรู้ความเข้าใจที่มาที่ไปของโครงการ โดยนายประเทือง อมรวิริยะชัย ทีมสนับสนุนวิชาการโครงการเรื่องที่มาของโครงการว่าได้รับงบสนับสนุนจาก สสส. เพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมกันคิดว่าจะแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตัวเองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพอย่างไร และชาวบ้านะร่วมกันรักษาที่ท่องเที่ยวของตัวเองอย่างไร โดยจะมีทีมสนับสนุนจากโครงการมาช่วยให้คำแนะนำและคอยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆที่ชาวบ้านยังติดขัดหรือไม่เข้าใจในการทำงานร่วมกับ สสส.
เวลา14.30-15.00น. ให้โอวาท คำแนะนำ เสริมกำลังใจโดยนายอำเภอกงหรา ให้แนวคิดว่าที่ท่องเทียวที่มีในชุมชนคือของชาวบ้าน ชาวบ้านควรดูแลรักษากันเอง และใช้ให้เกิดประโยชน์แต่ต้องคำนึงความยั่งยืนของทรัพยากรด้วย สิ่งที่เน้นย้ำคือนโบบายจังหวัดในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชน และจะช่วยกันอย่างไรให้แหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะและไม่มีการดื่มเหล้า เบียร์ ในที่ท่องเที่ยวโดยเด็ดขาด เพราะที่ท่องเที่ยวถือเป็นที่สาธารณะการดื่มเหล้าในที่สาธารณะนั้นตามกฎหมายไม่สามารถทำได้ จึงไม่ควรให้ดื่มหรือมีการขายโดยเด็ดขาด ส่วนเรื่องขยะก็เป็นหน้าที่ของชุมชนที่จะต้องจักการกันเอง ไม่ควรฝากความหวังไว้กับท้องถิ่นหรือภาคราชการ เพราะถ้าที่ท่องเที่ยวสามารถปลอดขยะได้ ก็จะเป็นที่เที่ยวที่สวยงาม ใครก็อยากมาเที่ยว
เวลา15.30-16.00น. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความมุ่งหวังในการสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่มีสุขภาวะ

 

96 0

5. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่3

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีคณะทำงานมาร่วมประชุมจำนวน 20คน ได้ข้อมูลดิบที่เกิดจากการจัดเก็บของแต่ละหมู่บ้าน ได้แผนการและแนวทางการทำงานตามแผนงานที่วางไว้ตามโครงการ ได้กำหนดสถานที่ในการประชุมคณะทำงานในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

10.00น. ทำความเข้าใจเรื่องคามสำคัญและเป้าหมายของโครงการ โดยนายเสนีย์ จ่าวิสูตร ทีมพี่เลี้ยงสนับสนุน ให้ความสำคัญเรื่องการเรียนรู้โดยผ่านข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านที่ได้ลงไปจัดเก็บกันและช่วยกันเอาข้อมูลที่แต่ละหมู่บ้านได้จัดเก็บมา จากการนำเสนอข้อมูลขยะ ปริมาณขยะที่มากที่สุดคือขวดน้ำและถุงพลาสติก รวมถึงกล่องโฟมที่ใช้ในการใส่อาหารกล่อง สถานที่ที่มีขยะมากคือแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นน้ำตกคือน้ำตกมโนราห์และน้ำตกปากรางที่มาของขยะคือเกิดจากร้านค้าที่มีอยู่ในน้ำตก และที่นักท่องเที่ยวนำมาเองจากข้างนอกแล้วนำมาทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ ส่วนเครื่่องดื่มแฮลกอฮอล์ที่มากที่สุดคือน้ำตกมโนราห์ ส่วนมากจะเกิดจากการที่มีคนมาเที่ยวเมื่อดื่มแล้วก็ทิ้งไว้ในน้ำตก เครื่องดื่มที่มากคือประเภทเบียร์ ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นในที่ท่องเที่ยว ส่วนมากจะไม่มีเหตุเกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว 12.00-13.30น. พัก 13.30น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ คุยเรื่องแนวทางการใช้ประโยชน์ข้อมูล และการร่วมกันทำงานร่วมกันในแต่ละหมู่บ้าน  โดยให้แต่ละหมู่บ้านกลับไปทำกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับกรรมการระดับหมู่บ้าน ให้เห็นถึงที่เหตุของการเกิดขยะและการดื่มแฮลกอฮอล์ในที่ท่องเที่ยว และช่วยกันหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
    ชี้แจงวิธีการใช้งบประมาณที่ใช้ในการทำกิจกรรมเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลที่ท่องเที่ยวในแต่ละหมู่บ้าน คือให้แต่ละหมู่้บ้านบริหารจัดการกันเองแยกกันไปทำของแต่ละหมู่บ้าน และจัดทำเอกสารกันเองแต่ละหมู่บ้าน     กำหนดสถานที่จัดประชุมครั้งต่อไปคือน้ำตกนกรำ ตำบลคลองทรายขาว     ที่ประชุมชี้แจงการเงินของโครงการโดยกรรมการการเงินโครงการและขออนุมัติเบิกเงินโครงการในการใช้ทำกิจกรรมของโครงการ

 

20 0

6. พัฒนาศักยภาพแกนนำ(ศึกษาดูงาน)ตลาดป่าไผ่ และตลาดน้ำคลองแดน

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 48 คน -ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ได้เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะจากสถานที่จริงผ่านการบรรยาย การตั้งคำถาม ตอบ และการสังเกตุเห็นแนวทางการจัดการขยะที่ดี -ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การเอาสินค้าชุมชนมาสร้างให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยว -ได้พบและเรียนรู้การสร้างจุดเด่นให้เกิดขึ้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

08.00น ออกเดินทางจากอำเภอกงหรา 09.00น. ถึงป่าไผ่สร้างสุข อำเภอควนขนุน จ.พัทลุง รับฟังการบรรยายสรุปจากวิทยากรเรื่องการจัดการขะะและเดินชมบรรยากาศในที่ท่องเที่ยวเรียนรู้โดยการสังเกตุ 12.00-14.00 พักและเดินทางต่อไปตลาดน้ำคลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา 14.00-18.00น.รับฟังการบรรยายจากวิทยากร เรื่องการจัดการชุมชนและการจัดการตลาดของชุมชน และเดินชมบรรยากาศตลาดน้ำเรียนรู้ด้วยการสังเกตุ 18.00น. เดินทางกลับ

 

40 0

7. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่4

วันที่ 15 มีนาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีคนมาร่วมประชุม 20คน -ได้เรียนรู้การทำโครงการเพิ่มเดิม โดยเฉพาะเรื่องความสำคัญของข้อมูล -ได้ตกลงร่วมกันในการจัดเก็บข้อมูลครั้งใหม่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ -ได้สรุปและสะท้อนผลการไปศึกษาดูงานเรื่องการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยว         การจัดการขยะได้ดีคือการสร้างกติกาที่สามารถทำได้  เกิดจากความร่วมมือทั้งสองฝ่ายคือคนมาเที่ยวและเจ้าของสถานที่ การแก้ปัญหาเรื่องขยะการสร้างจิตสำนึกคนไม่สร้างขยะเพิ่ม ต้องย้ำอยู่เสมอ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

10.00น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ ทำความเข้าใจเรื่่องผลลัพธ์โครงการด้วยการให้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันพูดคุยถึงความสำคัญของตัวชี้วัดโครงการโดยเฉพาะเรื่องของการเรียนรู้และจัดเก็บข้อมูลขยะและแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว เพราะข้อมูลจะเป็นเครื่องมือในการทำโครงการให้มีผลสำเร็จ ผู้ร่วมประชุมร่วมกันแสดงความเห็นเรื่องการจัดเก็บข้อมูลและผลของการจัดเก็บข้อมูล พบว่าข้อมูลในช่วงที่ผ่านมายังไม่ชัดเจนเพราะในที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้านยังไม่มีคนเข้ามาเที่ยวมากนัก คาดว่าจะมีคนมาเที่ยวมากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ประชุมจึงตกลงกันว่าจะมีการจัดเก็บข้อมูลใหม่โดยให้เก็บในช่วงเทศกาลเพราะจะเห็นชัด 12.00-13.30น. พัก 13.30น. ช่วยกันสะท้อนผลการไปศึกษาดูงานที่ป่าไผ่สร้างสุข อ.ควนขนุน จ.พัทลุงและตลาดน้ำคลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา สรุปผลการดูงานคือ   ที่ป่าใผ่สร้างสุข มีความโดดเด่นเรื่องการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวโดยใช้กติกาของตลาดเป็นข้อบังคับเดียวกันที่ใช้กับกลุ่มแม่ค้าที่ขายของในตลาด ในขณะที่ผู้ดูแลตลาดคอยตอกย้ำอยู่ตลอดและใช้วิธีการตรวจตราและเฝ้าระวังกติการที่สำคัญคือ ให้แม่่ค้าในตลาดรับฝากขยะจากนักท่องเที่ยว เพราะตลาดจะไม่มีถังขยะวางไว้ การใช้วัสดุห่อหรือบรรจุอาหารและใส่ของที่ขายในตลาดให้ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ปัญหาที่เกิดคือความยากในการจัดการเพราะมีคนมาเที่ยวมาก และไม่มีการขายหรืออนุญาติให้ดื่มแฮลกอฮอล์ในตลาด   ตลาดคลองแดน จุดเด่นคือเรื่องความสวยงามของสถานที่มีการสร้างสถานที่ให้สวยงามเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและชุมชนมีการประชาสัมพันธ์อยู่ตลอด มีสินค้าที่ขายในตลาดที่เป็นสินค้าที่ผลิตโดยคนในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ วิธีการจัดการขยะด้วยการจัดที่รองรับขยะไว้ในจุดต่างๆของตลาดโดยใช้ถุงดำ และให้คนที่มาเที่ยวทิ้งลงในที่จัดไว้แล้วกรรมการตลาด จะเป็นคนมาคัดแยกและจัดเก็บทีหลัง แต่วิทยากรไม่เล่าให้เห็นถึงกติกาที่ใช้ในการจัดการที่ชัดเจนนัก
  สิ่งที่ได้เรียนรู้คือได้เห็นวิธีการจัดการขยะที่แตกต่างกันระหว่างสองที่ แต่ก็สามารถจัดการได้ แต่ก็ยังมีขยะเกิดขึ้นเพราะเมื่อมีการค้าขายและการท่องเที่ยวก็เท่ากับทำให้เกิดขยะในที่ท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่ไปดูงานคาดว่าจะสามารถเอาความรู้จากการดูงานมาปรับใช้กับการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้านต้วเองได้

 

20 0

8. เวทีวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นระดับพื้นที่

วันที่ 28 มีนาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-แต่ละหมู่บ้านได้เรียนรู้การทำงาน
-มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 83 คน -แต่ละหมู่บ้านได้ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-แต่ละหมู่บ้านแยกกันไปจัดกิจกรรมของแต่ละหมู่บ้าน และบริหารจัดการการเงิน และเอกสารประกอบโครงการกันเอง -โดยพี่เลี้ยงให้โจทย์ไปคือ จากข้อมูลที่พบในสองช่วงเวลา คือก่อนเทศกาลและช่วงเทศกาล นั้นแตกต่างอย่างไร มีปัญหาอะไร และจะจะจัดการกับปัญหาอย่างไร -นำผลการวิเคราะห์มาหารือกันในการประชุมครั้งต่อไป

 

58 0

9. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน ครั้งที่5

วันที่ 21 เมษายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-มีผู้เข้าร่วมประชุม20คน -ได้เกิดการเรียนรู้การจัดเก็บข้อมูลและสภาพข้อมูลปริมาณขยะในช่วงเทศกาล จะเห็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะในที่ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนคน และลักษณะกิจกรรมของคนที่มาเที่ยว -ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลและแผนการดำเนินของแต่ละหมู่บ้านกันในที่ประชุม ผลการวิเคราะห์จะออกมาในทางเดียวกัน คือปัญหาที่มีปริมาณมากเกิดขึ้นเกิดการทำกิจกรรมของคนที่มาเที่ยว และสิ่งรอบข้างที่เอื้อให้เกิดการสร้างขยะ การแก้ปัญหาต้องสร้างกลไกและวิธีการในการจัดการในพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

10.00น นายอรุณ ศรีสุวรรณ ชวนคุยเรื่องผลการเก็บข้อมูลในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของแต่ละพื้นที่ แล้วช่วยกันนำเสนอในที่ประชุมจากการนำเสนอข้อมูลพบว่าขยะที่มีมากคือในที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่เที่ยวหลัก คือน้ำตก ประเภทขยะที่มากที่สุดคือถุงพลาสติกและขวดน้ำดื่ม และแก้วน้ำพลาสติก โดยเฉลี่ยที่วันละประมาณ 50กิโลกรัมต่อวัน ในแต่ละที่ ส่วนข้อมูลเรื่องเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ มีบ้างเล็กน้อย ที่มาของขยะคือ คนนำเข้ามาจากข้างนอก และเกิดจากร้านค้าที่มีในแหล่งท่องเที่ยว จัดลำดับที่ท่องเที่ยวชุมชนที่มีปริมาณขยะมากคือ น้ำตกมโนราห์ น้ำตกปากราง น้ำตกตกนกรำ ส่วนที่ท่องเที่ยวอื่นมีปริมาณเล็กน้อยคือ คลองท่าเน๊าะ คลองทอนตรน และทุ่งนาป่าใส จากการเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ทำให้ชุมชนค้นหาิธีการจัดการขยะด้วยการสร้างเป็นกติกาของแต่ละพื้นที่ 12.00-13.30น.พัก 13.30น.แต่ละหมู่บ้านนำเสนอกติกาในการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวของแต่ละที่ และช่วยกันเติมเต็มและแลกความคิดเห็นร่วมกัน ลักษณะของกติกาที่เกิดขึ้นเป็นกติกาที่ใช้เฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวของแต่ที่   และแต่ละหมู่บ้านนำเสนอแผนของแต่ละหมู่บ้านที่จะทำในช่วงต่อไปเพื่อเสริมให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะและปลอดแฮลกอฮอล์ และที่ประชุมได้ช่วยกันแสดงความเห็นต่อแนวทางกันทำงานของแต่ละหมู่บ้าน   ที่ประชุมสะท้อนปัญหาการทำงานพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับทีมคือเรื่องการจัดทำเอกสารประกอบโครงการและ ความสามารถของคณะทำงานในการนำเสนอและการวิเคราะห์สถานะการณ์ที่ประชุมจึงมีความเห็นให้ใช้งบประมาณที่เหลือจากกิจกรรมศึกษาดูงาน จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานในเรื่องการทำเอกสารประกอบโครงการ โดยให้จัดในวันที่ 2 พ.ค. ที่ทุ่งนาป่าใสออก
นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี่เลี้ยงโครงการ เสนอที่ประชุมจัดกิจกรรมประเมินผลการทำงานโครงการ ที่ประชุมจึงกำหนดจัดในวันที่ 28 เมษายน 62 ที่หนำลุงชารีสอร์ท ที่ประชุมให้แต่ละพื้นที่เตรียมกิจกรรมมาเล่นสันทนาการกันในกิจกรรมด้วย

 

20 0

10. กิจกรรมเวทีสร้างกติการะดับพื้นที่

วันที่ 25 เมษายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-คณะทำงานของแต่ละพื้นที่ ได้เรียนรู้การจัดกิจกรรมเรียนรู้ -มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม71 คน -ได้กติกาของแต่ละพื้นที่มาสรุปรวม คือให้คณะทำงานแต่ละพื้นที่ติดประกาศกติกาในที่ท่องเที่ยว มีรายละเอียด 1ให้มีที่คัดแยกขยะในที่ท่องเที่ยว 2ให้แม่ค้าจัดการรับฝากขยะจากนักท่องเที่ยว 3ให้แม่ค้าดูแลบริเวณร้านค้าของตนเอง 4ห้ามบรรจุอาหารด้วยกล่องโฟม 5นักท่องเที่ยวที่นำขยะมาจากข้างนอกต้องนำกลับไปด้วย โดยให้กรรมการคอยตรวจตรา ดูแล 6ห้ามร้านค้าที่ขายอาหารสด ทิ้งเศษอาหารลงในที่ทิ้ง แต่ต้องนำกลับบ้านหลังจากการขายในแต่ละวัน 7ห้ามร้านค้า ขายเหล้า เบียร์ ในที่ท่องเที่ยว 8 ห้ามนำเหล้า เบียร์มาดื่มกินในที่ท่องเที่ยว 9ให้ร้านค้าคุยกับลูกค้าขอความร่วมมือลดการใช้ถุงหิ้วในการใส่ของ 10กรรมการต้องตรวจตราความเรียบร้อยของที่ท่องเที่ยวอยู่อย่างสม่ำเสมอ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-พี่เลี้ยงมอบหมายงานจากที่ประชุมให้แต่ละพื้นที่ไปจัดกิจกรรมในพื้นที่ เพื่อร่วมกันนำผลการวิเคราะห์ มากำหนดเป็นกติกาแต่ละที่ -แต่ละพื้นที่รับจัดสรรงบประมาณไปดำเนินการ -เอาผลการจัดเวทีมาเรียนรู้กันในการประชุมคณะทำงาน

 

86 0

11. กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่1

วันที่ 28 เมษายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการประเมิน -มีคณะทำงานโครงการที่ชัดเจน มีโครงสร้างการบริหาร แลมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองที่รับมอบหมาย -เกิดการเรียนรู้ของคณะทำงานโครงการ ในเรื่องการบริหารจัดการโครงการรวมไปถึงการจัดทำเอกสารประกอบโครงการและได้รียนรู้การแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำโครงการ -เกิดการเรียนรู้ผ่านการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านและได้ฐานข้อมูลเรื่องปริมาณและประเภทของขยะที่เกิดในแหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้าน และมีข้อมูลที่ยืนยันได้เป็นเอกสาร -เกิดกติกาในการจัดการขยะในที่ท่องเที่ยวของแต่ละหมู่บ้าน คือ ห้ามทิ้งขยะในแหล่งท่องเที่ยว ห้ามนำเครื่องดื่มแลกออล์มาดื่มในที่ท่องเที่ยว ให้ร้านค้าที่ขายของในที่ท่องเที่ยวรับฝากขยะจากนักท่องเที่ยว ให้ร้านค้าคัดแยกขยะ
  ก่อนนำขยะไปไว้ในที่จัดเก็บรอการขนย้าย นักท่องเที่ยวที่นำขยะมาจากข้างนอกให้นำขยะกลับไปด้วย ห้ามร้านค้าใช้โฟมในการบรรจุอาหาร ให้กรรมการที่ท่องเที่ยวตรวจตราความเรียบร้อยอย่างต่อเนื่อง -เกิดแผนการทำงานโครงการในช่วงต่อไปของโครงการคือ จัดให้มีจุดคัดแยกขยะในที่ท่องเที่ยว จัดทำป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์การแก้ปัญหาขยะ ประกาศแหล่งท่องเที่ยวทั้ง6แหล่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวปลอดขยะและปลอด
- เครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ พื้นที่5ที่สามารถสร้างให้เกิดการปลอดการดื่ม ที่ยังจัดการไม่ได้คือน้ำตกมโนราห์ เพราะเป็นที่ท่องเที่ยวใหญ่ คนมาเที่ยวมาก ยากกับการควบคุมดูแลทั่วถึง -ปัญหาที่พบจากการทำโครงการคือ ความเข้าใจโครงการที่ไม่ละเอียดพอในช่วงแรกของการทำโครงการ ช่สงกลางพบปัญหาเรื่องการจัดทำเอกสารประกอบโครงการ ทั้งเรื่องการเขียนบันทึกการประชุม  และการทำเอกสารการเงินจากแต่ละพื้นที่ ที่ไม่เท่ากัน รวมถึงรูปแบบและวิธีการเขียนรายงานทางเวปไซด์ ค้นหาทางออกร้วมกันคือ ที่ประชุมเสนอให้จัดกิจกรรมเรียนรู้การเขียนและทำเอกสารประกอบโครงการ รวมถึงทักษะต่างๆของคณะทำงาน โดยให้ใช้งบประมาณส่วนที่เหลือจากกิจกรรมศึกษามาดูงานมาใช้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00น. แกนนำและคณะทำงานโครงการจัดเตรียมข้อมูลตามที่ได้จัดเก็บของแต่ละหมู่บ้าน       เตรียมผลการวิเคราะห์และสิ่งที่เกิดจากการทำกิจกรรมของแต่ละหมู่บ้าน       พี่เลี้ยงชวนคุยตามบันไดผลลัพธ์ที่วางไว้ในโครงการ       คณะทำงานเล่าสิ่งที่เกิดจากการทำโครงการ
13.30น.สะท้อนปัญหาที่เกิดระหว่างดำเนินโครงการ       แนวทางการดำเนินโครงการในช่วงต่อไป

 

56 0

12. พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน เรื่องการบริหารจัดการโครงการ

วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-คณะทำงานได้เรียนรู้เทคนิคในการจัดเวทีเรียนรู้ และคาดหวังว่าจะนำไปใช้ในการทำกิจกรรมอื่นๆในหมู่บ้านและของโครงการ -ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสารรายงานประกอบโครงการ และรับรู้ทุกอย่างเท่าเทียมกัน -ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในทีมทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

10.00 น. นายอรุณ ศรีสุวรรณ ชวนผู้เข้าร่วมประชุม สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารโครงการ ได้พบว่าปัญหาคือหลังจากแต่ละพื้นที่ได้รับการกระจายงบประมาณไปเพื่อทำกิจกรรมของแต่ละพื้นที่แล้วคณะทำงานทำเอกสารประกอบไม่เป็น เพราะตอนรับงบโครงการนั้นได้ไปเรียนมาแค่คนเดียวจึงไม่สามารถช่วยกันถ่ายทอดได้ การทำกิจกรรมในพื้นที่ผลของกิจกรรมการทำนั้นก็ได้มาไม่ครอบคลุมเชิงเนื้อหาเท่าใดนักเพราะทีมงานยังขาดทักษะในการจัดเวทีเรียนรู้ สิ่งที่อยากเรียนรู้คือการทำรายละเอียดต่างๆในเอกสาร และทักษะในการจัดเวทีการประชุม พี่เลี้ยงชวนผู้ร่วมประชุมให้ทุกคนได้พูดและนำเสนอเรื่องต่างๆที่ทำอยู่ในชุมชนของแต่ละคน โดยให้โจทย์คือเล่าเรื่องให้คลอบคลุมถึงเรื่องที่ทำ ผลที่เกิด อุปสรรคข้อจำกัดที่เกิดขึ้นและแนวทางในการแก้ปัญหา โดยให้ใช้เวลาคนละ5นาทีในการพูด แล้วเมื่อทุกคนนำเสนอเสร็จ พี่เลี้ยงสรุปให้เห็นว่า เวลาทำกิจกรรมเวทีการเรียนรู้คนจัดกระบวนพยายามกระตุ้นให้ผู้ร่วมกิจกรรมพูดให้มากที่สุด แต่ไปสกัดความคิดคนอื่นแต่คอยซักคอยถามหากเห็นว่าเรื่องที่คุยมานั้นไม่ตรงตามที่คุยกันในแต่ละเรื่อง และที่สำคัญอีกอย่างคือการจดการบันทึกสิ่งที่มีประโยชน์ และการชื่นชมกันและกัน 12.00-13.30 น.พัก 13.30 น.เอาเอกสารที่เตรียมมาจากการทำกิจกรรมในพื้นที่มาช่วยกันกันตรวจดูความเรียบร้อย ถูกต้อง ครบถ้วน ทั้ง6พื้นที่ก็จัดการทำกันเองโดยมีเลขาคอยแนะนำชวนคุยชวนทำ และพี่เลี้ยงช่วยเสริมเป็นครั้งๆไป
หลังจากทำเอกสารได้ระดับที่พอใจแล้ว ก็ร่วมกันทำกิจกรรมสันทนาการร่วมกันเพื่อผ่อนคลายและสร้างคามสัมพันธ์ที่ดีกันในเครือข่าย

 

26 0

13. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่6

วันที่ 13 พฤษภาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-มีคณะทำงานร่วมประชุม 20คน -ได้ทบทวน เรียนรู้ เตรียมการ เพื่อร่วมประชุมประเมินผล กับหน่วยจังหวัด -ได้ช่วยกัน ตรวจเอกสาร การเงินของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

10.00 นายอรุณ ศรีสุวรรณ พี้เลี้ยงสนับสนุนโครงการ บอกเล่า สถานการณ์ภาพรวมของโครงการทั้งหมด ที่ร่วมทำโครงการ สสส. กับหน่วยจัดการจังหวัดพัทลุงทั้งหมด ตอนนี้ถึงช่วงกลางของโครงการ หลายโครงการเริ่มเห็นผลการทำงาน หลายโครงการก็มีการประเมินไปแล้ว และจะมีการระชุมเพื่อประเมินผลระดับโครงการร่วมกันทั้งหมดในวันที่ 16-17 พ.ค.นี้ ขอให้โครงการส่งทีมงานไปร่วม จำนวน 3-4 คน เรื่องที่จะคุยคือ เรื่องผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นของแต่ละโครงการ ว่า6เดือนที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นบ้าง และช่วยกันทบทวนผลการประเมินของโครงการ เพื่อเตรียมเนื่อหาเข้าร่วมประชุม 12.00-13.30 น. พัก 13.30 น. ชวนคุยเรื่องผลการพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน เรื่่องการเรียนรู้การจัดทำเอกสารประกอบโครงการของแต่ละพื้นที่ ช่วยกันคุย ได้เห็นร่วมกันว่าโครงการเป็นโครงการที่ดี ที่สามารถให้ชาวบ้านได้บริหารจัดการโครงการกันเอง ได้เรียนรู้เรื่องวิธีคิดและวิธีการทำงานด้วยตัวเองไม่เหมือนโครงการจากส่วนงานอื่นที่ชาวบ้านไม่ค่อยได้เรียนรู้และรับรู้เรื่องการบริหารและจัดการเลย แกนนำหลายคนกล้าที่จะพูด กล้าที่จะทำและรับผิดชอบถึงว่าจะผิดบ้างถูกบ้างก็มีพี่เลี้ยงคอยช่วยอยู่ตลอด

 

20 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 24 13                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 199,760.00 92,980.00                  
คุณภาพกิจกรรม 52 0                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน เรื่องการบริหารจัดการโครงการ ( 2 พ.ค. 2562 )
  2. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่6 ( 15 พ.ค. 2562 )
  3. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่7 ( 20 มิ.ย. 2562 )
  4. เรียนรู้การจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ( 20 มิ.ย. 2562 )
  5. สร้างแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่ ( 25 มิ.ย. 2562 )
  6. กิจกรรมเรียนรู้การจัดการอาหารปลอดภัยและเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในแหล่งท่องเที่ยว ( 3 ก.ค. 2562 )
  7. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่8 ( 15 ก.ค. 2562 )
  8. กิจกรรมสร้างข้อตกลงร่วมระดับเครือข่าย ( 3 ส.ค. 2562 )
  9. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ( 10 ส.ค. 2562 - 10 ก.ย. 2562 )
  10. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือนครั้งที่9 ( 15 ส.ค. 2562 )
  11. กิจกรรมประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่2 ( 25 ส.ค. 2562 )

(................................)
นายอับดลเล๊าะ เหล็มปาน
ผู้รับผิดชอบโครงการ